Skype เริ่มทดสอบฟีเจอร์เข้าด้วยโปรโตคอลของ Signal ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ล่าสุด Skype ก็เปิดฟีเจอร์นี้ให้ใช้งานอย่างเป็นทางการแล้ว ทั้งแอพบน iOS, Android และเดสก์ท็อปทั้ง Linux, Mac และ Windows
วิธีใช้การสนทนาเข้ารหัสของ Skype คือตอนกดเริ่มแชทใหม่ให้เลือก New Private Conversation หรือเข้าหน้าโปรไฟล์ของผู้ใช้ที่ต้องการสนทนาด้วยแล้วเลือก Start Private Conversation ซึ่งฝ่ายคู่สนทนาจะได้รับคำเชิญให้เข้าร่วมการสนทนา โดยในการสนทนาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นโทรคุยกันหรือส่งข้อความจะถูกเข้ารหัสแบบ end-to-end ทั้งหมดจนกว่าจะสั่งหยุด
Mozilla ได้ออกคำแนะนำในการเลือกใช้งานส่วนขยายเพื่อความปลอดภัยบน Firefox แต่มีผู้รายงานว่ามีส่วนขยายหนึ่งชื่อ Web Security ที่อยู่ในคำแนะนำนั้นมีปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัว เนื่องจากเก็บ URL ของเว็บไซต์ที่เข้าใช้งาน และส่งกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท
Web Security มีความสามารถในการบล็อคเว็บไซต์ phishing หรือเว็บไซต์อันตรายต่าง ๆ ได้ แต่ Raymond Hill นักพัฒนาส่วนขยายที่ใช้บล็อกเว็บอีกราย uBlock Origin บอกว่า Web Security จะคอยเก็บและส่งข้อมูลเว็บไซต์ที่ผู้ใช้เข้าใช้งานกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ในประเทศเยอรมนี
หลังจากกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของยุโรปที่รู้จักกันในนาม GDPR (General Data Protection Regulation) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ที่ผ่านมา หลายบริษัทยังคงประเมินอยู่ว่าจำเป็นที่จะต้องทำหรือไม่ (อ่านข้อมูลสรุปและทำความเข้าใจได้ที่นี่) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ ที่ครอบคลุมไปถึงสถานพยาบาลต่างๆ ด้วย
วันนี้ที่งานประชุมวิชาการประจำปี บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) (BDMS Academic Annual Meetings 2018) มีการบรรยายในประเด็นของ GDPR ที่เกี่ยวข้องกับสถานพยาบาลในอุตสาหกรรม โดยคุณวรรณวิทย์ อาขุบุตร อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงผู้ก่อตั้งบริษัท Privy Consulting ผมจึงขอนำเสนอสรุปการบรรยายดังกล่าวให้ทุกท่านครับ
SpiderOak ผู้ให้บริการสำรองไฟล์ เปลี่ยนประกาศไม่เคยให้ข้อมูลรัฐบาล (warrant canary) แล้วแทนที่ด้วยรายงานความโปร่งใส (transparency report) แทน
warrant canary เป็นเทคนิคของบริษัทไอทีที่ไม่เห็นด้วยกับการขอข้อมูลของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่อาศัยการส่งคำสั่งลับที่บริษัทที่ได้รับไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลให้กับผู้อื่น รวมถึงเจ้าของข้อมูลที่รัฐบาลร้องขอได้ กระบวนการคือการประกาศว่า "ตอนนี้ยังไม่ถูกขอข้อมูล" แล้วลบประกาศออกเมื่อถูกขอข้อมูลโดยไม่ต้องประกาศเพิ่มเติมอีก
