Google Bigtable เป็นฐานข้อมูลแบบ NoSQL ของ Google Cloud ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2015 และปัจจุบันมีฐานลูกค้าจำนวนมาก ตัวมันเองยังเป็นแรงบันดาลใจให้ฐานข้อมูลโอเพนซอร์สตัวอื่นๆ อย่าง HBase และ Cassandra ด้วย
ล่าสุดกูเกิลพัฒนาให้ Bigtable รองรับการคิวรี่ด้วย GoogleSQL ซึ่งเป็นภาษา SQL เวอร์ชันที่ใช้ในบริการตัวอื่นๆ เช่น BigQuery และ Cloud Spanner เพื่อให้ผู้ใช้สามารถคิวรีข้อมูลจาก Bigtable ได้ด้วยภาษา SQL ที่คุ้นเคย (GoogleSQL เข้ากันได้กับ ANSI SQL ที่ใช้กันทั่วไป)
Oskar Dudycz นักพัฒนาด้านผู้สนับสนุนแนวทาง Event-Driven Architecture เปิดตัวไลบรารี Pongo สำหรับการจำลอง MongoDB โดยเชื่อมต่อเข้าไปยัง PostgreSQL แทน
แนวทางการใช้งาน PostgreSQL มาแทนที่ MongoDB นั้นมีมานานแล้ว เช่น FerretDB ที่จำลองการทำงานของ MongoDB ระดับ wire-protocol ทำให้แอปพลิเคชั่นสามารถเชื่อมต่อกับ FerretDB โดยนึกว่าเป็น MongoDB ได้ แต่เอนจินเบื้องหลังจริงๆ เป็น PostgreSQL แต่แนวทางของ Pongo ต่างออกไป โดยไลบรารีจะเป็นฝั่งไคลเอนต์ที่จำลอง API ให้เหมือนไลบรารี MongoDB ในภาษาจาวาสคริปต์ขึ้นมา แต่การเชื่อมต่อไปยังฐานข้อมูลนั้นสามารถเชื่อมต่อไปยัง PostgreSQL เดิมๆ ไม่ต้องการแก้ไขอะไร
Amazon DynamoDB ฐานข้อมูลแบบ NoSQL ของ AWS มีอายุครบรอบ 10 ปีแล้วในปีนี้ (ออกเวอร์ชัน GA ในเดือนมกราคม 2012) ในโอกาสนี้ทำให้ AWS เล่าเบื้องหลังการสร้าง DynamoDB ขึ้นมา
เรื่องเริ่มจากเทศกาลคริสต์มาสปลายปี 2004 ที่มียอดสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก ทำให้ระบบอีคอมเมิร์ซของ Amazon ที่ตอนนั้นใช้ฐานข้อมูลแบบ relational ถึงกับพัง เป็นสัญญาณบอกว่าฐานข้อมูลแบบ relational ถูกใช้จนถึงขีดจำกัดแล้ว
ทีมวิจัยจาก Wiz รายงานถึงช่องโหว่ใน Azure Cosmos DB บริการฐานข้อมูล NoSQL ของ Microsoft Azure ทำให้คนร้ายสามารถขโมยกุญแจ API เพื่อยึดฐานข้อมูลได้
ช่องโหว่นี้อาศัยฟีเจอร์ Jupyter Notebook ของ Cosmos DB โดยแฮกเกอร์สามารถเข้าไปอ่านข้อมูลใน Jupyter Notebook ของผู้ใช้รายอื่น ทำให้สามารถดึง Primary Key สำหรับอ่านเขียนข้อมูลใน Cosmos DB ออกมาได้
ไมโครซอฟท์แก้ไขช่องโหว่นี้หลังได้รับแจ้ง 48 ชั่วโมง และระบุว่าตรวจสอบไม่พบความพยายามโจมตีแบบนี้กับลูกค้ารายอื่น แต่ก็จะแจ้งลูกค้าที่ได้รับผลกระทบต่อไป โดยผู้ใช้อาจจะเลือกสร้าง Primary Key ใหม่เพื่อความปลอดภัย
ไมโครซอฟท์ให้รางวัลรายงานบั๊กสำหรับช่องโหว่นี้ 40,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 1.3 ล้านบาท
Apache Cassandra ฐานข้อมูล big data / NoSQL ออกเวอร์ชัน 4.0 ซึ่งเป็นการออกเวอร์ชันใหญ่ครั้งแรกในรอบ 6 ปี (เวอร์ชัน 3.0 ออกปี 2015)
ของใหม่ใน Cassandra 4.0 ได้แก่
Azure Cosmos DB บริการฐานข้อมูลแบบ NoSQL ของไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มฟีเจอร์สำคัญในงาน BUILD ได้แก่
ความนิยมในการเก็บข้อมูลแบบ key-value (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระแส NoSQL) เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลัง ตัวอย่างฐานข้อมูลแบบ key-value ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงคือ Redis ที่ถูกนำไปใช้โดยบริการคลาวด์ยักษ์ใหญ่ทั้ง AWS, Azure, GCP
