จากประเด็นข่าวที่ว่า Google และ Facebook ต่างก็กำลังวางแผนจะหาทางใช้งานดาวเทียมเพื่อกระจายพื้นที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตสู่ดินแดนห่างไกลความเจริญทั่วโลก ตอนนี้มีข่าวลือตามมาว่า Google อาจลงทุนสร้างดาวเทียมเพื่อใช้สำหรับวัตถุประสงค์นี้ด้วยตนเอง
ทั้ง Google และ Facebook ต่างมีโครงการที่ดำเนินตามอุดมการณ์ที่ต้องการให้ผู้คนทั่วโลกเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากยิ่งขึ้น โครงการที่สำคัญของ Google คือ Project Loon ที่เริ่มจากการใช้บอลลูนกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตสู่พื้นที่ห่างไกลความเจริญ ส่วน Facebook ก็มีโครงการ Internet.org ร่วมกับบริษัทไอทีอีก 6 ราย ที่ใช้แนวทางการพัฒนาสมาร์ทโฟนให้คนเข้าถึงได้มากขึ้น และพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ ให้มีการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และล่าสุด 2 ยักษ์ใหญ่ไอทีก็ใจตรงกันว่าควรจะใช้ดาวเทียมเพื่อเพิ่มบริการอินเทอร์เน็ตสู่พื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก
TechCrunch รายงานข่าววงในว่ากูเกิลเตรียมซื้อกิจการ Skybox Imaging บริษัทด้านภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูง โดยคาดว่ามูลค่าการซื้อกิจการครั้งนี้อยู่ที่ 1 พันล้านดอลลาร์
ถ้าข่าวนี้เป็นจริง การซื้อ Skybox Imaging จะเป็นประโยชน์กับกูเกิลอย่างชัดเจนในกรณี Google Maps/Earth ที่มีภาพถ่ายมากขึ้น (ปัจจุบันกูเกิลใช้วิธีซื้อภาพจากหลายๆ บริษัท) แต่กูเกิลยังอาจขายบริการข้อมูลภาพจาก Skybox ในเชิงธุรกิจแบบ B2B ให้กับหน่วยงานธุรกิจอื่นๆ ได้อีกเช่นกัน
โฆษกของทั้งสองบริษัทปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นต่อข่าวลือครั้งนี้ครับ
ยักษ์ใหญ่วงการโทรคมนาคม AT&T ประกาศข่าวการเข้าซื้อบริษัททีวีดาวเทียมแบบเก็บค่าสมาชิก DirecTV ของสหรัฐอเมริกา มูลค่าการซื้อกิจการครั้งนี้ 48.5 พันล้านดอลลาร์ โดยจ่ายเป็นทั้งเงินสดและหุ้น
AT&T อธิบายเหตุผลของการซื้อกิจการว่าต้องการสร้าง "ช่องทางกระจายคอนเทนต์" (content distribution) ที่สมบูรณ์ ครอบคลุมทั้งบรอดแบนด์ ทีวี มือถือ ซึ่ง DirecTV มีครบทั้งฐานลูกค้า (20 ล้านรายในสหรัฐ และ 18 ล้านรายในละตินอเมริกา), คอนเทนต์รายการ (โดยเฉพาะด้านกีฬา) และแพลตฟอร์มเทคโนโลยีทีวีดาวเทียม
บริษัทภาพถ่ายดาวเทียม DigitalGlobe เผยสถิติว่ามีคนมากกว่า 2 ล้านคนทั่วโลก ร่วมกันสแกนภาพถ่ายดาวเทียมในคลังภาพของบริษัท เพื่อค้นหาเครื่องบิน Malaysia Airlines MH370 ที่หายสาบสูญไป
DigitalGlobe มีแพลตฟอร์มสำหรับ crowdsourcing แผนที่ดาวเทียมชื่อ Tomnod สำหรับงานทั่วไปอยู่แล้ว พอเกิดเหตุเครื่องบินหาย ทีมงาน Tomnod จึงตั้งโครงการค้นหาเครื่องบินขึ้น โดยระบบจะสุ่มพิกัดมาให้เราคอยดูว่าภาพที่ขึ้นมาบนจอ มีอะไรที่น่าจะเป็นร่องรอยของเครื่องบินลำนี้หรือไม่
DigitalGlobe บอกว่านับถึงวันนี้มีคนเข้ามาช่วยกันค้นหามากกว่า 2 ล้านคน มีภาพถ่ายดาวเทียมล่าสุดครอบคลุมพื้นที่ 24,000 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นแคมเปญ crowdsourcing ครั้งใหญ่ที่สุดที่ Tomnod เคยมีมา
