ไม่รู้ว่าเป็นเพราะปัญหาเศรษฐกิจ (อย่าง บริษัทดอทคอมเริ่มปลดพนักงาน) หรือเป็นเพราะปัญหาภายในกันแน่ (หรือทั้งสองอย่าง?) แต่ Yahoo! เตรียมปลดพนักงานอีกระลอกใหญ่ ซึ่งว่ากันว่าจะอยู่ที่ 1,000-3,000 คนเลยทีเดียว
เมื่อเดือนมกราคม Yahoo! ปลดพนักงานไปแล้วประมาณ 1,000 ราย และตลอดปีที่ผ่านมา พนักงานระดับสูงของ Yahoo! ได้ทยอยลาออกไปเป็นจำนวนมาก ตามข่าวที่ออกมาอยู่เรื่อยๆ
Yahoo! ได้จ้าง Bain & Co. ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชื่อดัง ให้มาลดขนาดองค์กรลง และสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่สดใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งในขั้นแรกก็คงไม่มีมาตรการอื่นนอกจากการปลดพนักงานที่ไม่จำเป็นออกไป
Yahoo! ออกบริการ Yahoo! Web Analytics สำหรับเก็บข้อมูลและวิเคราะห์สถิติของเว็บไซต์ แบบเดียวกับ Google Analytics
บริการนี้เป็นผลมาจากการซื้อบริษัท IndexTools เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา (เช่นเดียวกับ Google Analytics มาจากบริษัท Urchin เดิม) จุดขายสำคัญของ Yahoo! Web Analytics คือความเร็วในการอัพเดตข้อมูลแบบ "เกือบเรียลไทม์" ซึ่งดีกว่ารอบ 8-12 ชม. ของ Google Analytics อีกอย่างคือให้ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลดิบทั้งหมดผ่านทาง API ด้วย เมื่อเทียบกับของกูเกิลที่แสดงเฉพาะข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วเท่านั้น ทำให้ผู้ใช้ Yahoo! Web Analytics สามารถเขียนโปรแกรมวิเคราะห์สถิติเพิ่มเติมเองได้
ตอนนี้ยังอยู่ในช่วง private beta คงรอกันอีกไม่นาน
ยาฮูเตรียมเปิดตัวแพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์ตัวใหม่ โค้ดเนม Apex ที่งาน Advertising Week สัปดาห์หน้า (22 ก.ย.)
เจอรี่ หยาง ซีอีโอและผู้ก่อตั้งบอกว่า "นี่เป็นการเสี่ยงครั้งสำคัญ" (This is a big bet) ของยาฮูที่จะกลับมาสู้กับกูเกิลเต็มที่ได้อีกครั้ง ปัจจุบันกูเกิลมีรายได้ 16.2 พันล้านดอลลาร์ ส่วนยาฮูมี 5.6 พันล้าน
ซาร่าห์ พาลิน ผู้ว่าการรัฐอลาสกาคนปัจจุบัน และผู้สมัครลงชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีประเทศสหรัฐอเมริกาจากพรรครีพับลิกัน คู่กับนายจอห์น แมคเคน
ถูกตีพิมพ์ screenshots ของหน้าอีเมลส่วนตัวที่เปิดใช้อยู่กับยาฮู รวมไปถึงรูปภาพครอบครัว ลงเว็บไซด์ WikiLeaks โดยผู้ตีพิมพ์ได้บอกว่าเขาได้แฮกอีเมลส่วนตัวของ ซาร่าห์ พาลิน ได้สำเร็จแล้ว
หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทางฝ่ายผู้เสียหายได้ติดต่อทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ
และโฆษก FBI ยืนยันกับ CNN ว่ากำลังสอบสวนเรื่องนี้อยู่
พาลิน ถูกวิจารณ์ว่าใช้อีเมลส่วนตัวในการทำงานบริหารรัฐอลาสกาที่ตนเป็นผู้ว่าการอยู่ พร้อมทั้งถูกสงสัยว่าเธอกำลังปิดบังข้อมูลจากสาธารณะ
ยุทธศาสตร์ในช่วงหลังของยาฮูในการตอบโต้กูเกิล คือยึดแนวทางโอเพนซอร์ส เปิด API ของบริการต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เพื่อหวังให้เกิดความสร้างสรรค์ใหม่ๆ จากนักพัฒนาภายนอก (ดูข่าวเก่า สร้างเว็บค้นหาเองด้วย Yahoo! BOSS และ Yahoo! Glue ค้นหาแบบรวมมิตร) ทางยาฮูเองก็เรียกยุทธศาสตร์นี้ว่า Yahoo Open Strategy
มีข่าวลือจากทาง TechCrunch ออกมาอีกครั้งว่าในวันพรุ่งนี้ อินเทล, HP, และยาฮูกำลังประกาศความร่วมมือในโครงการวิจัยร่วมกัน
ยังไม่มีรายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับงานวิจัยนี้ แต่รอสัก 24 ชั่วโมงก็คงไม่ใช่เรื่องที่นานเกินไป
ว่าแต่มันจะเป็นอะไรหว่า Atom + Mini-Note + Search = ????
