Bitwarden แอพจัดการรหัสผ่านแบบโอเพนซอร์ส ประกาศระดมทุน 100 ล้านดอลลาร์ จากบริษัทลงทุน 2 แห่งคือ PSG และ Battery Ventures เพื่อนำไปขยายธุรกิจ
โมเดลธุรกิจของ Bitwarden คือมีแอพเวอร์ชันฟรี (ใช้งานได้ไม่จำกัดอุปกรณ์) และแอพเวอร์ชันพรีเมียมที่มีฟีเจอร์มากขึ้น (เช่น รองรับ 2FA ผ่าน YubiKey/FIDO2) รวมถึงแอพสำหรับธุรกิจที่ใช้งานเป็นทีม
Bitwarden ย้ำว่าแอพเวอร์ชันฟรีของตัวเองจะยังฟรีตลอดไป ใช้สถาปัตยกรรมโอเพนซอร์สเพื่อความโปร่งใส และผู้ใช้สามารถโฮสต์ข้อมูลเอง (self-host) แต่เงินที่ได้จะเน้นการขยายธุรกิจฝั่งองค์กรให้มากขึ้น
ที่มา - Bitwarden
Shellios Technolabs บริษัทสตาร์ทอัพในกรุงเดลี ประเทศอินเดียผลิตหมวกนิรภัยสำหรับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ (หมวกกันน็อค) ที่สามารถฟอกอากาศเพื่อป้องกันมลพิษโดยใช้ชื่อว่า PUROS
หมวกนิรภัยมีระบบกรองอากาศอยู่ที่ด้านท้ายหมวก ประกอบด้วยพัดลมมอเตอร์บัสเลส BLDC รวมถึงตัวกรองอนุภาคที่มีประสิทธิภาพสูง (HEPA) และวงจรไฟฟ้าที่จะดึงอากาศจากภายนอกเข้าสู่ระบบกรองก่อนที่จะเข้าถึงตัวผู้ขับขี่ วัสดุภายนอกทำจากไฟเบอร์กลาสทำให้มีความทนทานเป็นพิเศษ
Sanas เป็นสตาร์ทอัพจากประเทศสหรัฐอเมริกาที่พัฒนาเทคโนโลยีการเปลี่ยนเสียงคนพูดภาษาอังกฤษให้มีสำเนียงที่ชัดเจนเหมือนชาติเจ้าของภาษาได้แบบเรียลไทม์ มันถูกพัฒนามาเพื่อเน้นการใช้งานสำหรับเจ้าหน้าที่คอลเซ็นเตอร์เป็นหลัก
อย่างไรก็ตามมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าแนวคิดของการพัฒนาเทคโนโลยีนี้เป็นการเลือกปฏิบัติด้วยแนวคิดเหยียดสำเนียงภาษาอังกฤษของคนต่างเชื้อชาติ เพราะสิ่งที่มันทำเหมือนกับการพยายามเปลี่ยนเสียงพูดของทุกคนให้เป็นเสียงของคนอเมริกันผิวขาว
กูเกิลเปิดรับสมัครสตาร์ตอัพจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รวมไทย) เข้าร่วมโครงการ Google for Startups Accelerator for Southeast Asia บ่มเพาะสตาร์ตอัพเป็นเวลา 3 เดือน โดยวิทยากรจากกูเกิลและเครือข่ายพันธมิตร
สตาร์ตอัพที่มีสิทธิสมัครเข้าร่วมต้องเป็นระดับ seed ถึง Series A จากประเทศมาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย, เวียดนาม, ปากีสถาน เน้นที่สตาร์ตอัพด้านอีคอมเมิร์ซ, การเงิน, สุขภาพ, โซลูชัน B2B สำหรับ SME, การศึกษา, การเกษตร, ลอจิสติกส์
โครงการจะเปิดรับจำนวน 10-15 บริษัท เริ่มช่วงบ่มเพาะช่วงต้นปี 2023 สมัครได้ถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2022
Adam Neumann ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอ WeWork ที่ลาออกจากบริษัทในปี 2019 และสร้างปัญหาไว้หลายอย่าง หลังจากนั้นเขาหันมาเป็นนักลงทุน และเปิดบริษัทใหม่ชื่อ Flow เป็นสตาร์ตอัพด้านอสังหาริมทรัพย์ เน้นแก้ปัญหาเรื่องบ้าน ที่ซื้อก็แพง เช่าก็ไม่มีความผูกพัน
