เมื่อเวลาราวสามทุ่มของเมื่อวานตามเวลาประเทศไทย SpaceX ได้ทำภารกิจยิงจรวด Falcon 9 อีกครั้ง โดยภารกิจคราวนี้เป็นการปล่อยดาวเทียมขนาดเล็กให้โครงการ Iridium อีก 10 ดวง และ SpaceX ยังได้พยายามเก็บ fairing หรือส่วนปลายของจรวดเป็นครั้งที่สอง แต่ยังคงล้มเหลว
ภารกิจนี้ใช้ชื่อว่า Iridium-5 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปล่อยดาวเทียมขนาดเล็กรวม 75 ดวงเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งโลก โดยรอบนี้เป็นดาวเทียมชุดที่ 5 แล้วที่ SpaceX ได้ปล่อยออกสู่วงโคจร ซึ่งใช้บูสเตอร์ซ้ำจากภารกิจ Iridium-3 เมื่อเดือนตุลาคม 2017 และภารกิจ Iridium-2 กับ Iridium-4 ก็ใช้จรวดลำเดียวกัน รวม 5 ภารกิจแล้ว SpaceX ใช้จรวดเพียง 3 ลำเท่านั้น
ปีที่แล้ว SpaceX เผยแผนปล่อยดาวเทียมกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตในปี 2019 และเร่ิมให้บริการปี 2024 ล่าสุด FCC หรือกสทช. ของสหรัฐฯ อนุมัติ SpaceX สำหรับการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมแล้ว
เดิมแผนของ SpaceX คือจะปล่อยดาวเทียม 4,425 ดวงไปโคจรรอบโลกที่ความสูงราว 684 ถึง 823 ไมล์ ทว่าในเอกสารที่ยื่นให้ FCC ล่าสุด SpaceX ระบุตัวเลขดาวเทียมเป็น 7,518 ดวงที่ความสูงราว 211 ไมล์แทน โดยเดือนที่แล้ว SpaceX ได้ส่งดาวเทียมขึ้นไป 2 ดวงด้วย Falcon 9 เพื่อสาธิตและทดสอบแล้ว
ในการสาธิตเมื่อ วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2560 ที่ผ่านมาทีมงานจากสถาบันวิทยาศาสตร์จีน ซึ่งนำโดยนักฟิสิกส์ Jian-Wei Pan ได้สร้างคีย์ที่ปลอดภัยจากดาวเทียมควอนตัมชื่อ Micius ในการส่ง key การเข้ารหัสข้อมูล video call แบบ real-time ระหว่าง 2 เมืองได้สำเร็จ เวียนนาและปักกิ่ง ดาวเทียมมีอุปกรณ์พิเศษในการสร้างโฟตอน ที่ผ่านกระบวนการพิเศษ สามารถใช้ในการสร้างลำดับแบบสุ่มของบิตได้
ประเทศอินโดนีเซียพบปัญหาตู้เอทีเอ็มและเครื่องอ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ไม่สามารถใช้งานได้ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่พบปัญหาของดาวเทียม Telkom-1
ปัญหาของดาวเทียม Telkom-1 นี้เกิดกับไซต์ภาคพื้นดิน 15,000 แห่งในอินโดนีเซีย ซึ่งดาวเทียมดวงนี้ใช้งานทั้งหน่วยงานรัฐบาล, ธนาคาร, สถานีโทรทัศน์ และอื่น ๆ
ธนาคารที่ได้รับผลกระทบ อย่างเช่น Bank Central Asia (BCA) ธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย (ตามมูลค่าตลาด) พบปัญหากับตู้เอทีเอ็มกว่า 5,700 ตู้ ซึ่งคิดเป็น 30% ของตู้เอทีเอ็มที่ธนาคารดูแลทั้งหมด รวมถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในสาขาบางแห่งของธนาคารก็ได้รับผลกระทบด้วย ส่วน Bank Rakyat Indonesia ธนาคารของรัฐอินโดนีเซียนั้นพบว่ามีตู้เอทีเอ็มได้รับผลกระทบ 300 แห่ง
