Google Maps ร่วมมือกับ NASA เผยแพร่แผนที่โลกในยามค่ำคืน ใช้ชื่อผลงานว่า Black Marble
หลายปีที่ผ่านมา NASA ได้ปรับปรุงข้อมูลแผนที่โลกที่สร้างขึ้นจากภาพถ่ายจากอวกาศ ซึ่งภาพถ่ายพื้นที่ต่างๆ ในช่วงเวลากลางวันเหล่านั้นจะประกอบรวมกันเป็นลูกโลกเสมือนและใช้ชื่อว่า Blue Marble ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยโลกของเราเหมือนลูกแก้วสีน้ำเงิน โดยการปรับปรุงครั้งล่าสุดคือเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
ล่าสุดผลงานแผนที่โลกในช่วงกลางคืนรุ่นแรกสุดก็ถูกปล่อยออกมาแล้วเช่นกัน โดย Google Maps คือผู้ที่นำข้อมูลภาพถ่ายดังกล่าวมาผนวกรวมเข้าด้วยกันจนเป็นแผนที่อย่างที่เราคุ้นเคย ภายใต้ชื่อ Black Marble
ยานสำรวจดาวอังคาร Curiosity Mars Rover ของ NASA ทำเก๋ เช็คอินในแอพ Foursquare โดยระบุสถานที่เป็นแอ่ง Gale Crater บนดาวอังคาร มีภาพประกอบพร้อมข้อความว่า "เดี๋ยวจะได้เป็น mayor ของดาวอังคารแล้ว!"
นี่เป็นกิจกรรมร่วมกันระหว่าง NASA กับ Foursquare เป็นครั้งที่สอง เพราะก่อนหน้านี้เคยมีนักบินอวกาศของ NASA ไปเช็คอินบนสถานีอวกาศนานาชาติมาแล้ว
ใครอยากไปแย่ง mayor ก็ตามสบายครับ
ที่มา - Foursquare Blog
ทีมนักวิจัยจากศูนย์ Ames Research ของ NASA กำลังทดสอบโครงการ PhoneSat ซึ่งก็ตรงตามชื่อคือ phone + satellite
PhoneSat เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก (nanosatellite) ที่ใช้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตามท้องตลาดมาเป็นส่วนประกอบเพื่อลดต้นทุนการผลิต ในที่นี้ NASA เลือกใช้ Nexus One ทำหน้าที่ประมวลผล และเพิ่มแบตเตอรี่กับตัวส่งคลื่นวิทยุเข้ามา ทั้งหมดถูกประกอบในกล่องลูกบาศก์ CubeSat ขนาด 4x4 นิ้ว (ภาพดูตามลิงก์) น้ำหนักรวม 4 ปอนด์หรือประมาณ 1.8 กิโลกรัม ต้นทุนตกชุดละ 3,500 ดอลลาร์ (110,000 บาท)
PhoneSat รุ่นแรกถูกผลิตขึ้นมา 2 ชุดเพื่อทดสอบว่ามือถือสามารถทำงานได้ในอวกาศหรือไม่ ส่วนในรุ่นที่สอง มันจะได้อัพเกรดเป็น Nexus S และเพิ่มความสามารถอย่าง GPS และแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาด้วย
นักวิจัยของ NASA ออกมาเปิดเผยว่าภาพถ่ายจากยานสำรวจบนดาวอังคารในภารกิจ Mars Exploration Rover และ Mars Science Laboratory ถูกนำมาประมวลผลผ่านบริการกลุ่มเมฆ Amazon Web Services
เหตุผลก็เพราะศูนย์ข้อมูลของห้องปฏิบัติการวิจัย Jet Propulsion Laboratory (JPL) ที่รับผิดชอบภารกิจเหล่านี้ถูกใช้งานเต็มศักยภาพแล้ว และ NASA ก็ไม่ต้องการสร้างศูนย์ข้อมูลขึ้นมาใหม่ ทางออกคือเช่าใช้บริการคอมพิวเตอร์จากกลุ่มเมฆแทน ผลคือ NASA สามารถทำระบบรองรับภาพถ่ายจำนวนมหาศาลจากดาวอังคารได้ในเวลา 2-3 สัปดาห์ แทนที่จะเป็นหลักเดือนถ้าเลือกสร้างศูนย์ข้อมูลเองทั้งระบบ
