หลังจาก กทช. ออกร่างประกาศการออกใบอนุญาต 3G ร่างฉบับแรก และเปิดรับฟังความเห็นไปเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ทาง Blognone ได้ส่งความเห็นไปยัง กทช. กับเขาด้วย
ตอนนี้ กทช. ได้นำความเห็นมาปรับปรุงแล้วออก ร่างประกาศ 3G ร่างฉบับที่สอง (PDF) มาแล้ว รายละเอียดว่ามีอะไรเปลี่ยน อ่านได้จากข่าว กทช. ประกาศร่างหลักเกณฑ์ออกใบอนุญาต 3G ฉบับปรับปรุง นะครับ คุณ jows สรุปไว้ดีแล้ว
หลังจากที่ กทช. ได้ออกร่างหลักเกณฑ์ฯ 3G (ดูเอกสารอธิบาย) และจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ที่ผ่านมา (ดู 10 คำถามกับ 3G ฉบับ Blognone และ จดหมายเปิดผนึกถึง กทช.)
เมื่อวันที่ 25 ที่ผ่านมาทางกทช. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเรื่องร่างหลักเกณฑ์การอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ไปแล้ว ในตอนนั้นผมได้ร่างความเห็นและประเด็นที่ผมกังวลให้ mk และคนในกลุ่มบางคนไป แต่เนื่องจากงานในวันนั้นคนเยอะมาก mk ซึ่งไปร่วมงานจึงไม่ได้ขึ้นพูด แต่ก็ไม่มีปัญหาเพราะทางกทช. เปิดให้เราส่งอีเมลเข้าไปได้
บทความนี้จึงเป็นประเด็นต่างๆ ที่ผมกังวลถึงหลักเกณฑ์ในประเด็นต่างๆ ที่อาจจะมีปัญหาในอนาคตได้ โดยมี 2 ประเด็นคือการใช้งาน Femtocell และเกณฑ์การควบคุมคุณภาพบริการ
ขณะที่ร่างฉบับนี้สนับสนุนการแข่งขันค่อนข้างดีในหลักการ เช่นการสนับสนุนการแบ่งปันเครือข่าย และการทำ MVNO อย่างไรก็ตามมีประเด็นเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นมาหลายปีแล้วนั่นคือ Femtocell
อย่างที่เขียนไปหลายทีแล้วว่า 3G ในไทยกำลังเข้าใกล้ความเป็นจริง โดยวันที่ 25 มิ.ย. นี้ กทช. จะเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะเรื่อง 3G ก่อนเริ่มกระบวนการประมูล
คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ออกประกาศเรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2553 ที่ผ่านมา ในประกาศฉบับนี้ก็ไม่ได้พูดถึงรายละเอียดมากมายนัก ส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงแค่หลักการคร่าวๆ ถึงแม้จะคลอดออกมาช้ากว่าตัว พรบ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เกือบ 10 ปี แต่มาช้าก็ยังดีกว่าไม่มาครับ ^^
โดยเนื้อหาของประกาศฉบับนี้ไม่ได้มีเรื่องอะไรที่ทำให้แปลกใจ แต่ก็ศึกษาไว้เป็นความรู้นะครับ อาจจะใช้เป็นแนวทางในการจัดการระบบสารสนเทศในองค์กรได้
การประมูล 3G/3.9G ของประเทศไทยงวดเข้ามาทุกที ในขั้นตอนต่อไป กทช. จะเปิดรับฟังความเห็นจากสาธารณะ ว่า "ร่าง" หลักเกณฑ์ที่ กทช. เสนอออกมา มีจุดบกพร่องอะไรบ้าง งานจะมีขึ้นในวันที่ 25 มิถุนายนนี้ และจะเปิดรับความเห็นจนถึงวันที่ 28 มิถุนายน ก่อนที่ กทช. จะออกหลักเกณฑ์ฉบับจริง เพื่อเปิดประมูลกันต่อไป