ที่มา - TechCrunch
ความคืบหน้าต่อจากข่าว กลุ่มผู้ถือหุ้นอิสระของ Yahoo! เสนอทางออกโหวตบอร์ดผสม
ศึกภายในระหว่างบอร์ดของยาฮูกับผู้ถือหุ้น Carl Icahn ที่หวังจะเปลี่ยนบอร์ดยกชุดนั้นจบลงด้วยการเจรจา ซึ่ง Icahn ได้เข้ามาเป็นบอร์ดบริหารของยาฮู พร้อมกับคนฝ่ายของตัวเองอีก 2 คน ส่วนข้อแลกเปลี่ยนนั้นคือ Icahn ยอมล้มเลิกแผนการโหวตเปลี่ยนบอร์ด ส่วนเจอร์รี่ หยางนั้นยังดำรงตำแหน่งบอร์ดควบซีอีโอต่อไป
ศึกภายในของ Yahoo! ระหว่างบอร์ดและคณะผู้บริหารชุดปัจจุบัน กับฝ่ายของ Carl Icahn ซึ่งเสนอบอร์ดใหม่ยกชุด ทั้งสองฝ่ายดูจะอยู่ร่วมโลกกันได้ยาก (ข่าวเก่า: Yahoo! ใช้โฮมเพจตอบโต้ Carl Icahn) วันชี้ชะตาคือประชุมสามัญผู้ถือหุ้นใหญ่ 1 สิงหาคมนี้
กลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวนหนึ่งได้รวมตัวกันในชื่อว่า Yahoo Plan B นำโดย Eric Jackson ได้เสนอทางออกที่ประนีประนอมระหว่างกลาง โดยกลุ่ม Plan B จะโหวตให้ฝ่ายบอร์ดปัจจุบัน 5 ตำแหน่ง และบอร์ดที่ Icahn นำเสนออีก 4 ตำแหน่ง กลุ่ม Plan B นี้มีผู้ถือหุ้น 150 รายและมีหุ้นรวมกัน 3.2 ล้านหุ้น ถึงกลุ่ม Plan B จะยังสนับสนุนเจอร์รี่ หยางให้เป็นบอร์ดอยู่ แต่ Jackson ให้สัมภาษณ์ว่าควรเปลี่ยนตัวซีอีโอ
ปรากฏการณ์ล่มสลายของยาฮูดูเหมือนจะหยุดไม่อยู่ ล่าสุด Joshua Schachter ผู้ก่อตั้ง Del.icio.us ที่ทางยาฮูซื้อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งตั้งแต่ปี 2005 ก็ประกาศลาออกจากทีมผู้บริหารของยาฮูแล้ว
เว็บ Del.icio.us หยุดการพัฒนามาได้พักใหญ่ๆ และดูเหมือนว่าเวอร์ชั่นต่อไปของเว็บนี้จะยังไม่ออกไปอีกนานทีเดียว
ที่มา - TechCrunch
คนที่ยาฮู (หรือจะพูดให้ถูกคือบอร์ดและผู้บริหารชุดปัจจุบันของยาฮู) กลัวที่สุดในตอนนี้ไม่ใช่ไมโครซอฟท์ แต่เป็น Carl Icahn นักลงทุนรายใหญ่และผู้ถือหุ้นของยาฮู ที่เสนอให้โหวตเปลี่ยนบอร์ดชุดใหม่ในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ (ดูข่าวเก่า: ศึกภายใน Yahoo! ผู้ถือหุ้นเตรียมเสนอบอร์ดชุดใหม่)
ผู้บริหารยาฮูจึงออกมาตอบโต้แถลงการณ์ของ Icahn ในโอกาสต่างๆ ด้วย press release เสียเป็นส่วนมาก แต่ล่าสุดยาฮูใช้โฮมเพจของตัวเอง ซึ่งเป็นหน้าเว็บที่มีคนเข้ามากที่สุดในโลกตามสถิติของ Alexa ในการตอบโต้ Icahn แล้ว
รอบที่เท่าไรไม่รู้แล้ว สำหรับคนที่ไม่ได้ติดตาม ผมเขียนสรุปของรอบก่อนไว้ที่ บทสรุปไมโครซอฟท์-ยาฮู-กูเกิล ยก 2 (14 มิ.ย.) ส่วนความคืบหน้าหลังจากนั้นคือ ผู้บริหารระดับสูงของ Yahoo! ลาออกไปแล้วถึง 114 คนตั้งแต่ มกราคม 2550 (22 มิ.ย.) และ กระทรวงยุติธรรมสหรัฐตรวจสอบดีลยาฮู-กูเกิล (3 ก.ค.) ส่วนต้นเรื่องของข่าวนี้คือ สงครามชิงยาฮูยังไม่จบ ไมโครซอฟท์พร้อมกลับมาหากมีการเลือกบอร์ดใหม่ (7 ก.ค.)
