เว็บไซต์ Phoronix รวบรวมความเคลื่อนไหวของวงการลินุกซ์ตลอดปี 2007 ที่ผ่านมา ผมคัดบางส่วนมารวมกับข่าวเก่าของ Blognone ว่าปีนี้มีความคืบหน้าอะไรบ้าง
จากความสำเร็จของ Google Summer of Code ที่ให้นักศึกษาระดับอุดมศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการโอเพนซอร์สต่างๆ คราวนี้กูเกิลได้เปิดตัวโครงการ Google Highly Open Participation (GHOP) โดยจับกลุ่มเด็กมัธยมแทน
ไอเดียก็คล้ายกับ SoC แต่ง่ายกว่า โดยกูเกิลจับมือกับโครงการโอเพนซอร์ส 10 แห่ง (เช่น Drupal, Python, Joomla, Apache) ให้นักพัฒนาของโครงการนั้นๆ เลือกปัญหาขึ้นมาให้แก้ ซึ่งมีตั้งแต่โปรแกรมมิ่งแบบง่ายๆ ไปจนถึงเขียนเอกสาร แก้ภาพหน้าจอในเอกสารเก่า หรือทำ screencast สอนการใช้งานโปรแกรม เด็กคนไหนทำได้ครบ 3 งานรับไปก่อนเลย 100 เหรียญ พร้อมเสื้อยืดและประกาศนียบัตรจากกูเกิล (ทำได้มากที่สุด 15 งาน 500 เหรียญ) พอจบโครงการแล้วมีอีกสิบรางวัลใหญ่ได้ไปเที่ยวออฟฟิศกูเกิลที่แคลิฟอร์เนียด้วย
จากข่าวเก่าว่า Asus แจกซอร์สโค้ดของลินุกซ์ที่ใช้ใน Eee PC ไม่จริง และส่งผลให้ละเมิด GPL
ตอนนี้ทาง Asus ได้เปิดให้ดาวน์โหลดซอร์สโค้ดของ Eee PC ใหม่แล้ว (แสดงว่าคราวก่อนก็ละเมิดจริงๆ สินะ) โดยทาง Asus ได้แถลงไว้บนเว็บไซต์ด้วยว่าซอร์สโค้ดชุดนี้คือทั้งหมดเท่าที่มี ถ้าใครยังคิดว่าส่วนไหนที่ Asus เก็บเอาไว้ไม่ยอมเปิด ก็สามารถอีเมลไปสอบถามได้ เท่าที่ผมดูในเว็บไซต์ของ Asus มีส่วนที่เป็นซอร์สโค้ดของไดรเวอร์กับแอพพลิเคชันแยกให้โหลดเป็นสองไฟล์ตาม Eee PC แต่ละรุ่นนะครับ
นอกจากนั้น Asus ยังแถลงด้วยว่าเตรียมแจก SDK ของ Eee PC ในเร็วๆ นี้อีกด้วย
ขณะที่เครื่อง Eee PC ของ Asus ได้รับความสนใจเป็นอย่างสูงในช่วงหลัง ตอนนี้ก็เริ่มมีข่าวถึงการละเมิดสัญญาอนุญาตแบบ GPL กันหนาหูขึ้นเรื่อยๆ โดยประเด็นหลักที่สร้างปัญหานั้นคือการที่ Asus ได้เข้าไปแก้ไขเคอร์เนลของลินุกซ์ โดยมีการเพิ่มเติมอินเทอร์เฟชที่ชื่อว่า asus_acpi เข้าไปในตัวเคอร์เนล
ทาง Asus มีการแจกไฟล์ขนาด 1.8 กิกะไบต์บนเว็บของตัวเองโดยอ้างว่านั่นคือซอร์สโค้ดของลินุกซ์ในเครื่อง Eee PC แต่ผู้ที่โหลดมาก็พบว่ามันเป็นเพียงไฟล์ deb ที่บีบอัดรวมกัน อีกทั้งเป็นคนละเวอร์ชั่นกับที่ใช้งานในเครื่อง Eee PC อีกด้วย
Eee PC ใช้งานลินุกซ์ Xandros รุ่นพิเศษโดยก่อนหน้านี้กรณีของ Xandros ก็มีข้อถกเถียงกันมาก่อนในประเด็นที่ไปเซ็นสัญญาสิทธิบัตรกับไมโครซอฟท์มาก่อนแล้ว
