Mozilla ได้ยกเลิกการตั้งค่าฟีเจอร์ป้องกันการตามรอยหรือ Do Not Track ของ Firefox มีผลในเวอร์ชัน 135 เป็นต้นไป ซึ่งตอนนี้ออกมาในสถานะ Nightly และแนะนำให้ผู้ใช้งานที่ต้องการป้องกันความเป็นส่วนตัวไปตั้งค่าที่ส่วน Global Privacy Control แทน
Do Not Track เป็นฟังก์ชันของเบราว์เซอร์ที่เริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปี 2009 โดยส่งสัญญาณไปที่เว็บไซต์ขอความร่วมมือไม่ให้เว็บไซต์ติดตามผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นประเด็นเพราะไม่ได้บังคับใช้จริง เว็บไซต์จะทำตามหรือไม่ก็ได้ ผลสำรวจในปี 2019 ก็พบว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่า Do Not Track ไม่ใช่การป้องกันอย่างแท้จริง
Apple ประกาศในรายการเปลี่ยนแปลงของ Safari เวอร์ชัน 12.1 โดยระบุว่าจะมีการถอดฟีเจอร์ Do Not Track หรือฟีเจอร์ “อย่าตามรอย” ออกจาก Safari อย่างถาวร
ตามคอนเซปต์ของฟีเจอร์ Do Not Track นั้น ถูกออกแบบมาเพื่อส่งสัญญาณให้เว็บไซต์, บริษัทที่ทำการวิเคราะห์ข้อมูล, บริษัทโฆษณา หรือเซอร์วิสต่าง ๆ บนเว็บ เพื่อขอให้อย่าตามรอยผู้ใช้ ซึ่งก็คือขอความร่วมมือแต่เว็บไซต์นั้น ๆ จะทำตามด้วยหรือไม่ก็ได้
Apple ระบุเหตุผลในการถอดฟีเจอร์ Do Not Track ไว้ว่าเพื่อป้องกันโอกาสในการใช้เป็น fingerprint variable ซึ่งใน iOS 12.2 และ macOS 10.14.4 ที่ตอนนี้อยู่ในช่วงทดสอบแบบเบต้าก็ไม่มีตัวเลือก Do Not Track ให้เปิดใช้งานแล้วเช่นกัน
DuckDuckGo เสิร์ชเอนจินเพื่อความเป็นส่วนตัวออกผลสำรวจเรื่องการใช้ฟีเจอร์ Do Not Track หรือ “อย่าตามรอย” เพื่อติดตามการใช้งานฟีเจอร์นี้ โดยทำการสำรวจผู้ใช้สหรัฐฯ 503 คนในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
Do Not Track เป็นฟีเจอร์ที่เบราว์เซอร์จะส่งสัญญาณเพื่อขอความร่วมมือเว็บไซต์และเว็บเซอร์วิสที่ผู้ใช้กำลังเข้าใช้งานว่าผู้ใช้ไม่ต้องการให้ตามรอย แต่เนื่องจากเป็นการขอความร่วมมือ ดังนั้นเว็บไซต์จะทำหรือไม่ก็ได้ ปัจจุบันเบราว์เซอร์เจ้าใหญ่ก็มีฟีเจอร์นี้ทั้งนั้น
Firefox มีฟีเจอร์ป้องกันการตามรอยหรือ Do Not Track มาตั้งแต่ปี 2015 แต่ก่อนหน้านี้ยังจำกัดเฉพาะในโหมด Private Browsing สำหรับคนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวแบบสุดๆ เพิ่งมามีช่วงหลังที่เพิ่มปุ่ม Do Not Track เข้ามาในโหมดปกติ เพื่อให้ผู้ใช้ทั่วไปป้องกันความเป็นส่วนตัวได้ดีขึ้น
ฟีเจอร์ Do Not Track หรือ Tracking Protection เป็นการบล็อคสคริปต์ที่ใช้ตามรอยผู้ใช้บนเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้ตลอดการท่องเว็บ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ Facebook pixel ที่ใช้ติดตามผู้ใช้ได้ว่าออกนอกระบบ Facebook แล้วไปยังเว็บไหนต่อ หรือกดซื้อสินค้าที่เห็นจากใน Facebook หรือไม่
