สารานุกรมเสรี
ความเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิตอลทำให้ธุรกิจดั้งเดิมจำนวนมากไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เช่น Encyclopedia Britannica ที่เป็นสารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังพิมพ์จนถึงปัจจุบัน รวมเวลาทั้งสิ้น 244 ปี หลังความเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิตอลและอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดวิกิพีเดียที่ให้บริการฟรี
ปีที่สารานุกรมขายดีที่สุดคือปี 1990 Britannica มียอดขายถึง 120,000 ชุด แต่ปีที่ผ่านมาสามารถขายได้เพียง 8,000 ชุด โดยตอนนี้ยังเหลือในสต็อกอีก 4,000 ชุดเป็นล็อตสุดท้ายที่จะมีขาย ราคาขายในตอนนี้คือ 1,395 ดอลลาร์ต่อชุด
ควันหลงจากกรณีร่างกฎหมาย SOPA ที่เว็บรับจดโดเมนรายใหญ่ Go Daddy โดนประท้วงจนลูกค้าไหลออก และสุดท้าย
Orange ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมจากฝรั่งเศส ประกาศจับมือกับ Wikimedia Foundation ทำโครงการ CSR ให้ลูกค้าของ Orange ที่อยู่ในแอฟริกาและตะวันออกกลาง โดยลูกค้ากลุ่มนี้จะไม่เสียค่า mobile data ในส่วนของทราฟฟิกที่เปิด Wikipedia บนมือถือ
Orange มีธุรกิจมือถืออยู่ในภูมิภาคแอฟริกาและตะวันออกกลางจำนวน 20 ประเทศ และมีลูกค้าในภูมิภาคนี้กว่า 70 ล้านราย ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของ Wikipedia ที่ต้องการผลักดันให้คนเข้าเว็บผ่านทางมือถือมากขึ้น เพื่อขยายฐานผู้อ่านหน้าใหม่ๆ เพิ่มเติม
ผู้บริหารของ Orange ให้สัมภาษณ์ว่า บริษัทต้องการให้คนในประเทศเหล่านี้สามารถ "เข้าถึง" สารสนเทศบน Wikipedia ได้ตลอดเวลา โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ
ข่าวนี้โดนข่าว Wikipedia เตรียม "จอมืด" ประท้วงกฎหมาย SOPA กลบซะมิดเพราะออกมาในเวลาไล่เลี่ยกัน
Wikipedia ออกแอพอย่างเป็นทางการใน Android Market แล้ว (Market link) โดยแอพเวอร์ชัน 1.0 สามารถใช้ได้กับ Android 2.2 Froyo ขึ้นไป
เราเห็นข่าว reddit ประกาศปิดเว็บชั่วคราว ประท้วงกฎหมาย SOPA กันไปแล้ว คราวนี้เป็นคิวของสารานุกรม Wikipedia กันบ้าง
นี่อาจเป็นฟีเจอร์ที่ผู้เขียน Wikipedia ต้องการมากที่สุด และรอคอยกันมานาน (มาก) ซึ่งในที่สุดมันก็เริ่มเกิดให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างสักที
ทีมผู้พัฒนา MediaWiki ซึ่งเป็น CMS ที่อยู่เบื้องหลัง Wikipedia และเว็บในเครืออื่นๆ เริ่มทดสอบ visual editor หรือตัวแก้ข้อความแบบวิชวลแล้ว โดย MediaWiki จะรองรับทั้งโหมด visual editor และโหมดแก้ไขข้อความด้วยภาษา markup แบบดั้งเดิม ซึ่งสามารถสลับไปมาหระหว่างกันได้
ตัว visual editor นี้ยังมีความสามารถแสดงโหมดแก้ไข 2 โหมดพร้อมกัน และแสดงโค้ดต้นฉบับได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นภาษา markup ของ MediaWiki เอง, JSON หรือ HTML ก็ได้ (ทดลองเล่นได้ที่ MediaWiki Sandbox)