เมื่อต้นเดือน ทีมวิจัยจาก Institute for Quantum Computing และ Department of Physics and Astronomy, University of Waterloo ประเทศแคนาดา ประกาศความสำเร็จในการทดสอบแลกเปลี่ยนกุญแจเข้ารหัสผ่านช่องทางควอนตัม (quantum key distribution หรือ QKD, ข่าวเก่ามีพูดถึงไว้นิดหน่อย) โดยส่งจากสถานีภาคพื้นดินไปยังเครื่องบินขณะที่กำลังบินอยู่
จากข่าวจีนส่งดาวเทียมควอนตัมดวงแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศเพื่อใช้ทดสอบการสร้างเครือข่ายควอนตัมระยะไกล วันนี้การทดสอบประสบความสำเร็จและสามารถสร้างเครือข่ายระหว่างสถานีฐาน 2 แห่งที่ห่างกันถึง 1,203 กิโลเมตร
หลังจากที่เคยมีข่าวออกมาว่า SpaceX ยื่นเรื่องขอยิงดาวเทียมกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ตอนนี้มีรายละเอียดของแผนการนี้มากขึ้นแล้ว
Patricia Cooper รองประธานฝ่ายกิจการดาวเทียมรัฐบาลของ SpaceX ได้รายงานต่อกรรมการวุฒิสภาว่า บริษัทมีแผนจะปล่อยดาวเทียมรุ่นโปรโตไทป์ในปีนี้และปีหน้า และหากการทดสอบประสบผลสำเร็จ จะเริ่มปล่อยดาวเทียมดวงแรกในปี 2019 และปล่อยไปเรื่อยๆ จนครบ 4,425 ดวง ก่อนจะให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2024
หลังเกิดเหตุเที่ยวบิน MH370 หายไปอย่างไร้ร่องรอยเมื่อปี 2014 ตอนนี้สายการบิน Malaysia Airline พอจะหาหนทางป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าวแล้ว จากการเซ็นข้อตกลงกับ Aireon, FlightAware and SITAONAIR บริษัทด้านอุตสาหกรรมการบิน ในการใช้ระบบติดตามเครื่องบินผ่านดาวเทียมแบบเรียลไทม์เป็นสายการบินแรกในโลก
คาดว่าระบบนี้จะถูกนำมาใช้งานจริงในช่วงปีหน้า ซึ่งทาง Malaysia Airline จะรู้ได้ทั้งตำแหน่ง ความเร็ว ความสูงได้ทุกลำ ไม่ว่าจะอยู่ตำแหน่งไหนของโลก โดยข้อมูลนี้จะถูกอัพเดตทุกๆ นาที
SpaceX สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่อีกครั้งโดยส่งจรวด Falcon 9 สู่อวกาศ และสามารถนำลงจอดแนวตั้งได้ ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่ใช้จรวดที่เคยใช้แล้วขึ้นไปบนอวกาศ
SpaceX และ Blue Origin ทำงานเรื่องจรวดรีไซเคิลกันมาก่อนหน้านี้ เป้าหมายคือต้องการประหยัดงบประมาณ ที่คาดว่าจะประหยัดงบได้ 30% และแทนที่จะให้จรวดที่เคยล้มเหลวเป็นขยะในมหาสมุทร ก็สู้นำมันรีไซเคิลใหม่ดีกว่า อ่านข่าวเก่าได้ ที่นี่
ช่วงเวลาส่งจรวดคือ วันพฤหัสบดี ที่ 30 มีนาคมตามเวลาท้องถิ่น 6:27pm โดย Falcon 9 บรรจุดาวเทียมสื่อสาร SES 10 น้ำหนัก 11,700 ปอนด์ไปด้วย
เมื่อต้นปี 2016 บริษัทภาพถ่ายดาวเทียม Skybox Imaging ในสังกัดกูเกิล เปลี่ยนชื่อเป็น Terra Bella ล่าสุดกูเกิลขายบริษัทนี้ให้กับ Planet Labs บริษัทภาพถ่ายดาวเทียมอีกรายหนึ่ง
