วงการ search engine ระอุ เมื่อยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟท์และกูเกิล กำลังหาวิธีดึงให้คนมาใช้บริการ search engine ของตน
ข่าวนี้เริ่มขึ้นในช่วงขณะที่ไมโครซอฟท์และกูเกิลกำลังแข่งกันเพื่อเจรจาธุรกิจกับ Time Warner AOL ก่อนที่กูเกิลจะชนะไปในที่สุด โดยตอนนั้นบิล เกตส์ได้ออกมาพูดว่า "แทนที่ไมโครซอฟต์จะได้รับรายได้เต็มๆ จากการโฆษณา ไมโครซอฟต์อาจจะแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งกลับมาสู่ผู้ใช้ของเราเองด้วย โดยผู้ใช้อาจจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงิน บริการหรือซอฟต์แวร์ ..."
ถึงแม้ว่าตอนนี้เรามี PCI Express มาใช้แทน AGP แล้ว แต่ความต้องการยังไม่พอ เพราะปริมาณข้อมูลจะไปคอขวดอยู่ที่พอร์ตด้านหลังที่ต่อออกจอแทน พอร์ต VGA แบบอนาล็อกที่เราใช้กันอยู่นั้น มีข้อจำกัดอยู่ที่ความละเอียดแบบ WQXGA (2560x1680) ซึ่งปัจจุบันจอ Cinema Display 30" ของแอปเปิลไปถึงจุดนั้นเรียบร้อยแล้ว
เป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาเมื่อมีการพบบั๊กในไลบรารีของการตรวจจับไวรัสของ Symantec ซึ่งทำให้ซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยจำนวน 64 รายการซึ่งรวมถึง Norton Antivirus ที่เราใช้กันบ่อยๆ โดยบั๊กนี่เกิดในจุดที่เมื่อมีการแสกนไฟล์ RAR ทำให้สามารถเกิด Buffer OverFlow และทำให้แฮกเกอร์สามารถใช้ช่องโหว่นี้เพื่อส่งคำสั่งอันตรายเข้ามาในเครื่องได้
ยามกลายเป็นไส้ศึกให้โจรไปซะแล้ว
ที่มา - eWeek
หลังจากวิวาทกันมานานกูเกิลและไมโครซอฟท์ก็ได้ข้อยุติในคดีการย้ายงานของนาย Kai Fu Lee เรียบร้อยแล้ว โดยข้อตกลงที่ทั้งสองบริษัททำขึ้นนอกศาลนั้นไม่เป็นที่เปิดเผยว่ามีการตกลงอะไรกันบ้าง อย่างไรก็ตามผู้บริหารของทั้งสองบริษัทออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ทั้งสองฝ่ายมีความพอใจกับข้อตกลงดังกล่าว
การยุติของคดีนี้เกิดขึ้นหลังจากการย้ายงานของนาย Lee เมื่อห้าเดือนก่อน จากตำแหน่งผู้บริหารของไมโครซอฟท์ไปยังฝ่ายบุคคลของกูเกิล โดยไมโครซอฟท์ระบุว่านาย Lee ทำงานที่เกี่ยวข้องกับเซิร์ชเอนจินของไมโครซอฟท์ ซึ่งทำให้การเข้าทำงานกับกูเกิลเป็นการละเมิดสัญญาที่ทำไว้กับไมโครซอฟท์
ไม่ใช่ iBook อยากที่หลายคนคิด แต่มันคือ NEC LX900 ที่มาพร้อมกับแรม 512 เมกเป็นขั้นต่ำ จอ 14.1 นิ้ว ฮาร์ดดิสก์ 100 กิกะไบต์ และแน่นอนว่าซีพียูคือ Yonah ที่เป็นดูอัลคอร์สำหรับแลปทอปของอินเทล โดยมีน้ำหนักรวมที่ประมาณ 2 กิโลกรัม ราคานั้นไม่มากไม่มาย 1945 ดอลลาร์
NEC ระบุว่าแลปทอปตัวนี้จะวางขายภายในไตรมาสแรกของปี 2006 นับเป็นแลปทอปตัวแรกที่ประกาศอย่างเป็นทางการ โดยมีการคาดการกันเป็นวงกว้างว่าต้นมกราคมที่จะถึงนี้ แอปเปิลก็น่าจะเปิดตัวแลปทอปที่ใช้ชิปแบบเดียวกัน
คุณอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อ Guido van Rossum แต่ถ้าบอกว่าเขาคือคนที่ประดิษฐ์ภาษา Python แล้วล่ะก็คงไม่ต้องบอกว่าคนระดับนี้ไม่ธรรมดา และในวันนี้ล่าสุดก็มีข่าวว่า กูเกิลได้เสนองานให้กับผู้ประดิษฐ์ภาษาโปรแกรมมิ่งที่ร้อนแรงที่สุดภาษาหนึ่งในวันนี้ และทาง Guido เองก็ได้ตอบรับงานนี้แล้ว
