สารานุกรมเสรี
เพิ่งจับมือ Facebook เปิดบริการ Free Basics ให้ใช้อินเทอร์เน็ตขั้นพื้นฐานฟรีผ่านสมาร์ทโฟนไปเมื่อปลายเดือนก่อน ล่าสุด dtac ออกมาเปิดบริการใหม่ให้สามารถเข้าถึงได้อีกหนึ่งบริการพื้นฐานได้ฟรีๆ ยาว 3 ปีแล้ว
โดยบริการที่ว่านี้คือ Wikipedia Zero ที่จะเป็นการผลักดันให้คนไทยใช้งาน Wikipedia ให้มากขึ้นโดยไม่เสียค่าบริการ โดยจะเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิด Wikipedia Zero ในประเทศไทย โดยมีจุดเด่นอยู่ที่นอกจากจะใช้ฟรีโดยไม่มีค่าบริการแล้ว ยังใช้งานได้อย่างเต็มฟีเจอร์ผ่านทั้งเว็บไซต์มือถือ และแอพบนสมาร์ทโฟน
Elsevier สำนักพิมพ์วารสารวิชาการรายใหญ่เปิดโครงการมอบทุนให้กับสมาชิกระดับสูง (top editor) ของ Wikipedia ที่แก้ไขบทความในวิกิอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 500 ครั้งต่อปี ให้เข้าถึงฐานข้อมูลของ ScienceDirect ได้ฟรี
ตอนนี้มีบัญชีของ Wikipedia ได้รับสิทธิ์นี้แล้ว 45 คน แบ่งออกเป็นด้านสุขภาพ 25 คน, ด้านสังคม 10 คน, และด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ 10 คน โดยทีมงาน Wikipedia Library จะเป็นผู้เสนอชื่อที่ควรได้รับสิทธิ์ไปยัง Elsevier
Wikimedia Foundation มูลนิธิผู้ดูแลเว็บไซต์ Wikipedia เปิดตัวเว็บ Wikimedia Public Policy ประกาศแนวทางของทาง Wikimedia ต่อนโยบายสาธารณะ มี 5 ประเด็นหลักที่ทางมูลนิธิแสดงท่าทีชัดเจน ได้แก่ การเข้าถึง (access), การปิดกั้นเนื้อหา (censorship), ลิขสิทธิ์ (copyright), การปกป้องตัวกลาง (intermediary protection), และความเป็นส่วนตัว (privacy)
ทีมงาน Wikipedia ภาษาอังกฤษ โดยทีม Checkuser แถลงผลปฏิบัติการ Orangemoody ตรวจจับผู้ใช้ที่มีความเชื่อมโยงกันและมีพฤติกรรมสร้างบทความและแก้ไขบทความเพื่อการโฆษณา
ทางชุมชน Wikipedia เชื่อว่าผู้ใช้ที่ถูกแบนไป ถูกควบคุมโดยกลุ่มเดียวกัน ผู้ใช้กลุ่มนี้มักจะแก้ไขเล็กๆ น้อยๆ ไม่มีประโยชน์เพื่อให้ได้สถานะ autoconfirmed แล้วนำบัญชีเหล่านี้ไปสร้างเพจที่เป็นโฆษณา หลายครั้งมักใช้เนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์
ศาลรัสเซียมีคำสั่งแบนหน้าหนึ่งของ Wikipedia จากการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกัญชา แต่เนื่องจาก Wikipedia เข้าใช้ HTTPS เข้ารหัสทั้งเว็บทำให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่มีทางเลือกแบนบางหน้าตามคำสั่ง ทำให้ต้องแบนทั้งเว็บไป
ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในรัสเซียบางส่วนเริ่มใช้งาน Wikipedia ไม่ได้ในวันจันทร์ที่ผ่านมา แต่ผ่านไปไม่ถึงวันทางการรัสเซียก็ยกเลิกคำสั่งบล็อคเว็บ โดยระบุว่าทาง Wikipedia ได้ลบเนื้อหาส่วนที่มีคำสั่งแบนออกไปแล้ว แต่ทาง Wikipedia ระบุว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาตามที่อ้าง แม้จะมีการแก้ไขชื่อบทความไปก็ตาม
Wikimedia Foundation ผู้ดูแลเว็บไซต์ Wikipedia และเว็บอื่นๆ ในเครือจำนวนมากประกาศว่าตอนนี้การย้ายเว็บทั้งหมดไปใช้ HTTPS ตั้งแต่ปี 2013 เริ่มเข้ามาถึงช่วงสุดท้าย
