Raspberry Pi Foundation เปิดตัว Raspberry Pi 4 (RPi4) อัพเดตล่าสุดของบอร์ต โดยยังคงแนวทาง "เริ่มต้น" 35 ดอลลาร์ เช่นเดิม รอบนี้เพิ่มความพิเศษคือมีรุ่นแรม 4GB มาให้เลือกด้วย
ความเปลี่ยนแปลงหลักๆ ดังนี้
ตัวซอฟต์แวร์จะรองรับ Raspbian รุ่นใหม่สร้างจาก Debian 10
ไปรษณีย์อังกฤษ (Royal Mail) ออกแสตมป์ชุดพิเศษในโอกาสครบรอบ 50 ปีของ MacRobert Award ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบโดย Royal Academy of Engineering ให้กับงานวิจัยและนวัตกรรมทางวิศวกรรม โดยแสตมป์ชุดล่าสุดนี้ประกอบด้วยผลงานทางวิศวกรรม 6 ชิ้น คือ Raspberry Pi โดยทีมพัฒนาได้รับรางวัลนี้ไปเมื่อปี 2017, Falkirk wheel กลไกที่ใช้ในการยกเรือเพื่อเชื่อมคลองที่มีความสูงต่างกันที่ใช้หลักการอาร์คิมิดิสจึงเป็นระบบที่ใช้พลังงานต่ำมาก, Catalytic converter ในท่อไอเสียรถยนต์เพื่อลดมลพิษ, Crossrail โครงการอุโมงค์ใต้ดินเพื่อการสร้างโครงข่ายรถไฟในลอนดอน, MRI scanner แม่เหล็กตัวนำยิ่งยวดที่ใช้ในเครื่องมือสำหรับการวินิจฉัย และ Bone graft วัสดุท่ี่พัฒนาเพื่อการปลูกถ่ายกระดูก
ถึงแม้จะไม่ได้เป็นแบรนด์ในกระแส แต่ Raspberry Pi Foundation ก็ได้เปิดหน้าร้าน Raspberry Pi Store ขึ้นมาเป็นครั้งแรกตามแบบที่สินค้าเทคโนโลยีนิยมทำแล้ว โดยภายในร้านมีการจำหน่ายสินค้าและอุปกรณ์เสริม ตลอดจนของที่ระลึกต่าง ๆ ซึ่งมีจำหน่ายเฉพาะที่ร้านแห่งนี้
Raspberry Pi Store ไม่มีการจำหน่ายสินค้าในร้านแบบช่องทางออนไลน์หรือทางโทรศัพท์ (ให้สั่งซื้อผ่านช่องทางตัวแทนแบบเดิม) รวมทั้งในร้านเป็นการจำหน่ายอย่างเดียว ไม่มีมุมให้คำปรึกษาหรือซ่อมแซม และร้านยังเป็นแบบไร้เงินสด รับเฉพาะบัตรเครดิตและบัตรเดบิตเท่านั้น
Raspberry Pi ออกอัพเดตสินค้าฝั่ง Compute Module (CM) เป็นรุ่น CM3+ ตาม Model B และ Model A ที่ได้อัพเกรดไปก่อนแล้ว
CM3+ จะมี 4 รุ่น เริ่มจาก CM3+ Lite ที่ไม่มี eMMC ในตัวแต่ต้องใช้ SD อย่างเดียว ราคา 25 ดอลลาร์, CM3+ 8GB ราคา 30 ดอลลาร์, CM3+ 16GB ราคา 35 ดอลลาร์, และ CM3+ 32GB ราคา 40 ดอลลาร์
แม้รวมๆ จะคล้ายรุ่น 3B+ มากแต่เนื่องจากสเปคทางไฟฟ้าเหมือนเดิมทั้งหมด ทำให้มีข้อจำกัดพลังงาน จนต้องจำกัดสัญญาณนาฬิกาเหลือ 1.2GHz จากที่รุ่น 3B+ รันที่ 1.4GHz แต่การปล่อยความร้อนจะดีขึ้น ทำให้ตัวบอร์ดโดยรวมน่าจะเย็นลง
Raspberry Pi เปิดตัวบอร์ด Raspberry Pi 3A+ ลดพอร์ต USB type-A เหลือพอร์ตเดียว และลดแรมเหลือ 512MB เป็นแนวทางเดียวกับ Raspberry Pi A+ แม้ราคาของ 3A+ จะขึ้นมาเป็น 25 ดอลลาร์เท่ากับรุ่น A รุ่นแรก (รุ่น A+ ลดราคาไปเหลือ 20 ดอลลาร์)
