ไมโครซอฟท์รุกโนเวลอย่างเต็มตัว ด้วยการจ่ายค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนค่ายจากผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของโนเวล มาใช้ของไมโครซอฟท์ โดยการจ่ายค่าใช้จ่ายนี้จะให้เครดิตในการใช้บริการของไมโครซอฟทฺ์ โดยให้เป็นมูลค่าหกร้อยดอลล่าห์ต่อเซอร์เวอร์ แต่ไม่เกินหมื่นห้าพันดอลล่าห์
ไมโครซอฟท์ฺออกแคมเปญนี้โดยอาศัยจังหวะที่โนเวลกำลังง่วนกับการทำตลาดลินุกซ์อยู่นั่นเอง ทำให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์เน็ตแวร์ของโนเวลเคว้งคว้างว่าอาจไม่ได้รับการซัพพอร์ตอีกต่อไป การปล่อยให้ลูกค้ากลุ่มนี้เคว้งคว้างเช่นนี้ ทำให้คาดเดาไม่ได้ว่าลูกค้าจะอัพเกรดไปใช้ลินุกซ์ หรือวินโดว์ แต่การออกแคมเปญนี้ก็ทำให้หลายองค์กรณ์ตัดสินใจง่ายขึ้นมาก
จากที่ blognone เคยรายงานข่าวว่า MPAA หรือสมาคมธุรกิจภาพยนต์ของสหรัฐได้วางแผนฟ้องนักดูดทั้งหลายเป็นรายตัว ตามอย่าง RIAA ที่ฟ้องนักดูดเพลงเป็นรายตัวเช่นกัน
โดยในการฟ้องครั้งแรกนี้มีกว่า 200 คดี คาดว่าค่าปรับในแต่ละคดีจะอยู่ที่ สามหมื่นดอลล่าห์ ถึงแสนหน้าหมื่นดอลล่าห์ หรือล้านสองแสนบาท ถึงหกล้านบาท!!!!
นอกจากนี้ทาง MPAA เตรียมการแจกจ่ายซอฟท์แวร์เพื่อตรวจสอบว่าในเครื่องใด มีภาพยนต์ผิดกฏหมายของ MPAA อยู่ในเครื่องบ้าง เพื่อให้ผู้ปกครองและเจ้าของเครื่องสามารถตรวจสอบเครื่องได้
คล้ายๆ กับพวก Folding@Home และ SETI@Home ล่ะครับ แต่ World Community Grid จะเป็นระบบที่ค่อนข้างไม่เจาะจงเท่า คือรันงานทางวิทยาศาสตร์อะไรก็ได้ตามแต่กรณีไป และจะทำให้ WCG เป็นกริดคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกไปครับ Ars Technica: IBM to host worldwide scientific computing grid
Owen Taylor แห่ง Red Hat ได้มาจุดประกายเรื่องลินุกซ์บูตช้า (นับรวมๆ ประมาณ 2 นาที) และหาทางแก้ไขจุดนี้อยู่ เขายังประมาณอีกว่าระบบในอุดมคติน่าจะบูตได้ภายใน 10 วินาทีตั้งแต่กดเปิดสวิตช์เลยทีเดียว (แน่นอนว่าของจริงคงไม่ได้ขนาดนั้น) ตอนนี้เริ่มมีการเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ของระบบในช่วงบูตแล้วครับ หวังว่าอีกไม่นานลินุกซ์ของเราจะบูตเร็วขึ้น จาก OSNews
OSNews มีรีวิวของ Desktop Linux แห่งยุคสองตัว คือ Fedora Core 3 จากฝั่งเรดแฮท และ SuSE 9.2 โนเวลส่งประกวด สรุปใจความคร่าวๆ คือ FC3 น่าประทับใจกว่าตรงแพ็กเกจเยอะ หาได้ทั่วไปตาม Freshrpms, etc.
