คลื่น Whitespace หรือคลื่นโทรทัศน์ในย่าน 400-800 MHz เป็นคลื่นที่เคยถูกกันไว้สำหรับทีวีอนาล็อกที่ทั่วโลกเริ่มปลดออกจากผังคลื่นความถี่ และแนวทางสองประเทศหลัก คือ สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ก็ชัดเจนแล้วว่าจะนำคลื่นเหล่านี้มาใช้สำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องขออนุญาตการใช้งานแบบเดียวกับ Wi-Fi ตอนนี้ทาง Ofcom หรือกสทช. ของสหราชอาณาจักรก็เริ่มกระบวนการประชาพิจารณ์แล้ว
สมาชิกสภายุโรปหลายรายคัดค้านกฎเน็ตจาก ITU ซึ่งเป็นข้อตกลงในการให้บริการอินเทอร์เน็ต ด้วยเหตุผลสำคัญคือ เป็นการปิดกั้นเสรีภาพด้านข้อมูลและทำให้นวัตกรรมถดถอย
กฏเน็ตของ ITU หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ITR: International Telecommunications Regulations ซึ่งครอบคลุมเรื่องมาตรฐานและข้อกำหนดในการให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยกลุ่มสมาชิกของ ITU ก่อให้เกิดประเด็นโต้เถียงกันมาโดยตลอดในเรื่องความเหมาะสมในการให้อำนาจ ITU เข้ามาควบคุมระบบมากจนเกินไป โดยเฉพาะเรื่องการเซ็นเซอร์ข้อมูลและการคิดค่าบริการในการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต
ผู้อ่าน Blognone คงเคยได้ยินชื่อของ ITU หรือชื่อเต็มๆ คือ International Telecommunication Union กันมาบ้าง เพียงแต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าหน่วยงานนี้ตั้งขึ้นมาทำไม และมีเป้าหมายอย่างไร
ช่วงนี้เราเห็นข่าวเรื่อง "ข้อตกลงการสื่อสารระหว่างประเทศ" (ITR) กันพอสมควร เนื่องจากใกล้งานประชุมเพื่อแก้ไข ITR ในเดือนธันวาคมเข้ามาเรื่อยๆ และตัวร่างของ ITR ที่เสนอเข้ามาก็มีประเด็นขัดแย้งหลายจุด (ข่าวเก่า สหรัฐฯ ประกาศคว่ำข้อตกลงการสื่อสารระหว่างประเทศฉบับใหม่ และ สรุปประเด็นเรื่องการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตของ ITU)
เพื่อความเข้าใจอันดี บทความชิ้นนี้จะแนะนำประวัติความเป็นมาและบทบาทหน้าที่ของ ITU ในเบื้องต้นก่อน จากนั้นเราจะเข้าสู่รายละเอียดของ ITR ในบทความตอนต่อไปครับ
หมายเหตุ: บทความนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Mozilla Foundation เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับข้อตกลง ITR แก่ชุมชนผู้ใช้ไอทีในประเทศไทย
วันนี้คณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการฮั้วประมูล 3G ได้เปิดเผยผลการสอบสวนว่าการประมูลคลื่นความถี่ 3G ของบริษัทเอกชนทั้ง 3 ราย ในวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา ว่าไม่พบความผิดเข้าข่ายการฮั้วประมูล โดยเตรียมสรุปผลการตรวจสอบและนำเสนอ กสทช. เป็นลำดับถัดไป
นายสุวิจักษณ์ นาควัชระชัย ซึ่งเป็นประธานคณะทำงานฯ กล่าวว่าการตรวจสอบเอกชนทั้ง 3 รายที่ประมูลคลื่นความถี่ไปได้สำเร็จ อันได้แก่ Advance Wireless Network, Dtac Network และ Real Future ตั้งแต่ช่วงก่อนการประมูล, ระหว่างการประมูล และหลังการประมูล ไม่พบว่ามีการกระทำใดๆ ที่เป็นการสมยอมราคา หรือฮั้วประมูล โดยขั้นตอนการประมูลเป็นไปตามกติกาของ กสทช. ถูกต้องทั้งหมด