Calm แอพทำสมาธิชื่อดัง ต้องปลดพนักงานออก 20% หรือประมาณ 90 คน จากพนักงานทั้งหมดราว 400 คน
Calm เป็นแอพยอดนิยมอันดับ 1 ในกลุ่มแอพทำสมาธิ เพิ่มโฟกัสกับงาน ผ่อนคลาย ช่วยให้หลับ ลดความเครียด มีโมเดลการหารายได้ผ่าน in-app purchase เพลงทำสมาธิ เรื่องเล่าฟังผ่อนคลายก่อนนอน และคอร์สสอนต่างๆ โดยบริษัทมีมูลค่าจากการระดมทุน 2 พันล้านดอลลาร์เมื่อปี 2020
David Ko ซีอีโอของบริษัทอธิบายเหตุผลว่าต้องปลดคน เพราะจำเป็นต้องปรับองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การตัดสินใจไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งภารกิจของบริษัทเองคือผลักดันสุขภาพกาย-สุขภาพจิตของคนทำงานในองค์กร
Helium Network เป็นบริษัทด้านบล็อกเชน (หรือบ้างก็เรียก web3) ที่ทำระบบเครือข่ายเราเตอร์ LoRaWAN ผ่านมวลชนจำนวนมาก เพื่อให้บริการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT โดยนำแนวคิดบล็อกเชนและ token ($HNT) เข้ามาจัดสรรผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ลงทุนซื้อเราเตอร์มาให้บริการ
Helium เคยถูกยกย่องว่าเป็นกรณีศึกษาว่า web3 สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในโลกจริงได้จริงๆ นะ (บทความในสื่อใหญ่อย่าง The New York Times ที่พาดหัวว่า Maybe There’s a Use for Crypto After All) แนวคิดของมันคือการสร้างเครือข่าย LoRaWAN โดยผู้ใช้ "ลงทุน" ซื้ออุปกรณ์ hotspot ราคาประมาณ 500 ดอลลาร์มาติดตั้งไว้เฉยๆ เปิดให้ Helium เข้ามาจัดการจากระยะไกล ซึ่ง Helium จะนำไปปล่อยเช่ากับ "ลูกค้าอุตสาหกรรมที่ต้องใช้งาน" และนำรายได้กลับเข้ามา "จ่ายคืน" ผู้ลงทุน โดยกระบวนการคิดค่าตอบแทนใช้ระบบ token เป็นสื่อกลางตามสมัยนิยม
แต่ในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา Helium กลับถูกแฉว่า แทบไม่มีรายได้จากการเช่า LoRaWAN เข้ามาจริงๆ และลูกค้าที่ Helium แปะโลโก้ไว้บนหน้าเว็บ ซึ่งมีแบรนด์ดังๆ อย่าง Lime และ Salesforce ก็ออกมาปฏิเสธว่าไม่เคยมีความสัมพันธ์กับ Helium แต่อย่างใด
Zilingo สตาร์ทอัพแพลตฟอร์มแฟชั่น B2B จากสิงคโปร์ เสียผู้บริหารระดับสูงไปอีกหนึ่งคน โดยซีโอโอ Aadi Vaidya ได้ยืนยันการลาออกจากตำแหน่ง เขาร่วมงานกับ Zilingo ตั้งแต่ปี 2015 และรับตำแหน่งซีโอโอใน 2 ปีต่อมา
Vaidya ให้เหตุผลของการลาออกจากตำแหน่ง โดยเขามองว่าถึงเวลาที่เขาจะไปต่อข้างหน้า พักสมอง และจัดลำดับเรื่องสำคัญของชีวิตใหม่
Sunny Balwani อดีตซีอีโอ Theranos และยังเป็นแฟนกับ Elizabeth Holmes ผู้ก่อตั้งบริษัท ถูกตัดสินว่ามีความผิดฉ้อโกงและร่วมกันฉ้อโกงรวม 12 ข้อหา นับว่าเป็นการปิดฉากหนึ่งของมหากาพย์สตาร์ตอัพครั้งนี้
ทั้ง Holmes และ Balwani ต้องรอผู้พิพากษาทกำหนดโทษอีกครั้ง โดย Holmes ถูกตัดสินว่ามีความผิดตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมาและก็ยังรอกำหนดโทษอยู่