จุดสำคัญคือ Raspberry Pi 3A+ จะเป็นบอร์ดสุดท้ายก่อนจะมีการปรับปรุงครั้งใหญ่ ที่มีแผนจะเปลี่ยนซีพียู, แรม
เปิดให้สั่งแล้ววันนี้
ที่มา - Raspberry Pi
โครงการ TensorFlow ประกาศรองรับ Raspberry Pi อย่างเป็นทางการ โดยอาศัยไลบรารี libatlas ใน Raspbian 9
ตอนนี้ TensorFlow 1.9 ใน PyPI เป็นเวอร์ชั่นที่รองรับ Raspberry Pi แล้วทำให้ผู้ใช้ Raspbian ใช้เพียงสองคำสั่งคือ
sudo apt install libatlas-base-dev pip3 install tensorflow
ข้อจำกัดสำคัญของ Raspberry Pi คงเป็นเรื่องของหน่วยความจำที่มีความจุไม่มากนัก การออกแบบโมเดลสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเช่นนี้คงต้องเลือกโมเดลที่มีขนาดเล็กพอ และยังทำงานได้ดี
ที่มา - TensorFlow
Raspberry Pi ประกาศอัพเกรดรุ่น RPi 3 Model B เป็นรุ่น 3B+ โดยเพิ่มความเร็วซีพียูจากสัญญาณนาฬิกา 1.2GHz เป็น 1.4GHz, การเชื่อมต่อ Wi-Fi เป็น 802.11ac 5GHz/2.4GHz, และอีเธอร์เน็ตเปลี่ยนไปใช้ชิปกิกะบิต
ความเร็วในการเชื่อมต่อผ่านคลื่น 5GHz สูงสุดจะเพิ่มขึ้นเป็น 102Mbps จาก 35Mbps ขณะที่การเชื่อมต่ออีเธอร์เน็ตเพิ่มเป็น 315Mbps จาก 95Mbps
อีกพอร์ตหนึ่งที่เพิ่มมาหัวแปลงไฟ 48V เปิดทางให้ RPi 3B+ สามารถรองรับการจ่ายไฟแบบ PoE ได้ด้วย
ราคา 35 ดอลลาร์เท่า RPi 3B เดิม แต่รุ่นเดิม 1B+, 2B, และ 3B ยังคงผลิตต่อไป ทางโครงการกำลังพิจารณาผลิตรุ่น 3A+ (บอร์ดไม่มีอีเธอร์เน็ตราคา 20 ดอลลาร์) และอาจจะใส่ซีพียู 1.4GHz นี้ลงในบอร์ด Compute Module ด้วย
ด้วยความที่ Android Auto รองรับบนรถยนต์ไม่กี่รุ่น ขณะที่ Head Unit ที่สามารถซื้อมาติดตั้งก็อาจจะแพงหรือไม่สามารถติดตั้งในรถยนต์รุ่นเก่าๆ ได้ ทำให้ Huan Truong นักพัฒนาตัดสินใจทำ Head Unit ขึ้นมาเองด้วยบอร์ด Raspberry Pi 3 และหน้าจอทัชสกรีน พร้อมตั้งชื่อโซลูชันนี้ว่า Crankshaft
ในส่วนซอฟต์แวร์ Crankshaft รันด้วย Turnkey GNU/Linux ขณะที่ Android Auto ถูกนำมารันบนอีมูเลเตอร์ที่ชื่อว่า OpenAuto อีกที ส่วนฮาร์ดแวร์นอกจาก Raspberry Pi 3 และหน้าจอทัชสกรีน 7 นิ้วแล้ว ก็มีแค่สาย USB-C / Micro-USB สำหรับต่อสมาร์ทโฟน, สายแจ๊ค 3.5 มม. สำหรับต่อกับเครื่องเสียงรถยนต์และสายไฟป้อนให้กับ Head Unit โดยไม่มีไมโครโฟนสำหรับสั่งงานด้วยเสียง
หลัง AWS เปิดตัวกล้อง DeepLens สำหรับนักพัฒนาไปไม่นานกูเกิลก็เปิดตัวชุดกล้อง AIY Vision Kit กล้องปัญญาประดิษฐ์สำหรับนักพัฒนา แต่ชุดของกูเกิลต้องซื้อชิ้นส่วนมาประกอบเอง