กลยุทธ์ของยาฮูในช่วงหลังนั้นมาแนวเดียวกับบริษัทซอฟต์แวร์มวยรอง นั่นคือถ้าสู้ไม่ได้ก็โอเพนซอร์สดีกว่า แต่คราวนี้ยาฮูไม่ได้เปิดเผยซอร์สโค้ดของระบบค้นหาของตัวเอง แต่เปิดให้เข้าถึงผลการค้นหาแทน
Yahoo! BOSS ย่อมาจาก Build your Own Search Service เป็นเว็บเซอร์วิสที่อนุญาตให้นักพัฒนาทั่วไป ดึงผลการค้นหาและดัชนีเว็บของยาฮูมาดัดแปลงเป็น search engine เฉพาะทางของตัวเองได้ BOSS เป็นพัฒนาการอีกขั้นจาก Yahoo! Search API โดยอนุญาตให้พลิกแพลงแก้ไขได้อิสระมากขึ้นมาก เงื่อนไข 5,000 queries ต่อวันถูกเปลี่ยนเป็นไม่จำกัดจำนวน และอนุญาตให้ผู้ใช้เรียงลำดับผลการค้นหาได้ใหม่ รวมถึงเพิ่มเนื้อหาแบบอื่นๆ เข้ามาผสมกับผลการค้นหาของยาฮูได้เช่นกัน
กรณีพิพาทระหว่างผู้ถือหุ้นและผู้บริหารของยาฮูนั้น ตัวแปรหนึ่งที่ตัดออกไปไม่ได้เลยคือกูเกิลที่เข้ามาทำข้อตกลงกับยาฮูในจังหวะที่ไมโครซอฟท์กำลังต้องการครอบครองยาฮูทั้งหมด
Schmidt ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่าการที่ผู้บริหารยาฮูไม่ตกลงขายบริษัทให้ไมโครซอฟท์นั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะตลาดต้องการการแข่งขัน และกล่าวว่าหลายต่อหลายครั้งที่ข้อเสนอของไมโครซอฟท์นั้นดูดี แต่ไม่ดีเท่าใหร่นักเมื่อได้มองในรายละเอียดของสัญญา
ข่าวสงครามแย่งชิงผลประโยชน์ในหมายเลขสองอย่างยาฮูที่ดูเหมือนจะจบลงไปแล้วด้วยการถอนตัวของไมโครซอฟท์นั้นกลับมาร้อนระอุอีกครั้ง เมื่อทาง Carl Icahn ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สนับสนุนการขายบริษัทให้ไมโครซอฟท์มาตลอดได้ไปเจรจากับไมโครซอฟท์โดยตรงแล้วได้ข้อสรุปว่าไมโครซอฟท์พร้อมจะกลับมา "เชื่อมความสัมพันธ์" ครั้งใหญ่กับยาฮูอีกครั้งหากทางยาฮูมีการเลือกบอร์ดบริหารใหม่
Icahn ย้ำอีกครั้งว่าบอร์ดผู้บริหารของยาฮูในปัจจุบันนั้นทำผิดพลาดอย่างมากที่ไม่รับข้อเสนอของไมโครซอฟท์ที่ 33 ดอลลาร์ต่อหุ้น อีกทั้งแสดงความผิดพลาดในการบริหารที่ทำให้ตัวเลขผลประกอบกิจการของยาฮูหดตัวลงถึงร้อยละ 21 ในปีที่ผ่านมา
จากข่าวเก่า ไมโครซอฟต์ถอนตัวจากยาฮู, กูเกิลทำข้อตกลง 800 ล้านดอลลาร์สำเร็จ และ บทสรุปไมโครซอฟท์-ยาฮู-กูเกิล ยก 2 มีข่าวว่าหน่วยงานที่ตรวจสอบการผูกขาดของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐกำลังจับตาดีล 800 ล้านของกูเกิลและยาฮู ถึงแม้ว่ากูเกิลจะแสดงความมั่นใจว่าดีลนี้จะผ่านไปได้ด้วยดี โดยเหตุผลของกูเกิลคือ เป็นดีลที่ไม่ผูกมัดรายเดียว (non-exclusive) ต่อยาฮู
