จากกรณี Starlink เปิดจองคิวทั่วโลก (รายละเอียดเรื่องค่าบริการ) ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า Starlink สามารถให้บริการโดยไม่ต้องขอใบอนุญาต
วันนี้ Blognone ได้รับหนังสือจากสำนักงาน กสทช. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลด้านการสื่อสารผ่านดาวเทียม ยืนยันว่าการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม (กรณีนี้คือ Starlink แต่ก็รวมถึงกรณีอื่นๆ ด้วย) จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม และการใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมก่อน
SpaceX เตรียมยิงจรวด Falcon 9 ตามภารกิจ Transporter-1 นำส่งดาวเทียมจำนวน 143 ดวงตามโครงการ Rideshare ที่เปิดให้จองเที่ยวบินไปเมื่อต้นปี 2020 นับเป็นการส่งดาวเทียมจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ราคาตามหน้าเว็บโครงการ Rideshare ของ SpaceX คิดค่านำส่งดาวเทียมกิโลกรัมละ 5,000 ดอลลาร์ ขั้นต่ำ 200 กิโลกรัม ลูกค้าที่เปิดเผยตอนนี้มีบริษัท Planet ที่ซื้อสล็อตนำส่งดาวเทียม SuperDove รวดเดียว 48 ดวง ส่วน SpaceX เองก็นำส่งดาวเทียม Starlink ขึ้นไปด้วย 10 ดวง ประธานบริษัท Planet เองเคยระบุว่า SpaceX ลดค่านำส่งดาวเทียมจนเขาแทบไม่เชื่อ
Canon เปิดตัวเว็บไซต์แบบอินเตอร์แอคทีฟจำลองการถ่ายภาพจากอวกาศ โดยใช้ดาวเทียม CE-SAT-1 พร้อมกล้อง EOS 5D Mark III โดยมีจุดถ่ายภาพที่กำหนดให้ถ่ายได้หลายเมือง
สำหรับดาวเทียมดวงนี้ Canon ปล่อยขึ้นไปตั้งแต่กลางปี 2017 แล้ว โดยตัวกล้องที่ติดขึ้นไปด้วยคือ EOS 5D Mark III พร้อมเลนส์กล้องโทรทรรศน์ 40cm Cassegrain-type 3720mm โดยมีวิถีวงโคจรอยู่ที่ 600 กิโลเมตร โดยให้ภาพความละเอียด 36 นิ้วในเฟรม 3x2 ไมล์ และมีกล้อง PowerShot S110 สำหรับการถ่ายภาพโหมดกว้าง
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมาผู้ใช้นาฬิกาออกกำลังกายจำนวนมากรายงานความผิดปกติเหมือนๆ กัน คืออยู่ๆ นาฬิกาก็จับพิกัดผ่านดาวเทียมเช่น GPS ผิดพลาด ทำให้เส้นทางการออกกำลังกายดูแปลกประหลาด และหลายครั้งนาฬิกาก็ปรับพิกัดกลับไปถูกต้องได้เองเมื่อเวลาผ่านไปช่วงหนึ่ง
จุดร่วมของนาฬิกาหลากยี่ห้อเหล่านี้คือชิป GPS ของโซนี่ที่แบรนด์ดังแทบทั้งหมดใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Garmin, Polar, หรือ Suunto แต่ยังไม่แน่ชัดนักว่าทำไมนาฬิกาเหล่านี้จึงผิดพลาดเหมือนๆ กันไปทั้งหมด เว็บ DC Rainmaker ระบุว่าความเป็นไปได้หนึ่งคือไฟล์ทำนายตำแหน่งดาวเทียมผิดพลาด หรืออาจจะเป็นเพราะปี 2020 มี 53 สัปดาห์ทำให้ซอฟต์แวร์ภายในคำนวณวันผิดไป