หลังจากยาน Mars Curiosity ลงจอดบนดาวอังคารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางนาซ่าก็ให้ข่าวว่าซอฟต์แวร์บนตัวยานจะต้องได้รับการอัพเกรดก่อนจึงเริ่มทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่อไปได้
คอมพิวเตอร์บนตัวยาน เป็น PowerPC 750 200MHz แรม 256MB และหน่วยความจำแฟลช 2GB พร้อม EEPROM สำรองอีก 256KB ส่วนการเชื่อมต่อกับโลกนั้นใช้คลื่น X-band (7-8Ghz) ส่งตรงมายังโลกด้วยความเร็ว 160-800bps ขึ้นกับจานที่ใช้ขณะนั้น ส่วนอีกทางคือการส่งไปยังดาวเทียม Mars orbiters ด้วยคลื่น UHF ความเร็วสูงใช้อัพโหลดภาพความละเอียดสูงกลับสู่โลก โดยไม่ระบุความเร็วสูงสุด แต่คาดว่าจะดาวน์โหลดข้อมูลได้วันละ 250 เมกกะบิต
Rovio ปล่อยโฆษณาของ Angry Birds Space ฉากใหม่ "Red Planet" หรือการบุกตะลุยดาวอังคาร ซึ่งจะเปิดให้เล่นจริงๆ ภายในฤดูใบไม้ร่วงนี้
ในวิดีโอโฆษณายังไม่แสดงภาพของฉาก Red Planet ให้เห็น แต่เนื่องจาก Angry Birds Space จับมือกับ NASA ก็เลยตั้งใจปล่อยโฆษณาตัวนี้ออกมาวันเดียวกับที่ ยาน Mars Curiosity ลงจอดบนดาวอังคารนั่นเอง
ที่มา - Android Community
กลับมาอีกครั้งกับภาคใหม่ของ Angry Birds ที่ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วหลังจากปล่อยวิดีโอชิมลางมาตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์
ชื่อภาคใหม่นี้หลายคนคงทราบกันแล้วว่าชื่อ Angry Birds Space ที่เป็นการจับมือกับระหว่าง Rovio และ NASA ออกมาเป็นเกมนกพิโรธเวอร์ชันตะลุยอวกาศ
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนในภาคนี้คือการเพิ่มมาของระบบแรงโน้มถ่วง และสภาวะไร้น้ำหนักซึ่งมีผลต่อทิศทางการยิงของนก และการกระจายตัวของสิ่งของอื่นในฉากอย่างมาก แทบจะใช้สามัญสำนึกเดิมของ Angry Birds ไม่ได้เลยทีเดียว
Rovio ได้ประกาศ Angry Birds ภาคใหม่ ที่แม้จะเป็นการพุ่งชนเล็กๆ ของนกธรรมดาตัวหนึ่ง แต่มันจะเป็นการพุ่งชนที่ยิ่งใหญ่ของหมู่มวลนกทั้งรัง เพราะว่าคราวนี้ เจ้านกจะได้ออกไปตะลุยอวกาศกับเค้าแล้ว
เสียดายว่ารายละเอียดส่วนใหญ่ถูกเก็บไว้ในแฟ้มลับสุดยอด ที่พอจะรู้คือได้ NASA และ National Geographic มาร่วมงาน ตอนนี้ก็คงได้แต่คาดเดาว่า ระบบฟิสิกส์ที่ไร้แรงโน้มถ่วงจะเป็นอย่างไร การโจมตีด้วยความเร็วแสงจะเป็นไปได้หรือไม่ เพราะว่าตัวเกมจะมาให้เล่นกันวันที่ 22 มีนาคมนี้ครับ
ที่มา: Engadget
เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา นางลินดา เคอร์ตัน (Linda Cureton) ซีไอโอขององค์การอวกาศนาซ่า (NASA) ได้เขียนบนบล็อกของนาซ่าว่า "เดือนนี้นับเป็นจุดสิ้นสุดของยุคแห่งวิชาการคอมพิวเตอร์ที่นาซ่าอีกหนึ่งยุค ศูนย์การบินอวกาศมาร์แชล (Marshall Space Flight Center) ได้ทำการปิดเครื่อง IBM Z9 ซึ่งเป็นเครื่องเมนเฟรมเครื่องสุดท้ายไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว"
