เมื่อวันที่ 17 มีนาคมที่ผ่านมา ทาง Zend ได้ปล่อย Zend Framework 1.5 แล้วครับ หลังจากที่มี Released Candidate มาให้ใช้กันได้สักพักแล้ว โดยมีความสามารถใหม่ๆ ที่ผมคิดว่าน่าสนใจเพิ่มขึ้นมาพอสมควร เช่น
บทความนี้เป็นตอนสุดท้ายในชุด FOSDEM สำหรับสองตอนแรกเป็นเนื้อหาในห้องสัมมนา ส่วนตอนนี้เน้นรูป พาเที่ยวดูบรรยากาศอย่างเดียวว่า geek ฝรั่งมันทำอะไรกันบ้าง
สองตอนที่แล้ว
ตามกำหนดทุกหกเดือน GNOME 2.22 ออกแล้ว สำหรับฟีเจอร์ใหม่ ดูใน ข่าวเก่า หรือแบบเต็มๆ ในบันทึกประจำรุ่นของ GNOME 2.22 (ภาษาไทย) ก็ได้เช่นกัน
สำหรับผู้ใช้ทั่วไปก็เช่นเดิมครับ รอ Ubuntu 8.04 หรือ Fedora 9 ซึ่งจะออกช่วงเดือนเมษายนนี้ ผมใช้ 8.04 alpha 6 อยู่ก็โอเคพอสมควร ทำงานได้ราบรื่นดี โปรแกรม Cheese นี่สนุกใช้ได้เลย
ที่มา - Ars Technica
ต่อจากวันแรก ไม่ต้องเสียเวลาเกริ่น เริ่มกันเลย
สำหรับวันที่สองนี้ผมใช้เวลาครึ่งเช้าไปในห้อง Drupal
ผมไปงานประชุมสัมมนามาเยอะพอสมควร แต่บอกตามตรงว่านี่เป็นครั้งแรกที่ไปงานความยาว 2 วัน นั่งฟังมาราธอน 17 เรื่อง และไม่มีอันไหนเลยที่คนพูดใช้ PowerPoint ประกอบการนำเสนอ!!!
งานนี้ชื่อว่า Free and Open Source Software Developers’ European Meeting หรือ FOSDEM งานประชุมด้านโอเพนซอร์สที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป (และอาจใหญ่ที่สุดในโลก อีกงานคือ OSCON ซึ่งจัดในสหรัฐ)
Singularity เป็นระบบปฏิบัติการในห้องทดลองของไมโครซอฟท์ (อ่านข่าวเก่า รู้จักกับ Singularity ประกอบ) จุดเด่นของ Singularity คือโค้ดเกือบทั้งหมดเป็น managed code คือ C#
Singularity 1.0 เสร็จสมบูรณ์ในปี 2007 และทีมพัฒนากำลังมุ่งไปสู่เวอร์ชัน 2.0 ทางไมโครซอฟท์จึงได้เปิดซอร์สโค้ดของรุ่น 1.0 เพื่อการศึกษาในชื่อ Singularity Research Development Kit โดยดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ CodePlex ซึ่งเป็นเว็บไซต์รวมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สของไมโครซอฟท์
จากรายงานของ InformationWeek ได้มีการกล่าวถึงนโยบายที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ของการลดราคาขายปลีกของระบบปฏิบัติการวินโดวส์วิสต้าจากไมโครซอฟท์
ในข่าวเก่า ได้มีการรายงานราคาใหม่ของวิสต้าในสหรัฐไปแล้ว แต่ในบางประเทศอย่างสหราชอาณาจักรนั้น ราคาเวอร์ชั่น Home Premium ลดลง 44% มาที่ 131.92 ปอนด์จาก 233.60 ปอนด์
โดยหลักการในการตั้งราคาใหม่นั้นขึ้นอยู่กับตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางตลาดที่มีการแข่งขันสูงจากกลุ่มซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ทำให้ในบางประเทศ ไมโครซอฟท์จำเป็นต้องตัดราคามากถึง 48%
หลังจากที่ Drupal 6.0 เพิ่งออกมาได้ไม่นานก็มี Drupal 6.1 มาให้ใช้กันแล้วครับ โดยเป็นการแก้ไขปัญหาทางด้านความปลอดภัยต่างๆ ของโค้ดที่เพิ่มขึ้นมาใน Drupal 6 (หลักๆ เลยคือช่องโหว่ Cross site scripting) ดังนั้นผู้ที่ใช้ยังใช้ Drupal 5 ก็ไม่ต้องกังวลอะไรครับ
ตัวผมเองก็อยากจะใช้ Drupal 6 กับเขาเหมือนกัน แต่โมดูลที่พึ่งพาอยู่มากมายยังไม่รองรับนี่สิ
ที่มา - Drupal
