คดี SCO ที่อ้างความเป็นเจ้าของลินุกซ์นั้นเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่ไล่ล่ากันมานานหลายปี โดยคู่คดีสำคัญรายหนึ่งคือ Novell (อีกรายคือ IBM) ชนะคดีที่ SCO ไปอ้างสิทธิ์เหนือ Unix ไปตั้งแต่ปี 2007
แต่คดียังไม่จบ เพราะทาง Novell ยังคงไล่บี้เอาคืนจาก SCO ต่อเพื่อเอาค่าเสียหาย จนวันนี้ศาลชั้นต้นได้ประกาศคำพิพากษาให้ SCO ต้องจ่ายเงินให้กับ Novell เป็นเงิน 3,506,526 ดอลลาร์สหรัฐฯ รวมกับดอกเบี้ยอีกกว่าหกแสนดอลลาร์
ชัยชนะครั้งนี้คงเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีมากกว่าเรื่องเงิน เพราะ SCO นั้นยื่นขอความคุ้มครองต่อศาลล้มละลายไปแล้วตั้งแต่ปีที่แล้ว
Michael Meeks นักพัฒนา OpenOffice.org ของ Novell ได้วิเคราะห์สถิติจากโค้ดของ OpenOffice.org ทั้งหมดตลอด 22 ปีที่ผ่านมา (ย้อนไปถึงสมัยยังเป็น StarOffice) และพบว่าจำนวนนักพัฒนากำลังลดลง ทั้งนักพัฒนาของซันเอง และนักพัฒนาจากข้างนอก
Meeks ได้เปรียบเทียบกับโครงการที่มีขนาดใกล้เคียงกันอย่างลินุกซ์เคอร์เนล และพบว่าความสนใจต่างกันชัดเจน
Meeks สรุปปัญหาว่าเกิดจากการบริหารงานของซันเอง ซึ่งไม่เปิดกว้างเท่าที่ควร (เรียกได้ว่าเปิดซอร์สโค้ดก็จริง แต่ไม่เปิดรับโค้ด) นักพัฒนาภายนอกจะไม่ได้รับการปฏิบัติดีเท่ากับคนของซัน โดยจะเห็นได้ชัดจากการรับแพตช์เข้าไปยัง OpenOffice.org ที่แพตช์จำนวนมากจากนักพัฒนาภายนอก ยังค้างอยู่ใน IssueZilla ของโครงการ
ดิสโทรยอดนิยมอีกตัวอย่าง OpenSUSE ออกเวอร์ชัน 11.0 แล้ว โดยมีทั้ง GNOME 2.22, KDE 3.5 และ KDE 4.0 ให้เลือกในตอนติดตั้ง
ของใหม่
หลังจากการเข้าซื้อกิจการ SUSE และ Ximian เมื่อปี 2003 บริษัท Novell ก็แสดงตัวอย่างชัดเจนว่าทิศทางในอนาคตคือถอยจาก NetWare แล้วหันมาใช้ลินุกซ์แทน ปี 2005 บริษัทได้ออกผลิตภัณฑ์ตัวต่อจาก NetWare 6.5 ในชื่อ Open Enterprise Server (ข่าวเก่า) โดยเป็นชุดบริการที่ครอบเคอร์เนล NetWare อีกชั้น และผู้ใช้สามารถเลือกว่าจะใช้ฐานเป็น SUSE หรือ NetWare ได้
OpenSUSE 10.3 ออกมาแล้วพร้อมกับทางเลือกใหม่ ติดตั้งได้ด้วยซีดีเพียงแผ่นเดียว โดยเวอร์ชันนี้มาพร้อมกับ KDE 3.5.7 บวกบางส่วนของ KDE 4.0 และ GNOME 2.20 ที่ถูกเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมโดย OpenSUSE พร้อมกับของใหม่คือ Amarok ที่เล่น MP3 ได้แบบ out-of-the-box, ระบบติดตั้งแบบ 1-click-install, OpenOffice.org 2.3 และอาร์ทเวิร์คสีเขียวสวย เป็นต้น
นอกจากนี้การบูทที่ใช้เวลานานกว่า 50 วินาทีใน OpenSUSE 10.2 ก็ได้ปรับปรุงให้บูทได้เร็วขึ้นกว่าเดิม เหลือเพียงแค่ 24 วินาทีในเวอร์ชันนี้ ใครที่สนใจสามารถดาวน์โหลดได้จาก http://software.opensuse.org/ เลย
ที่มา - openSUSE News
