กสทช.
จากข่าว กสท. ลงมติให้ "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3" (ช่อง 3 Analog) สิ้นสุดการทำหน้าที่เป็นโทรทัศน์ทั่วไประดับชาติ ผมเชื่อว่ามีคนสับสนเรื่องนี้ไม่น้อยเพราะมันซับซ้อนมาก บทความนี้จะพยายามอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่าง ช่อง 3 กับทีวีดิจิตอลครับ
ก่อนอื่นเลยต้องแยกแยะกันสักนิดว่าคำว่า "ช่อง 3" ในปัจจุบันมี 4 ความหมายที่ต้องเจาะจงว่าหมายถึงอะไรกันแน่
เป็นเรื่องราวมายาวนานพอสมควร สำหรับกรณีที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 หรือช่อง 3 Analog ที่บริหารสถานีโดย บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นฟ้องร้อง กสทช. ต่อศาลปกครอง และยื่นหนังสือตรงถึง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อขอความคุ้มครองให้ช่อง 3 Analog สามารถออกอากาศผ่านระบบจานดาวเทียม/เคเบิลทีวี/ไอพีทีวีได้ตามปกติหลังจากที่ผ่านการคุ้มครองขั้นต้น 100 วัน (เริ่มนับตั้งแต่ 25 พฤษภาคม ซึ่งจะหมดลงในคืนวันนี้พอดี) ตามกฎการให้บริการโทรทัศน์ดิจิทัลเป็นการทั่วไป หรือ Must Carry
กสทช. ออกประกาศหาบริษัทพัฒนา "ระบบรับเรื่องร้องเรียนและให้บริการข้อมูลข่าวสารผ่าน LINE Application" โดยตั้งราคากลาง 10 ล้านบาท และกำหนดยื่นซองวันที่ 3 กันยายนนี้ - กสทช.
ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีมติวันนี้ ให้ช่องทีวีดาวเทียมซึ่งถูกระงับการออกอากาศตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 15/2557 กลับมาออกอากาศได้อีกครั้งเพิ่มเติมอีก 7 ช่อง จากก่อนหน้านี้ Voice TV และ TNEWS ได้ออกอากาศไปแล้ว
หลายคนคงเคยประสบปัญหาพื้นที่ซึ่งมีคนอยู่หนาแน่น การใช้งานโทรศัพท์มือถือก็อาจเป็นเรื่องยากลำบากซึ่งก็พอเข้าใจได้ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ฉุกเฉินอย่างโรงพยาบาลก็อาจจะลำบากมากขึ้น ซึ่งทางกสทช. ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องนี้ครับ
โดยคุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. ได้เปิดเผยวันนี้ว่า ได้มีการสั่งการให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายเพิ่มเซลล์ไซต์ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราชและพื้นที่ใกล้เคียง หลังได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่าโทรเข้า-ออกได้ยาก รวมทั้งจะมีการใช้รถตรวจสอบคุณภาพสัญญาณด้วย
ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ
วันนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บอร์ด กสท.) เห็นชอบการยกเลิกประกาศ กสทช. เรื่องการจัดเลขช่องทีวีที่แตกต่างกันในแต่ละระบบ (ดาวเทียม, เคเบิ้ล, ดิจิตอล) และเตรียมออกประกาศฉบับใหม่ที่เรียงเลขช่องเหมือนกันทั้งหมด
ประกาศฉบับเดิมกำหนดให้ทีวีดิจิตอล เริ่มต้นนับจากช่อง 1 (ช่อง ททบ. 5 เดิม) แต่กลับระบุให้ช่องดาวเทียม-เคเบิ้ลเริ่มจากช่อง 11 (ททบ. 5 อยู่ช่อง 11) และเว้นช่อง 1-10 ให้ผู้ประกอบการดาวเทียม-เคเบิ้ลนำไปจัดสรรกันเอง ส่งผลให้ผู้ชมสับสน จนเป็นเหตุให้ True Visions ยื่นฟ้องศาลปกครองกลางให้ยกเลิกประกาศฉบับเดิมในที่สุด
ส่วนประกาศฉบับใหม่จะให้ทีวีทุกระบบเริ่มที่ช่อง 1 เหมือนกันทั้งหมด และกำหนดช่อง 37-60 ให้ผู้ประกอบการดาวเทียม-เคเบิ้ลไปจัดสรรอย่างอิสระแทน
เมื่อวานนี้ คณะกรรมการสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งเป็น "คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน" หรือ คตง. (บอร์ดของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือ สตง.) ได้ประกาศรายชื่อ คตง. ชุดใหม่จำนวน 7 คน โดยหนึ่งในนั้นมี ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช.
