Firefox 88 Beta เริ่มเปิดใช้ HTTP/3 เป็นค่าดีฟอลต์ โดยจะเปิดให้ทุกคนใช้งานในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2021
HTTP/3 เป็นโพรโทคอลใหม่ล่าสุดที่ออกเป็นมาตรฐานในปี 2018 (HTTP/3 เกิดที่กรุงเทพ) โดยพัฒนามาจากข้อเสนอ QUIC ของ Chrome ทำให้เบราว์เซอร์ตระกูล Chrome/Chromium ทั้งหมดรองรับ HTTP/3 มาตั้งแต่เดือนเมษายน 2020
การรองรับ HTTP/3 ของ Firefox ทำให้ตอนนี้เหลือแต่ Safari เป็นเบราว์เซอร์รายใหญ่รายเดียวที่ยังไม่รองรับแบบดีฟอลต์ (รองรับแล้วในเวอร์ชัน Safari Technology Preview)
Mozilla ประกาศเตรียมถอดการรองรับ FTP ในเบราว์เซอร์ Firefox โดยจะเริ่มปิดการทำงานตั้งแต่ Firefox 88 ที่กำหนดออกเวอร์ชันสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป 19 เมษายนนี้ และจะถอดการรองรับ FTP ใน Firefox 90
ผลที่เกิดขึ้นคือ Firefox จะเรียกหาแอพพลิเคชันภายนอกอื่น เมื่อมีการเรียกลิงก์ FTP
Mozilla เคยประกาศแผนถอด FTP ออกตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ได้เลื่อนกำหนดออกไปเนื่องจากการระบาดของโควิด-19
NVIDIA ประกาศลงทุน 1.5 ล้านดอลลาร์เข้าโครงการ Mozilla Common Voice ใช้สำหรับสนับสนุนชุมชนและอาสาสมัครที่ร่วมกันทำงานในโครงการ และจ้างพนักงานมาทำงานในโครงการเพิ่มขึ้น
Mozilla Common Voice เป็นโครงการให้อาสาสมัครเข้าไปบริจาคเสียงพูดตามภาษาที่ใช้งาน เพื่อสร้างชุดข้อมูลให้กลุ่มต่างๆ ไปสร้างปัญญาประดิษฐ์ได้ ปัจจุบันโครงการมีเสียงพูด 9,000 ชั่วโมง จาก 60 ภาษา
Kari Briski ผู้อำนวยการของทาง NVIDIA ระบุว่าแชตบอทสำคัญมากขึ้นในช่วงหลัง การมีชุดข้อมูลให้ทุกคนใช้งาน ทำให้ NVIDIA สามารถสร้างโมเดลที่ฝึกไว้แล้วและแชร์ให้ชุมชุนใช้งานได้ฟรี
เทคโนโลยีการรู้จำเสียง (Speech Recognition) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เราสื่อสารหรือสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นที่นิยมกันอย่างเผยแพร่ ตัวอย่างเช่น ใช้งานในระบบผู้ช่วยอัจฉริยะ, ใช้สร้างคำบรรยายในวิดีโอ และใช้พิมพ์ข้อความตามเสียง เป็นต้น อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีการรู้จำเสียงทุกภาษาต้องการชุดข้อมูลเสียงขนาดใหญ่สำหรับมาทำเทคโนโลยีดังกล่าว ยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไร ความแม่นยำยิ่งสูงขึ้น แต่ชุดข้อมูลเสียงขนาดใหญ่จำนวนมากที่ถูกสร้างโดยบริษัทใหญ่ ๆ เราไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากราคาที่แพงหรือติดลิขสิทธิ์ จึงทำให้บริษัทเล็ก ๆ หรือนักพัฒนาไม่สามารถเข้าถึงชุดข้อมูลดังกล่าวได้
Mozilla ออก Firefox 87 มีของใหม่ที่สำคัญ 3 อย่าง
ปัจจุบัน Mozilla มีโลโก้ของ Firefox สองเวอร์ชันคือ เวอร์ชันที่มีหมาจิ้งจอก (สำหรับเบราว์เซอร์) และเวอร์ชันที่ไม่มีหมาจิ้งจอก (สำหรับแบรนด์ในภาพรวม) ที่อาจสร้างความสับสนแก่ผู้ใช้
