Lenovo ประกาศจัดงานแถลงข่าวชื่อ “Lenovo Legion x AMD: The Future of Gaming Handhelds” ในวันที่ 7 มกราคม 2025 ที่ลาสเวกัส คาดว่าจะเปิดตัว Lenovo Legion Go S ที่มีภาพหลุดก่อนหน้านี้
สิ่งที่น่าสนใจคืองานนี้มี Pierre-Loup Griffais ผู้ร่วมออกแบบ Steam Deck ของ Valve มาขึ้นเวทีด้วย ทำให้เกิดการคาดเดากันว่า Legion Go S หรือฮาร์ดแวร์ใหม่ตัวอื่น อาจใช้ระบบปฏิบัติการ SteamOS ตามที่ Valve มีข่าวว่าจะเปิดให้บริษัทอื่นเข้ามาใช้ด้วย
เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว Valve ประกาศทำ Steam Machine พีซีที่เป็นเกมคอนโซล ผ่านเครื่องของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์แบรนด์ต่างๆ แต่สุดท้ายแผนการล้มเหลวไม่เป็นท่า แม้ประสบการณ์นี้จะช่วยให้ Valve ประสบความสำเร็จกับเครื่องเกมพกพา Steam Deck ในอีกหลายปีต่อมา
ทีมพัฒนา Arch Linux ประกาศว่าได้สปอนเซอร์จาก Valve สนับสนุนให้พัฒนาโครงการย่อย 2 โครงการ ได้แก่ build service infrastructure และ secure signing enclave โดย Valve จะสนับสนุนการเงินให้กับนักพัฒนาเหล่านี้ในฐานะฟรีแลนซ์
Arc Linux บอกว่าการสนับสนุนของ Valve มีคุณค่ามาก เพราะเหล่าอาสาสมัครสามารถลงมือพัฒนาโครงการเหล่านี้ได้ทันที แทนการใช้แค่ช่วงเวลาว่างเท่านั้น โครงการเหล่านี้ยังจะช่วยแก้ปัญหาระยะยาวหลายๆ อย่างของ Arch Linux ได้ด้วย
Valve ใช้ Arch Linux เป็นแกนกลางสำหรับพัฒนา SteamOS เวอร์ชัน 3.x ที่ใช้กับเครื่องเกมพกพา Steam Deck โดย SteamOS เวอร์ชันก่อนหน้านั้น (ยุคที่ใช้กับ Steam Machine) พัฒนาบน Debian
มีคนไปเจอข้อมูลในเอกสารฟีเจอร์ใหม่ของ SteamOS 3.6.9 Beta ว่า "Added support for extra ROG Ally keys" เลยเกิดคำถามตามมาว่ามันหมายถึงอะไรกันแน่ เพราะเครื่องเล่นเกมพกพา ASUS ROG Ally ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับ SteamOS ของ Valve
เว็บไซต์ The Verge สอบถามไปยัง Valve โดยตรง โดย Lawrence Yang ทีมดีไซน์ของ Valve ยืนยันชัดเจนว่าบริษัทต้องการขยาย SteamOS ให้ใช้งานกับฮาร์ดแวร์ของบริษัทอื่นๆ ได้ด้วย แปลว่า SteamOS จะใช้งานได้กับ ROG Ally (อย่างไม่เป็นทางการ) ได้นั่นเอง ลงเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพา ASUS
AYANEO ผู้ผลิตเครื่องเล่นเกมพีซีพกพาจากฮ่องกง เปิดตัวเครื่องเล่นเกมรุ่นใหม่ AYANEO Next Lite เป็นเวอร์ชันย่อยของเครื่อง AYANEO Next ที่เคยเปิดตัวมาก่อนหน้านี้ แต่เปลี่ยนระบบปฏิบัติการจาก Windows 11 มาเป็น... SteamOS เพื่อให้ราคาถูกลง
อีกหนึ่งประเด็นน่าสนใจของ Steam Deck คือ SteamOS 3.0 ระบบปฏิบัติการ ที่มี Arch Linux + KDE เป็นเบื้องหลัง แต่เกมส่วนใหญ่บน Steam นั้นรองรับเฉพาะ Windows