Firefox 42 Beta เริ่มทดสอบฟีเจอร์ Private Browsing แบบใหม่ที่มี Tracking Protection ป้องกันการตามรอย
ฟีเจอร์ Tracking Protection จะป้องกันเว็บไซต์ third party เช่น social network หรือ analytics ที่ฝังคุกกี้เพื่อตามรอยว่าเราเข้าเว็บอะไรบ้าง และแสดงโฆษณาตามหลอกหลอน แม้ว่าเราจะย้ายไปชมเว็บอื่นที่ดูไม่เกี่ยวข้องกันแล้วก็ตาม
การใช้งานฟีเจอร์นี้ให้เปิดโหมด Private Browsing ขึ้นมา ในหน้าแท็บเปล่าจะเห็นปุ่ม Tracking Protection เปิดเป็น "On" อยู่ (สามารถเลือกปิดเป็นรายเว็บได้)
เมื่อสามปีก่อนไมโครซอฟท์ประกาศว่า Internet Explorer 10 เป็นเบราว์เซอร์ตัวแรกที่เปิด Do Not Track (DNT) กลไกระหว่างเบราว์เซอร์กับเว็บไซต์ ที่ผู้ใช้สามารถบอกเว็บไซต์ไม่ให้ตามรอยการท่องเว็บของตัวเองได้ มาตั้งแต่ต้น แต่ล่าสุดบริษัทปรับนโยบายใหม่ โดยจะไม่เปิด DNT ตั้งแต่ต้นหากผู้ใช้เลือกการตั้งค่า Windows Express Settings (ซึ่งจะกำหนดค่า Windows, IE ฯลฯ) เมื่อเปิดเครื่องเป็นครั้งแรกหลังติดตั้ง Windows (ทั้งติดตั้งใหม่และอัพเกรดจาก Windows รุ่นก่อนหน้า) หรืออัพเกรดจาก Internet Explorer รุ่นก่อนหน้าเสร็จ
ตามที่ไมโครซอฟท์เคยสัญญาเอาไว้ ผู้ใช้ Windows 7 สามารถดาวน์โหลด Internet Explorer 10 รุ่น release preview มาทดสอบกันได้แล้วครับ
ของใหม่ของ IE10 บน Windows 7 มีดังนี้
Chrome เป็นเบราว์เซอร์ตัวล่าสุดที่กำลังจะเริ่มใช้ฟีเจอร์ Do Not Track (DNT) หลังจากที่เบราว์เซอร์ค่ายอื่นๆ ก็เริ่มมีการใช้ฟีเจอร์นี้แล้วเช่นกัน
Do Not Track เป็นฟีเจอร์ที่ถูกสร้างเพื่อช่วยในการบล็อคบางเว็บไซต์ที่มีลักษณะสะกดรอย (tracking) เช่นตัวเก็บสถิติต่างๆ ซึ่งมีการกำหนดมาตรฐานให้สิ่งเหล่านี้เป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน โดยลักษณะของฟีเจอร์นี้คล้ายกับ AdBlock Plus ที่สามารถสร้างรายการเพื่อบล็อคเพิ่มเติมได้
หลังจากไมโครซอฟท์ประกาศว่า Internet Explorer 10 บน Windows 8 Release Preview เป็นต้นไป จะเปิดใช้ Do Not Track (DNT) เป็นค่าตั้งต้นแล้ว ก็มีทั้งคนชมและเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากบริษัททำโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต ล่าสุด Brendon Lynch ซึ่งเป็น Chief Privacy Officer ของไมโครซอฟท์ ก็ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หลังจากบริษัทปล่อย Windows 8 Release Preview แล้วก็ได้ทำวิจัยกับผู้บริโภค และพบว่าผู้บริโภคสนับสนุนแนวทาง consumer-privacy-first ที่บริษัทเส