บริษัท Deno ของผู้สร้าง Node.js ที่หันมาทำเฟรมเวิร์คจาวาสคริปต์ที่เขียนด้วย Rust ตั้งแต่ปี 2020 ประกาศข่าวระดมทุน Series A มูลค่า 21 ล้านดอลลาร์จากนักลงทุนหลายราย นำโดย Sequoia Capital และมี Nat Friedman ผู้ร่วมก่อตั้ง Xamain และอดีตซีอีโอ GitHub มาร่วมลงทุนด้วย
ตัวเฟรมเวิร์ค Deno จะยังเป็นโอเพนซอร์สต่อไปเช่นเดิม แต่โมเดลธุรกิจของบริษัท Deno คือ Deno Deploy ระบบคลาวด์ที่ใช้รัน JavaScript, TypeScript, WebAssembly ประสิทธิภาพสูง กินทรัพยากรน้อย ราคาถูกกว่าการใช้สถาปัตยกรรมคอนเทนเนอร์ที่นิยมกันในปัจจุบัน
Zilingo สตาร์ทอัพแพลตฟอร์มแฟชั่น B2B จากสิงคโปร์ ประกาศปลด Ankiti Bose ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งออกจากตำแหน่ง หลังก่อนหน้านี้ให้พักงานชั่วคราว เนื่องจากพบความผิดปกติทางบัญชี
ด้านอดีตซีอีโอ Bose ชี้แจงต่อประเด็นดังกล่าวว่า ตนถูกพักงานเป็นเวลา 51 วัน จากข้อกล่าวหาที่เลื่อนลอย แล้วมาวันนี้ก็ถูกไล่ออก ผ่านการสอบสวนทั้งหมดทำขึ้น โดยตนเองไม่ถูกร้องขอเอกสารหรือมีโอกาสให้ข้อมูลใด ๆ
การสอบสวนความผิดปกติทางบัญชีของ Zilingo เกิดขึ้นในช่วงการเตรียมเพิ่มทุนรอบใหม่ ที่จะทำให้บริษัทมีมูลค่ากิจการราว 1,200 ล้านดอลลาร์ และขึ้นเป็นยูนิคอร์น ซึ่งผู้ลงทุนระบุว่าพบความผิดปกติทางบัญชี จนนำมาสู่การตัดสินใจไล่ซีอีโอออกนั่นเอง
SoftBank กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ที่ลงทุนสตาร์ตอัพจำนวนมากผ่านกองทุน Vision Fund เริ่มเข้มงวดกับการลงทุน และถอยออกจากสตาร์ตอัพที่ไม่สร้างผลกำไร ทำให้มีสตาร์ตอัพกลุ่มหนึ่งเริ่มประสบปัญหาทางการเงิน หนึ่งในนั้นคือ Light บริษัทสตาร์ตอัพด้านกล้องอัจฉริยะ ที่อาจถึงขั้นต้องยุติกิจการ
Bloomberg รายงานข่าวว่าบอร์ดบริหารของ Zilingo เว็บไซต์แฟชั่นแบบ B2B จากสิงคโปร์ ซึ่งมีธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทยด้วย สั่งพักงาน Ankiti Bose ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท หลังพบความผิดปกติในบัญชีและการเงินของบริษัท
ตามข่าวบอกว่า Zilingo กำลังอยู่ในกระบวนการระดมทุนรอบใหม่อีกราว 150-200 ล้านดอลลาร์ และระหว่างการตรวจสอบบัญชี (due diligence) ผู้ตรวจสอบก็พบความผิดปกติในงบการเงินของบริษัท ทำให้บอร์ดตัดสินใจพักงาน Bose ไปก่อนชั่วคราว
Zilingo ก่อตั้งในปี 2015 โดยมีบริษัทลงทุนชื่อดังคือ Sequoia Capital India และ Temasek เข้ามาถือหุ้น ตอนนี้ยังไม่มีฝ่ายใดออกมาให้ความเห็นต่อข่าวนี้
ConsenSys สตาร์ทอัพที่เน้นพัฒนาบริการบนบล็อกเชน Ethereum ประกาศรับเงินทุนซีรี่ส์ D รวม 450 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการสูงกว่า 7 พันล้านดอลลาร์แล้ว โดยผู้ลงทุนหลักในรอบนี้คือ ParaFi Capital ซึ่งเคยลงทุนในซีรี่ส์ C มาแล้ว ส่วนผู้ลงทุนรายอื่นที่คุ้นชื่อ เช่น Temasek, SoftBank Vision Fund 2, Microsoft, Anthos Capital เป็นต้น
