นางสาวรัตตยา กุลประดิษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทซินโนเวท ประเทศไทย จำกัด บริษัทวิจัยระดับโลก เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของวัยรุ่นอายุ 8-24 ปี จาก 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ประกอบด้วยจีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และไทย ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา พบว่า
คงได้เห็นกันไปแล้วสำหรับ iPod Nano รุ่นใหม่ที่บอกลา Click Wheel ไปเป็นหน้าจอแบบสัมผัส ซึ่งนอกจากความสามารถที่เพิ่มเข้ามาใหม่หลายอย่างแล้ว iPod Nano รุ่นที่ 6 นี้ยังพูดภาษาไทยได้ด้วย
ถ้าเข้าไปดูในหน้า Technical Spec ของ iPod Nano จะพบว่า Voice Over ได้เพิ่มภาษาไทยเข้าไปด้วย โดย Voice Over คือความสามารถในการรับฟังและสั่งการทำงานเครื่องด้วยเสียง เช่นกดฟังว่าตอนนี้เล่นเพลงอะไรอยู่ ใครเป็นคนร้อง ส่วนการสั่งการนั้น เราสามารถสั่งให้เครื่องเล่นเพลงถัดไป หยุด หรือขอให้เล่นเพลงที่คล้ายกับเพลงที่เล่นอยู่ได้
เมื่อเช้าวานนี้ผมนั่งอ่านบทความ "อะไรบ้างที่เป็นจุดเด่นและจุดด้อยใน Windows Phone 7" (What's hot (and not) about Windows Phone 7) ซึ่งมีตอนหนึ่งของบทความกล่าวถึงการแสดงผลภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษก็ยังทำได้ดี และก็ดูอัลบั้มภาพของบทความประกอบไปด้วย ผมสังเกตเห็นว่าภาพที่ 5 ในอัลบั้มที่กล่าวถึงการแสดงผลภาษาอื่นในกล่องจดหมายขาเข้า (inbox) นั้นมีอีเมล "ภาษาไทย" ปรากฏอยู่ด้วย และดูเหมือนว่าเครื่องจะแสดงผลโดยใช้ฟอนต์ Tahoma ได้ดีทีเดียว หากไม่นับถึงการตัดคำซึ่งผู้เขียนใน C|Net ไม่ได้โชว์ภาพข้อความลักษณะดังกล่าวไว้ (ลองดูภาพได้ท้ายข่าว)
เมื่อวันที่ 30 ส.ค. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการ 3.9G กล่าวภายหลังปิดรับการยื่นซองประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 กิกกะเฮิร์ต (ไลเซ่นส์ 3G) และใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 ว่า มีบริษัทเอกชนสนใจเข้าร่วมยื่นซองแสดงความจำนงเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตฯ ทั้งหมด 4 ราย แต่มีบริษัทเอกสารครบเพียง 3 รายได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวิร์ค จำกัด บริษัทลูกของ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) บริษัท ดีแทค อินเทอร์เน็ต เซอร์วิส บริษัทลูกของ บมจ.