ความเชื่อหนึ่งของผู้ใช้สมาร์ทโฟนจำนวนไม่น้อย คือมีแอปบางตัวที่คอยแอบเก็บข้อมูลเสียงสนทนา เพื่อประโยชน์ในทางโฆษณาหรืออื่น ๆ ล่าสุดแอปเปิลได้ตอบคำถามนี้อย่างเป็นทางการในประเด็นดังกล่าว ว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น
โดยฝ่ายกฎหมายของอเมริกา ได้ทำหนังสือสอบถามไปยังซีอีโอของแอปเปิล และ Alphabet (บริษัทแม่กูเกิล) ว่าสมาร์ทโฟนทั้งสองค่ายนั้นมีฟีเจอร์ที่สแตนด์บายรอรับคำสั่งเสียง OK, Google และ Hey Siri อยู่ จึงเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีการเก็บข้อมูลเสียงอื่น ๆ เข้ามาด้วย
ในระหว่างที่ Jurgen Klopp นายใหญ่ของสโมสรฟุตบอล Liverpool กำลังพาลูกทีมเดินทางไปแข่งขันฟุตบอลรายการ ICC ที่สหรัฐอเมริกา แฟนบอลส่วนหนึ่งของพวกเขาก็ต้องกุมขมับด้วยความเครียด หลังได้รับอีเมลแจ้งข่าวจากสโมสรระบุว่าเกิดการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลจากระบบคอมพิวเตอร์ของสโมสร Liverpool เอง เป็นผลให้ข้อมูลส่วนบุคคลของแฟนบอลผู้ถือตั๋วชมฟุตบอลแบบรายปีจำนวนราว 150 คน ถูกล้วงเอาไปได้
แฟนบอลหงส์แดงรายหนึ่งผู้ถือตั๋วรายปีของอัฒจันทร์ Main Stand เป็นผู้ยืนยันเรื่องนี้กับสำนักข่าว Liverpool Echo โดยระบุว่าเนื้อหาในอีเมลจากสโมสรแจ้งว่าข้อมูลส่วนตัวของเขาที่รั่วไหลออกไปนั้น มีทั้งชื่อจริง, อีเมล, วันเกิด, หมายเลขสมาชิกผู้ถือตั๋วรายปี และที่อยู่สำหรับการจัดส่งเอกสาร
เฟซบุ๊กหยุดให้บริการบัญชีของบริษัท Crimson Hexagon ที่ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลเครือข่ายสังคมออนไลน์ หลังหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานว่าบริษัทนี้ให้บริการกับองค์กรไม่หวังผลกำไรในรัสเซียที่มีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลรัสเซีย นอกจากนี้บริษัทยังเคยเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวจากผู้ใช้อินสตาแกรม
Crimson Hexagon เป็นบริษัทวิเคราะห์สื่อสังคมออนไลน์ที่ระบุว่าตัวเองมีข้อมูลโพสต่างๆ กว่า 1 พันล้านโพส ให้บริการปัญญาประดิษฐ์เพื่อวิเคราะห์แบรนด์, ทำความเข้าใจผู้รับสื่อ, ค้นหาผู้มีอิทธิพลต่อความคิดในโลกออนไลน์ ลูกค้าของบริษัทมีตั้งแต่แบรนด์ดัง เช่น อดิดาส, ซัมซุง, บีบีซี เป็นต้น
ถือเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือสำคัญระหว่างยักษ์ใหญ่ไอทีคือ Google, Facebook, Microsoft,Twitter ที่ร่วมกันเปิดตัว The Data Transfer Project (DTP) เป็นโครงการโอเพ่นซอร์สที่สามารถสร้างเครื่องมือให้ผู้ใช้งานสามารถโอนถ่ายข้อมูลระหว่างแพลตฟอร์มได้
หลักการของ DTP คือใช้ชุดของ Adapters สร้าง API ให้เป็นแพคเก็ตข้อมูลที่เข้าใจได้ง่าย โดย Adapters จะมีสองรูปแบบคือ การนำเข้าส่งออกข้อมูล กับตัวที่ยืนยันตัวตนและความถูกต้องเพื่อปกป้องข้อมูลผู้ใช้ หมายความว่าผู้ใช้สามารถถ่ายโอนภาพถ่าย Instagram ของตนไปยัง Flickr หรือ Google Photos ได้โดยไม่ต้องดาวน์โหลดกับอัพโหลดใหม่