Google Summer of Code จัดมาหลายปีแล้ว ถ้าใครยังไม่รู้มันคือโครงการของ Google ที่สนับสนุนให้นักเรียนนักศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วโลกมีส่วนร่วมในการพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่เข้าร่วมโครงการ โครงการนี้มีผู้เข้าร่วม 3 ประเภท ได้แก่
ซึ่งสุดท้ายแล้วทุกคนก็จะได้สิ่งตอบแทนดังนี้
วรภัทร บุญญฤทธิพงษ์ นักเรียนชั้นมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้รับรางวัล Grand Prize จากโครงการ Google Highly Open Participation Contest จากการร่วมงานพัฒนาซอฟต์แวร์ Moodle ที่เป็นซอฟต์แวร์ Course Management System
หลังจากรอคอยกันมานาน CMS ที่มาแรงอย่าง Drupal ก็ออกรุ่น 6.0 มาอย่างเป็นทางการแล้ว ด้วยความสามารถที่เพิ่มขึ้นจากเวอร์ชั่น 5.x เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการรองรับ OpenID, Workflow ในตัว ตลอดจนการเปลียนแปลงภายในอีกจำนวนมาก ที่ช่วยให้การพัฒนาธีม และโมดูลใหม่ๆ ทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
แม้จะเป็นการออกตัวจริงหลังจากอยู่ในช่วง Release Candidate มานานแล้ว แต่โมดูลต่างๆ ก็ยังพัฒนาตามกันมาไม่ครบถ้วนนัก ดังนั้นหากใครที่ต้องการอัพเกรด ควรตรวจสอบโมดูลทั้งหมดว่าได้อัพเกรดกันมาแล้วรึยังนะครับ
สำหรับ Blognone เดี๋ยวขอผมตรวจสอบอีกทีแล้วจะอัพเกรดให้เร็วที่สุด เมื่อโมดูลต่างๆ พร้อมแล้วครับ
ที่มา - Drupal
Trolltech ประกาศการรวม WebKit เข้าไว้เป็นโมดูลใน Qt ซึ่งจะทำให้สามารถพัฒนาบริการ Web 2.0 ลงในโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้สะดวกและหลากหลายยิ่งขึ้น รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนแพลตฟอร์มอื่นโดยใช้ Qt ด้วย การรวมกันนี้จะออกมาให้ได้ใช้กันใน Qt 4.4 ตอนนี้ก็สามารถดาวน์โหลด pre-release มาลองใช้กันได้แล้ว
Qt เป็นชุดเฟรมเวิร์คสำหรับพัฒนาโปรแกรมได้ข้ามแพลตฟอร์ม ถูกนำไปใช้พัฒนา KDE, Google Earth เป็นต้น ส่วน WebKit นั้นเป็นเอ็นจินของเว็บเบราว์เซอร์แบบโอเพนซอร์ส
ถูกนำไปใช้พัฒนา Safari, เว็บเบราว์เซอร์ในไอโฟนและโนเกีย S60 เป็นต้น
บริษัท OpenLogic แถลงผลการวิจัยถึงการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในระดับองค์กร ว่ามีการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยซอฟต์แวร์ 75 ชุดในปี 2006 มาเป็น 94 ชุดต่อองค์กรในปี 2007 ที่ผ่านมา
ที่น่าสนใจคือผู้ใช้ระดับองค์กรณ์ส่วนมากจะเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตเป็น Apache License สูงที่สุดถึงร้อยละ 62 ขณะที่ GPL นั้นตามมาที่ร้อยละ 27 และที่เหลือเช่น BSD, CPL, Eclipse และ MPL นั้นอยู่ที่ร้อยละ 4 ต่อรูปแบบสัญญาอนุญาต
สาเหตุที่สัญญาอนุญาตแบบ Apache ได้รับความนิยมสูงสุดนั้นน่าจะเป็นความยืดหยุ่น ที่เปิดให้ผู้ใช้เข้าไปแก้ซอฟต์แวร์ได้โดยไม่ต้องเปิดเผยซอร์สโค้ดเช่น GPL
คุณ Mary Jo Foley ได้สัมภาษณ์ Sam Ramji ไดเรกเตอร์ฝ่ายเทคโนโลยีแพลทฟอร์มของไมโครซอพท์เกี่ยวกับทิศทางของไมโครซอพท์เองกับโอเพนซอร์ส ซึ่งก็ได้คำตอบมาว่า "ตอนนี้ไมโครซอพท์เองกำลังมุ่งไปที่การใช้งานโอเพนซอร์สบน Windows โดยเฉพาะความเข้ากับได้ระหว่างโปรแกรมในชุด LAMP กับ Windows"