ในฝั่งของกลุ่มอุตสาหกรรมเองก็เกิดความเคลื่อนไหวสร้างมาตรฐานของ key-value ขึ้นมา โดยกลุ่ม Storage Networking Industry Association (SNIA) ออกมาตรฐาน Key Value Storage API Specification เวอร์ชัน 1.0 และกลายเป็นว่าฝั่งผู้ผลิตฮาร์ดแวร์สตอเรจอย่างซัมซุง ได้พัฒนา SSD ที่ออกแบบมาสำหรับเก็บข้อมูล key-value แล้ว
AWS เปิดตัวบริการฐานข้อมูลใหม่ Amazon DocumentDB สำหรับงานด้าน NoSQL โดยมีจุดเด่นคือเข้ากันได้กับ MongoDB ด้วย
Amazon DocumentDB ไม่ได้เป็นการนำ MongoDB มารันบนคลาวด์ แต่เป็นฐานข้อมูล NoSQL ที่ Amazon พัฒนาขึ้นเอง โดยรักษาความเข้ากันได้กับ MongoDB API เวอร์ชัน 3.6 (เวอร์ชันปัจจุบันคือ 4.0) เพื่อให้ฐานข้อมูลที่เป็น MongoDB อยู่แล้วย้ายมาใช้งานได้ทันที รวมถึงใช้งานเครื่องมือตัวอื่นๆ ในโลกของ MongoDB ได้ด้วย
DynamoDB บริการฐานข้อมูล NoSQL จาก Amazon ประกาศเพิ่มระบบ on-demand ที่ช่วย scale ฐานข้อมูลตามการใช้งานได้อัตโนมัติ
ปกติแล้วการใช้งาน DynamoDB ผู้ใช้ต้องระบุปริมาณการอ่าน/เขียนข้อมูลสูงสุดต่อวินาทีที่ต้องการ (provisioned) แต่ในโหมด on-demand ที่เพิ่งเปิดตัวนี้ ผู้ใช้งานจะไม่ต้องประเมินปริมาณการใช้งานล่วงหน้า สามารถรองรับโหลดที่พุ่งสูงขึ้นได้ทันที
ผู้ใช้สามารถสลับโหมด provisioned กับ on-demand ได้จากหน้าจอตั้งค่า Capacity
ที่มา: AWS News Blog
Amazon ได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้ DynamoDB บริการ NoSQL ของ AWS คือฟีเจอร์แบคอัพต่อเนื่องหรือ Continuous Backups และฟีเจอร์เรียกคืนข้อมูลที่จุดเวลาหรือ Point-In-Time Recovery (PITR) โดยเครื่องมือเหล่านี้รองรับการใช้งานผ่าน AWS Management Console, เรียกผ่าน API และ AWS Command Line Interface
ฟีเจอร์แรก Continuous Backup คือระบบแบคอัพแบบต่อเนื่อง เมื่อเปิดใช้งานแล้วข้อมูลทั้งหมดจะถูกแบคอัพเก็บไว้อัตโนมัติ และข้อมูลแบคอัพนี้รองรับฟีเจอร์ PITR คือสามารถย้อนกลับไปกู้ข้อมูลยังจุดเวลาหนึ่งในอดีตได้ตลอดเวลา โดยย้อนได้ในระดับวินาทีนานสุดถึง 35 วัน
MongoDB อาจเป็นฐานข้อมูลสาย NoSQL ยอดนิยม แต่พอมาถึงยุคของคลาวด์ ผู้ให้บริการรายใหญ่อย่าง AWS ก็มีผลิตภัณฑ์ฐานข้อมูล NoSQL ของตัวเองในชื่อว่า DynamoDB
ล่าสุด AWS เพิ่มบริการย้ายฐานข้อมูล Database Migration Service (DMS) ให้เราสามารถย้ายข้อมูลจาก MongoDB ขึ้นมาเก็บบน DynamoDB ได้โดยตรงแล้ว
ที่ผ่านมา บริการย้ายฐานข้อมูล DMS ของ AWS รองรับเฉพาะการย้ายฐานข้อมูลแบบ relational database (เช่น Oracle, Microsoft SQL Server, MySQL, MariaDB, PostgreSQL) ไปยังฐานข้อมูลลักษณะเดียวกันบนคลาวด์ หรือย้ายข้อมูลจาก data warehouse ยี่ห้อต่างๆ ไปยัง Amazon Redshift
เราเห็นข่าวฐานข้อมูล MongoDB และ Hadoop โดนเจาะกันไปแล้ว ฐานข้อมูลรายล่าสุดที่หนีไม่พ้นชะตากรรมนี้คือ CouchDB ฐานข้อมูลแบบ NoSQL ชื่อดังอีกราย ที่มีรายงานว่าโดนเจาะไปแล้ว 450 เครื่องแล้ว
