ผู้สมัครเฟซบุ๊กใหม่บางส่วนพบว่าเว็บเฟซบุ๊กขอ "รหัสผ่านอีเมล" เพื่อยืนยันตัวตน โดยระบุว่าใช้กับผู้ใช้กลุ่มเล็กๆ ที่ไม่รองรับการยืนยันความเป็นเจ้าของบัญชีอีเมลด้วยวิธีการอื่น เช่น OAuth
ไม่มีข้อมูลยืนยันว่าผู้ใช้กลุ่มเล็กๆ ของเฟซบุ๊กนั้นกำหนดอย่างไร โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์ @originalesushi ระบุว่าเขาทดสอบลงทะเบียน 3 ครั้งพบหน้าขออีเมล 2 ครั้ง ขณะที่ The Daily Beast ทดสอบลงทะเบียนโดย VPN ไปยังโรมาเนียก็พบหน้าจอแบบเดียวกัน
Mark Zuckerberg เขียนบทความลงใน Washington Post เรียกร้องให้มีกฎควบคุมโซเชียลมีเดียใน 4 ประเด็น คือ เนื้อหาที่เป็นอันตราย, เนื้อหาด้านการเลือกตั้ง, ความเป็นส่วนตัว และ การถือครองและถ่ายโอนข้อมูล
กูเกิลประกาศแนวทางของ Android Q ว่าเน้นความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงหนึ่งที่มีผลคือการยกเลิกไม่ให้แอปที่รันเบื้องหลังเข้าถึงข้อมูลคลิปบอร์ดอีกต่อไป
แอปที่ใช้สิทธิ์นี้มักเป็นแอปจัดการคลิปบอร์ดที่เปิดทางให้ผู้ใช้สามารถดูประวัติได้ว่าเคยสั่งก็อปปี้ข้อความใดไว้บ้าง และสามารถเลือกวางข้อความได้จากประวัติที่เคยก็อปปี้ไว้ แอปในกลุ่มนี้ดังๆ เช่น Clipper มียอดผู้ใช้กว่าล้านคน
The New York Times รายงานว่า ตอนนี้อัยการกลางกำลังสืบสวนคดีเกี่ยวกับข้อตกลงแชร์ข้อมูลของ Facebook กับบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ โดยคณะลูกขุนใหญ่ในนิวยอร์กได้ทำการสืบสวนและบันทึกหมายศาลว่าบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ที่ผลิตสมาร์ทโฟนอย่างน้อยสองราย ได้ทำข้อตกลงกับ Facebook เพื่อจะได้เข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ เช่น รายชื่อเพื่อนและข้อมูลติดต่อโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อย่างชัดเจน
โฆษกของ Facebook บอกกับ The New York Times ว่าบริษัทได้ให้ความร่วมมือกับผู้ตรวจสอบและสอบสวนปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง และได้เปิดเผยต่อสาธารณะต่อประเด็นข้อสงสัยหลายครั้ง และบริษัทมุ่งจะทำเช่นนั้นต่อไป
Mark Zuckerberg เขียนโพสต์ยาวพูดถึงความท้าทายของ Facebook ในระยะหลังมานี้ โดยมีประเด็นสำคัญคือ อนาคตของแชทจะมีความเป็นส่วนตัว และต้องเข้ารหัส
เขาบอกว่า จากการใช้งาน Stories เพิ่มขึ้นที่โพสต์แล้วหายไป ทำให้เข้าใจพฤติกรรมของคนใช้งานว่า พวกเขาไม่ได้ต้องการให้สิ่งที่โพสต์ออนไลน์นั้นคงอยู่ตลอดไป พวกเขาต้องการสื่อสารและเผยแพร่แต่ไม่ใช่กับทุกคน แต่จะสื่อสารกันเฉพาะในวงแคบ อย่างไรก็ตาม คนใช้งานยังคงต้องการโซเชียลมีเดียไว้เข้าถึงเนื้อหา ข้อมูลข่าวสาร แรงบันดาลใจใหม่ๆ แต่กับพฤติกรรมการแชทต้องเป็นส่วนตัวมากขึ้น