Planet Labs ก่อตั้งในปี 2010 โดยอดีตนักวิทยาศาสตร์จาก NASA ธุรกิจของบริษัทคือเป็นเจ้าของดาวเทียมขนาดเล็ก เพื่อถ่ายภาพพื้นผิวโลกจากดาวเทียมมาใช้งาน บริษัทบอกว่าปัจจุบันมีดาวเทียมความละเอียดปานกลางอยู่ 60 ดวง การซื้อกิจการ Terra Bella จะทำให้บริษัทได้ดาวเทียมความละเอียดสูงเพิ่มมาอีก 7 ดวง ใช้ต่อยอดธุรกิจให้บริการภาพถ่ายดาวเทียมได้ดีขึ้น และกูเกิลจะใช้วิธีซื้อไลเซนส์ภาพจาก Planet Labs กลับไปใช้งานแทน
ดาวเทียมไทยโชต (THEOS) เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกลเพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกของประเทศไทยและอาเซียน โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส ดำเนินงานโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ภายใต้งบประมาณ 6,000 ล้านบาท
ดาวเทียม THEOS ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศตั้งแต่วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 โดยใช้ระบบควบคุมภาคพื้นดินที่ได้มาพร้อมกับดาวเทียม ตั้งแต่นั้นมาถึงปัจจุบันก็ 8 ปีแล้ว แต่หน้าตาของระบบควบคุมดังกล่าวเป็นตัวเลขแทบทั้งหมด ใช้งานยาก และต้องใช้ความชำนาญสูง
Canon Electronics ของญี่ปุ่นประกาศนำวิศวกรของบริษัท เข้าร่วมทีมที่นำโดยองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (the Japan Aerospace Exploration Agency: JAXA) เพื่อสร้างจรวดขนาดเล็กราคาถูก สำหรับขนส่งดาวเทียม โดยวิศวกรของ Canon จะดูแลชิ้นส่วนควบคุมหลัก ให้มีขนาดเล็กและเบามากที่สุด
จรวดที่จะพัฒนานี้เป็นการอัพเกรดจากจรวด SS-520 ของ JAXA ให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 52 เซนติเมตร สูงไม่เกิน 10 เมตร และมีค่าใช้จ่ายในการปล่อยน้อยกว่า 1/10 ของค่าใช้จ่ายปกติในการปล่อยจรวดส่งดาวเทียม
โครงการนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มปล่อยในช่วงต้นปีหน้า ส่วนทางด้าน Canon เองก็มีแผนจะปล่อยดาวเทียมถ่ายภาพขนาดเล็กในปีหน้า เพื่อขยายวงการการสำรวจอวกาศของญี่ปุ่น
Iridium Communication ผู้ให้บริการโครงข่ายการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ใช้บริการ SpaceX เปิดเผยผ่านทวิตเตอร์ว่าเตรียมจะใช้บริการ SpaceX ส่งดาวเทียม 10 ดวงขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ 16 ธันวาคมนี้ ซึ่งนับเป็นการปล่อยจรวดครั้งแรกหลังเหตุระเบิดเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
จรวดของ SpaceX จะถูกปล่อยที่ฐานทัพอากาศ Vandenberg ในแคลิฟอร์เนีย อย่างไรก็ตาม SpaceX ต้องรอการรับรองการปล่อยจรวดจาก FAA, NASA และกองทัพอากาศสหรัฐก่อน
ทั้งนี้กำหนดการปล่อยจรวดครั้งนี้ สอดคล้องกับที่ Elon Musk ออกมาคาดการณ์ก่อนหน้าว่า จะปล่อยจรวดได้เร็วที่สุด ภายในกลางเดือนธันวาคมนี้