หลังจากออกตัวเบต้าให้เล่นมานาน ไมโครซอฟท์ก็ปล่อย Silverlight 1.0 ตัวเต็มออกมาให้ใช้แล้ว พร้อมกับโปรแกรมที่เกิดมาไล่เลี่ยกันอย่าง Expression Media Encoder 1.0
หลังจากคดีแย่งความเป็นเจ้าของ UNIX ระหว่าง Novell กับ SCO สิ้นสุด (ข่าวเก่า) ทางฝ่าย Novell ที่ชนะคดีก็รีบออกมาสยบความกังวล โดยประกาศว่าจะไม่ดำเนินรอยตาม SCO โดยการอ้างความเป็นเจ้าของ UNIX ไปฟ้องชาวบ้าน (ในที่นี้ใช้ลินุกซ์) เด็ดขาด
โฆษกของ Novell กล่าวว่า เราถือว่าเราเป็นเจ้าของ UNIX มาโดยตลอด ดังนั้นการที่ศาลช่วยยืนยันว่าสิทธิ์เป็นของเรา ก็ไม่ทำให้นโยบายด้าน UNIX ของ Novell เปลี่ยนจากเดิมแต่อย่างใด
ข่าวนี้แบบสั้นๆ เล่าให้จบในบรรทัดเดียวเหมือนหัวข่าวว่าศาลได้ตัดสินให้ Novell ชนะ SCO ในการอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ UNIX ที่ยืดเยื้อยาวนานมาหลายปี
ส่วนแบบยาวๆ ต้องเท้าความชุดคดี SCO อ้างว่าลินุกซ์เอาโค้ดจาก UNIX มาใช้ โดยคดีชุดนี้ประกอบด้วยคดี SCO ไล่ฟ้องบริษัทหลายแห่ง (หลักๆ คือ IBM ส่วนบริษัทอื่นมี DaimlerChrysler เป็นต้น) และคดี SCO อ้างว่าตัวเองเป็นเจ้าของ UNIX ซึ่ง Novell เป็นฝ่ายฟ้องว่าเจ้าของนั้นคือฉันต่างหาก
คดีชุดแรกจบไปเมื่อปี 2006 โดยศาลตัดสินว่า SCO ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่านำโค้ดมาใช้จริง อันนี้จบเรื่องไป
ดูเหมือนว่ากำแพงเมืองจีนแห่งโลกคอมพิวเตอร์ที่กั้นไม่ให้ผู้ผลิตโน้ตบุ๊กรองรับการใช้งานลินุกซ์อย่างเต็มรูปแบบเริ่มทลายลงแล้ว เมื่อทางเลโนโวประกาศความร่วมมือกับทางโนเวลล์ เตรียมเปิดตัวโน้ตบุ๊กที่ใช้งานลินุกซ์อย่างเต็มตัว
โดยโน้ตบุ๊กในตระกูล Thinkpad ของเลโนโวจะเริ่มมี SUSE Linux Enterprise Desktop 10 เป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้ตั้งแต่ช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป โดยลูกค้าที่เลือกใช้งานลินุกซ์นี้จะได้รับการซัพพอร์ตจากทางเลโนโวทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เต็มรูปแบบ
เลโนโวระบุว่าการตัดสินใจนี้มาจากการเรียกร้องของลูกค้าในระดับองค์กรที่ต้องการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมากขึ้นเรื่อยๆ
งานนี้เราคงได้เห็นผู้ผลิตรายอื่นๆ ตามออกมาเรื่อยๆ ในเร็ววัน
หลังจากที่เลือกพรีโหลดอูบุนตูให้กับเครื่องบางรุ่นไปแล้ว วันนี้ Dell ได้ตัดสินใจเข้าร่วม กับสัญญาสนับสนุนนลินุกซ์ระหว่างไมโครซอฟท์และโนเวลล์ที่จะทำให้ซอฟแวร์ของลินุกซ์ ทำงานกับวินโดวส์ได้ดีขึ้น
จากข้อตกลง Dell จะซื้อ SUSE Linux Enterprise Server certificates จากโนเวลล์ และทำการตลาดให้กับโนเวลล์ โดยการให้บริการผู้ใช้ลินุกซ์ที่ไม่ได้ใช้เครื่องพรีโหลดอูบุนตู ในการย้ายมาใช้ SUSE Linux
ที่มา - ZDNet
