สารานุกรมเสรี
ปรกติแล้วกระบวนการตรวจสอบข้อมูลของเว็บสมัยใหม่ที่ต้องการยืนยันความถูกต้องนั้น มักจะอาศัยการอ้างที่มาของข้อมูลนั้นๆ เช่นเว็บอันดับโลกอย่างวิกิพีเดีย หรือ Blognone เองก็ตาม
หลังจากที่ได้เริ่มเปิดรับเงินบริจาคมาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม ปีที่แล้ว จนถึงวันนี้มีผู้ให้การบริจาคกว่า 125,000 คน รวมเป็นเงินกว่า 4 ล้านดอลลาร์ และจิมมี่ เวลส์ ยังได้กล่าวไว้ในจดหมายขอบคุณว่า เขาได้รับของขวัญชิ้นใหญ่เป็นเงินบริจาคถึง 2 ล้านดอลลาร์ รวมเป็น 6 ล้านตามงบประมาณที่วางเอาไว้สำหรับปีงบประมาณนี้ ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน ปี 2009
วิกิพีเดีย หรือสารานุกรมออนไลน์ที่ใครๆ ก็สามารถมีส่วนร่วมได้ ที่เป็นที่พึ่งของหลายๆ คนนั้น โดนบล็อกบางส่วนแล้วในอังกฤษครับ
ต้นเหตุเริ่มมาจากการที่วิกิพีเดีย นำเสนอภาพหน้าปกอัลบั้ม Virgin Killer ของวง Scorpions (หน้านี้) ซึ่งเป็นรูปเปลือยของเด็กผู้หญิงที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมื่อสถาบันควบคุมอินเทอร์เน็ต (Internet Watch Foundation - IWF) ของอังกฤษได้รับรายงาน จึงได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เพื่อบล็อกหน้าที่เกี่ยวข้อง และต้องการให้ทางวิกิมีเดียซึ่งเป็นเจ้าของลบรูปดังกล่าวออก
หอจดหมายเหตุของเยอรมนี (German Federal Archives หรือ Bundesarchiv) ได้บริจาครูปภาพจำนวน 100,000 รูปให้กับโครงการ Wikimedia Commons ซึ่งเป็นโครงการพี่น้องของ Wikipedia แต่มีหน้าที่เก็บสื่อต่างๆ ที่ใช้สัญญาอนุญาตแบบเสรีโดยเฉพาะ
โครงการนี้เป็นความร่วมมือของหอจดหมายเหตุเยอรมนี กับ Wikipedia ฉบับภาษาเยอรมัน รูปภาพส่วนใหญ่เป็นภาพถ่ายของประเทศเยอรมนีในอดีต การมอบภาพถ่ายให้จำนวน 100,000 รูปนี้เป็นการบริจาคเนื้อหาครั้งใหญ่ที่สุดที่ Wikimedia Commons เคยได้รับ
ความสำเร็จของวิกิพีเดียนั้นเกิดขึ้นเร็วมากอย่างไม่มีใครคาดคิด จนเซิร์ฟเวอร์ต้องขยายตัวจาก 15 เครื่องไปเป็น 200 เครื่องในเวลาเพียงปีครึ่ง ปัญหาที่ผ่านๆ มาคือเซิร์ฟเวอร์ของวิกิพีเดียนั้นหลากหลายมากทำให้ยากต่อการบำรุงรักษา ล่าสุดก็มีการประกาศแล้วว่าทางมูลนิธิ Wikimedia จะเปลี่ยนเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดไปใช้งาน Ubuntu Server เพื่อความง่ายในการจัดการ
งานนี้คนได้หน้าเป็นเต็มๆ คงเป็นทาง Canonical ผู้ดูแลโครงการ Ubuntu เองที่เอาข่าวนี้เป็นกรณีศึกษาสร้างความมั่นใจให้กับกิจการใหญ่ๆ ที่ต้องการใช้งานลินุกซ์ได้อีกเยอะ
ก่อนหน้านี้เซิร์ฟเวอร์หลักที่ใช้งานใน Wikimedia คือ Fedora และ Redhat
ไม่ใช่การเมืองไทยนะครับ การเมืองสหรัฐอเมริกาต่างหาก