สืบเนื่องจากกรณีที่จรวด Falcon 9 ของ SpaceX ที่ใช้ขนส่งดาวเทียม AMOS-6 เกิดระเบิดที่ฐานปล่อยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ล่าสุด Space Communication Ltd หรือ SpaceCom เจ้าของดาวเทียมดวงดังกล่าว ได้ยื่นหนังสือยังไป SpaceX เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายแล้ว
ทาง SpaceCom เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือจะเปลี่ยนเป็นการขนส่งดาวเทียมฟรี 1 ครั้ง ซึ่งทาง SpaceX ยังไม่มีการตัดสินใจในเรื่องนี้
โดยเบื้องต้นคาดว่าความเสียหายที่ SpaceCom ได้รับมีมูลค่าอยู่ที่ราว 30 ถึง 123 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่หุ้นของ SpaceCom เองก็ตกลง 9% หลังเกิดเรื่องและก่อนตลาดปิด ก่อนจะร่วงลงอีก 34% หลังเปิดตลาดในอาทิตย์นี้
จรวด Falcon 9 ของ SpaceX เกิดระเบิดขึ้นในระหว่างการทดสอบก่อนเตรียมการปล่อยจรวด ด้าน SpaceX รายงานว่าไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุดังกล่าว แต่ในด้านความเสียหายทางทรัพย์สินนั้นนอกจากตัวจรวด Falcon 9 ที่เสียหายแล้ว ดาวเทียมที่จรวดได้บรรทุกไว้เตรียมนำขึ้นสู่อวกาศด้วยกันก็ถูกทำลายจากแรงระเบิดนี้ด้วย
เหตุระเบิดนี้เกิดขึ้นที่ฐานปล่อยจรวด Space Launch Complex 40 ณ แหลม Canaveral ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ SpaceX ได้เช่าใช้งานจากกองทัพอากาศของสหรัฐ โดยอุบัติเหตุเกิดขึ้นในช่วงการทดสอบการจุดระเบิดที่มีขึ้นในวันนี้ ซึ่งเป็นขั้นตอนการทดสอบตามปกติก่อนเตรียมการปล่อยจรวดจริงในวันเสาร์ที่กำลังจะมาถึง
SpaceX สามารถนำจรวด Falcon 9 ขั้นแรกลงจอดบนพื้นดินและบนโดรนลอยน้ำได้สำเร็จมาแล้วหลายครั้งแต่ แต่ตอนนี้บริษัทเพิ่งประกาศว่าจะนำจรวดที่ลงจอดสำเร็จกลับมาใช้ใหม่ภายในปลายปีนี้เป็นครั้งแรก
ลูกค้าที่จะใช้จรวดรีนำกลับมาใช้ใหม่ครั้งนี้คือดาวเทียม SES-10 ของบริษัท SES จากลักเซมเบิร์ก โดยจะนำส่งไปยังวงโคจรค้างฟ้าที่ 67 องศาตะวันตก ให้บริการในพื้นที่ละตินอเมริกา ตัวดาวเทียมสร้างโดย Airbus Defence and Space
ยังไม่มีข้อมูลว่าทาง SES จ่ายค่านำส่งดาวเทียมครั้งนี้เท่าใด แต่คาดกันว่าการใช้ดาวเทียมรีไซเคิลจะลดต้นทุนลงได้ 30% จากเดิมค่าใช้งาน Falcon 9 อยู่ที่ 62 ล้านดอลลาร์ต่อครั้ง
ทีมวิจัยจาก Stanford พัฒนาอัลกอริทึมแบบ machine learning ใช้ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากดาวเทียมมาสร้างแผนที่ความยากจนที่มีข้อมูลแม่นยำขึ้นจากการใช้วิธีสร้างแบบเดิม