หลายคนอาจจำข่าว Nexus S ออกนอกโลก บินไปกับกระสวยอวกาศเที่ยวสุดท้าย เมื่อเดือนกรกฎาคมกันได้ เวลาผ่านมาสองเดือน กูเกิลเพิ่งปล่อยวิดีโอของ Nexus S ในอวกาศมาให้ดูกัน
Nexus S เคยถูกส่งขึ้นไปถึงขอบอวกาศกับบอลลูนฮีเลียมมาแล้วรอบหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ได้ขึ้นไปในอวกาศจริงๆ สักที เพราะ Nexus S เป็นหนึ่งในผู้โดยสารของกระสวยอวกาศแอตแลนติสในการเดินทางครั้งสุดท้ายก่อนสั่งลา
ภารกิจของ Nexus S กับการท่องอวกาศครั้งนี้คือช่วยการทดลองควบคุมดาวเทียมด้วยโทรศัพท์มือถือ (โครงการ SPHERES อ่านรายละเอียดใน JuSci) การทดลองครั้งนี้ทำให้ Nexus S กลายเป็นมือถือเชิงพาณิชย์รุ่นแรกที่ NASA รับรองให้ออกไปท่องอวกาศ และใช้งานบนสถานีอวกาศนานาชาติได้
เอชพีประกาศชัยชนะในการประมูลงานบริการไอทีให้กับนาซ่าระยะเวลาสิบปี มูลค่าสัญญา 2.5 พันล้านดอลลาร์ โดยเอาชนะบริษัทผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่าง Lockheed Martin ที่มีสัญญากับนาซ่าจำนวนมากไปได้
ทางด้าน Lockheed Martin ออกมาแสดงความผิดหวังกับผลการประมูลนี้โดยชี้ว่าบริษัทน่าจะมีความเข้าใจในนาซ่ามากกว่า
ทางด้านเอชพีแถลงข่าวนี้พร้อมกับสำทับอีกหน่อยว่าปีนี้เอชพีมีสัญญากับรัฐบาลอย่างน้อยเจ็ดสัญญาก่อนหน้านี้ โดยมีมูลค่าตั้งแต่ 20 ล้านไปจนถึง 3 พันล้านดอลลาร์
ที่มา - Wall Street Journal
Douglas H. Wheelock นักบินอวกาศของ NASA และเป็นผู้บัญชาการคนปัจจุบันของสถานีอวกาศนานาชาติ ได้ถ่ายภาพจากบนสถานีอวกาศนานาชาติ แล้วเผยแพร่ใน Twitter ให้โลกได้รับรู้
ผู้สนใจสามารถติดตามเขาได้ที่ @Astro_Wheels เข้าใจว่า "ขอภาพ" ได้ด้วย เช่น ภาพของประเทศไอร์แลนด์ยามค่ำคืน
Wheelock มีความสนใจเทคโนโลยีอย่างมาก นอกจากทวีตจากอวกาศแล้ว เขายังเคย "เช็คอิน" สถานีอวกาศนานาชาติในบริการ Foursquare อีกด้วย (ข่าว)
บริการประมวลผลบนกลุ่มเมฆ ไม่ว่าจะเป็น EC2, App Engine หรือ Azure ล้วนเป็นแพลตฟอร์มปิดด้วยกันทั้งสิ้น คำถามคือถ้าหากว่าเราต้องการสร้างกลุ่มเมฆขึ้นเองจะต้องทำอย่างไรดี คำตอบอาจเป็น OpenStack
OpenStack คือชุดซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์สสำหรับสร้างระบบ cloud computing ตัวตั้งตัวตีในเรื่องนี้คือ Rackspace ผู้ให้บริการโฮสติ้งรายใหญ่ ซึ่งบริจาคโค้ดของระบบ cloud ที่ตัวเองใช้อยู่ (Rackspace Cloud Files) ให้เป็นโอเพนซอร์ส นอกจากนี้ยังมี NASA ที่บริจาคโค้ดโครงการ NASA Nebula มาร่วมอีกราย ซึ่งโค้ดสองชุดจะรวมเป็นซอฟต์แวร์ตัวเดียวกันในอนาคต
NASA ทำเก๋ ส่งเกม Moonbase Alpha ให้ทดลองใช้ชีวิตอยู่บนดวงจันทร์ เล่นได้ทั้งโหมดคนเดียวกับมัลติเพลเยอร์ ผู้เล่นจะได้รับภารกิจให้กู้ระบบช่วยชีวิตที่ได้รับผลกระทบจากเศษอุกกาบาต
เกมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Learning Technologies ซึ่งมีเป้าหมายคือเผยแพร่เนื้อหาของ NASA ผ่านสื่อต่างๆ เช่น เกม หรือระบบโลกเสมือนจริง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในระยะยาว ที่สำคัญ Moonbase Alpha เป็น "ภาคต้น" ของเกมออนไลน์แบบ MMO ที่ชื่อ Astronaut: Moon, Mars & Beyond ที่จะตามมาในไม่ช้า
หลังจากที่ NASA เคยให้ส่งชื่อไปดวงจันทร์เมื่อกลางปีที่แล้ว มาวันนี้ NASA ได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจ สามารถส่งชื่อของตนเองไปกับ Mars Science Laboratory rover (หุ่นยนต์อวกาศสำรวจดาวอังคาร) เพียงเข้าไปที่เว็บ SEND YOUR NAME TO MARS กรอกชื่อ, นามสกุล, ประเทศ และรหัสไปรษณีย์ เพียงเท่านี้ชื่อของคุณก็จะได้รับการนำไปบันทึกบนไมโครชิปที่จะติดไปกับ Mars Science Laboratory rover ก่อนมุ่งหน้าสู่ดาวอังคารในปี 2011 แถมยังสามารถสร้างเกียรติบัตรเก็บไว้เป็นที่ระลึกได้อีกด้วยนะ (น่าเสียดายที่ระบบไม่รองรับภาษาไทย)
ภารกิจแรกของการส่งยานสำรวจ CO2 ของนาซ่าล้มเหลวเหตุจากจรวดทำงานผิดปกติ
เจ้าหน้าที่กล่าวว่าปัญหาเกิดจากเปลือก(fairing)ที่หุ้มดาวเทียมตรงหัวจรวดล้มเหลวในการแยกตัว หากผลการตรวจสอบได้รับการยืนยันเราคงจะสูญเสียภารกิจนี้ไป
ยานสำรวจคาร์บอนในระดับวงโคจร หรือ Orbiting Carbon Observatory (OCO) มีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ตำแหน่งหลักบนผิวโลกว่าที่ใดที่ปล่อย หรือดูดซับคาร์บอน
หลายคนอาจจะรู้ว่าการออกแบบอินเทอร์เน็ตนั้นมีเป้าหมายว่าจะสร้างเครือข่ายที่ทนทานต่อสงครามนิวเคลียร์ ซึ่งแม้เอาเข้าจริงแล้วหลายรายงานจะระบุว่ามันทนไม่ได้จริงๆ ก็ตามแต่อินเทอร์เน็ตก็ทำงานได้ค่อนข้างน่าเชื่อถือตลอดเวลาหลายปีมานี้
แต่กับอวกาศนั้นโจทย์จะต่างกันออกไป เพราะการเชื่อมต่อข้ามดวงดาวนั้นมีเงื่อนไขต่างกันหลายอย่างเช่น การสื่อสารออกแบบขาดช่วงไปเป็นชั่วโมง, วัน, หรือกระทั่งเดือน ก่อนที่จะกลับมาติดต่อกันได้ใหม่ อีกทั้งดีเลย์ในการติดต่อก็สูงมาก เช่นดาวอังคารนั้นใช้เวลาส่งข้อมูลถึงโลกอยู่ในช่วง 3.5 ถึง 20 นาที
NASA รายงานว่าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาบน International Space Station (ISS) ถูกตรวจพบ malware อยู่และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพบไวรัสและหนอนคอมพิวเตอร์ในวงโคจร เรื่องนี้ถูกรายงานโดย เจ้าหน้าที่ Sergey Volkov เขาเขียนรายงานสถานะประจำวันหลังจากตรวจพบ malware ด้วยโปรแกรม Norton Antivirus ขณะที่กำลังดูภาพจากการ์ดหน่วยความจำบนเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาสัญชาติรัสเซียชื่อ RSS-2
งานนี้ Norton ได้หน้าไปเต็มๆอย่างน้อยก็สองเรื่องคือคุณภาพดีจนผ่านการคัดเลือกให้ไปใช้บนอวกาศและตรวจพบ malware นอกโลก(malware นี้ไม่ได้มาจากนอกโลกนะครับ)
ที่มา - ComputerWorld
