เมื่อประมาณต้นเดือนมีนาคมไมโครซอฟท์ได้ออกอัพเดตเวอร์ชัน 1.32 ให้ Visual Studio Code มาพร้อมการปรับปรุงหลายอย่าง
การปรับปรุงที่น่าสนใจอย่างแรกคือ การเพิ่มความสามารถให้ IntelliSense แสดงผลคำอธิบาย ARIA attribute และ DOM event ขณะเขียนโค้ด HTML (ใช้ข้อมูลจาก W3C และ MDN) ซึ่งจะช่วยให้นักพัฒนาเว็บเลือกใช้งาน attribute ข้างต้นได้สะดวกกว่าเดิม
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio 2019 รุ่นทดสอบชุดสุดท้าย Release Candidate (RC) ก่อนจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 เมษายน 2019 ซึ่งถ้าไม่พบปัญหาอะไรสำคัญ รุ่น RC จะถูกใช้เป็นรุ่น Generally Available (GA)
ของใหม่ใน VS2019 มีหลายอย่าง ที่สำคัญมีดังนี้
เมื่อประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ไมโครซอฟท์ได้ออกอัพเดตเวอร์ชัน 1.31 ให้กับ Visual Studio Code มาพร้อมกับความสามารถใหม่และการปรับปรุงที่น่าสนใจหลายอย่าง
อย่างแรกคือการเปลี่ยนมาใช้ tree widget ตัวใหม่ตามแผนพัฒนาปี 2019 ของทีม VS Code เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและเพิ่มความสามารถใหม่ๆ ให้กับ tree (ทั้งในส่วนของ File Explorer, Debug, Search และ Peek References) ตัวอย่างเช่น
เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ออกอัพเดตให้กับ Windows Template Studio วิซาร์ดสำหรับขึ้นโครงร่างแอพ Universal Windows Platform ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอพต้นแบบซึ่งพร้อมให้นำไปแก้ไขและทดลองรัน ผ่านการตัวเลือกต่างๆ ได้ภายในไม่กี่คลิก
โดยใน WTS เวอร์ชัน 3.0 ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ ต่อจากนี้เป็นต้นไปโค้ดของแอพที่ได้รับการสร้างโดย WTS จะออกมาในลักษณะ multi-project solution ซึ่งหมายความว่าแอพ UWP ตัวหนึ่งจะประกอบไปด้วยโปรเจ็กต์หลายโปรเจ็กต์ภายในโซลูชั่นเดียว
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตเวอร์ชัน 1.30 ให้กับ Visual Studio Code มาพร้อมความสามารถใหม่และการปรับปรุงหลายอย่าง
การเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจในอัพเดตนี้อย่างแรกคือเพิ่มหน้า References view บน Side Bar เพื่อใช้กับการแสดงผลการค้นหาโค้ดด้วยเมนูคลิกขวา Find All References โดยเฉพาะ (บางท่านอาจเคยใช้งานในชื่อ List All References ซึ่งเป็นเมนูทดลองบนเวอร์ชันก่อน) ช่วยให้ค้นหาการอ้างอิงโค้ดในลักษณะดังกล่าวทำได้สะดวกกว่าการแสดงผลขึ้นมาลอยทับตัว editor แบบเดิม
ไมโครซอฟท์ปล่อย Visual Studio 2019 Preview 1 ให้ดาวน์โหลดกันแล้ว โดยมีฟีเจอร์เปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือทำงานร่วมกับ Git ได้เป็นเนื้อเดียวกัน ไอคอน clone โค้ดจาก GitHub หรือ Azure Repos นั้นอยู่ก่อนไอคอนเปิดโปรเจคหรือสร้างโปรเจคใหม่เสียอีก