พร้อมกันนี้คุณ Ramji แสดงให้คุณ Mary ดูพรีเซนเทชั่นซึ่งแสดงทิศทางของไมโครซอพท์กับโอเพนซอร์สได้ครบถ้วนครับ (ดูรูปที่นี่)
เว็บไซต์ Phoronix รวมฟีเจอร์ใหม่ 8 อย่างของ GNOME 2.22 ที่จะออกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนนี้ (ได้ใช้กันใน Ubuntu 8.04)
หลังจากถูกออราเคิลพยายามตัดแขนขา ด้วยการไล่ซื้อทั้ง SleepyCat และ InnoDB ไปก่อนหน้านี้ ฝ่าย MySQL ก็ได้ออก Storage Engine ระดับองค์กรของตัวเองมาในชื่อว่า Maria แล้ว โดยผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดซอร์สโค้ดมาติดตั้งได้จาก BitKeeper ของทาง MySQL
Maria เป็น Storage Engine ที่มีความสามารถครบถ้วนต่างจาก MyISAM ที่มากับ MySQL เดิมที่ยังขาดความสามารถในหลายๆ ส่วน โดยความสามารถหลักๆ ที่เพิ่มขึ้นมาใน Maria คือ
ถ้าใครเป็นแฟน KDE อาจเคยเห็นความพยายามในการพอร์ต KDE ไปลงบนแมคอินทอช (ซึ่งทำได้ไม่ยากนักผ่าน Apple X11 เช่นเดียวกับโปรแกรมจากลินุกซ์อื่นๆ อย่าง GIMP) แต่ล่าสุด KDE สามารถพอร์ตไปรันบนวินโดวส์ได้แล้ว
ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ Qt ซึ่งเป็น toolkit แบบข้ามแพลตฟอร์มที่ใช้ใน KDE ซึ่งใน Qt 4 ที่ออกมาได้สักระยะนั้น ทางบริษัท Trolltech ได้ปรับสัญญาอนุญาตจากเดิมที่จำกัดเงื่อนไขบนวินโดวส์ มาเป็น GPLv2 สำหรับทุกแพลตฟอร์ม (และล่าสุดเพิ่ม GPLv3 ให้ด้วย ดูข่าวเก่า)
บริษัท Trolltech จากนอร์เวย์ ผู้พัฒนา Qt toolkit ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าใช้ใน KDE (แต่นอกนั้นยังมี Opera, Skype และ Google Earth) ประกาศว่า Qt ใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPLv3 แล้ว
อย่างไรก็ตาม สัญญาอนุญาตเดิมของ Qt ซึ่งมีทั้ง Qt license และ GPLv2 ก็ยังใช้ได้อยู่ โดยผู้ใช้มีสิทธิ์เลือกได้ตามต้องการ
Richard Stallman แสดงความยินดีกับการตัดสินใจครั้งนี้ และแสดงความเห็นว่านี่เป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการปรับ KDE ไปใช้ GPLv3 ด้วยในอนาคต
ที่มา - Trolltech
นิตยสาร Linux Magazine รวบรวมรายชื่อ 20 บริษัทโอเพนซอร์สที่น่าจับตามองในปีนี้
โดยพื้นฐานแล้ว Android ก็คือลินุกซ์ที่มีจาวาเฟรมเวิร์คมาให้ในตัว ดังนั้นแล้วจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ที่จะนำ Android ไปรันในฮาร์ดแวร์อื่นๆ นอกจากโทรศัพท์มือถือตามปรกติ ล่าสุดก็มีแฮกเกอร์ออกมาประกาศความสำเร็จในการนำ Android ไปติดตั้งใน PDA รุ่น Sharp Zaurus SL-C760 และ SL-C3000 ได้สำเร็จแล้ว
การแฮกครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการทำ Android ออกมารันในฮาร์ดแวร์ทั่วไปได้ โดยฮาร์ดแวร์ตัวแรกที่มีแฮกเกอร์ทำไปรันได้จริงๆ นั้นคือบอร์ดพัฒนาชิป ARM11 ของบริษัท Armadillo แต่ด้วยราคาที่แพงกว่าอุปกรณ์ทั่วไปมาก เทียบกับ Zaurus ที่แฮกมาได้นี้มีราคามือสองอยู่ที่ไม่ถึงหนึ่งหมื่นบาทแล้วก็นับว่าน่าสนใจอยู่มาก
รัฐบาลเนเธอร์แลนด์อนุมัติแผนการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส-เก็บข้อมูลในฟอร์แมตที่เป็นมาตรฐานเปิด เช่น ODF โดยมีเส้นตายรอบแรกในเดือนเมษายน 2008 นี้