หลังจากเมื่อวานนี้คุณ stan ได้โพสกระทู้ ส่องดูแอป "พฤติมาตร" ของกสทช. รายงานถึงการแจกจ่ายแอปพฤติมาตร ที่ชักชวนให้ผู้คนลงแอปเพื่อร่วมลุ้นรางวัล และมีความน่ากังวลว่าแอปนี้ขอสิทธิ์ระดับลึกหลายสิทธิ์ วันนี้ทางกสทช. ก็ส่งหนังสือชี้แจงมาให้กับ Blognone แล้ว โดยระบุว่าเป็นแอปที่ต้องการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานโดยตัดข้อมูลอันอาจอ้างอิงถึงตัวบุคคลออกแล้ว
ประเด็นหนึ่งที่ผมกังวลอย่างมาก คือ ตัวแอปอยู่นอก Google Play ทางกสทช. ชี้แจงว่ากำหนดกลุ่มตัวอย่างไว้ 4,500 ตัวอย่าง "จึงไม่นำขึ้นแอปสโตร์ในชั้นนี้"
วันนี้ นอกจาก TensorFlow 2.0 Alpha แล้ว Google ก็ได้เปิดตัวไลบรารี TensorFlow อีกตัวหนึ่งด้วยในชื่อว่า TensorFlow Privacy ซึ่งวางตำแหน่งเป็นไลบรารีสำหรับงานด้าน machine learning ที่ต้องการันตีความเป็นส่วนตัว
Google ระบุว่า TensorFlow Privacy เกิดขึ้นมาเนื่องจาก machine learning ในยุคนี้ถูกประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีและประสบการณ์ผู้ใช้ใหม่ ๆ เสมอ ซึ่งหลายครั้งจะต้องเทรนข้อมูลสำคัญอย่างเช่นรูปถ่ายส่วนตัวหรืออีเมล Google จึงเปิดตัว TensorFlow Privacy ที่มีเทคนิค machine learning แบบเน้นความเป็นส่วนตัวมาก ๆ มาให้ใช้งาน
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา Jeremy Burge จาก Emojipedia ทวีตวิจารณ์ถึงนโยบายของเฟซบุ๊กที่นำหมายเลขโทรศัพท์ไปใช้งานเพื่อการค้นหาผู้ใช้และโฆษณา แม้ผู้ใช้จะใส่หมายเลขโทรศัพท์ไปเพื่อความปลอดภัยบัญชีก็ตาม
เขาระบุว่าข้อความเตือนให้เพิ่มหมายเลขโทรศัพท์เดิมนั้นระบุว่า "เพื่อความปลอดภัยบัญชี" แต่เพิ่งเปลี่ยนเมื่อปลายปีที่ผ่านมาระบุว่า "และอื่นๆ" เพิ่มเติม โดยหมายเลขโทรศัพท์ที่เพิ่มเข้าไปในบัญชีจะถูกค้นโดนเพื่อนได้ ไม่สามารถปิดการค้นหาได้ทั้งหมด
จากประเด็น FTC สั่งปรับ TikTok 5.7 ล้านดอลลาร์ ข้อหาไม่เคารพข้อมูลส่วนตัวของเด็ก และเรียกร้องให้ TikTok นำคลิปวิดีโอที่โพสต์โดยเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีออก ล่าสุด TikTok จำกัดห้ามไม่ให้ผู้ใช้ใหม่ที่มีอายุน้อยกว่า 13 ปี ในการโพสต์คลิป สร้างโปรไฟล์ คอมเมนท์ หรือส่งข้อความใดๆ ได้ แต่ยังสามารถดูคลิปของคนอื่นได้ตามปกติ
การจำกัดดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันนี้ และมีรายงานด้วยว่า ผู้ใช้หลายคนที่อายุต่ำกว่า 13 ปีพบว่าโปรไฟล์ตัวเองหายไปโดยไม่ได้รับการแจ้งเตือนใดๆ