การใช้งานฟีเจอร์ลึกๆ สามารถใช้ช่อง search ตัวใหม่ที่มาแทน Quick Launch โดยความเปลี่ยนแปลงคือสามารถหาฟีเจอร์เจอได้แม้จะพิมพ์ผิดไปเล็กน้อย, ฟีเจอร์ IntelliCode สามารถปรับแต่งให้เข้ากับโครงการที่เราทำงานอยู่ และแชร์โมเดลให้กับทีมงานได้, และ Live Share ฝังอยู่ในตัวโดยไม่ต้องลงปลั๊กอินเพิ่มเติมแล้ว
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้ Visual Studio Code ขยับเวอร์ชันเป็น 1.29 มาพร้อมฟีเจอร์ใหม่และการปรับปรุงหลายอย่าง
ฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจอย่างแรกคือการรองรับการค้นหาโค้ดหลายบรรทัดด้วย regular expression โดยเมื่อผู้ใช้ค้นหาโค้ดด้วยสัญลักษณ์ \n (ซึ่งมีความหมายแทนการขึ้นบรรทัดใหม่) VS Code จะช่วยแสดง block ของโค้ดที่ตรงตามเงื่อนไข ช่วยให้นักพัฒนาค้นหาโค้ดที่ต้องการได้สะดวกขึ้น
Microsoft ประกาศแผนเตรียมปิดบริการ HockeyApp บริการปล่อยทดสอบแอพเวอร์ชันเบต้า และเก็บรายงานการแครช โดยแนะนำให้ผู้ใช้ไปใช้งาน Visual Studio App Center แทน
Microsoft ระบุว่า ทางบริษัทได้นำฟีเจอร์ต่าง ๆ จาก HockeyApp รวมเข้ากับ App Center อยู่เรื่อย ๆ และจะเสร็จสมบูรณ์ใน 16 พฤศจิกายนปีหน้า โดยข้อมูลฟีเจอร์บน App Center สามารถติดตามได้จาก Feature Roadmap ว่าฟีเจอร์ไหนที่มีแล้ว และฟีเจอร์ไหนที่แพลนว่าจะทำ
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้กับ Visual Studio Code เป็นเวอร์ชัน 1.27 มาพร้อมการปรับปรุงหลายอย่าง
การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดในอัพเดตนี้คือการปรับหน้า Settings ของ VS Code จากเดิมที่ใช้วิธีแก้ไขไฟล์ settings.json มาเป็น GUI ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงการตั้งค่าต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
แต่ถ้าท่านใดใช้แบบเก่าจนคุ้นชินแล้วก็ยังสามารถสลับกลับไปใช้หน้า Settings เดิมได้ได้ผ่านการตั้งค่าที่ใช้ชื่อว่า "workbench.settings.editor"
เมื่อกลางเดือนสิงหาคมไมโครซอฟท์ได้ออกอัพเดตให้ Visual Studio 2017 เป็นเวอร์ชัน 15.8
ของใหม่ที่น่าสนใจอย่างแรกคือการเพิ่มฟีเจอร์แก้ไขโค้ดทีละหลายตำแหน่ง (Multi-caret editing) ที่อาจฟังดูไม่ใหม่ซักเท่าไหร่สำหรับท่านที่เคยใช้งาน code editor ตัวอื่นๆ มาก่อน แต่นี่นับว่าเป็นครั้งแรกของ Visual Studio รุ่นใหญ่ที่ได้เริ่มใส่ฟีเจอร์ดังกล่าวให้ใช้งานโดยไม่ต้องติดตั้ง extension เพิ่มเติม
นักพัฒนาจะสามารถใช้คีย์ลัดเช่น Ctrl + Alt ร่วมกับคลิกซ้ายเพื่อเพิ่มเคอร์เซอร์ ณ ตำแหน่งที่ต้องการ ก่อนเริ่มลงมือแก้ไขโค้ดตำแหน่งที่มีเคอร์เซอร์วางอยู่ไปพร้อมๆ กัน เข้าไปดูคีย์ลัดที่มีให้ใช้ทั้งหมดได้ที่เมนู Edit > Multiple Carets
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้กับ Visual Studio Code ขยับเวอร์ชันเป็น 1.26 มาพร้อมกับของใหม่และการปรับปรุงหลายอย่าง