กล่าวถึงแผนที่ความยากจน (poverty map) กันก่อน โดยทั่วไปแล้วคือแผนที่แสดงว่าประชากรในแต่ละพื้นที่นั้นมีรายได้เฉลี่ยต่อคนในแต่ละวันเป็นเงินเท่าไหร่ แผนที่นี้ใช้ประโยชน์ในหลายด้าน ทั้งในแง่การบริหารปกครองของหน่วยงานภาครัฐท้องที่ต่างๆ เพื่อกระจายความเจริญให้ถึงแหล่งที่ต้องการอย่างแท้จริง รวมทั้งกำหนดนโยบายการบริหารทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม ไม่เพียงเท่านั้น แผนที่ความยากจนยังเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไรอีกจำนวนมากที่ต้องการใช้เพื่อวางแผนการให้ความช่วยเหลือผู้คนทั่วทุกมุมโลกได้อย่างเหมาะสม
จีนพัฒนาดาวเทียมควอนตัมดวงแรกของโลก และส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อเวลา 1:40 นาฬิกา ตามเวลาท้องถิ่นจาก Jiuquan Satellite Center เพื่อทดสอบและวางรากฐานสำหรับการสื่อสารที่ปลอดภัยผ่าน Quantum Encryption และทดลองภาคปฎิบัติกับทฤษฎี Quantum Entanglement ระหว่างอวกาศและพื้นโลก
ดาวเทียม Quantum Science Satellite (QUESS) หรือที่ตอนหลังถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น Mozi เป็นดาวเทียมสื่อสารควอนตัมดวงแรกของโลกที่ถูกส่งขึ้นไปปฏิบัติการจริงบนอวกาศ ดาวเทียมดังกล่าวถูกพัฒนาโดยทีมงานจาก University of Science and Technology of China ใน Hefei และจะต้องอยู่ในขั้นตอนการทดสอบอีก 3 เดือน ก่อนการเริ่มปฏิบัติภารกิจจริง
China Mobile โอเปอเรเตอร์อันดับหนึ่งของจีน ประสบความสำเร็จในการยิงดาวเทียมสำหรับสื่อสารผ่านระบบโทรศัพท์มือถือดวงแรก โดยเป็นดาวเทียมที่ออกแบบโดยสถาบัน China Academy of Space Technology ของประเทศจีนเองด้วย
ดาวเทียมดวงนี้ชื่อว่า Tiantong-01 มีภารกิจคือสร้างเครือข่ายโทรศัพท์ที่ครอบคลุมประเทศจีน ตะวันออกกลาง และแอฟริกา การส่งดาวเทียมใช้จรวด Long March-3B ที่ผลิตในจีนเช่นกัน และส่งขึ้นไปเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา
ช่วงเช้าวันนี้ เวลา 4:39น. จรวด Falcon 9 ของ SpaceX ได้พาดาวเทียมไทยคม 8 (Thaicom 8) ปล่อยสู่วงจรสำเร็จเรียบร้อย โดยส่วนของจรวดในขั้นแรกได้กลับลงสู่พื้นโลกสำเร็จอีกเป็นครั้งที่ 4 ในประวัติศาสตร์ของ SpaceX
ดาวเทียมไทยคม 8 มีน้ำหนัก 3,100 กิโลกรัม ผลิตโดยบริษัท Orbital ATK โดยส่งขึ้นวงโคจรที่ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก ตำแหน่งเดียวกับไทยคม 5 และไทยคม 6 รองรับการออกอากาศและบริการข้อมูลในพื้นที่ เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกา
ที่มา: BusinessWire
ระบบบอกพิกัดด้วยดาวเทียม GPS หรือ Global Positioning System ถูกคิดค้นโดย The Aerospace Corp หน่วยงานวิจัยที่แยกตัวมาจากกองทัพอากาศสหรัฐ (ปัจจุบันมีสถานะเป็นบรรษัทอิสระที่ไม่หวังผลกำไร และได้ทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ) มาตั้งแต่ปี 1966