การประมูล 3G เป็นเรื่องที่ซับซ้อนที่ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจไม่น้อย ก่อนหน้านี้ผมเคยลงเอกสาร-ไฟล์มัลติมีเดียไว้ให้ 2 ตอน
เมื่อสัปดาห์ก่อนผมมีโอกาสได้ไปงานรับฟังความเห็นเรื่อง Broadband Wireless Access ของ กทช. ส่วนสัปดาห์นี้ได้ไปงานใกล้เคียงกัน แต่เป็นการรับฟังความเห็นด้าน 3G
ต้องปูพื้นสักนิดนะครับว่า การออกใบอนุญาต 3G ของ กทช. นั้นมีการรับฟังความเห็นหลายวงมาก รอบล่าสุดนี้หลังจาก กทช. ออก "ร่าง" หลักเกณฑ์การออกใบอนุญาต 3G ก็จะมีการรับฟังความเห็นวงใหญ่มาก (1,000+ คน) ในวันศุกร์หน้า (25 มิ.ย.) ส่วนงานที่ผมเพิ่งไปมา เป็นการรับฟังความเห็นจากเครือข่ายผู้บริโภค ที่จัดโดย สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ซึ่งเป็นลูกคนหนึ่งของ กทช. อีกทีครับ
คราวก่อนผมเปิดให้ฝากคำถามถึง กทช. ไป ปรากฎว่าพอไปร่วมงานแล้วมันไม่ใช่อย่างที่คาดไว้เท่าไรนัก (แต่ก็ได้คำตอบมาฝากกันบ้าง) เลยมารายงานประเด็นแบบสรุปๆ แทนละกันครับ
เรื่องที่เรากำลังคุยกันนี้มีชื่อเรียกว่า Broadband Wireless Access (ตัวย่อ BWA) อธิบายง่ายๆ มันคือ "อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ถึงบ้านแบบไม่ต้องมีสาย" ครับ มันจะถูกนำมาใช้แทน (หรือเติมเต็ม) ADSL นั่นเอง
หลังจากต่อสู้ฝ่าฟันกันมายาวนาน ล่าสุดทาง กทช. ได้ออก ร่าง หลักเกณฑ์การอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G และเผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์แล้ว
ช่วงนี้ถึงวันที่ 25 มิถุนายน กทช. จะรับฟังความเห็นจากประชาชนต่อร่างหลักเกณฑ์ฉบับนี้ ผู้สนใจสามารถส่งความเห็นได้ทางอีเมล แฟกซ์ หรือจดหมาย ไปได้ที่ กทช. หรือจะเข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ในวันที่ 25 มิถุนายนก็ได้เช่นกัน ใครอยากให้ 3G บ้านเราเกิดเร็วๆ ยิ่งสมควรแสดงความเห็นไปยัง กทช. เพื่อความโปร่งใสและรอบคอบยิ่งขึ้นครับ
ร่างหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาต 3G สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ กทช. ครับ
แม้ว่า กทช. ชุดใหม่นี้จะมีความต้องการในการประมูลคลื่นความถี่ที่เอกชนต้องการในการเปิดให้บริการ 3.9G ให้เร็วที่สุดก็ตาม แต่ล่าสุดสมาชิกวุฒิสภาไทยได้ออกมาเรียกร้องว่าสภาควรจะมีส่วนร่วมในขั้นตอนการประมูล
ไทยโพสต์รายงานว่า นายวิทวัส บุญญสถิตย์ ส.ว. รายหนึ่ง ได้ออกมาบอกว่าการประมูลคลื่นความถี่ 3.9G นั้นมีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท ทำให้เข้าข่าย พรบ. ร่วมทุน จึงเห็นว่าสภาควรจะเป็นผู้พิจารณากรอบการประมูลก่อนที่จะยินยอมให้ กทช. ลุย โดยได้อ้างว่า "การที่ กทช. อ้างว่าเป็นหน่วยงานอิสระและไปวางกรอบไลเซนส์เองเพื่อให้เอกชนมาใช้คลื่นความถี่ที่เป็นของรัฐนั้นไม่ถูกต้อง..."
หากสนใจโปรดอ่านต่อจากที่มาที่ไทยโพสต์ครับ แต่ผมเริ่มสงสัยแล้วว่าปัญหาอำนาจของ กทช. นี่ยังไม่เคลียร์อีก?