นี่เป็นผลลัพธ์สุดท้ายของการซื้อกิจการ SUSE และ Ximian เมื่อปีที่แล้ว Novell ตัดสินใจคงแบรนด์ SUSE ไว้ และยังขายดิสโทร SUSE สำหรับผู้ใช้ทั่วไป ในขณะที่ยุบแบรนด์ Ximian เข้ากับ Novell ส่วน NLD นี้เป็นลินุกซ์ที่รวมเอา Ximian และ SUSE เข้ามาด้วยกัน ออกมาเพื่อจับตลาด Enterprise Desktop อย่างเดียว (แข่งกับ JDS ของซันโดยเฉพาะ) มีรีวิวให้อ่านกันที่ LXer ครับ
OSNews มีบทความทางเทคนิคอย่างละเอียด ของซีพียูตระกูล Power5 ของไอบีเอ็ม ซึ่งคาดว่าไอบีเอ็มจะนำมาพัฒนาต่อจนเป็น G6 ที่จะใช้ในแมคอินทอชรุ่นต่อๆ ไป
(หมายเหตุ ในตระกูลซีพียูของเครื่องแมค G3 ใช้ของ Motorola ส่วน G4 นี่ผมไม่ค่อยแน่ใจนัก และ G5 เป็นรุ่นตัดความสามารถบางอย่างของ Power4 ของไอบีเอ็มลงมา)
ในที่สุดซันก็เปิดเผยรายละเอียดของ Solaris 10 เสียทีครับ ราคาของมันคือฟรี และซันจะหารายได้จากการสมัครสมาชิกเพื่อรับการซัพพอร์ต กำหนดการออกคือเดือนมกราคม 2005 ส่วนเรื่องที่จะโอเพ่นซอร์ส Solaris นั้นยังไม่ชัดเจนเรื่อง license นัก แต่คาดว่าจะเป็น license ของซันเอง ที่ค่อนข้างเข้มมากกว่า GPL (เหมือนกับกรณีจาวา) เพราะซันยังคงต้องการสิทธิ์ในการตัดสินใจ ในการพัฒนาอยู่ ส่วนฟีเจอร์ใหม่ๆ ใน Solaris 10 คือสนับสนุนซีพียูตระกูล x86-64 (Opteron, Itanium "Nocona") และ Janus ซึ่งจะทำให้โปรแกรมที่รันบนลินุกซ์สามารถย้ายไปรันบน Solaris 10 ได้ทันที (ออกมาตัด RHEL โดยเฉพาะ) โดย Janus จะยังไม่ออกพร้อมกับตัวโอเอสน
ข่าวจาก Neowin: แน่นอนว่าเมื่อ Google รุกเข้ามาด้วย Google Deskop ทาง Microsoft ก็ไม่ยอมปล่อยไว้เฉยๆ แน่ MSN Toolbar Suite จะประกอบด้วย toolbar สามอันซึ่งใช้คนหาในข้อมูลอินเทอร์เน็ตใน IE (MSN Toolbar), อีเมล์ใน Outlook (MSN Toolbar for MS Outlook), และฮาร์ดดิสค์ (MSN Deskbar) โดยเทคโนโลยีสำหรับการค้นหานั้นก็พัฒนาต่อมาจากบริษัท Lookout ซึ่ง MS ซื้อกิจการไว้เมื่อไม่นานมานี้
การ์ตเนอร์เสนอผลการวิจัยว่ายอดขายพีซีในปีนี้อาจเติบโตได้ไม่ถึงตามที่คาดในต้นปี โดยการ์ตเนอร์เคยคาดว่ายอดขายพีซีในปีนี้จะโตถึง 13 เปอร์เซนต์ แต่ในตอนนี้ยอดดังกล่าวถูกปรับลงเหลือ 11.4 เปอร์เซนต์
สำนักข่าวซีเน็ตรายงานถึงการเพิ่มพื้นที่ของยาฮูุผู้ให้บริการเว็บเมลรายใหญ่ โดยเพิ่มพื้นที่เป็น 250MB จากที่เคยเพิ่มให้เป็น 100 MB เมื่อหลายเดือนก่อน
พร้อมกันนี้ยังได้ประกาศใช้ระบบโดเมนคีย์เพื่อยืนยันผู้ส่งอีกด้วย โดยระบบการยืนยันผู้ส่งเมลนี้ในตอนนี้ ก็ยังเป็นการแข่งขันกันของสามผู้ให้บริการ ได้แก่ AOL ยาฮู และไมโครซอฟท์ โดยยังไม่มีทีท่าว่าจะได้ข้อยุติ
ส่วนทางกูเกิลนั้นมีแนวโน้มว่าจะใช้โดเมนคีย์ของทางยาฮู โดยเคยมีข่าวรั่วว่ามีการทดลองไปใช้ไปบ้างแล้ว
เพิ่งจะมาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า Excel ครับ จดช้าไป 19 ปีเชียวแน่ะ สาเหตุหนึ่งก็คือมีคู่แข่งชื่อว่า TurboExcel รันอยู่บนลินุกซ์ด้วย จากกรณีของ Lindows เราจะพบว่าไมโครซอพท์กับเรื่องชื่อนี่ไม่ยอมกันง่ายๆ ครับ จาก Slashdot