Sergey Brin และภรรยา Anne Wojcicki บริจาคเงิน 500,000 ดอลลาร์ให้กับ Wikimedia Foundation มูลนิธิที่ดูแลกิจการของ Wikipedia และเว็บในเครือ Wiki อื่นๆ
การบริจาคจะผ่านมูลนิธิ Brin Wojcicki Foundation ของทั้งคู่ ในอดีตมูลนิธินี้เคยบริจาคเงินให้กับ Michael J. Fox Foundation ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อวิจัยหาแนวทางรักษาโรคพาร์กินสัน
Wikipedia ภาคภาษาอิตาเลียนตัดสินใจซ่อนเนื้อหาทั้งหมดชั่วคราว เหตุเพราะร่างกฎหมายฉบับใหม่ของอิตาลีที่เกี่ยวข้องกับการดักฟัง (Wiretapping Act ชื่อภาษาอิตาเลียนคือ DDL intercettazioni)
กฎหมายฉบับนี้เสนอโดยรัฐบาลอิตาเลียนของนายกรัฐมนตรีซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี และกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภา ประเด็นที่เป็นปัญหาคือกฎหมายระบุว่าถ้าบุคคลใดๆ เห็นว่าเว็บไซต์ลงข้อมูลของตัวเองผิดพลาด และกระทบต่อภาพลักษณ์ของตัวเอง สามารถร้องขอให้เว็บไซต์แก้ไขข้อมูลได้ ซึ่งเว็บไซต์จะต้องแก้ภายใน 48 ชั่วโมง
การร้องขอให้แก้ไขก็เป็นปัญหา เพราะไม่มีกระบวนการตรวจสอบโดยคนนอกว่าจะต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง (เท่ากับว่าเว็บไซต์จะต้องยอมแก้ตามเจ้าตัวทั้งหมด)
Wikimedia Foundation องค์กรแม่ของ Wikipedia ประกาศว่าเว็บไซต์ทั้งหมดในเครือ (ได้แก่ Wikipedia, Wiktionary, Wikisource, Wikiquote, etc.) รองรับการเรียกข้อมูลผ่านโพรโตคอล HTTPS แล้ว ช่วยให้ผู้ใช้เว็บไซต์เหล่านี้ปลอดภัยมากขึ้น
ก่อนหน้านี้ Wikimedia Foundation เคยมีเว็บ secure.wikimedia.org ซึ่งมีข้อจำกัดทางเทคนิคหลายประการ ตอนนี้เปลี่ยนมาเป็น URL แบบปกติแต่ใช้ https:// แทน ช่วยให้ระบบความปลอดภัยและการใช้งานสมบูรณ์ขึ้น
ตอนนี้เว็บใหญ่ๆ หลายแห่งของโลกไม่ว่าจะเป็น Google, Facebook, Twitter, Hotmail, Foursquare เปิดใช้ HTTPS กันหมดแล้ว (ติดตามอ่านได้จากข่าวหมวด SSL) อย่าลืมใช้งานเพื่อความปลอดภัยของข้อมูลของท่าน
Jimmy Wales ผู้ก่อตั้ง Wikipedia ไปพูดที่งานสัมมนาประจำปี Wikimania (ปีนี้จัดที่อิสราเอล) ยอมรับว่าจำนวนผู้เขียน (contributor) มีจำนวนลดลง
Wales บอกว่านี่ยังไม่ใช่ "วิกฤต" แต่ก็เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องสนใจ เขาบอกว่าเหตุผลสำคัญเป็นเพราะกฎเกณฑ์ของ Wikipedia ซับซ้อนเกินไป ทำให้ผู้ใช้หน้าใหม่ไม่อยากเข้ามาเขียน นอกจากนี้กลุ่มผู้เขียนหลักซึ่งเป็นผู้ชายวัย 20 กลางๆ เริ่มหันไปทำงานอย่างอื่น เช่น เปิดบริษัท แต่งงาน และเลิกเขียนบทความไป
Wikipedia ก่อตั้งเมื่อปี 2001 และบัดนี้ก็เดินทางมาถึง 10 ปีแล้ว ทางองค์กรแม่คือ Wikimedia Foundation ได้ระดมสมองระดมไอเดียจากผู้ใช้ Wikipedia และเว็บอื่นๆ ที่อยู่ในเครือจากทั่วทุกมุมโลก จัดทำเป็นแผนการพัฒนาในอีก 5 ปีข้างหน้า (2011-2015)
เป้าหมายหลักๆ ของ Wikimedia มี 5 ประการ ได้แก่