วันนี้ (20 ส.ค.) ที่ประชุมบอร์ดใหญ่ กสทช. ทั้งคณะ ลงมติเกี่ยวกับกระบวนการคัดเลือกบริษัทหรือหน่วยงานเข้ามาดำเนินการด้านกล่องแปลงสัญญาณทีวีดิจิตอล (รับแลกคูปองที่ กสทช. จะแจกเป็นกล่องสินค้าจริง) โดยบริษัทที่จะเข้าร่วมโครงการได้ต้องมีเงื่อนไขดังนี้
เป็นเรื่องเป็นราวกันมาหลายวันหลายโพสต์ (1, 2, 3) ในที่สุด นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ก็ยอมรับว่าได้ "ขออภัยบริษัทแอปเปิล" ในประเด็นที่เรียกมือถือรุ่นดังกล่าวว่า iPhone 6 โดยจะแก้ไขลบชื่อดังกล่าวออก
นอกจากนี้ นายฐากรยังบอกว่าได้หารือกับผู้บริหารบริษัทแอปเปิ้ล เซาท์เอเชีย ประเทศสิงคโปร์ และอธิบายกระบวนการทำงานของ กสทช. ในแง่การตรวจรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์แล้ว ซึ่งบริษัทแอปเปิลเข้าใจและยอมรับในมาตรการดังกล่าว และยินยอมให้ กสทช. เปิดเผยข้อมูล
เรื่องเลขาธิการ กสทช. ออกมาให้ข่าว iPhone 6 ดูจะไม่จบง่ายๆ แม้ยืนยันว่าไม่ใช่การเปิดเผยความลับ โดยล่าสุดคุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. ออกมาตอบโต้จากที่มีข่าวว่า บริษัท แอปเปิ้ล เซาท์ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ขออนุญาตนำเข้า iPhone 6 มาจำหน่ายในประเทศไทย กล่าวหาว่ากสทช. เปิดเผยข้อมูลทางการค้า
คุณฐากรยืนยันว่าการทวีตข้อความดังกล่าวถือเป็นการให้ข้อมูลต่อประชาชนคนไทยทราบ ตามหน้าที่ของสำนักงาน กสทช. ในการคุ้มครองผู้บริโภค และทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในการซื้อหาอุปกรณ์โทรศัพท์ในรุ่นดังกล่าวมาใช้งาน โดยไม่ได้มีการให้ข้อมูลเรื่องทางการค้าของบริษัทเลย
สืบเนื่องจากข่าวคุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ออกมาทวีตเรื่อง iPhone 6 ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานเพื่อจำหน่ายในไทย ก็มีกระแสในสังคมออนไลน์มองว่ากสทช. เอาความลับบริษัทแอปเปิลมาเปิดเผย ล่าสุดเลขาธิการ กสทช. ได้ชี้แจงเพิ่มเติมแล้วครับ
โดยคุณฐากรชี้แจงเพิ่มเติมว่า บริษัท แอปเปิ้ล เซาท์ เอเชีย (ประเทศไทย) ได้ขออนุญาตนำเข้าเครื่อง iPhone รุ่นใหม่มาจำหน่ายในประเทศไทยสองรุ่น รหัส A1586 และ A1524 โดยได้รับใบอนุญาตแล้วเมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา แม้ดูเป็นความลับของบริษัท แต่กสทช. มองว่าการขออนุญาตนำเข้าสินค้าถือเป็นเรื่องที่เปิดเผยได้ในฐานะหน่วยงานราชการ ทั้งยังไม่มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสเปกหรือรายละเอียดของเครื่องที่เป็นความลับ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ทวีตผ่านบัญชีทวิตเตอร์ส่วนตัว (@TakornNBTC) เมื่อช่วงเช้าวันนี้ว่า
สำนักงาน กสทช ผ่านรับรองมาตรฐานไอโฟน6เพื่ออนุญาตให้จำหน่ายในไทยแล้วครับ
ทั้งนี้มีข่าวลือว่าแอปเปิลเปิดตัว iPhone รุ่นใหม่ช่วงต้นเดือนกันยายนนี้ และถ้ากสทช. ได้รับเครื่องมาตรวจสอบล่วงหน้าเกือบ 1 เดือนจริง เราอาจได้เห็นประเทศไทยเป็นประเทศกลุ่มแรกๆ ที่วางขาย iPhone รุ่นใหม่
ที่มา - @TakornNBTC