ล่าสุดมีเอกสารของ The Aerospace Corp เผยแพร่ต่อสาธารณะ ระบุว่ากำลังพัฒนาระบบบอกพิกัด (Positioning, Navigation, and Timing - PNT) แบบใหม่ภายใต้โค้ดเนมว่า Project Sextant
Project Sextant ไม่ใช่ GPS 2.0 ที่พัฒนาขึ้นจากของเดิม แต่ต้องการพัฒนาแนวทางใหม่ให้เหมาะกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เพราะตอนที่คิดระบบ GPS ขึ้นมา มุ่งใช้งานด้านการทหารเป็นหลัก อีกทั้งเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์-การสื่อสารยังไม่พัฒนาเท่ากับสมัยนี้
บริษัทภาพถ่ายดาวเทียม Skybox Imaging ที่ขายให้กูเกิลเมื่อปี 2014 เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Terra Bella แล้ว
ทางทีมบริหารของ Skybox ให้เหตุผลว่าวิสัยทัศน์ขององค์กรขยายจนเกินคำว่า "box in the sky" ตามชื่อเดิม เพราะบริษัทเริ่มสนใจการค้นหารูปแบบ (pattern) การเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวโลกจริง สุดท้ายจึงเปลี่ยนชื่อเป็นคำว่า Terra Bella ที่แปลว่า "beautiful land" แทน
โตชิบาเผย Satellite Click 10 แท็บเล็ตพร้อมคีย์บอร์ดถอดแยกได้ ที่จะมากับ Windows 10 ตั้งแต่แรก สเปคเป็นดังนี้
ด้วยขนาดประเทศที่ใหญ่ และเต็มไปด้วยหมู่เกาะจำนวนมาก การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของอินโดนีเซียจึงยังลำบาก และค่อนข้างแพง แม้ว่าจะอยู่ในยุคที่สมาร์ทโฟนเติบโตสูงก็ตาม เพื่อแก้ปัญหานี้ ผู้ให้บริการดาวเทียมอย่าง BigNet จึงเดินหน้าเข้ามาแก้ไขสถานการณ์นี้แล้ว
ล่าสุด BigNet เข้าจับมือกับ Kacific ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ความเร็วสูงผ่านดาวเทียมสัญชาติสิงคโปร์ โดยทาง Kacific จะทำการส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตครอบคลุมกลุ่มเกาะของอินโดนีเซียตะวันออก ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 17,000 เกาะด้วยกัน
สำหรับอุปกรณ์ในการรับสัญญาณจะเป็นจานดาวเทียมขนาดเล็ก ซึ่งสามารถติดตั้งได้ง่าย และเหมาะกับเป้าหมายของแผนนี้ทั้งโรงเรียน องค์กร ที่ทำการรัฐฯ เป็นต้น
จากข่าวลือเมื่อปลายเดือนที่แล้ว วันนี้กูเกิลประกาศข่าวการเข้าซื้อ Skybox Imaging อย่างเป็นทางการด้วยเงินสด 500 ล้านดอลลาร์ (ข่าวเก่าบอก 1,000 ล้านดอลลาร์)
กูเกิลให้เหตุผลของการซื้อกิจการว่าต้องการภาพถ่ายดาวเทียมที่อัพเดตที่สุดมาใช้ใน Google Maps แต่ก็หวังจะใช้เทคโนโลยีด้านดาวเทียมของ Skybox มาช่วยขยายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและบรรเทาภัยพิบัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่กูเกิลสนใจมานาน
ฝั่ง Skybox ระบุว่าสององค์กรมีภารกิจเรื่องการเข้าถึงสารสนเทศ (making information accessible) เหมือนกัน และจากนี้ไปทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันแก้ปัญหาสำคัญๆ ของโลกด้วยกัน