ผู้ที่สนใจจะพัฒนาด้วย AIY Vision Kit จะต้องหาบอร์ด Raspberry Pi Zero W, Raspberry Pi Camera, และการ์ด micro SD มาเอง ในชุดจะมีบอร์ด VisionBonnet บอร์ดเสริม RPi Zero W ที่มีชิป Intel Movidius MA2450 สำหรับประมวลผลปัญญาประดิษฐ์มาด้วย ส่วนชิ้นส่วนอื่นๆ ที่มาในชุด ได้แก่ ปุ่มกด, ลำโพง, เลนส์กล้อง, กล่องกระดาษที่ออกแบบมาให้ติดกับขาตั้งกล้องได้
ชุด AIY Vision Kit เปิดขายเดือนธันวาคมนี้ ราคาไม่รวมค่าส่ง 45 ดอลลาร์
Ubuntu Core ระบบปฏิบัติการรุ่นเล็กของ Ubuntu ซึ่งมีระบบจัดการแพ็กเกจแบบใหม่ Snappy ได้ออกเวอร์ชันใหม่รองรับ Raspberry Pi Compute Module 3 (CM3) แล้ว
CM3 เป็นโมดูลฮาร์ดแวร์แบบบอร์ดเดียว สามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ใดก็ได้โดยใช้ช่องเชื่อมต่อ DDR2 SODIMM ใช้หน่วยประมวลผล BCM2387 ที่ใช้ใน Raspberry Pi 3 มีแรม 1GB หน่วยความจำแบบแฟลช 4GB
Raspberry Pi ออกรุ่น Zero W เพิ่มชิปเชื่อมต่อไร้สาย Cypress CYW43438 แก้ปัญหาการเชื่อมต่อไม่เพียงพอ ทำให้ต้องเพิ่มฮับ USB มาเพิ่มพอร์ต
ตัวบอร์ดเปล่าราคา 10 ดอลลาร์หรือ 350 บาทแพงขึ้นเท่าตัว แต่ก่อนหน้านี้ Raspberry Pi Zero มีปัญหาสินค้าไม่เพียงพอเป็นเวลานาน การเพิ่มราคา (และเพิ่มกำไร) น่าจะช่วยลดปัญหาของขาดไปได้บางส่วน
เรามักจะได้ยินชื่อ Raspberry Pi ในฐานะผู้ผลิตบอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว และมีตัวเลือกแบบราคาย่อมเยา (Raspberry Pi Zero) เป็นสิ่งประดิษฐ์เล็กๆ ที่กลายร่างมาเป็นตัวต่อยอดนวัตกรรมต่างๆ กระตุ้นการเกิดชุมชน maker จนไปถึงสนับสนุนวงการการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ตั้งแต่วัยเด็กกันเลยทีเดียว
วันนี้ มูลนิธิ Raspberry Pi ร่วมกับ Computing at School องค์กรรากหญ้า (grassroot organization) เพื่อครูผู้สอนคอมพิวเตอร์แห่งสหราชอาณาจักร สนับสนุนวงการไปอีกขั้นด้วยการเปิดตัวนิตยสารเป็นของตัวเองในชื่อ “Hello World” วางตัวเป็นสื่อสร้างเครือข่ายระหว่างครูและนักการศึกษา (educators) เรียนรู้และแบ่งปันความรู้ร่วมกันภายใต้หัวข้อ computing and digital making จากทั่วทุกมุมโลก
ในปี 2014 โครงการ Raspberry Pi ออกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กจิ๋วที่เรียกว่า Compute Module (CM1) ที่สเปกเหมือน Raspberry Pi รุ่นแรก แต่ขนาดเล็กลงเหลือเท่ากับแรม DDR2 ขนาดมาตรฐาน ตัดพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ออกไปทั้งหมด เป้าหมายคือใช้กับงานอุปกรณ์ฝังตัวบางประเภทที่ต้องการใช้งานอุปกรณ์ขนาดเล็กมากๆ