Amazon รายงานถึงความก้าวหน้าของโครงการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม Kuiper ที่เตรียมจะให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลกด้วยดาวเทียม 3,236 ดวงที่โคจรในวงโคจรระดับต่ำ โดยตอนนี้จานดาวเทียมทดสอบกับดาวเทียมจริงสำเร็จแล้ว และทำแบนวิดท์ได้ถึง 400Mbps พร้อมกับระบุว่าในเวอร์ชั่นต่อๆ ไปจะทำแบนวิดท์ได้สูงกว่านี้
จานดาวเทียมของ Kuiper เป็นจานในคลื่นวิทยุย่าน Ka แบบ single aperture phased array ตัวจานมีขนาด 30 เซนติเมตรใช้ทั้งรับและส่งข้อมูล
ผลทดสอบจานนี้ทดสอบกับดาวเทียมไม่เปิดเผยชื่อดวงหนึ่งที่โคจรในวงโคจรค้างฟ้า (GEO) แม้ว่าดาวเทียม Kuiper ของจริงจะโคจรระดับต่ำกว่านี้ 50 เท่า
Rocket Lab บริษัทจรวดนำส่งดาวเทียมสหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการนำจรวด Electron ลงจอดในทะเลเปิดทางสู่การกู้จรวดด้วยเฮลิคอปเตอร์ในภารกิจต่อๆ ไป โดยภารกิจหลักของจรวด Electron ในครั้งนี้คือการนำส่งดาวเทียมขนาดเล็กจำนวน 30 ดวง ซึ่งก็สามารถส่งให้ครบถ้วนเช่นเดียวกัน
แผนการกู้คืนจรวดของ Rocket Lab ไม่ได้อาศัยการลงจอดด้วยตัวเองเหมือนจรวด Falcon 9 ของ SpaceX แต่อาศัยการกางร่มชูชีพเพื่อลดความเร็วแล้วนำเฮลิคอปเตอร์มาเก็บจรวดกลางอากาศก่อนตกถึงทะเล การปล่อยให้จรวดลงจอดในทะเลครั้งนี้เองก็มีแผนจะนำจรวดกลับมาใช้ซ้ำ แต่หากเก็บจรวดกลางอากาศได้กระบวนการปรับสภาพจรวดให้พร้อมกลับมาใช้งานจะง่ายกว่ามาก
กระทรวงวิทยาศาสตร์และไอซีทีเกาหลีใต้แสดงภาพถ่ายจากดาวเทียม Chollian-2B แสดงเส้นทางของฝุ่น PM2.5 ที่เดินทางอยู่ในภูมิภาคต่างๆ โดยภาพเมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่ากลุ่มฝุ่น PM2.5 ของเกาหลีใต้นั้นเดินทางมาจากประเทศจีน
ดาวเทียม Chollian-2B เพิ่งยิงขึ้นวงโคจรเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มันเป็นดาวเทียมค้างฟ้าสำรวจสิ่งแวดล้อมที่ติดตั้ง spectrometer สำรวจมลพิษแบบต่างๆ เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์, ซัลเฟอร์ไดออกไซด์, โอโซน, ฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5
ดาวเทียมมีอายุการใช้งาน 10 ปี พื้นที่เซ็นเซอร์ครอบคลุมทั้งจีน, เกาหลี, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, และชาติอาเซียนเกือบทั้งภูมิภาค โดยทางกระทรวงไอซีทีเกาหลีใต้เตรียมแบ่งปันภาพที่ได้ให้กับชาติต่างๆ รวมทั้งไทยและอินโดนีเซีย