โครงการ ArduSat เป็นการสร้างดาวเทียมขนาดเล็ก (nanosatellite ขนาดประมาณ 10 ซม.) โดยใช้บอร์ด Arduino และชิ้นส่วนประกอบอื่นๆ โครงการนี้สนับสนุนโดยบริษัท NanoSatisfi ผู้ขายอุปกรณ์สำหรับสร้างดาวเทียมขนาดเล็ก และระดมทุนจาก Kickstarter จนประสบความสำเร็จเมื่อปี 2012
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวปกปิดตัวตนระบุว่า อเมซอนกำลังพัฒนาเครือข่ายไร้สายของตัวเองโดยใช้คลื่นที่ความถี่ที่ถือครองโดยบริษัท Globalstar บริษัทให้บริการดาวเทียม
ข่าวนี้ตรงกับการแถลงของ Globalstar ที่เคยเปิดเผยว่ากำลังอยู่ระหว่างการขออนุญาตจาก FCC ให้สามารถใช้คลื่นเดิมที่เคยใช้กับดาวเทียมอยู่แล้ว มาใช้ในกิจการภาคพื้นดินได้ด้วย
อเมซอนเป็นบริษัทที่ต้องส่งข้อมูลออกไปยังเครื่องลูกข่ายจำนวนมหาศาลทั่วสหรัฐฯ เป็นเรื่องปกติจากทั้งลูกค้า Kindle, และลูกค้า Amazon Prime ที่สามารถดูวิดีโอได้ การมีคลื่นความถี่ของตัวเองเป็นเรื่องสมเหตุสมผลกับอเมซอนที่ไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายจากการเช่าโครงข่ายของผู้ให้บริการรายอื่น เช่นทุกวันนี้ที่ต้องจ่ายเงินผ่านกับ Amazon Whispernet
ดาวเทียม STRaND-1 ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกที่ติดตั้งสมาร์ทโฟน Nexus One สำหรับการควบคุมระบบต่างๆ ได้ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรแล้ว ด้วยจรวด PSLV-C20 ของอินเดียเมื่อเย็นวานนี้
ดาวเทียม STRaND-1 ได้รับการพัฒนาโดยทีม Surrey Space Centre ของมหาวิทยาลัย University of Surrey แห่งสหราชอาณาจักร ใช้สมาร์ทโฟน Nexus One ติดตั้งไปกับตัวดาวเทียม มีน้ำหนักประมาณ 3.5 กิโลกรัม อาศัยเชื้อเพลิงหลัก คือ ของผสมระหว่างน้ำและแอลกอฮอล์
บทความโดย จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์บางฉบับวิพากษ์วิจารณ์การพิจารณาอนุมัติใบอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมให้แก่บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไปในทางที่ว่า กสทช. อนุมัติใบอนุญาตให้แก่บริษัทไทยคมฯ โดยไม่ได้มีการประมูลคลื่นความถี่ ทั้งมิได้ประมูลวงโคจรให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 แต่ประการใด
กสทช. เริ่มให้ผู้ประกอบการเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม เข้ายื่นคำขอรับใบอนุญาตการประกอบกิจการ โดยแจ้งกำหนดให้ทุกรายยื่นขอรับใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน 15 ธ.ค. 2555 มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นกิจการผิดกฎหมาย
ใบอนุญาตดังกล่าวนี้ ครอบคลุมกลุ่มผู้ให้บริการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมทุกราย กล่าวคือการให้บริการทีวีแบบไม่ใช้คลื่นความถี่ โดยเริ่มเปิดรับคำขอใบอนุญาตตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. ที่ผ่านมา และจะเปิดรับถึง 15 ธ.ค. นี้ โดยผู้ประกอบการทุกรายทั้งที่ให้บริการอยู่แต่เดิม และผู้ประกอบรายใหม่ ต้องเข้ายื่นคำขอทั้งหมดและดำเนินกิจการภายใต้ระเบียบของใบอนุญาต ซึ่งจะมีอายุ 15 ปี โดยผู้ประกอบการต้องเสียค่าธรรมเนียมการพิจารณาคำขอรับใบอนุญาตด้วย
ทีมนักวิจัยจากศูนย์ Ames Research ของ NASA กำลังทดสอบโครงการ PhoneSat ซึ่งก็ตรงตามชื่อคือ phone + satellite