FTC คณะกรรมการค้าแห่งสหรัฐฯ สั่งปรับ TikTok หรือที่รู้จักกันในสหรัฐฯว่า Musical.ly เป็นจำนวนเงิน 5.7 ล้านดอลลาร์ ด้วยข้อหาว่าบริษัทไม่เคารพข้อมูลความเป็นส่วตัวของเด็ก โดย TikTok ไม่เพียงแต่รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้ใช้ที่อายุต่ำกว่า 13 ปีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองเท่านั้น แต่ยังทำให้โปรไฟล์ของเด็กๆ ให้เป็นสาธารณะอีกด้วย
FTC ยังเรียกร้องให้ TikTok เคารพกฎกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของเด็กบนออนไลน์ หรือ COPPA ในอนาคต และให้นำคลิปวิดีโอที่โพสต์โดยเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีออก
กฎหมายการให้ความช่วยเหลือเข้าถึงข้อมูล (Assistance and Access Act - AAA) ของออสเตรเลียยังสร้างความกัวลให้กับบริษัทไอทีต่อเนื่อง หลังจากบริษัท Senetas ที่ขายสินค้าด้านการเข้ารหัสระบุว่าเสียโอกาสเพราะกฎหมายนี้ อีกสองบริษัทคือ Mozilla และ FastMail ก็แสดงความกังวลแบบเดียวกัน
Mozilla ระบุว่ากฎหมาย AAA เปิดช่องให้รัฐสั่งพนักงานของบริษัทเพื่อให้ความช่วยเหลือรายคนได้ ทำให้รัฐสามารถออกคำสั่งให้พนักงานที่เป็นพลเมืองออสเตรเลียต้องช่วยแก้ไข โดยหากรัฐบาลไม่ออกมาชี้แจงประเด็นนี้ ทาง Mozilla ก็ต้องถือว่าพนักงานที่เป็นพลเมืองออสเตรเลียนั้นเป็น "ภัยภายใน" (insider threat) ที่อาจจะเพิ่มช่องโหว่ให้ระบบ
Opera ออกอัพเดตเบราว์เซอร์ Opera Touch ใหม่พร้อมระบบบล็อคหน้าจอแจ้งเตือนคุกกี้บน iOS ด้วย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ Opera Touch บน Android ได้ฟีเจอร์นี้ไปแล้ว
Opera ระบุว่า ตั้งแต่เปิดตัวกฎด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล GDPR ของยุโรปนั้น ทำให้เว็บไซต์เลือกแสดงหน้าจอแจ้งเตือนคุกกี้ แต่หน้าจอเหล่านี้บางทีก็น่ารำคาญไม่แพ้โฆษณา ทำให้ Opera เพิ่มตัวเลือกนี้ให้ผู้ใช้เลือกได้ว่าอยากจะให้หน้าจอเหล่านี้แสดงหรือไม่ ซึ่งหากเปิดใช้งานแล้วจะทำให้การเข้าเว็บสมูทขึ้น ผู้ใช้โฟกัสกับคอนเทนต์ได้ดีขึ้น ไม่ต้องมากดปิดหน้าจอแจ้งเตือนนี้ทุกครั้งที่เข้าเว็บไซต์
โซเชียลมีเดียมีมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว และมีมานานพอที่เด็กคนหนึ่งจะเกิดและเติบโตมาเห็นรูปภาพและข้อมูลของตัวเองที่พ่อแม่โพสต์ลงออนไลน์ได้
เว็บไซต์ The Atlantic สัมภาษณ์เด็กๆ หลายคน เช่น Cara เด็กหญิงวัย 11 ปี พยายามถามแม่ของเธอว่าโพสต์อะไรเกี่ยวกับตัวเองลงออนไลน์บ้าง ผลปรากฏว่า ข้อมูลในทุกช่วงชีวิตของ Cara อยู่ในออนไลน์หมด เธอยังบอกด้วยว่า มันน่าประหลาดที่เห็นตัวเองในนั้น และบางรูปที่เธอก็ไม่ได้รู้สึกชอบตัวเองเท่าไรนัก และเธอคาดหวังว่า ครั้งต่อไปก่อนที่แม่โพสต์อะไรเกี่ยวกับเธอ ก็อยากให้มาบอกกันก่อน