สำนักข่าวอิศรา ตั้งประเด็นคำถามต่อการประกวดราคา "จ้างพัฒนาเว็บไซต์สำหรับแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เคลื่อนที่" มูลค่า 19,099,500 บาท ของสำนักงาน กสทช. ว่าเป็นราคากลางที่สูงเกินไปหรือไม่
สำนักข่าวอิศราระบุว่าได้รับแจ้งข้อมูลโครงการนี้จาก "คนใน" สำนักงาน กสทช. ว่าไม่สบายใจเพราะมองว่าราคาที่ตั้งไว้สูงเกินไป และสำนักงาน กสทช. เองก็มีเว็บไซต์อยู่แล้ว ไม่ควรทำเว็บไซต์อีกแห่งขึ้นมาให้ซ้ำซ้อน
หลังเรื่องนี้เป็นข่าว นายฐากร ตันฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ทำหนังสือชี้แจงมายังสำนักข่าวอิศราว่าตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องนี้แล้วว่าราคากลางเหมาะสมหรือไม่ และเอื้อประโยชน์ผู้รับจ้างรายใดหรือไม่ ถ้าพบปัญหาจะยกเลิกการประกวดราคางานนี้
เมื่อวานนี้มีรายงานจากคุณ udonza ผู้ดูแลเว็บ udon108 ลูกค้า dtac หมายเลข 6683xxx7373 เป็นหมายเลขเติมเงินที่ได้ลงทะเบียนชื่อเจ้าของเลขหมายไว้แล้ว แต่ปรากฎว่าหมายเลขกลับถูกเปลี่ยนชื่อเจ้าของและโอนไปให้ผู้ใช้คนอื่นในที่สุด
ทาง dtac แจ้งว่าได้ชดเชยให้กับคุณ udonza แล้วโดยยังเป็นหมายเลข 6683xxx7373 ใกล้เคียงหมายเลขเดิม และได้ปรับมาตรการให้เข้มงวดมากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้อีก
กสทช. ประกาศมูลค่าคูปองทีวีดิจิตอลอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 690 บาท และสามารถใช้เป็นส่วนลดเฉพาะกล่องแปลงสัญญาณ (set-top-box) และทีวีที่มีอุปกรณ์รับสัญญาณ DVB-T2 ที่ กสทช. รับรองเท่านั้น
ทั้งนี้ทาง กสทช. จะแจกคูปองให้ 22.9 ล้านครัวเรือน และจะจัดส่งคูปองผ่านทางไปรษณีย์ โดยจะเริ่มแจกใน 4 จังหวัดนำร่องคือ กรุงเทพ, เชียงใหม่, สงขลาและขอนแก่นนครราชสีมาก่อน ภายในเดือนกันยายนนี้ โดยมติดังกล่าวจะต้องเสนอให้ คสช. เห็นชอบต่อไป
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์
หลังจากที่ทาง คสช. ออกคำสั่งเลื่อนประมูลคลื่นความถี่ เมื่อสักครู่ที่ผ่านมาทาง DTAC โดยซีอีโอของบริษัท คุณ จอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ได้ออกความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวแล้ว
ใจความสำคัญของความเห็นดังกล่าว (ดูฉบับเต็มเป็นภาษาอังกฤษได้ท้ายข่าว) DTAC ระบุว่าไม่ได้รับผลกระทบในระยะสั้น หากเป็นภายในหนึ่งปีตามกรอบที่กำหนดไว้ เพราะยังสามารถให้บริการได้ภายใต้คลื่นความถี่เดิม อย่างไรก็ตาม ทาง DTAC ระบุว่า การประมูลคลื่นความถี่เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยรวม
ที่มา - DTAC (ผ่านข้อความทาง SMS)
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกคำสั่งฉบับที่ 94/2257 เรื่อง การระงับการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม มีรายละเอียดสำคัญคือ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
วันนี้มีประกาศ คสช. ฉบับที่ 80/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (พ.ร.บ. กสทช.) โดยมีประเด็นสำคัญคือการแก้ไขให้เงินที่ได้จากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วให้ส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน (รวมถึงเงินประมูลทีวีดิจิตอลในงวดที่ 2-6 รวมถึงเงินที่ได้จากการประมูลคลื่นความถี่ในอนาคต)
