หลังจากที่ได้ออกข้อบังคับให้กับผู้ให้บริการมือถือภายในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปปรับค่าบริการโรมมิ่งลงเรื่อย ๆ วันนี้ ผู้ประกอบการเครือข่ายมือถือจะต้องปรับลดค่าบริการโรมมิ่งอีกครั้ง โดยค่าโทรออกจะถูกลง 17% มาอยู่ที่ 0.24 ยูโรต่อนาที ค่ารับสายจะถูกลงจากเดิม 12% มาอยู่ที่ 0.07 ยูโรต่อนาที ส่วนของค่าบริการดาต้า ราคาจะถูกลงกว่าเดิม 36% จากเดิม MB ละ 0.70 ยูโร มาอยู่ที่ 0.45 ยูโร
หากนับตั้งแต่ครั้งแรก ที่สหภาพยุโรปได้ออกมาควบคุมราคาค่าบริการโรมมิ่งกับผู้ให้บริการ ค่าบริการต่าง ๆ ลดลงแล้วถึง 80% และในปีหน้า ผู้ประกอบการในประเทศสมาชิกจะต้องลดราคาลงอีกรอบ ให้ค่าบริการดาต้าเหลือเพียงแค่ 0.20 ยูโรต่อ MB ค่าโทรออกเหลือ 0.19 ยูโรต่อนาที
บริการคงสิทธิเลขหมาย (mobile number portability) หรือที่เราเรียกกันภาษาพูดว่า "ย้ายค่ายเบอร์เดิม" จะลดค่าธรรมเนียมจากเดิม 99 บาทเหลือ 29 บาท มีผล 30 มิถุนายนนี้
การลดค่าธรรมเนียมครั้งนี้เป็นไปตามมติของ กทค. เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม โดยค่ายมือถือต้องลดราคาภายในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ ซึ่งก็ต้องจับตาดูกันต่อไปครับว่าจะมีการ "แหกมติ กทค." เหมือนกับที่แล้วๆ มาในประเด็นอื่นๆ หรือเปล่า
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
ข่าวดีผู้ใช้มือถือ ลดค่าย้ายค่ายเหลือ 29 บาท ตั้งแต่ 30 มิ.ย. นี้
หลังจากที่ทางรัฐบาลพม่าเปิดให้ประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมไปเมื่อเดือนเมษายน มีกลุ่มบริษัทผู้สนใจร่วมประมูลกว่า 90 กลุ่ม ผ่านการคัดเลือกจนเหลือ 11 กลุ่ม ในวันนี้ก็ได้ 2 ผู้ชนะเป็นที่เรียบร้อย ได้แก่ Telenor บริษัทโทรคมนาคมสัญชาตินอร์เวย์ และ Ooredoo จากกาตาร์ (ชื่อเดิม Qatar Telecom)
กระทรวงการสื่อสารของพม่าระบุว่า ทั้งสองกลุ่มจะได้รับใบอนุญาตภายในเดือนกันยายนนี้ และต้องเปิดให้บริการภายใน 9 เดือนหลังจากได้รับใบอนุญาต โดยภายใน 5 ปีต้องให้บริการเสียงครอบคลุมพื้นที่ 3 ใน 4 ของประเทศ และบริการข้อมูลครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่ง
หลังจากที่ทางรัฐบาลพม่าเปิดให้ประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมไปเมื่อเดือนเมษายน มีกลุ่มบริษัทผู้สนใจร่วมประมูลกว่า 90 กลุ่ม ผ่านการคัดเลือกจนเหลือ 11 กลุ่ม ในวันนี้ก็ได้ 2 ผู้ชนะเป็นที่เรียบร้อย ได้แก่ Telenor บริษัทโทรคมนาคมสัญชาตินอร์เวย์ และ Ooredoo จากกาตาร์ (ชื่อเดิม Qatar Telecom)
กระทรวงการสื่อสารของพม่าระบุว่า ทั้งสองกลุ่มจะได้รับใบอนุญาตภายในเดือนกันยายนนี้ และต้องเปิดให้บริการภายใน 9 เดือนหลังจากได้รับใบอนุญาต โดยภายใน 5 ปีต้องให้บริการเสียงครอบคลุมพื้นที่ 3 ใน 4 ของประเทศ และบริการข้อมูลครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่ง