Do Not Track (DNT) เป็นกลไกระหว่างเบราว์เซอร์กับเว็บไซต์ ที่ผู้ใช้สามารถบอกเว็บไซต์ไม่ให้ "ตามรอย" การท่องเว็บของตัวเองได้ นโยบายนี้ถูกเสนอโดยคณะกรรมการการค้า (FTC) ของสหรัฐและได้รับเสียงตอบรับจากผู้สร้างเบราว์เซอร์เกือบทุกราย (ยกเว้น Chrome)
ไมโครซอฟท์เป็นผู้สนับสนุนรายแรกๆ ของนโยบายนี้ โดย IE9 เป็นเบราว์เซอร์ตัวแรกที่ฝังความสามารถนี้มาให้ เพียงแต่ยังไม่เปิดใช้เป็นค่า default
ช่วงหลังมานี้ความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงบ่อยครั้ง ในฝั่งเบราว์เซอร์เองก็มีความพยายามจะดันฟีเจอร์ Do Not Track จากค่ายผู้ผลิตเบราว์เซอร์รายใหญ่แทบทุกเจ้า (ไมโครซอฟท์ถึงกับจะดันให้เข้าไปอยู่ใน W3C)
ฟังความเห็นจากฝั่งผู้ผลิตเบราว์เซอร์มาเยอะแล้ว ลองมาฟังความเห็นของฝั่งผู้ใช้กันบ้างว่าคิดอย่างไรกับ Do Not Track โดยทีมสำรวจจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลียได้ทำการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในออสเตรเลีย 1,100 รายเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลส่วนตัวบนเว็บไซต์ ผลคือมากกว่า 90% เห็นด้วยกับแนวทางของ Do Not Track ที่ผู้ใช้สามารถควบคุมข้อมูลที่จะถูกเก็บ และถูกใช้ได้
Opera ได้ปล่อยให้ดาวน์โหลดเบราว์เซอร์เวอร์ชันทดสอบล่าสุดของ Opera 12 "Wahoo" แล้ว
ฟีเจอร์สำคัญที่ถูกเพิ่มเข้ามาคือการรองรับระบบ Do Not Track ที่มีในเบราว์เซอร์เจ้าใหญ่ๆ เกือบหมดแล้ว ทั้ง Internet Explorer, Firefox, และ Safari (ขาดแต่ Chrome ซึ่งรองรับในลักษณะของ Extension แทน) โดยผู้ใช้ต้องเข้าไปเปิดใช้งานฟีเจอร์นี้ด้วยตัวเองเช่นเดียวกับเบราว์เซอร์อื่นๆ ครับ
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้จากที่มาครับ
ที่มา - Opera Desktop Team
ประเด็นเรื่องการ "ห้ามตามรอย" หรือ Do Not Track กำลังเป็นประเด็นร้อนในสหรัฐอเมริกา โดยฝ่ายนิติบัญญัติพยายามเสนอกฎหมายที่กำหนดเงื่อนไขไม่ให้เว็บไซต์ตามรอยผู้ใช้
กฎหมายที่เสนอมีทั้งระดับรัฐและระดับชาติ ในกรณีของระดับรัฐคือรัฐแคลิฟอร์เนีย ส่วนระดับชาติกำลังจะเสนอโดยวุฒิสมาชิก Jay Rockefeller ซึ่งเป็นประธานกรรมาธิการด้านการค้าของวุฒิสภาสหรัฐ ร่างกฎหมายนี้จะให้อำนาจคณะกรรมการด้านการค้าของสหรัฐ (FTC) ในการลงโทษหน่วยงานที่ไม่ยอมปฏิบัติตามเกณฑ์เรื่อง Do Not Track
หลังจากปล่อยให้ IE และ Firefox นำหน้าในเรื่อง Do Not Track หรือการกำหนดไม่ให้เว็บไซต์ "ตามรอย" เก็บข้อมูลของผู้ชมเว็บ ก็มีข่าวว่า Safari จะมีฟีเจอร์แบบเดียวกันตามมา
หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานว่าแอปเปิลได้เพิ่มฟีเจอร์ Do Not Track ให้กับ Safari รุ่นทดสอบที่มากับ Mac OS X 10.7 Lion แล้ว และผู้ที่ได้ทดสอบ Lion ก็เริ่มพูดถึงฟีเจอร์นี้กันแล้วตามกระดานสนทนาต่างๆ