เป็นประเพณีที่ช่วงธันวาคมของทุกปีทาง Linux Foundation จะแถลงผลสำรวจการใช้งานลินุกซ์ โดยในปีนี้มีผู้เข้าร่วมตอบแบบสำรวจประมาณสองหมื่นคน และประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามมาจากฝั่งยุโรป และเนื่องจากผลสำรวจนี้เปิดเผยให้ทุกคนเข้าไปดูได้ และอีกหนึ่งสัปดาห์จะปิดการสำรวจ ผลการสำรวจนี้จึงไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงไปมากนัก
ในปัจจุบัน สัญญาอนุญาตแบบ GNU GPL ใช้กันอย่างแพร่หลายในซอฟท์แวร์ต่างๆ มากมาย ทั้งในฝั่งเซิฟเวอร์หรือฝั่งผู้ใช้ทั่วไป ถ้าหากมีการแก้ไขซอร์สโค้ดนั้นเพื่อแจกจ่าย จำเป็นต้องเปิดเผยซอร์สโค้ดที่แก้ไขนั้นๆ แต่ในสัญญาอนุญาต GNU GPL นั้น ไม่ได้ครอบคลุมถึงการแก้ไขซอร์สโค้ดและเปิดเป็นบริการให้แก่ผู้ใช้ โดยไม่มีการแจกจ่ายตัวซอฟท์แวร์
หลังจากที่ ออกเวอร์ชัน 0.98 และถูกรีวิวเมื่อนานมาแล้ว ตอนนี้ก็ได้ฤกษ์ออกเวอร์ชัน 1.0 ให้ผู้ใช้ทั่วไปได้ลองใช้งานซะที ซึ่ง Miro (หรือชื่อเดิมคือ Democracy Player) อยู่ภายใต้การดูแลของ Participatory Culture Foundation ดังนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องการใช้งาน ฟรีแน่นอน โดยโปรแกรมใช้สำหรับดูวิดิโอออนไลน์ แนวคิดเดียวกับ Joost คือช่วยกันโหลดผ่าน BitTorrent แต่แตกต่างกันที่ว่า Miro นั้นเปิดให้โหลดได้โดยไม่มี DRM มาคอยกวนใจ ตอนนี้หาโหลดมาลงได้ทั้ง วินโดวส์ แมค ส่วนลินุกซ์ต้องไปคอมไพล์โค้ดเอง ผู้ใช้ ubuntu โชคดีหน่อย ทางผู้พัฒนาทำแพคเกจมาให้แล้วโหลดแล้วลองได้เลย
สมัยเราเรียนวิชาระบบปฏิบัติการ มาน่าจะได้ยินชื่อของ MULTICS ในช่วงที่เรียนประวัติศาสตร์ของระบบปฏิบัติการมาบ้าง โดย MULTICS นี้เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี 1965 และเป็นต้นแบบของระบบปฏิบัติการตระกูล *NIX เกือบทั้งหมด
MULTIC ออกจากห้องวิจัยออกไปในฐานะสินค้าของบริษัท GE ที่ขายช่วงเวลาการใช้คอมพิวเตอร์บนเครื่อง 85 ชุดในช่วงที่ MULTICS รุ่งเรืองสูงสุด การพัฒนา MULTICS จบลงในช่วงปี 1985 ที่ผ่านมา หลังจากที่ทาง MIT ถอนตัวจากการพัฒนาไปตั้งแต่ปี 1970 ส่วนคอมพิวเตอร์เครื่องสุดท้ายในโลกที่รัน MULTICS นั้นปิดตัวลงไปในช่วงปี 2000 ที่ผ่านมา
ขณะที่โทรศัพท์มือถือที่ใช้งานระบบปฏิบัติการ Android ยังไม่ออกวางจำหน่าย เรื่องน่ากังวลเรื่องหนึ่งคือการที่โค้ดทั้งหมดของ Android นั้นเป็นสัญญาอนุญาตแบบ Apache License ทำให้ผู้นำโค้ดเหล่านี้ไปพัฒนาต่อไม่จำเป็นต้องคืนโค้ดส่วนที่พัฒนาต่อกลับไปยังชุมชนเสมอไป ทำให้เริ่มน่ากังวลว่าผู้ผลิตโทรศัพท์มือถืออาจจะดัดแปลง Android จนทำงานร่วมกันไม่ได้ในที่สุด
ในเรื่องนี้ทางกูเกิลออกมาแถลงว่าบริษัทที่เข้าร่วม Open Handset Alliance (OHA) นั้นได้เซ็นสัญญาที่จะไม่ดัดแปลงให้ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์ของตนทำงานร่วมกับโทรศัพท์เครื่องอื่นๆ ไม่ได้ไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่หากมีบริษัทที่ไม่ได้เข้าร่วม OHA แล้วนำ Android ไปดัดแปลงก็เป็นเรื่องที่ทำได้