งานประชุม IETF 102 ปีนี้ กลุ่มวิศวกรจากแอปเปิล, มอซิลล่า, Fastly, Cloudflare ร่วมกันลองอิมพลีเมนต์ TLS ESNI ที่ยังเป็นร่างมาตรฐาน IETF อยู่ในตอนนี้ มาตรฐานนี้จะทำให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่รู้โดเมนที่ผู้ใช้กำลังเชื่อมต่ออยู่อีกต่อไป
Uber ได้ว่าจ้าง Ruby Zefo มาทำหน้าที่ Chief Privacy Officer หรือหัวหน้าด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูลเป็นคนแรกของบริษัท เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทได้ทำตามกฎคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล GDPR
ประสบการณ์การทำงานของ Zefo คือ เคยเป็นผู้นำทีมกฎหมายด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยทั่วโลกของ Intel และยังเคยทำหน้าที่ในคณะกรรมการบริหารสมาคมผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นส่วนตัวนานาชาติ หรือ International Association of Privacy Professionals
นอกจากนี้ Uber ได้ว่าจ้าง Simon Hania ให้เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลของตนตามที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลทั่วไปของสหภาพยุโรป
บริษัท Cambridge Analytica (CA) ที่เป็นคู่กรณีกับ Facebook เรื่องข้อมูลหลุด 89 ล้านบัญชีนั้นได้ปิดตัวลงไปแล้ว ล่าสุด กลุ่มอดีตพนักงานบริษัท CA นำโดย Ahmed Al-Khatib ก่อตั้งบริษัทใหม่ในชื่อว่า Auspex International เน้นการปรึกษาทำแคมเปญทางภูมิศาสตร์, การเมืองโดยใช้ข้อมูลเหมือนเดิม
โดยปกติแล้ว Facebook จะมีชุดคีย์เวิร์ดที่ช่วยให้แบรนด์โฆษณาสามารถแยกประเภทความสนใจของกลุ่มผู้ใช้งาน เพื่อจะได้เสนอสินค้าได้ตรงกับความสนใจ เช่น คีย์เวิร์ด เพลง กีฬา เป็นต้น และหนึ่งในคีย์เวิร์ดต่างๆ ของ Facebook มีคำว่า treason หรือ การทรยศ, กบฎ รวมอยู่ด้วย
ล่าสุด Facebook ประกาศลบคีย์เวิร์ด treason ที่หมายความว่า กบฎ, ทรยศ ออก โดยให้เหตุผลว่าอาจถูกนำไปใช้ในทางอื่น โฆษก Facebook ระบุว่าการใช้คีย์เวิร์ด treason อาจถูกใช้โดยหน่วยงานของรัสเซียเพื่อหาผู้ใช้ Facebook จำนวน 65,000 ราย ที่มีพฤติกรรมทางออนไลน์ และมีการทำเครื่องหมายว่าพวกเขาสนใจใน "การทรยศ" หรือ "treason" ซึ่ง Facebook ได้ลบคีย์เวิร์ดนี้ออกไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
โฆษกระบุเพิ่มเติมว่า ถ้าบริษัทพบว่ามีการใช้เครื่องมือโฆษณาอย่างผิดกฎหมาย บริษัทจะดำเนินการโดยอาจลบโฆษณาระงับบัญชีโฆษณา หรือแม้แต่รายงานผู้โฆษณาไปยังหน่วยงานด้านกฎหมายเลย
เหตุข้อมูลหลุด Facebook กับ Cambridge Analytica สามารถสรุปตัวเลขผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 87 ล้านราย ในจำนวนนั้นมีผู้ใช้ชาวออสเตรเลียประมาณ 3 แสนราย
ภายใต้กฎหมายของออสเตรเลีย ทุกองค์กรต้องดำเนินการตาม "ขั้นตอนที่สมเหตุสมผล" เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะได้รับการจัดเก็บอย่างปลอดภัย IMF Bentham บริษัทรับระดมทุนให้ลูกความร่วมกับบริษัทกฎหมายรายใหญ่ ยื่นเรื่องฟ้องร้อง Facebook ไปยังสำนักงานกำกับดูแลข้อมูลของออสเตรเลียหรือ Australian Information Commissioner (OAIO)