หลังจากจอห์น แมคเคน ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน ได้เปิดตัวคู่หูชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดี (รันนิ่งเมท) เป็นสตรีคือ ซาราห์ พาลิน (Sarah Palin) ผู้ว่าการรัฐอลาสกา ซึ่งเป็นม้ามืดที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ทำให้เป็นประเด็นข่าวในสหรัฐมาพักใหญ่ตลอดช่วงสองสามวันที่ผ่านมานี้
นักวิจัยในสหรัฐอเมริกาได้เปิดห้องสมุด ห้องใหม่ที่เป็นของยีนมนุษย์ในวิกิพีเดีย โดยจะมีมนุษย์มากกว่า 25,000 ยีนในจีโนมทั้งหมด และมีบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ 9,000 บทความ ที่จะเข้าไปอยู่ในหน้า Gene Wiki ซึ่งเป็นโครงการของ Genomics Institute ใน Novartis Research Foundation ที่ซานดิเอโก แคลิฟอเนีย
โดยเป้าหมายของโครงการนี้อยู่ที่การให้จุดเริ่มต้นของแต่ละยีนที่ตรงกัน ซึ่งหลังจากนั้นข้อมูลจะถูกเติมเพื่อให้ทันสมัยโดยชุมชน ตามแบบฉบับของวิกิพีเดีย
สารานุกรมเสรีอย่างวิกิพีเดียกำลังได้รับการพิมพ์ออกเป็นรูปเล่มในภาษาเยอรมันภายในเดือนกันยายนนี้ โดยอาศัยการเลือกบทความจากความนิยมที่วัดจากคำค้นของวิกิพีเดียเอง โดย 50,000 คำแรกจะถูกบรรจุเข้าไว้ในการพิมพ์ครั้งนี้
ความหวังของการพิมพ์ครั้งนี้จะช่วยเพิ่มฐานผู้ใช้ให้กับวิกิพีเดีย โดยจะได้มาจากกลุ่มผู้อ่านหนังสือแบบเดิม
หนังสือจะมีราคา 19.95 ยูโร หรือ 31.85 ดอลลาร์ โดยทุกๆ เล่มจะบริจาค 1 ดอลลาร์เข้ามูลนิธิ Wikimedia
รอพิมพ์ภาษาอังกฤษมามั้งถ้าไม่แพงไปจะซื้อไปบริจาคห้องสมุดซักเล่ม
ที่มา - PhysOrg
สารานุกรม Britannica มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ปี 1768 แต่ในช่วงหลังต้องเจอกับคู่แข่งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีครั้งสำคัญ นั่นคือ Microsoft Encarta ในยุคซีดีรอม และ Wikipedia ในยุคอินเทอร์เน็ต Britannica จึงต้องปรับตัวตาม โดยปัจจุบันยังขายสารานุกรมเป็นหนังสือยกชุดอยู่ และมีเวอร์ชันเว็บที่ต้องเสียเงินก่อนเข้าใช้งาน
ทางการจีนตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของคณะกรรมการโอลิมปิกสากลด้วยการเปิดให้ประชาชนเข้าถึง "วิกิพีเดีย" สารานุกรมเสรีที่ได้รับความนิยมสูงสุดแล้วในวันนี้
การยกเลิกการบล็อกนี้ไม่รวมถึงหน้าเว็บที่ "อ่อนไหว" ต่อความมั่นคงของทางการจีนไม่ว่าจะเป็นหน้าที่เขียนถึงจตุรัสเทียนอันเหมิน หรือเรื่องราวของทิเบตในตอนนี้เองก็ตาม รวมถึงหน้าวิกิพีเดียภาษาจีนนั้นยังคงถูกบล็อกต่อไป
การบล็อกของจีนนั้นทำผ่านโครงการ Golden Shield ที่ทางการจีนลงทุนไปกว่า 800 ล้านดอลลาร์ และปัจจุบันมีตัวเลขเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกอย่างน้อย 18,000 เว็บไซต์
จำนวนบทความใน Wikipedia (นับรวมทุกภาษา) ครบสิบล้านบทความแล้ว
ภาษาที่โชคดีนั้นคือฮังการี โดยบทความที่ว่าคือ Nicholas Hilliard ซึ่งเป็นจิตรกรในศตวรรษที่ 16 (เวอร์ชันภาษาอังกฤษ)
