นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กสทช. และ กทค. ด้านเศรษฐศาสตร์ กล่าวในงานประชุมรับฟังความคิดเห็น โครงการศึกษาเรื่องการเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และการศึกษาผลกระทบเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558 ว่า กสทช. มีแนวทางขอความร่วมมือจากโอเปอเรเตอร์ให้ลดราคาโรมมิ่งระหว่างประเทศลง
กสทช. ระบุว่าไม่สามารถบังคับให้ผู้ประกอบการลดค่าโรมมิ่งได้ เพราะการโรมมิ่งเป็นข้อตกลงระหว่างโอเปอเรเตอร์จากทั้งสองประเทศ แต่ถ้าผู้ประกอบการไม่ยอมลดราคาโรมมิ่งก็จะเสียประโยชน์ทางธุรกิจเอง เช่น คนไทยที่ไปต่างประเทศอาจใช้วิธีซื้อซิมการ์ด หรือ โทรผ่าน Skype แทน
ที่มา - ประชาชาติธุรกิจ
นายซั่ง ปิง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและสารสนเทศจีน ประกาศแผนการปรับปรุงอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศครั้งใหญ่ หวังให้พื้นที่ห่างไกลได้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็ว 4 Mbps ภายในปี 2558 โดยใช้เม็ดเงินลงทุนโครงการมากถึง 2 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 10 ล้านล้านบาท
ปัจจุบันจีนมียอดผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากถึง 45% ของคนทั้งประเทศ รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับระบบอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารไร้สาย ตั้งเป้าให้หัวเมืองใหญ่มีความเร็วอยู่ที่ 20 Mbps ส่วนในพื้นที่ห่างไกลให้มีความเร็วที่ 4 Mbps โดยหวังมีผู้ใช้งานระบบสื่อสารไร้สาย 25 ล้านคน และผู้ใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตอีก 35 ล้านคนภายในปี 2556
หลังจากที่ได้มีการพูดคุยกันมาได้ซักพัก ล่าสุดวันนี้ European Commission ได้ออกมาประกาศแผนการรวมตลาดโทรคมนาคมทุกประเทศสมาชิกเข้ามาเป็นเพียงตลาดเดียว โดยได้บอกว่าการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมครั้งนี้จะทำให้ GDP ของ EU เพิ่มขึ้นถึง 146 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
แผนปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมในครั้งนี้ พอสรุปคร่าว ๆ ได้ตามนี้
ต่อจากข่าวเก่า เผย Galaxy Note 3 แบตอึดเพราะชิป Envelope Tracker จาก Qualcomm ล่าสุดทางต้นสังกัดผู้ผลิตชิปก็ออกมาอธิบายข้อมูลเพิ่มอีกนิดหน่อย
ชิปตัวนี้ชื่อว่า QFE1100 ส่วนหลักการทำงานก็เหมือนในข่าวเก่า นั่นคือปรับกำลังส่งสัญญาณตามลักษณะของลูกคลื่นสัญญาณ ตัวเลขของ Qualcomm เองระบุว่าช่วยลดความร้อนลงได้ 30%, ลดพลังงานที่ใช้ได้ 20%, ช่วยให้การส่งสัญญาณรวดเร็วขึ้น แถมยังมีประโยชน์ทางอ้อมให้แผงวงจรรวมมีขนาดเล็กลงเพราะสามารถออกแบบชิปส่งสัญญาณได้เล็กลง
ชิป Envelope Tracking (ET) ลักษณะนี้จะเริ่มใช้ใน Galaxy Note 3 เป็นรุ่นแรก และจะทยอยใช้งานในมือถือ LTE รุ่นต่อๆ ไปอีกมาก
ชื่อบทความเดิม ตอบเรื่องวุ่นวายเกี่ยวกับฐานอำนาจทางกฎหมายในการออกประกาศ กสทช. ห้ามซิมดับ (ตอนที่หนึ่ง)
บทความโดย จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ความนำ
ได้อ่านบทความที่ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กสทช. ด้านกฎหมาย (กิจการโทรคมนาคม) ได้เขียนลงหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 13-14 สิงหาคม 2556 รวม 2 วัน เรื่อง “เรื่องวุ่นวายของฐานอำนาจกฎหมาย กับ ประกาศ กสทช. ห้ามซิมดับ (ตอน 1-2)” ซึ่งคุณสุทธิพลกล่าวพาดพิงถึงนักวิชาการบางท่านหรือนักกฎหมายที่ออกมาเคลื่อนไหวแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างประกาศห้ามซิบดับของ กสทช.