โครงการ Ubuntu Phone เริ่มมีอนาคตสดใสมากขึ้น เมื่อบริษัท Canonical ประกาศตั้งกลุ่มที่ปรึกษาจากโอเปอเรเตอร์ 8 รายทั่วโลกในชื่อ Carrier Advisory Group เข้ามาร่วมกำหนดทิศทางพัฒนาโครงการ Ubuntu Phone
โอเปอเรเตอร์ที่เปิดเผยชื่อมี 7 รายได้แก่ Deutsche Telekom, Everything Everywhere, Korea Telecom, Telecom Italia, LG UPlus, Portugal Telecom, SK Telecom ส่วนอีกรายเป็นโอเปอเรเตอร์รายใหญ่ของสเปนที่ไม่เผยชื่อ (คาดว่าเป็น Telefonica ที่ประกาศหนุน Firefox OS อยู่ด้วย)
จากประเด็นเรื่องค่าบริการ 3G 2100MHz ที่ต้องลดลง 15% ตามคำสั่ง กสทช. ซึ่งทาง กสทช. เองก็ตั้งคณะทำงานตรวจสอบเรื่องนี้เป็นพิเศษ
ผลสอบออกมาแล้วสรุปได้ดังนี้ (กรณีของ dtac ยังไม่เปิดบริการนะครับ)
สำนักงาน กสทช. จะออกหนังสือแจ้งเตือนให้ผู้ประกอบการทั้งสองรายปฏิบัติตามต่อไป
กสทช. เชิญตัวแทนผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน ร่วมหารือเรื่องการคืนคลื่นย่านความถี่ 1,800 MHz เพื่อเตรียมแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่อผู้บริโภค
ในการพูดคุยที่มี กสทช. เป็นเจ้าภาพนี้ มีทั้งปลัดกระทรวง ICT, ผู้บริหารของ CAT, ผู้บริหารของ True, และผู้บริหารของ AIS เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นที่สัญญาสัมปทานคลื่นโทรศัพท์ในย่านความถี่ 1,800 MHz จะหมดอายุลงในวันที่ 15 กันยายนนี้ เพื่อเตรียมป้องกันปัญหาซิมดับมิให้เกิดกับผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ โดย กสทช. กำลังร่างมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคหลังการคืนคลื่น ควบคู่กันไปด้วย
กสทช. วัดคุณภาพการให้บริการ 3G ในประเทศไทยทั้งระบบเดิมและระบบใหม่ หลังเปิดให้บริการ 3G ใหม่บนคลื่น 2100MHz
กระบวนการทดสอบใช้วิธีวัดความเร็วการดาวน์โหลดข้อมูลวันที่ 12 พ.ค. (ก่อน 3G ใหม่เปิดบริการ) เทียบกับวันที่ 25 พ.ค. (หลัง 3G ใหม่เปิดให้บริการ) โดยพื้นที่ตรวจสอบคือเซ็นทรัลพระราม 9
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. แถลงข่าวผลการหารือกับ 3 ค่ายมือถือใหญ่ในประเด็นปรับลดค่าบริการ 3G 2100MHz ลง 15% ว่ากำหนดแนวทางร่วมกันได้ดังนี้
Wall Street Journal รายงานข่าววงในว่ากูเกิลกำลังร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่าย เข้ามาพัฒนาอินเทอร์เน็ตไร้สายในประเทศกำลังพัฒนา ภูมิภาคที่กูเกิลสนใจคือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไม่ระบุชื่อประเทศ) และแอฟริกากลาง-ใต้ (Sub-Saharan Africa)
