ตามสัญญาครับ พบกับ Fedora Core 3 Review โดย Blognone
AnandTech มีสกู้ปการแปลง XBox มาลง Linux และนำมาต่อเป็นคลัสเตอร์ราคาถูกครับ ราคารวม Mod Chip แล้วตกเครื่องละประมาณ $210 ถูกกว่าพีซีที่เป็น Sempron หรือ Celeron ซึ่งเฉียดๆ $300 อยู่พอควร แต่ประสิทธิภาพก็ไม่ต้องหวังมากนัก เพราะข้างใน XBox เป็น P!!! ครับ ออกมาก็นานแล้ว นอกจากนั้นยังมีการเอาไปทำเป็น Media Center อีกด้วย น่าสนใจทีเดียว
ข่าวล่าสุดจาก Gmail คือ เราจะสามารถเข้าถึงเมล์ด้วย POP ได้แล้ว หมายความว่าคนที่นิยมอ่านเมล์ด้วย client บนเครื่องตัวเองมากกว่าเข้าไปใน web ก็สามาถอ่านเมล์ใน Gmail ได้ใน Thunderbird หรือ Outlook ซึ่งน่าจะทำให้คนย้ายไปใช้ Gmail มากขึ้นอีก ตอนนี้ถึงจะยังไม่มีให้สมัครตรงๆ ซะที แต่ invitation ก็มากมายจนไม่ต้องแย่งกันอีกแล้ว
ข่าวบอกว่าความสามารถนี้จะค่อยๆ เปิดใช้ ไม่พร้อมกันทุก account คงจะมีใช้ครบหมดภายใน 2-3 อาทิตย์
ไมโครซอฟท์เอาแน่ เตรียมตัวลงแข่งสมรภูมิการค้นเว็บในปลายปีนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มรายได้โฆษณาให้กับเว็บเอ็มเอสเอ็น
โดยส่วนตัวผมเองแล้วไม่ประทับใจกับเว็บค้นหารายนี้นัก ตั้งแต่มีการพาดหัวบนหน้านิตยสารว่าเว็บนี้ได้โค่นกูเกิลลงได้ (โดยการทดลองที่ไร้มาตรฐาน) อย่างตัวผมเองลองแค่ให้ค้นหาคำว่า google เว็บ MSN Search กลับให้เว็บที่ไม่เกี่ยงข้องมาถึงสองเว็บในหน้าแรก ในขณะที่กูเกิลหา MSN Search ไม่ผิดเลย
แต่อย่างไมโครซอฟท์คงไม่ปล่อยเอาำไว้เฉยๆ การทุ่มเงินพัฒนาคงมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เอาชนะให้ได้ในวันหนึ่ง
อินเทลประกาศว่าชิปเซ็ต Lakeport มีรวมเอาไวไฟเข้าไว้ในตัวด้วย เรื่องนี้สร้างความงงงันให้กับหลายสำนัก เนื่องจากอินเทลมีการเปลี่ยนแผนการใส่ไวไฟเข้าไปในเครื่องเดสทอปมาสองสามรอบแล้ว
แต่สุดท้ายแล้วยังไงเราได้เห็นไวไฟเป็นอุปกรณ์มาตรฐานบนเดสทอปในมีนี้แน่ๆ
eWeek มีสัมภาษณ์ Mitchell Baker ประธานของ Mozilla Foundation และรู้สึกตำแหน่งเดิมชื่อว่า Chief Lizard Wrangler (เท่มั้ย) ถึงแผนการของ Firefox หลังจากออกเวอร์ชัน 1.0 ตัวจริงไปเมื่อวาน เธอ (ใช่ครับ เธอเป็นผู้หญิง) บอกว่าตั้งเป้าส่วนแบ่งตลาดบราวเซอร์ในสหรัฐไว้ที่ 10% ภายในปีหน้า 2005 ส่วนตลาดยุโรปนั้นเธอคิดว่ายอดเกิน 10% ไปแล้ว (แสดงว่าคนมะกันใช้ผลิตภัณฑ์ของไมโครซอพท์เยอะกว่า) ส่วนวิธีการทำตลาดนั้นแน่นอนว่าเป็นการทำตลาดแบบ "รากหญ้า" (เค้าใช้ว่า grassroot จริงๆ นะผมไม่ได้ว่าเอง) เช่น เว็บไซท์