ปัจจุบัน Wikipedia มีประมาณ 250 ภาษา โดยภาษาที่มีบทความมากที่สุดคืออังกฤษ 2.3 ล้านบทความ ตามมาด้วยเยอรมันและฝรั่งเศสตามลำดับ ภาษาไทยอยู่อันดับที่ 39 ขณะที่ผมเขียนมี 33,723 บทความครับ (รายชื่อภาษาทั้งหมดและสถิติต่างๆ)
มูลนิธิ Alfred P. Sloan ได้อนุมัติเงินบริจาคให้กับมูลนิธิ Wikimedia เจ้าของเว็บสารานุกรมวิกิพีเดียเป็นเวลาสามปี ปีละหนึ่งล้านดอลลาร์ นับเป็นยอดบริจาคสูงที่สุดเท่าที่วิกิพีเดียเคยได้มาทีเดียว
ปีที่แล้ว Wikimedia มียอดบริจาครวม 2.2 ล้านดอลลาร์ และปีก่อนหน้านั้นมียอด 1.3 ล้านดอลาร์ แม้ยอดเงินจะค่อนข้างสูง แต่เนื่องจากเป็นการบริจาคจากคนจำนวนมากที่ไม่ได้มีสัญญาผูกพันระยะยาวจึงทำให้ค่อนข้างเป็นปัญหาเมื่อทาง Mediawiki ต้องการจ้างบุคคลากรเพิ่มเติม
ตั้งแต่ปี 2001 ที่เริ่มก่อตั้ง Wikimedia มีงบประมาณรวม 4.6 ล้านดอลลาร์ กว่าครึ่งใช้ไปเพื่อบำรุงรักษาเซิร์ฟเวอร์และค่าเช่าแบนด์วิดท์
ยักษ์ใหญ่ด้านโฆษณาและบริการค้นหาอย่างกูเกิล ล่าสุดได้เตรียมตัวที่จะเปิดตัวสารานุกรมออนไลน์ลักษณะคล้าย ๆ กับวิกิพีเดียที่เรารู้จักกันดีแล้ว!
กูเกิลได้ตั้งชื่อให้กับสารานุกรมออนไลน์ตัวนี้ว่า The "Knol" Project
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมในตอนนี้ยังไม่มีมากนัก แต่ว่ากูเกิลได้ออกมาพูดคร่าว ๆ ว่ากูเกิลจะเพียงแค่โฮสและอำนวยความสะดวกในเรื่องของการเขียนและแก้ไขคอนเทนท์ แต่จะไม่ทำการดัดแปลงหรือแก้ไขคอนเทนท์แต่อย่างใด แต่ถ้าหากว่าบทความไหนมีคุณสมบัติเพียงพอที่กูเกิลเห็นชอบด้วยจะได้เป็นผลการค้นหาแรก ๆ จากการค้นหาข้อมูล (Search) ด้วยกูเกิลเซิร์ช
นอกเหนือจากนี้แล้วคาดว่าผู้ที่เข้าร่วมในการเขียนข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้มีสิทธิที่จะมีรายได้ผ่านทางโฆษณาจาก Google Ads
ยูดี แมนเบอร์ (Udi Manber) หัวหน้าวิศวกรกูเกิลได้เขียนในบล็อก หัวข้อการแบ่งปันความรู้ ได้เปิดเว็บไซต์ที่ผู้ใช้ช่วยร่วมเขียน รวมเนื้อหาหลากหลายตั้งแต่ วิทยาศาสตร์ การแพทย์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ บันเทิง ผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือแม้แต่พวกฮาวทู โดยชื่อในโครงการคือ กูเกิลโนล (Google Knol) ซึ่งว่าไปแล้วก็จะมีลักษณะคล้าย วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อเจ็ดปีก่อน แต่โนลจะเน้นในลักษณะสำหรับ"มืออาชีพ"มากกว่า โดยความสามารถอื่นของเว็บนี้จะแตกต่างจากวิกิพีเดียอย่างเห็นได้ชัดคือ (1) เนื้อหาในแต่ละหน้าะมีผู้สร้างเพียงคนเดียว และจะให้ความสำคัญผู้เขียนบทความ โดยชื่อผู้เขียนจะแสดงไว้ในส่วนบนสุดของบทความ (2) จะอนุญาตให้มีการใส่ความเห็นที่ท้ายบทความเช่นเดียวกับเนื้อหาบล็อกหรือข่าวทั่วไป และ (3) เน
หลังจากที่มูลนิธิวิกิมีเดียซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสารานุกรมวิกิพีเดียและโครงการอื่น ๆ ในรูปแบบเดียวกัน ได้เห็นชอบกับข้อเสนอของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี ที่จะแก้ไขสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู (ซึ่งบทความในวิกิพีเดียใช้อยู่ในปัจจุบ