Starlink เริ่มส่งอีเมลเชิญผู้ใช้ทดสอบใช้อินเทอร์เน็ตดาวเทียมในชื่อโครงการ "ยอมลองยา ดีกว่าไม่มีเน็ต" (Better Than Nothing Beta) โดยมีค่าใช้จ่ายแยกเป็นค่าอุปกรณ์ 499 ดอลลาร์ หรือประมาณ 15,600 บาท และค่าบริการรายเดือน 99 ดอลลาร์หรือ 3,100 บาท โดยอีเมลเชิญชวนระบุว่าความเร็วโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 50-150Mbps ขณะที่ความหน่วงอยู่ที่ 20-40ms โดยคาดว่าปีหน้าจะลดลงจนถึง 16-19ms ได้
ไมโครซอฟท์เปิดบริการ Microsoft Azure Modular Datacenter (MDC) บริการศูนย์ข้อมูลพร้อมใช้แบบยกไปที่ไหนก็ได้ เหมาะกับภารกิจนอกสถานที่ เช่น ศูนย์บัญชาการเคลื่อนที่, การช่วยเหลือภัยพิบัติ, ปฎิบัติการทางทหาร, ไปจนถึงการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ โดยที่คนทำงานหน้างานต้องการเชื่อมต่อกับศูนย์ข้อมูลที่ความเร็วสูง
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา Northrop Grumman บริษัทด้านอากาศยานของสหรัฐฯ ได้ยิงยาน MEV-2 (Mission Extension Vehicle) หุ่นยนต์อัตโนมัติที่จะทำหน้าที่ยืดอายุดาวเทียมสื่อสารที่กำลังใช้งานเป็นครั้งแรก โดยน่าจะยืดอายุดาวเทียม Intelsat 1002 ออกไปอีกอย่างน้อย 5 ปี
จีนเปิดใช้งานระบบดาวเทียมนำทาง BeiDou ครบทั้งโลกเป็นทางการหลังจากยิงครบทั้งระบบที่วางแผนไว้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยสี จิ้นผิง เป็นผู้กล่าวเปิดที่หอประชุมใหญ่ของประชาชน (the Great Hall of the People in Beijing) ด้วยตัวเอง โดยก่อนหน้านี้ระบบอยู่ระหว่างการทดสอบขั้นสุดท้าย
ระบบดาวเทียม BeiDou นอกจากสามารถส่งข้อมูลเวลาเพื่อนำทางด้วยความแม่นยำสูงแล้ว ยังสามารถส่งข้อความไม่เกิน 1,200 ตัวอักษรจีน หรือส่งภาพให้แก่กัน
ที่มา - Japan Times
รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศว่ารัฐบาลสหรัฐฯ เห็นชอบลดเงื่อนไขการพัฒนาจรวดเชื้อเพลิงแข็ง เปิดทางให้เกาหลีใต้สามารถพัฒนาจรวดพิสัยไกล รวมถึงจรวดนำส่งดาวเทียมวงโคจรระดับต่ำ 500 ถึง 2,000 กิโลเมตร หลังจากทั้งสองชาติมีข้อตกลงจำกัดการพัฒนาจรวดประสิทธิภาพสูงไว้ตั้งแต่ปี 1979
หลังจากจีนปล่อยดาวเทียมระบุพิกัด BeiDou (เป่ยโตว แปลว่า ดาวไถ) ดวงสุดท้าย มีรัศมีทำงานครอบคลุมทั่วโลกแล้ว บริษัทแอปแชร์จักรยานต่างๆ ก็ออกมาขานรับ พร้อมใช้งานระบบระบุพิกัด BeiDou ของรัฐบาลจีนเพื่อเพิ่มความแม่นยำให้กับการระบุตำแหน่ง ร่วมกับระบบ GPS ที่รัฐบาลสหรัฐเป็นเจ้าของ