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจึงเกิดมีมล้อกันว่า Mozilla จะเลิกใช้โลโก้หมาจิ้งจอกแล้ว (they killed the fox) สร้างความแตกตื่นให้ผู้ใช้ จน Mozilla ต้องออกมาสยบข่าวลือ การันตีว่าหมาจิ้งจอกยังอยู่แบบเดิมไม่ไปไหน
ข่าวการปลดพนักงานของ Mozilla ในเดือนสิงหาคม 2020 ส่งผลกระทบต่อโครงการภายในหลายโครงการ ที่เจอหนักๆ คือ MDN Web Docs เว็บไซต์รวมเอกสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีเว็บ ที่โดนปลดทีมงานไปหลายคน และต้องปรับลดกิจกรรมหลายอย่างลง
ชะตากรรมของ MDN Web Docs ก่อให้เกิดคำถามว่า วงการนักพัฒนาเว็บจะสูญเสียแหล่งข้อมูลสำคัญไปหรือไม่ หากองค์กรต้นสังกัดไม่มีเงินมาสนับสนุน
ล่าสุดเพื่อนร่วมวงการเว็บได้แก่ กูเกิล, ไมโครซอฟท์, ซัมซุง, W3C, บริษัทด้านหารายได้บนเว็บ Coil, บริษัทที่ปรึกษา Igalia ประกาศตั้งกลุ่ม Open Web Docs เพื่อสนับสนุน MDN Web Docs ทั้งในด้านกำลังเงินและกำลังคน
กูเกิล, ไมโครซอฟท์, มอซิลล่า, และแอปเปิล ร่วมกันแบนใบรับรอง root CA ของรัฐบาลคาซัคสถานไม่ให้ติดตั้งลงเบราว์เซอร์ได้ หลังรัฐบาลพยายามแจ้งให้ประชาชนติดตั้งใบรับรองเพื่อดักฟังการเชื่อมต่อเข้ารหัส โดยรัฐบาลอ้างว่าเป็นการฝึกหน่วยงานรัฐให้รับมือการโจมตีทางไซเบอร์
Mozilla ออก Firefox 84 มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
ที่มา - Mozilla
Mozilla ประกาศยกโครงการ Servo เอนจินแสดงผลเว็บตัวใหม่ของ Firefox ที่เขียนด้วยภาษา Rust มาตั้งแต่ปี 2012 (ภายหลังพัฒนาเป็น Firefox Quantum) ให้ Linux Foundation ดูแลต่อแทน
จุดเด่นของ Servo คือทำงานเร็ว, รองรับมัลติคอร์เต็มรูปแบบ และเขียนด้วยภาษา Rust ที่ปลอดจากปัญหาหน่วยความจำ นอกจาก Firefox แล้ว ปัจจุบันยังมีซัมซุง, Let's Encrypt, Three.js ที่นำไปใช้งาน โดย Servo ถือเป็นซอฟต์แวร์โครงการใหญ่ที่สุดที่สร้างด้วย Rust นอกเหนือจากตัวคอมไพเลอร์ของ Rust เอง
Firefox ออกเวอร์ชัน 83 โดยถือเป็นรุ่นที่มีของใหม่หลายอย่าง ฟีเจอร์สำคัญคือการอัพเกรดเอนจินจาวาสคริปต์ SpiderMonkey ครั้งใหญ่ อัพเดตตัวนี้มีชื่อว่า Warp (หรือ WarpBuilder) เป็นการปรับปรุงกระบวนการทำงานของคอมไพเลอร์ just-in-time (JIT) ใหม่ ผลที่ได้คือประสิทธิภาพดีขึ้น 20% ในการโหลดหน้าเว็บ Google Docs, เฉลี่ยแล้ว 15%, ตอบสนองดีขึ้น 12% และใช้หน่วยความจำน้อยลง 8% โดยเฉลี่ย (รายละเอียดเรื่อง Warp สำหรับผู้สนใจ)
Mozilla ออก Firefox 82 เวอร์ชันเดสก์ท็อป มีของใหม่ดังนี้
ประเด็นเรื่องความปลอดภัยจากส่วนขยายของเบราว์เซอร์ เป็นปัญหามายาวนาน และเราก็เห็นข่าวเบราว์เซอร์รายใหญ่ๆ อย่าง Chrome หรือ Firefox ออกมาตรการคุมเข้มส่วนขยายในแพลตฟอร์มตัวเองมาเรื่อยๆ