เวลาผ่านไปหลายปี Raspberry Pi ออก Compute Module รุ่นอัพเกรดสเปกใหม่ตาม Raspberry Pi 3 (ข่าวก่อนหน้านี้) โดยใช้ชื่อย่อว่า Compute Module 3 (CM3)
ต่อจากข่าว Raspberry Pi มีระบบ GUI ของตัวเองชื่อ PIXEL ที่พัฒนาต่อจาก LXDE เมื่อเดือนตุลาคม ดูเหมือนว่าโครงการ PIXEL จะจุดติด และทางโครงการตัดสินใจขยายมันมาสู่ฮาร์ดแวร์พีซีทั่วไปที่เป็น x86 แล้ว
Raspberry Pi บอกว่า PIXEL ตอบโจทย์ผู้ใช้ทั่วไป ในแง่การเป็นเดสก์ท็อปที่สะอาด มีโปรแกรมครบถ้วน (มาพร้อม Chromium+Flash) สามารถเข้าไปแข่งขันในตลาดดิสโทรลินุกซ์ได้เลย และมีเป้าหมายจะสร้างเป็น "ระบบเดสก์ท็อปที่ดีที่สุด" ในอนาคตต่อไป
Raspberry Pi 2 เปิดตัวด้วยชิป BCM2836 ที่เป็น Cortex-A7 รองรับชุดคำสั่ง 32 บิต ขณะที่ RPi 3 เป็นชิป BCM2837 ที่รองรับชุดคำสั่ง 64 บิต แต่การอัพเดตรุ่นล่าสุดก็ปรับ RPi 2 มาใช้ชิปรุ่นเดียวกันแล้ว
RPi 2 v1.2 ใช้ชิป BCM2837 โดยทำงานที่ 900 MHz ต่ำกว่าบนบอร์ด RPi 3 และบอร์ดยังให้แรม 1GB เท่าเดิม ความต่างจาก RPi 3 หลักๆ ตอนนี้จึงเหลือเพียง RPi 3 รองรับการสื่อสารไร้สายในตัว ทั้ง Wi-Fi และ Bluetooth
ที่มา - CNX Software
Raspberry Pi ประกาศอัพเกรด Compute Module เป็นชิปรุ่นเดียวกับ Rapsberry Pi 3 ใช้ชื่อว่า Compute Module 3 (CM3) มาตั้งแต่กลางปี ตอนนี้มีรายละเอียดออกมาเพิ่มเติมแล้ว
เอกสาร datasheet ระบุว่า CM3 จะมีรุ่นปกติที่มาพร้อมกับ eMMC 4GB และรุ่น Lite ที่ต้องต่อกับ micro SD เท่านั้น ชิปเป็น Broadcom BCM2837 สี่คอร์ แรม LPDDR2 1GB ตัวบอร์ดเป็นขาต่อแบบแรม SO-DIMM (มาตรฐาน JEDEC MO-224)
ตัวบอร์ดสูงกว่า CM1 อยู่ 1 มิลลิเมตร และกินไฟมากกว่า CM1 แต่โดยทั่วไปแล้วควรจะใช้งานร่วมกันได้
Raspberry Pi ประกาศอัพเกรด Compute Module เป็นชิปรุ่นเดียวกับ Rapsberry Pi 3 ใช้ชื่อว่า Compute Module 3 (CM3) มาตั้งแต่กลางปี ตอนนี้มีรายละเอียดออกมาเพิ่มเติมแล้ว
เอกสาร datasheet ระบุว่า CM3 จะมีรุ่นปกติที่มาพร้อมกับ eMMC 4GB และรุ่น Lite ที่ต้องต่อกับ micro SD เท่านั้น ชิปเป็น Broadcom BCM2837 สี่คอร์ แรม LPDDR2 1GB ตัวบอร์ดเป็นขาต่อแบบแรม SO-DIMM (มาตรฐาน JEDEC MO-224)
ตัวบอร์ดสูงกว่า CM1 อยู่ 1 มิลลิเมตร และกินไฟมากกว่า CM1 แต่โดยทั่วไปแล้วควรจะใช้งานร่วมกันได้
Raspberry Pi มีดิสโทรลินุกซ์ของตัวเองชื่อ Raspbian (พัฒนาจาก Debian) ล่าสุดดิสโทรตัวนี้กำลังพัฒนาไปอีกขั้น เพราะมีระบบ GUI ของตัวเองในชื่อ PIXEL แล้ว