เรื่องหนึ่งที่ถกเถียงกันในประชาคมวิกิพีเดีย คือเรื่องสัญญาอนุญาต กล่าวคือนับตั้งแต่เริ่มโครงการวิกิพีเดียเป็นต้นมา ผู้ก่อตั้งต้องการให้เนื้อหาของวิกิพีเดียสามารถนำไปเผยแพร่ต่อหรือแก้ไขได้อย่างเสรี แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการให้การนำไปเผยแพร่ต่อหรือแก้ไขนั้นยังคงความเสรีอยู่เช่นเดิม จึงได้เลือกที่จะเผยแพร่เนื้อหาข้อความทั้งหมดด้วยสัญญาอนุญาต GFDL ซึ่งออกโดย Free Software Foundation (FSF)
จิมมี เวลส์ ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย (หรือ วิกีพีเดีย ถ้าไม่อ่านแบบทิงลิช) ประกาศมาเมื่อคืนว่า มูลนิธิวิกิมีเดียตกลงยอมรับที่จะมีการปรับแก้ลิขสิทธิ์ของวิกิพีเดียจากเดิมที่เป็นแบบ GFDL ให้สอดคล้องกับ CC หรือ ครีเอทีฟคอมมอนส์ ที่ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมและมีการพัฒนาตลอดเวลา (รวมถึงการแปลในหลายภาษา ซึ่งภาษาไทยเรากำลังจัดทำอยู่และคงออกมาให้ใช้เร็ววันนี้)
ขณะที่ข้อโต้แย้งระหว่างการรีวิวบทความที่เป็นระบบในโลกการศึกษา กับการดูแลบทความด้วยชุมชนในวิกิพีเดียยังคงเดินหน้าต่อไป ศาสตราจารย์ Martha Groom แห่งมหาวิทยาลัย Washington-Bothell ก็ได้แนวคิดใหม่ในการสั่งงานให้นักเรียนในชั้นเรียนของเธอต้องเขียนบทความในวิกิพีเดีย
เธอระบุว่าแรงบันดาลใจนี้มาจากการเตรียมการสอนของเธอเอง เมื่อเธอพบว่าหลายบทความในวิกิพีเดียยังขาดข้อมูลไปเป็นจำนวนมาก และนักเรียนของเธอน่าจะมีส่วนช่วยในการเพิ่มข้อมูลเหล่านั้นได้
มีรายงานการวิเคราะห์แนวโน้มของวิกิพีเดียในช่วงหกปีที่ผ่านมาถึงสภาวะการมีส่วนร่วมกันของวิกิพีเดียพบว่าการมีส่วนร่วมกันเขียนบทความของวิกิพีเดียกำลังลดลงไปถึงร้อยละ 20 นับแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยปริมาณการแก้ไขบทความขึ้นสูงสุดในช่วงต้นปี 2007 นั้นอยู่ที่ระดับ 160,000 ครั้งต่อวัน แต่ในช่วงเดือนที่ผ่านมานั้นอยู่ที่ 130,000 ครั้งต่อวันเท่านั้น ส่วนปริมาณการสมัครสมาชิกใหม่นั้นก็ลดลงเช่นกันโดยจากกว่าหมื่นคนต่อวัน ตอนนี้มีการสมัครสมาชิกอยู่ที่เจ็ดพันกว่าคนต่อวัน เท่านั้น
วิกิพีเดียไทยประกาศออกมาว่ามีผู้ลงทะเบียนในเว็บไซต์ครบ 30,000 คน ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมาโดยในวันนั้นมีบทความ 26,682 เรื่อง ในปัจจุบันวิกิพีเดียไทยมีผู้เข้าชมเฉลี่ยประมาณ 120,000 คนต่อวัน ซึ่งบางวันมีคนเข้าชมมากถึง 168,243 คนภายในหนึ่งวัน
สำหรับในด้านเทคนิคนั้นผู้ใช้งานวิกิพีเดียไทยมากกว่า 99.5% ใช้งาน ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และผู้เข้าชมมากกว่า 96.0% ยังคงใช้งาน Internet Explorer (IE) นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้ Wii หรือ PSP ในการเข้าดูเว็บวิกิพีเดียไทยด้วย