หลังจากที่ Free Software Foundation ออกร่างที่สามของ GPLv3 ซึ่งในร่างนี้ได้แก้ไขประเด็นด้านสิทธิบัตรที่เคยเป็นรูรั่วให้ไมโครซอฟท์-โนเวลล์ ทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ของโนเวลล์ได้ออกมาชี้แจงเรื่องนี้ผ่านบล็อกว่า
และปิดท้ายตามสูตรการประชาสัมพันธ์ว่าโนเวลล์เองก็เป็นผู้สนับสนุนโอเพนซอร์สรายใหญ่นะจ๊ะ
ที่มา - Novell Open PR
ผลพวงจากความตกลงระหว่างไมโครซอฟท์และโนเวลล์เริ่มส่งผลชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เมื่อธุรกิจค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Wal-Mart ได้ตกลงที่จะซื้อบริการซัพพอร์ตของ SUSE Linux ผ่านทางไมโครซอฟท์ จากที่ก่อนหน้านี้ Wal-Mart เคยใช้งาน RedHat อยู่ก่อนแล้ว เรื่องนี้อาจะไม่น่าแปลกใจนักเนื่องจาก Kevin Turner ผู้บริหารของไมโครซอฟท์นั้นเป็นอดีตผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศของ Wal-Mart
ความร่วมมือระหว่างไมโครซอฟท์กับโนเวลล์สร้างกระแสต่อต้านในโลกโอเพนซอร์สค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะโครงการ Samba ที่เป็นหนึ่งในโครงการที่ถูกผนวกในสัญญาไม่ฟ้องการละเมิดสิทธิบัตรต่อกัน ทางโครงการ Samba นั้นแสดงท่าที่ไม่พอใจโนเวลล์อย่างชัดเจน และเคยยื่นจดหมายขอให้ถอนโครงการ Samba ออกจากสัญญาดังกล่าว
ออกมาได้ไม่กี่วันก็มีคนรีวิวแล้ว ที่น่าสนใจใน OpenSUSE 10.2 คือระบบ start menu แบบใหม่ทั้งใน KDE และ GNOME ที่เราเคยแนะนำให้ดูกันไปรอบแล้ว
ของ GNOME นั้นเคยออกมาให้ใช้กันใน SLED 10 มาก่อน ส่วนเมนูใหม่ของ KDE เพิ่งโผล่มาใน OpenSUSE 10.2 เป็นที่แรก (ดู screenshot ได้ตามลิงก์) ประเด็นอื่นๆ ที่รีวิวเอ่ยถึงมีเรื่องระบบ pattern package selection ในตัว installer
นอกจากนี้ใน OSNews ยังเถียงกันประเด็น Novell ยัด ZMD (ZENworks Management Daemon) เข้ามาด้วยเหตุผลด้านการเมือง (ZENWorks เป็นผลิตภัณฑ์ของ Novell) แต่ตัวโปรแกรมกลับช้าและทำงานได้ไม่สมบูรณ์เท่าไร
OpenSUSE 10.2 ได้ฤกษ์ออกตัวจริง ของใหม่คือ Firefox 2.0, ext3 เป็น default file system ที่น่าสนใจพิเศษคือสนับสนุน internal SD Reader สำหรับโน้ตบุ๊คด้วย
ผมไม่เคยใช้ SUSE เลยคอมเมนต์ไม่ถูก แต่ถ้าสนใจสามารถดาวน์โหลดได้จาก mirror รือ torrent ถ้าเอาเฉพาะเดสก์ท็อปธรรมดา ดาวน์โหลดแค่ 3 แผ่นแรกก็พอครับ (แล้วไปลงแพกเกจเพิ่มเอาเองทีหลัง)
ที่มา - OpenSUSE announcement, Screenshot
หลังจากเซ็นสัญญามหามิตรกันมาหนึ่งเดือน โนเวลล์ยังคงเดินหน้าที่จะนำเทคโนโลยีของทางไมโครซอฟท์มาใช้ในโครงการโอเพนซอร์สอย่างต่อเนื่อง จากเมื่อสัปดาห์ก่อนที่ได้เสนอแพพตซ์ใหม่สำหรับโปรแกรม Calc เพื่อให้รองรับ Visual Basic for Application จากโปรแกรม Excel ไปแล้ว ตอนนี้โนเวลล์ก็ประกาศความสำเร็จล่าสุดด้วยการแพตซ์ OpenOffice.org (OO.o) เพื่อให้รองรับฟอร์แมต OpenXML ที่เป็นคู่แข่งเต็มตัวของ OpenDocument ที่สำคัญคือ OO.o รุ่นของทางโนเวลล์นี้จะใช้ OpenXML เป็นมาตรฐานแทนที่จะเป็นการรองรับเพียงอย่างเดียว