อย่างที่เราทราบกันดีว่าความปลอดภัยของเครือข่ายโทรศัพท์ไร้สาย GSM นั้นไว้วางใจไม่ได้มาตั้งนานแล้ว แต่นักวิจัยด้านความปลอดภัยชาวเยอรมัน 3 คน ได้แก่ Nico Golde, Kévin Redon และ Jean-Pierre Seifert ค้นพบวิธีแฮ็กที่สามารถล่มระบบเครือข่าย GSM ทั้งเมืองได้อย่างประหยัดด้วยโทรศัพท์มือถือธรรมดาเพียง 11 เครื่อง และรายงานวิธีดังกล่าวในงาน USENIX Security Symposium ครั้งที่ 22
ก่อนที่จะเข้าใจว่าวิธีของพวกเขาทั้งสามทำกันอย่างไร เราต้องทราบก่อนว่าโทรศัพท์มือถือของเราไม่ได้เปิดการเชื่อมต่อแนบชิดกับเครือข่ายตลอดเวลา แต่ส่วนใหญ่มันจะอยู่ในสภาวะ standby รอว่าเครือข่ายจะเรียกหาเมื่อไร ฉะนั้นเมื่อมีคนโทรศัพท์หรือส่งข้อความ sms หาเรา มันจะมีขั้นตอนที่สามารถสรุปคร่าวๆ ได้ดังนี้
Verizon Wireless โอเปอเรเตอร์มือถือหมายเลขหนึ่งของสหรัฐ เป็นกิจการร่วมทุนระหว่าง Verizon Communications ของสหรัฐกับ Vodafone ของอังกฤษ
ล่าสุดมีข่าวว่า Verizon Communications เจรจาซื้อหุ้น 45% ที่ Vodafone ถืออยู่ใกล้เสร็จแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนการอนุมัติจากบอร์ดของทั้งสองบริษัทเท่านั้น ราคาเสนอซื้ออยู่ที่ 130 พันล้านดอลลาร์ โดยจะแบ่งจ่ายเป็นทั้งเงินสดและหุ้นของ Verizon Communications
ในแง่ผลกระทบกับลูกค้าคงไม่เยอะนัก เพราะ Verizon Communications เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Verizon Wireless อยู่แล้ว ทิศทางธุรกิจคงไม่เปลี่ยนจากเดิมมากนักในระยะสั้น
ส่วน Vodafone จะได้เงินสดเข้ามาช่วยลดหนี้ของบริษัทและสามารถนำไปลงทุนเพิ่มในยุโรป แต่ก็เสียธุรกิจด้านโทรคมนาคมในสหรัฐไป
เมื่อวานนี้ (29 ส.ค.) น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีไอซีที ในฐานะเจ้ากระทรวงกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ TOT และ CAT เข้าหารือกับ กสทช. โดยเสนอให้แก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการโทรคมนาคม 3 ฉบับ
เหตุผลของรัฐมนตรีคือกฎหมายเหล่านี้มีความขัดแย้งกันเอง ทำให้การออกประกาศของ กสทช. มีปัญหาตามไปด้วย โดยเบื้องต้นทางกระทรวงไอซีทีกับ กสทช. จะตั้งคณะกรรมการร่วมกันพิจารณา ก่อนจะส่งให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป
วันนี้ 29 สิงหาคม 2556 ราชกิจจานุเบกษาได้ลง
"ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ๒๕๕๖"
แล้ว ซึ่งคงความคุ้มครองผู้ใช้บริการต่อไปอีกหนึ่งปีตามที่เป็นข่าวเพื่อให้ทันการประมูลในเดือนกันยายน 2557 และเมื่อเทียบกับร่างของคณะอนุ 1800 ชุดที่สอง (ดูข่าวเก่า Blognone) แล้วจะมีส่วนสำคัญที่ต่างกันและน่ารู้สำหรับผู้ใช้บริการทั่วไป คือ
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ออกใบอนุญาตการให้บริการ Wi-Fi ความถี่ 2.4GHz แก่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อนำไปบริการผู้โดยสารบนเครื่องบิน