ที่มา: วิกิพีเดียไทย
ข้อถกเถียงในเรื่องของความน่าเชื่อถือของ Wikipedia ถูกยกขึ้นมาพูดกันหนาหูขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลังมานี้ โดยเฉพาะเมื่อมีการอ้างอิงข้อมูลไปใช้ในงานจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และมีข่าวการปลอมข้อมูลไปใส่ไว้โดยไม่ได้รับการตรวจสอบอยู่เป็นระยะ
นักวิจัยที่UCSC จึงเสนอทางออกใหม่ที่จะให้ชุมชนใน Wikipedia สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อความที่ถูกแก้ไขได้เร็วขึ้น โดยการเพิ่มแถบสีแสดงความน่าเชื่อถือของแต่ละข้อความเอาไว้
ผู้ก่อตั้ง Wikipedia นาย Jimmy Wales ได้ออกมาบอกถึงแผนการในอนาคตของ Wikia เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ถึงโครงการที่จะสร้าง community-developed Web search service ซึ่งอาจจะเป็นคู่แข่งของ Google หรือ Yahoo! ที่เป็นตลาดใหญ่ของเว็บ Search engine
เดือนพฤษภาคม 2007 มีผู้เข้าชมวิกิพีเดียจำนวน 46.8 ล้าน UIP ซึ่งเพิ่มขึ้นมาถึง 72% เมื่อเทียบกับตัวเลขเดือนมิถุนายน 2006 ซึ่งทำให้วิกิพีเดียกลายเป็นเว็บไซต์อันดับหนึ่งในหมวดข้อมูลข่าวสาร (news and information) เหนือแชมป์เก่าอย่าง Weather Channel
รองประธานของบริษัทวิจัยการตลาด Nielsen BuzzMetrics ให้ความเห็นว่า การมีส่วนร่วมของผู้ใช้วิกิพีเดีย ทำให้เว็บไซต์โตขึ้นเรื่อยๆ เหมือนอะมีบา (เป็นคำชมที่แปลกดี)
สิ่งที่เร่งอัตราการเติบโตของวิกิพีเดียคือพวกข่าวเด่นประเด็นร้อนทั้งหลาย เช่น การก่อการร้ายที่ลอนดอน, สึนามิปี 2004, ฆาตกรรมที่สถาบันเทคโนโลยีเวอร์จิเนีย, iPhone และการฆ่าตัวตายของนักมวยปล้ำ Chris Benoit เป็นต้น
ข้อจำกัดของวิกิพีเดียอย่างหนึ่งในตอนนี้คือผู้ที่จะเข้าถึงมันได้ต้องสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เท่านั้น โดรงการเพื่อแก้ปัญหานี้อย่าง WikipediaOnDVD ร่วมมือกับทางวิกิพีเดียเพื่อผลิตซีดีจากบทความที่ได้รับการคัดเลือกจากชุมชนให้มีการผลิตออกเป็นซีดีเพื่อจำหน่ายออกไป โดยผู้ใช้ไม่ต้องพึ่งพาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ในขณะที่ Wikia ได้แต่ให้ข่าวเรื่องเสิร์ชเอ็นจิน ที่ผู้ใช้สามารถแก้ไขผลการค้นหาได้ ทาง WikiSeek ได้ก้าวไปก่อนอีกขั้น หลังจากที่ออกเสิร์ชเอ็นจิน ที่ค้นหาข้อมูลจากวิกิพีเดีย และลิงค์ที่ออกไปจากวิกิพีเดียมาแสดง เมื่อตอนเดือนมกราคม
โดยตอนนี้ Wikiseek ได้เพิ่มความสามารถอีกอย่างคือ สามารถแก้ไขบทความจากวิกิพีเดีย ที่แสดงในหน้าผลการค้นหาได้เลย ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็คือการใส่ลิ้งค์แก้ไขบทความเท่านั้น ถ้าแนวคิดของเสิร์ชเอ็นจินที่ผู้ใช้สามารถแก้ไขผลการค้นหาได้ มีแค่นี้ ก็คงยากที่จะต่อกรกับกูเกิลได้ เพราะผลการค้นหายังไม่ค่อยจะถูกต้องเท่าไหร่เลย