ล่าสุด Firefox เพิ่มมาตรการใหม่คือแปะป้ายหรือ badge เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับส่วนขยายบน Firefox Add-ons ทั้งบนหน้าเว็บและหน้าจัดการส่วนขยายของเบราว์เซอร์ ป้ายรับรองที่เพิ่มเข้ามามี 2 แบบคือ
Firefox ออกเวอร์ชัน 81 มีของใหม่อยู่หลายรายการ ซึ่งเน้นไปที่ส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน
ที่มา: Mozilla
อัพเดตต่อจากข่าว Mozilla ระงับบริการส่งไฟล์ Firefox Send ชั่วคราว หลังถูกใช้เป็นแหล่งกระจายมัลแวร์
ล่าสุด Mozilla ประกาศปิดบริการ Firefox Send (ร่วมกับบริการอีกตัวคือ Firefox Note) อย่างถาวร ด้วยเหตุผลเดิมคือถูกใช้เป็นแหล่งปล่อยมัลแวร์ และปัจจัยเรื่อง Mozilla ต้องปรับโครงสร้างองค์กร ปลดคน คุมค่าใช้จ่าย ทำให้ต้องตัดสินใจปิดบริการที่ไม่สำคัญออกไป
Mozilla ยืนยันว่าจะยังคงบริการกลุ่ม VPN และ Firefox Monitor ตัวเฝ้าระวังรหัสผ่านหลุด-ข้อมูลรั่วไหล ต่อไป
Firefox for Android เวอร์ชันใหม่ที่เพิ่งเปิดให้ใช้งาน ได้รับเสียงวิจารณ์ไม่ดีนักจากผู้ใช้ Firefox ตัวเดิม เพราะขาดแคลนฟีเจอร์หลายอย่างที่เคยมีในตัวเดิม
ฟีเจอร์สำคัญที่ขาดหายไปคือ Extension ที่เดิมทีเคยรองรับส่วนขยายของ Firefox เวอร์ชันเดสก์ท็อปด้วย แต่ Firefox for Android ตัวใหม่ยังรองรับส่วนขยายที่ถูก whitelist เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น ด้วยเหตุผลว่าทีมพัฒนาต้องการให้รองรับส่วนขยายแบบค่อยเป็นค่อยไป
Firefox ออกเวอร์ชัน 80 ซึ่งบางคนอาจรู้สึกว่าออกเร็วขึ้นกว่าเดิม (ตามหลังเวอร์ชัน 79 ไม่ถึงเดือน) เป็นผลมาจากนโยบายปรับรอบการออกเป็นทุก 4 สัปดาห์ ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ต้นปีนี้
รอบการออกที่เร็วขึ้น แลกมากกับการที่บางเวอร์ชันมีฟีเจอร์ใหม่ไม่เยอะนัก ซึ่งรวมถึงเวอร์ชัน 80 นี้ด้วย
Mozilla เริ่มทยอยปล่อย Firefox for Android ตัวใหม่ (โค้ดเนม Fenix) มาแทน Firefox ตัวปัจจุบัน (โค้ดเนม Fennec) ที่หยุดพัฒนามาสักระยะแล้ว
Firefox ตัวใหม่หรือ Fenix มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างจากเดิมหลายอย่าง ที่สำคัญได้แก่
วงการนักพัฒนาเว็บคงคุ้นเคยกับ MDN Web Docs หรือชื่อเดิม Mozilla Developer Network เว็บไซต์รวมเอกสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีเว็บ ตัวอย่างการเขียนโค้ด และเครื่องมืออื่นๆ อีกมาก ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีเป็นอันดับต้นๆ ของคนเขียนเว็บ (ใช้ได้กับเบราว์เซอร์ทุกตัว ไม่ใช่แค่ Firefox)
แต่ MDN เป็นหนึ่งในโครงการที่ถูกปลดคนออก ตามข่าว Mozilla ปรับโครงสร้างองค์กรรอบล่าสุด ปลดพนักงานออกถึง 250 คน ทำให้เกิดความสงสัยในหมู่นักพัฒนาเว็บว่า MDN จะถูกยุบโครงการไปอีกรายหรือไม่