ตอนนี้ข่าวยืนยันแล้ว โดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐกำลังสอบถามบริษัทโฆษณาออนไลน์และสื่อหลายแห่ง ว่ามีความเห็นอย่างไรต่อดีลนี้
ข้อโต้แย้งของฝ่ายคัดค้าน (นำโดยไมโครซอฟท์) และฝ่ายสนับสนุน (นำโดยกูเกิล) มีหลายอย่างดังนี้
Adobe ได้ออกมาประกาศว่าต่อไปนี้ทั้งกูเกิลและยาฮูนั้น ได้เพิ่มความสามารถในการค้นหาข้อมูลถูก Encode อยู่ในไฟล์ Flash ได้แล้ว
โดยความสามารถนี้นั้น เกิดจากการพัฒนาร่วมกันระหว่าง Adobe และสองยักษ์ใหญ่นี้ เพื่อที่จะให้ผู้ใช้สามารถที่จะค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ในไฟล์ SWF เช่นข้อความ ลิงค์ และเนื้อหาที่เป็นวีดีโอและเสียงอีกด้วย
นอกจากจะเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ใช้แล้ว ยังทำให้ผู้ผลิตเนื้อหาต่าง ๆ ไม่กลัวที่จะใช้งาน Flash มากขึ้น เนื่องจากกลัวว่าจะไม่มีผู้ใช้พบผลงานของตัวเองได้ตาม Search Engine ต่อไปนี้ จะไม่มีปัญหานี้อีกต่อไป
ที่มา - Macworld
TechCrunch ได้ทำการสรุปรายชื่อผู้บริหารระดับสูงของ Yahoo! ที่ได้ลาออกจากตำแหน่งตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ซึ่งมีจำนวนถึง 114 คน โดยจุดที่น่าสังเกตอย่างมากคือ เฉพาะเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ก็มีผู้บริหารระดับสูงลาออกไปแล้วถึง 18 คน (อนุมานได้คร่าวๆ ว่าวันละ 1 คน!) ซึ่งนี่อาจจะเป็นการบ่งชี้อะไรสักอย่างที่น่าวิตกกับสถานะการณ์ภายในของ Yahoo! เอง
พอดีผมไม่มีข้อมูลการลาออกของผู้บริหารระดับสูงในบริษัทอื่น ๆ เลยไม่ค่อยแน่ใจว่าตัวเลข 114 คนนี่ถือว่าเป็นปกติหรือไม่
ที่มา - TechCrunch (พร้อมตารางรายชื่อ)
สถานะการณ์ของ Yahoo! เหมือนจะแย่ลงไปเรื่อยๆ หลังจาก Joshua Schachter ผู้ก่อตั้งออนไลน์บุคมาร์ค del.icio.us ที่ Yahoo! ซื้อมาในปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) (ข่าวเก่า) ประกาศลาออกจาก Yahoo! เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 ที่ผ่านมา โดยกเหตุผลในการลาออกครั้งนี้ยังไม่แน่ชัด แต่คาดว่าต้นเหตุน่าจะเหมือนๆ กับผู้บริหารรายก่อนหน้ารวมไปถึงผู้ก่อตั้ง Flickr ด้วย (ข่าวเก่า)
ฤ จะถึงกาลอวสานของ Yahoo!