สืบเนื่องจากเหตุการณ์ข้อมูลหลุดและกรณีพิพาทระหว่าง Facebook กับ Cambridge Analytica แม้จะเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า เหตุข้อมูลหลุดมาจากฝ่าย Cambridge Analytica ไม่ทำตามข้อตกลงที่ให้ไว้ แต่คนที่ชดใช้ความเสียหายดังกล่าว ก็หนีไม่พ้นต้องเป็น Facebook อยู่ดี
ล่าสุด ICO ของอังกฤษ หรือ หน่วยงานกำกับดูแลข้อมูล (Information Commissioner's Office) สั่งปรับ Facebook จากความผิดพลาดดังกล่าวเป็นเงิน 5 แสนปอนด์ หรือราวๆ 664,000 ดอลลาร์ โดยเป็นตัวเลขเพดานสูงสุดตามที่กฎหมายระบุไว้
มีคนค้นพบว่า Stylish ส่วนขยายของเว็บเบราว์เซอร์ที่มีคนดาวน์โหลดถึง 2 ล้านครั้ง แอบส่งข้อมูลของผู้ใช้งานกลับไปยังบริษัทแม่ SimilarWeb ล่าสุดโดน Chrome, Firefox, Opera ถอดออกจาก Store แล้ว
Stylish เป็นส่วนขยายที่เปิดให้ผู้ใช้ปรับแต่ง CSS ของเว็บไซต์ได้เอง และแจกจ่ายให้คนอื่นใช้งานได้ผ่านเว็บไซต์ userstyles.org ตัวส่วนขยายถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 2005 แต่ขายให้กับ SimilarWeb บริษัทรวบรวมข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ในปี 2016
ล่าสุดมีคนพบว่า Stylish แอบส่ง URL ของเว็บไซต์ที่เราเข้าชมกลับไปยัง SimilarWeb โดยเวอร์ชัน Chrome เริ่มทำมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2017 และเวอร์ชัน Firefox เริ่มในเดือนมีนาคม 2018
หลังจากมีรายงานว่า Samsung Note 8 และ S9+ ส่งภาพในเครื่องให้คนอื่นโดยสุ่มจากรายชื่อ contact วันนี้ทางซัมซุงก็ส่งแถลงถึง ThreatPost ว่าไม่พบปัญหา แม้พยายามตรวจสอบแล้ว
นอกจากไม่พบปัญหาในฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์แล้ว ซัมซุงยังระบุว่าไม่พบรายงานปัญหาในภูมิภาคอื่นๆ แต่บริษัทจะตรวจสอบต่อไป
หากใครกังวลสามารถถอนสิทธิ์เข้าถึงสตอเรจออกจากแอป Samsung Message เพื่อป้องกันได้ ส่วนคำแนะนำอย่างเป็นทางการของซัมซุงคือให้ผู้ใช้ติดต่อศูนย์บริการลูกค้า
ที่มา - ThreatPost
มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนซัมซุงรุ่นใหม่ๆ อย่าง Galaxy Note 8 และ S9+ ในสหรัฐรายงานว่าแอป Message ของซัมซุง แอบส่งรูปจากแอปแกลเลอรีในเครื่อง ไปให้คนอื่นในรายชื่อ contact แบบสุ่มผ่าน SMS โดยผู้ใช้รายหนึ่งระบุว่ารูปที่ถูกส่งออกไปไม่ใช่แค่รูปเดียว แต่เป็นทั้งอัลบัมในเครื่อง
มีการคาดการณ์ว่าต้นตอของบั๊คนี้ เกิดจากการอัพเดตล่าสุดที่เกี่ยวกับระบบ RCS ที่โอเปอเรเตอร์ในสหรัฐปล่อยอัพเดตให้กับแอป Message ของซัมซุง ด้านซัมซุงระบุว่าทราบเรื่องแล้ว และผู้ที่ได้รบผลกระทบให้ติดต่อทางซัมซุงในสหรัฐทันที ขณะที่โอเปอเรเตอร์อย่าง T-Mobile ที่เพิ่งปล่อยอัพเดตระบบ RCS ระบุว่าประเด็นนี้ไม่ใช่ปัญหาของบริษัท