สภาผู้แทนราษฎรของรัสเซียหรือ Duma กำลังอยู่ระหว่างการอภิปรายและพิจารณากฎหมาย Internet Sovereignty Act ในวาระแรก ซึ่งเบื้องต้นกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้บริษัทอินเทอร์เน็ตของรัสเซียต้องเก็บข้อมูลไว้ภายในประเทศ ขณะที่ทราฟฟิคอินเทอร์เน็ตของทั้งประเทศก็จะถูกควบคุมดูแลโดยรัฐด้วย
ด้านนักฎหมายและนักสิทธิมนุษยชนออกมาโจมตีกฎหมายฉบับนี้ว่าปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก (freedom of speech) รวมถึงอันตรายกับสังคมอินเทอร์เน็ตในภาพรวมของรัสเซีย เพราะรัฐบาลสามารถสั่งปิดอินเทอร์เน็ตเมื่อไหร่ก็ได้
Onavo Protect แอป VPN ของ Facebook ที่ถูกแฉว่าเอาทราฟฟิคไปวิเคราะห์พฤติกรรม โดยไม่ยอมบอกผู้ใช้ให้ชัดเจนและถูกนำออกจาก App Store เตรียมถูกปิดการให้บริการ และล่าสุดก็ถูกนำออกจาก Play Store แล้ว
ตัวแอปไม่ได้หยุดให้บริการในทันที โดยจะยังให้บริการ VPN ไปอีกซักระยะเพื่อให้เวลาผู้ใช้หาบริการ VPN อื่นใช้งานแทน แต่จะระงับการดึงข้อมูลทราฟฟิคไปทำวิจัย รวมถึงไม่โปรโมทหาผู้ใช้งานเพิ่มแล้ว
ด้านโฆษก Facebook ยืนยันว่าจะปิดตัวโปรแกรมวิจัยของ Onavo และจะหันไปโฟกัสการวิจัยด้านการตลาดที่ตอบแทนผู้เข้าร่วมวิจัยแทน
Mark Zuckerberg ให้สัมภาษณ์กับ Jonathan Zittrain อาจารย์ด้านกฎหมายของ Harvard Law School ในประเด็นที่หลากหลาย
หนึ่งในประเด็นที่สนทนาคือเรื่องการเข้ารหัสแบบ end-to-end ซึ่ง Zuckerberg บอกว่าเขาสนับสนุนแนวทางนี้ เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ โดยยกตัวอย่างเปรียบเทียบว่า "การส่งข้อความเหมือนกับห้องนั่งเล่นในบ้าน และเราคงไม่อยากอยู่ในสังคมที่มีกล้องในห้องนั่งเล่นทุกบ้านหรอก"
เจตนาของ Zuckerberg ตั้งใจหมายความว่าการส่งข้อความโดยไม่เข้ารหัส เหมือนกับห้องนั่งเล่นที่มีกล้องให้คนอื่นสอดส่องเราได้ อย่างไรก็ตาม วิธีการเปรียบเทียบของเขาดันไปเหมือนกับ Portal ฮาร์ดแวร์ของ Facebook ที่มีกล้องคุยวิดีโอคอลล์ในห้องนั่งเล่น
Karan Saini นักวิจัยความปลอดภัยไซเบอร์พบว่าทวิตเตอร์ไม่ได้ลบข้อมูลในแชทส่วนตัวออก แม้ผู้ใช้จะลบบัญชีนั้นไปแล้วก็ตาม โดยเขาพบข้อความที่มีอายุหลายปีใน archive ผ่านเว็บไซต์ซึ่งเขาพบว่าเป็นข้อความของบัญชีทวิตเตอร์ที่ไม่มีบนทวิตเตอร์แล้ว หรืออาจลบบัญชีออกไป
ทวิตเตอร์ระบุในนโยบายความเป็นส่วนตัวว่า เมื่อลบบัญชีออกและผ่านช่วงผ่อนผัน 30 วันไปแล้ว บัญชีผู้ใช้และข้อมูลต่างๆ ก็จะหายไปด้วย แต่จากการทดสอบโดยนักวิจัยความปลอดภัยไซเบอร์พบว่าไม่ไดเป็นเช่นนั้น เพราะยังสามารถกู้คืนข้อมูลแชทได้แม้จะผ่านไปเป็นปี โดยสามารถดาวน์โหลดผ่าน account’s data
