เมื่อวานนี้บอร์ด กทค. ได้อนุมัติให้ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด สามารถเปิดให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ 2100 MHz แบบเชิงพาณิชย์ได้แล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้บริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด ได้เปิดให้บริการไปก่อน
ส่วนรายละเอียดของการให้บริการ นั่นก็คือดีแทคไตรเน็ต จะเปิดให้บริการ 4G บนเทคโนโลยี LTE โดยใช้วิธีการอัพเกรดอุปกรณ์เดิมบางชิ้น เพื่อให้สามารถให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่เดิม คือ 2100 MHz ได้ (เป็น LTE Band 1 เหมือน TrueMove H) โดยจุดหมายของการเปิดให้บริการในครั้งนี้ ก็คือการขยายขีดความสามารถและเพิ่มศักยภาพในการให้บริการของบริษัทนั่นเองครับ
เราอาจเห็นอภิมหาซูเปอร์ดีลของวงการโทรคมนาคมโลกในเร็วๆ นี้ เมื่อ AT&T เครือข่ายอันดับสองของอเมริกา แสดงความสนใจซื้อ Vodafone เครือข่ายอันดับหนึ่งของยุโรป
ถ้า AT&T สามารถซื้อ Vodafone ได้จริง บริษัทใหม่จะกลายเป็นบริษัทโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดของโลกในแง่รายได้ทันที (ถ้านับตามจำนวนลูกค้าจะมากกว่า 500 ล้านคน)
Vodafone เป็นบริษัทโทรคมนาคมของอังกฤษ (ปัจจุบันมีขนาดเป็นอันดับสามในอังกฤษ) แต่ก็มีธุรกิจโทรศัพท์ในหลายประเทศทั่วโลก เช่น แอฟริกา อินเดีย ยุโรป (ไม่ค่อยเน้นธุรกิจในอเมริกาใต้และเอเชีย) ส่วนในอเมริกาเหนือ Vodafone ถือหุ้นใน Verizon Wireless คู่แข่งของ AT&T ที่ 45% (อย่างไรก็ตาม Verizon บริษัทแม่ก็สนใจจะซื้อหุ้นคืนทั้งหมดในช่วงต้นปีนี้)
ข่าวเก่าไปสักนิดแต่ยังน่าสนใจครับ T-Mobile โอเปอเรเตอร์เบอร์ 4 ของสหรัฐกำลังปรับตัวสุดชีวิตผ่านการนำเสนอบริการใหม่ๆ มากมาย (ข่าวเก่า) บริการล่าสุดที่เปิดตัวคือ Mobile Money ที่แปรรูปกิจการโทรคมนาคมให้เป็นกิจการการเงินขนาดย่อมๆ
จากกรณีของข่าวระบบอินเทอร์เน็ตทรูถูกโจมตี ฝังมัลแวร์ดักข้อมูลผู้ใช้งาน บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด ได้ทำการชี้แจงผ่านทางทีมข่าวไอทีออนไลน์ของไทยรัฐว่า จากการตรวจสอบระบบแล้วยังไม่พบว่ามีการโจมตีแต่อย่างใด อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ตามปกติและไม่พบว่ามีลูกค้ารายใดประสบปัญหาในการใช้งานอย่างที่กล่าวอ้าง ซึ่งปัญหาในรูปแบบนี้นั้นที่ผ่านมามักเกิดจากการที่คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานติดมัลแวร์ จึงก่อให้เกิดความผิดปกติดังกล่าว
วันนี้ T-Mobile เครือข่ายมือถือในสหรัฐอเมริกาได้ประกาศปฏิบัติการ Un-Carrier 4.0 ซึ่งเป็นแผนดึงลูกค้าใหม่เข้ามาสู่เครือข่ายตัวเอง โดยหนึ่งในข้อเสนอคือการยอมจ่ายค่าชดเชยในยกเลิกสัญญาล่วงหน้า ของลูกค้าที่ยังติดสัญญาของค่ายอื่นอยู่สูงถึง 350 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 11,500 บาท แต่หากลูกค้าต้องการอัพเกรดมือถือใหม่ด้วย ลูกค้าอาจจะได้รับเงินชดเชยจาก T-Mobile สูงถึง 650 ดอลลาร์สหรัฐฯ
คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขา กสทช. ได้เผยว่าในวันนี้ กสทช. ได้จัดส่งหนังสือเตือนไปยังเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทุกค่าย ให้เตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ชัตดาวน์กรุงเทพฯ ของกลุ่มกปปส. ในวันที่ 13 มกราคมที่จะถึงนี้ โดยขอให้เพิ่มความถี่ในการส่งสัญญาณ และเตรียมรถโมบายล์เคลื่อนที่เอาไว้อย่างน้อย 3 คัน ในพื้นที่การชุมนุมเขตกรุงเทพมหานครที่กลุ่มกปปส. ได้ประกาศแล้ว 20 จุด (รายชื่อแยกดูได้ท้ายเบรคครับ) เพื่อรองรับการสื่อสารที่มากกว่าปกติในพื้นที่การชุมนุมครับ
Twitter เตรียมขยายตลาดไปยังผู้ใช้งานมือถือที่ไม่มีแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตใช้งาน โดยจับมือกับบริษัท Myriad Group ในสวิตเซอร์แลนด์ เปิดบริการ Twitter for USSD ที่ใช้วิธีการส่งข้อมูลผ่าน USSD (ที่เราคุ้นเคยกันจากการกด * ตามด้วยหมายเลขแล้วโทรออก) แทน
Twitter for USSD จะเน้นตลาดประเทศกำลังพัฒนาในละตินอเมริกา เอเชีย อินเดีย และแอฟริกา โดยผู้ใช้งานสามารถรับข่าวสารจาก Twitter ในหัวข้อต่างๆ ที่ตัวเองสนใจได้ จุดเด่นของบริการนี้คือค่าใช้จ่ายที่ถูกมาก แต่จุดด้อยคือมันรองรับแค่การส่งข้อมูลเป็น text-based เท่านั้น ไม่สามารถส่งรูปภาพได้
CTIA หรือสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจเครือข่ายไร้สายของสหรัฐ ประกาศความสำเร็จในการสร้างฐานข้อมูลกลางเพื่อดูว่าโทรศัพท์หรืออุปกรณ์ไร้สายใดถูกขโมย
ฐานข้อมูลนี้จะช่วยให้โอเปอเรเตอร์ในสหรัฐสามารถเช็คได้ว่า มือถือเครื่องที่ลงทะเบียนเข้ามาในเครือข่ายเป็นมือถือที่ถูกขโมยมาหรือว่าเดิมทีใช้กับเครือข่ายอื่นๆ มาหรือไม่ (ถ้าเจอก็สามารถ blacklist ไม่ให้ใช้งานกับทุกเครือข่ายได้) ถือเป็นการลดโอกาสที่ขโมยจะปล่อยสินค้าต่อ และลดแรงจูงใจของการขโมยในระยะยาว
โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง CTIA ในฐานะสมาคมภาคเอกชน กับ FCC (กสทช. สหรัฐ) และตำรวจท้องถิ่นของเมืองใหญ่หลายแห่ง
ยักษ์เครือข่ายจีน Huawei ประสบปัญหาถูกหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐอเมริกากีดกันไม่ให้เข้ามาทำธุรกิจด้านอุปกรณ์เครือข่ายอยู่หลายปี (โดยการอ้างเหตุผลว่าไม่ไว้ใจบริษัทอุปกรณ์เครือข่ายของจีน เพราะกลัวถูกดักฟังที่ระดับอุปกรณ์เครือข่าย)
ทาง Huawei เองก็ดูจะท้อแท้จนเคยประกาศว่าจะลดความสนใจตลาดสหรัฐลง และหันไปเน้นตลาดยุโรปแทน และล่าสุดบริษัทก็จะถอนตัวจากธุรกิจอุปกรณ์เครือข่ายฝั่งผู้ให้บริการโทรคมนาคมของสหรัฐแล้ว
อย่างไรก็ตาม Huawei จะยังทำตลาดอุปกรณ์เครือข่ายสำหรับลูกค้าองค์กร (enterprise networking) ที่ไม่ใช่สายผู้ให้บริการโทรคมนาคมต่อไป และยังทำตลาดสมาร์ทโฟนที่กำลังไปรุ่งด้วยเช่นกัน
จากกรณีมีคนบุกลอบตัดไฟ CAT Tower เขตบางรัก เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ล่าสุดวันนี้ นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ CAT Telecom ออกมาให้ข่าวแล้วว่ามีลูกค้าได้รับความเสียหาย 91,680 ราย ประเมินความเสียหายประมาณ 300 ล้านบาท แบ่งเป็นความเสียหายจากระบบฮาร์ดแวร์ 130 ล้านบาท ความเสียหายจากระบบไฟฟ้าและอื่นๆ อีกประมาณ 200 ล้านบาท โดยจะประเมินความเสียหายของลูกค้าแต่ละรายอีกครั้งหนึ่ง