บริการของ ConsenSys มีหลายอย่าง แต่ที่สายคริปโตน่าจะคุ้นกันดีคือกระเป๋าเงิน MetaMask ส่วนผลิตภัณฑ์อื่นได้แก่ Infura เครื่องมือสำหรับนักพัฒนา, Quorum แพลตฟอร์มบล็อกเชนโอเพนซอร์ส และ Codefi
ปี 2015 ไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ Wunderlist แอพจดรายการ To-Do จากนั้นเปลี่ยนมาทำแอพใหม่ชื่อ Microsoft To Do และเลิกทำ Wunderlist ในปี 2020
อย่างไรก็ตาม Christian Reber ผู้สร้าง Wunderlist ชาวเยอรมนี กลับไม่มีความสุขกับการขายกิจการครั้งนั้น (ไม่เปิดเผยมูลค่า แต่คาดว่า 100-200 ล้านดอลลาร์) เขาเล่าว่าเหตุผลสำคัญที่ขายในตอนนั้นเป็นเพราะภรรยา (ที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Wunderlist ด้วย) กำลังตั้งครรภ์ เขาจึงอยากหาหลักประกันที่มั่นคงให้ครอบครัว ชีวิตของผู้ก่อตั้งสตาร์ตอัพย่อมประสบปัญหาเรื่องการเงิน เต็มไปด้วยความเครียดและเบิร์นเอาท์ การขายกิจการน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
ORZON Ventures กองทุนสตาร์ทอัพของ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ที่ร่วมกับกองทุน 500 TukTuks ประกาศลงทุนระดับซีรีส์ A-B ในสตาร์ตอัพชุดแรก 5 บริษัท (โดยไม่เปิดเผยมูลค่า) ได้แก่
Wag สตาร์ทอัพบริการค้นหาคนพาสุนัขเดินเล่น ซึ่งมีชื่อเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า Uber for dog-walking ได้ประกาศว่าบริษัทบรรลุข้อตกลง เพื่อนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นแนสแดคด้วยวิธี SPAC ผ่านการควบรวมกิจการกับ CHW Acquisition มูลค่าของดีลเฉพาะการควบรวมนี้อยู่ที่ 350 ล้านดอลลาร์
ประเด็นน่าสนใจของดีลนี้คือ Wag เป็นสตาร์ทอัพที่ SoftBank เคยร่วมลงทุนถึง 300 ล้านดอลลาร์ เมื่อปี 2018 แต่บริษัทดำเนินงานไม่ได้ตามแผน ทำให้ SoftBank ประกาศขายหุ้นทั้งหมดแบบขาดทุนในปลายปี 2019 ซึ่งช่วงนั้น SoftBank ทยอยขายหุ้นสตาร์ทอัพที่ไม่เป็นไปตามเป้า และ Wag ก็เป็นหนึ่งในนั้น
Hurun Report รายงานการจัดอันดับสตาร์ทอัพยูนิคอร์น (มูลค่ากิจการมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์) โดย ByteDance ขึ้นมาเป็นยูนิคอร์นที่มีมูลค่ากิจการสูงที่สุดในโลก แทนที่ Ant Group ซึ่งตกลงไปอยู่อันดับที่ 2
มูลค่ากิจการ ByteDance ซึ่งเป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม TikTok อยู่ที่ 3.5 แสนล้านดอลลาร์ ส่วน Ant Group ฟินเทคในเครือ Alibaba มีมูลค่ากิจการ 1.5 แสนล้านดอลลาร์ อันดับ 3-5 ได้แก่ SpaceX (1 แสนล้านดอลลาร์), Stripe (9.5 หมื่นล้านดอลลาร์) และ Klarna (4.6 หมื่นล้านดอลลาร์) ตามลำดับ
TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่มีการเติบโตสูงต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา จำนวนผู้ใช้งาน active ต่อเดือนมีมากกว่า 1 พันล้านบัญชีแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นรองเพียง Facebook เท่านั้น
Hulu ประกาศวันฉายมินิซีรีส์เรื่อง "The Dropout" เล่าเรื่องของ Elizabeth Holmes ผู้ก่อตั้งบริษัท Theranos สตาร์ตอัพด้านสุขภาพที่เติบโตอย่างรวดเร็ว แต่สุดท้ายก็ถูกจับโกหกได้และเป็นคดีในชั้นศาลอยู่ตอนนี้
ซีรีส์เรื่องนี้ได้ Amanda Seyfield มารับบทเป็น Elizabeth Holmes มีกำหนดฉายวันที่ 3 มีนาคม 2022 (สำหรับบ้านเราก็ต้องลุ้นกันว่าจะได้ดูใน Disney+ Hotstar หรือไม่)
เรื่องราวของ Theranos ถูกดัดแปลงเป็นซีรีส์บ้างแล้ว โดย HBO เคยทำสารคดีชื่อ The Inventor เมื่อปี 2018 และหนังสือที่เล่าประวัติ Theranos ชื่อว่า Bad Blood อยู่ระหว่างการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ แสดงโดย Jennifer Lawrence และจะฉายทาง Apple TV+ โดยยังไม่ระบุช่วงเวลา
บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล (Beacon VC) บริษัทเงินร่วมทุนของธนาคารกสิกรไทย เข้าลงทุนในบริษัท คริปโตมายด์ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (Cryptomind Group) ซึ่งเป็นบริษัทเจ้าของสื่อด้านคริปโตหลายราย เช่น Bitcoin Addict Thailand, Kim DeFi Daddy, Blockchain Review, Coinman, Sanjay Popli และ Cryptomind Academy รวมถึงเป็นผู้จัดงานสัมมนา Blockchain Thailand Genesis และธุรกิจด้านจัดการเงินทุน-ให้คำปรึกษาในสินทรัพย์ดิจิทัลด้วย
Cryptomind ถือเป็นการลงทุนโดยตรงรายที่ 15 ของ Beacon VC (ไม่นับการลงทุนในกองทุนอื่น) และเป็นการลงทุนด้านสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นบริษัทแรกด้วย
บริษัท Vercel ผู้สร้างเฟรมเวิร์คจาวาสคริปต์ชื่อดัง Next.js ประกาศระดมทุนซีรีส์ D จำนวน 150 ล้านดอลลาร์ ทำให้บริษัทมีมูลค่า 2.5 พันล้านดอลลาร์
ธุรกิจของ Vercel คือเป็นแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาเว็บ front-end ที่รองรับเฟรมเวิร์คหลากหลาย (ไม่ใช่แค่ Next.js แต่รวมถึงตัวอื่นๆ เช่น Vue.js, Ember, Angular) โดยระบบของ Vercel จะรองรับการโฮสต์ไฟล์แบบ serverless นักพัฒนาไม่ต้องดูแลระบบเอง (วัดตามจำนวนครั้งที่เรียกใช้งาน) จัดการเรื่องความปลอดภัยและ CDN ที่กระจายอยู่ทั่วโลก (edge network) เพื่อให้เว็บไซต์ตอบสนองรวดเร็วต่อผู้ใช้ในแต่ละพื้นที่ นักพัฒนาสนใจแค่การพัฒนาเว็บอย่างเดียว ไม่ต้องมีภาระเรื่องการจัดการโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ
Grammarly สตาร์ทอัพผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ตัวช่วยแนะนำการเขียนภาษาอังกฤษให้ถูกต้องและดีขึ้น ประกาศรับเงินเพิ่มทุนรอบใหม่ 200 ล้านดอลลาร์ โดยมีผู้ลงทุนรายสำคัญคือ Baillie Gifford และกองทุนที่บริหารจัดการโดย BlackRock