ของใหม่ที่น่าสนใจอย่างแรกคือการเพิ่ม breadcrumb เข้ามาที่ด้านบนของ editor ช่วยแสดงตำแหน่งที่อยู่ของเคอร์เซอร์ปัจจุบันเทียบกับพาธของไฟล์และโครงสร้างของโค้ด และยังสามารถคลิกที่ breadcrumb เพื่อเลือกโฟลเดอร์, ไฟล์ หรือตำแหน่งของโค้ดที่ต้องการเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็ว เปิดใช้งานได้ที่เมนู View > Toggle Breadcrumbs
ในงาน Microsoft Build 2018 เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว IntelliCode ฟีเจอร์ช่วยเติมโค้ดที่ใช้ความสามารถของ AI ซึ่งจะช่วยให้ Visual Studio แนะนำโค้ดได้อย่างแม่นยำกว่าเดิม โดยในขณะนั้น IntelliCode ยังถูกจำกัดใช้งานไว้เพียงแค่ Visual Studio 2017 ที่เป็นรุ่นใหญ่และยังใช้ได้กับภาษา C# เท่านั้น
ตอนนี้ก็ได้เวลาของนักพัฒนาสายโอเพ่นซอร์สกันบ้าง เมื่อไมโครซอฟท์ได้ดำเนินการเพิ่มฟีเจอร์ IntelliCode ให้กับ Visual Studio Code เป็นที่เรียบร้อย โดยมาในรูปแบบของส่วนเสริมให้นักพัฒนาดาวน์โหลดไปติดตั้ง สามารถใช้กับภาษา Python ได้เป็นภาษาแรก
ผู้ใช้ Visual Studio คงคุ้นเคยกับฟีเจอร์ช่วยแนะนำการเขียนโค้ด IntelliSense กันเป็นอย่างดี ล่าสุดไมโครซอฟท์จะเปิด IntelliSense ให้กับ IDE ตัวอื่นๆ ที่ไม่ใช่ของตัวเองแล้ว
เบื้องหลังการทำงานของ IntelliSense ในยุคปัจจุบัน ไม่ได้รันอยู่บน Visual Studio โดยตรง แต่รันบน Language Server ที่ทำหน้าที่อ่านและวิเคราะห์โค้ดในแต่ละภาษา แล้วส่งข้อมูลกลับไปยังตัว IDE ผ่าน Language Server Protocol (LSP) ที่ใช้ฟอร์แมตแบบ JSON
ไมโครซอฟท์พัฒนา Language Server Protocol (LSP) ขึ้นมาเพื่อใช้กับ Visual Studio Code สามารถเพิ่มภาษาใหม่ๆ ได้ง่าย เพราะเพียงแค่เพิ่มเซิร์ฟเวอร์ของภาษาใหม่มาอีกตัวเท่านั้น
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้ Visual Studio Code ขยับเวอร์ชันเป็น 1.25 มาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่และการปรับปรุงหลายอย่าง
การปรับปรุงที่น่าสนใจอย่างแรกคือการเปลี่ยนเลย์เอาต์ของ editor ไปใช้ระบบ grid ทำให้สามารถแบ่งส่วนหน้าต่างได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอนในเวลาเดียวกัน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับการใช้หน้า editor ไปอย่างมาก
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้กับ Visual Studio Code ขยับเลขรุ่นเป็น 1.24 มาพร้อมกับการปรับปรุงและความสามารถใหม่ให้เริ่มทดลองใช้งานหลายอย่าง
ของใหม่ที่น่าสนใจอย่างแรกคือการปรับปรุงให้ VS Code สามารถเปิด workspace เดียวกันได้ทีละหลายหน้าต่าง ผ่านคำสั่ง Duplicate Workspace in New Window ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากเมื่อต้องการใช้งาน VS Code บนจอมอนิเตอร์มากกว่าหนึ่งจอ