BeiDou (เป่ยโตว ไม่ใช่ ไป่ตู้) เป็นเครือข่ายดาวเทียมระบุพิกัดของประเทศจีน สร้างมาใช้ทดแทนระบบ GPS ที่เป็นเป็นระบบระบุพิกัดที่รัฐบาลสหรัฐเป็นเจ้าของ รัฐบาลจีนพยายามพัฒนาเครือข่ายดาวเทียมระบุพิกัดของตัวเองมาตั้งแต่ปี 1990 เพื่อให้ใช้งานได้แม้เกิดข้อพิพาทกับสหรัฐ และเป็นการขยายการครอบคลุมของเทคโนโลยีจีนไปทั่วโลกอีกด้วย
SpaceX ยิงดาวเทียมเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยภารกิจหลักคือการยิงดาวเทียม Starlink แต่ความพิเศษของรอบนี้คือการนำส่งดาวเทียม SkySat 16-18 รวมสามดวงขึ้นไปด้วยตามโครงการ Rideshare ที่เปิดตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
SkySat เป็นดาวเทียมโดย Planet Labs บริษัทดาวเทียมเอกชนที่ให้บริการสำรวจพื้นที่ด้วยดาวเทียมภาพถ่ายดาวเทียมในย่านแสงสายตามองเห็นหรือย่ายใกล้อินฟราเรด หรือภาพขาวดำแบบ panchromatic ที่ไวต่อแสงทุกผ่านที่สายตามองเห็น โดยทาง Planet Labs มีกำหนดส่งดาวเทียม SkySat อีก 3 ดวง (รวม 6 ดวง) ไปกับโครงการ Rideshare ของ SpaceX โดยดาวเทียมชุดใหม่นี้จะใช้เซ็นเซอร์ความละเอียด 50 เซนติเมตร
Huawei ประกาศความร่วมมือกับ China Unicom เตรียมสร้างดาวเทียมวงโคจรต่ำเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยระบุว่าโครงการนี้จะเป็นการสาธิตว่า 5G และการสื่อสารผ่านดาวเทียมจะทำงานร่วมกันได้อย่างไร
ตัวโครงการระบุเพียงว่าเป็นการให้บริการผ่านดาวเทียมวงโคจรต่ำแบบเดียวกับ Starlink ของ SpaceX จากเดิมที่อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมทุกวันนี้มักเป็นดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้าให้บริการพื้นที่แบบตายตัว ขณะที่ดาวเทียมวงโคจรต่ำนั้นจะเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับพื้นผิวโลก ทำให้ต้องมีดาวเทียมจำนวนมากเพื่อให้บริการในพื้นที่ได้ตลอดเวลา
Mark Gurman จากสำนักข่าว Bloomberg รายงานว่าแอปเปิลได้ซุ่มตั้งทีมงานลับซึ่งมีสมาชิกราว 10 คน จากทั้งฝั่งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ เพื่อทำงานด้านเทคโนโลยีการส่งข้อมูลไร้สายผ่านดาวเทียมรูปแบบใหม่โดยเฉพาะ โดยมีอดีตวิศวกรกูเกิล 2 คน จากบริษัทภาพถ่ายดาวเทียม Skybox Imaging ที่กูเกิลซื้อกิจการไปเป็นหัวหน้าทีม
เป้าหมายของโครงการดังกล่าว เพื่อศึกษาหาแนวทางในการส่งข้อมูลโดยตรงผ่านดาวเทียม ไปยังอุปกรณ์ของแอปเปิลเลย ซึ่งหากทำสำเร็จจะช่วยลดการพึ่งพาการส่งข้อมูลผ่านผู้ให้บริการเครือข่ายภาคพื้น รายงานระบุว่าโครงการดังกล่าวกำหนดกรอบเวลาไว้ 5 ปี ในการพัฒนาให้ออกมาใช้งานได้