การค้นพบฟิชชิ่งรูปแบบใหม่นี้ เกิดพบเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา นักวิจัยพบเว็บไซต์เริ่มโจมตีเพื่อขโมยล็อกอินเฟซบุ๊กด้วยการจำลองหน้าต่างป๊อบอัพสำหรับล็อกอินเฟซบุ๊ก ด้วยการสร้างหน้าต่างปลอมที่เป็นเพียง HTML อยู่บนเว็บของตัวเอง แต่การจำลองที่เหมือนจริงอย่างมากก็ทำให้ผู้ใช้ไม่มีทางแยกออกได้เลยว่ากำลังถูกหลอก
หน้าต่างปลอมนี้ที่จริงแล้วเป็น HTML บนเว็บที่มุ่งร้ายเอง จำลองกรอบหน้าต่าง URL bar และไอคอนวินโดวส์ต่างๆ ไว้ครบถ้วน
พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ แถลงข่าวการจับกุมนายสมชาย เข็มเพชร รองนายกเทศมนตรีพะเยา หลังพบว่าผู้ต้องหาล็อกอินเข้าใช้ระบบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำข้อมูลประวัติบุคคลไปขายชุดละ 1,000 บาท โดยมีผู้เสียหายแล้ว 500 รายชื่อ
รายงานระบุว่านายสมชาย ใช้รหัสผ่านของตำรวจที่เคยปฎิบัติหน้าที่สืบสวนและป้องกันปราบปราม รวม 5 บัญชี ตั้งแต่ระดับผู้กำกับการจนถึงระดับรองสารวัตร โดยกำลังสอบสวนว่าได้รหัสผ่านมาได้อย่างไร โดยระบบของทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติสามารถเข้าถึงได้ทั้งทะเบียนราษฎร์และประวัติอาชญากรรม
The Register รายงานถึงแฮกเกอร์ที่ประกาศขายบัญชีผู้ใช้รวดเดียวกว่า 617 ล้านบัญชีจาก 16 เว็บ ในตลาดใต้ดิน Dream Market ตั้งราคาไว้ที่ 20,000 ดอลลาร์หรือประมาณ 620,000 บาท (คร่าวๆ คือ 1,000 บัญชี 1 บาท)
ทาง The Register ได้เห็นตัวอย่างฐานข้อมูลแล้วพบว่าดูน่าเชื่อว่าเป็นฐานข้อมูลจริง โดยข้อมูลประกอบไปด้วย อีเมล, ชื่อ, และค่าแฮชของรหัสผ่าน โดยกระบวนการแฮชต่างกันไป เช่น 500px นั้นใช้ MD5 แฮชทำให้แฮกกลับมาเป็นรหัสผ่านได้ง่าย บางเว็บไซต์มีข้อมูลเพิ่มเติมเช่น โทเค็นล็อกอินจากเว็บโซเชียลมีเดียอื่น, ข้อมูลส่วนตัว, ตำแหน่งผู้ใช้ แต่ไม่พบว่ามีข้อมูลบัตรเครดิตหรือข้อมูลการจ่ายเงินแต่อย่างใด
บริษัทความปลอดภัยไซเบอร์ RSA ทำการสำรวจความคิดเห็นคนสหรัฐฯและยุโรป 6,000 คน ถึงประเด็นความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล การนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประมวลผลต่างๆ ทั้งโฆษณาเจาะกลุ่ม และการแสดงข้อมูล News Feed ตามความสนใขของแต่ละบุคคล
ผลการสำรวจพบว่า 59% คิดเห็นว่าการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้เพื่อแสดงผลบนหน้าฟีดของ Facebook, Twitterและโซเชียลประเภทอื่นนั้นเป็นเรื่องผิดจริยธรรม 48% เชื่อว่ามีหนทางที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับบริษัทที่จะนำข้อมูลลูกค้าไปใช้ มีเพียง 17% เท่านั้นที่เชื่อว่าการนำข้อมูลไปใช้เพื่อการโฆษณานั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องเหมาะสม และ 24% ที่เชื่อว่าการนำข้อมูลไปใช้เพื่อแสดงข้อมูลหน้าฟีดนั้นเป็นเรื่องถูกต้องเหมาะสม