Richard Stallman กล่าวในงานประชุม international GPLv3 conference ครั้งที่ 5 ที่โตเกียวเมื่อสัปดาห์ก่อน (transcript) ว่าข้อตกลงระหว่าง Microsoft กับ Novell ในเรื่องสิทธิบัตรนั้นไม่ได้ละเมิด GPLv2 แต่อย่างใด (รวมถึงร่างปัจจุบันของ GPLv3 ด้วย)
สาเหตุก็เพราะในข้อตกลง ไมโครซอฟท์ไม่ได้ให้สิทธิ์ของสิทธิบัตรแก่ Novell (ซึ่ง GPLv2 Section 7 จะมีผล) แต่ไมโครซอฟท์เพียงแค่ให้การคุ้มครองทางสิทธิบัตรกับ"ลูกค้า"ของ Novell เท่านั้น
แน่นอนว่า GPLv3 จะถูกแก้ไขให้ครอบคลุมกับข้อตกลงทางกฎหมายอ้อมๆ แบบนี้ ซึ่ง Eben Moglen ตัวแทนของ Free Software Foundation กำลังดำเนินการอยู่
ใกล้ครบรอบหนึ่งเดือนหลังการเซ็นสัญญาระหว่างโนเวลล์ ผู้ขายลินุกซ์อันดับสองของโลก ที่จับมือกับไมโครซอฟท์ไปอย่างชื่นมื่น ผลที่ได้คือเงินสดมากถึง 348 ล้านดอลลาร์ โดยหลักแล้วสัญญานี้คือการแลกสิทธิบัตรซึ่งกันและกัน ซึ่งก็มีการจ่ายเงินข้ามไปข้ามมา โดยสุดท้ายแล้วคนที่ได้เงินคือโนเวลล์
การตกลงครั้งนี้ มองครั้งแรกดูเป็นเรื่องดีกับโลกโอเพนซอร์สพอสมควร (อย่างน้อยก็ในสายตาของผม) เพราะการแลกสิทธิบัตรครั้งนี้หมายถึงโนเวลล์นั้นจะมีโอกาสหาลูกค้าระดับองค์กรได้เป็นจำนวนมาก เช่นการใช้ ASP และ Samba ในโนเวลล์ลินุกซ์ ตลอดจนการเข้าถึงไฟล์ฟอร์แมตของไมโครซอฟท์ นั้นจะอุ่นใจได้ว่าจะไม่มีปัญหากับไมโครซอฟท์แน่ๆ อย่างน้อยก็ในช่วงที่สัญญามีผลไปจนถึงปี 2012
หลังจากการเซ็นสัญญากับโนเวลล์ไปไม่ถึงสัปดาห์ สตีฟ บอลเมอร์ก็ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าระบบปฎิบัติการลินุกซ์นั้นมีส่วนประกอบที่ละเมิดสิทธิบัตรของไมโครซอฟท์อยู่หลายส่วน การประกาศเช่นนั้นเหมือนเป็นการแสดงการคุกคามให้ผู้ขายลินุกซ์ต้องทำความตกลงกับทางไมโครซอฟท์เช่นเดียวกับที่โนเวลล์ทำ
แน่นอนว่าการประกาศจากไมโครซอฟท์เช่นนี้จะทำให้โลกโอเพนซอร์สไม่พอใจเป็นอย่างมาก และคนที่โดนพ่วงไปด้วยในงานคือโนเวลล์นั่นเอง วันนี้ทางโนเวลล์จึงต้องออกประกาศแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับแถลงการของไมโครซอฟท์ และการเซ็นสัญญาร่วมกับไมโครซอฟท์ไม่ใช่การยอมรับว่าลินุกซ์ละเมิดสิทธิบัตรของไมโครซอฟท์แต่อย่างใด
สำหรับเมืองไทย เนื่องจากเราไม่มีกฎหมายสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ ดังนั้นคนไทยก็ใช้งานกันได้โดยไม่ต้องกังวลอะไร
หลังจากไมโครซอฟท์กับโนเวลล์เซ็นสัญญากันไปเรียบร้อย โลกโอเพนซอร์สดูเหมือนจะร้อนขึ้นแทนที่จะเย็นลง ข่าวล่าสุดคือทีมงาน Samba ได้เรียกร้องต่อโนเวลล์ให้ถอนโครงการ Samba ออกจากสัญญาการไม่ฟ้องการละเมิดสิทธิบัตรระหว่างกันของไมโครซอฟท์และโนเวลล์