ผลจากการเพิ่มทุนครั้งนี้ ทำให้มูลค่ากิจการของ Grammarly เพิ่มขึ้นเป็น 13,000 ล้านดอลลาร์
บริการของ Grammarly รองรับการทำงานผ่านเว็บแอปและบนโปรแกรมอื่น ๆ โดยมีทั้งเวอร์ชันฟรี ที่ตรวจคำสะกด ไวยากรณ์ และคำที่ไม่เหมาะสม ส่วนเวอร์ชันเสียเงินจะเพิ่มคำแนะนำการแก้ไขที่ละเอียดขึ้น รวมถึงตรวจเนื้อหาซ้ำ (Plagiarism) ปัจจุบัน Grammarly มีผู้ใช้งานทั่วโลกมากกว่า 30 ล้านคนต่อวัน
บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าบริษัทได้เข้าลงทุนซื้อหุ้น 60% ใน Skootar สตาร์ทอัพให้บริการแพลตฟอร์ม สำหรับรับ-ส่งเอกสาร พัสดุ รวมไปถึงบริหารส่งอาหาร โดยดีลนี้ทำผ่านบริษัทลูก วี เวนเจอร์ส เทคโนโลจีส์ คิดเป็นมูลค่าในการซื้อหุ้น 100 ล้านบาท
TTA บอกว่าการลงทุนใน Skootar นี้ จะช่วยเสริมศักยภาพบริษัทในส่วนช่องทางการขนส่งสินค้าผ่านออนไลน์ รวมทั้งเสริมธุรกิจในเครือให้ครบวงจรมากขึ้น
Notion Labs บริษัทผู้พัฒนาแอพจดโน้ต Notion ระดมทุนเพิ่มอีก 275 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่าบริษัทตอนนี้แตะ 1 หมื่นล้านดอลลาร์แล้ว (เพิ่มขึ้นจาก 2 พันล้านดอลลาร์ในการระดมทุนรอบเดือนเมษายนปีนี้)
Notion เป็นแอพจดโน้ต ที่มีฟีเจอร์จัดการเอกสารขั้นสูง เช่น การใช้ตารางแบบสเปรดชีต ปฏิทิน การลิงก์ข้ามโน้ต จนหลายคนนำไปใช้เป็นโปรแกรมจัดการงานภายในทีม (ใช้แทนได้ทั้ง Wiki, Asana/Trello หรือแม้แต่ Office/Google Docs) โปรแกรมยังมีเทมเพลตเป็นจำนวนมากรองรับการจดโน้ตทุกรูปแบบ
Notion ได้ประโยชน์อย่างมากจากช่วง work from home ในปี 2020 ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มถึง 4 เท่าตัว (ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 20 ล้านคน) และได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ Gen Z ที่ชอบอินเทอร์เฟซแบบ minimalist จนกลายเป็นไวรัลใน TikTok
TechCrunch รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Jeff Bezos อดีตซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Amazon ได้ตกลงที่จะร่วมลงทุนใน Ula สตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย ในการระดมทุนรอบใหม่ที่จะมีเงินลงทุนเพิ่มจากนักลงทุนทั้งหมดราว 80 ล้านดอลลาร์
Ula เป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งเมื่อปีที่แล้ว ได้เงินทุนไปแล้วรวม 30 ล้านดอลลาร์ มีกองทุนดังร่วมลงทุนอาทิ B Capital Group, Sequoia Capital India, Lightspeed Venture Partners และ Quona Capital โดยเป็นอีคอมเมิร์ซเน้นการขายส่งสินค้าสำหรับผู้ประกอบรายย่อย (B2B) เพื่อช่วยบริการจัดการซัพพลายเชน สินค้าคงคลัง และเงินทุนหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น