ขอรวบ 2 ข่าวเช่นเคย
เมื่อวานนี้คิดว่าหลายคนน่าจะเห็นโฆษณาทางทีวีตัวใหม่ของ True Online กันแล้ว ก็อย่างที่ทราบกันว่าเมื่อตอนต้นเดือนมีข่าวทรูประกาศอัพความเร็วของลูกค้า 4 Mbps/512 Kbps ไปเป็น 6 Mbps/512 Kbps ในราคา 599 บาทต่อเดือนนั้น เมื่อวานนี้ทรูก็ได้ประกาศโปรโมชั่นใหม่อย่างเป็นทางการ นั่นคือ Basic และ Premium ทุกแพ็คเกจอัพขึ้นแพ็คเกจละ 2 Mbps (สุดที่ 16 Mbps ซึ่งลดราคาลง 200 บาท) แต่กรณีของ Basic ตั้งแต่ความเร็ว 8 Mbps ขึ้นไป จะได้อัพโหลดความเร็ว 1 Mbps แทน ซึ่งจะเท่า Premium Package
คุณปรีย์มน ปิ่นสกุล ประธานกรรมการ บริษัท ศูนย์ให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์ จำกัด กล่าวว่า ผู้ประกอบการทุกรายได้วางระบบนัมเบอร์พอร์ตฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะเริ่มทดสอบระบบระหว่างกันตั้งแต่ 1 ก.ย. เป็นต้นไป โดยระยะเวลาในการทดสอบระบบจะขึ้นอยู่กับปัญหาที่เจอ
เขายังกล่าวเสริมว่าที่ผ่านมาไม่มีประเทศใดที่ทดสอบแล้วไม่เจอปัญหา ซึ่งจากประสบการณ์ของต่างประเทศจะใช้เวลาทดสอบโดยเฉลี่ยราว 4–5 เดือน ดังนั้นคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ตามแผนการที่วางไว้คือภายในสิ้นปี 2553
ที่มา: มติชนออนไลน์
กสท โทรคมนาคม ประกาศความสำเร็จขั้นต้นของบริการ CAT CDMA จากเดิมที่ในขณะนี้มีผู้สนใจใช้บริการถึงสามแสนเจ็ดหมื่นราย มีอัตราการใช้บริการขั้นต่ำต่อเดือน 500 บาท แต่ถึงยังไงทาง CAT CDMA ก็ยังเป็นห่วงในเรื่องของตลาดที่ในขณะนี้ทางฝั่ง GSM นั้นมีการแข่งขันสูง และทางฝั่ง CDMA ก็ยังมีตลาดแค่ในกลุ่มฟีเจอร์โฟนกับระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (ที่มากกว่า EDGE) เท่านั้น
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา คณะกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือกทช. ได้เปิดเผยรายชื่อบริษัทเอกสนที่สนใจเข้าประมูล 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz ที่ได้เข้ามาขอรับซองประมูลแล้วไปแล้วจำนวน 8 บริษัท แต่ก็ยังคาดหวังว่าจะมีนักลงทุนชาวต่างชาติจะเข้าร่วมประมูลในครั้งนี้ด้วย
โดย 8 บริษัทที่เข้ารับการประมูลในครั้งนี้คือ
งานเข้าอย่างจังสำหรับเหล่าสาวก BB ทั้งหลาย เมื่อ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ในฐานะประธานคณะทำงาน 3G เปิดเผยว่า จากกรณีที่ในหลายประเทศ อาทิ ซาอุดีอาระเบีย อินเดีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีปัญหาเรื่องการใช้งานและการจัดเก็บข้อมูลการสื่อสารผ่านโทรศัพท์ BlackBerry หรือ BB ของประชาชนในประเทศ จนเกรงว่าจะกระทบต่อความมั่นคงภายในของประเทศดังกล่าว เนื่องจากข้อมูลที่สื่อสารกันผ่านโครงข่ายโทรศัพท์ BB ทั้งหมด จะถูกนำไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ของ RIM ที่ประเทศแคนาดาเจ้าของโครงข่าย BB
ต่อจากข่าว บอร์ด กทช. ยืนยัน Number Portability ต้องใช้ได้ 1 กันยายนนี้ ซึ่งมีข่าวว่าผู้ให้บริการขอเลื่อนเป็น 1 พฤศจิกายนแทน เพราะทำระบบไม่ทัน