รัฐบาลจีนประกาศว่าภายในปีหน้า ระบบดาวเทียมนำทาง BeiDou-3 จะให้บริการได้ครบทั้งโลก นับเป็นครั้งแรกที่ระบบดาวเทียมของจีนจะมีความพร้อมเท่ากับระบบ GPS ของสหรัฐฯ
จีนเริ่มยิงดาวเทียม BeiDou มาตั้งแต่ปี 2000 และเริ่มยิง BeiDou-3 ในปี 2015 โดยวางแผนให้มีดาวเทียมทั้งหมด 35 ดวง กระจายอยู่ 3 วงโคจร คือ วงโคจรค้างฟ้า, วงโคจรค้างฟ้าแบบเอียง (incline geosynchronous orbit), และดาวเทียมระดับกลาง (medium earth orbit)
ที่มา - Abacus News
SpaceX ประกาศความสำเร็จในการนำส่งดาวเทียมให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง Starlink เป็นชุดที่สอง หลังจากนำส่งชุดแรกไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ทางบริษัทระบุว่าภารกิจนี้เป็นภารกิจที่มีน้ำหนักสัมภาระหนักที่สุดที่เคยมีมา ไม่ชัดเจนว่าทำไมน้ำหนักต่างจากการส่ง Starlink รอบแรก แต่ตัวดาวเทียมอาจจะมีการปรับปรุง โดยภารกิจนี้ตัวจรวดนั้นใช้เป็นครั้งที่สี่นับว่าเป็นการใช้ซ้ำมากที่สุด และตัวปลอกหุ้มสัมภาระ (fairing) ก็เคยถูกใช้งานมาก่อนแล้ว นับเป็นภารกิจแรกที่ถูกใช้ซ้ำ
องค์การระบบดาวเทียมนำทางยุโรป (European GNSS Agency - GSA) ประกาศว่าระบบดาวเทียมนำทาง Galileo กลับมาใช้งานได้แล้ว หลังจากระบบล่มไปตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว อย่างไรก็ดี ทาง GSA เตือนว่าผู้ใช้อาจจะพบเหตุการณ์ระบบผิดปกติบ้าง
แถลงล่าสุดทาง GSA ระบุว่าสาเหตุเกิดจากอุปกรณ์ในสถานีภาคพื้นดินขัดข้อง ทำให้ไม่สามารถคำนวณเวลาและทำนายวงโคจรของดาวเทียมในระบบได้แม่นยำ โดยหลังจากนี้จะตั้งกรรมการอิสระเข้ามาสอบสวนสาเหตุที่แท้จริงต่อไป
ระบบดาวเทียม Galileo เริ่มมีปัญหาตั้งแต่วันที่ 11 ที่ผ่านมา จนกระทั่งหยุดทำงานไปทั้งระบบในวันที่ 13 หากนับรวมตั้งแต่ระบบไม่เสถียรก็จะรวมเป็นหนึ่งสัปดาห์เต็มๆ
ระบบดาวเทียมนำทาง Galileo ของสหภาพยุโรปล่มทั้งระบบตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมาหลังจากมีปัญหากับ "โครงสร้างพื้นฐานภาคพื้นดิน"
แหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตน ระบุกับ BBC ว่าโครงสร้างที่เป็นต้นเหตุคือ ฐานปรับเวลาความแม่นยำสูงในอิตาลี
Galileo เพิ่งยิงครบเครือข่ายเมื่อปีที่แล้ว แต่ยังเปิดใช้งานไม่ครบ โดยตอนนี้มีดาวเทียมทำงานอยู่ 22 ดวง และทั้งโครงการยังอยู่ในช่วง "ทดสอบการทำงาน" ทำให้ยังไม่มีระบบใดพึ่งพา Galileo เต็มตัว และอุปกรณ์ส่วนมากที่รองรับก็มักรองรับระบบดาวเทียมนำทางอื่นๆ เช่น GPS หรือ Glonass ไปพร้อมกัน
