ไมโครซอฟท์โชว์ฟีเจอร์ Hot Reload ตัวใหม่ของ Visual Studio 2022 Preview 2 ที่รองรับทั้งการเขียน .NET และ C++ แบบเนทีฟ
Hot Reload เป็นฟีเจอร์ของ IDE หลายตัวที่ช่วยให้แก้โค้ดแล้วเห็นการเปลี่ยนแปลงทันที ไม่ต้องรอรีสตาร์ตโปรแกรมที่เขียนอีกครั้ง ทำให้จังหวะการทำงานของโปรแกรมเมอร์เร็วขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม การทำ Hot Reload ขึ้นกับภาษาและแพลตฟอร์มที่ใช้งานด้วย
ก่อนหน้านี้ Visual Studio รองรับ Hot Reload เฉพาะการเขียน .NET และ XAML สำหรับส่วน UI เท่านั้น รอบนี้ไมโครซอฟท์กลับไปทำการบ้านมาใหม่ ให้ Hot Reload เวอร์ชันใหม่รองรับการเขียนโปรแกรมหลากหลายมากขึ้น ได้แก่
ไมโครซอฟท์เริ่มเปิดทดสอบ Visual Studio 2022 ฝั่งพีซีมาสักพัก ฝั่งของ Visual Studio 2022 for Mac ก็เริ่มเปิดทดสอบแบบ Private Preview กันแล้ว
การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่สุดของ Visual Studio 2022 for Mac คือการปรับมาใช้ UI แบบเนทีฟของ macOS โดยตรง ช่วยให้ประสบการณ์ใช้งานดีขึ้น ลื่นขึ้น แก้ปัญหาด้านประสิทธิภาพและเสถียรภาพ รวมถึงได้ฟีเจอร์ด้าน accessibility จากตัว OS โดยตรงด้วย
ไมโครซอฟท์บอกว่าขอเวลาแก้บั๊กสำคัญๆ อีกระยะหนึ่ง และจะเปิดทดสอบแบบ Public Preview ตามมาในไม่ช้า
ที่มา - Microsoft
กูเกิลเปิดชุดซอฟต์แวร์ Android Game Development Kit (AGDK) ชุดเครื่องมือที่รวมเครื่องมือย่อยๆ อีกหลายตัวเพื่อให้นักพัฒนาเกมสามารถพัฒนาเกมบนแอนดรอยด์ได้ง่ายขึ้น
ชุดพัฒนาประกอบไปด้วยส่วนขยายสำหรับ Visual Studio ที่นักพัฒนาเกมใช้งานเป็นหลักอยู่แล้ว, ไลบรารี Game Activity สำหรับการเชื่อมเกมเข้ากับแอนดรอยด์ ไม่ว่าจะเป็นอินพุตผ่านคอนโทรลเลอร์หรือการรับข้อความ, ชุดปรับแต่งประสิทธิภาพ ตรวจสอบการทำงานจีพียูและระยะเวลาที่ใช้โหลดเกมหรือประสิทธิภาพในการรัน
เครื่องมือทั้งหมดเปิดให้ดาวน์โหลดแล้ววันนี้
ที่มา - YouTube: Android Developers
จากที่ไมโครซอฟท์ประกาศไว้ว่า Visual Studio 2022 เป็น 64 บิตแล้ว รองรับแรมเกิน 4GB วันนี้ Visual Studio 2022 version 17.0 Preview 1 เปิดให้ทดสอบแล้ว
ของใหม่นอกจากเรื่อง 64 บิต ได้แก่
พบกันทุกสามปี ไมโครซอฟท์เปิดตัว Visual Studio 2022 เวอร์ชันพรีวิว ส่วนตัวจริงจะออกช่วงกลางปีนี้
จุดเด่นที่สุดของ Visual Studio 2022 คือเป็นแอพพลิเคชัน 64 บิตเต็มรูปแบบ ทำให้ไม่ถูกจำกัดเรื่องแรม 4GB อีกต่อไปแล้ว จะเปิดโซลูชันใหญ่ขนาดไหนก็แล้วแต่สะดวก ถ้าแรมถึงเงินถึง (ตัวเลขของไมโครซอฟท์ระบุว่าเปิดโซลูชันที่มี 1,600 โปรเจคต์ และ 300,000 ไฟล์ได้สบาย)
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio 2019 v16.8 ของใหม่ที่สำคัญคือ รองรับ .NET 5.0 และยกเครื่องฟีเจอร์ Git ครั้งใหญ่ และใช้ Git เป็น default version control