วันศุกร์นี้ (11 มิ.ย.) ผมจะไปเข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นเรื่อง การอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้สาย (Broadband Wireless Access : BWA) (แปลง่ายๆ ว่ามันคือเรื่อง WiMAX นั่นล่ะครับ) ดังนั้นเป็นโอกาสอันดีที่ใครอยากฝากคำถามถึง กทช. เรื่อง WiMAX (เรื่อง 3G/3.9G ไม่รับเพราะคนละงานกัน) สามารถใส่ไว้ในคอมเมนต์ได้เลย แล้วจะเอาไปถามให้เท่าที่ถามได้ครับ
หมายเหตุ: ก่อนถามลองอ่านข่าวที่เกี่ยวข้องก่อน จะได้ไม่ถามซ้ำ เช่น
หมายเหตุ Blognone: เรายินดีเปิดพื้นที่ให้กับทั้งทางเครือ TAG และ OSDev ชี้แจงข้อมูลจากทั้งสองฝ่ายครับ ถ้าใครมีคนรู้จักทำงานในเครือ TAG ฝากช่วยติดต่อกลับมาที่ผมด้วยครับ - mk
TAG เจ้าของนิตยสารอย่าง PC World Thailand, PC Today และงาน ComWorld ได้ตัดสินใจทิ้งจริยธรรมสื่อไปเมื่อใดไม่มีใครทราบ แต่ปรากฏกิจกรรมที่เจตนาดิสเครดิต OpenOffice.org ด้วยกลยุทธ์ FUD (fear, uncertainty, and disinformation) มาตั้งแต่ต้นปี
เป็นที่ทราบกันในประชาคมโอเพนซอร์สตลอดสองเดือนที่ผ่านมาว่าจะมีการดำเนินการ 5 เรื่อง คือ
วันนี้เป็นวันงาน Intel Insider Day ที่อินเทลจัดขึ้นเพื่อพูดคุยกับบล็อกเกอร์ในไทยนอกเหนือไปจากสื่อมวลชนตามปรกติ ผมขอรายงานประเด็นที่ผมเชื่อว่าน่าสนใจจากการพูดคุยกันในงาน
กทช. เร่งผลักดันให้ออกใบอนุญาต 3.9G เตรียมเปิดประชาพิจารณ์ปลายเดือนนี้ เริ่มประมูลเดือน ส.ค. เสร็จสิ้น ก.ย. หวังให้ได้ใช้กันภายในปีนี้
วันที่ 26 พ.ค. 2553 พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และประธานคณะทำงาน 3.9 จี เริ่มให้ความชัดเจนว่าการประมูลใบอนุญาตจะเสร็จสิ้นประมาณเดือน ก.ย. ปีนี้และคาดว่าคนไทยจะได้ใช้บริการดังกล่าวภายในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ได้มีการจัดรับฟังความคิดเห็นแบบโฟกัสกรุ๊ปไปรอบหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 25 พ.ค. ที่ผ่านมา
กระบวนการสรรหาผู้อำนวยการคนใหม่ของ SIPA มาถึงจุดสิ้นสุด (ข่าวเก่า สรรหาผู้อำนวยการ SIPA เข้มข้น, 7 สมาคมยื่นจดหมายร้องบอร์ด, เผย ชื่อผู้สมัคร ผอ. SIPA 6 รายที่ผ่านคุณสมบัติ) โดยบอร์ด SIPA ได้เลือก นาวาตรีวุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ รองผู้อำนวยการถ่ายทอดเทคโนโลยี SIPA เอง (และอดีตรักษาการ ผอ.) ดำรงตำแหน่ง ผอ. คนใหม่
ผู้สมัครอีกคนที่เข้ารอบสุดท้าย (แต่ไม่ได้รับเลือก) คือนายรอม หิรัญพฤกษ์ อดีตผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย
ที่มา - ไทยรัฐ
วินโดวส์ไลฟ์ (Windows Live) เปิดเผยผลสำรวจเกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคลทางอินเทอร์เน็ต สวัสดิภาพ และความปลอดภัยในการใช้งาน โดยพบว่าปัญหาการหลอกลวงและปองร้ายทางอินเทอร์เน็ตผ่านรูปแบบต่างๆ กำลังเพิ่มขึ้น อาทิ Phishing, Cyber bullying, spIMming และ Scamming ทั้งนี้ ผลสำรวจล่าสุดจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยกว่า 7,000 คน พบว่ามีพฤติกรรม ดังนี้