Kuiper System บริษัทลูกของ Amazon ยื่นขออนุญาต FCC (กสทช. สหรัฐฯ) ยิงดาวเทียมจำนวน 3,236 ดวง เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก หลังจากเปิดบริษัทลูกเป็นทางการตั้งแต่เดือนเมษายน
ดาวเทียมทั้งหมดถูกจัดกลุ่มเป็น 96 วงโคจร แต่ละวงโคจรมีดาวเทียม 28-36 ดวง ระดับวงโคจรที่ 589 กิโลเมตร ถึง 629 กิโลเมตร ตัวดาวเทียมมีอายุใช้งานประมาณ 7 ปี และใช้คลื่นความถี่ย่าน Ka
ตอนนี้ยังไม่มีกำหนดแน่ชัดว่า Kuiper จะส่งดาวเทียมทั้งหมดเมื่อใด แต่เอกสารที่ยื่นไว้ตั้งแต่ปี 2016 ระบุว่าจะใช้วงโคจรแรกวันที่ 1 มกราคม 2020 และแม้จะครอบคลุมประชากรโลกถึง 95% แต่เอกสารก็ระบุว่าพื้นที่ให้บริการจะไม่ครอบคลุมรัฐอลาสก้าของสหรัฐฯ
SoftBank ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของญี่ปุ่น ประกาศเปิดตัวบริการใหม่ปลายปีนี้ โดยจะให้บริการระบุตำแหน่งพิกัดแบบความแม่นยำสูง RTK (Real Time Kinematic) อาศัยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม Michibiki ที่เป็นดาวเทียมสำหรับระบุพิกัดตำแหน่งความละเอียดสูง เชื่อมต่อกับสถานีฐานในภาคพื้น ทำให้ได้ความละเอียดที่ระดับเซนติเมตร
ตามแผน SoftBank จะให้บริการดังกล่าวแบบทดลองบางส่วนก่อน จากนั้นจึงขยายให้บริการทั่วประเทศญี่ปุ่นต่อไป
ความร่วมมือเบื้องต้นของ SoftBank จะนำระบบระบุพิกัดนี้ไปใช้กับพาร์ทเนอร์ 3 ราย ได้แก่ ยานยนต์ไร้คนขับในภาคเกษตรกรรมของยันม่าร์ ใช้ในโดรนตรวจสอบพื้นที่ก่อสร้างกับบริษัท Kajima และใช้กับระบบรถบัสไร้คนขับของ SB Drive (ซึ่ง SoftBank ถือหุ้นใหญ่)
เมื่อปลายปีที่แล้ว AWS เปิดตัว Ground Station บริการให้เช่าสถานีภาคพื้นสำหรับรับข้อมูลจากดาวเทียมส่งเข้าคลาวด์ หลังจากเปิดให้บริการแบบพรีวิวมาสักระยะ วันนี้ AWS Ground Station ก็ได้เข้าสู่สถานะ GA แล้ว
วิธีใช้ AWS Ground Station ผู้ใช้จะต้องเพิ่มดาวเทียมเข้าไปในบัญชี AWS โดยจะต้องให้ NORAD ID และข้อมูลอื่น ๆ และใช้เวลารอตามกระบวนการ 2 วัน จากนั้นให้เลือกสถานีภาคพื้นที่จะรับข้อมูลจากดาวเทียม โดยการเลือกสถานีจะต้องขึ้นกับวงโคจรของดาวเทียมและเวลาที่จะรับข้อมูล
โครงการ Starlink เป็นโครงการของ SpaceX มีเป้าหมายปล่อยดาวเทียมขนาดเล็กนับหมื่นดวงเพื่อสร้างโครงข่ายสำหรับปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมทั้งโลก
เมื่อวานนี้ SpaceX ได้ทดสอบติดเครื่องจรวดแบบอยู่กับที่ (static fire test) ซึ่งก็ทดสอบผ่านด้วยดี และล่าสุดประกาศยิงจรวด Falcon 9 เพื่อปล่อยดาวเทียมล็อตแรกของโครงการนี้จำนวน 60 ดวงในวันที่ 16 พฤษภาคม เวลา 9:30 น. ตามเวลาประเทศไทย ที่ฐานยิงบริเวณแหลมคานาเวอรัล