อดีตยักษ์ที่คาดว่าจะมาแทนที่ไมโครซอพท์ แต่แป๊กไปเองในช่วงหลังๆ (จนซีอีโออนาคตไกลอย่างสตีฟ เคส ต้องลาออกไป) ตอนนี้จัดองค์กรใหม่แล้วครับ ด้วยเหตุผลที่ว่าแต่ละส่วนจะได้สนใจธุรกิจของตัวเองเพียงอย่างเดียว แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ AOL Audience (AOLIM, ธุรกิจโฆษณา และพอร์ทัล), AOL Access (เป็น ISP), AOL Europe และ Digital Service (ขายเพลง หรือธุรกิจอื่นๆ ที่ต้องสมัครสมาชิก) หลังจากจัดองค์กรใหม่แล้วยังมีแผนจะปลดพนักงานอีก 700 คนด้วยครับ Yahoo! News
Desktop Linux สำหรับองค์กรที่รอคอยออกมาแล้ว ตัวนี้วางเป้ามาแข่งกับ Java Desktop System โดยตรง ซอพต์แวร์เน้นใช้งานเป็นหลักไม่เอาของใหม่มาก เป็น GNOME 2.6 (ปัจจุบัน 2.8) และ Kernel 2.6.5 ราคา $50 ต่อผู้ใช้ต่อปี (เทียบกับ JDS ที่ $25) มีแบบให้ลองใช้ 30 วันด้วยครับผม Novell Linux Desktop ข่าวจาก Ars Technica
1 a.m. Pacific Daylight Time หรือ 4 โมงเย็นวันอังคารนี้เวลาประเทศไทยครับ เตรียมพร้อมกันไว้ จาก CNET
อัพเดต ออกแล้วครับ สามารถดาวน์โหลดได้จาก Mozilla.org FTP Server Release Notes มีอะไรใหม่
ไมโครซอฟท์ตกลงยอมจ่ายเงินสดถึง 536 ล้านดอลล่าห์ให้แก่โนเวลเพื่อยุติคดี ที่ไมโครซอฟท์ไปละเมิด NetWare ของโนเวลครับ ต่อจากนี้โนเวลยังเตรียมดำเนินการเรื่องที่ไมโครซอฟท์ละเมิด WordPerfect ของตนต่อไปอีก
ช่วงสองปีให้กลังมานี้ผมเห็นรายการจ่ายเงินก้อนของไมโครซอฟท์เยอะมาก ตั้งแต่คดีใหญ่ๆ เช่นคดีของซัน ทำให้สงสัยว่าไมโครซอฟท์ไม่สะเืทือนเลยเหรือกับการจ่ายเงินก้อนใหญ่ๆ อย่างนี้ออกไปเรื่อยๆ
ลินุกซ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในตอนนี้ออกตัวใหม่แล้ว สำหรับรีวิวคงต้องรอ mk มาดูให้ครับ
สำหรับ CORE3 นี้จะมีเวอร์ชั่นสำหรับ X86-64 มาให้เลย ทำให้คนเล่นเครื่อง 64 บิตได้ใช้ความแรงกันเต็มตัวล่ะครับ
จาก CNET รู้สึกว่าของเล่นเสริมบน iPod จะเยอะมาก ตอนนี้มีผู้ให้บริการดาวน์โหลดคัมภีร์ไบเบิลไปอ่านบน iPod ได้แล้วครับ ใช้ได้กับ iPod 3G และ 4G โดยจะแสดงตัวอักษรผ่านโปรแกรม Notes ที่มากับ iPod นอกจากนี้ Ars Technica ยังมีความเป็นไปได้ที่จะอ่าน PDF ได้จาก iPod Photo ตัวถัดไป และอาจเป็นช่องทางให้แอปเปิลขาย eBook ผ่าน iTunes ก็เป็นได้ (ตอนนี้มีขายแต่ Audiobook หรือหนังสือที่มีคนอ่านให้ฟัง)
เป็น FreeBSD 5.x ตัวแรกที่อยู่ในสาย STABLE ครับ สิ่งที่เพิ่มมาจาก 4.x คือเรื่อง SMP หรือประมวลผลแบบหลายโปรเซสเซอร์ที่ดีขึ้นมาก FreeBSD 5.3-RELEASE
