สารานุกรมเสรี
หลังจากวิกิพีเดียถูกผู้ใช้ในชื่อ Essjay แอบอ้างว่าเป็นศาสตราจารย์ด้านศาสนศาสตร์ จนกระทั่งเรื่องแดงขึ้นเมื่อ Jimmy Wales เสนองานให้กับเขา ทางวิกิพีเดียก็เตรียมระบบการยืนยันวิทยฐานะที่ผู้ใช้อ้างเข้ามา เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของทางวิกิพีเดีย
Essjay ถูกเปิดโปงในภายหลังว่าแท้จริงแล้วเขาคือนักศึกษาที่เรียนไม่จบ ขณะที่เขาดำรงตำแหน่งผู้ชี้ขาดของทางวิกิพีเดียซึ่งให้อำนาจเขาเข้าแก้ไขข้อมูลเหนือกว่าผู้ใช้ทั่วไป พร้อมสิทธิในการบล็อคผู้ใช้ที่ก่อกวนเว็บไปพร้อมกัน
Jimmy Wales ระบุว่าผู้ใช้ส่วนมากของวิกิพีเดียจะยังคงสามารถใช้งานอย่างนิรนามได้ต่อไป แต่ต่อจากนี้ผู้ใช้จะอ้างความเชี่ยวชาญในด้านที่พวกเขาระบุได้ต่อเมื่อมีการยืนยันแล้วเท่านั้น
บริษัท Wikia ของ Jimmy Wales ผู้ก่อตั้ง Wikipedia (Wikia ให้บริการโฮสต์ Wiki แบบกลุ่ม อย่างงาน YouFest ก็ใช้ Wikia) ได้เผยแผนการพัฒนาเสิร์ชเอนจินที่อนุญาตให้ผู้ใช้แก้ไขผลการค้นหาได้ถ้าไม่ถูกใจ
Gil Penchina ซีอีโอของ Wikia บอกว่าเสิร์ชเอนจินตัวนี้ยังไม่มีกำหนดทำตลาด แต่มีเป้าหมายจะชิงส่วนแบ่ง 5% ของตลาดเสิร์ชมูลค่า 7 พันล้านเหรียญ โดยหารายได้จากโฆษณาเช่นเดียวกับรายอื่น
ผมคิดว่ารูปแบบคงออกมาคล้ายๆ Open Directory Project ผสมกับลิงก์ภายนอกที่อยู่ในด้านล่างสุดของ Wikipedia แต่ละหน้า
ที่มา - Inside Bay Area
Rick Jelliffe อดีตทีมงานร่างมาตรฐาน XML และผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับ XML หลายเล่มได้เขียนลงบล็อกของเขา (ซึ่งอยู่บนเว็บ O'Reilly) ว่าไมโครซอฟท์ได้ติดต่อเขาเพื่อจ้างแก้ไขบทความเกี่ยวกับ OpenXML บน Wikipedia
[ตรงนี้อ่านดีๆ ก่อนตอบ และควรไปอ่านต้นฉบับด้วย]
สาเหตุก็เพราะว่าผู้สนับสนุน OpenDocument ได้เขียนบทความลง Wikipedia เยอะมาก ทำให้ข้อมูลของฝั่ง OpenXML มีน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด ไมโครซอฟท์จึงอยากได้คนไปเพิ่มและแก้ไขข้อมูลของ OpenXML โดยไม่ต้องการให้เขียนโจมตี OpenDocument (อันนี้ตามที่ Jelliffe อ้าง)
ตอนนี้คอมเมนต์ในเว็บข่าวหลายแห่งกำลังซัดกันมันเลย เอ้อ เว็บนี้สนับสนุน OpenDocument อย่างเต็มตัวครับ
โดยปกติแล้ววิกิพีเดียภาษาอังกฤษจะมีมาตรการกับการจัดการกับสแปมด้วยการใช้ URL Blacklist แต่เมื่อไม่กี่วันก่อน Jimmy Wales ออกมาเปลี่ยนมาตรการดังกล่าวเป็นการใช้งาน nofollow แทน
บอกก่อนว่า nofollow มันคือแอททริบิวสำหรับแทค rel บน HTML ที่จะทำให้เซิร์จเอนจิ้น "ไม่นับ" ลิงค์นี้เป็นคะแนน (ไม่ใช่ไม่ให้ Spider ตามลิงค์นะครับ) เช่น PageRank