UI ใหม่มีตั้งแต่เมนู Git แบบใหม่แยกเฉพาะของตัวเอง พร้อมปุ่มลัด Alt+G, หน้าต่างสร้าง repo โฉมใหม่, การดูรายชื่อไฟล์จาก Git ใน Solution Explorer, เพิ่มหน้าต่าง Git repo แบบเต็มจอ, ปรับปรุงหน้าจอ merge conflict และเพิ่มหน้าจอตั้งค่า Git ให้ละเอียดขึ้น
ไมโครซอฟท์บอกว่านี่เป็นเพียงการเริ่มต้นของฟีเจอร์ Git เท่านั้น และจะทยอยเพิ่มฟีเจอร์อื่นๆ เข้ามาในเวอร์ชันถัดๆ ไป
ไมโครซอฟท์มี Visual Studio Codespaces ซึ่งเป็นบริการ IDE (VS Code) ผ่านเว็บ + โฮสต์เซิร์ฟเวอร์สำหรับคอมไพล์ เปิดมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2020 (ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อ Visual Studio Online)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศยุบ Visual Studio Codespaces เข้าเป็นส่วนหนึ่งของบริการแบบเดียวกันแต่คนละแบรนด์คือ GitHub Codespaces
เหตุผลของการยุบคือบริการทั้งสองตัวซ้ำซ้อนกัน และสร้างความสับสน แถมความเห็นจากผู้ใช้งานมองว่าบริการ codespace ลักษณะนี้เหมาะกับการเชื่อมต่อผ่าน repository (GitHub) มากกว่า IDE (Visual Studio) ไมโครซอฟท์จึงตัดสินใจยุบเหลือตัวเดียว และโยกไปอยู่ใต้แบรนด์ GitHub แทน
ความนิยมของ Visual Studio Code กลายเป็นจุดอ่อนของไมโครซอฟท์ เพราะส่วนขยายของภาษาสำคัญๆ กลับมีใน Visual Studio Code มากกว่า Visual Studio ตัวหลัก
ล่าสุดไมโครซอฟท์ทยอยแก้ปัญหานี้ ด้วยการออก Angular Language Service ตามมาให้ Visual Studio แล้ว ทำให้นักพัฒนาบน Visual Studio สามารถใช้ฟีเจอร์ของ editor พวก auto-completion, rename กับภาษา Angular ได้เต็มรูปแบบ
นับเป็นข่าวดีสำหรับนักพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นที่ใช้เฟรมเวิร์คตระกูล ASP.NET เมื่อไมโครซอฟท์ประกาศออก Web Live Preview ส่วนขยายใหม่สำหรับ Visual Studio 2019 เพื่อเพิ่มความสะดวกใหักับการเขียนโค้ดในส่วนที่เป็น UI ของเว็บแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาด้วย ASP.NET
การติดตั้งส่วนขยายดังกล่าวจะช่วยเพิ่มฟังก์ชั่น Edit in Browser ให้ VS 2019 ช่วยซิงก์การเปลี่ยนแปลงโค้ด UI ของเว็บกับการแสดงผลหน้าเว็บบนเบราว์เซอร์ ทำให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ด ASPX (ASP.NET Web Forms) หรือ .cshtml, .vbhtml (ASP.NET MVC Razor) แล้วดูผลลัพธ์จากเบราว์เซอร์ได้ทันที
Visual Studio 2019 16.7 Preview 2 ที่ปล่อยมาวันนี้ นอกจากการรองรับการทดสอบโค้ดบน Kubernetes แล้ว ยังปรับปรุงการพัฒนาซอฟต์แวร์บนลินุกซ์ชุดใหญ่ ทางไมโครซอฟท์ก็เขียนบล็อคแสดงแนวทางการพัฒนา Visual Studio อีกอย่างหนึ่ง นั่นคือการรองรับการพัฒนาซอฟต์แวร์บนลินุกซ์เต็มรูปแบบ ด้วยแนวทาง 3 แนวทาง คือการรองรับ CMake บนลินุกซ์, การเชื่อมต่อ gdbserver, และการปรับปรุงการเชื่อมต่อ SSH