รูปแบบการเจาะก็คล้ายกันคือเป็น CouchDB ที่ต่อตรงออกอินเทอร์เน็ตและไม่ได้ตั้งรหัสผ่านไว้ (หรือเดารหัสผ่านได้ง่าย) โดยแฮ็กเกอร์ใช้วิธีเรียกค่าไถ่ข้อมูลเป็นเงิน 0.1 BTC (เทียบอัตราปัจจุบันคือประมาณ 100 ดอลลาร์)
มีรายงานว่าฐานข้อมูล MongoDB จำนวนมากบนอินเทอร์เน็ตถูกเจาะ โดยแฮ็กเกอร์ลบข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูลเดิมออก และเรียกค่าไถ่ข้อมูลที่ขโมยออกไป
ตอนนี้ยังไม่มีตัวเลขแน่ชัดว่า ฐานข้อมูล MongoDB ที่ได้รับผลกระทบมีจำนวนเท่าไรกันแน่ แถมจำนวนก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตัวเลขล่าสุดคือ 2,000 แห่ง ผู้ที่เจาะฐานข้อมูลเป็นรายแรกใช้นามแฝงว่า “Harak1r1” โดยเรียกค่าไถ่จำนวน 0.2 BTC (ประมาณ 220 ดอลลาร์หรือ 8,000 บาท) แต่เมื่อข่าวแพร่กระจายออกไป ก็มีแฮ็กเกอร์รายอื่นๆ มาร่วมเจาะ MongoDB อีกเช่นกัน
Google Cloud Platform ประกาศข่าวผลิตภัณฑ์ด้านฐานข้อมูล เข้าสถานะ GA (general availability) พร้อมใช้งานจริงในเชิงธุรกิจ และให้บริการตามเงื่อนไข Service Level Agreements (SLAs) ดังนี้
Avi Kivity นักพัฒนาผู้สร้าง KVM เปิดตัวระบบฐานข้อมูล NoSQL ที่ชื่อว่า ScyllaDB ทำงานเข้ากับฐานข้อมูล Cassandra ผ่าน CQL
ความต่างของ ScyllaDB คือมันพัฒนาด้วยภาษา C++ บนเฟรมเวิร์ค Seastar ขณะที่ Cassandra พัฒนาด้วยจาวา
ในงาน Cassandra Summit ทาง Avi นำเสนอผลการทดสอบประสิทธิภาพของ ScyllaDB เทียบกับ Cassandra แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นกว่า 8 เท่าตัว
ตอนนี้โครงการอยู่ในสถานะเบต้า และคาดว่าจะปล่อยตัวเต็มได้ภายในเดือนมกราคมนี้
ที่มา - ScyllaDB
กูเกิลเปิดตัวบริการฐานข้อมูล Google Cloud Bigtable ที่สร้างมาจากระบบ Bigtable ที่กูเกิลใช้งานภายในมาเป็นเวลานาน มีข่าวว่ากูเกิลอาจจะเปิดบริการนี้สู่ภายนอกมาตั้งแต่ปี 2008 ตอนนี้ก็เปิดบริการจริงแล้ว
Google Cloud Bigtable จะใช้ API เดียวกับ Apache HBase ทำให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาสำหรับใช้งานภายในกันอยู่แล้วน่าจะย้ายมาทำงานบนแพลตฟอร์มของกูเกิลได้ไม่ยาก
กูเกิลโชว์ความสามารถของ Google Cloud Bigtable ว่าคุ้มค่ากว่าการติดตั้งระบบฐานข้อมูลเองมากเพราะได้ประสิทธิภาพต่อราคาที่ดีกว่าหลายเท่าตัว โดยเฉพาะประสิทธิภาพการอ่านฐานข้อมูล
มีรายงานว่าแอปเปิลเข้าซื้อ FoundationDB บริษัทที่มีจุดเด่นด้านการปรับแต่งฐานข้อมูล NoSQL ให้รวดเร็ว และทนทานต่อการโจมตี โดยไม่ระบุวงเงินแล้ว
ดีลดังกล่าวถูกพบหลังจากมีคนไปเห็นว่า FoundationDB ยกเลิกการให้ดาวน์โหลดตัวฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ โดยคาดการณ์กันว่าการเข้าซื้อครั้งนี้ของแอปเปิลเพื่อนำเทคโนโลยีของ FoundationDB (หรือทีมงาน) ไปเสริมบริการที่ใช้กับเซิร์ฟเวอร์ของแอปเปิลเองทั้ง iTunes, AppStore และ iCloud รวมถึงอาจเกี่ยวข้องกับแผนให้บริการสตรีมรายการทีวีผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีข่าวลือมาไม่นาน
ไมโครซอฟท์ประกาศของใหม่ในตระกูล Azure หลายอย่างดังนี้