กลุ่ม NBTC Watch คณะทำงานติดตาม กสทช. เผยแพร่ "รายงานตรวจสอบการใช้งบประชาสัมพันธ์ กสทช." เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยตรวจสอบงบประมาณด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของสำนักงาน กสทช. ระหว่างเดือน มิ.ย. ถึง ต.ค. 2555 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเริ่มประมูล 3G พบว่าใช้งบไปทั้งหมด 128,663,324 บาท
ในรายงานฉบับเต็มแยกประเภทของงบประมาณอีก 5 กลุ่มใหญ่ๆ (รายละเอียดตามลิงก์ต้นฉบับ) โดยคณะทำงานตั้งข้อสังเกตว่ามีความผิดปกติหลายจุด เช่น
มีข่าวลือว่า Google กำลังเจรจากับ Dish Network เพื่อร่วมลงทุนในธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ
Google เพิ่งเริ่มกรุยทางในธุรกิจเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วย Google Fiber ที่เริ่มให้บริการใน Kansas City ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จึงเป็นที่น่าจับตามองก้าวต่อไปของ Google ที่พยายามเข้าถึงผู้ใช้บริการระบบอินเทอร์เน็ตในทุกช่องทาง และเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของตนเอง คือสิ่งที่ Google ต้องการ
ด้าน Dish Network ผู้ให้บริการทีวีดาวเทียมในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีคลื่นความถี่อยู่ในความถือครองมาตั้งแต่ปี 2008 โดยตลอดเวลาที่ผ่านมาทาง Dish Network เองแสดงความต้องการที่จะรุกเข้าสู่ธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ จึงเร่งหาพันธมิตรทางธุรกิจหลายรายและ Google ก็เป็นหนึ่งในนั้น
ในเมื่อเครือข่ายโทรศัพท์มือถือมีบริการส่งข้อความฉุกเฉินให้โทรกลับ ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของบริการนี้คือ จำเป็นต้องกดเบอร์โทรศัพท์ของบุคคลที่จะส่งข้อความฉุกเฉินไปให้ หากจำเบอร์โทรศัพท์ไม่ได้ทำให้ต้องเปิดหน้าสมุดโทรศัพท์แล้วจำเพื่อมากดอีกต่อหนึ่ง ในสถานการณ์ฉุกเฉินจริงๆ ขั้นตอนเหล่านี้สร้างความยุ่งยากและอาจจะทำให้กดเบอร์ผิดไป
แอพพลิเคชันนี้จึงสร้างมาเพื่อลดข้อจำกัดดังกล่าว โดยให้ผู้ใช้สามารถเลือกเบอร์โทรศัพท์ที่จะส่งข้อความฉุกเฉินได้จากสมุดโทรศัพท์ในเครื่องโดยตรง ลดขั้นตอนการกดเบอร์โทรศัพท์ออกไป สร้างความสะดวกยิ่งขึ้น
โครงการ Google Fiber ที่เป็นข่าวมานานข้ามปี เริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการในเมืองแคนซัสซิตี้ ซึ่งเป็นเมืองนำร่องของกูเกิลในการขยายตัวเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมเสียเอง (รายละเอียดอ่านได้จากข่าวเก่าในหมวด)
โครงการนี้กูเกิลจะติดตั้งสายไฟเบอร์ออปติกส์ให้ถึงบ้านของลูกค้า โดยคิดค่าใช้จ่าย 70 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 2,100 บาท) แลกกับความเร็วเน็ตบ้านระดับ 1 Gbps ในทางทฤษฎี ส่วนการทดสอบของลูกค้าจริงๆ ผลออกมาอยู่ราว 600-700 Mbps
ผู้ใช้รายหนึ่งในแคนซัสซิตี้บอกว่า เมื่อช่างของกูเกิลมาติดตั้งเสร็จ เขาทดสอบโหลด BitTorrent ด้วยไฟล์ดิสโทร Ubuntu ใช้เวลาประมาณ 2 นาที
ที่มา - Ars Technica
หลังจากที่ทาง Ofcom แจ้งว่าจะเลื่อนกำหนดการประมูลคลื่นสำหรับให้บริการ 4G เร็วขึ้นมาเป็นช่วงต้นปีหน้า วันนี้ทาง Ofcom หรือหน่วยงานจัดสรรคลื่นความถี่ของสหราชอาณาจักรก็ได้ประกาศกำหนดการคร่าวๆ สำหรับการประมูลคลื่นดังกล่าวแล้วครับ