ก่อนหน้านี้การบินไทยเคยยื่นขอใบอนุญาตทั้ง Wi-Fi และโทรศัพท์มือถือ แต่กฎหมายของไทยกำหนดว่าใบอนุญาตมือถือต้องใช้การประมูลเท่านั้น ทาง กทค. จึงอนุญาตเฉพาะ Wi-Fi ไปก่อน
ขั้นต่อไป การบินไทยจะต้องเลือกบริษัทผู้ให้บริการ Wi-Fi อีกทีหนึ่ง คาดว่าจะเริ่มเปิดบริการเดือนกันยายนนี้ (รอเช็คข่าวอย่างเป็นทางการจากการบินไทยอีกทีหนึ่งครับ)
ที่มา - ประชาชาติธุรกิจ
ถัดจากค่ายแดง ก็เป็นทีของค่ายเขียว AIS ที่ GSM 1800 จะหมดสัญญาสัมปทานพร้อมกันในวันเดียวกัน โดยกรณีของ AIS หรือดิจิตอลโฟน ได้ออกประกาศปลดพันธะทุกอย่าง ซึ่งผู้ใช้บริการจะยังคงสามารถใช้บริการได้ตามปกติจนถึง 15 กันยายน พ.ศ. 2557 ตามประกาศความคุ้มครองของกสทช. ก่อนที่จะ Switch Off เครือข่ายลงครับ
เมื่อเร็วๆ นี้ทาง dtac เพิ่งนัดพบบรรดาบล็อกเกอร์มาพูดคุยกับผู้บริหารว่าสถานการณ์ตอนนี้ว่าเป็นอย่างไร แน่นอนว่าประเด็นสำคัญคงหนีไม่พ้น dtac TriNet ที่เพิ่งทยอยปล่อยให้เริ่มใช้เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม
ก่อนอื่น ต้องบอกก่อนว่าประกาศนี้มีผลกับ ลูกค้าทรูมูฟ (ไม่เอช) ทุกคนนะครับ
เมื่อวานนี้ทรูมูฟได้ส่งข้อความประชาสัมพันธ์เรื่องการสิ้นสุดการให้บริการเครือข่ายทรูมูฟ (ไม่เอช) เนื่องจากการหมดสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHz กับ กสท. โทรคมนาคม โดยใจความสำคัญของประกาศดังกล่าวก็คือ ทรูมีนโยบายออกมาว่าจะโอนถ่ายลูกค้าทรูมูฟที่เหลือทั้งหมดไปยัง "ทรูมูฟเอช" โดยอัตโนมัติซึ่งก็ได้เริ่มโอนถ่ายไปตั้งแต่เมื่อวานนี้แล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ลูกค้าของทรูทุกคนครับ
ดีแทค TriNet เปิดให้ลูกค้า "กลุ่มบริการพิเศษ" ซึ่งก็คือ ลูกค้าที่ใช้บริการข้ามแดนอัตโนมัติ, มัลติซิม, Group Bill, แอร์การ์ด เริ่มทยอยโอนย้ายและรับซิมใหม่ได้ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคมนี้ หลังจากในระยะแรกเปิดให้เฉพาะกลุ่มลูกค้าปกติทำการการโอนย้ายมาสู่ TriNet
กระบวนการโอนย้ายจะเหมือนกับกลุ่มลูกค้าปกติ โดยจะเริ่มวันที่ 8 สิงหาคม ลูกค้าสามารถติดต่อเปลี่ยนซิมการ์ดที่ศูนย์บริการแล้วรอรับ SMS ตอบกลับจากระบบเพื่อทำการโอนย้าย ซึ่งคาดว่ามีลูกค้ากลุ่มบริการพิเศษราว 7-8 แสนรายที่ต้องเปลี่ยนซิมการ์ด
ที่ประชุมบอร์ดโทรคมนาคม (กทค.) ของ กสทช. วันนี้ (31 ก.ค. 56) เห็นชอบ "กรอบระยะเวลา" การดำเนินการสำหรับคลื่น 1800MHz ชุดที่สัมปทานจะสิ้นสุดลง โดยจะกำหนดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ในช่วงกลางเดือนถึงปลายเดือนกันยายน 2557
ประเด็นเรื่องการสิ้นสุดสัมปทาน 1800MHz ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลกระทบในวงกว้าง และมีนักวิชาการออกมาแสดงความเห็นเรื่องนี้กันพอสมควร
ผมไปเจอสไลด์นำเสนอของคุณวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง จากโครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม (NBTC Policy Watch) คิดว่าสไลด์มีเนื้อหาครบถ้วน ได้ประเด็นชัดเจน จึงติดต่อขอสไลด์จากคุณวรพจน์มาเผยแพร่ต่อบน Blognone ครับ