การรองรับ CMake บนลินุกซ์เริ่มรองรับตั้งแต่ Visual Studio 2019 version 16.6 Preview 3 ผ่านเอนจิน Ninja ข้อดีของมันคือทำงานได้เร็ว กระบวนการ build โครงการขนาดใหญ่ๆ อาจจะเร็วขึ้นถึงสามเท่าตัว
ไมโครซอฟท์ปล่อย Visual Studio 2019 16.7 Preview 2 โดยมีฟีเจอร์น่าสนใจคือ Local Process with Kubernetes เป็นการโยก microservice ชิ้นที่กำลังพัฒนาอยู่มารันบนเครื่องนักพัฒนาเอง แต่ยังคงสามารถทดสอบร่วมกับ microservice อื่นๆ บนคลัสเตอร์ Kubernetes ได้
ฟีเจอร์นี้ช่วยลดระยะเวลาการทดสอบโค้ดใหม่ จากเดิมที่นักพัฒนาจะต้องสร้างอิมเมจใหม่ไปวางบนรีจิสตรี แล้ว deploy ขึ้นคลัสเตอร์เพื่อทดสอบโค้ด มาเป็นการรันโค้ดบนเครื่องนักพัฒนาโดยตรง แล้วโยก Service ตัวที่กำลังพัฒนาอยู่มารันบนเครื่องแทน โดยมีเงื่อนไขว่าการพัฒนาแบบนี้ Service ที่ใช้งานต้องมี Pod เดียวเท่านั้น นอกจากความสะดวกในแง่ความรวดเร็ว ความง่ายในการพัฒนาดีบั๊กด้วยbreakpoint ก็ทำได้ด้วย
ไมโครซอฟท์โชว์ฟีเจอร์เขียนโค้ดร่วมกัน Visual Studio Live Share มาตั้งแต่ปี 2017 และเริ่มใช้จริงใน Visual Studio 2019
ฟีเจอร์เขียนโค้ดร่วมกันทำให้ทั้งสองฝั่งเห็นหน้าจอเดียวกัน และเห็นเคอร์เซอร์ของอีกฝ่ายว่าอยู่ตรงไหน กำลังพิมพ์อะไร แต่ยังขาดการสื่อสารระหว่างกัน ทำให้การใช้งานจริงจำเป็นต้องสื่อสารทางอื่น (เช่น โทร แชท คอลล์) พร้อมกันไปด้วย
ล่าสุดในงาน Build 2020 ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มฟีเจอร์แชทและคอลล์เสียงมาให้ Live Share ในตัว โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมอื่นเข้าช่วย (ราวกับเป็น Discord) ฟีเจอร์นี้จะเปิดให้ใช้งานในเร็วๆ นี้
ไมโครซอฟท์ออกส่วนขยายสำหรับ Visual Studio และ Visual Studio Code เพื่อสร้างแอพให้กับ Microsoft Teams ได้โดยตรง ตอบโจทย์ลูกค้าองค์กรที่นิยมใช้งาน Teams มากขึ้นเรื่อยๆ และพยายามผนวกแอพในองค์กรให้ใช้ได้จาก Teams โดยไม่ต้องสลับจอ
นักพัฒนาสามารถใช้ส่วนขยายตัวนี้เขียนแอพเพื่อใช้งานในองค์กร และส่งขึ้นแคตาล็อกขององค์กรได้โดยตรง แถมยังเชื่อมกับ Power Apps Studio เพื่อให้คนที่ไม่มีทักษะการเขียนโค้ด สามารถสร้างแอพได้ง่ายๆ เช่นกัน
แอพที่ได้จากส่วนขยายนี้ ยังรองรับ single sign-on ขององค์กรในตัว (ลดอุปสรรคเรื่องการล็อกอิน) และต่อกับ Teams Activity Feed API เพื่อส่งการแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้ Teams ได้ด้วย
ไมโครซอฟท์ประกาศเปลี่ยนชื่อ Visual Studio Online ซึ่งเป็น IDE เวอร์ชันเว็บ (มันคือ VS Code เวอร์ชันเว็บ, คอมไพล์บนเซิร์ฟเวอร์ไมโครซอฟท์ คิดเงินตามเวลาใช้งาน) เป็น Visual Studio Codespaces
ไมโครซอฟท์ให้เหตุผลว่า บริการ Visual Studio Online ไม่ได้เป็นแค่ IDE ผ่านเบราว์เซอร์ แต่ยังรวมถึงสภาพแวดล้อมในการพัฒนาโปรแกรมที่โฮสต์ไว้บนคลาวด์ (cloud-hosted dev environments) ซึ่งสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ แถมผู้ใช้ยังสามารถใช้ Visual Studio ตัวเต็ม เชื่อมต่อกับ Visual Studio Online ได้ด้วยเช่นกัน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น Codespaces เพื่อสะท้อนรูปแบบการใช้งานมากขึ้น