MongoDB เป็น NoSQL ประเภท Document-oriented database ที่ได้รับความนิยมจากนักพัฒนาแอปพลิเคชันและบริษัทไอทีเป็นอย่างมาก ตอนนี้ได้ออกรุ่น 3.0 แล้ว ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงด้านประสิทธิภาพหลักๆ ดังนี้
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Azure DocumentDB ฐานข้อมูลแบบ NoSQL ที่ออกแบบมาเพื่องานด้านเอกสารโดยเฉพาะ โดยนำเอาฟีเจอร์ของฐานข้อมูลแบบ NoSQL มาผสมกับความสามารถด้าน transaction และภาษา query ของฐานข้อมูลแบบ relative ดั้งเดิมเพื่อให้ใช้งานได้ง่าย
ไมโครซอฟท์เลือกเปิดบริการ DocumentDB ผ่านกลุ่มเมฆ (database-as-a-service) เพื่อชูจุดขายด้านประสิทธิภาพ และการทำ replication แบบข้ามพื้นที่ภูมิศาสตร์ ตอนนี้ DocumentDB ยังมีสถานะเป็นรุ่นพรีวิว รองรับภาษาโปรแกรมหลายตัวคือ .NET, Node.js, JavaScript, Python
บริษัท Couchbase ผู้พัฒนาฐานข้อมูลแบบ NoSQL ประกาศออก Couchbase Mobile 1.0 ฐานข้อมูล NoSQL เวอร์ชันที่ทำงานได้บนอุปกรณ์พกพา (โครงการนี้พัฒนามาตั้งแต่ปี 2010)
โปรแกรมในชุด Couchbase Mobile ประกอบด้วย
MariaDB ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลโอเพนซอร์สที่แยกโครงการมาจาก MySQL ประกาศออกเวอร์ชัน 10 ซึ่งถือเป็นการนับเวอร์ชันแบบใหม่ของตัวเองเป็นครั้งแรก (เวอร์ชันก่อนหน้านี้คือ 5.5 ซึ่งนับตามแบบ MySQL)
ของใหม่ใน MariaDB 10 ได้แก่
บริการของ Amazon เริ่มจะครอบคลุมการทำงานของเว็บทุกรูปแบบขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดก็มาถึง NoSQL ในชื่อ DynamoDB แล้วจากที่ก่อนหน้านี้มีบริการ SimpleDB ที่เป็นบริการคล้าย SQL หรือบริการ RDS ที่เป็น Relational เต็มรูปแบบ
บริการ DynamoDB คิดราคาตามโหลดที่เราต้องซื้อล่วงหน้าคิดเป็นหน่วย โดย 1 หน่วยจะหมายถึงการเขียนหรืออ่าน 1KB หรือเล็กกว่าต่อวินาที ราคาสำหรับการจองประสิทธิภาพของ DynamoDB คือ 0.01 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงสำหรับการเขียน ๅจ หน่วยและ 0.01 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงสำหรับการอ่าน 10 หน่วย นอกจากนี้ยังมีค่าเก็บข้อมูลอีก 1 ดอลลาร์ต่อกิกะไบต์ต่อเดือน และค่าขนถ่ายข้อมูล
ข้อมูลทั้งหมดถูกเก็บใน SSD และทำสำเนาในศูนย์ข้อมูลของ Amazon โดยอัตโนมัติ
ที่งาน Oracle OpenWorld 2011 ยักษ์ใหญ่แห่งวงการฐานข้อมูลอย่างออราเคิล ก็เปิดตัว "แนวรบ" ใหม่ของบริษัทที่จะมาลุยตลาด NoSQL/Big Data ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลัง (คู่แข่งอย่าง IBM ลุยไปก่อนแล้ว)
ข่าวเก่าไปอาทิตย์นึงนะครับ แต่ยังใช้ได้อยู่สำหรับผู้ที่สนใจเรื่อง NoSQL
อย่างที่รู้กันว่าช่วงหลายปีหลังนี้ กระแสการออกแบบซอฟต์แวร์โดยใช้แนวทาง NoSQL ซึ่งเป็นอีกทิศทางหนึ่งนอกเหนือไปจาก relational database เริ่มมาแรง เนื่องจากความต้องการประสิทธิภาพในเว็บแอพขนาดใหญ่มีมากขึ้น และ relational database ไม่สามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้ดีนัก
ตัวอย่างระบบฐานข้อมูลแบบ NoSQL ได้แก่ BigTable ของกูเกิล, SimpleDB ของ Amazon, Apache CouchDB, Apache Cassandra และ MongoDB พระเอกของข่าวนี้