กำหนดการคร่าวๆ ก็คือผู้ให้บริการจะยื่นขอเข้าประมูลได้ในวันที่ 11 ธันวาคม แล้วจะประกาศรายชื่อผู้ที่มีสิทธิ์เข้าประมูลได้ภายในเดือนเดียวกัน เดือนมกราคมเริ่มประมูล จากนั้นจะชำระค่าใบอนุญาตและแจกใบอนุญาตภายในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม และทาง Ofcom คาดว่าจะเริ่มเปิดให้บริการ 4G ได้ในเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนครับ
กทค. มีมติให้สำนักงาน กสทช. จ้างที่ปรึกษากำหนดเพดานราคาค่าโทรศัพท์ในระบบ 3G เป็นการชั่วคราว เพื่อให้ทันกำหนดการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบการ 3 รายที่ประมูลความถี่ไปก่อนหน้านี้ โดยเล็งให้ราคาต่ำกว่าค่าโทรศัพท์ในระบบ 2G ในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 0.99 บาทต่อนาที
ทั้งนี้ข้อกำหนดดังกล่าว จะพิจารณาเฉพาะส่วนของบริการวอยซ์ (บริการโทรศัพท์แบบเสียง) แต่เพียงอย่างเดียวก่อนเท่านั้น เนื่องจากมีข้อมูลต้นทุนของระบบวอยซ์จากผู้ประกอบการอยู่ก่อนแล้ว ในขณะที่ค่าบริการดาต้า (บริการเข้าถึงข้อมูล หรือเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต) ยังไม่มีข้อมูลเรื่องต้นทุนที่จะนำมาพิจารณากำหนดค่าบริการได้
คนที่ติดตามข่าวต่างประเทศคงทราบกันดีว่าช่วง 2-3 วันมานี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับพายุเฮอริเคน Sandy ซึ่งถือเป็นภัยธรรมชาติที่ทำให้กิจการโทรคมนาคมมีปัญหา
สถิติของ FCC (กสทช. ของสหรัฐ) ระบุว่าเซลล์โครงข่ายมือถือ 25% ในเขตพายุเฮอริเคน 10 รัฐไม่สามารถทำงานได้ และตัวเลขอาจแย่ไปกว่านี้ถ้าเซลล์ที่ยังทำงานได้เพราะแบตเตอรี่สำรองต้องล่มลงไปอีก
จากข่าวเก่าเรื่องค่าบริการ 4G LTE ในอังกฤษวันนี้เครือข่าย EE ได้เปิดให้บริการ 4G LTE เป็นครั้งแรกในสหราชอาณาจักรแล้วครับ เบื้องต้นจะเปิดให้บริการทั้งหมด 11 เมืองคือ ลอนดอน แมนเชสเตอร์ บริสตอล เบอร์มิงแฮม คาร์ดิฟ เอดินเบิร์ก ลีดส์ ลิเวอร์พูล เชฟฟิลด์ กลาสโกว และเซาท์แธมป์ตัน
ค่าบริการดูได้ตามข่าวเก่า (แพงใช่เล่น) ทาง EE สัญญาว่าจะให้ความเร็วประมาณ 8 - 18 Mbps และจะขยายพื้นที่การให้บริการอีก 6 เมืองก่อนคริสต์มาสนี้ และยังวางแผนว่าจะขยายให้ครอบคลุมประชากร 98% ในปี 2014
ข่าวนี้เกี่ยวข้องกับข่าว [สหรัฐฯ ประกาศคว่ำข้อตกลงการสื่อสารระหว่างประเทศฉบับใหม่](http://www.blognone.com/node/37402) นะครับ ใครยังไม่ได้อ่านควรย้อนไปอ่านข่าวเก่าเสียก่อน
วันนี้ (25 ตุลาคม 2555) กสทช. ได้จัดงานเสวนาในประเด็นข้างต้น (แต่ครอบคลุมหัวข้อกว้างกว่า) ในชื่องานว่า "NBTC Public Forum 9: ITU จะกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต ไทยควรมีท่าทีอย่างไร"
ผมได้ไปร่วมงานนี้มาด้วย เลยสรุปประเด็นที่น่าสนใจของวิทยากรบางท่านมาลง Blognone ครับ
### สรุปประเด็นแบบสั้นๆ
เราเห็นข่าวคล้ายๆ กันแต่เป็นคู่ของ Verizon กับ McAfee กันไปแล้ว วันนี้เป็นคิวของโอเปอเรเตอร์อีกรายอย่าง T-Mobile USA และบริษัทความปลอดภัย Lookout กันบ้าง
จากข้อตกลงระหว่างสองบริษัทนี้ มือถือที่ใช้ Android ของ T-Mobile จะพรีโหลดแอพความปลอดภัย Lookout Automatic App Security มาให้พร้อมกับเครื่องฟรี เพื่อช่วยป้องกันความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวให้กับลูกค้าของ T-Mobile