นอกจากการเปิด HTTPS แล้ว ทาง Wikimedia จะเปิดใช้ HSTS เพื่อบังคับให้เบราว์เซอร์เข้าเว็บแบบ HTTPS ตลอด
ทาง Wikimedia คาดว่าจะใช้เวลาไม่กี่สัปดาห์เพื่อให้เว็บทั้งหมดบังคับใช้ HTTPS ตอนที่เขียนอยู่นี้ผมทดสอบ th.wikipedia.org พบว่ายังไม่บังคับ แต่ en.wikipedia.org บังคับแล้ว ตอนนี้ถ้าใครเข้าเว็บภาษาอังกฤษก็จะพบว่าเบราว์เซอร์ไม่ส่งข้อมูลที่ไม่เข้ารหัสออกจากเบราว์เซอร์แล้ว
Wikimedia Foundation องค์กรผู้ดูแล Wikipedia และเว็บอื่นในเครือ ยื่นฟ้อง National Security Agency (NSA) และกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐ (DOJ) ในประเด็นว่า NSA สอดส่องประชาชนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะกรณี 'upstream surveillance' หรือการเจาะเข้าไปในโครงข่ายหลักของอินเทอร์เน็ตเพื่อดักข้อมูลระดับ ISP
เป้าหมายของ Wikimedia คือใช้กระบวนการทางศาลสั่งให้ NSA ยุติโครงการสอดส่องนี้ เพื่อปกป้องสิทธิของผู้ใช้งานทั่วโลก ส่วน Jimmy Wales ผู้ก่อตั้ง Wikipedia แถลงว่าการสอดส่องทำลายคุณประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตในเรื่องพื้นที่เปิดที่ทุกคนมีเสรีภาพและไม่ต้องกลัวใคร
ปีนี้เป็นปีแรกที่ Wikipedia โดยมูลนิธิ Wikimedia Foundation ได้ทำคลิปวิดีโอสรุปเรื่องราวตลอดทั้งปีที่สะท้อนผ่านบทความและการแก้ไขเนื้อหาบน Wikipedia โดยใช้ชื่อคลิปว่า #Edit2014
Victor Grigas รับหน้าที่ตัดต่อและเรียบเรียงเนื้อหาของคลิป #Edit2014 โดยเลือกใช้ภาพประกอบและวิดีโอสอดแทรกจากสื่อที่ส่งเข้ามาจากผู้ร่วมแก้ไขบทความบนสารานุกรมออนไลน์ หรืออนุญาตให้ใช้งานเพื่อการเผยแพร่ โดยตลอดเนื้อหา 2 นาทีของคลิป #Edit2014 นั้นอาจไม่ได้สะท้อนความเป็นไปทั้งหมดบนโลกใบนี้ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา หากแต่เลือกหยิบยกเอาบทความที่มีผู้อ่านและแก้ไขเนื้อหามากที่สุดมานำเสนอ
วิทยาลัย Collegium Polonicum ในเมือง Slubice ของประเทศโปแลนด์ ตัดสินใจสร้าง "อนุสาวรีย์วิกิพีเดีย" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ร่วมสร้างความรู้ให้มนุษยชาติ
เจ้าของไอเดียนี้คือ Krzysztof Wojciechowski ผู้อำนวยการวิทยาลัย และได้รับการสนับสนุนจากนายกเทศมนตรีของเมือง ตัวอนุสาวรีย์สูงประมาณเกือบ 2 เมตร เป็นรูปคน 4 คนกำลังยก "ลูกโลกจิ๊กซอ" สัญลักษณ์ของวิกิพีเดีย ผู้ปั้นอนุสาวรีย์คือ Mihran Hakobjan ศิลปินชาวอาร์เมเนียที่เป็นศิษย์เก่าของวิทยาลัยแห่งนี้
รูปปั้นจะตั้งอยู่ที่จัตุรัสกลางเมือง Slubice โดยจะมีพิธีฉลองในวันที่ 22 ตุลาคมนี้ และมีตัวแทนจากวิกิพีเดียโปแลนด์มาร่วมแสดงความยินดีด้วย
ช่วงบ่านวันนี้ (19 ก.ย.) มีรายงานว่าเว็บไซต์วิกิพีเดียภาคภาษาไทย (ใต้โดเมน th.wikipedia.org) ไม่สามารถใช้งานได้ผ่านอินเทอร์เน็ต 3BB โดยจะเห็นหน้าจอสีเขียวของกระทรวงไอซีทีที่ระบุว่าเป็นเว็บไซต์ไม่เหมาะสม