ทีมพัฒนาภาษาโปรแกรม Rust ออกมาประกาศแผนในอนาคต หลัง Mozilla ปลดพนักงาน 250 คน และทีมงาน Rust ถูกปลดด้วย ว่าจะตั้งมูลนิธิ Rust Foundation เป็นองค์กรแยกต่างหาก เพื่อมารับผิดชอบการพัฒนา Rust โดยไม่ต้องขึ้นกับ Mozilla
Rust Foundation จะกลายเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า Rust และรับผิดชอบการลงทุนเพื่อพัฒนา Rust ต่อไป คาดว่ามูลนิธิจะจดทะเบียนเสร็จและเริ่มทำงานภายในปี 2020 นี้
เมื่อไม่กี่วันมานี้ Mozilla เพิ่งประกาศปลดพนักงานมากถึง 250 คน พร้อมปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ แต่ล่าสุดเว็บไซต์ The Register ได้ข้อมูลมาว่า Mozilla เพิ่งเซ็นสัญญาส่วนแบ่งรายได้กับกูเกิลฉบับใหม่ ได้เงินมาราว 400-450 ล้านดอลลาร์ตลอดอายุสัญญา 3 ปี (จนถึงปี 2023)
โฆษกของ Mozilla ยืนยันข่าวว่าเซ็นสัญญาต่อกับกูเกิลจริง แต่ไม่ให้ข้อมูลตัวเลขว่า Mozilla มีรายได้เท่าไร
ที่ผ่านมา Mozilla เปิดเผยรายได้ขององค์กรเป็นระยะ ตัวเลขของปี 2018 มีรายได้ทั้งหมด 451 ล้านดอลลาร์ (เกือบทั้งหมดคือ 430 ล้านดอลลาร์มาจากสัญญากับ search engine) ส่วนรายจ่ายในปี 2018 เฉพาะเงินเดือนพนักงานอยู่ที่ 286 ล้านดอลลาร์ สำหรับพนักงานประมาณ 1,000 คน
Mozilla Corporation องค์กรผู้รับผิดชอบการพัฒนา Firefox ประกาศปรับโครงสร้าง ปลดพนักงานออก 250 คน (ประมาณ 25% ของพนักงานทั้งหมด) ปิดสำนักงานในไต้หวัน และเปลี่ยนยุทธศาสตร์ขององค์กรใหม่
Mozilla บอกว่าได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้ต้องเปลี่ยนแผนของปี 2020 ใหม่ทั้งหมด
ในที่สุด Firefox for Android รุ่นใหม่ (โค้ดเนม Fenix) ที่พัฒนามาแรมปีก็ถูกปล่อยออกสู่สาธารณชนแล้วผ่าน Play store โดยทีมงานวางแผนปล่อยออกมาตามประเทศ ประเทศไทยสามารถอัพเดตได้ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม
การปรับรุ่นครั้งนี้เป็นการปรับรุ่นครั้งใหญ่โดยเปลี่ยนมาใช้เอนจิน GeckoView และปรับหน้าตาใหม่หลายจุด เช่น ย้าย navigation bar มาอยู่ด้านล่าง เพื่อไม่ต้องเลื่อนนิ้วไปกดที่ด้านบนของจอ, เข้าสู่ Private browsing ได้ในการกดครั้งเดียว เป็นต้น
Mozilla ออก Firefox 79.0 ที่เวอร์ชันมีของใหม่ไม่มากนัก
ที่มา - Firefox
Mozilla ประกาศหยุดให้บริการส่งไฟล์ขนาดใหญ่ Firefox Send ชั่วคราว หลังพบว่าถูกใช้แพร่กระจายมัลแวร์
Firefox Send เป็นบริการที่เปิดตัวในปี 2019 ใช้ส่งไฟล์ขนาดใหญ่ไม่เกิน 2.5GB และมีจุดเด่นเรื่องความปลอดภัย (เข้ารหัสไฟล์) และความเป็นส่วนตัว (มีระบบรหัสผ่าน, ใครก็ใช้ได้โดยไม่ต้องล็อกอิน)
อย่างไรก็ตาม จุดขายเหล่านี้กลายเป็นช่องโหว่ให้กลุ่มผู้ปล่อยมัลแวร์ นำมัลแวร์ขึ้นไปฝากไว้บน Firefox Send (เข้ารหัสไฟล์ทำให้ตรวจสอบได้ยาก) และอาศัยปัจจัยว่าโดเมนเนม firefox.com เป็นโดเมนที่น่าเชื่อถือ ฝ่าระบบตรวจจับมัลแวร์ต่างๆ เข้าไปหลอกให้ผู้ใช้ติดตั้งมัลแวร์เหล่านี้ได้