แอพของ Lookout จะสแกนภัยคุกคามให้กับลูกค้าของ T-Mobile โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ Lookout ขยายฐานลูกค้าสำหรับเวอร์ชันพรีเมียม ที่มีฟีเจอร์แบ็คอัพไฟล์และลบข้อมูลจากระยะไกล โดยคิดค่าบริการ 2.99 ดอลลาร์ต่อเดือน
ข่าวนี้เป็นข่าวที่ตกจาก Blognone ไปนานสักหน่อย คือมีการเสนอข้อตกลงระหว่างประเทศในการโทรคมนาคม (International Telecommunications Rules - ITRs) ฉบับใหม่หลังจากที่ฉบับเดิมลงนามกันไปตั้งแต่ปี 1988 โดยกลุ่มผู้ให้บริการเครือข่ายในสหภาพยุโรป (European Telecommunications Network Operators' Association - ETNO) ที่เสนอให้มีการเข้ามาควบคุมอินเทอร์เน็ตในรูปแบบต่างๆ โดยมีเหตุผลหลักคือความไม่พอใจของผู้ให้บริการเครือข่ายที่ทำกำไรมหาศาลจากเครือข่าย
กรณีเช่นนี้เป็นปัญหาเดียวกับในสหรัฐฯ ที่ผู้ให้บริการไม่พอใจที่ YouTube กินแบนด์วิดท์อย่างมาก แต่คนได้กำไรเป็นกูเกิล ขณะที่ผู้ให้บริการเครือข่ายต้องแบกรับค่าบริการโดยไม่กล้าที่จะส่งต่อค่าใช้จ่ายนี้ไปเป็นค่าบริการกับผู้บริโภคเพราะการแข่งขันที่สูง
EE (Everything Everywhere เดิม) ผู้ให้บริการ 4G LTE รายแรกในสหราชอาณาจักร ซึ่งจะเริ่มเปิดให้บริการในวันที่ 30 ตุลาคมนี้ เผยราคาแพ็กเกจการใช้งาน 4G LTE ต่อเดือนดังนี้ (ทุกแพ็กเกจติดสัญญา 24 เดือน สามารถโทร-ส่งข้อความได้ไม่จำกัด)
EE ไม่มีแพ็กเกจแบบไม่จำกัดปริมาณข้อมูลให้เลือก แต่แพ็กเกจข้างต้นก็ไม่จำกัดวิธีการใช้งานข้อมูล เช่น นำไป tethering กับอุปกรณ์อื่นได้
บนเว็บไซต์ของ EE ระบุความเร็วของ 4G LTE ว่าค่าเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง 8-12 Mbps ครับ
หลังจากการประมูลคลื่น 2.1GHz ของ กสทช. เสร็จสิ้น ก็มีเสียงวิจารณ์มากมาย แต่เรากลับแทบไม่เห็นมุมมองของผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมที่เข้าร่วมประมูลเลย ที่ผ่านมาเราเลยไม่ได้รับทราบว่าผู้ประกอบการคิดอย่างไรกับการประมูลบ้าง
วันนี้ (22 ต.ค. 55) ทางรายการ "เจาะข่าวเด่น" ของคุณสรยุทธ สุทัศนจินดา ทางช่อง 3 ได้เชิญคุณวิเชียร เมฆตระการ ซีอีโอของ AIS มาสัมภาษณ์ในรายการ ซึ่งคุณวิเชียรได้ตอบคำถามหลายอย่างเกี่ยวกับการประมูลที่ผมคิดว่าน่าสนใจ เลยสรุปประเด็นจากการสัมภาษณ์ได้ดังนี้ (คลิปสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ดูได้จากลิงก์ที่มา)
ขั้นตอนการประมูล
ในระหว่างการประชุมสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในช่วงหารือวันนี้ (22 ต.ค.) ก็ได้มี คุณไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว. สรรหาได้หารือกับสมาชิกว่า ตนในฐานะประธานอนุกรรมาธิการ (กมธ.) เกี่ยวกับกฎหมายป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคม และคณะ กมธ. เพื่อเรียกร้องการประชุมหารือ คณะกรรมการ กสทช. เกี่ยวกับการพิจารณารับรองผลการประมูล 3G ว่าจะพิจารณารับรองการผลการประมูล 3G หรือไม่
นี่เป็นเอกสารฉบับที่สามที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ กสทช. เผยแพร่ต่อสื่อมวลชนในวันนี้ ([ฉบับที่หนึ่ง แถลงการณ์เรื่องการกำกับดูแลค่าบริการ](https://www.blognone.com/node/37331), [ฉบับที่สอง ชี้แจงและขอให้วิพากษ์การประมูลอย่างสร้างสรรค์](https://www.blognone.com/node/37332))