ผมลองดูแล้วพบว่าพบข้อความระงับการเข้าถึงจากกระทรวงไอซีทีจริง (ตอนนี้ยังไม่มีสาเหตุแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร) คนที่ใช้ 3BB และต้องการเข้าถึงวิกิพีเดียยังสามารถใช้ได้ผ่าน HTTPS (https://th.wikipedia.org) ครับ
สำหรับผู้ที่ใช้งาน ISP รายอื่นๆ รบกวนแจ้งสถานะด้วยนะครับว่ายังเข้าวิกิพีเดียกันได้หรือไม่
หลังจากที่มีประเด็นที่ศาล EU สั่ง Google ลบผลการค้นหาตามคำร้องขอ เพราะ "คนเรามีสิทธิ์ที่จะถูกลืม" ที่ส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์หลาย ๆ เว็บ ซึ่งรวมไปถึง Wikipedia ด้วย
ข่าวลิขสิทธิ์ภาพเซลฟี่ลิงกลายเป็นประเด็นสำคัญทั่วโลก แต่ที่จริงแล้วเรื่องนี้เป็นข่าวขึ้นมาได้เพราะทาง Wikimedia หน่วยงานผู้ดูแลเว็บไซต์ Wikipedia และเว็บในเครือได้เปิดรายงานความโปร่งใส (transparency report) ออกมาต่อสาธารณะ
รายงานมีหัวข้อสำคัญคือการขอข้อมูลผู้ใช้ ปรากฎว่า Wikipedia มีการข้อข้อมูลผู้ใช้น้อยมากเมื่อเทียบกับกูเกิลหรือเฟซบุ๊ก และตั้งแต่กลางปี 2012 จนถึงตอนนี้ทาง Wikimedia เคยให้ข้อมูลเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับคดีแพ่งและอาญาเพียง 8 กรณีในสหรัฐฯ เท่านั้น ที่เหลือถูกปฎิเสธทั้งหมด
ที่เป็นประเด็นคือกรณีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากการร้องขอของผู้เกี่ยวข้อง นอกจากกรณีภาพเซลฟี่ของลิงแล้ว ยังมีกรณีอื่นๆ
เรื่องมีอยู่ว่าช่างภาพ David Slater ไปเดินป่าในอินโดนีเซียเมื่อปี 2011 และถูกลิงกังดำ (celebes crested macaque) ขโมยกล้องไป ลิงตัวนี้กดถ่ายภาพเป็นจำนวนหลายร้อยภาพ ภาพส่วนใหญ่เบลอหรือถ่ายพื้น แต่มี "ภาพถ่ายตัวเอง" สุดสวยออกมาหนึ่งภาพ กลายเป็นภาพ "ลิงเซลฟี่" ที่สร้างชื่อให้ David Slater เป็นอย่างมาก
Wikipedia ออกแอพเวอร์ชัน iOS ที่เขียนใหม่ทั้งหมดเป็นแบบ native และปรับปรุงขึ้นในทุกด้าน
วิกิพีเดียได้แบนการแก้ไขบทความผ่าน IP address ของสภาคองเกรสเมื่อวันที่ 24 ก.ค. ที่ผ่านมาเป็นเวลา 10 วัน เนื่องจากพบการแก้ไขบทความที่ไม่เป็นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของวิกิพีเดีย (ทางแอดมินเรียกการกระทำนี้ว่าเป็น disruptive editing)
ข่าวใหญ่บนสื่อทั่วโลกเมื่อสัปดาห์ที่แล้วคงหนีไม่พ้นเรื่องของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ MH17 ที่ถูกยิงตกที่ยูเครน ซึ่งโศกนาฏกรรมครั้งนี้ได้ถูกบันทึกไว้บนบทความเกี่ยวกับอุบัติเหตุทางการบินบน Wikipedia ของรัสเซียไว้ด้วย แต่ล่าสุดทวิตเตอร์บอทของรัสเซียได้ทวีตว่ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เก
จะเรียกว่าเป็นการตรวจสอบความโปร่งใสในรูปแบบหนึ่งก็ได้ เมื่อแอคเคาท์ทวิตเตอร์ @parliamentedits ซึ่งเป็นแอคเคาท์บอทที่คอยทวีตหากมีใครสักคนในรัฐสภาของอังกฤษ เข้าไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลบนวิกิพีเดีย ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นโดยนักพัฒนาที่ชื่อว่า Tom Scott โดยใช้คำสั่งในลักษณะของ IFTTT (If This Then That)