กูเกิลเปิดตัวส่วนขยาย Android Game Development Extension สำหรับ Visual Studio ช่วยให้นักพัฒนาเกมที่ใช้ Visual Studio (มักเป็น C++) สามารถพอร์ตเกมมารันบน Android ง่ายขึ้น เพราะเป็นเครื่องมือที่คุ้นเคยอยู่แล้ว
ส่วนขยายตัวนี้ทำให้นักพัฒนาแปลงเกมเดิมมาเป็นแพ็กเกจ APK จากนั้น ทดสอบและดีบั๊กบนอีมูเลเตอร์ได้สะดวกกว่าเดิม สถานะยังเป็น Early Preview และต้องลงทะเบียนเพื่อร่วมทดสอบ
การเปิดตัวส่วนขยายนี้ ทำให้เครื่องมือที่กูเกิลแนะนำให้นักพัฒนาเกมใช้งาน มีทั้ง Android Studio และ Visual Studio ขึ้นกับความถนัดของแต่ละคน
ที่มา - Android Developers
นอกจาก .NET 5 Preview 1 วันนี้ไมโครซอฟท์ปล่อยของสายนักพัฒนามาหลายตัว ของใหญ่อีกตัวที่ออกมาคือ Visual Studio 2019 version 16.5 ซึ่งเป็นรุ่นอัพเดตย่อยตัวที่ 5 ของ VS2019 (ไมโครซอฟท์ออกรุ่นย่อยทุก 3-4 เดือน)
ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
ไมโครซอฟท์ประกาศแผนหยุดพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ของตัวภาษา Visual Basic หลังออก .NET 5 ในช่วงปลายปี 2020
Visual Basic ใน .NET 5 จะรองรับฟีเจอร์สำคัญๆ ของแพลตฟอร์ม .NET เช่น Windows Forms, WPF, Worker Service, ASP.NET Core Web API เพื่อให้ทัดเทียมกับฟีเจอร์ฝั่ง .NET Framework เดิม ทำให้โปรแกรมเดิมๆ บน .NET Framework สามารถย้ายมารันบน .NET 5 ได้ (อธิบายความแตกต่าง .NET Framework, .NET Core, .NET 5)
ไมโครซอฟท์ประกาศยกเครื่องระบบค้นหา (Find in Files) ของ Visual Studio ใหม่ เขียนใหม่ทั้งหมดเป็น C# เพื่อลดการเรียก interop call ที่ไม่จำเป็น ทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้นหลายเท่า ใช้หน่วยความจำน้อยลง
จากการทดสอบของไมโครซอฟท์เองที่ระดับ 1 แสนไฟล์ ฟีเจอร์ค้นหาเดิมใช้เวลามากกว่า 4 นาที ในขณะที่ฟีเจอร์ค้นหาตัวใหม่ใช้เวลาเพียง 26 วินาที (เกิน 8 เท่า) ไมโครซอฟท์บอกว่าความแตกต่างจะยิ่งเห็นผลชัดหากค้นหาด้วย regular expression แต่การค้นหาคำทั่วๆ ไปก็เร็วขึ้นเท่าตัวแล้ว
Find in Files ตัวใหม่ยังมีฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง
ไมโครซอฟท์อัพเดต Visual Studio IntelliCode ฟีเจอร์แนะนำการเขียนโค้ดด้วยปัญญาประดิษฐ์ที่เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้ตัว IntelliCode ก็มีฟีเจอร์เพิ่มขึ้น คือการแนะนำโค้ดทั้งบรรทัดแทนที่จะเป็นการแนะนำตัวแปรหรือฟังก์ชั่นต่อไปเท่านั้น และฟีเจอร์การปรับปรุงโค้ด (refactoring) ตามตัวอย่างที่เคยปรับแก้มาก่อนหน้า