ไมโครซอฟท์ประกาศแผนการออก Visual Studio 2019 แล้ว ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของฟีเจอร์ที่ชัดเจน แต่ภาพรวมก็เป็นเรื่องของประสิทธิภาพที่ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน การทำงานร่วมกันระหว่างทีมที่ดีขึ้น (เช่น Live Share) และความฉลาดที่ช่วยงานได้มากขึ้น (เช่น IntelliCode)
Visual Studio 2019 ยังไม่มีกำหนดการออกที่ชัดเจน (ตามสูตรปกติของไมโครซอฟท์คือภายในปีนี้) แต่รุ่นพรีวิวจะสามารถติดตั้งขนานไปกับ Visual Studio 2017 ได้เลย
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้ VS Code ขยับเลขเวอร์ชันเป็น 1.23 มาพร้อมกับการปรับปรุงหลายอย่าง
โดยมีของใหม่ที่น่าสนใจอย่างแรกคือการเพิ่มสีไฮไลท์ให้กับเส้นไกด์ย่อหน้า ช่วยให้นักพัฒนาไล่ดูจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของโค้ดภายใต้ block เดียวกันได้สะดวกขึ้น
นักพัฒนาที่ใช้ Visual Studio คงรู้จักฟีเจอร์ช่วยเติมโค้ด IntelliSense กันเป็นอย่างดี ล่าสุดไมโครซอฟท์ยกระดับมันอีกขั้น และเปลี่ยนชื่อเป็น IntelliCode
จุดแตกต่างสำคัญของ IntelliCode คือไมโครซอฟท์เทรน AI ให้อ่านโค้ดคุณภาพระดับ 100 ดาวบน GitHub กว่า 2,000 โครงการเพื่อศึกษาว่าโค้ดที่ดีเป็นอย่างไร จากนั้นนำโมเดลที่เรียนได้มาประยุกต์ใช้กับโค้ดที่เรากำลังเขียนอยู่
สิ่งที่ IntelliCode จะทำให้เราคือช่วยแนะนำโค้ดจาก API อย่างแม่นยำมากขึ้น เหมาะกับบริบทและสถานการณ์ของโค้ดในแต่ละบรรทัดที่แตกต่างกันออกไป แถม IntelliCode จะยังช่วยเราเขียนคอนฟิกไฟล์ .editorconfig ให้เหมาะกับสไตล์การเขียนโค้ดของเรา เพื่อให้โค้ดออกมาเป็นระเบียบและสม่ำเสมอด้วย
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้ Visual Studio Code ขยับเลขรุ่นเป็น 1.22 โดยมาพร้อมกับการปรับปรุงใหม่ๆ หลายอย่าง
การปรับปรุงที่น่าสนใจของอัพเดตนี้อย่างแรกคือ code folding ให้สามารถซ่อน / แสดงโค้ดตาม syntax ของภาษา CSS, HTML, JSON และ Markdown ได้โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องอาศัยการจัดย่อหน้าโค้ดด้วยตัวเองอย่างเวอร์ชันก่อนๆ
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้ Visual Studio Code ขยับเลขรุ่นเป็น 1.21
สิ่งใหม่ที่น่าสนใจของอัพเดตนี้อย่างแรกคือการปรับปรุง UI ในส่วนของ notification จากเดิมที่เป็นแถบลอยขึ้นมาในส่วนบนของ VS Code ซึ่งหลายครั้งมักจะทับการแสดงผลแท็บทำให้นักพัฒนาจำเป็นต้องจัดการปิด notification ณ ขณะที่แจ้งเตือนเลย
โดยได้เปลี่ยนมาเป็นตัวจัดการ notification ที่สามารถซ่อนและเรียกดูอีกครั้งเมื่อไหร่ก็ได้ด้วยการกดที่ไอคอนระฆังที่มุมล่างขวาของ VS Code และยังได้ย้ายการแสดงผลมาไว้ในบริเวณเดียวกันอีกด้วย
Chrome 64 เปลี่ยนคอมไพล์เลอร์จาก Microsoft Visual C++ (MSVC) มาเป็น Clang ให้เหมือนกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ได้แก่ macOS, iOS, Linux, Chrome OS, Android, และ Windows