ที่มา - TechCrunch
สถานการณ์ของ Yahoo! ยังคงดูไม่ค่อยดีหลังจากสรุปผลการเจรจากับทางไมโครซอฟท์เมื่อสองผู้ก่อตั้ง (สามี-ภรรยา) ของ Flickr บริการแลกเปลี่ยนรูปออนไลน์ที่ Yahoo! ซื้อมาในปี ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) ได้ลาออกจากบอร์ดบริหารซึ่ง Caterina Fake ได้ลาออกจาก Yahoo! ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน ที่ผ่านมาและ Stewart Butterfield จะลาออกในวันที่ 12 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้ ซึ่งจนถึงบัดนี้ยังไม่มีรายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับการลาออกในครั้งนี้
ข่าวนี้จะรวมความเคลื่อนไหวทั้งหมดของรักสามเส้าที่สุดท้ายไมโครซอฟท์อกหัก แต่นางเอกอย่างยาฮูก็ยังอาการไม่ค่อยดีเท่าไรอยู่ดี
ไมโครซอฟท์เตรียมถอนตัวจากการซื้อยาฮูทั้งบริษัทอย่างเป็นทางการแล้ว หลังมีการเจรจามายาวนาน ราคาสุดท้ายที่ไมโครซอฟท์เสนอให้ยาฮูนั้นคือ 33 ดอลลาร์ต่อหุ้นซึ่งหากสำเร็จจะเป็นการตกลงที่มีมูลค่าสูงถึง 47.5 พันล้านดอลลาร์ (พอๆ กับงบประมาณแผ่นดินของไทย)
ไมโครซอฟท์ถอนตัวไปครั้งนี้แต่ก็ยังคงเสนอที่จะซื้อหุ้นร้อยละ 16 ของยาฮูในราคา 35 ดอลลาร์ต่อหุ้นต่อไป
ข่าวต่อมาแทบจะมาติดกันเมื่อยาฮูออกมาประกาศบรรลุข้อตกลงแบบไม่ผูกขาดกับทางกูเกิล โดยสัญญามีระยะเวลาสิบปี ช่วงแรกสี่ปี และเป็นสิทธิของทางยาฮูที่จะต่อสัญญาได้สองครั้ง ครั้งละสามปี เปิดให้ทางยาฮูนำโฆษณาของกูเกิลไปลงร่วมกับโฆษณาอื่นๆ บนหน้าเว็บของทางยาฮูเอง และคาดว่าจะสร้างรายได้ให้ยาฮูประมาณปีละ 800 ล้านดอลลาร์
ผลลัพธ์ของการขอซื้อกิจการระดับโลกระหว่างไมโครซอฟท์กับยาฮูนั้น ยกแรกจบลงด้วยคำตอบปฏิเสธจากยาฮู โดยให้เหตุผลว่าราคา 31 ดอลลาร์ต่อหุ้นนั้นต่ำเกินไป (ข่าวเก่า) ถึงแม้ว่าไมโครซอฟท์จะเขยิบมาเป็น 33 ดอลลาร์ในภายหลัง แต่ยาฮูยังยืนราคาที่ 37 ดอลลาร์ ซึ่งทำให้ไมโครซอฟท์ประกาศถอนตัวไปในที่สุด (ข่าวเก่า) ถึงแม้ว่าจะมีข่าวขอซื้อรอบสองออกมาให้เห็นก็ตาม
ความปั่นป่วนของยาฮูยังไม่จบง่ายๆ เมื่อหนึ่งในกรรมการบริหารของยาฮู 10 คน คือนาย Edward Kozel ซึ่งนั่งตำแหน่งนี้มาตั้งแต่ปี 2000 ได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยเขาให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องส่วนตัว เพราะต้องการย้ายครอบครัวไปอยู่ในยุโรป เขายังบอกอีกด้วยว่าตั้งใจจะลาออกมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว เพียงแต่มีเรื่องไมโครซอฟท์เข้ามาเลยชะลอไว้ก่อน
จากข่าว ไมโครซอฟท์และยาฮูกลับมาเจรจากันใหม่ ตอนนี้เริ่มมีรายละเอียดออกมาแล้วว่า ไมโครซอฟท์สนใจซื้อเฉพาะส่วนของ search และ search advertisement เท่านั้น ส่วนกิจการอื่นๆ เช่น พอร์ทัล ข่าว อีเมล (รวมถึง Flickr) จะยังอยู่กับยาฮูเหมือนเดิม
ดีลขนาดเล็กลงครั้งนี้ยังจะทำให้ไมโครซอฟท์เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในยาฮูอีกด้วย รายละเอียดอื่นๆ คาดกันว่าไมโครซอฟท์จะแถลงในงานสัมมนาด้านโฆษณาออนไลน์ Advance08 ซึ่งจะเริ่มวันพุธนี้ตามเวลาสหรัฐ
ที่มา - Reuters, TechCrunch
หลังจากที่ไมโครซอฟท์ได้ถอนตัวจากการซื้อหุ้นของยาฮูเพื่อควบรวมกิจการเนื่องจากตกลงเรื่องราคากันไม่ได้ ไมโครซอฟท์ได้ออกมาประกาศว่าจะเริ่มต้นการเจรจากับยาฮูยกใหม่ แต่ในครั้งนี้เป้าหมายอาจไม่ได้อยู่ที่การซื้อกิจการทั้งหมด (อาจเป็นการซื้อบางส่วน) ถือได้ว่าต่างฝ่ายต่างถอยกันคนละก้าวแล้วกลับมาคุยกันใหม่
ที่มา - Engadget
(ข่าวสั้นมาก เพราะข่าวที่แหล่งข่าวก็สั้นเช่นกัน)