การปรับเปลี่ยนครั้งนี้มีเหตุผลประกอบหลักๆ ก็คือ สแปมจาก SEO World Championship ซึ่งเป็นการแข่งขันว่าใครจะสามารถทำ SEO ได้ดีกว่ากัน โดยตัดสินจากอันดับในเซิร์จเอนจิ้น ณ วันที่ 1 พฤษภาคม
ผลการศึกษาจาก Nielsen BuzzMetrics พบว่าในรอบปีที่ผ่านมา บทความ "Web 2.0" เป็นบทความที่ถูกอ้างถึง (ลิงก์หา) มากที่สุดจากบทความทั้งหมดใน Wikipedia
อันดับสองคือ Steve Irvin อื่นๆ ที่น่าสนใจมี Blog, AJAX, Wiki, RSS, Podcast ที่ไม่เกี่ยวกับไอที เช่น Snakes on a Plane เป็นต้น
Wikipedia ถูกอ้างถึงเพิ่มขึ้น 54% เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วน UIP เพิ่มจาก 17.8 ล้านคนในเดือนพ.ย. 2005 มาเป็น 37.8 ในเดือน พ.ย. 2006
ประเทศกาตาร์ที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงหนึ่งล้านคน แต่กลับถูกวิกิพีเดียแบนเนื่องจาก มีการสแปม และทำลายเนื้อหาเป็นจำนวนมาก โดยวิกิพีเดียได้แบนไอพีของ Qtel ที่เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายเดียวของกาตาร์ ทำให้ผู้ใช้ในกาตาร์ไม่สามารถแก้ไขเนื้อหา แบบไม่ระบุตัวตนในวิกิพีเดียได้ ส่วนผู้ที่เป็นสมาชิกอยู่แล้วสามารถใช้ได้ตามปกติ แต่หลังจากมีการแบนได้ 8 ชั่วโมงก็ได้มีการเลิกแบน ทำให้ผู้ใช้จากกาตาร์ สามารถกลับมาใช้วิกิพีเดียได้ตามปกติ Jimbo Wales ได้เข้ามาตอบในที่มาข่าวว่าจะทำให้เกิดการบล็อกเป็นระยะเวลา น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยยกตัวอย่างของสถานการณ์ที่เคยเกิดในประเทศไทยด้วย (มีใครรู้บ้างครับ ว่ามันคือสถานการณ์อะไร)
Jimmy Wales ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย ได้วางแผนปล่อยเสิร์ชเอ็นจินที่มีชื่อว่า Wikiasari ออกมาภายในปี 2007 โดยเป้าหมายคือ เพื่อมาแข่งกับกูเกิลที่ Jimmy Wales บอกว่าใช้ได้ดีในการค้นหาหลายๆสิ่ง แต่บางทีก็ค้นหาได้สิ่งที่ไร้ประโยชน์มาด้วย โดยเค้าให้ลองค้นคำว่า ‘Tampa hotels’ ในกูเกิลดู แล้วจะพบว่าไม่มีสิ่งที่ต้องการเลย (ลองดูแล้วจะรู้ว่าเป็นอย่างทีเขาพูดหรือไม่) โดย wikiasari จะเป็นการใช้ประโยชน์จากผู้ใช้ เข้ามาช่วยตัดสินว่าหน้าที่ค้นได้ มีประโยชน์หรือไม่ ซึ่งจะทำให้ได้ผลการค้นหาที่ตรงความต้องการมากที่สุด
หลังจากทางการจีนเลิกบล็อกเว็บวิกิพีเดียเมื่อสัปดาห์ก่อน ผู้ใช้วิกิพีเดียใจจีนก็พุ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีสมาชิกเพิ่มขึ้นถึงวันละ 1200 ราย และมีการโพสบทความเพิ่มขึ้นร้อยละ 75 ทำให้จำนวนบทความผ่านหลักหนึ่งแสนบทความไปด้วยความรวดเร็ว นับเป็นเวลากว่าหนึ่งปีที่ทางการจีนมีการบล็อกเว็บที่มีเนื้อหาเสรีอย่างวิกิพีเดียเนื่องจากไม่สามารถเข้าควบคุมเนื้อหาในเว็บได้ อย่างไรก็ตามไม่มีสัญญาณใดๆ จากทางการจีนว่าการปล่อยให้ประชาชนเข้าถึงเนื้อหาในวิกิพีเดียในครั้งนี้จะยั่งยืนเพียงไร