Steam มีระบบ Steam Play ช่วยให้ผู้เล่นสามารถเล่นเกม Windows บน Linux ได้ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า Proton ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับที่ Valve ใช้เพื่อรันเกม Windows บน Steam Deck
ข่าวเด่นที่สุดในรอบวันที่ผ่านมาคงไม่มีใครเกิน Steam Deck เครื่องเล่นเกมพกพาจาก Valve โดยเป็นซีพียู x86 ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ SteamOS (ข้างในเป็นลินุกซ์) และมีซอฟต์แวร์ Proton ช่วยให้เล่นเกมจากฝั่งวินโดวส์ได้
Valve ทำ SteamOS มานานแล้ว โดยใช้กับฮาร์ดแวร์ Steam Machine ที่เปิดตัวปี 2015 และเลิกไปในปี 2018 แต่ตัว SteamOS ยังถูกพัฒนาต่อ
ต่อจากข่าว Steam เอาหน้า Steam Machine ออกจากหน้าแรกแล้ว ทาง Valve ออกมาชี้แจงในปรเด็นนี้แล้ว
Valve ยอมรับว่า Steam Machine ไม่ได้รับความนิยม และนำข้อมูลออกจากหน้าแรกของ Steam Store เพราะทราฟฟิกคนเข้าน้อย แต่หน้าเว็บก็ยังสามารถเข้าถึงได้อยู่
อย่างไรก็ตาม Valve ยืนยันว่ายังให้ความสำคัญกับลินุกซ์และ SteamOS ต่อไป ตามภารกิจขององค์กรที่ต้องการสร้างแพลตฟอร์มเปิดสำหรับการเล่นเกมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (SteamOS เปิดให้ดาวน์โหลดทั่วไป) และจะนำบทเรียนจากการพัฒนาเกมบนลินุกซ์ไปใช้กับโครงการอื่นๆ อย่าง Vulkan ให้ทำงานบนลินุกซ์ได้ดีเทียบเท่าแพลตฟอร์มอื่นๆ
หลังจากได้ฤกษ์วางขาย Steam Machine เครื่องเกมพลัง SteamOS ที่เปิดตัวมาได้เป็นเวลากว่า 3 ปี ทาง Ars Technica ก็จับเอาระบบปฏิบัติการตัวล่าสุดอย่าง SteamOS 2.0 มาทดสอบร่วมกับ Windows 10 ว่าจนถึงตอนนี้ระบบปฏิบัติการที่ปรับแต่งจาก Linux อย่าง SteamOS นั้นทำผลงานได้ระดับไหนแล้ว
ชุดทดสอบของ Ars Technica ใช้ซีพียู Pentium G3220 รหัส Haswell, การ์ดจอ GeForce GTX660, แรม 8GB และฮาร์ดดิสก์ 500GB ดูคร่าวๆ แล้วจัดว่าเป็นรุ่นกลางๆ ของเมื่อสองปีก่อน โดยปรับแต่งให้สามารถดูอัลบูทได้ทั้ง Windows 10 และ SteamOS (แต่อยู่คนละฮาร์ดดิสก์กัน)
เปิดข้อมูลตัวเต็มพร้อมราคา และวันวางขายแล้วในงาน Gamescom สำหรับ Steamboy เครื่องเกมพกพาพลัง SteamOS ที่ได้ชื่อใหม่ Smach Zero ที่จะวางขายพร้อมกับ Steam Machine รุ่นอื่นๆ ในวันที่ 10 พฤศจิกายนนี้
Smach Zero มาพร้อมกับทัชแพดเหมือนกับจอย Steam Controller สองข้าง รวมถึงการวางปุ่มที่ทำมาให้คล้ายคลึงกัน โดยสเปคเต็มๆ มีดังนี้
Valve มีผลิตภัณฑ์ใหม่เปิดตัวที่งาน Game Developer Conference 2015 หลายอย่าง เริ่มจาก Steam Link กล่องช่วยแปลงสัญญาณภาพเกมจากพีซีไปยังจอทีวี
วิธีการคือเราจะต้องต่อกล่อง Steam Link กับทีวีผ่าน HDMI, ล็อกอินเข้าระบบเครือข่าย ตัวอุปกรณ์จะค้นหาพีซีที่มี Steam ให้อัตโนมัติ (รองรับ Steam Machine และพีซี 3 แพลตฟอร์มหลัก) และดึงภาพ-เสียงของเกมที่เล่นผ่าน Steam มาขึ้นจอทีวีให้อัตโนมัติ