นอกจากนี้ในประกาศได้มีการแก้ไข พ.ร.บ. กสทช. ในส่วนอื่นๆ ได้แก่
สองรัฐวิสาหกิจ คือ TOT และ CAT เสนอกสทช. เพื่อหาทางรอดจากภาวะขาดทุนในตอนนี้ โดยข้อเสนอนี้เสนอไปยังกสทช. แต่ยังไม่ได้รับอนุมัติเพราะต้องหารือกับ คสช. เสียก่อน
ข้อเสนอของ TOT ได้แก่
ข้อเสนอของทาง CAT นั้นมีเพียงข้อเดียว คือขอใช้คลื่น 1800 MHz ความกว้าง 25 MHz ต่อไป เพื่อให้บริการลูกค้าที่รับโอนมาจากการหมดสัญญาสัมปทานได้ต่อไป ส่วนตัวรายได้จากสัมปทานนั้นทาง CAT ยอมรับและต้องปรับตัวหารายได้
Xiaomi มือถือยอดฮิตจากจีน หลังจากที่เปิดตลาดเพิ่มในทวีปเอเชีย และ เตรียมมาเปิดตลาดประเทศไทย นั้น ล่าสุด ทาง กสทช. ได้ประกาศรับรอง Xiaomi ไปแล้ว 3 รุ่น ประกอบด้วย
ใครที่รอซื้อรุ่นนี้อยู่ เตรียมเงินไว้ได้เลยครับ
จากปัญหาค่าบริการจากการซื้อสินค้ารวมบิลกับค่าบริการโทรศัพท์ (Direct Carrier Billing - DCB) ในเกม Cookie Run เป็นมูลค่าสูงนับแสนบาท ตอนนี้ทางกสทช. ได้พูดคุยกับผู้ให้บริการเพื่อสร้างมาตรฐานร่วมกับผู้ให้บริการ
มาตรฐานการให้บริการเหล่านี้ได้แก่
ตามมาตรฐานนี้ ทาง AIS จะเปิดบริการ DCB อีกครั้งในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อครั้งการประมูลคลื่นความถี่ 3G 2100MHz ในปี 2555 กสทช. เคยประกาศว่าจะกำกับดูแลค่าบริการ 3G ลง 15-20% จากราคา ณ ตอนนั้น
เวลาผ่านมาเกือบสองปี ผลการศึกษาจากกลุ่ม NBTC Policy Watch ที่ศึกษาโดย ดร.พรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างเดือนมิถุนายน 2556-2557 พบว่า
วันนี้ทางกสทช. เปิดตัวแอพพลิเคชั่น "2 แชะ" (Google Play) เพื่อสนับสนุนให้มีการลงทะเบียนซิมการ์ดกันมากขึ้น จากปัญหาการใช้ซิมไปก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ และซิมเติมเงิน 90% ยังคงไม่ได้ลงทะเบียน
แอพพลิเคชั่นตัวนี้จะเปิดให้ตัวแทนจำหน่ายซิมโทรศัพท์เข้าใช้งานเท่านั้น เพื่อให้ตัวแทนจำหน่ายเหล่านี้สามารถอำนวยความสะดวกลูกค้าในการลงทะเบียนได้ โดยก่อนหน้านี้การลงทะเบียนต้องส่งสำเนาบัตรประชาชนไปกับผู้จำหน่ายซิมการ์ด แต่สำหรับ "2 แชะ" จะส่งข้อมูลตรงกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ
จากกรณีคุณแม่ช็อค หลังได้รับใบแจ้งค่าบริการในเดือนพฤษภาคมมา 2 แสนบาท เพราะลูกซื้อเพชรในเกม Cookie Run (เอไอเอสแถลง) ล่าสุด กสทช. ได้เรียกให้ผู้บริการโทรศัพท์มือถือ อันได้แก่เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟเอช เข้าพบเป็นการด่วนเรียบร้อยแล้ว แต่ในขั้นต้น กสทช. ก็ได้สั่งการให้แต่ละเครือข่ายทำการจำกัดวงเงินการใช้งานของผู้ใช้บริการแล้วเช่นกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยขึ้นอีก
ช่วงเที่ยงวันนี้ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) แถลงข่าวว่าได้รับหนังสือจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ ชะลอ การดำเนินโครงการใหญ่ 4 โครงการไว้เป็นการชั่วคราว ได้แก่