Lawrence Lessig แห่ง cc ได้เอารูปของฟักทองฮาโลวีนที่จิมโบ เวลส์กับลูกสาวทำมาขึ้นที่ บล็อกของเขา
ไม่ค่อยเห็นข่าว blognone จะใส่รูปเท่าใดนัก เลยให้ไปดูที่ Flicker เอาเองนะครับ มีวิธีทำด้วย
จาก --- lessig blog, Jimmy Wales's blog
หลังจากก่อตั้งวิกิพีเดียมาจนเติบโตกลายเป็นสื่อที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของโลก Jimmy Wales ก็ลงจากตำแหน่งประธาร Board of Trustees ตามการประกาศเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยมี Florence Nibart-Devouard ขึ้นมารับตำแหน่งแทนที่ อย่างไรก็ตาม Jimmy Wales ยังคงในตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์ และยังคงทำงานร่วมกับทาง Wikimedia ต่อไป
Florence ทำงานในบอร์ดของทาง Wikimedia มาตั้งแต่ปี 2004 โดยเธอเป็นชาวฝรั่งเศสโดยกำเนิด และเป็นผู้ที่สนับสนุนให้วิกิพีเดียมีหลากหลายภาษา
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Jimmy Wales ได้เข้ามาถามชุมชนวิกิพีเดียใจเมลลิ่งลิส ว่าชาววิกิพีเดียจะเสนอให้วิกิพีเดียซื้ออะไรจากโลกธุรกิจมาเพื่อแจกฟรีกันบ้าง หากมีเงิน 100 ล้านดอลลาร์ให้มาซื้อสิ่งนั้นเพื่อแจกให้กับโลกฟรีๆ
ที่น่าสนใจคือเขาระบุว่าเขากำลังคุยกับ คนที่อาจจะทำให้เรื่องนี้เป็นจริงขึ้นมาได้ ทำให้ตอนนี้ทั้งใน วิกิพีเดียและ Slashdot ก็คุยกันอย่างออกรสว่าจะซื้ออะไรมาแจกกันดี แต่ตอนนี้ก็ยังไม่มีข่าวว่าคนที่อาจจะบริจาคเงินจำนวนนี้จะเป็นใคร
หลังจากบล็อกวิกิพีเดียมานานหลายเดือนเนื่องจากทางวิกิพีเดียปฎิเสธที่จะบล็อกเนื้อหาตามคำขอร้องของทางการจีน เมื่อวานนี้ทางการจีนก็ปล่อยให้ประชาชนเข้าถึงวิกิพีเดียได้แล้วในที่สุด
แม้บางหน้าที่มีเนื้อหาล่อแหลมต่อประชาชนจีนจะยังคงถูกบล็อก เช่น หน้าที่เกี่ยวกับการประท้วงที่จตุรัสเทียนอันเหมิน แต่ก็นับเป็นนิมิตรหมายอันดีที่ทางการจีนจะไม่ทำการบล็อกทั้งเว็บเช่นเดิมที่จีนเคยทำมา
เป็นที่น่าสงสัยว่าทางการจีนจะทนต่อเนื้อหาที่ล่อแหลมในวิกิพีเดียไปได้อีกนานเพียงใด เนื่องจากเว็บที่เสรีมากๆ อย่างวิกิพีเดียนั้นผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาทางที่การจีนไม่ชอบใจขึ้นมาได้ไม่จบไม่สิ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วจีนคงตระหนักได้ว่าไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์แบบ