PIXEL คือการนำระบบเดสก์ท็อปโอเพนซอร์ส LXDE มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับ Raspberry Pi มากขึ้น หน้าตาสวยงามกว่าเดิม มีหน้าจอบูตแบบกราฟิกพร้อมโลโก้ Raspberry Pi และเลขเวอร์ชัน, มีภาพพื้นหลังที่สวยงาม, ปรับปรุงไอคอนใหม่ให้น่าใช้กว่าเดิม, ปรับปรุงการแสดงผลฟอนต์, เพิ่มตัวเลือกการปิด Wi-Fi และ Bluetooth, เปลี่ยนเบราว์เซอร์จาก Epiphany มาเป็น Chromium และเพิ่มแอพใหม่ Real VNC เข้ามา
โครงการพีซีขนาดจิ๋ว Raspberry Pi ขายได้ครบ 10 ล้านเครื่องแล้ว หลังเปิดตัวมานาน 4 ปีครึ่ง ทางโครงการระบุว่าตอนแรกตั้งใจเป็นคอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก ใช้เพื่อการศึกษา และคาดว่าขายได้อย่างมากแค่หลักหมื่นเครื่องเท่านั้น
ในโอกาสแตะหลัก 10 ล้านเครื่อง ทางโครงการจึงออกชุดบันเดิล Raspberry Pi Starter Kit ขายในราคา 99 ปอนด์ ในชุดประกอบด้วย
ที่มา - Raspberry Pi
Eben Upton ผู้ก่อตั้ง Raspberry Pi Foundation ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว IDG ระบุว่าตอนนี้มูลนิธิกำลังออกแบบ Compute Module ที่เป็น Raspberry Pi รุ่นแรกส่วน I/O ออกจากส่วนซีพียู เป็นรุ่นใหม่ โดยอัพเกรดซีพียูขึ้นมาเป็น 64 บิตระดับเดียวกับ Raspberry Pi 3
Compute Module รุ่นแรกใช้ชิปแบบเดียวกับ Raspberry Pi รุ่นแรก และวางตลาดมาสองปีแล้ว โดยตัวโมดูลหลักราคา 24 ดอลลาร์ และเมื่อรวม Compute Module Development Kit ที่เป็นบอร์ด I/O ภายนอกราคาจะอยู่ที่ประมาณ 48 ดอลลาร์ เชื่อมต่อกับซีพียูด้วยสล็อตแบบ SODIMM อย่างไรก็ดี บอร์ดรุ่นใหม่จะไม่มี Wi-Fi เหมือน Raspberry Pi 3
คาดว่าจะเริ่มวางขาย Compute Module ได้ภายในไตรมาสสามปีนี้
บอร์ดเสริม Raspberry Pi มักมีความสามารถเฉพาะอย่าง แต่บอร์ด MATRIX Creator เป็นเหมือนห้องทดลองที่ใส่อุปกรณ์ทุกอย่างมาแทบครบแล้ว ตั้งแต่เซ็นเซอร์ไปจนถึงไมโครคอนโทรลเลอร์และ FPGA
ชิปหลักของ MATRIX Creator คือ Spartan 6 และไมโครคอนโทรลเลอร์ Atmel ATSAM3S2C Cortex-M3 ส่วนการเชื่อมต่อรองรับ ZigBee, Z-Wave, Thread, และ NFC บนบอร์ดมีเซ็นเซอร์ทั้งอุณหภูมิ, ความชื้น, ความกดดัน, ระดับรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต, accelerometer, gyroscope, เซ็นเซอร์แม่เหล็ก, และชุดไมโครโฟน 8 ตัว นอกจากนี้ยังมีไฟ LED แบบปรับสีได้ RGBW อีก 35 ดวงเป็นวงกลม และเซ็นเซอร์รับส่งอินฟราเรด
กูเกิลเปิดตัว Project Bloks แพลตฟอร์มสร้างเล่นเด็กสำหรับสอนเขียนโปรแกรม โดยตัวแพลตฟอร์มสร้างจาก Raspberry Pi Zero และเชื่อมต่อกับโลกภายนอกผ่าน Wi-Fi หรือ Bluetooth