เป้าหมายของกูเกิลคือผลักดันให้ประชาชนในประเทศเหล่านี้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น โดยกูเกิลแก้ปัญหาเรื่องโครงข่ายอินเทอร์เน็ต (แบบมีสาย) ที่จำกัดพื้นที่ ด้วยการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไร้สายเข้าช่วย ตามข่าวบอกว่ากูเกิลกำลังเริ่มคุยกับหน่วยงานกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมในหลายๆ ประเทศ เพื่อให้นำความถี่ด้านโทรทัศน์ที่ว่างอยู่มาให้บริการอินเทอร์เน็ตแทน
หลังจาก 3 ค่ายมือถือของไทยเปิดตัวบริการ 3G/4G บนความถี่ 2100MHz กันหมดแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็มีคำถามเรื่อง "ค่าบริการลดลง 15%" ตามเงื่อนไขของ กสทช. ที่หลายคนมองว่าค่ายมือถือหลบเลี่ยงไม่ยอมปฏิบัติตาม
ไทยรัฐออนไลน์มีบทสัมภาษณ์ผู้บริหารจากค่ายมือถือทั้งสามในเรื่องนี้ ขอคัดเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจมาดังนี้ครับ
นายปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานผลิตภัณฑ์ และบริการดิจิตอล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
ข่าวสั้นๆ ครับ หลังจากวันนี้ TrueMove H ได้เปิดบริการ 3G/4G LTE บนคลื่น 2100MHz อย่างเป็นทางการ
ในเฟซบุ๊กเพจ TrueMove H ก็ได้โพสต์ภาพสถานที่ต่างๆ ใน กทม. ที่สามารถใช้งาน 4G ได้แล้ว หนึ่งในนั้นคือภาพสำนักงานใหญ่ dtac บริเวณสามย่านครับ (ดูรูปท้ายแบรก)
สุดท้ายนี้ก็ขอยินดีกับคนในตึก dtac ด้วยนะครับ ที่วันนี้สามารถใช้ 4G จาก TrueMove H ได้แล้ว
ที่มา FB: TrueMove H
ไล่กันมากับค่าย AIS ที่เปิดตัว 3G 2100MHz เมื่อวานนี้ วันนี้ค่ายแดง TrueMove H ก็แถลงข่าวเปิดตัวบริการใหม่บนคลื่น 2100MHz เช่นกัน
บริการของ TrueMove H บนคลื่น 2100MHz แบ่งเป็น 3G HSPA และ 4G LTE ตามที่เคยประกาศเอาไว้
ยักษ์เขียว AIS เป็นค่ายแรกที่เปิดบริการ 3G บนคลื่น 2100MHz อย่างเป็นทางการเมื่อวานนี้ (7 พ.ค.) โดยระยะเริ่มต้นสามารถให้บริการใน 20 จังหวัด ครอบคลุมผู้ใช้ 10 ล้านคน
ตามแผนของ AIS ระบุว่าจะขยายพื้นที่บริการครบทุกจังหวัดภายในสิ้นปีนี้ และครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศในปีหน้า โดยเครือข่ายจะยัง roaming กับระบบ 900MHz เดิมด้วย ส่วนตอนนี้มีผู้ย้ายระบบมาใช้ 3G ใหม่จำนวน 800,000 คนแล้ว - Voice TV
สำนักงาน กสทช. เผยสถิติการติดตั้งสถานีฐานสำหรับเปิดบริการ 3G บนคลื่น 2.1GHz ว่าผู้ประกอบการทั้งสามรายติดตั้งสถานีฐานไปแล้วทั้งหมด 3,650 สถานี แบ่งเป็น
ถ้ายังไม่ลืมกัน ตอนเปิดประมูล 3G เมื่อปลายปีที่แล้ว ผลปรากฏว่าราคาการประมูลคลื่น 3G แทบไม่เพิ่มจากราคาตั้งต้นเลย เนื่องมาจาก กสทช. ออกเกณฑ์ที่ทำให้เอกชนไม่จำต้องแข่งขันกันเลย ทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมามากมาย และมีหลายหน่วยงานเข้ามาตรวจสอบ เช่น ปปช. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และ กระทรวงการคลัง ในครั้งนั้น กสทช.