อาคาร กสท บางรัก (อาคาร 30 ชั้นติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา) เป็นอาคารโทรคมนาคม และเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภายในประกอบด้วย
ตามที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองกลุ่มหนึ่งเข้าล้อมอาคารของบริษัท กสท โทรคมนาคม ที่เขตบางรัก ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และมีการตัดไฟฟ้าของอาคารจนส่งผลกระทบให้เว็บไซต์จำนวนมากและการสื่อสารหลายช่องทางต้องปิดตัวลง ส่งผลกระทบต่อการสื่อสารภายในประเทศไทย และสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง
ถึงแม้เป้าหมายของกลุ่มผู้ชุมนุมจะอ้างแรงจูงใจจากการเคลื่อนไหวในทางการเมือง แต่ระบบคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ สายไฟ อุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ ในศูนย์ข้อมูลนั้นเป็นเพียงอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีที่ทำให้การสื่อสารข้อมูลถูกส่งผ่านไปได้ เป็น "ท่อที่ไม่มีความคิดทางการเมือง" แต่อย่างใด
เว็บไซต์ไอที Blognone ขอแสดงจุดยืนดังนี้
คนที่ติดตามข่าว NSA ดักฟังข้อมูลไปทั่ว (ตามเอกสารของ Edward Snowden ที่หลุดออกมา) คงทราบดีว่าบริษัทไอทีใหญ่ๆ อย่างกูเกิลและยาฮูก็โดนดักฟังไปกับเขาด้วย
บริษัทไอทีเหล่านี้ก็ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้ให้ความร่วมมือใดๆ กับ NSA ทำให้ความเป็นไปได้ของการดักฟังอาจอยู่ที่ไฟเบอร์ออปติกส์ที่เชื่อมระหว่างศูนย์ข้อมูลแทน
ข้อมูลล่าสุดของ The New York Times ที่อ้างแหล่งข่าวในวงการ ระบุว่าต้นตอของการดักฟังอยู่ที่บริษัท Level 3 Communications ผู้วางโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกส์ระดับโลก เชื่อมต่อศูนย์ข้อมูลกว่า 200 แห่งในอเมริกา มากกว่า 100 แห่งในยุโรป และกูเกิล-ยาฮูก็เป็นลูกค้าเช่าใช้งานอยู่
ต่อจากข่าว เปิดงบ กสทช. เงินบริจาค-ไปนอก-ประชาสัมพันธ์ 565 ล้านบาท, ซื้อ iPad เครื่องละ 70,000 ประเด็นที่คนสงสัยกันเยอะคงเป็นการซื้อ iPad ราคาแพง ล่าสุดทาง กสทช. ออกมาแถลงข้อมูลแล้วครับ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ออกมาแถลงว่า iPad ตัวที่ว่านั้นแพงเพราะติดตั้งซอฟต์แวร์ตรวจวัดและวิเคราะห์โครงข่ายโทรคมนาคม โดยถือเป็นอุปกรณ์ของโครงการ QoS Measuring Instrument and Analyzer โดย กสทช. ซื้อ iPad จำนวน 3 ตัว ตัวละ 66,250 บาท รวมเป็นเงิน 198,750 บาท
กูเกิลเปิดตัว Project Link ความพยายามในการเพิ่มจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในทวีปแอฟริกา โดยเริ่มจากการเข้าไปวางโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกส์ที่เมือง Kampala เมืองหลวงของประเทศอูกันดา
Project Link จะต่างจากโครงการคล้ายๆ กันอย่าง Google Fiber ตรงที่ใน Project Link นั้นกูเกิลจะไม่ได้เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เองโดยตรง แต่จะสร้างโครงข่ายไฟเบอร์ให้ ISP และเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในอูกันดาใช้บริการอีกทอดหนึ่ง