NSA ประกาศว่าเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้ลบข้อมูลรายการโทร (call detail records - CDR) ที่ได้รับมาตั้งแต่ปี 2015 ออกไปจากฐานข้อมูลแล้ว หลังจากพบว่าได้รับข้อมูลเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต
โดยปกติ NSA จะขออนุญาตการรับ CDR จากผู้ให้บริการโทรศัพท์ ตามคำสั่งศาล FISA อย่างไรก็ตาม NSA พบว่าข้อมูลบางรายการเป็นข้อมูลที่เกินกว่าที่ศาลอนุญาต และการแยกข้อมูลทีละรายการออกจากกันนั้นยุ่งยากเกินไป ทาง NSA จึงตัดสินใจลบข้อมูลทิ้งออกทั้งหมด 685 ล้านรายการ แล้วเริ่มต้นใหม่กับซอฟต์แวร์ใหม่ที่ไม่มีบั๊ก
ทาง NSA ระบุว่าแจ้งความผิดพลาดนี้ให้กับผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ ( Director of National Intelligence - DNI), กรรมการข้อมูลส่วนบุคคลและเสรีภาพประชาชน, ตลอดจนกระทรวงยุติธรรมเรียบร้อยแล้ว
Brave เว็บเบราว์เซอร์ที่เน้นการบล็อคโฆษณาและความเป็นส่วนตัว (ก่อตั้งโดยอดีตผู้บริหาร Mozilla) เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ยกระดับ Private Tab ไปอีกขั้น ด้วยการเพิ่ม Tor เข้ามาอีกชั้น เพื่อความเป็นส่วนตัวขั้นสูงสุด
ฟีเจอร์นี้เรียกว่า Private Tabs with Tor ยังมีสถานะเป็นรุ่นเบต้าใน Brave เวอร์ชันล่าสุด 0.23 จุดเด่นคือการผนวกเอา Tor เข้ามาในเบราว์เซอร์โดยตรง ไม่ต้องลงส่วนขยายใดๆ เพิ่มเติม ช่วยให้ผู้ใช้ป้องกันร่องรอยของตัวเองไม่ให้ ISP หรือผู้ให้บริการ Wi-Fi รู้ว่าเราเป็นใคร
BlackHat ได้จัดทำผลสำรวจผู้ที่เข้าร่วมงาน 2018 BlackHat USA Conference ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย ปรากฎว่าเกือบ 65% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่า ลดการใช้งานเฟซบุ๊กหรือไม่ใช้งานไปเลย
เมื่อแยกย่อยออกมา 44% ระบุว่าจะยังเก็บแอคเคาท์เฟซบุ๊กต่อไป แต่ลดการใช้งานให้น้อยที่สุด, 14% บอกว่าไม่เคยใช้เลยเพราะกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว, ขณะที่ 7% บอกว่าจะลบแอคเคาท์เฟซบุ๊กทิ้ง โดยมีเพียง 25% ที่ระบุว่าจะใช้งานตามปกติต่อไป โดยมีการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวที่เห็นว่าเหมาะสม
จากประเด็นหน่วยงานรัฐในออร์แลนโดใช้เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า Rekognition ของ Amazon จนภาคสังคมและผู้ถือหุ้นออกมากดดันให้ Amazon หยุดการขายเทคโนโลยีนี้แก่รัฐ ด้วยเหตุผลว่าอาจเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ล่าสุดทางหน่วยงานตำรวจในออร์แลนโดออกมาประกาศว่าได้ยุติการทดลองใช้เทคโนโลยีดังกล่าวแล้ว
อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยงานตำรวจก็ไม่ได้ปิดกั้นจะไม่ใช้เทคโนโลยีในอนาคต ในแถลงการณ์ระบุว่า ตำรวจกำลังมองหาแนวทางแก้ไขใหม่เพื่อเพิ่มความสามารถในการรักษาความปลอดภัย ด้วยการเป็นพันธมิตรกับบริษัทในการทดสอบเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ในขณะเดียวกันตำรวจก็ต้องรักษากฎหมายความเป็นส่วนตัวและไม่ละเมิดสิทธิของคนอื่นๆ