กสทช. ให้ผู้รับใบอนุญาตให้บริการเครือข่าย 3G ในย่านความถี่ 2.1GHz ส่งข้อมูลแผนการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้พิจารณาก่อนจะเริ่มเปิดให้บริการ
แผนการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนหนึ่งของแผนความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ซึ่งภาคเอกชนที่ประมูลสิทธิให้บริการเครือข่ายในระบบ 3G ไปได้จะต้องนำส่งแก่ กสทช. พร้อมกันกับแผนกำหนดการเปิดให้บริการของผู้ประกอบการแต่ละราย
โดยแผนการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์นี้จะต้องครอบคลุมแผนการจัดการซากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพการใช้งานแล้วซึ่งประกอบไปด้วยสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งอาจปนเปื้อนและตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นระยะเวลานาน รวมทั้งสะสมอยู่ในร่างกายสิ่งมีชีวิตได้ด้วย
CAT Telecom ประกาศเปลี่ยนเทคโนโลยีการให้บริการจากระบบ CDMA เดิม (CAT CDMA) มาเป็นระบบ 3G แบบ HSPA (ใต้แบรนด์ my) ทั้งหมดแล้ว โดยมีผลเมื่อเวลา 24.00 ของวันที่ 26 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีผลให้ลูกค้า CAT CDMA ที่ยังใช้เครื่องหรืออุปกรณ์ของเดิมไม่สามารถเชื่อมต่อกับ My ได้ ซึ่ง CAT ก็เปิดให้ลูกค้าสามารถโอนเบอร์เดิมมาสู่ระบบ HSPA ได้ฟรี พร้อมโปรโมชั่นส่วนลดค่าเครื่อง-ค่าบริการ โดยแจ้งได้ที่ศูนย์บริการของ CAT Telecom ทั่วประเทศหรือโทร 1322
เป็นอันว่าตอนนี้เมืองไทยไม่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA แล้วนะครับ
So-net Entertainment ได้เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 2 Gbps ในชื่อว่า Nuro ที่ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา
สำหรับตอนนี้เริ่มเปิดให้บริการใน 7 จังหวัด ได้แก่ Chiba, Gunma, Ibaraki, Tochigi, Tokyo, Kanagawa และ Saitama
ส่วนความเร็วในการรับส่งข้อมูลอยู่ที่ 2 Gbps สำหรับการดาวน์โหลดและ 1 Gbps สำหรับการอัพโหลด โดยในส่วนของการติดตั้งนั้นจะคิดเป็นเงิน 52,500 เยน (ประมาณ 15,400 บาท) พร้อมสัญญา 2 ปี ส่วนค่าใช้จ่ายต่อเดือนนั้นอยู่ที่ 4,980 เยน (ประมาณ 1,500 บาท) สำหรับผู้ที่ต้องการใช้บริการตอนนี้จะไม่เสียค่าในจ่ายในส่วนของการติดตั้ง
พม่าเริ่มกระบวนการเฟ้นหาและคัดเลือกกลุ่มโทรคมนาคม 2 กลุ่มที่จะเข้ามาสร้างและปรับปรุงระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของชาติ
กระบวนการนี้ดึงดูดความสนใจจากทั้งนักลงทุนและกลุ่มโทรคมนาคมชั้นนำทั่วโลก เนื่องจากระบบโทรคมนาคมของพม่ายังเป็นตลาดที่ยังไม่ได้รับการบุกเบิก อีกทั้งยังมีความน่าสนใจเนื่องจากพม่ามีจำนวนประชากรถึงประมาณ 60 ล้านคน ในขณะที่จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือยังมีต่ำกว่า 10 เปอร์เซนต์ รวมถึงมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงถึง 5.5 เปอร์เซนต์ต่อปี