Sue Gardner ผู้บริหารของ Wikimedia ให้สัมภาษณ์ว่าเธอมีโครงการจะเพิ่มนักเขียนหญิงของ Wikipeia เป็น 25% ในปี 2015 จากที่ตอนนี้เป็นผู้ชายถึง 85% (ไม่ระบุว่าหญิงเท่าใหร่ แต่น่าจะต่ำกว่า 15% เพราะมีจำนวนหนึ่งไม่บอกเพศ)
เธอระบุว่าโครงการเพิ่มนักเขียนหญิงนี้ไม่ใช่เพื่อความเท่าเทียมทางเพศแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องของการเพิ่มคุณภาพเนื้อหาใน Wikipedia เอง เนื่องจากในตอนนี้ผู้เข้าร่วมแก้ไข Wikipedia จำนวนมากเป็นคนเชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์ชายอายุน้อยทำให้เนื้อหาเอียงไปในเรื่องที่คนกลุ่มนี้ให้ความสนใจ
โครงการนี้จะไม่ใช่การเชิญชวนนักเขียนหญิงเข้ามาโดยตรง แต่เป็นการสร้างบรรยากาศใน Wikipedia ให้ผู้หญิงที่ต้องการเข้าร่วมสามารถเข้าร่วมได้อย่างสะดวกใจมากยิ่งขึ้น
ใครที่เข้า Wikipedia ในช่วงกลางเดือนพฤษจิกายนของปีที่แล้ว คงเจอป้ายประกาศของนาย Jimmy Wales ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิ Wikimedia ถึงการขอรับเงินบริจาคโดยตั้งเป้ายอดบริจาคไว้ที่ 16 ล้านดอลลาร์
ล่าสุดวันนี้ (2 มกราคม 2011) ทาง Wikipedia ได้ออกมาขอบคุณและแจ้งว่ามียอดบริจาคเข้ามาได้ครบตามที่กำหนดไว้แล้ว โดยในการบริจาครอบนี้มีผู้บริจาคมากถึง 5 แสนคน มากกว่ารอบที่แล้ว (ที่ตั้งเป้าไว้ 7.5 ล้านดอลลาร์) เกือบเท่าตัว
ที่มา - ReadWriteWeb
มูลนิธิวิกิมีเดีย (Wikimedia Foundation) เจ้าของโครงการสารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย เตรียมเปิดสำนักงานในประเทศอินเดีย โดยจะเป็นสำนักงานแห่งแรกที่ตั้งอยู่นอกสหรัฐอเมริกา
จิมมี เวลส์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ ให้สัมภาษณ์ว่า ยังไม่ได้เลือกว่าจะตั้งสำนักงานที่ใด แต่น่าจะเริ่มเปิดทำงานได้ในอีกไม่กี่เดือน โดยเริ่มต้นจะมีพนักงานอยู่สองถึงสี่คน
ก่อนหน้านี้ ทวีปยุโรปและแอฟริกาก็ได้รับการพิจารณาเช่นกัน แต่ทวีปยุโรปนั้นพัฒนาไปมากแล้ว ส่วนแอฟริกานั้น ยังขาดความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี โดยเวลส์กล่าวว่า เขาชอบอินเดียที่ชุมชนมีความกระตือรือร้นสูง
ที่มา – BBC News
เกิดศึกโต้เถียงกันเล็กน้อย ระหว่างสำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐ ที่รู้จักกันในนาม FBI กับสารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย เกี่ยวกับการใช้ภาพตราของสำนักงานในหน้าบทความของวิกิพีเดีย
เมื่อเดือนที่ผ่านมา สำนักงานสอบสวนกลางได้ส่งจดหมายไปยังมูลนิธิวิกิมีเดีย (Wikimedia Foundation) ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลสารานุกรมวิกิพีเดีย ให้นำภาพตราของเอฟบีไอ ออกจากหน้าบทความในสารานุกรม โดยขู่ที่จะดำเนินคดีตามกฎหมายหากไม่ปฏิบัติตาม (ดูไฟล์จดหมายได้จากที่มา)
ในงาน Wikimania 2010 ที่ประเทศโปแลนด์ กูเกิลได้แถลงผลงานที่เข้าไปช่วยแปล Wikipedia ภาษาอังกฤษเป็นภาษาอื่นๆ โดยเฉพาะภาษาจากกลุ่มประเทศอินเดีย, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