เหตุผลสำคัญในการเปลี่ยนคอมไพล์เลอร์คือการรวมคอมไพล์เลอร์เข้ามาเป็นตัวเดียวเพื่อลดระยะเวลาการพัฒนาลง เพราะโปรแกรมเมอร์มักคุ้นกับการคอมไพล์บนแพลตฟอร์มที่ตัวเองดูแลอยู่เท่านั้น เมื่อโค้ดคอมไพล์ไม่ผ่านบนแพลตฟอร์มอื่นการแก้ไขก็จะใช้เวลานาน
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้ Visual Studio Code ตัวแก้ไขโค้ดฉบับโอเพนซอร์สครั้งใหญ่ขยับเลขรุ่นเป็น 1.20
ของใหม่ที่น่าสนใจที่เพิ่มเข้าในอัพเดตนี้อย่างแรกคือ การปรับปรุงแถบ Explorer ให้สามารถเลือกไฟล์ได้ทีละหลายไฟล์ ด้วยการใช้คีย์ Ctrl/Cmd หรือ Shift + การคลิกเมาส์ ช่วยให้สามารถลบ/ลากเพื่อย้ายโฟลเดอร์ทีละหลายไฟล์ หรือจะลากเพื่อนำไฟล์ทั้งชุดไปเปิดบนแถบ editor ใหม่ก็ทำได้
และหากเลือกไฟล์ขึ้นมาเพียงสองไฟล์ก็จะสามารถใช้คำสั่ง Compare Selected บนเมนูคลิกขวาเพื่อช่วยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสองไฟล์ที่เลือกได้อย่างรวดเร็ว
เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้กับ Windows Template Studio เครื่องมืออำนวยความสะดวกให้กับการเริ่มต้นพัฒนาแอพ Universal Windows Platform ด้วยการทำหน้าที่เป็นวิซาร์ดช่วยขึ้นโครงร่างแอพผ่านตัวเลือกต่างๆ จนได้แอพ UWP ที่สามารถเป็นตัวอย่างพร้อมให้นำไปแก้ไขและทดลองรันได้ภายในไม่กี่คลิก
โดยใน WTS เวอร์ชัน 1.7 ไมโครซอฟท์ได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่เข้ามาอย่างการรองรับ Prism framework และเพิ่มการรองรับภาษาที่ไมโครซอฟท์ให้ความสำคัญรองลงมาอย่างภาษา Visual Basic
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้ Visual Studio 2017 เป็นเวอร์ชัน 15.5
ของใหม่ที่สำคัญคือประสิทธิภาพที่ดีขึ้นแทบทุกด้าน การโหลดไฟล์โซลูชันขนาดใหญ่ (C#/VB) ใช้เวลาน้อยลงถึงครึ่งหนึ่ง ส่วนเวลาที่ใช้สลับระหว่างโหมดีบั๊กและรีลีิสก็ลดลงเช่นกัน และเวลาที่ใช้ unfold เทมเพลตก็อาจเร็วขึ้นถึง 40 เท่า
ในแง่ฟีเจอร์ก็มีของใหม่หลายอย่าง เช่น historical debugging หรือการย้อนกลับไปยัง breakpoint ก่อนหน้าเพื่อดูสถานะของตัวแปรอีกครั้ง, รองรับ Docker แบบ multi-stage, การจัดการรหัสผ่านที่ใช้ล็อกอินเข้าฐานข้อมูลหรือเว็บเซอร์วิส เพื่อไม่ต้อง hardcode ไฟล์เหล่านี้, รองรับการทำงานกับ Xamarin Live Player
วิดีโอเปรียบเทียบความเร็วของ VS2017 15.5 vs 15.4
ทีมพัฒนาภาษา C# จาก Microsoft ปล่อยภาษารุ่นต้นแบบ (prototype) มาทดลองความสามารถสำหรับลดปริมาณปัญหาที่เกี่ยวกับ null โดยเฉพาะ ด้วยการเพิ่มชนิดข้อมูลใหม่ (type) ที่คล้ายกันภายใต้ชื่อว่า nullable มาให้เลือกใช้งาน
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดความสามารถนี้มาทดลองเล่นได้ผ่าน GitHub
ส่วนใครสงสัยว่า nullable คืออะไร มีบทบาทอย่างไรในการแก้บั๊ก เชิญอ่านต่อข้างในได้เลย