มีข่าวลือจาก AppleInsider ว่ามีการเตรียมการผลิตไอพอดเวอร์ชั่นแฟลชเรียบร้อยแล้ว โดยจะมีการวางขายในต้นปีหน้า
รายงานข่าวรายงานว่ามีการสั่งทำไอพอดรุ่นดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเตรียมการผลิตเพื่อวางจำหน่ายในช่วงปลายมกราคม ถึงต้นกุมพา ปีหน้านี้ โดยจะมีการผลิตไว้ก่อนการเปิดตัวถึงสองล้านชุด
รายงานนี้สวนกระแสกับที่สตีฟ จ๊อป ได้ออกมากล่าวถึงเครื่องเล่นเอ็มพีสามแบบแฟลชว่าไม่มีใครใช้งานจริงเนื่องจาก ความจุที่น้อยเกินไป
ราคาน่าจะต่ำกว่าสองร้อยดอลล่าห์
ถัดจากอเมริกา อินเดีย และรัสเซีย ประเทศที่มีประชากรโปรแกรมเมอร์ (เหมาๆ เอาว่าทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านนี้) เป็นอันดับสี่ของโลกคือยูเครนครับ ผลิตบัณฑิตได้ปีละห้าหมื่นคนเชียว อ่านแล้วก็นึกถึงแผนเมืองไอทีของบ้านเราจัง จาก Slashdot
ผู้ผลิตเอาเสียเองครับ โดยเล็กซ์มาร์คได้ใส่โปรแกรมที่จะส่งข้อมูลการใช้เครื่องพิมพ์และหมึกกลับไปยังบริษัท งานนี้เสียหน้าแน่นอนแต่ทางเล็กซ์มาร์คก็ได้ออกมายอมรับแล้ว พร้อมกับยืนยันว่าไม่มีการส่งข้อมูลส่วนตัวใดๆ กลับบริษัท และไม่มีการระบุตัวตนผู้ใช้งานแต่อย่างใด
.....เสียชื่อครับงานนี้....
มือดีดอดเข้าไปดูในไฟล์เสียงของ Windows Media Player Tour แล้วพบว่าบางไฟล์ถูกสร้างขึ้นมาจากโปรแกรมเถื่อนครับ
ไดยไฟล์เสียงบางไฟล์ถูกระบุว่าสร้างจากโปรแกรม Soundforge ของทางโซนี่ที่เป็นก๊อปปี้ที่ผิดกฏหมาย อย่างไรก็ตามไฟล์ดังกล่าวอาจจะมาจากการซื้อไฟล์เสียงที่ขายให้ใช้งานมาอีกต่อหนึ่งก็เป็นได้
ยังไม่มีข่าวจากทางไมโครซอฟท์แต่อย่างใด
นินเทนโดดีเอส เครื่องเล่นเกมสุดร้อนในตอนนี้ทำยอดขายไปครบสองล้านชุดเรียบร้อยแล้วครับ ปริมาณที่ว่านี้เกินกว่า่ที่ทางนินเทนโดคาดการไว้ถึงเท่าตัว
ถือเป็นการออกตัวที่ดี ก่อนการมาถึงของ PSP ครับ เพราะรายนั้นผมไม่แน่ใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะกระแสโซนี่ในตอนนี้ร้อนเอาเสียเหลือเกิน ต่างจากนินเทนโดที่เสียตลาดไปจากเมื่อก่อนมากแล้ว
ที่มา I4U News - Nintendo DS orders reach a record 2 million in Japan
ข่าวการซื้อแหลกยังไม่หายไปจากวงการคอมพิวเตอร์ครับ ล่าสุดไมโครซอฟท์เตรียมเล็งเรียลเน็ตเวิร์คไว้แล้ว
โดยเหตุแห่งการซื้อครั้งนี้ก็มาจากการที่เรียลเน็ตเวิร์คเป็นหนึ่งในผู้ที่ฟ้องเอาค่าเสียหายจากไมโครซอฟท์นั่นเอง ทำให้การซื้อครั้งนี้ไมโครซอฟท์จะได้รับผลประโยชน์คือ หมดคดีไปจำนวนหนึ่ง
ไมโครซอฟท์ระบุว่าการซื้อครั้งนี้ยังอยู่ในขั้นการข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนทางเรียลเน็ตเวิร์คไม่ได้ให้ข่าวแต่อย่างได