และเมื่อ Ed Summer นักพัฒนาเว็บโอเพนซอร์สไปพบเข้า จึงจุดประกายให้เขาเลียนแบบและสร้างแอคเคาท์ @congressedits สำหรับทวีตการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเดียวกัน ผ่าน IP address ของสภา Congress ของสหรัฐ
PediaPress สำนักพิมพ์พันธมิตรกับ Wikipedia เปิดโครงการพิมพ์ Wikipedia ภาษาอังกฤษรวมบทความกว่าสี่ล้านบทความเป็นสารานุกรมขนาดใหญ่ คาดว่าน่าจะต้องพิมพ์ชุดละกว่าพันหน้า งบประมาณโครงการ 50,000 ดอลลาร์ โดยระดมทุนใน indiegogo
โครงการนี้ไม่ได้พิมพ์หนังสือออกมาเพื่อจำหน่าย แต่พิมพ์ออกมาเพื่อจัดแสดงตามนิทรรศการ โดยตอนนี้ทาง Pedia Press พิมพ์เล่มตัวอย่างออกมาแล้วหนึ่งเล่ม จากหมวด A ถึง A76 ถ้าโครงการนี้ระดมทุนสำเร็จ ทาง Pedia Press จะนำไปจัดแสดงที่งาน Wikimania London เดือนสิงหาคมนี้เป็นงานแรก
แต่ดูอัตราระดมทุนแล้ว โครงการนี้อาจจะลำบากเพราะเพิ่งระดมทุนได้สองพันดอลลาร์แม้จะเป็นข่าวมาตั้งแต่เมื่อคืน อาจจะเพราะผู้ร่วมลงทุนไม่ได้อะไรตอบแทนมากนัก นอกจากชื่อและโลโก้ตามหนังสือเล่มต่างๆ
Wikipedia เริ่มโครงการใหม่ที่ชื่อ WikiVIP (ย่อมาจาก Wikipedia Voice Intro Project) ซึ่งจะรวบรวมและบันทึกเสียงของเหล่าคนดัง และบุคคลสำคัญต่างๆ เพื่อเก็บเอาไว้ให้ผู้คนในยุคหน้าได้รู้จักตัวตนของคนเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น
โครงการนี้ได้แนวคิดมาจาก Andy Mabbett และ Andrew Gray ซึ่งเป็นผู้ร่วมสร้างและแก้ไขบทความของ Wikipedia พวกเขามองว่าสารานุกรมออนไลน์สามารถทำอะไรได้มากกว่าการบันทึกข้อความหรือรูปภาพเท่านั้น ดังนั้นพวกเขาจึงเริ่มติดต่อเหล่าเซเลบคนดังเพื่อขอร้องให้ร่วมบันทึกคลิปเสียงสำหรับ Wikipedia
Wikipedia เพิ่มฟีเจอร์การร่างเอกสาร เพื่อให้ผู้สร้างบทความมีเวลาในการเรียบเรียงและขัดเกลาบทความให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นก่อนเผยแพร่บทความนั้น
โดยทั่วไปแล้ว เมื่อผู้ใช้สร้างบทความใหม่ใน Wikipedia ขึ้นมา หลังจากที่พิมพ์บทความเสร็จและกดปุ่มบันทึก จะถือเป็นการจัดเก็บและเผยแพร่บทความดังกล่าวในทันที ซึ่งเป็นสภาพการณ์ที่บีบบังคับให้ผู้ใช้ต้องสร้างบทความให้สมบูรณ์ถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรกก่อนกดปุ่มบันทึก เพราะบทความที่ไม่สมบูรณ์หรือขาดความถูกต้องอาจถูกลบโดยผู้ดูแลระบบ ดังที่ Wikipedia อ้างว่าบทความโดยผู้ใช้ใหม่ราวร้อยละ 80 ถูกลบออกจากระบบด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้ผู้ใช้บางรายรู้สึกกดดันและมองว่าการสร้างบทความวิชาการใน Wikipedia เป็นเรื่องยาก
ข่าวนี้ต่อเนื่องจาก Wikipedia ลงดาบกว่า 250 บัญชีผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับการรับเงินเพื่อสร้างบทความ ที่มีบริษัทชื่อ Wiki-PR รับเงินมาสร้างบัญชีปลอมจำนวนมากในการแก้เนื้อหาใน Wikipedia ให้เป็นไปตามที่ลูกค้าต้องการ (ศัพท์เทคนิคเรียก sockpuppetry หรือ meatpuppetry)
ล่าสุด Wikimedia Foundation ในฐานะองค์กรแม่ของ Wikipedia ก็ส่งจดหมายแจ้งเตือนให้หยุดการกระทำ (cease and desist letter) ไปยังบริษัท Wiki-PR แล้ว โดยอ้างเหตุผลว่าการกระทำของ Wiki-PR นั้นผิดเงื่อนไขการใช้งานของ Wikipedia