นอกจากสไลด์แล้วยังมีบทความประกอบด้วย สามารถอ่านได้ท้ายบทความ (หรือดาวน์โหลดเอกสารฉบับ PDF)
จากกรณีปัญหาการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800MHz ในวันที่ 15 กันยายนนี้ (บทความชุด ตอนที่ 1, ตอนที่ 2, ตอนที่ 3) วันนี้โครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับส่วนงาน กสทช. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา สำนักงาน กสทช. จัดงานประชุมเรื่อง "ปัญหาทางกฎหมายกรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800MHz และแนวทางการแก้ไขปัญหา" ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผมไปร่วมงานมาด้วย เลยจดประเด็นที่นักวิชาการด้านกฎหมายนำเสนอ + อัดเสียงพูดในงานสัมมนามาเผยแพร่ เพื่อเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไปครับ
ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นข่าวใหญ่ประจำวงการโทรคมนาคมประจำวันเลยทีเดียว เมื่อ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ร่วมกับ สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ส.พรท.) โดยมี สหภาพฯ กสท. โทรคมนาคม สหภาพฯ ทีโอที และสหภาพฯ อสมท. รวมไปถึงสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจอีก 41 แห่ง เพื่อร่วมมือกันลงนามและยื่นหนังสือ ถอดถอน กสทช. หรือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ทั้งคณะ แก่วุฒิสภาในวันที่ 6 สิงหาคมนี้ครับ
รายงานข่าวจากเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ The New York Times ระบุว่า บริษัทวิจัยด้านความปลอดภัยในประเทศเยอรมนีตรวจพบช่องโหว่ในการเข้ารหัสของซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือที่ใช้การเข้ารหัสแบบ D.E.S. (Data Encryption Standard) ที่ใช้มาตั้งแต่ช่วงปี 1970 ซึ่งทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถดึงเอารหัสดิจิตอลของซิมการ์ดจำนวน 56 หลักออกมา และสามารถใช้ซิมการ์ดนั้นเสมือนว่าเป็นของตนเองได้ทันที
ความเดิมตอนที่ 1: อธิบายปัญหาการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz ของ TRUE และ DPC
ปัญหาการสิ้นสุดสัมปทาน 1800MHz มีองค์กรที่มีส่วนได้เสียโดยตรง 4 ฝ่าย ซึ่งแต่ละฝ่ายก็มีจุดยืนต่อปัญหาแตกต่างกันไป บทความตอนที่สองนี้จะมาย้อนดูว่าข้อเสนอของแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไรบ้าง ส่วนวิธีไหนจะเวิร์คไม่เวิร์ค สมเหตุสมผลหรือไม่ ก็ขึ้นกับผู้อ่านจะตัดสินครับ
สัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยที่เกิดขึ้นพร้อมกับอุตสาหกรรมมือถือในบ้านเรา กำลังจะสิ้นสุดลงชุดแรกในวันที่ 15 กันยายน 2556 นี้ (เจ้าของสัมปทานคือ CAT Telecom ส่วนผู้รับสัมปทานคือ True Move และ DPC/GSM1800)