Facebook ร่วมมือกับ TeachPrivacy ที่รวมเอาผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์มาจัดเทรนด์เรื่องความปลอดภัย ร่วมกันจัดอีเวนท์เทรนนิ่งบรรดาธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ โดยเจาะเฉพาะหัวข้อที่กลุ่มคนทำธุรกิจควรรู้ รวมทั้งการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าด้วย
อีเวนท์อบรมจะจัดขึ้นในหลายๆ ที่ของสหรัฐ คือ บัลติมอร์,นิวออร์ลีนส์,ซานดิเอโก,พาโลอัลโต และเอดิสัน ในมลรัฐนิวเจอร์ซีย์
Facebook ยังเป็นที่ปรึกษาด้านการรักษาความปลอดภัยให้ HackerOne ให้ความรู้แก่นักพัฒนาซอฟต์แวร์มือถือที่เริ่มต้นผ่านทางโปรแกรม FbStart โดยเน้นที่การทำให้แอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่มีความปลอดภัย
โครงการ Careers@Gov บริการจัดหางานภาครัฐของรัฐบาลสิงคโปร์ตรวจพบมัลแวร์ในระบบที่จ้างเอาท์ซอร์สจากออสเตรเลียให้ดูแล ทำให้ข้อมูลผู้ใช้ทั้งหมดอาจรั่วไหล ทำให้รัฐบาลต้องส่งอีเมลแจ้งเตือนผู้ใช้
อีเมลแจ้งว่าตอนนี้ยังไม่พบการใช้งานข้อมูลอย่างน่าสงสัยแต่อย่างใด และมัลแวร์ได้ถูกล้างออกจากระบบแล้ว ข้อมูลที่อาจจะกระทบ ได้แก่ ชื่อ, ข้อมูลติดต่อผู้ใช้, ชื่อผู้ใช้, และรหัสผ่านที่เข้ารหัสแล้ว ผู้ใช้ควรเปลี่ยนรหัสผ่านของระบบ Careers@Gov หรือหากใช้รหัสผ่านซ้ำกับบริการอื่นก็ควรเปลี่ยนรหัสผ่านไปด้วยพร้อมกัน
ระบบ Careers@Gov มีผู้ใช้รวมถึง 297,000 คน
ที่มา - Strait Times
ข่าวฉาวและความไม่มั่นใจในความเป็นส่วนตัวของ Facebook ทำให้คนหนีจาก Facebook ไปใช้โซเชียล WhatsApp ในการพูดคุย ถกปัญหาจากข่าว ด้วยรู้สึกปลอดภัยมากกว่า ผลสำรวจจาก Digital News Report โดย Reuters ชี้ว่า การเสพข่าวผ่าน Facebook ลดฮวบ โดยเฉพาะคนอายุน้อย โดยกลุ่มคนเหล่านี้หันไปใช้ WhatsApp, Instagram, Snapchat
อย่างไรก็ตาม Facebook ยังคงเป็นเครือข่ายสังคมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับข่าว โดยมี 36% ใช้งานเสพข่าวในสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ก็สูญเสียตัวเลขผู้ใช้ให้ WhatsApp ไปไม่น้อยซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าในช่วง 4 ปีถึง 15 % ในผลสำรวจยังระบุด้วยว่า ผู้คนรู้สึกสบายใจมากกว่าในการใช้ WhatsApp พูดคุยการเมือง โดยเฉพาะในประเทศมาเลเซียและตุรกี ผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าพวกเขาจะเจอเนื้อหาข่าวบน Facebook, Twitter และแชร์ลง WhatsApp เพื่อคุยกัน
จากประเด็น Facebook กำลังวางแผนสร้างเครื่องมือให้นักการตลาดยืนยันรับรองอีกขั้น ก่อนจะใช้ข้อมูลลูกค้าทำการตลาดโฆษณาแบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวเพิ่มเติมต่อนโยบายเพื่อความโปร่งใสนี้
ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม เป็นต้นไป Facebook จะให้บรรดาแบรนด์ ธุรกิจที่ใช้ผลิตภัณฑ์ Custom Audiences ต้องประกาศแสดงให้ชัดว่าบรรดาข้อมูลที่แบรนด์ได้มาเพื่อเสนอโฆษณานั้น ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลแล้ว