Wikimedia Foundation บอกว่าจะจับตาดูสถานการณ์ต่อไปว่าจะได้ผลแค่ไหน ถ้ายังไม่ได้ผลอีกก็จะขยับไปใช้มาตรการอื่นๆ ต่อไป
Wikipedia เพิ่งพิจารณาระงับบัญชีผู้ใช้จำนวนมากกว่า 250 บัญชี ภายหลังการสืบสวนหาผู้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขบทความที่น่าสงสัยว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการรวมทั้งองค์กรต่างๆ อย่างไม่เป็นกลาง
Sue Gardner ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิ Wikimedia กล่าวผ่านบล็อกของมูลนิธิเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า ดูเหมือนจะมีผู้ใช้หลายร้อยคนที่อาจจะรับเงินมาเพื่อสร้างและแก้ไขบทความโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออวยสินค้าและบริการรวมทั้งองค์กรบางแห่ง ซึ่งขัดกับนโยบายของ Wikipedia ที่มุ่งนำสร้างบทความเชิงสารานุกรมซึ่งต้องมีความเป็นกลางในการนำเสนอข้อมูลตามข้อเท็จจริง
คาดว่าแทบทุกคนล้วนเคยมีการบ้านเก็บคะแนนโดยการเขียนเรียงความ หรือทำรายงาน หากแต่คงไม่บ่อยนักที่จะเห็นการให้คะแนนผู้เรียนจากผลงานการแก้ไขบทความบน Wikipedia โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับการศึกษาขั้นปริญญาตรี หากแต่คณะแพทยศาสตร์แห่ง University of California เลือกที่จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาแพทย์สามารถทำผลงานเอาคะแนนได้โดยวิธีดังกล่าว
ทางมหาวิทยาลัยได้เปิดหลักสูตรการสอนเกี่ยวกับการเรียบเรียง, แก้ไข และเผยแพร่บทความผ่านทาง Wikipedia ให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึง 4 โดยหลักสูตรมีระยะเวลาราว 1 เดือน และแน่นอนว่าเกณฑ์การวัดผลนั้นย่อมต้องพิจารณาจากผลงานการแก้ไขและเผยแพร่บทความวิชาการบนเว็บไซต์สารานุกรมออนไลน์นี้เอง โดยบทความดังกล่าวจะต้องเป็นหัวข้อที่เกี่ยวกับความรู้ทางการแพทย์นั่นเอง
Jimmy Wales ยืนกรานว่าจะไม่ยอมให้ Wikipedia ถูกเซ็นเซอร์เนื้อหาตามคำขอของรัฐบาลจีน เพราะตั้งมั่นในปณิธานว่า สิทธิในการเข้าถึงแหล่งความรู้และการศึกษาที่ถูกต้องคือสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา Wales หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Wikipedia ได้ให้สัมภาษณ์แก่ Wall Street Journal ในฮ่องกง และมีใจความตอนหนึ่งที่บทสนทนากล่าวถึงคำขอจากรัฐบาลจีนให้เซ็นเซอร์เนื้อหาบางส่วนของเว็บไซต์สารานุกรมชื่อดัง ดังเช่นที่มีการปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ตลอดจนเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง Facebook และ Twitter ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลจีน
จากข่าว โครงการ XKeyscore ของ NSA ที่ดักฟังกิจกรรมของผู้ใช้ใดๆ บนอินเทอร์เน็ตที่วิ่งอยู่บน HTTP
ทาง Wikimedia Foundation องค์กรแม่ของ Wikipedia ออกมาแสดงความกังวลในเรื่องนี้ และประกาศแผนการใช้ HTTPS เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้แล้ว