นักวิเคราะห์ประเมินว่ามูลค่าตลาดโทรคมนาคมของพม่าอาจจะมีค่าสูงถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยพม่าได้เปิดให้ประมูลใบอนุญาตให้สร้าง, เป็นเจ้าของ และดำเนินงานเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของพม่า 2 ฉบับ มีอายุใบอนุญาต 15 ปี
หลังจากคนไทยเบื่อกับเรื่อง 3G ช้าเพราะ CAT และ 4G ช้าเพราะ CAT อีกแล้ว วันนี้ก็มีเรื่องมาตะลึงอีกครั้งกับทาง Smart Mobile เครือข่ายมือถือของประเทศกัมพูชา ได้เปิดตัวบริการใหม่ล่าสุดในประเทศกัมพูชา 2 อย่างด้วยกัน ซึ่งผู้บริหาร Smart Mobile ณ ตอนนี้ เขาพักผ่อนอยู่ที่หมู่เกาะไลน์ ประเทศคิริบาส เวลา 0:22 วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2556 แจ้งข่าวว่า
ที่ประชุมบอร์ด กทค. ของ กสทช. วันนี้ (20 มีนาคม 2556) มีมติแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการเตรียมการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิตร์ซ (MHz) เพื่อให้บริการ 4 จี ด้วยเทคโนโลยีแอลทีอี เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลคลื่น 1800MHz แล้ว โดยมี พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค. นั่งเป็นประธานคณะอนุกรรมการชุดนี้ด้วยตนเอง มีอายุการทำงาน 1 ปี
นอกจากนี้บอร์ด กทค. ยังแต่งตั้งคณะทำงานอีก 2 คณะเพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะอนุกรรมการฯ ข้างต้น ได้แก่
ปัญหาเรื่องสัมปทานคลื่น 1800MHz (TrueMove และ GSM1800) ที่จะหมดสัญญาในเดือนกันยายน 2556 นี้ แต่ยังมีข้อพิพาทกันอยู่ว่าคลื่นจะกลับไปที่ใครระหว่าง กสทช. ในฐานะองค์กรกำกับดูแล หรือ CAT Telecom ในฐานะเจ้าของสัมปทาน
ล่าสุด กสทช. นำโดย ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมด้านกฎหมายโทรคมนาคม ออกมาให้ข่าวว่าถ้า CAT ยื้อไม่ยอมคืนคลื่นมาให้ กสทช. ก็จะเจอมาตรการทางกฎหมายทุกทาง ทั้งทางปกครอง แพ่ง และอาญา โดยมีโทษจำคุก 5 ปี ปรับ 10 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เล่าเรื่องแบบคร่าวๆ คือสมัยที่เซ็นสัญญาสัมปทานคลื่น 1800MHz ยังไม่มี กสทช. และในสัญญาระบุไว้ว่าคลื่นและอุปกรณ์โครงข่ายของบริษัทเอกชน (TrueMove/GSM1800) จะต้องคืนให้เจ้าของสัมปทานคือ CAT Telecom เมื่อหมดอายุสัมปทาน
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. แถลงว่า มีประชาชนร้องเรียนเรื่องคุณภาพสัญญาณเข้ามาจำนวนมาก เช่น โทรติดยาก เครือข่ายไม่ว่าง สัญญาณไม่มี สายหลุดบ่อย กสทช. จึงดำเนินการตรวจวัดคุณภาพสัญญาณทั้งในกรุงเทพฯและจังหวัดอื่น ๆ ทุกจังหวัดในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่า
การให้บริการประเภทเสียงบนเครือข่าย 2G
ทุกค่ายสัญญาณครอบคลุมดี คุณภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ปกติ