ระยะหลังๆ เราได้ยินข่าวไมโครซอพท์โดนฟ้องอยู่เรื่อย ด้านปัญหาละเมิดสิทธิบัตร และคดี Anti-trust ซึ่งสุดท้ายมักจบลงด้วยการที่ไมโครซอพท์ยอมจ่ายตังค์เพื่อปิดคดี แต่คราวนี้ Novell ฟ้องไมโครซอพท์ในคดี Anti-trust กับผลิตภัณฑ์ WordPerfect ที่อ้างว่าไมโครซอพท์กดดันผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ไม่ให้แถม WordPerfect ไปกับเครื่อง (คล้ายๆ กับกรณี Netscape) ซึ่งคราวนี้ไมโครซอพท์ตัดสินใจไม่ยอมจ่ายครับ เพื่อประกาศว่าไม่ยอมง่ายๆ อีกต่อไปแล้ว และให้เหตุผลว่า WordPerfect ตอนนั้นก็อยู่ในช่วงขาลงแล้ว มาโทษกันไม่ได้ เรื่องนี้ก็ต้องติดตามกันต่อไป
ตลาด PDA ถึงจุดเปลี่ยนแล้ว เมื่อส่วนแบ่งตลาดของระบบปฏิบัติการพกพา ไมโครซอพท์ขึ้นมานำเป็นอันดับหนึ่ง จาก WindowsCE และ PocketPC ที่ 48% ส่วนปาล์มยอดตกฮวบ จาก 46.9% ปีที่แล้ว เหลือเพียง 29.8% ที่น่าสนใจคือ BlackBerry เพจเจอร์ที่ตอบกลับได้โดยตรง เติบโตขึ้น 4 เท่า จาก 4.9% มาเป็น 19.8% จาก USAToday
สยามกูรู ซึ่งเคยเป็นผู้นำ search engine ของไทย ประกาศกลับมาทวงตำแหน่งอีกครั้ง หลังจากปล่อยให้ Google ยึดตำแหน่งไปหลายปี
ถึงแม้จะดูเงียบหายไป แต่ทางสยามกูรูเผยว่า ยังมียอดผู้เข้าชมเว็บไซต์เฉลี่ยวันละ 3,000 คน และได้ทำการอัพเดทข่าวสารอย่างต่อเนื่อง พร้อมปรับกลยุทธ์เตรียมเปิดเว็บไซต์ใหม่อีกหนึ่งแห่ง โดยตั้งเป้าให้บริการเทียบเท่า Google และชูความเป็นผู้นำด้านการให้บริการภาษาไทย เพื่อกลับมาเป็นผู้นำในตลาดเมืองไทยอีกครั้ง พบกันต้นปี 2548 นี้
หลังจากเงียบมานานคงเริ่มทนไม่ไหวครับ ผู้บริหารระดับสูงของไมโครซอพท์เริ่มออกมากล่าวถึง Firefox กันแล้ว Ben English ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์และความปลอดภัย บอกว่า IE ไม่ได้ไม่ปลอดภัยมากกว่าบราวเซอร์อื่นซะหน่อย เหตุผลของเค้าคือ เพราะ IE คนใช้เยอะ เราเลยได้ยินเรื่องปัญหาด้านความปลอดภัยเยอะด้วยต่างหาก ส่วน Steve Vamos ผู้อำนวยการภูมิภาคออสเตรเลีย ไม่เชื่อว่าส่วนแบ่งตลาดของ IE จะถูกแย่งจาก Firefox ได้ เขายังปฏิเสธเรื่องที่ว่า IE ขาดฟีเจอร์ที่ทันสมัย เพราะ IE ยังมีฟีเจอร์อีกมากที่ลูกค้าไม่รู้ หรือไม่ได้ใช้ และฟีเจอร์ของคู่แข่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น
สำหรับ Windows 2003 Cluster Edition ครับ จะสนับสนุนแค่เพียง Opteron กับ Xeon เท่านั้น เนื่องจากความนิยมใน Itanium 2 ซึ่งตกลงมาก (หลังจากอินเทลยอมทิ้ง IA64 มาใช้ x86-64 ตาม AMD) และการที่ HP พันธมิตรหลักประกาศเลิกขายเซิร์ฟเวอร์ Itanium 2 ก็มีส่วนเช่นกัน Windows 2003 Cluster Edition จะเป็นผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่รุกเข้ามาในตลาด HPC ของไมโครซอพท์ กำหนดออกครึ่งแรกของปีหน้าครับ จาก The Street
หลังจากยืนยันว่าจะขายเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ซีพียูจากฝั่งอินเทลอย่างเดียวมานาน Dell เริ่มหวั่นไหวแล้วครับ เพราะ Opteron ได้รุกคืบไปยังตลาดเซิร์ฟเวอร์อย่างมั่นคง โซลูชัน Linux + Opteron กลายเป็นเรื่องน่าสนใจ และค่ายอื่นๆ เช่น ซัน ไอบีเอ็ม หรือ HP ก็หันมาขาย Opteron Server กันทั้งนั้น คิดว่าอีกไม่นาน Dell คงประกาศเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ให้เห็นกัน จาก Ars Technica