แอปเปิลยื่นเรื่องขอจดเครื่องหมายการค้าในชื่อ "Night Shift" ฟีเจอร์ตัดแสงสีฟ้าที่มาใน iOS 9 ในสหรัฐและฮ่องกง โดยรายละเอียดในเอกสารนั้นบ่งชี้ว่า แอปเปิลอาจนำฟีเจอร์นี้ไปใช้ในอุปกรณ์อื่นๆ อย่าง Macs, CarPlay และ Apple Watch
ในเอกสารที่แอปเปิลยื่นไปยังสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐอเมริกา (USPTO) มีการพูดถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่แอปเปิลจะนำฟีเจอร์นี้ไปใช้ โดยประเภทอุปกรณ์ที่เขียนส่วนใหญ่ ไม่มีอยู่จริงและดูไม่มีความเป็นไปได้ที่จะนำฟีเจอร์นี้ไปใช้ อย่างเช่น ถุงเท้าที่ให้ความร้อน (electrically heated sock) หรือแม้แต่ชิปประมวลผลก็ตาม ซึ่งเหตุผลของการระบุอุปกรณ์ดังกล่าวในเอกสาร ก็เพื่อปกปิดความลับของบริษัท
สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐอเมริกา (USPTO) ให้การรับรองสิทธิบัตร Cover Attachment with Flexible Display ซึ่งเป็นสิทธิบัตรเกี่ยวกับ Smart Cover ใหม่ของแอปเปิล ที่ได้เพิ่มความสามารถของ cover ให้ smart มากยิ่งขึ้น
สิทธิบัตรใหม่ของแอปเปิล มีการเพิ่มเซ็นเซอร์เข้าไปใน Smart Cover ทำให้ด้านนอกสามารถรองรับการเขียนจาก Apple Pencil ขณะที่สิทธิบัตรอีกตัว มีการเพิ่มแผงโซลาเซลล์ลงไปใน Smart Cover เพื่อให้พลังงานแก่ iPad รวมถึงทำให้ Smart Cover กลายเป็นหน้าจอสัมผัสและคีย์บอร์ดสำหรับ iPad ได้ในตัวเอง
dual boot หรือการทำให้คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องสามารถใช้งานระบบปฏิบัติการได้ 2 ระบบ เป็นอะไรที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์คุ้นเคยกันดี แต่ในโลกของอุปกรณ์พกพาอาจไม่คุ้นเคยกันมากนัก ทั้งนี้ เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา ทางไมโครซอฟท์ก็ได้จดสิทธิบัตรอันหนึ่งในชื่อ "Multi-OS boot via mobile device" ซึ่งหากเพียงเห็นชื่อก็คงต้องนึกถึงเพียงการ dual boot แต่สิทธิบัตรนี้ไปไกลกว่านั้น
ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาเตรียมที่จะแต่งตั้ง Michelle Lee อดีตนักกฎหมายด้านคดีความสิทธิบัตรของ Google มาเป็นผู้อำนวยการคนใหม่ของ USPTO (สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐอเมริกา)
Lee ออกจาก Google มาทำงานให้ USPTO ในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานประจำ Silicon Valley ตั้งแต่ปี 2012 และในขณะนี้เธอก็ได้ปฏิบัติหน้าที่รักษาการแทนผู้อำนวยการของ USPTO มาตั้งแต่เดือนมกราคม หลังจากผู้อำนวยการคนก่อน David Kappos อดีตฝ่ายกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาของ IBM ได้ออกจากตำแหน่งไปตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ของปีที่แล้ว
เมื่อปลายปีที่แล้ว สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐ หรือ USPTO ได้ออกมาตัดสินขั้นแรกว่าสิทธิบัตรมัลติทัช (หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า “สิทธิบัตรสตีฟ จ็อบส์”) ของแอปเปิล ไม่สามารถทำมาใช้ได้จริง แต่ล่าสุดมีทางสำนักงานฯ ได้ออกใบประกาศสิทธิให้แก่แอปเปิลอีกครั้ง หลังจากการตรวจสอบความถูกต้องและข้อเท็จจริงอีกครั้งตามคำเรียกร้องของซัมซุงและกูเกิล เพื่อเป็นการยืนยันอีกครั้งว่าแอปเปิลเป็นเจ้าของเทคโนโลยีนี้จริง
มีรายงานว่า USPTO ประกาศยกเลิก หนึ่งในกลุ่มสิทธิบัตรที่เป็นลูกรักของแอปเปิล ซึ่งนั่นก็คือสิทธิบัตร Pinch to Zoom หรือการขยับนิ้วเพื่อย่อหรือขยายรูปภาพ หน้าเว็บไซต์ และเอกสารต่างๆ ครับ
นานๆ จะมีข่าวลักษณะนี้ เมื่อ USPTO หน่วยงานผู้ดูแลเรื่องสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐอเมริกามีคำตัดสินในเบื้องต้นว่าจะยกเลิกสิทธิบัตรของ Apple ว่าด้วยเรื่องเทคนิคการแสดงภาพแบบโปร่งใสบนหน้าจอคอมพิวเตอร์
สิทธิบัตรฉบับที่ว่าซึ่งมีหมายเลข RE41,922 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแสดงผลกราฟิกบนหน้าจอคอมพิวเตอร์โดยการเรนเดอร์ภาพให้มีลักษณะแบบโปร่งใส ตัวอย่างหนึ่งที่ใช้เทคนิคนี้ คือการทำงานแบบหลายหน้าต่างที่เปิดซ้อนทับกัน ซึ่งหน้าต่างหลักที่ถูกใช้งานอยู่จะแสดงผลแบบทึบแสง ในขณะที่หน้าต่างอื่นๆ ที่ซ้อนทับอยู่ด้านบนก็จะมีลักษณะแบบโปร่งแสงนั่นเอง
ความคืบหน้าของคดีสิทธิบัตรระหว่างออราเคิล-กูเกิลครับ ต้องย้อนความสักนิดก่อนว่าหลังจากที่สองบริษัทเจรจากันเองไม่สำเร็จ คดีก็เดินหน้าต่อไป
กลยุทธของกูเกิลคือใช้ "เทคนิค" ยื่นคำร้องให้สำนักงานสิทธิบัตรของสหรัฐ (USPTO) ตีความสิทธิบัตรที่ออราเคิลใช้ฟ้องว่าเป็นสิทธิบัตรที่สมเหตุสมผลหรือไม่ (เรียกว่า re-examination) ซึ่งเป็นเทคนิคมาตรฐานที่ใช้กันในคดีสิทธิบัตรของสหรัฐ