Google ออกรายงานโครงการ bug bouty ประจำปี 2018 โดยแยกโปรแกรมออกเป็นสองอย่างคือการแจกรางวัลเมื่อแจ้งช่องโหว่ และแจกรางวัลให้งานวิจัยความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
ในส่วนของการแจกรางวัลเมื่อแจ้งช่องโหว่ Google ระบุว่า เป้าหมายของโครงการนี้คือเพื่อจูงใจให้นักวิจัยความปลอดภัย รวมไปถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจมาแจ้งช่องโหว่ให้ Google อุด และมีเงินรางวัลตอบแทนตั้งแต่ 100-200,000 ดอลลาร์ตามความร้ายแรงของช่องโหว่
Bundeskartellamt หน่วยงานต่อต้านการผูกขาดของเยอรมนี ออกคำสั่งห้าม Facebook เชื่อมข้อมูลผู้ใช้ระหว่าง Facebook, WhatsApp, Instagram เข้าด้วยกัน ก่อนได้รับความยินยอมจากผู้ใช้รายนั้น
Bundeskartellamt ให้เหตุผลว่าปัจจุบัน Facebook เป็นผู้ให้บริการ social network รายใหญ่ของโลก และไม่มีบริษัทอื่นมาเป็นคู่แข่งขันตรงๆ ถือว่ามีสถานะเกือบผูกขาดแล้ว จึงเข้าข่ายเงื่อนไขของกฎหมายต่อต้านการผูกขาด อีกทั้งธุรกิจ social network มีโมเดลหารายได้จากโฆษณา ซึ่งอิงกับข้อมูลของผู้ใช้งานเป็นหลัก
จากรายงานว่าแอปดังหลายตัวบนระบบปฏิติการ iOS ใช้เครื่องมือบันทึกหน้าจอและติดตามการใช้งานของลูกค้า โดยไม่มีการแจ้งขออนุญาต ล่าสุดแอปเปิลก็ไม่นิ่งนอนใจ ส่งอีเมลแจ้งนักพัฒนาให้ถอดการทำงานส่วนนี้ หรือเปิดเผยรายละเอียดกับผู้ใช้ว่ามีการเก็บข้อมูลอะไรบ้าง หากไม่ปฏิบัติตามแอปจะถูกถอดจาก App Store
ตัวแทนของแอปเปิลบอกว่า การปกป้องข้อมูลส่วนตัวถือเป็นจุดแข็งของระบบแอปเปิล ซึ่งข้อกำหนดของการตรวจแอปก่อนนำขึ้น App Store ระบุชัดเจนว่าแอปต้องขออนุญาตผู้ใช้ก่อนหากต้องการเก็บข้อมูลการใช้งานใด ๆ ซึ่งจากรายงานดังกล่าว แอปเปิลก็ได้แจ้งนักพัฒนาที่ตรวจพบการละเมิดข้อกำหนดดังกล่าวแล้ว
Apple ประกาศในรายการเปลี่ยนแปลงของ Safari เวอร์ชัน 12.1 โดยระบุว่าจะมีการถอดฟีเจอร์ Do Not Track หรือฟีเจอร์ “อย่าตามรอย” ออกจาก Safari อย่างถาวร
ตามคอนเซปต์ของฟีเจอร์ Do Not Track นั้น ถูกออกแบบมาเพื่อส่งสัญญาณให้เว็บไซต์, บริษัทที่ทำการวิเคราะห์ข้อมูล, บริษัทโฆษณา หรือเซอร์วิสต่าง ๆ บนเว็บ เพื่อขอให้อย่าตามรอยผู้ใช้ ซึ่งก็คือขอความร่วมมือแต่เว็บไซต์นั้น ๆ จะทำตามด้วยหรือไม่ก็ได้
Apple ระบุเหตุผลในการถอดฟีเจอร์ Do Not Track ไว้ว่าเพื่อป้องกันโอกาสในการใช้เป็น fingerprint variable ซึ่งใน iOS 12.2 และ macOS 10.14.4 ที่ตอนนี้อยู่ในช่วงทดสอบแบบเบต้าก็ไม่มีตัวเลือก Do Not Track ให้เปิดใช้งานแล้วเช่นกัน