การที่มันเป็นสัญญาสัมปทานชุดแรกที่จะสิ้นอายุ บวกกับการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยจากระบบสัมปทาน (รัฐวิสาหกิจ-เอกชน) มาเป็นระบบใบอนุญาต (กสทช-เอกชน) ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมายเต็มไปหมด ซึ่งผู้อ่าน Blognone เองน่าจะพอทราบกันมาบ้างจากสื่อต่างๆ
ปัญหาเรื่องคลื่น 1800MHz มีความซับซ้อนสูงมาก (โดยเฉพาะประเด็นเรื่องกฎหมาย) บทความนี้จะอธิบายที่มาที่ไปของปัญหานี้ ก่อนจะเข้าสู่รายละเอียดให้มากขึ้นในบทความต่อๆ ไปครับ
นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เสนอความคิดต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เรื่องโครงการแจกแท็บเล็ตให้กำนันทั่วประเทศ จำนวน 10,000 เครื่อง เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารได้ทันที เมื่อเกิดปัญหาหรือความไม่สงบภายในพื้นที่ ซึ่งจะใช้งบประมาณเหลือจ่ายของกรมการปกครอง โดยสั่งให้นายชวน ศิรินันท์พร อธิบดีกรมการปกครอง ดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนอธิบดีจะเกษียณอายุราชการปลายเดือนกันยายน 2556
นอกจากนี้ ยังเตรียมปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการประชุมผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกลหรือระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ที่ใช้ติดต่อกับผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อลดปัญหาความล่าช้าในการสื่อสาร
ชื่อบริษัทอาจไม่ดังในบ้านเราเท่าไรนัก แต่ Polycom ถือเป็นบริษัททำระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์รายใหญ่ของโลก (ก่อตั้งปี 1990 และขายหุ้นอยู่ใน NASDAQ) วันนี้ทาง Polycom จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวระบบการสนทนาวิดีโอผ่านเบราว์เซอร์ ผมเห็นว่าน่าสนใจดีเลยไปเก็บข้อมูลมาฝากครับ
เนื่องจากบริษัท Polycom ไม่เคยมีข่าวใน Blognone มาก่อน ดังนั้นขอเริ่มด้วยสไลด์แนะนำตัวของ Polycom ก่อนนะครับ
Polycom เริ่มทำธุรกิจจากฮาร์ดแวร์สำหรับประชุมทางไกลด้วยเสียง (conference call) ก่อนจะขยับมาทำฮาร์ดแวร์วิดีโอคอลล์ และภายหลังก็ขยายจากฮาร์ดแวร์อย่างเดียวมาเป็นซอฟต์แวร์และโซลูชันด้านวิดีโอด้วย
ก่อนหน้านี้ Canonical ประกาศตั้งกลุ่ม Carrier Advisory Group บริษัทที่ร่วมกำหนดทิศทางของ Ubuntu Touch/Phone โดยมีสมาชิกตั้งต้นเป็นโอเปอเรเตอร์ 8 รายจากประเทศต่างๆ (ข่าวเก่า)
ล่าสุดกลุ่ม Carrier Advisory Group มีสมาชิกเพิ่มอีก 3 ราย โดยสองรายแรกเป็นโอเปอเรเตอร์ไม่ระบุชื่อจากสหรัฐและออสเตรเลีย ส่วนรายสุดท้ายคือ Smartfren (หรือ Smart Telecom) โอเปอเรเตอร์รายเล็กของอินโดนีเซียที่ใช้เครือข่าย CDMA และเน้นตลาดอินเทอร์เน็ตบนมือถือเป็นหลัก
ถึงแม้ Ubuntu Touch จะยังไม่สำเร็จเป็นรูปเป็นร่างมากนัก แต่การได้พันธมิตรเข้าร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ถือเป็นสัญญาณอันดีว่าแพลตฟอร์มนี้จะมีโอกาสอยู่รอดมากขึ้น