Valve บอกว่า Steam Link สามารถแสดงภาพที่ความละเอียด 1080p 60Hz แบบ low latency ตัวอุปกรณ์ชิ้นนี้จะวางขายเดือนพฤศจิกายนนี้ ราคา 49.99 ดอลลาร์
ก่อนหน้านี้ Steam Machine มาในทรงของพีซีเสมอ แต่สำหรับคนที่อยากพกเกม Steam ไปเล่นนอกบ้านด้วยก็มีหวังขึ้นมาแล้ว หลังจากมีโปรเจค Steamboy เครื่องเกมพลัง SteamOS แบบพกพา ไปโผล่ในงาน E3 เสียด้วย
Steamboy เป็นเครื่องเกมพกพาสไตล์เดียวกับ PSP, PS Vita หน้าตาตัวเครื่องเหมือนจับ Steam Controller มาใส่หน้าจอ สเปคพื้นฐานที่ออกมาคือหน้าจอขนาด 5" รันด้วยซีพียูควอดคอร์ไม่ระบุรุ่น (น่าจะเป็น Atom หรือ AMD รุ่นกินไฟต่ำ) หน่วยความจำ 32GB แรม 4GB และอาจมีรุ่น 3G มาด้วย
ผู้พัฒนาระบุว่า Steamboy คงไม่ทรงพลังเท่ากับ Steam Machine รุ่นอื่นๆ แต่ก็ให้สัญญาว่าเจ้าเครื่องเกมพกพานี้ จะรองรับเกมใน Steam เป็นจำนวนมาก โดยจะเริ่มขายในปี 2015 ครับ
Steam Machine เงียบหายจากหน้าข่าวไปนาน วันนี้กลับมาแล้วในงาน E3 ทางฝั่ง Alienware ที่เพิ่งเปิดตัว Alienware Alpha เครื่องเกม Steam Machine รุ่นเริ่มต้นที่จะวางขายภายในปีนี้
Alienware Alpha รุ่นพื้นฐานจะราคาเริ่มต้นที่ 550 เหรียญ จะมาพร้อมกับส่วนติดต่อผู้ใช้ในแบบของ Alienware และได้สเปคเท่านี้ครับ
ตามแผนที่วางเอาไว้ตั้งแต่เปิดตัว Unreal Engine 4 ว่าจะขยายการรองรับไปยังแพลตฟอร์มอื่นๆ ด้วย และในเวอร์ชัน 4.1 นี้ Epic ก็ทำให้ Unreal Engine รองรับการใช้งานบน Linux และ SteamOS ได้แล้ว
นักพัฒนาที่สนใจจะใช้งาน Unreal Engine 4.1 สามารถเข้าถึงซอร์สโค้ดได้ที่ GitHub ซึ่ง ณ ตอนนี้ยังเป็นรุ่นพรีวิวอยู่ ตัวเต็มจะตามมาในช่วงปลายเดือนนี้ครับ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ สามารถดูได้จากที่มาครับ
ที่มา - Unreal Engine Blog
SteamOS ยังคงเพิ่มความสามารถใหม่เข้ามาเรื่อยๆ ในรุ่นเบต้าล่าสุดเพิ่ม Steam Music Beta บริการฟังเพลงในตัวเข้ามาแล้ว (ใช้ได้กับโหมด Big Picture ด้วย)
ฟีเจอร์ของ Steam Music ตอนนี้ยังไม่มีอะไรมากนัก หลักๆ คือสามารถใช้งานร่วมกับจอยได้ ถ้าไม่มีจอยก็สามารถใช้กับเมาส์ และคีย์บอร์ดได้เช่นกัน การเล่นเพลงจะยังจำกัดอยู่แต่เพลงในเครื่องเท่านั้น แต่สามารถเปิดเพลงระหว่างเล่นเกมได้ด้วย โดยจะมีหน้าต่างแยกสำหรับควบคุมเพลงอีกที
หน้าตาของ Steam Music ดูได้ท้ายข่าวครับ
ที่มา - Valve
หน้าแรก
จนถึงตอนนี้ Valve ก็ยังคงเร่งพัฒนา SteamOS อย่างต่อเนื่อง ในรุ่นเบต้าล่าสุดมีฟีเจอร์ใหม่เพิ่มเข้ามาอีกหลายอย่าง รวมถึงการดูอัลบูทกับวินโดวส์ด้วย
เมื่อย้อนกลับไปใน SteamOS รุ่น 1.0 ตอนนั้นยังต้องการ UEFI ซึ่งเพิ่งถูกใช้กับพีซีในรุ่นใหม่ๆ สองสามปีที่ผ่านมา และการมีอยู่ของ UEFI ทำให้การตั้งค่าเพื่อดูอัลบูททำได้ยาก แต่ใน SteamOS รุ่นเบต้าล่าสุด Valve ได้แก้ปัญหาเรื่องนี้ไปเรียบร้อยแล้ว และยังใช้งานกับพีซีที่ไม่รองรับ UEFI รวมถึงปล่อย ISO ให้สามารถไปติดตั้งกันเองผ่านไดร์ฟดีวีดีได้แล้ว