โครงการ OLPC (One Laptop per Child - นึกถึงหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ขึ้นมาตะหงิดๆ) หรือรู้จักกันในชื่อ แลปท็อปร้อยเหรียญ ได้ออกมาบอกว่าจะมีการติดตั้งเนื้อหาของ Wikipedia ส่วนที่ัคัดสรรมาแล้วลงในเครื่อง เพื่อให้เด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด แม้จะไม่ได้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอยู่ก็ตาม
สำหรับ OLPC notebook นั้นจะทำงานด้วย AMD processor 500 MHz, หน่วยความจำแบบ Flash ขนาด 512 MB จอแสดงภาพความละเอียดขาวดำที่ 1110x830 pixel และสีที่ 640x480 pixel โดยองค์กรที่ดูแลกล่าวว่า "เครื่องนี้จะทำได้แทบทุกอย่าง ยกเว้นเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ เท่านั้นเอง"
Britannica เป็นต้นแบบของคำว่าสารานุกรม มีชีวิตมาตั้งกะ 1768 ส่วน Nature เป็นวารสารทางด้านวิทยาศาสตร์ของอังกฤษที่ได้รับความเชื่อถือสูง
เรื่องมีอยู่ว่า Wikipedia ได้รับความนิยมมาแรงแซงท้างโค้ง จนท้าบัลลังก์ของ Britannica ทาง Nature จึงได้วิจัยเนื้อหาของสองที่นี้ โดยผู้ตรวจสอบเนื้อหาจะไม่รู้ว่าเป็นของฉบับไหน ผลสรุปคือ อัตราจุดผิดต่อบทความเฉลี่ย Wikipedia มี 4 ส่วน Britanica มี 3 (คิดเฉพาะเวอร์ชันออนไลน์ฟรีของ Britannica) เรื่องนี้ตั้งกะปีที่แล้ว อ่านได้จาก Nature
หน้าจอวิกิพีเดียถูกใช้ในรูปแบบเดิมๆ มานานจนแทบไม่มีใครจำได้แล้วว่ามันเป็นอย่างนี้มานานเท่าใหร่ ล่าสุดก็มีการเสนอการออกแบบใหม่ขึ้นมาให้โหวตรับรองกันแล้ว งานนี้ไม่มีตัวเลือก เพียงแต่ให้เลือกว่าจะโหวตรับหรือไม่รับเท่านั้น
เท่าที่ดูคะแนนล่าสุด ดูเหมือนว่าแบบใหม่นี้จะผ่านการรับรองโดยไม่มีปัญหาใดๆ โดยคะแนนฝ่ายรับรองนั้นมากกว่า 400 คะแนน ส่วนฝ่ายไม่รับรองนั้นอยู่ที่ 150 กว่าๆ
ลูกค้า Blognone เขียนวิกิพีเดียกันเยอะอยู่ ยังไงก็ไปใช้สิทธิกันได้ภายในวันที่ 18 นี้
หลังจากวิกิพีเดียเพิ่งครบล้านบทความไป ในวันนี้เจ้าของไอพอดทุกท่านก็จะมีทางเลือกใหม่ในการเข้าถึงสารานุกรมเสรีนี้ ทางไอพอดของเขาเอง
งานนี้ต้องการลินุกซ์บนไอพอด แต่หลายๆ คนก็คงจะลงกันอยู่แล้ว เลยคิดว่าไม่น่าลำบากอะไร ที่เหลือก็แค่ใส่วิกิพีเดียลงไปเท่านั้น อ่านขั้นตอนการลงได้ที่เว็บเอง
เท่าที่อ่านดูลงได้ทุกเวอร์ชั่น แน่นอนว่าไม่รวม iPod shuffle
ที่มา - Encyclopodia
จากข่าว วิกิพีเดียภาษาอังกฤษครบ 1 ล้านบทความ หลายคนอยากให้ฉบับภาษาไทยมีข้อมูลเยอะๆ แบบนั้นบ้าง อย่าเอาแต่คิดแล้วจบลงแค่นั้นเลยครับ มาช่วยกันทำมันให้เป็นจริงดีกว่า
หมวดที่ยังขาดอยู่มากคือเรื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งผมคิดว่าคนอ่านของเรามีความสามารถ ต่อไปนี้ผมจะพยายามคัดหัวข้อที่น่าสนใจมาให้ประมาณอาทิตย์ละเรื่อง ช่วยกันเขียนให้เสร็จเป็นหมวดย่อยไป