บริษัทเว็บอย่าง Facebook สมัครเข้าเป็นสมาชิกของ GSMA (GSM Associatation) สมาคมของโอเปอเรเตอร์และผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่าย
ตัวแทนของ Facebook ระบุว่าการเข้าร่วม GSMA ครั้งนี้เป็นเพราะบริษัทต้องการผลักดันวงการอุปกรณ์พกพา และก็พยายามหาเวทีในการทำงานร่วมกับบริษัทอื่นๆ โดยเฉพาะเหล่าโอเปอเรเตอร์ทั้งหลาย ส่วนฝั่งของ GSMA เองก็ออกมาแสดงความยินดีที่บริษัทชื่อดังอย่าง Facebook เข้าร่วมเป็นสมาชิก
ในอนาคตเราอาจเห็น Facebook เริ่มไปออกบูธหรือจัดเวทีในงาน Mobile World Congress งานแสดงมือถือใหญ่ประจำปีที่จัดโดย GSMA ก็เป็นได้
ที่มา - FierceWireless
เมื่อวานนี้ โครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม หรือกลุ่ม NBTC Policy Watch นำเสนอผลการศึกษาหัวข้อ “การใช้ทรัพยากรของหน่วยงานกำกับดูแล: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศ” โดยนักวิจัยคือ ดร.พรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ถ้ายังจำกันได้ SoftBank ยักษ์ไอที-โทรคมนาคมจากญี่ปุ่น เพิ่งซื้อกิจการ Sprint เสร็จสิ้นไปเมื่อกลางปี ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวล่าสุดของ SoftBank ในการบุกอเมริกาแล้ว
นอกจากกิจการของ Sprint ที่เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายมือถือแล้ว ทาง SoftBank ยังประกาศเข้าถือหุ้น 57% ใน Brightstar Corp. บริษัทผู้จัดจำหน่ายตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือในสหรัฐหลากหลายยี่ห้อ (รวมอุปกรณ์เสริมด้วย) มูลค่าการซื้อหุ้นครั้งนี้อยู่ที่ 1.26 พันล้านดอลลาร์
การซื้อหุ้นครั้งนี้ทำให้ Brightstar กลายเป็นผู้จัดจำหน่ายและดูแลซัพพลายเชนของอุปกรณ์มือถือให้กับ SoftBank/Sprint เพียงรายเดียว ซึ่งก็น่าจะช่วยให้แนวรบของ SoftBank ในอเมริกาสมบูรณ์ขึ้นอีกมาก
นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ CAT Telecom ให้ข้อมูลว่าบอร์ดบริหารของ CAT อนุมัติกรอบวงเงิน 280 ล้านบาทเป็นค่าธรรมเนียมในการยื่นฟ้อง กสทช. ต่อศาลปกครองแล้ว
คดีนี้ CAT จะฟ้อง กสทช. ที่ออกประกาศเรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรคมนาคมในกรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาประกอบกิจการโทรคมนาคม (ประกาศเรื่องคลื่น 1800MHz ต้องกลับไปที่ กสทช.) เพราะจะทำให้ CAT สูญเสียรายได้จากคลื่น 1800MHz ที่ CAT เชื่อว่าสามารถครอบครองได้ถึงปี 2568 (ตามอายุใบอนุญาตของ CAT, ไม่ใช่อายุสัมปทานที่หมดในเดือนที่แล้ว)
ส่วนค่าเสียหาย CAT ตีไว้ 275,000 ล้านบาท โดยประเมินจากเลขหมาย 17-18 ล้านเลขหมาย และรายได้เฉลี่ย 200-300 บาทต่อเดือน
แผนการของ "โนเกียยุคใหม่" หลังขายธุรกิจมือถือ ประกาศไว้ชัดว่าอนาคตของโนเกียคือ อุปกรณ์เครือข่าย NSN, ระบบแผนที่ HERE และธุรกิจการขายสิทธิใช้งานสิทธิบัตร