ในงาน Steam Dev Days นอกจากจะประกาศปรับหน้าตา Steam Controller ใหม่แล้ว ยังมีประเด็นเกี่ยวกับอนาคตของ Steam ที่ถูกพูดถึงกันด้วย โดย Gabe Newell ผู้ร่วมก่อตั้ง และหัวหน้าฝ่ายจัดการของ Valve ได้ออกมาเผยเป้าหมายต่อไปคือการนำ Greenlight ออกไป
จุดอ่อนของ SteamOS 1.0 คือมันยังรองรับเฉพาะจีพียูของค่าย NVIDIA เพียงค่ายเดียวเท่านั้น แต่อัพเดตล่าสุดของ SteamOS รุ่นเบต้า (รหัส alchemist) ก็เริ่มรองรับไดรเวอร์จีพียูของอีกสองค่ายที่เหลือคือ Intel และ AMD/Radeon แล้ว
ไดรเวอร์จีพียูของ Intel นั้นเป็น Mesa 10.0.1 ส่วนของ AMD เป็น Catalyst 13.11 Beta 9
อย่างไรก็ตาม SteamOS ยังไม่รองรับฮาร์ดแวร์ที่เป็นการ์ดจอคู่ในระบบ Optimus (NVIDIA/Intel) ณ ตอนนี้
ค่าย Valve มีสายสัมพันธ์อันดีกับโครงการ Ubuntu มาโดยตลอด โดย Steam เวอร์ชันลินุกซ์ก็รองรับเฉพาะบน Ubuntu เท่านั้น แต่เมื่อ Valve เปิดตัว SteamOS ก็มีพลิกโผเล็กๆ เมื่อบริษัทเลือกพัฒนาบน Debian แทน Ubuntu
Gabe Newell ผู้ก่อตั้ง Valve อธิบายเรื่องนี้กับสื่อเยอรมัน Heise.de ว่าตอนแรก Valve ก็ตั้งใจใช้ Ubuntu นั่นแหละ แต่ด้วยความไม่แน่นอนทางกฎหมาย (legal uncertainties) ของซอฟต์แวร์บางตัวที่มากับ Ubuntu ทำให้บริษัทต้องเปลี่ยนมาใช้ Debian ในภายหลัง ซึ่งก็ส่งผลเสียให้ Valve ต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ใน Ubuntu แต่ไม่มีอยู่บน Debian ขึ้นมาเอง
ทั้งนี้ Gabe ไม่ได้ระบุชัดว่าปัญหาทางกฎหมายของ Ubuntu คืออะไรกันแน่ครับ
Valve ประกาศรายชื่อบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดแวร์พีซี Steam Machine ชุดแรกทั้งหมด 13 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตพีซีสายเกมเมอร์อยู่แล้ว (เช่น Alienware, Gigabyte, Zotac)
หน้าตาและสเปกของ Steam Machine ชุดแรกนั้นหลากหลายมาก โดยมีราคาตั้งแต่ 499 ดอลลาร์ (Core i5, Ram 8GB, Radeon R9 270) ไปจนถึง 6,000 ดอลลาร์ สินค้าจริงจะเริ่มวางขายภายในปี 2014
ถึงแม้ฮาร์ดแวร์ทุกตัวจะมีสเปกแตกต่างกัน แต่ที่มีเหมือนกันคือใช้ SteamOS และควบคุมด้วย Steam Controller ครับ
ที่มา - Steam
รายชื่อผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ชุดแรก
Valve ทำตามที่สัญญาไว้ เปิดให้ดาวน์โหลด SteamOS ระบบปฏิบัติการสำหรับการเล่นเกม รุ่นแรก 1.0 แล้ว
SteamOS 1.0 มีโค้ดเนมว่า "alchemist" พัฒนาบน Debian 7.1 Wheezy โดยปรับแต่งแพ็กเกจไปจำนวนหนึ่ง และอัพเดตอัตโนมัติผ่าน repository ของ Valve เอง, ตัวระบบปฏิบัติการเป็นโอเพนซอร์ส แต่ส่วนของ Steam client และไดรเวอร์บางส่วนเป็นซอฟต์แวร์แบบไม่เปิดเผยซอร์สโค้ด