ตัว Project Bloks เองจะมีบอร์ดสามชุด ได้แก่ Brain Board เป็นบอร์ดหลักสำหรับการประมวลผล, Base Board เป็นบอร์ดอ่านคำสั่ง บนบอร์ดเป็นเซ็นเซอร์แบบ capacitive, Puck เป็นคำสั่งสำหรับวางลงบน Base Board ให้อ่านคำสั่งในโปรแกรม ผู้ออกแบบสามารถออกแบบคำสั่ง เช่น ทิศทางหุ่นยนต์ หรือคำสั่งอื่นๆ
ตัว Project Bloks สามารถนำไปสร้างของเล่นได้อีกที เช่น ชุดเซ็นเซอร์ที่เด็กๆ จะสามารถเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ในบ้านจากเซ็นเซอร์ได้เอง, หรือสร้างเครื่องสังเคราะห์เสียงแบบโปรแกรมได้
ซีพียู ARM รุ่นหลังๆ มักมีฟีเจอร์ TrustZone เพื่อรันเฟิร์มแวร์แยกส่วนออกจากระบบปฎิบัติการหลัก เชื่อมต่อถึงกันด้วย shared memory เพื่อเก็บรักษาข้อมูลความลับเช่นกุญแจลับ หรือระบบถอดรหัส DRM ในชิป Broadcom BCM2737 สำหรับ Raspberry Pi 3 เองก็มีฟีเจอร์นี้อยู่ในชิปด้วย แต่โครงการ Raspberry Pi ก็ไม่ได้ออกซอฟต์แวร์มาใช้ฟีเจอร์นี้แต่อย่างใด ตอนนี้บริษัท Sequitur Labs ผู้พัฒนาระบบความปลอดภัย IoT ร่วมกับ Linaro ก็พอร์ตเฟิร์มแวร์ Linaro OP-TEE มารันบน Raspberry Pi 3 ได้แล้ว
ตัวซอฟต์แวร์จะปล่อยจริงวันที่ 11 นี้ และการติดตั้งต้องใช้สายดีบักเพิ่มเติม
เว็บไซต์ Android Police รายงานข่าวโดยอ้างอิงถึงทวิตของ Greg Willard (@r3pwn) ที่เป็นนักพัฒนาสาย Android ว่า Google เพิ่ม Raspberry Pi 3 เข้าสู่ code repository ของ AOSP อย่างเป็นทางการ
ตัว code repository นั้นอยู่ใน directory เดียวกับอุปกรณ์อย่าง Nexus และ source code ทั่วไป ซึ่งตัว repository นี้สร้างมา 5 อาทิตย์แล้ว แต่ยังไม่มีการปล่อย source code ใดๆ ใน directory นี้ ซึ่ง Android Police ระบุว่าความเคลื่อนไหวนี้อาจสอดคล้องกับแนวทางที่หลายบริษัทรวมถึงหลายระบบปฏิบัติการ ออกมาประกาศรองรับ Raspberry Pi ในช่วงเวลาที่ผ่านมาครับ
ที่มา - @r3pwn ผ่าน Android Police, Google
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Microsoft ได้ประกาศเปิดให้ดาวน์โหลดแอพตัวใหม่สำหรับ Windows 10 IoT Core ที่มีชื่อว่า "Network 3D Printer" สำหรับ Raspberry Pi ที่ใช้ระบบปฏิบัติการเป็น Windows 10 IoT Core ซึ่งจะแปลง Raspberry Pi ให้กลายเป็น Print server สำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และสั่งพิมพ์ได้จากอุปกรณ์อื่นในเครือข่ายเหมือนเครื่องพิมพ์ตามปกติทั่วไปได้ทันที
สำหรับรุ่นแรกนี้ ตัวแอพจะรองรับเครื่องพิมพ์สามมิติทั้งหมด 13 รุ่น จากผู้ผลิตเช่น Ultimaker, Lulzbot, Makergame, Printrbot และ Prusa โดยทางบริษัทยังเปิดรับคำขอให้ผู้ใช้ส่งเข้าไปยังบริษัทได้ด้วยว่าต้องการให้รองรับเครื่องพิมพ์รุ่นใดเพิ่มขึ้นบ้าง