จากข่าวเก่าเมื่อปีที่แล้วที่นายกฯ มองว่า 3G ไม่ควรล่าช้าไปกว่านี้อีก ถ้าช้าอีกควรเลิกใช้ 3G ไปเลย และมองไปถึงเทคโนโลยีที่ใหม่กว่านั้นแทน ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย
ผ่านไปครึ่งปีวิสัยทัศน์ของนายกฯ และความฝันของคนไทยก็ใกล้ความจริงมากขึ้นเมื่อกทช. มีมติให้ออกใบอนุญาตย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตช์ บนเทคโนโลยี 3.9G ซึ่งมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลเร็วกว่า 3G ถึง 20 เท่า หากไทยสามารถให้บริการได้ภายในปีนี้ก็จะกลายเป็นประเทศแรกในเอเชียพร้อมกับญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันมีบางประเทศในสหภาพยุโรปเท่านั้นที่เปิดบริการแล้ว
ส่วนสาเหตุที่ไม่กระโดดไป 4G นั้นเป็นเพราะ 3.9G นั้นอัพเกรดได้ง่ายกว่าและมีความพร้อมในเชิงพาณิชย์มากกว่า
สองสัปดาห์หลัง กทช. ประกาศระงับประกาศเพื่อศึกษาและฟังความเห็นเพิ่มเติมกรณีการบังคับการคิดค่าบริการให้เท่ากันทั้งในและนอกเครือข่าย เมื่อวานนี้ กทช.ก็ออกมาประกาศว่ามติเดิมจะมีผลต่อไปโดยผู้ให้บริการทั้งหมดจะต้องยกเลิกโปรโมชั่นภายในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ เนื่องจากวันที่ 1 กันยายน จะเป็นวันที่เริ่มให้บริการนัมเบอร์พอร์ท
สำหรับค่าโทรที่จะแพงขึ้นนั้น กทช.ระบุว่าการลดค่าไอซีระหว่างกันน่าจะทำได้ในเวลาไม่นาน โดยทุกวันนี้แม้ค่าบริการระหว่างกันมักจะอยู่ที่นาทีละ 1 บาท แต่การเชื่อมต่อบางคู่เช่น DTAC และ Hutch นั้นก็อยู่ที่ 50 สตางค์เนื่องจากตกลงราคากันไม่ได้จึงต้องใช้ราคากลางของ กทช.
หลังจากเป็นข่าวลือและยืนยันกันออกมาก่อนหน้านี้ กทช. ก็ได้หยุดการบังคับใช้ข้อกำหนดให้ค่าโทรต้องเท่ากันทั้งในและนอกเครือข่ายแล้ว โดยระบุเหตุผลว่าเป็นการ "ขอเวลาพิจารณาข้อมูลจากผู้ประกอบการและผู้บริโภคเพิ่มเติม" และมติที่ออกไปก่อนหน้านี้ยังไม่มีการส่งจดหมายเวียนไปยังผู้ให้บริการ จึงยังไม่มีการบังคับใช้
ผลของการประกาศนี้เนื่องมาจากการหารือกับผู้ประกอบการ ส่วนประเด็นการพิจารณาข้อมูลจากผู้บริโภคนั้นยังไม่ชัดเจนว่าจะมีการจัดรับฟังความคิดเห็นในประเด็นนี้หรืออย่างใด
ที่มา - กทช.
ยี่ห้อไทยๆ อย่าง WellcoM เน้นกลยุทธ์พูดน้อยของเยอะอีกครั้ง เมื่อเริ่มส่ง A68 และ A69 ที่เปิดตัวพร้อมๆ กับ A88 รุ่นพี่ โดยทั้งสองรุ่นเปิดตลาดในราคา 5,990 บาท
ที่น่าเสียดายคือทั้งสองรุ่นจะมาพร้อมกับ Android 1.5 และตามข่าวก่อนหน้านี้คือมันจะไม่มี Google Experience มาให้ ทำให้ไม่สามารถลงซอฟต์แวร์ผ่าน Android Market ได้
คาดว่า Wellcom น่าจะวางตัวให้มันมาแทนที่โทรศัพท์กลุ่ม Featured Phone ที่ใช้ J2ME แต่อย่างไรก็ดีช่วงราคาของโทรศัพท์รุ่นที่ใช้ J2ME เหล่านั้นอยู่ในช่วง 3-4,000 บาทเท่านั้น ช่องว่างของราคาจึงอาจจะทำให้ต้องคิดใหม่กันอีกครั้ง