กระสวยอวกาศที่เราเห็นใช้กันอยู่ทุกวันนี้นั้นเริ่มโครงการกันมาตั้งแต่ช่วงปี 1970 ในชื่อโครงการ Space Transportation System (STS) จนกระทั่งขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกในปี 1981 จนถึงวันนี้ก็เกือบสามสิบปีแล้วที่กระสวยอวกาศทำงานในภารกิจต่างๆ จำนวนมาก และโครงการนี้ก็กำลังจะถึงจุดสิ้นสุดลง โดยนาซ่าได้ออกประกาศล่วงหน้าว่าภารกิจนับจากวันนี้ไปถึงปี 2010 นั้นจะมีอีกสิบภารกิจที่จะทำในช่วงสองปีข้างหน้า
100 ปีหลังเหตุการณ์การระเบิดที่ทุ่ง Tunguska ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าโลกยังไม่มีการเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับหายนะดังกล่าว
การระเบิดที่ทุ่ง Tunguska กินอาณาบริเวณ 2,000 ตารางกิโลเมตร มีความรุนแรงเทียบเท่าระเบิดปรมาณูที่ Hiroshima 200 ลูก ซึ่งอาจมีผู้เสียชีวิตหลายล้านคน หากการระเบิดนี้เกิดในเมืองใหญ่
ทฤษฎีหนึ่งที่อธิบายเหตุการณ์นี้คือ เกิดจากอุกกาบาตชนโลก หรือระเบิดขณะอยู่ในอากาศเหนือพื้นที่ดังกล่าว
เมื่อพูดถึงการพยากรณ์อากาศ เราคงคิดถึงฝนตกหรือแดดออกกันเป็นหลัก แต่ความจริงแล้วสภาพภูมิอากาศในอวกาศก็มีผลต่อชีวิตของเราไม่น้อย โดยเฉพาะลมสุริยะ (Solar Wind) ที่มีผลต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าและเคยเป็นต้นเหตุให้ไฟดับในแคนาดากว่าเก้าชั่วโมงในปี 1989 สร้างความเสียหายมูลค่ามหาศาล ตอนนี้นาซ่าจึงเริ่มโครงการ Solar Shield ที่จะวิจัยสร้างโมเดลในคอมพิวเตอร์เพื่อพยากรณ์สภาพลมสุริยะ
โครงการนี้อาศัยข้อมูลดิบจากดาวเทียม SOHO และโครงการ Advanced Composition Explorer (ACE) และมีเป้าหมายที่จะพยากรณ์ในสองระดับคือระยะยาวหนึ่งถึงสองวัน และระยะสั้นประมาณครึ่งชั่วโมง
นาซ่าเปิดโอกาสให้คุณส่งชื่อตัวเองไปกับยานสำรวจ ที่จะออกเดินทางไปทำแผนที่พื้นผิวดวงจันทร์ภายในปีนี้
นาซ่าต้องการรายชื่อ 1,000,000 ชื่อเพื่อสลักลงบนไมโครชิพที่จะติดไปกับยาน Lunar Reconnaissance Orbiter หลังจากร่วมลงชื่อแล้ว นาซ่าก็จะออก certificate ให้ด้วยนะ
ใครอยากส่งชื่อก็เข้าลิ้งค์นี้เลยครับ ถึงจะเกินหนึ่งล้านไปแล้ว แต่ก็ยังมีใบ certificate ไว้ให้ดู
เป็นที่ทราบกันว่า ปริมาณน้ำแข็งที่ขั้วโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลนั้น มีความหนาลดลงทุกปี ตามอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มขึ้น
นักวิจัยจาก National Snow and Ice Data Center มหาวิทยาลัย Colorado ได้แสดงความเป็นห่วงว่า ฤดูร้อนในปีนี้มีโอกาสเป็นไปได้ที่น้ำแข็งบนขั้วโลกเหนือจะละลายจนหมด เนื่องจากชั้นน้ำแข็งที่เคลือบผิวหน้าทะเลเอาไว้บางลงมากเป็นประวัติการณ์ โดยเป็นผลเนื่องมาจากปรากฏการณ์ Arctic Oscillation ทำให้อัตราการไหลของน้ำแข็งขั้วโลกลงสู่ทะเลเร็วขึ้น เหลือเพียงชั้นน้ำแข็งบาง ๆ อายุ 1 ปีเท่านั้น