โครงการนี้เริ่มเมื่อปี 2008 ภาษาแรกที่แปลคือภาษาฮินดี กูเกิลได้ใช้ Google Trends วิเคราะห์ทราฟฟิกเพื่อหา "หน้าที่ควรแปล" จากฉบับภาษาอังกฤษ จากนั้นใช้ทั้ง Google Translate (บ็อต) และ Translator Toolkit (คน) ช่วยกันแปล จนสามารถเพิ่มเนื้อหาของ Wikipedia ภาษาฮินดีได้อีก 20% หรือประมาณ 600,000 คำ
ถ้ารวม Wikipedia ทุกภาษาที่กูเกิลเข้าไปช่วยแปล จะเพิ่มเนื้อหาได้ทั้งหมด 16 ล้านคำ
โครงการ Wikipedia/Wikimedia เริ่มดำเนินการปรับโฉมมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และนำร่องทดสอบกับเว็บไซต์ Wikimedia Commons เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ตอนนี้ถึงเวลาของเว็บไซต์หลัก Wikipedia สารานุกรมเสรีเสียที
การเปลี่ยนแปลงนอกจากธีมใหม่ ยังปรับวิธีการนำทาง และตัวแก้ไขหน้าให้ใช้ง่ายขึ้นด้วย
Wikipedia ภาษาอังกฤษเปลี่ยนโฉมแล้วเรียบร้อย ของภาษาไทยยังไม่เปลี่ยนครับ
ที่มา - Wikimedia Foundation
หลังจากที่โครงการ Wikipedia เริ่มปรับปรุง usability ของเว็บใหม่ และทดลองใช้มาได้สักระยะ ก็ใกล้ได้เวลาที่จะนำมาใช้จริงแล้ว
การเปลี่ยนแปลงนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน (ทั้งหมดสามารถลองใช้ได้ก่อน โดยเข้าไปที่ Wikipedia แล้วกดลิงก์ Try Beta ที่มุมขวาบน)
ทางทีม Wikipedia Usability Initiative ได้เริ่มการพัฒนาหน้าตาของเว็บ Wikipedia ใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ง่ายได้มากขึ้นนั้นเอง ตัวโครงการมีระยะเวลาตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2009 ถึง มีนาคม 2010 ซึ่งแบ่งโครงการเป็น 3 เฟส แต่ละเฟสมีชื่อดังนี้ Acai, Babaco และ Citron โดยปัจจุปันได้พัฒนาถึงเฟสที่ 2 แล้ว และเราสามารถทดลองใช้เว็บได้แล้ว
ส่วนที่มีการออกแบบใหม่ มีดังนี้
* ปรับสีสันให้ดูสะอาดตาขึ้น
* ปรับตำแหน่งและชื่อปุ่มของเมนูใหม่ เพื่อง่ายต่อการจำ
* ตำแหน่งช่องคันหา ปรับจากด้านข้างซ้ายไปอยู่ด้านบนสุด
* แถบเครื่องมือแก้ไข (Edit toolbar) ออกแบบไอคอนและหน้าตาใหม่เพื่อให้เข้ากับเว็บใหม่และมีปุ่ม help เพื่อช่วยในการเขียน syntex ของ Wikipedia
ผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยในสเปนชี้ว่า วิกิพีเดีย สารานุกรมออนไลน์ที่ให้ทุกคนเข้ามาร่วมแก้ไขได้ สูญเสียอาสาสมัครแก้ไขจำนวนกว่า 49,000 คนในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้
ผลวิจัยดังกล่าวเป็นผลงานของ เฟลีเป ออร์เตกา (Felipe Ortega) จากมหาวิทยาลัยเรย์ควนการ์โลส (Universidad Rey Juan Carlos) ในกรุงมาดริด ประเทศสเปน โดยเปรียบเทียบตัวเลขกับช่วงเดียวกันในปี 2008 ซึ่งมีประมาณ 4,900 คน
ออร์เตกากล่าวว่า หากแนวโน้มยังคงเป็นเช่นนี้ วิกิพีเดียจะประสบปัญหาในเวลาไม่กี่ปี