แต่เอาจริงๆ ต่อให้สเปคนี้แต่ถ้ามันลง Android 2.2 ได้ผมว่ามันก็ขายได้อยู่ดีนะ (เอามาเล่น Push แทน BB ได้สบาย)
WellcoM ประกาศผ่านทาง Facebook ว่าจะอัพเกรดระบบปฏิบัติการ Android ของโทรศัพท์มือรุ่น A88 จากเวอร์ชัน 1.6 ไปเป็นเวอร์ชัน 2.1 โดยจะเปิดให้อัพเกรดทางเป็นทางการได้ทุกเครื่องในเดือนสิงหาคมนี้
และในช่วงนี้ WellcoM ยังแจก "ซองซิลิโคนกันกระแทก" ให้ลูกค้าฟรี โดยให้ไปสงทะเบียนที่เว็บไซต์ของ Wellcom
ปล. ผมว่าช้ามาก... ตอนนั้นยี่ห้ออื่นคงใช้ Android 2.2 กันหมดแล้ว
ที่มา - Wellcomclub
หลังจากเป็นข่าวลือมาตั้งแต่เมื่อวานนี้ วันนี้ทาง กทช. โดยนายพิทยาพล จันทนะสาโร รองเลขาธิการ กทช. ก็ออกมาให้ข่าวแล้วว่า บอร์ดมีมติให้ผู้ให้บริการทั้งหมดต้องให้บริการในราคาเท่ากัน ทั้งการโทรในเครือข่ายและนอกเครื่อข่ายจริง โดยมีเหตุผลว่าโดยทั่วไปแล้วผู้ใช้มักไม่รู้ว่ากำลังโทรไปยังเครือข่ายใด โดยค่าโทรที่กำหนดไว้นั้นจะต้องไม่เกิน 3 บาทต่อนาที
จุดน่าสนใจของเรื่องนี้คือการที่นายพิทยาพลกล่าวถึงเรื่องการตั้งราคาค่าโทรตามเวลา ว่าเป็นเรื่องเล็กและจะมีการลงมติในเรื่องนี้อีกครั้ง ทำให้น่าสนใจว่าหากผู้บริโภคไม่รู้ว่ากำลังโทรไปเครือข่ายใด ผู้บริโภคก็อาจจะไม่รู้ด้วยว่าค่าโทรแต่ละเวลาเป็นเท่าใดหรือไม่ในความคิดของ กทช.
มีข่าวอย่างไม่เป็นทางการออกมาว่าบอร์ดกทช. กำลังมีมติเพื่อบังคับให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทั้งหมดยกเลิกโปรโมชั่นโทรราคาถูกภายในเครือข่าย โดยข่าวนี้มีการเปิดเผยจากนายธนา เธียรอัจฉริยะ ผู้บริหารทางฝั่ง DTAC ส่วนทางด้าน AIS และ Truemove นั้นยังไม่มีการออกมาให้ความเห็นในกรณีนี้ แต่ค่อนข้างแน่ชัดว่าจะมีคำสั่งนี้จริง
ผมไม่แน่ใจเหตุผลของการออกคำสั่งนี้นัก อย่างไรก็ตามหากค่าบริการภายในเครือข่ายไม่สามารถถูกไปกว่าค่าบริการข้ามเครือข่ายได้ นั่นจะหมายความว่าเราจะไม่สามารถใช้ค่าบริการที่ถูกกว่าค่าบริการระหว่างผู้ให้บริการเก็บกันเองหรือค่า IC ไปได้เพราะไม่เช่นนั้นหากลูกค้าโทรข้ามเครือข่ายจำนวนมากๆ ก็จะกลายเป็นว่าผู้ให้บริการขาดทุนไป
มีรายงานข่าวไม่ยืนยันจากทาง MXPhone ว่า Samsung WAVE S8500 ที่เพิ่งมีรีวิวโดย mk ไปนั้นจะวางขายในเดือนหน้า เนื่องจากต้องการหลบฉากให้กับ Samsung Galaxy S ที่จะเปิดตัวในเดือนนี้ ส่วนราคานั้นจะอยู่ที่ 14,000-15,000 บาท
ถ้าข่าวนี้เป็นจริง คงต้องบอกว่า WAVE จะเป็นตัว "ทำลายเกม" ของสงครามสมาร์ตโฟนในตอนนี้เลยทีเดียว ด้วยฮาร์ดแวร์ที่พอๆ กับสมาร์ตโฟนรุ่นสูงๆ ของค่ายอื่นๆ แต่ราคาระดับนี้จะอยู่ในระดับกลาง-สูงเท่านั้น
อย่างไรก็ตามราคานี้เป็นราคาที่ขัดกับเมืองนอกพอสมควร เพราะเมื่อต้นปีทางซัมซุงประกาศราคาของ WAVE ไว้ที่ 579 ดอลลาร์หรือเกือบๆ สองหมื่นบาท แต่นับแต่การเปิดให้สื่อมวลชนเข้าทดสอบ ทางซัมซุงท่องคาถา "ไม่แพงเกินเอื้อม" อยู่เรื่อยมา