ถ้าไม่รู้จักวิกิพีเดีย หรือรู้จักแต่ไม่เคยเขียนมาก่อนเลย ขั้นตอนง่ายๆ มีดังนี้
วิกิพีเดียฉบับภาษาอังกฤษซึ่งเป็นอันที่คนเข้ามากที่สุด มีบทความครบ 1 ล้านบทความแล้ว โดยบทความที่ 1 ล้านนั้นคือ Jordanhill railway station ซึ่งเป็นสถานีรถไฟในเมืองกลาสโกลว์ สกอตแลนด์ เริ่มเขียนโดย Ewan Macdonald
สำหรับวิกิพีเดียภาษาไทยตอนนี้มีประมาณ 7,500 บทความ ยังขาดอีกมากโดยเฉพาะบทความเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่คนอ่าน Blognone น่าจะช่วยกันเขียนได้ง่ายที่สุด
ที่มา - Wikipedia Press Release
ลองอ่านบทความสั้น ๆ จาก มติชนรายวัน ฉบับ 12 พ.ย. 2548 (อ้างจากอินเตอร์เน็ท อาจไม่ตรงกับ printing ) :
.......อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับอะไร ข้องใจคำศัพท์ที่อยากจะค้นหาคำตอบให้ได้ว่า มันหมายความว่าอย่างไร และรับทราบข้อมูลข่าวสารล่าสุดที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ พร้อมบทความดีๆ ที่คัดสรรมาให้อ่านกัน.....จาก มติชน
Miguel De Icaza แห่ง Novell ประกาศว่า Wikipedia สารานุกรมออนไลน์แบบอาสาสมัคร จะเปลี่ยนระบบการทำ index ข้อมูลจากที่เคยใช้ GCJ กับ Lucene (index engine) มาเป็น Mono กับ dotLucene (คือ Lucene ที่พอร์ตมาบน Mono และใช้กับ GNOME Beagle ด้วย) ก็เหมือนเป็นการข่มประสิทธิภาพระหว่างค่าย (Mono/C# กับ Java) กันเห็นๆ เลยล่ะครับ
สงครามแย่งชิงเนื้อหาเริ่มต้นแล้วครับ หลังจากมีข่าว Google จะบริจาคแบนด์วิธให้ Wikipedia สารานุกรมออนไลน์ ฝ่าย Yahoo! ได้ชิงให้บริการค้นข้อมูลของ Wikipedia ผ่านหน้า Yahoo! โดยตอนนี้ให้บริการผ่าน Yahoo! Shortcut แบบว่าค้นคำอะไรก็ได้ ถ้ามีข้อมูลใน Wikipedia ก็จะแสดงลิงค์เป็นพิเศษให้ครับ Yahoo! มีบริการในภาษาอื่นๆ ฝั่งเอเชียมากพอสมควรเช่นเดียวกัน ทำให้มีโครงการจะค้น Wikipedia ภาษาอื่นๆ ด้วย (ลองเล่นดูอันนี้ภาษาฝรั่งเศส)
มีข่าวลือว่ากูเกิลยักษ์ใหญ่วงการค้นหาข้อมูล กำลังวางแผนที่จะเสนอตัวเป็นผู้บริจาคแบนด์วิธให้กับฟรีเอนไซโคลพีเดียอย่าง วิกิพีเดียแล้ว
วิกิพีเดียเป็นเอ็นไซโคลพีเดยที่สร้างขึ้นโดย นักเขียนจากทั่วโลก ที่รวมตัวกันมาเขียนในเว็บวิกิ ที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้เข้ามาเขียนและแก้ไขบทความต่างๆ อย่างอิสระ จนในปัจจุบันนี้ วิกิพีเดียนับได้ว่าเป็นสารานุกรมที่ดีฉบับหนึ่ง
Wikipedia สารานุกรมแบบอาสาสมัครที่ใหญ่ที่สุดในอินเทอร์เน็ต ฉลองมีบทความครบหนึ่งล้านเรื่องแล้วครับ ข่าวจาก Slashdot นอกจากนั้น ผมเคยเขียนลงไว้ในกรุงเทพธุรกิจ