แต่การประชุมบอร์ด กทช. ในสัปดาห์ถัดมา กทช. ยังยืนยันมติเดิมว่า Number Portability ต้องเปิดบริการได้ในวันที่ 1 กันยายน ถ้าทำไม่ทันผู้ให้บริการจะโดนปรับวันละ 20,000 บาท และถ้าเป็นเหตุสุดวิสัยจริงๆ ผู้ให้บริการต้องไปร้องต่อศาลปกครองกันเอง
นอกจากนี้ กทช. บางคนยังมีแนวคิดว่าจะ "ตัดสิทธิ์" การเข้าประมูลคลื่น 3G ด้วย หากผู้ให้บริการยังไม่สามารถเปิด Number Portability ได้ เพื่อให้เอกชนปฏิบัติตามกฎระเบียบของ กทช. อย่างเคร่งครัด แต่เรื่องนี้ต้องรอเข้าบอร์ด กทช. อีกครั้งหนึ่ง
ผมได้รับหมายเชิญจาก HTC สำหรับงานแถลงข่าวเปิดตัวมือถือ Android ระดับกลาง-ล่างในประเทศไทย วันที่ 19 สิงหาคมนี้
ตัวแรก HTC Aria มือถือระดับกลาง หน้าจอ 3.2" ความละเอียด 320x480, กล้อง 5MP, ซีพียู 600 MHz (สเปกแบบเต็มๆ ดูในข่าวเก่า HTC Aria: Android ระดับกลางจาก HTC )
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยถึง เงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ให้บริการตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ว่า มีหลายประเด็นที่ควรมีการพิจารณา เช่น
ขอรวบ 2 ข่าวนี้เป็นข่าวเดียวนะครับ
เหตุของการอัพเกรดสปีดอินเตอร์เน็ตทั้ง 2 ค่ายนี้ ก็เริ่มมาจากการยิงโปรโมชั่น 5 Mbps ในราคา 590 บาท/เดือนของ 3BB ที่ได้พันธมิตรใหม่เป็น JAS ซึ่งหลังจากที่ 3BB ออกโฆษณาผ่านโทรทัศน์ได้ไม่กี่วัน True Online ก็เป็นค่ายแรกที่ยิงออกมาด้วยการประกาศใน Facebook ของ True Online
โดยทางทรูได้ประกาศว่าจะทำการอัพเกรดความเร็วของลูกค้าในแพ็คเกจ 4 Mbps/512 Kbps ให้เป็น 6 Mbps/512 Kbps ในราคาปกติคือ 599 บาท/เดือน (คนที่ใช้ 4 Mbps/1 Mbps หรือ Online Premium ยังไม่แน่ใจว่าจะปรับให้หรือไม่นะครับ) ซึ่งก็เริ่มปรับความเร็วให้แล้วตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา
กทช. ออกร่างประกาศฯ ว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว และกำหนดจะให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะสำหรับร่างประกาศฯ นี้ในวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2553 (ดูรายละเอียดได้ที่ กทช.)
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ รองเลขาธิการ กทช. แถลงข่าวมติที่ประชุมบอร์ด กทช. เมื่อวานนี้ (4 สิงหาคม 2553) ว่า กทช. ยังยืนยันให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทุกเจ้า เริ่มให้บริการคงสิทธิเลขหมาย หรือที่เราเรียกกันว่า number portability ในวันที่ 1 กันยายนนี้เช่นเดิม แม้ผู้ให้บริการจะขอเลื่อนเป็นวันที่ 1 มกราคม 2554 ก็ตาม
เหตุผลที่ผู้ให้บริการขอเลื่อนได้แก่ ภูเขาไฟระเบิดที่ประเทศไอซ์แลนด์, ความไม่สงบทางการเมืองของไทย และปัญหาเทคนิคทำให้การขนส่งอุปกรณ์โทรคมนาคมล่าช้า
นอกจากนี้บอร์ด กทช. ยังมีมติเรื่องการครอบงำกิจการโทรคมนาคม-อำนาจเหนือตลาด (ที่สำคัญไม่แพ้กัน) อ่านเพิ่มได้ตามลิงก์ที่มาครับ
ที่มา - ไทยรัฐ