เมื่อวานนี้ NSN จัดงานแถลงข่าวในประเทศไทยพอดี ผมไปร่วมงานด้วยจึงนำกลับมาเล่าให้ฟังครับว่า NSN ในฐานะ "อนาคตของโนเกีย" ด้านหนึ่งกำลังทำอะไรอยู่บ้าง
งานแถลงข่าวครั้งนี้นำโดยคุณฮาราลด์ ไพรซ์ (Harald Preiss) ซึ่งเข้ามารับตำแหน่งเป็นหัวหน้ากลุ่มธุรกิจเอเชียเหนือ รับผิดชอบตลาดประเทศไทย เวียดนาม บังกลาเทศ กัมพูชา ลาว ศรีลังกา มัลดีฟส์
ก่อนหน้านี้ประชาชนผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ETL (ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศลาว) ที่อาศัยอยู่ในเมืองเวียงจันทน์ประสบปัญหาคลื่นสัญญาณมือถือถูกรบกวนโดยคลื่นสัญญาณของเครือข่าย DTAC จากประเทศไทย จนส่งผลให้จำนวนผู้ใช้บริการของ ETL ลดลงอย่างมากเพราะลูกค้าต่างย้ายไปใช้งานเครือข่ายอื่น ล่าสุด DTAC ตัดสินใจยอมลดความแรงสัญญาณลงเพื่อแก้ปัญหานี้แล้ว
ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นมานานกว่า 2 ปี โดยสัญญาณของ DTAC ในย่านความถี่ 850MHz บริเวณจังหวัดอุดรธานีและหนองคาย มีกำลังส่งสูงจนไปรบกวนสัญญาณของ ETL ในลาวซึ่งใช้งานในช่วงความถี่ 900Mhz ทำให้ กสทช. ต้องเรียก DTAC มาคุยเพื่อหาทางออก ก่อนจะมีการเข้าพูดคุยกับตัวแทนจากฝั่งลาว ณ เมืองปากเซ จนได้ข้อสรุปข้างต้น
วันนี้ดีแทคได้เผยว่าบริษัทได้เตรียมพร้อมที่จะดำเนินการ 4G LTE อย่างเป็นทางการแล้ว โดยในขณะนี้ได้เข้าดำเนินการปรึกษาหารือแนวทางดำเนินการกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด เพื่อที่จะนำคลื่น 1800 MHz ส่วนที่ไม่ได้ใช้งานจำนวน 24.5 MHz มาเปิดให้บริการ โดยรูปแบบธุรกิจคร่าวๆ ของบริการ 4G LTE ที่ดีแทคจะดำเนินการนั้น จะเหมือนกับฝั่งทรู คอร์ปอเรชัน (TrueMove H) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนขายต่อบริการครับ (สั้นๆ ก็ MVNO ของ CAT ครับ)
ตู้โทรศัพท์สาธารณะที่เคยเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารของคนยุคหนึ่ง กำลังล้าสมัยอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน และกลายเป็นภาระในการดูแลรักษาของหน่วยงานทั่วโลก
แนวคิดหนึ่งในการใช้ประโยชน์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะคือเปลี่ยนมันเป็นจุดกระจายสัญญาณ Wi-Fi แทน (เพราะมีสายโทรศัพท์เข้าถึงอยู่แล้ว แค่ติดอุปกรณ์ Wi-Fi เพิ่มเข้ามา) แนวคิดนี้มีหลายประเทศให้ความสนใจและเริ่มดำเนินการแล้ว และนิวซีแลนด์เป็นประเทศล่าสุดที่เดินตามแนวทางนี้
บริษัทเคเบิลทีวีไทย CTH ขยายธุรกิจไปยังประเทศลาว โดยตั้งใจบุกทั้งตลาดเคเบิลทีวีและโทรคมนาคม
ฝั่งของธุรกิจเคเบิลทีวี CTH ได้ตั้งบริษัทลูกชื่อ CTH SSN Television ทุน 100 ล้านบาท โดยถือหุ้น 60% ส่วนที่เหลือเป็นบริษัทเคเบิลรายใหญ่ของลาว SSH ถือ 30% และกลุ่ม TK Group อีก 10%
เป้าหมายเบื้องต้นจะเปิดบริการในเดือนตุลาคมนี้ เนื้อหามีทั้งฟุตบอลพรีเมียร์ลีก รายการของ CTH เอง และจะผลิตรายการเกี่ยวกับวัฒนธรรมลาวเพิ่มเติมด้วย เป้าหมายตลาดเน้น 4 เมืองหลักของลาวคือ เวียงจันทร์ หลวงพระบาง สุวรรณเขต ปากเซ
นอกจากนี้ CTH ยังจะขยายธุรกิจบรอดแบนด์ร่วมกับพันธมิตรในลาวด้วย โดยตั้งเป้าเปิดบริการในไตรมาสสองของปีหน้า