หลังจากซื้อ JBoss ไปก่อนหน้านี้ทางเรดแฮทก็มีธุรกิจที่ผูกพันกับจาวาค่อนข้างมาก การเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดของเรดแฮทต่อจาวาจึงเป็นการเข้าร่วมพัฒนา JDK กับทางซันอย่างเป็นรูปธรรม โดยที่ค่อนข้างแน่คือจะมีการรวมโครงการ IcedTea ของทางเรดแฮทเองเข้ากับทาง OpenJDK พร้อมกับขอรับสิทธิในการใช้งาน OpenJDK Community Test Compatibility Kit (TCK) เพื่อยืนยันว่า OpenJDK ที่มาจากทางเรดแฮทนั้นสามารถใช้งานได้เหมือนกับ JDK มาตรฐานจากทางซันเอง
รางวัล CMS Award '07 จัดโดยโรงพิมพ์ Packt ซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับ CMS รายใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีเปิดให้มีการโหวตเป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อคัดเลือกผู้เข้ารอบ 5 ตัวสุดท้าย แล้วให้คณะกรรมการคัดเลือกผู้ชนะ และรายชื่อผู้ชนะรางวัล CMS Award '07 คือ
2007 Overall Open Source Content Management System Award ซึ่งเป็นรางวัลที่ใหญ่ที่สุด สำหรับ CMS ที่ดีที่สุด ได้แก่
ช่วงหลายปีให้หลังมานี้ลินุกซ์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงอย่างเงียบๆ ตัวหนึ่งก็คือ OpenWRT ที่มีการใช้งานกันในเราท์เตอร์ราคาถูกตามบ้านจำนวนมาก แต่การใช้งาน OpenWRT ก็มีความเสี่ยงค่อนข้างมาก เนื่องจากจะส่งผลให้หมดประกันทันทีหลังการติดตั้ง และขั้นตอนการติดตั้งก็เป็นการลองผิดลองถูกกันเอง
GIMP 2.4 ออกมาแล้ว ในครั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เพื่อเข้าใกล้ photoshop ไปอีกขั้น
(ผมคิดว่าคงไม่ต้องอธิบายผู้อ่าน Blognone ว่า RMS เป็นใครนะครับ)
RMS ไปพูดที่มหาวิทยาลัยเยลในงานของ Yale Political Union โดยโจมตี DRM และเสนอว่า DRM ควรจะเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่ที่น่าสนใจคือก่อนพูด RMS ถูกรุมล้อมโดยกลุ่มนินจาชุดดำไม่ให้ขึ้นเวที (ซึ่งมีที่มาจาก xkcd - คงเป็นนักศึกษาแถวนั้น) ซึ่งสุดท้ายเหล่านินจาก็ไม่สามารถขัดขวางอุดมการณ์ซอฟต์แวร์เสรีของ RMS ได้
บ่อยครั้งที่เราต้องการเรียกใช้เว็บเซอร์วิสโดยที่ไม่เขียนโปรแกรม อาจจะเพื่อต้องการจะดูผลเฉย ๆ หรืออาจจะต่อยอดการพัฒนาโปรแกรมต่อไปโดยการที่ต้องการจะเห็นข้อความ SOAP ที่ส่งระหว่างผู้ให้บริการและผู้เรียกใช้เว็บเซอร์วิสก่อนที่จะเขียนโปรแกรม