เหตุผลของทางโครงการ Samba ในครั้งนี้คือสัญญาครั้งนี้เป็นการแบ่งแยกระหว่างซอฟต์แวร์เสรีเพื่อการค้า และซอฟต์แวร์เสรีที่ไม่ใช่เพื่อการค้า โดยสัญญาระหว่างโนเวลล์กับไมโครซอฟท์นั้นทำให้ลูกค้าของโนเวลล์เท่านั้นที่เชื่อได้ว่าไมโครซอฟท์จะไม่ฟ้องร้องตน ขณะที่ผู้ใช้ซอฟต์แวร์เสรีทั่วไปไม่มีการป้องกันใดๆ ในเรื่องนี้ และทาง Samba มองว่าการกระทำเช่นนี้ของโนเวลล์เป็นการกระทำที่ไม่เป็นมิตรต่อชุมชนซอฟต์แวร์เสรี
เมื่อวานนี้ Novell ได้ประกาศออก Mono 1.2 ซึ่งมีคุณสมบัติที่ทุกคนรอคอยมานาน นั่นคือการสนับสนุน Win.Forms เต็มรูปแบบ ซึ่งจะช่วยให้การพอร์ตโปรแกรมจาก .NET ข้ามแพลตฟอร์มมาบน Mono ทำได้สมบูรณ์แบบมากขึ้น (เวอร์ชันเก่าๆ สนับสนุนแค่ Web.Forms)
Mono 1.2 ทำงานเข้ากันได้กับ .NET 1.1 ทั้งหมด และสนับสนุนฟีเจอร์บางส่วนของ .NET 2.0 ด้วย (เช่น C# 2.0) ผู้ใช้ Windows, Mac, Red Hat และ SUSE สามารถดาวน์โหลดได้ทันที ส่วน Debian แพกเกจคงตามมาในอีกไม่นาน
Miguel De Icaza หัวหน้าทีม Mono แถลงการณ์ลงบล็อกว่าสัญญากับไมโครซอฟท์จะไม่มีผลต่อทิศทางการพัฒนาของ Mono เพราะระมัดระวังเรื่องสิทธิบัตรตั้งแต่แรกอยู่แล้ว
ข่าวเก่า: Microsoft จับมือ Novell สนับสนุนลินุกซ์
ความคืบหน้าล่าสุดคือเอกสารของโนเวลล์ที่แจ้งต่อ SEC (คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ของสหรัฐ) เปิดเผยยอดตัวเลขที่ทั้งสองฝ่ายเกี่ยวข้อง สรุปสั้นๆ ว่างานนี้ไมโครซอฟท์จ่ายเงินให้โนเวลล์อย่างต่ำๆ 348 ล้านดอลลาร์ ส่วนโนเวลล์จะต้องจ่ายกลับประมาณ 40 ล้านดอลลาร์
348 ล้านนี่แบ่งเป็นหลายส่วน แต่ก้อนใหญ่ๆ คือค่าใบอนุญาตการใ้ช้ SLES (SUSE Linux Enterprise Server) จำนวน 240 ล้าน และค่าสิทธิบัตรอีก 108 ล้าน ตัวเลขจะเพิ่มมากกว่านี้ขึ้นกับยอดขายของผลิตภัณฑ์ในอนาคตด้วย ไมโครซอฟท์ยังตกลงว่าจะไม่เซ็นสัญญาแบบเดียวกันกับคู่แข่งของโนเวลล์ในเรื่อง Virtualization ภายในสามปีนี้
ข่าวใหญ่รอบสัปดาห์นี้คือการเซ็นสัญญาระหว่างไมโครซอฟท์กับโนเวลล์ โดยเนื้อหาสัญญามี 3 ประเด็นดังนี้
SUSE Linux Enterprise Desktop 10 เป็นผลสรุปของกลยุทธลินุกซ์ที่ Novell เริ่มมาตั้งแต่ซื้อ SUSE และ Ximian เมื่อ 2 ปีที่แล้ว SLED 10 เป็นการเอาของดีที่สุดของทั้ง SUSE, Ximian และ Novell เอง (เช่น GroupWise) มายำรวมกัน และมีกลุ่มลูกค้าคือตลาดองค์กรตามชื่อ
ตอนนี้ SLED 10 ออกรุ่น Preview ให้ดาวน์โหลดแล้ว ของใหม่คือ GUI ใหม่แบบวินโดวส์ (มี Start Menu, Control Panel เป็นเรื่องเป็นราว), ปรับแต่ง OpenOffice.org ให้ใช้ VBA Macro ได้, โปรแกรมใหม่ๆ จากโครงการ Mono และเปิด XGL มาตั้งแต่ต้น