PhoneSat เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก (nanosatellite) ที่ใช้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตามท้องตลาดมาเป็นส่วนประกอบเพื่อลดต้นทุนการผลิต ในที่นี้ NASA เลือกใช้ Nexus One ทำหน้าที่ประมวลผล และเพิ่มแบตเตอรี่กับตัวส่งคลื่นวิทยุเข้ามา ทั้งหมดถูกประกอบในกล่องลูกบาศก์ CubeSat ขนาด 4x4 นิ้ว (ภาพดูตามลิงก์) น้ำหนักรวม 4 ปอนด์หรือประมาณ 1.8 กิโลกรัม ต้นทุนตกชุดละ 3,500 ดอลลาร์ (110,000 บาท)
PhoneSat รุ่นแรกถูกผลิตขึ้นมา 2 ชุดเพื่อทดสอบว่ามือถือสามารถทำงานได้ในอวกาศหรือไม่ ส่วนในรุ่นที่สอง มันจะได้อัพเกรดเป็น Nexus S และเพิ่มความสามารถอย่าง GPS และแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาด้วย
ไม่นานมานี้เราได้เห็นข่าวที่กูเกิลส่งโทรศัพท์มือถือ Nexus S สู่ขอบอวกาศไป คราวนี้ทีมวิศวกรจากสหราชอาณาจักรเตรียมที่จะส่งโทรศัพท์มือถือขึ้นไปบ้าง แต่เป็นความสูงระดับหลายร้อยกิโลเมตรเลยทีเดียว
ทีมวิศวกรที่ Surrey Satellite Technology Limited (SSTL) จะส่งโทรศัพท์มือถือขึ้นไปเพื่อทดลองว่า โทรศัพท์จะสามารถทำงานได้ในสภาพแวดล้อมอวกาศหรือไม่ โดยจะใช้โทรศัพท์แอนดรอยด์ แต่ยังไม่ระบุว่าจะเป็นรุ่นใด
โทรศัพท์ที่ส่งขึ้นไปนั้นจะไม่มีการแก้ไขตัวฮาร์ดแวร์ใดๆ แต่จะใส่ในเคสป้องกันการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็วและการแผ่รังสี
สำนักข่าว Itar-Tass รายงานว่า รัสเซียได้ส่งดาวเทียมเพื่อกิจการทหารดวงใหม่ขึ้นสู่อวกาศแล้วจากศูนย์อวกาศทางตอนเหนือของประเทศ ด้วยจรวด Molnia-M carrier เข้าสู่วงโคจรดาวเทียมทางทหารของชุด คอสมอส (Cosmos) ดาวเทียมดวงใหม่นี้มีน้ำหนัก 2 ตัน
รัสเซียส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวด Molnia-M carrier แล้วมากกว่า 225 เที่ยวในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา
ที่มา - Xinhuanet
จากการเปิดเผยของบริษัท เกรท วอลล์ อินดัสตรี ซึ่งเป็นผู้ให้บริการส่งดาวเทียมของจีน ระบุว่า ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารของประเทศไนจีเรีย ที่มีชื่อว่า NIGCOMSAT – 1 สร้างและปล่อยขึ้นสู่อวกาศโดยจีน เมื่อไม่นานนี้มีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถนำมาให้บริการได้
ดาวเทียมดวงนี้ ซึ่งถูกส่งขึ้นไปโคจรในอวกาศ ด้วยจรวด ลอง มาร์ช รุ่น 3-B เมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 มีปัญหาเกี่ยวกับแผงรับแสงอาทิตย์ ทำให้ดาวเทียมสูญเสียพลังงาน และในที่สุดใช้งานไม่ได้
ดาวเทียมส่วนใหญ่จำเป็นต้องอาศัยพลังงานที่ได้รับจากแผงรับแสงอาทิตย์ที่จะต้องกางออกเมื่อเข้าสู่วงโคจรแล้ว และเก็บพลังงานสำรองไว้ในแบตเตอรี่
รัฐบาลไนจีเรียตั้งใจที่จะขยายบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตในพื้นที่อาฟริกากลาง
จีนประสพความสำเร็จในการส่งดาวเทียมเพื่อกิจการโทรคมนาคมของเวเนซูเอลาขึ้นสู่อวกาศแล้วเมื่อปลายเดือนตุลาคม 2551
ทั้งนี้สัญญาการสร้างและส่งดาวเทียมครั้งนี้เป็นสัญญาแรกที่จีนได้รับจากประเทศละติน อเมริกา
ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดลองมาร์ช 311 จากศูนย์ปล่อยดาวเทียม Xichang ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัด Sichuan ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
บริษัท ไชนา แอโรสเปซ ไซแอน แอนด์ เทคโนโลยี คอร์ปอเรชั่น เป็นผู้ผลิตตัวดาวเทียม ซึ่งมีน้ำหนักรวม 5,100 กิโลกรัม มีอายุใช้งาน 15 ปี