เอกสารอธิบายสิทธิบัตรชนิดไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนของไมโครซอฟท์(Microsoft's Royalty Free Protocol License Agreement) ทำโลกป่วน เมื่อมันต่อท้ายด้วยรายชื่อมาตรฐานกว่าร้อยรายการ โดยเป็นชื่อของมาตรฐานที่ถูกใช้ในโลกอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก
เอกสารดังกล่าวทำให้เกิดการวิพากวิจารย์อย่างหนักว่านี่คือคำประกาศยึกโลกของไมโครซอฟท์หรืออย่้ีางไร เพราะหากไมโครซอฟท์อ้างสิทธิเหนือมาตรฐานเหล่านั้นได้จริง นั่นหมายถึงมาตรฐานเปิดของอินเทอร์เน็ตก็แทบจะจบลง
แต่ทางไมโครซอฟท์ก็ออกมากล่าวว่านี่เป็นความเข้าใจผิดในการตีความเอกสารของไมโครซอฟท์ และไมโครซอฟท์กำลังพยายามแก้ข้อเข้าใจผิดดังกล่าวอยู่
MPAA หรือสมาคมผู้ผชิตภาพยนต์ในสหรัฐฯ เริ่มเข้ามาจับตามองบิตทอเรนต์ ซอฟท์แวร์แชร์ไฟล์ที่ในปัจจุบัน เกินแบนวิดท์ของอินเทอร์เน็ตไปถึงหนึ่งในสาม
เนื่องจากบิตทอเนรต์นั้น ไม่มีการแจกไฟล์ภาพยนต์อย่างเป็นทางการ แต่ใช้การแจกไฟล์ขนาดเล็กที่ตามด้วย .torrent ซึ่งจะระบุรายละเอียดของการหาแหล่งไฟล์นั้นๆ ทำให้การแจกไฟล์ทอเรนต์มีโดยทั่วไป ซึ่งทาง MPAA กำลังตรวจสอบทางกฏหมายว่าสามารถเอาผิดกับเว็บเหล่านี้ได้หรือไม่
ความสงสัยในความปลอดภัยเมื่อใช้ไวร์เลสแลนเป็นประเด็นที่ถูกถามกันมาตลอดครับ ตั้งแต่ WEP ที่ถูกเจาะได้ไปเรียบร้อยแล้ว จนวันนี้ WPA ที่จะเป็นมาตรฐานใหม่ก็ทำท่าว่าจะถูกเจาะอีกแล้ว โดยมีซอฟท์แวร์ออกมาแล้วด้วย
แต่การเจาะนี้ก็ทำโดยอาศัยว่าผู้ใช้ไม่ระวังและใช้คำทั่วๆ ไปเป็นรหัสเท่านั้นครับ เพราะใช้ดิกชันนารีในการเจาะ จึงมีคำแนะนำใ้ห้ใช้เลขที่สุ่มขึ้น หรือการตั้งรหัสความยาวเกิน 20 ตัวเพื่อความปลอดภัย
ที่มา Wi-Fi Networking News: WPA Cracking Proof of Concept Available
ไมโครซอฟท์ประกาศแผนการออกไมโครซอฟท์ออฟฟิศสำหรับธุรกิจขนาดเล็กในชื่อรหัสว่าแมคเจนแลนด์ โดยซอฟท์แวรดังกล่าว จะมีซอฟท์แวร์ที่ช่วยจัดการธุรกรรมต่างๆ สำหรับธุรกิจขนาดเล็กไว้อย่างครบครัน เช่นซอฟท์แวรจัดตารางนัด ซอฟท์แวร์บัญชี
ราคายังไม่แจ้งครับ
ไต้หวันประกาศมาแล้วครับว่าในปี 2005 นี้ไต้หวันจะทำให้ทั้งกรุงไทเปมีไวร์เลสแลนไว้เล่นเน็ต โดยจะเป็นการรวมเอาแอคเซสพอยต์ที่กระจายตามตัวตึกต่างๆ เข้ามาด้วยกัน ทำให้ครอบคลุมประชากรถึงร้อยละเก้าสิบของกรุงไทเป
เมืองที่มีแผนอย่างนี้ก็มีเช่น นิวยอร์ค ซาฟราน กรุงเยลูซาเล็มเป็นต้น
แจกภายใต้ไลเซนส์ Java Research License ซึ่งเค้าว่ากันว่าผ่อนคลายกว่าไลเซนส์เดิม (SCSL) อ่านต่อที่นี่