โฆษกของกระทรวงเศรษฐกิจกล่าวว่า เหตุผลสำคัญคือการลดค่าใช้จ่าย และลดการพึ่งพาผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายใดรายหนึ่ง โดยหน่วยงานในภาครัฐจะยังสามารถใช้งานซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์แบบเก่าได้ต่อไป ตราบเท่าที่อยู่ในเงื่อนไขของนโยบายใหม่นี้ (เนื่องจากข่าวต้นฉบับไม่ได้ให้ลิงก์รายละเอียดของนโยบายมาด้วย เลยไม่มีข้อมูลว่าเค้าจะทำอะไรกันบ้าง)
ปัจจุบันกระแสใช้งานโอเพนซอร์สฝั่งรัฐบาลมาแรงมากในยุโรป ทั้งระดับชาติอย่างเช่นข่าวนี้ และระดับเทศบาลเมืองใหญ่ เช่น มิวนิกและเวียนนา เป็นต้น
MovableType ซอฟต์แวร์ CMS สำหรับทำบล็อกชื่อดัง ได้ประกาศโอเพนซอร์สเวอร์ชัน 4.0 โดยใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPLv2
MovableType เป็นซอฟต์แวร์ทำบล็อกตัวแรกๆ ในท้องตลาดซึ่งมีความสามารถหลายอย่าง และได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง แต่ในช่วงหลัง (เวอร์ชัน 3.0) ทางบริษัท Six Apart ผู้พัฒนาโปรแกรมได้เปลี่ยนสัญญาอนุญาตใช้งานของเวอร์ชันฟรีให้จำกัดมากขึ้น ผู้ใช้จำนวนมากจึงย้ายไปใช้โปรแกรมที่ลักษณะใกล้เคียงกันอย่าง WordPress แทน ภายหลัง MovableType จึงแก้ปัญหาโดยการออกเวอร์ชัน 3.2 ที่ผ่อนปรนมากขึ้น และ 3.3 ที่ฟรีสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป จนมาประกาศโอเพนซอร์สเวอร์ชัน 4.0 ในท้ายที่สุด
เว็บไซต์ Phoronix รวบรวมความเคลื่อนไหวของวงการลินุกซ์ตลอดปี 2007 ที่ผ่านมา ผมคัดบางส่วนมารวมกับข่าวเก่าของ Blognone ว่าปีนี้มีความคืบหน้าอะไรบ้าง
จากความสำเร็จของ Google Summer of Code ที่ให้นักศึกษาระดับอุดมศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการโอเพนซอร์สต่างๆ คราวนี้กูเกิลได้เปิดตัวโครงการ Google Highly Open Participation (GHOP) โดยจับกลุ่มเด็กมัธยมแทน
ไอเดียก็คล้ายกับ SoC แต่ง่ายกว่า โดยกูเกิลจับมือกับโครงการโอเพนซอร์ส 10 แห่ง (เช่น Drupal, Python, Joomla, Apache) ให้นักพัฒนาของโครงการนั้นๆ เลือกปัญหาขึ้นมาให้แก้ ซึ่งมีตั้งแต่โปรแกรมมิ่งแบบง่ายๆ ไปจนถึงเขียนเอกสาร แก้ภาพหน้าจอในเอกสารเก่า หรือทำ screencast สอนการใช้งานโปรแกรม เด็กคนไหนทำได้ครบ 3 งานรับไปก่อนเลย 100 เหรียญ พร้อมเสื้อยืดและประกาศนียบัตรจากกูเกิล (ทำได้มากที่สุด 15 งาน 500 เหรียญ) พอจบโครงการแล้วมีอีกสิบรางวัลใหญ่ได้ไปเที่ยวออฟฟิศกูเกิลที่แคลิฟอร์เนียด้วย
จากข่าวเก่าว่า Asus แจกซอร์สโค้ดของลินุกซ์ที่ใช้ใน Eee PC ไม่จริง และส่งผลให้ละเมิด GPL
ตอนนี้ทาง Asus ได้เปิดให้ดาวน์โหลดซอร์สโค้ดของ Eee PC ใหม่แล้ว (แสดงว่าคราวก่อนก็ละเมิดจริงๆ สินะ) โดยทาง Asus ได้แถลงไว้บนเว็บไซต์ด้วยว่าซอร์สโค้ดชุดนี้คือทั้งหมดเท่าที่มี ถ้าใครยังคิดว่าส่วนไหนที่ Asus เก็บเอาไว้ไม่ยอมเปิด ก็สามารถอีเมลไปสอบถามได้ เท่าที่ผมดูในเว็บไซต์ของ Asus มีส่วนที่เป็นซอร์สโค้ดของไดรเวอร์กับแอพพลิเคชันแยกให้โหลดเป็นสองไฟล์ตาม Eee PC แต่ละรุ่นนะครับ
นอกจากนั้น Asus ยังแถลงด้วยว่าเตรียมแจก SDK ของ Eee PC ในเร็วๆ นี้อีกด้วย