ถ้าหากเราใช้เครื่องมือในการพัฒนาเว็บเซอร์วิส เราก็จะสามารถตรวจสอบการเรียกใช้เว็บเซอร์วิสได้ ซึ่งเครื่องมือโดยทั่วไปก็จะสนับสนุนในส่วนของการสร้างข้อความ SOAP (SOAP Message Generator) เครื่องมือเหล่านี้ก็อาทิเช่น NetBeans และ Microsoft Visual Studio .NET แต่ถ้าหากเราอยากจะเป็นผู้เรียกใช้เว็บเซอร์วิสเท่านั้น และไม่ต้องการเสียเวลาดาวน์โหลดหรือซื้อเครื่องมือในการพัฒนาเว็บเซอร์วิส
หลังการรอคอยมาหกเดือน Gutsy Gibbon ที่เป็นชื่อรหัสของ Ubuntu Linux ตัวล่าสุดก็เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วในวันนี้ เช่นเดียวกับการเปิดตัวปรกติ Ubuntu 7.10 เปิดตัวในสามรูปแบบหลักๆ โดยมีฟีเจอร์ใหม่ๆ ดังนี้
OSI ประกาศรับรอง Microsoft Public License (Ms-PL) และ Microsoft Reciprocal License (Ms-RL) แล้วเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2550 ที่ผ่านมา หลังจากที่เสนอเข้าไปเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2550
ถ้าใครติดตามเซคชันใหม่ Press Release ของเราคงเห็นข่าวงาน Asia Open Source Software Conference & Show Case กันไปบ้างแล้ว
ล่าสุดมีข่าวการจัดงานอย่างเป็นทางการมาแล้ว โดยมีสัมภาษณ์ผู้บริหารขององค์กรเจ้าภาพทั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์, กระทรวงไอซีที, เนคเทคและซิป้า เกี่ยวกับทิศทางด้านโอเพนซอร์สในประเทศไทย ขอยกคำพูดมาซักสองท่าน
ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แผนแม่บทด้านโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์จะเป็นแผนแม่บทที่ผนวกเข้าไว้ในแผนแม่บทใหญ ที่เรียกว่าไอที 2020 ที่ตรงนี้ ครม. เพิ่งอนุมัติเมื่อประมาณเดือนที่แล้วเรื่องแผนปฏิบัติด้านไอที
ตอนนี้ KDE ได้ปล่อยตัวอัปเดตล่าสุดของรุ่น 3.5 ออกมาแล้วครับคือรุ่น 3.5.8 (แก้ขัดโรคเลื่อน KDE 4.0) โดยหลักๆ ก็จะเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดที่มีอยู่จากรุ่นก่อนๆ โดย
คนทำงานจาวาคงได้ยินชื่อ Eclipse RCP กันเยอะอยู่แล้วในช่วงหลังมานี้ แต่เพื่อลดแรงต้านจากกระแส Web Application ที่เชี่ยวกราก ทาง Eclipse Foundation จึงมีโครงการ Rich Ajax Platform (RAP) ที่ใช้ API ชุดเดียวกับใน RCP โดยตัดความสามารถบางส่วนออกไป ทำให้นักพัฒนาไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด
เท่าที่ลองดูเดโมพบว่าความเร็วค่อนข้างน่าประทับใจอยู่มาก งานนี้ทางฝั่ง Google Web Toolkit คงมีคู่แข่งเข้าแล้วจริงๆ
ที่มา - Artima Developer, Eclipse
หมัดเก้า การใช้งานร่วมกับภาษาไทย