ข่าวสั้นๆ แต่เต็มไปด้วยเสียงเฮครับ หลังจากที่ กทช. ได้ส่งใบอนุญาต 3G ไปให้ทางราชกิจจานุเบกษาทำการพิจารณาเพื่อลงประกาศบังคับใช้นั้น ขณะนี้ทางราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศใบอนุญาต 3G จำนวน 3 ใบเรียบร้อยแล้ว
คนแถวนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก Chrome และคงลองใช้กันหมดแล้ว (ใช้จริงหรือเปล่าอีกเรื่องนึง) วันนี้กูเกิลได้แถลงข่าวเปิดตัว Chrome อย่างเป็นทางการครั้งแรกในไทย ซึ่งก็คงช่วยให้คนรู้จัก (และหันมาใช้) Chrome กันมากขึ้นครับ
งานจัดที่ True Cafe สาขา Digital Gateway ผมเก็บภาพบรรยากาศมาฝากนิดหน่อย
พวกนี้คงรู้กันหมดแล้ว ไปเร็วๆ เน้นแต่ภาพพอนะครับ
หลังจากที่มีข่าวลือหนาหูว่อนในวงการมือถือว่า เบอร์ 1 ของไทยอย่าง AIS จะร่วมลงสนามขาย iPhone ร่วมกับอีก 2 ค่ายอย่าง Dtac และ Truemove ซึ่งตอนนี้ก็มีข่าวยืนยันออกมาแล้วครับว่า AIS ได้บรรลุข้อตกลงเรื่อง iPhone 4 กับ Apple เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะเปิดขายภายในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ โดยไม่ได้หวังจะเอามาใช้กับคลื่น 3G 900MHz ที่ตัวเองมีอยู่เดิม (iPhone 4 รองรับคลื่นนี้) แต่หวังว่าจะใช้ได้อย่างดีที่สุดบน ระบบ 3.9G บนคลื่นความถี่ 2100MHz หรือ LTE ที่ กทช. จะเปิดให้ประมูลกันในปลายเดือนนี้
กำหนดวันยื่นซองประมูล 3G แล้วครับ 30 สิงหาคมนี้ ราคาเริ่มต้นประมูล 12,800 ล้านบาท และจะเปิดประมูล 22-28 กันยายน โดยการไปโรดโชว์รอบแรกที่จีน-เกาหลี-ญี่ปุ่น ได้รับความสนใจจากบริษัท โคเรีย เทเลคอม (Korea Telecom) จากเกาหลี และบริษัทเทเลคอมมาเลเซีย ส่วนทางไชน่า โมบาย และไชน่า ยูนิคอมจากจีนก็สนใจแต่ต้องไปขออนุญาตจากรัฐบาลจีนก่อน และ กทช. เตรียมไปเยือนบริษัทเทเลคอมในโซนยุโรป อินเดีย และดูไบ ในสัปดาห์หน้าด้วย
สี่เรื่องในข่าวเดียว
อย่างแรก หลังจาก กทช. ออก ร่างหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาต 3G, รับฟังความเห็นสาธารณะ และปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์ สุดท้าย กทช. ได้นำร่างหลักเกณฑ์ฉบับปรับปรุงมาออกเป็น ประกาศ กทช. เรื่อง "หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz" ฉบับสมบูรณ์ และรอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
กสท เตรียมอนุมัติให้ดีแทคและทรูมูฟสามารถพัฒนาบริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิม คาดดีเดย์ให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ 29 กรกฎาคมนี้ครับ จากที่เคยมีมติให้ทรูมูฟยกเลิกการทดลองให้บริการเพราะทำผิดเงื่อนไข เนื่องจากให้บริการนอกพื้นที่ที่ขออนุญาต (ข่าวเก่า) รวมทั้งไม่อนุญาตให้ดีแทคขยายบริการ HSPA เชิงพาณิชย์กว่า 1,000 สถานี
โดย กสท ให้เหตุผลว่าเพื่อจูงใจให้ผู้ให้บริการทั้งสองรายพัฒนาโครงข่ายเดิมต่อไปซึ่งจะทำให้ กสท มีรายได้จากส่วนแบ่งในสัญญาสัมปทานมากขึ้น เนื่องด้วย กสท เห็นว่ายังไงก็ตาม ผู้ประกอบการจะเข้าประมูล 3G อยู่แล้ว ก็มีความเห็นว่าควรจะใช้ประโยชน์จากสัญญาสัมปทานที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด
รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านได้จากที่มาครับ
แม้เราจะได้ยินข่าวการที่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ จะสามารถเปลี่ยนเครือข่ายผู้ให้บริการได้โดยใช้หมายเลขเดิมมาพอสมควร แต่ดูเหมือนว่าโรคเลื่อนก็ยังถามหามาโดยตลอด ล่าสุดมีความคืบหน้าไปอีกหนึ่งขั้นเมื่อ 3 ผู้ให้บริการรายใหญ่ในประเทศคือ AIS DTAC และ True Move ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯว่าได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อการนี้แล้ว
บริษัท ศูนย์ให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์ จำกัด (Clearing House for Number Portability Co., Ltd.) เป็นการร่วมทุนของผู้ประกอบการ 5 รายได้แก่ 3 รายใหญ่ที่กล่าวข้างต้นและบริษัท กสท. โทรคมนาคมกับบริษัท ทีโอที โดยถือหุ้นร้อยละ 20 เท่ากันหมด และมีทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท
ในหน้า Facebook ของ i-mobile 3GX มีการถามถึงบริการแบบไม่จำกัดปริมาณการใช้งาน และทาง i-mobile ได้ออกมาระบุว่าโปรโมชั่นไม่จำกัดนั้นอยู่ระหว่างการ "ทำระบบ" แม้จะไม่ยืนยันว่าจะสามารถใช้งานได้เมื่อใหร่ก็ตาม
ช่วงปีที่ผ่านมาคนกรุงเทพจำนวนมากคงได้ใช้งาน 3G เป็นช่องทางเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนอกบ้านกันเป็นปรกติ ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งคือทางเลือกสำหรับการใช้งานแบบไม่จำกัดปริมาณนั้นมีเพียงทางเดียวคือบริการของทรูซึ่งไม่ชัดเจนว่าจะสามารถเปิดให้บริการไปได้อีกนานเพียงใด ขณะที่บริการของ TOT และ MVNO ทั้ง 5 รายนั้นไม่มีรายใดให้บริการแบบไม่จำกัดได้เลย ทำให้ 3G ต้องทำหน้าที่เป็นเพียงช่องทางสำรองเท่านั้น
จากข่าว ทรูคิดค่าบริการ EDGE/GPRS แยกตาม connection รวมถึงข่าวเก่าๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานโทรคมนาคมในประเทศไทย ผมคิดว่าผู้อ่าน Blognone มีความตระหนักและตื่นตัวด้านสิทธิผู้บริโภคกันไม่น้อย ซึ่งเป็นเรื่องดีมากที่ผู้บริโภคอย่างเราๆ รู้เท่าทันผู้ให้บริการ
คำถามที่ตามมาคือ ตื่นตัวแล้วไงต่อ?
คุณ GounZ จากห้อง mbk เว็บ Pantip.com ได้รายงานว่าทรูมีการคิดเงินค่าบริการข้อมูลในช่วงเวลาที่ซ้ำซ้อนกัน โดยในระบบรายงานของทรูได้ระบุว่าการคิดเงินช่วงเวลา 8.00 - 8.12 เป็นเวลา 12 นาทีและ 8.04 - 8.16 อีก 12 นาทีทำให้ผู้ใช้ต้องจ่ายค่าบริการรวม 24 นาที
ในรายงานทรูแจ้งว่าเป็นการคิดราคาแยกกันระหว่างการอัพโหลดกับการดาวน์โหลด แต่ในทางปฎิบัติการใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยโปรโตคอล TCP ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะมีการอัพโหลดและดาวน์โหลดแยกจากกันอย่างชัดเจน ดังนั้นแม้จะไม่มีความชัดเจนจากทางทรูแต่ข้อมูลตอนนี้ชี้ว่าทางทรูกำลังคิดค่าใช้งานแบบตามเวลาโดยนับแต่ละ connection แยกจากกัน
คุณ intelligence ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของทรูที่ดูแลตอบคำถามในห้อง mbk ได้ยืนยันว่าการคิดค่าโทรเช่นนี้ถูกต้องแล้ว