สเปกฮาร์ดแวร์ที่ SteamOS ต้องการคือซีพียู x86 64 บิท, แรม 4GB, ฮาร์ดดิสก์ 500GB, UEFI และปัจจุบันยังใช้ได้กับจีพียูค่าย NVIDIA เท่านั้น (บริษัทบอกว่าจะรองรับจีพียู Intel/AMD ในภายหลัง)
ค่าย Valve ออกมาประกาศว่าจะส่งฮาร์ดแวร์ Steam Machine และ Steam Controller ให้กลุ่มผู้ทดสอบจำนวน 300 ราย โดยจะแจ้งเตือนผู้ที่ผ่านการคัดเลือกวันนี้ และเริ่มส่งของในวันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม (พรุ่งนี้ตามเวลาสหรัฐ)
Valve บอกว่าตอนแรกอยากแจกชุดทดสอบให้เกมเมอร์ในหลายๆ ประเทศ แต่ด้วยเงื่อนไขด้านกฎหมายต่างๆ ทำให้ต้องเปลี่ยนนโยบายเป็นการแจกเฉพาะเกมเมอร์ในสหรัฐเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์รุ่นที่วางขายจริงในปี 2014 จะไม่มีปัญหานี้ และ Valve จะประกาศรายละเอียดเรื่อง Steam Machine เพิ่มเติมในงาน CES 2014 วันที่ 6 มกราคม
นอกจากตัวฮาร์ดแวร์แล้ว Valve ยังจะเปิดให้ดาวน์โหลดระบบปฏิบัติการ SteamOS ไปลองติดตั้งเองด้วย ซึ่งจะประกาศรายละเอียดเพิ่มเติมในเร็วๆ นี้เช่นกัน
หลังจากที่ทาง Steam ได้เปิดตัว Steam Machine ตัวต้นแบบของตัวเองไปแล้วซึ่งเคยได้บอกด้วยว่าเครื่องคอนโซลตัวนี้จะมีค่าย third-party ผลิตและจำหน่ายด้วย และเมื่อวันที่ 25 ที่ผ่านมา iBuyPower ก็ได้เปิดตัวเครื่องต้นแบบของตัวเองออกมาแล้ว
โดยมีสเปคคร่าวๆคือดังนี้
แนวทางการสร้างจุดขายของเจ้าของแพลตฟอร์มเกมสมัยนี้คงหนีไม่พ้นการทำเกมเอ็กซ์คลูซีฟกับเครื่องเล่นของตัวเอง ซึ่งคนเล่นเครื่องเกมคอนโซลคงจะคุ้นเคยกันดี แต่ดูเหมือนว่า Valve ที่เพิ่งเปิดแพลตฟอร์มเกมเต็มรูปแบบอย่าง SteamOS ไปเมื่อเร็วๆ นี้ บอกว่าจะไม่มีเกมเอ็กซ์คลูซีฟสำหรับ SteamOS หรือ Steam Machine ให้เห็นเป็นแน่
และเรื่องนี้ไม่ใช่ข่าวลือแต่อย่างใด เพราะออกมาจากปากของ Greg Coomer นักออกแบบของ Valve นั่นเอง และ Anna Sweet โฆษกของ Valve ก็ออกมาย้ำว่าการทำเกมเอ็กซ์คลูซีฟกับแพลตฟอร์มของตัวเองนั้นขัดต่อหลักการของบริษัท สำหรับประเด็นนี้ Sweet โยงไปถึงนักพัฒนาเกมภายนอกด้วย โดยทาง Valve คุยกับนักพัฒนาเกมเสมอให้เขาทำเกมลงบนแพลตฟอร์มให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
Bernard Rodrigue นักพัฒนาซอฟต์แวร์จาก Audiokinectic ได้ทวีตว่า Wwise ได้เข้ามารองรับ SteamOS แล้ว และนักพัฒนาที่ต้องการจะใช้เอนจินนี้บน Linux ให้ติดต่อทางบริษัทได้เลย
Wwise หรือ Wave Works Interactive Sound Engine เป็นโซลูชั่นด้านเสียงสำหรับเกมจากบริษัท Audiokinetic โดยตัวเอนจินรองรับทั้ง Windows, MacOS X, Android, iOS, Windows Phone 8 และคอนโซลชั้นนำทุกเจ้า จนถึงปัจจุบันถูกใช้ในเกมกว่า 300 เกม อาทิเช่น Assassin's Creed, Halo 4, Mass Effect, Saints Row: The Third, Total War: Rome II เป็นต้น