มีเพียงวิพากษ์ออกมาค่อนข้างเยอะกับการเข้าทำงานของ Guido ครั้งนี้ว่าจะมีผลต่อภาษา Python เช่นไรบ้าง โดยภาษา Python นั้นในเวลานี้ได้รับการยอมรับจากภาคอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะวงการเกม ล่าสุดดูเหมือนว่าไมโครซอฟท์เองก็มีแผนที่จะรวมเอาภาษา Python เข้าไว้ใน .NET Framework ด้วย
ไม่นานมานี้คณะทำงานร่างมาตรฐาน P3P (Platform for Privacy Preferences) ได้แนะนำเครื่องมือในการทำ Policy ของเว็บไซต์ ซึ่ง support มาตรฐาน P3P version 1.1 และยังอยู่ในรุ่นทดสอบ (Beta) อยู่ โดยเครื่องมือนี้ถูกเผยแพร่อยู่ใน Sourceforge.net สามารถ download มาใช้ได้ฟรี
จริงไม่เชิงเป็นทั้งข่าวและประกาศครับ แค่อยากบอกว่า ตอนนี้หน้าแรก Blognone (ขณะที่กำลังเขียนนี้) ผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน XHTML 1.0 Transitional ของ W3C แล้ว ไม่เชื่อดูหลักฐาน
จริงๆ ข่าวนี้ก็หลายวันแล้วเหมือนกัน
ต้องเท้าความยาวมากว่า AOL หรืออเมริกันออนไลน์เป็น ISP รายใหญ่ของอเมริกา ตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มีเว็บนู่น (คือล็อกอินเข้าไปใช้เครือข่ายของ AOL) ประมาณปี 98-99 ช่วงเว็บบูมๆ AOL ถือเป็นอันตรายอันดับหนึ่งของไมโครซอฟท์ สตีฟ เคส ซีอีโอตอนนั้นลงหนังสือเป็นว่าเล่น ยิ่งมีอยู่ช่วงนึง AOL รวมกิจการกับ Time Warner ด้วยมูลค่า 106 พันล้านเหรียญ (ตีเป็นเงินไทยประมาณ 4 ล้านล้านบาทฮับ) เป็นช่วงที่รุ่งเรืองที่สุดของ AOL ก่อนฟองสบู่ดอทคอมแตก และเคสต้องลาออกไปในปี 2003 หลังจากนั้น AOL อยู่ในช่วงขาลงมาตลอด
เอพีได้ทำโพลสำรวจคนอเมริกันทั่วไป (ที่เรียกว่า Average Joe) เกี่ยวกับการติดอุปกรณ์ไฮเทค หรือที่เราเรียกว่า Gadget ต่างๆ พบว่ามีคนถึง 28% ที่มี HDTV ไว้ในครอบครอง (แหล่งข่าวย้ำว่าอย่าเชื่อตัวเลขมาก ผมย้ำอีกทีด้วย) ค่าใช้จ่ายหลักๆ คงไปตกที่เคเบิลทีวี ค่ามือถือ อินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังมีบริการใหม่ๆ อย่างวิทยุผ่านดาวเทียม และของเล่น"ผู้ใหญ่"อีกสารพัด
ถึงบ้านเราจะไม่มี HDTV ไม่มีวิทยุผ่านดาวเทียม ไม่มี eBay ให้สั่งของแปลกๆ มาเล่น แต่ดูอัตราการซื้อขายมือถือและพีดีเอแล้ว แนวโน้มก็ไม่ต่างกันมากนัก มามองดูตัวเองก็อืม เราก็ใช้เงินกับของพวกนี้ไปเยอะเหมือนกันแฮะ
ผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดียอย่าง Joe Firmage และ Larry Sanger ประกาศเตรียมเปิดตัวเว็บสารานุกรมใหม่ในชื่อว่า Digital Universe โดยระบุว่าเว็บใหม่นี้จะมีกระบวนการปรับเนื้อหาที่เรีียนรู้มาจากข้อผิดพลาดของวิกิพีเดีย ส่งผลให้มันอาจเป็นเว็บสารานุกรมที่มีความน่าเชื่อถือพอๆ กับสารานุกรมอย่าง Britannica เลยทีเดียว
รุ่นแก้บั๊กรุ่นแรกออกมาแล้ว แนะนำให้ผู้ใช้ OpenOffice.org 2.0 ทุกคนอัพเดต สำหรับภาษาไทยมีฟีเจอร์เพิ่มขึ้นหลายอย่าง เช่น Type & Replace, ใช้ฟอนต์ดีฟอลต์เป็น AngsanaNew, แก้บั๊กเรื่อง bahttext ที่เหลือดูได้ใน release notes
Seagate ผู้ผลิตฮาร์ดไดร์วอันดับหนึ่ง เข้าซื้อกิจการของอันดับสาม Maxtor (อันดับสองคือ WD) ด้วยมูลค่า 1.9 พันล้านเหรียญโดยวิธีการแลกหุ้น การควบกิจการจะแล้วเสร็จในครึ่งหลังของปีหน้า
ปีนี้เป็นปีแห่งการควบกิจการจริงๆ