ไมโครซอฟท์ปล่อย Visual Studio Online เข้าสู้สถานะ Public Preview ทำให้ทุกคนเข้าไปใช้งานได้ หลังจากเปิดตัวให้ใช้งานวงปิดตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา
นักพัฒนาสามารถเชื่อมต่อเข้า Visual Studio Online จาก Visual Studio Code, Visual Studio IDE, หรือจะใช้ IDE ผ่านเว็บก็ได้
ค่าบริการค่อนข้างซับซ้อน โดยคิดเป็น environment unit เมื่อมีการเชื่อมต่อจะคิดราคาแบบ active และหากเก็บข้อมูลไว้เฉยๆ จะคิดราคาแบบ base นอกจากนี้ยังขึ้นกับขนาดเครื่องที่ใช้งานโดยคิดเป็นวินาที อย่างไรก็ตาม หากสร้างเซิร์ฟเวอร์ของตัวเองแล้วเชื่อมต่อเข้าบริการ Visual Studio Online นั้นจะใช้งานฟรี
เมื่อต้นเดือนมิถุนายนไมโครซอฟท์ได้ออกอัพเดตเวอร์ชัน 1.35 ให้กับ Visual Studio Code มาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่และการปรับปรุงหลายอย่าง
การปรับปรุงที่น่าสนใจอย่างแรก คือการเพิ่มตัวเลือกการแสดงผลแบบใหม่ให้กับหน้าเทียบโค้ด (diff view) ขณะกำลัง merge conflict ทำให้สามารถเลือกที่จะเปิด diff view ขึ้นมาเป็นกลุ่มของ editor ชุดใหม่ได้ทั้งทางขวาหรือด้านล่าง editor ชุดเดิม แทนที่จะเปิดเป็นแท็บใหม่ซึ่งพาผู้ใช้ออกจากแท็บของโค้ดที่กำลังตัดสินใจ merge อย่างแต่ก่อน
Visual Studio มีฟีเจอร์ IntelliCode ใช้ AI ช่วยแนะนำการเขียนโค้ด มาได้สักพักใหญ่ๆ โดยช่วงแรกยังมีสถานะเป็นรุ่นพรีวิว และยังรองรับแค่ภาษา C# กับโมเดล XAML เท่านั้น
ในงาน Build 2019 ปีนี้ ไมโครซอฟท์ประกาศว่า IntelliCode มีสถานะเป็น GA เรียบร้อยแล้ว พร้อมประกาศฟีเจอร์เพิ่มอีกชุดใหญ่ ตั้งแต่การรองรับภาษาที่เพิ่มขึ้นคือ C++ และ TypeScript/JavaScript (ตอนนี้ยังเป็นรุ่นพรีวิวใน Visual Studio 2019 Version 16.1)
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Visual Studio Online ความสามารถก็ตามชื่อคือเป็น IDE เวอร์ชันเว็บเบราว์เซอร์ สามารถเขียนโค้ดได้โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆ เพียงแค่เข้าเว็บ online.visualstudio.com ก็ทำงานได้ทันที
Visual Studio Online ไม่ได้เป็น Visual Studio ตัวเต็ม แต่เป็น Visual Studio Code เวอร์ชันทำงานบนเบราว์เซอร์ (VS Code สร้างด้วยเทคโนโลยีเว็บบน Electron อยู่แล้ว) และรองรับส่วนขยายของ VS Code ที่คุ้นเคย
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Visual Studio Remote Development ฟีเจอร์แบบเดียวกับที่เพิ่งเปิดตัวให้กับ VS Code แต่เป็นเวอร์ชั่นสำหรับลูกค้า Visual Studio
ช่วงแรก Visual Studio Remote Development ยังรองรับเฉพาะภาษา C++ และ C# เท่านั้นแม้ว่าเวอร์ชั่น VS Code จะรองรับแทบทุกภาษาก็ตาม แต่ความพิเศษคือไมโครซอฟท์จะมีบริการ environment สำหรับการพัฒนาบนคลาวด์ด้วย โดยนักพัฒนาสามารถไม่ต้องเสียเวลาเซ็ตอัพ environment เองแต่เรียกใช้เซิร์ฟเวอร์บนคลาวด์ตามการใช้งานจริง
Visual Studio 2019 ออกรุ่นสมบูรณ์แล้ว ของใหม่ที่สำคัญได้แก่