OpenMoko เป็นบริษัทที่พัฒนา Freerunner โทรศัพท์มือถือโอเพนซอร์สมาหลายปี เวลาผ่านไป Freerunner ไม่ได้รับความนิยมนัก ส่วนตัวระบบปฎิบัติการก็ถูก Android แย่งส่วนแบ่งไปจนดูเหมือนจะไม่มีใครใช้ แต่วันนี้ OpenMoko ก็กลับมาแล้วด้วย WikiReader
WikiReader เป็นเครื่องอ่าน Wikipedia แบบมือถือ โดยหลักการแล้วมันคือเครื่องอ่านอีบุ๊กขนาดเล็กมากและอ่านได้แต่ Wikipedia เท่านั้น
เสปคคร่าวๆ คือจอสัมผัสที่มีคีย์บอร์ด QWERTY ในตัว และราคา 99 ดอลลาร์ ใช้งานได้ประมาณหนึ่งปีต่อแบตเตอรี่หนึ่งชุด และโหลดบทความมาในตัว 3 ล้านบทความ แต่ไม่ได้โอเพนซอร์สทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
ที่มา - WikiReader
ด้วยเหตุที่เป็นสารานุกรมเสรีที่ใครๆ ก็มีสิทธิในการแก้ไข ทำให้ Wikipedia นั้นได้รับการถกเถียงในด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลเป็นอย่างมาก (ใครนึกภาพไม่ออกว่ามันแก้ง่ายยังไงลองดูวิดีโอขำขันอันนี้) ล่าสุด Wikipedia นั้นเตรียมที่จะออกทดสอบระบบใหม่ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลแล้วครับ
The NY Times รายงานว่าทำไมรูปภาพประกอบข้อมูลบน Wikipedia บางครั้งทำไมถึงห่วยแตก หรือบางครั้งก็ไม่มีรูปภาพเลยสำหรับบุคคลที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปอย่างนักการเมือง หรือดาราต่าง ๆ
สาเหตุหลักนั้นเกิดจากการที่ Wikipedia นั้นเลือกที่จะใช้รูปภาพที่ได้รับการอนุญาต Creative Commons ที่เจ้าของภาพยินยอมให้บุคคลทั่วไปสามารถนำภาพไปใช้ได้ แม้จะนำไปใช้เพื่อการค้าหรือไม่ก็ตาม ตราบใดที่มีการให้เครดิตแก่เจ้าของผลงานจริง ๆ
Jay Walsh โฆษกของ Wikimedia Foundation ได้ออกมาเผยว่าบางครั้งเจ้าตัวบุคคลที่บทความใน Wikipedia กล่าวอ้างถึงนั้นได้พยายามให้ทาง Wiki ทำการเปลี่ยนรูปมาเป็นรูปที่ดีกว่า แต่การเปลี่ยนรูปมันไม่ง่ายอย่างนั้น
ต่อจากข่าวเก่า Wikipedia ทำระบบวิดีโอออนไลน์ใหม่ มีความคืบหน้าจาก Erik Moller รองผู้อำนวยการของ Wikimedia Foundation ว่า Wikipedia จะยังเลือก Ogg Theora เป็นฟอร์แมตหลักสำหรับวิดีโอ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยังไม่ตัดสินคือวิธีการแปลงไฟล์วิดีโอต้นฉบับเป็น Ogg Theora โดยทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้คือผู้ใช้ต้องแปลงไฟล์บนเครื่องของตัวเองแล้วค่อยอัพโหลด ซึ่งก็มีตัวช่วยอย่าง Firefogg ซึ่งเป็น extension ตัวหนึ่งของ Firefox
Wikimedia Foundation หน่วยงานแม่ของ Wikipedia จับมือกับบริษัทซอฟต์แวร์ Kaltura พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับแชร์วิดีโอออนไลน์ตัวใหม่ เพื่อใช้ในเว็บที่ให้บริการเนื้อหาสาธารณะหลายเว็บ
ตอนนี้มี 3 หน่วยงานที่เตรียมตัวใช้ระบบแชร์วิดีโอตัวใหม่นี้ ได้แก่ Wikimedia Commons คลังมัลติมีเดียของ Wikimedia, Internet Archive ซึ่งให้บริการอัพโหลดวิดีโอที่เป็นเนื้อหาเสรีอยู่แล้ว และ Metavid แหล่งรวมวิดีโอของสภาคองเกรสสหรัฐ
เดโมของแพลตฟอร์มวิดีโอใหม่ดูได้จาก WikiEducator เห็นว่าจะเปิดซอร์สโค้ดเป็น GPLv3