ข่าวการเพิ่มฟีเจอร์ Do Not Track ของ Safari ทำให้ทุกคนจับตาไปยัง Chrome ซึ่งเป้นเบราว์เซอร์รายใหญ่รายเดียวที่ยังไม่มีฟีเจอร์นี้ และกูเกิลก็มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้โดยตรงอย่างโฆษณาหรือ Google Analytics
เบราว์เซอร์รุ่นใหม่ๆ เริ่มเพิ่มฟีเจอร์ Do Not Track เข้ามาบ้างแล้ว แต่ยังไม่เห็นผลจริงมากนักเพราะต้องรอให้ฝั่งเซิร์ฟเวอร์สนับสนุนด้วย (ทำงานผ่าน HTTP Header ที่ชื่อ DNT อ่านข่าวเก่า)
ล่าสุดค่าย Firefox ได้ผู้สนับสนุนรายแรกของฟีเจอร์ Do Not Track แล้ว นั่นคือ AP News Registry ซึ่งเป็นบริการวิเคราะห์ผู้อ่านข่าวของสำนักข่าว AP ปัจจุบันได้วิเคราะห์ข้อมูลของผู้เข้าชมเว็บข่าวต่างๆ กว่า 175 ล้านรายต่อเดือน จากเว็บไซต์ในเครือกว่า 800 แห่ง
ช่วงหลังนี้องค์กรภาครัฐหลายแห่งของโลกตะวันตกหันมาสนใจเรื่องความเป็นส่วนตัว กับการ "ตามรอย" หรือ tracking บนเว็บ ซึ่งเบราว์เซอร์สามรายคือ IE, Firefox, Chrome ก็ออกมาขานรับด้วยดี
รายที่ก้าวหน้าที่สุดกลับเป็น IE9 ที่รวมเอาฟีเจอร์ Do Not Track มาด้วย (Firefox 4 ก็มีใน Beta 11 เป็นต้นไป) หลักการทำงานของมันคือส่งคำสั่งผ่าน HTTP Header ไปยังเว็บไซต์นั้นๆ ว่าผู้ใช้ไม่ต้องการให้ตามรอย
ล่าสุดไมโครซอฟท์ได้ยื่นสเปก Do Not Track ของฝั่งตัวเองไปยัง W3C เพื่อเสนอเป็น "มาตรฐานเว็บ" แล้ว
จากข่าวเดิม IE9 จะเพิ่มฟีเจอร์ Tracking Protection ตามนโยบาย 'Do Not Track' ที่เสนอโดยคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (FTC)
ล่าสุดฝั่ง Mozilla ประกาศสนับสนุนนโยบาย Do Not Track แล้ว โดยซีอีโอของ Mozilla ประกาศว่า Firefox ควรจะมีปุ่ม 'Do Not Track' มาให้ในตัว และจะทำเสร็จภายในครึ่งแรกของปีหน้า (คงมากับ Firefox 4.x)
กูเกิลเองก็บอกว่าแนวทางนี้น่าสนใจ แต่ยังมีความซับซ้อนมาก และยังไม่มีนิยามที่แน่ชัดของคำว่า "ตามรอย" หรือ "track" ซึ่งกูเกิลยังรอดูความเป็นไปได้ในแนวทางต่างๆ อยู่
ที่มา - AFP
เว็บไซต์ในปัจจุบันเต็มไปด้วยเนื้อหาที่โหลดข้ามมาจากเว็บอื่น (เช่น โฆษณา, ตัวเก็บสถิติ หรือพวกปุ่ม Facebook Like) ซึ่งบางราย "ตามรอย" (tracking) ผู้ใช้ว่าเข้าเว็บไหน คลิกตรงไหน ใช้ระบบปฏิบัติการอะไรบ้าง ฯลฯ
การตามรอยลักษณะนี้ถือว่าคุกคามความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เว็บ และคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (FTC) ก็เคยออกมาเรียกร้องให้บริษัทต่างๆ มีนโยบายรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เว็บอย่างจริงจัง
เมื่อวานนี้ไมโครซอฟท์เป็นรายแรกที่ประกาศว่า IE9 จะมีฟีเจอร์ Tracking Protection ที่ช่วยไม่ให้เราถูก "ตามรอย"