เผอิญเว็บมาสเตอร์ใช้แมคครับ ลำเอียงอีกนิด ตัวอัพเดตใหม่ของ Panther ออกมาแล้ว OSX 10.3.6 สิ่งที่มาใหม่ก็คือ
เว็บนี้คนเขียนข่าวลำเอียงมากครับ ปกติผมจะไม่เขียนข่าวเวลาซอพต์แวร์ออกตัวเบต้า หรือทดสอบเล็กๆ น้อยๆ เพราะคิดว่าเปลืองที่ แต่สำหรับ Firefox นี่ไม่ได้แน่นอน Firefox 1.0 RC2 ออกมาจนได้ ที่เคยทำนายไว้ว่าจะไม่มี RC2 ก็เป็นอันว่าผิดไป ตัวนี้มีโค้ดเนมว่า Whangamata ส่วนโค้ดเนมอื่นๆ อ่านได้จาก Firefox Roadmap โค้ดเนมของ 1.0 คือ Phoenix ครับผม คิดว่าเป็นชื่อเมืองมากกว่าระลึกถึงชื่อเดิมของ Firefox (เพราะชุดโค้ดเนมนี้เป็นชื่อเมืองในสหรัฐ กับนิวซีแลนด์ บ้านของ
เป็นที่แน่นอนแล้วว่า GNOME ตัวต่อไปจะนับเป็น 2.10 ส่วน 3.0 คิดว่าคงรอการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอนาคต อย่างที่เคยเขียนไปว่ายังตกลงกันไม่ได้ถึงภาษาระดับสูงกว่า C ที่จะเข้ามามีบทบาทใน GNOME ระหว่าง C# กับ Java ตอนนี้ก็เล่น 2.10 ไปพลางๆ ก่อนละกันครับ 2.9.1 เป็น Development Release ตัวแรกในสาย 2.10 กำหนดออกคือมีนาปีหน้า
สมาคมผู้ประกอบธุรกิจภาพยนต์ของสหรัฐอเมริกา (MPAA) เริ่มไล่ฟ้องผู้ใช้ระบบไฟล์แชร์ริ่ง แชร์หนังแบบเดียวกับที่ธุรกิจเพลงฟ้องกลุ่มผู้โหลดเพลง
โดยการฟ้องครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่สมาคม พบกับความล้มเหลวในการโจมตีซอฟท์แวร์แชร์ไฟล์ทั้งหลายในชั้นศาล โดยศาลตัดสินให้ซอฟท์แวร์แชร์ไฟล์เหล่านั้นไม่มีความผิด เพราะถือเป็นเพียงเครื่องมีอใช้งานเท่านั้น
ข่าวรายงานว่าการฟ้องครั้งแรกจะมีคดีกว่า 200 คดี โดยจะมาประกาศในภายหลัง
นับจากเริ่มใช้วิธีการนี้ สมาคมผู้ประกอบธุรกิจดนตรีในสหรัฐ (RIAA) ไล่ฟ้องนักโหลดไปแล้วกว่า 6800 คดี
วันที่ 15 นี้แล้วที่ซันจะเปิดตัวโซลาริส 10 โอเอสที่เปี่ยมไปด้วยความสามารถเต็มตัว โดยในเวอร์ชั่นนี้พิเศษที่จะเป็นเวอร์ชั่นโอเพ่นซอร์สด้วย ทำให้ชาวโอเพ่นซอร์สทั้งหลายคงหวังจะได้เห็นโค้ดของสุดยอดระบบปฎิบัติการนี้กันเต็มที
แต่ในตอนนี้ก็มีข่าวยืนยันแล้วว่า การโอเพ่นซอร์สคงไม่ได้ทำง่ายๆ แบบเอาซอร์สขึ้นเว็บเลย เพราะในโซราลิสเอง ก้มีซอร์สของบริษัทอื่นๆ ไม่น้อยทีเดียว ทำให้ขั้นตอนการโอเพ่นซอร์สคงใช้เวลาสักระยะทีเดียว
แต่ Jonathan Schwartz หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการของซันก็ออกมาให้ความมั่นใจว่า โซลาริส 10 จะเป็นซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สอย่างแน่นอน
ซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สที่ทำให้ .NET ไปได้ทุกที่ออกเวอร์ชั่นใหม่แล้ว