เนื่องจากปัจจุบัน CMS ทั้ง 4 ตัวนี้ต่างเลิกสนับสนุนตระกูล ASCII ไปสนับสนุน Unicode ดังนั้นจึงมีปัญหากับภาษาไทยน้อย ยกเว้นเป็นผู้ใช้เก่า โดยเฉพาะผู้ใช้ Mambo ซึ่งในการปรับปรุงให้เป็นรุ่นใหม่แต่ละครั้งช่างยากเย็น เพราะนโยบายที่ประกาศออกบางครั้งไม่เป็นอย่างที่บอก แต่เนื่องจากปัญหากับภาษาไทยนั้นเป็นปัญหาค้างจากผู้ใช้เก่า ดังนั้นเราจึงสามารถมุ่งความสนใจไปสู่ส่วนภาษาไทยของผู้ดูแลและส่วนแสดงผล
หมัดเจ็ด การบริโภคทรัพยากร
"พลังอำนาจอันยิ่งใหญ่จะมาพร้อมกับความรับผิดชอบมหาศาล" ประโยคนี้จะนำมาใช้กับ CMS "ความสามารถอันยิ่งใหญ่จะมาพร้อมกับการบริโภคทรัพยากรมหาศาล" ได้เช่นเดียวกันหรือไม่ ลองติดตามดูครับ
Drupal ตัวโปรแกรมมีขนาดเล็ก การจัดการ cache ดีเยี่ยม เมื่อเทียบกับ CMS อื่นถือได้ว่าบริโภคทรัพยากรน้อยจริง ๆ
Joomla! และ Mambo ใน version ปัจจุบันนี้ความแตกต่างของ 2 ตัวนี้น้อยมาก คือทั้งสองตัวขนาดไฟล์ใหญ่ และบริโภคทรัพยากรมากพอ ๆ กัน
ถ้าใครติดตามข่าว GPL ที่ Blognone เสนอมาตลอด คงรู้ว่า GPLv3 ได้รับเสียงตอบรับไม่ดีนัก ปัจจุบันยังมีโครงการโอเพนซอร์สใหญ่ๆ แค่ 2-3 แห่งที่ประกาศตัวว่าจะใช้ GPLv3 (เช่น Samba เป็นต้น) ในขณะที่บางโครงการถึงกับต่อต้าน (เช่น ท่าทีของ Linus) แต่ส่วนมากมักยังรอดูท่าที และพอใจกับ GPLv2 ที่ใช้อยู่ปัจจุบันมากกว่า
ขอยืมพื้นที่ประชาสัมพันธ์ซักหน่อย ปฐมบทเริ่มจากมหัศจรรย์เลข 7 วันที่ 7 เดือน 7 ปี 07 ได้มีบุรุษหนุ่มนักค้นหาชื่อว่า Noel Noneck เริ่มเดินทางออกจากนิวยอร์คด้วยงบ 7777 เหรียญมุ่งหน้าไปแวะเก็บประสบการณ์ทั่ว 7 ทวีป เป็นระยะเวลา 7 เดือน ตามกำหนดการ ทวีปเอเชียเป็นอันดับ 3 ณ ปัจจุบัน Noel อยู่ที่อินเดีย และประเทศถัดไปก็คือ ประเทศไทย
ด้วยเหตุนี้จึงอยากเชิญชวนให้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพต้อนรับ Noel Noneck ในระหว่างวันที่ 28-30 กันยายน 2550 ที่จะถึงนี้ครับ มีกำหนดการคร่าวๆ แล้ว แต่ก็ยังมีหลายส่วนไม่ชัดเจน คาดว่าพรุ่งนี้จะสมบูรณ์
มีข่าวก่อนหน้านี้มานานว่าทางโครงการ OLPC กำลังจะวางขายเครื่อง XO ในประเทศที่เจริญแล้วโดยที่ผู้ซื้อต้องจ่ายแพงกว่าปรกติเพื่อบริจาคอีกเครื่องเพื่อให้กับเด็กในประเทศที่ด้อยโอกาส งานนี้โครงการดังกล่าวก็เป็นรูปเป็นร่างแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนนี้ที่ทาง OLPC จะขายเครื่อง XO ในราคา 399 ดอลลาร์ให้กับผู้สนใจ โดยจะมีอีกหนึ่งเครื่องที่ถูกส่งมอบไปยังประเทศที่ให้ความสนใจจำนวน 20 ประเทศเพื่อทดลองใช้งาน
ก่อนหน้านี้ทางโครงการ OLPC ค่อนข้างกังวลที่จะเปิดโครงการนี้เนื่องจากเด็กๆ ในสหรัฐฯ นั้นมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีค่อนข้างมาก ดังนั้นการนำเครื่อง XO ไปให้เด็กอาจจะไม่ทำให้เกิดผลดีใดๆ แต่จากการวิจัยในเด็กอายุ 7-11 ปีพบว่าเด็กให้ความสนใจเครื่อง XO เป็นอย่างดี