AspectJ 5.0 ออกแล้วครับ ใครที่รู้จักแนวคิด Aspect-Oriented Programming (AOP) ก็คงคุ้นเคยกับชื่อนี้เป็นอย่างดี อยู่แล้ว AspectJ เป็นภาษาส่วนขยายที่ทำให้ Java สามารถทำ AOP ได้ แนวคิด AOP นี่มาแรงอยู่ช่วงปีที่แล้ว แต่ปีนี้ดูจะเงียบลงกว่าเดิมนิดนึง กลับกลายเป็น Ruby on Rail ที่เป็นเรื่องที่พูดถึงกันบ่อยของปีนี้
ส่วนแนวคิด AOP นั้นเป็นอย่างไร ถ้าใครสนใจให้ถามมาละกัน จะเล่าคร่าวๆ ให้ฟังกัน แต่ตอนนี้มาดูกันที่เนื้อหาของ AspectJ 5.0 ก่อนดีกว่า
ช่วงปลายปีต้องมีรายงานอันดับคีย์เวิร์ดยอดนิยมประจำปี จริงๆ ของ Yahoo! ออกมาได้หลายวันแล้ว แต่ผมรอของ Google ด้วยจะได้รวมเป็นข่าวเดียวกัน
เว็บไทยหนึ่งในสิบเราไม่ค่อยเห็นล่มกันนานๆ เท่าใหร่ เพราะส่วนมากทำเงินกันทุกชั่วโมง แต่ัตอนนี้ Pantip.com ก็ล่มไปตั้งแต่ช่วงสิบโมงครึ่งที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามเว็บในเครืออย่าง Pantown, Bloggang และ Pantipmarket ยังใช้งานได้อยู่ หลังจากเปิดเว็บหลักขึ้นมาคงมีการแจ้งสาเหตุมาให้ทราบกัน
ปุ่ม Blognone อันเก่าขนาดมันไม่มาตรฐาน ตอนนี้คุณ thedesp ได้ทำปุ่มใหม่มาให้แล้ว สามารถนำไปใช้ได้และอยากให้นำไปใช้ครับ
ตอนนี้ใน Forum ของเรากำลังมีแคมเปญ SpreadBlognone กดเข้าไปดูได้ อีกอันที่อยากให้มาเล่นกันคือรางวัล Blognone Reader's Choice 2005 ที่เราจะจัดเป็นปีแรก!
Microsoft เผยข้อมูลเกี่ยวกับ Vista เพิ่มเติมใน build ล่าสุดของรุ่น Community Technology Preview (CTP)
build 5270 ประจำเดือนธันวาคมนี้ มีอะไรใหม่เยอะเลยเหมือนกัน เริ่มจาก Windows AntiSpyware ที่เปลี่ยนชื่อไปเป็น Windows Defender ก็เพิ่มความสามารถมากขึ้นกว่าเก่า อีกตัวนึงที่เพิ่มเข้ามานั่นคือ BitLocker Drive Encrption ที่เอาไว้ล็อกทั้งวินโดว์พารติชั่นก็ว่าได้ เค้าบอกว่าความสามารถนี้ เอาไว้กันเวลาเครื่องหาย หรือถูกขโมยไปแกะเอาฮาร์ดดิสก์ออกแล้วต่อเข้าเพื่อขโมยข้อมูล
แหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ (ของคนอื่น) แจ้งมาว่าเราจะได้เห็น Mac mini, iBook ตัวใหม่ ซึ่งเชื่อกันว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ตัวแรกๆ ที่จะใช้ ซีพียูของ Yonah ของอินเทลตัวใหม่ในงาน Mac Expo ที่จะจัดขึ้นเดือนมกราคม 2549 ที่ซานฟรานซิสโก
จากการวิเคราะห์ดูํแล้วเป็นไปได้ว่า Apple จะเปิดตัว iBook ตัวใหม่จะใช้ซีพียู Yonah Dual Core หรือ Centrino Duo ที่ความเร็ว 1.5GHz และ PowerBook ที่มีใชซีพียู ความสามารถสูงกว่านั้นจะออกตามมาทีหลัง
ประเด็นปัญหาสำคัญของซีพียูดูอัลคอร์คือราคาซอฟต์แวร์ที่มักคิดราคาตามซีพียู โดยแม้จะมีการเรียกร้องให้คิดราคาตามจำนวนซีพียูจริงมากกว่าจำนวนคอร์ข้างใน แต่การทำจริงก็คงเป็นเรื่องยาก เพราะจำนวนคอร์ในซีพียูนั้นดูจะวิ่งสวนทางกับจำนวนซีพียูในเครื่องอย่างรวดเร็ว
รัฐบาลญี่ปุ่นเรียกประชุมบริษัทคอมพิวเตอร์และมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น NTT, Fujitsu และโทได เพื่อตัดสินใจว่าควรสร้าง Search Engine เป็นของตัวเองดีหรือไม่ ทางโฆษกของรัฐบาลบอกว่า นี่ไม่ใช่การแข่งกับกูเกิลหรือยาฮูแต่อย่างใด แต่เป็น "something that's unique to Japan" ต่างหาก