เอกสารฉบับที่สามเป็นบทวิเคราะห์ที่เขียนโดย Dominic Arena กรรมการบริหารของบริษัทที่ปรึกษา Value Partners Management Consulting โดยเขาเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทโทรคมนาคม และหน่วยงานกำกับดูแลหลายแห่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย
หมายเหตุ: ในต้นฉบับไม่ได้ระบุชัดเจน แต่ผมเข้าใจว่า กสทช. จ้างบริษัท Value Partners เป็นที่ปรึกษาอยู่แล้ว (ซึ่งเป็นเรื่องปกติ) นะครับ
วันนี้นอกจาก กสทช. แถลงข่าวเรื่องการกำกับดูแลค่าบริการ 3G ลง 15-20% จากราคาปัจจุบัน ทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ กสทช. ยังเผยแพร่บทความของ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ หนึ่งในกรรมการ กทค. ชื่อว่า ถึงเวลาวิพากษ์ การประมูล 3 จี อย่างสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของประชาชน ต่อสาธารณชนอีกด้วย
บทความนี้อธิบายประเด็นที่ กสทช. ถูกโจมตีทั้งหมด 7 ประเด็น เช่น ระบบสัมปทาน รายได้ของรัฐบาล ราคาตั้งต้นของการประมูล กระบวนการโจมตี กสทช. และ กทค. เป็นต้น
ผมนำเวอร์ชันเต็มๆ มาลงเผยแพร่บน Blognone เพื่อให้ทุกท่านได้อ่านและตัดสินกันเองครับ
ฉบับ Scribd
หลังจาก กสทช. ถูกวิจารณ์อย่างหนักเรื่องผลการประมูล 3G วันนี้ทางบอร์ด กทค. ได้แถลงการณ์ "ประกาศเจตนารมรณ์ต่อสาธารณชนในการคุ้มครองผู้ใช้บริการ" ดังนี้ (ตัวเน้นโดย Blognone)
จากข่าวที่ว่า กระทรวงการคลังส่งหนังสือด่วนที่สุดถึง กสทช. ชี้ประมูล 3G "ฮั้วประมูลชัดเจน" และในวันนี้ (19ต.ค.) ก็ตามมาด้วยกลุ่มกรีนหรือกลุ่มการเมืองสีเขียว (Green politics) ที่จัดตั้งโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่มี คุณสุริยะใส กตะศิลา เป็นผู้ประสานงาน ได้ตั้งข้อสังเกตถึง กสทช. โดยเฉพาะในส่วนของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ว่ามีพฤติกรรมที่น่าสงสัย
เมื่อเวลา 15.30 น. ของวันนี้ (19 ต.ค.) คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้ทำหนังสือ "ด่วนที่สุด" ที่ สทช. 5011/18583 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2555 และแนบสำเนาหนังสือด่วนที่สุด ที่ส่งมาเมื่อคืน ส่งถึงปลัดกระทรวงการคลัง โดยมีเนื้อความที่ขอให้พิจารณาการกระทำของคุณสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลังใหม่ครับ
ช่วงนี้ข่าว 3G มากันแบบรายวันเลยครับ
หลังจากที่ กทค. ได้รับรองผลการประมูลไปเมื่อวานนี้ด้วยคะแนนเสียง 4 ต่อ 1 และได้ติดต่อให้ AIS, DTAC และ True เข้ามารับทราบนั้น เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ ทั้ง 3 ค่ายได้เข้ามารับเอกสารยืนยันผลการประมูล และพร้อมจ่ายเงินค่าใบอนุญาตเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ
บอร์ด กทค. เพิ่งจะลงความเห็นรับรองการประมูล 3G ไปได้ยังไม่ทันข้ามวัน กระทรวงการคลัง โดยคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมบัญชีกลาง หรือ กวพ.อ ได้ทำหนังสือ "ด่วนที่สุด" ที่ กค (กพวอ) 0421.3/42301 ลงวันที่ 18 ต.ค. 2555 ส่งตรงถึงประธาน กสทช. (พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี) โดยชี้ว่าการประมูลคลื่นความถี่ 3G เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา มีการฮั้วประมูลกันอย่างชัดเจน