ช่วงหลังอินเทลประสบความสำเร็จกับตลาดโน้ตบุ๊กค่อนข้างสูง แม้จะเพลี่ยงพล้ำตลาดเซิร์ฟเวอร์ให้เอเอ็มดีไปเยอะเอาการก็ตามที โดยเฉพาะ Core Duo ที่กินตลาดไปเยอะมากในช่วงหลัง ล่าสุดอินเทลคิดจะใช้ชื่อทีประสบความสำเร็จมาแล้วในตลาดโน้ตบุ๊ก พาเอาตลาดเดสก์ทอปตามไปด้วย ทำให้อินเทลเลือกใช้ชื่อ Core 2 Duo สำหรับชิป Conroe ที่กำลังจะออกมา
เสียงตอบรับในช่วงแรกนี้เท่าที่ดูๆ ออกจะแง่ลบซะเยอะเหมือนกัน เพราะสร้างความสับสนให้ผู้ใช้พอสมควร โดยเฉพาะเลขรุ่นที่เป็นตัวเลข 4xxx ไปจนถึง 7xxx ทำให้ดูชิป Core Duo ที่มีเลขรุ่น 2xxx ดูด้อยลงไปถนัดใจแม้คุณจะใช้รุ่นใหญ่สุด
คนรอก็เยอะ คนไม่อยากให้มันออกมา (เพราะกลัวตกรุ่น) ก็คงไม่น้อย แต่ข่าวลือครั้งนี้ก็แทบจะยืนยันกันทั่วอินเทอร์เน็ตแล้วว่า MacBook แบบไม่ Pro จะลืมตาดูโลกในภายในวันอังคารนี้ ด้วยสเปคจอกว้าง 13 นิ้ว น้ำหนักที่เบาลง และมีให้เลือกสองสีคือขาวและดำ ส่วนราคานั้นจะขึ้นไปกว่า iBook อยู่บ้าง แต่ยังไม่มีข่าวว่าจะเป็นเท่าใหร่
ตอนนี้แอปเปิลทำอะไรก็โดนคล้ายๆ กูเกิล คือมีคนส่องการเปลี่ยนแปลงในเว็บแทบทุกรุ่น เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาก็มีคนพบว่าหน้าเว็บ iPod นั้นมีส่วน Navigation ที่ผิดพลาด ทำให้บอก path ของหน้าเว็บเป็น Home > Hardware > MacBook ไป
สามหมื่นพอนะสตีฟ สามหมื่น...
กำลังเป็นที่คาดการณ์กันว่า Google จะออกบริการใหม่มาเพื่อต่อกรกับ Live Drive ซึ่งเป็นบริการ online storage ของ Microsoft โดยคุณ Garett Rogers จากเว็บไซต์ Googling Google ได้สังเกตว่ามีบรรทัดใหม่เพิ่มเข้ามาในไฟล์ robots.txt ของ Google ดังนี้
Disallow: /uds/
โดยที่เขาเองก็ไม่รู้ว่า /uds/ ย่อมาจากอะไร แต่ความเห็นหนึ่งที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดคือ ย่อมาจาก Unlimited Data Storage เพราะว่าถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วก็มีเหตุผลอันสมควรที่ควรจะใส่ไว้ใน robots.txt เพื่อ "ห้าม" ไมให้ search engine ไต่เข้าไปเพื่อ index ไฟล์ที่อยู่ในไดเรคทอรี่นี้
หลังจากไมโครซอฟท์อ้่างเหตุผลที่ไม่ยอมใช้ ODF มาตลอดว่าเป็นเพราะไม่สามารถเข้ากันได้เอกสารรุ่นเก่าๆ ในวันนี้ทาง ODF Alliance ก็ออกมาประกาศแล้วว่าได้พัฒนาปลั๊กอิน สำหรับไมโครซอฟท์ออฟฟิศทุกรุ่นย้อนไปถึง Office97 เพื่อให้ทำงานร่วมกับ ODF ได้แล้วในตอนนี้ โดยในขณะนี้มันอยู่ในขั้นการทดสอบแบบปิด และยังไม่มีการเปิดให้โหลดไปใช้งานแต่อย่างใด
คุณ Tom Kuipers, Alan Berg ได้ทำการทดสอบ ODF ว่ามันได้ผลจริงๆรึเปล่า
ทดสอบโดยการสร้างเอกสารที่มีทั้งข้อความ, กราฟ, รูปภาพ, ฟอนต์แปลกๆ ,Layout ซับซ้อน โดยสร้างบน OpenOffice.org ที่รันบน Ubuntu 5.1 (Live CD) และนำไปเปิดและแก้ไขบน KOffice ที่รันบน Slax หลังจากนั้นก็นำมาเปิดอีกครั้งบน Abiword ที่รันบน Windows XP ครับ
นาย Geertjan Wielenga ซึ่งเป็นพนักงานซันได้แสดงให้เห็นความสามารถใหม่ของ NetBeans 5.5 ที่สร้าง Entity Class และ JSF จากดาตาเบสได้โดยไม่ต้องโค๊ด!!!! โดยดูได้ที่บล๊อคของเค้า ซึ่งมี2 ตอนครับ
แม้ในทุกวันนี้ซันจะเป็นผู้แสดงตัวว่าสนับสนุนการโอเพนซอร์สอย่างเต็มตัว แต่เทคโนโลยีจาวานั้นก็ยังห่างไกลจากคำว่าโอเพนซอร์สอยู่มาก ปัญหาหลักๆ ในทุกวันนี้คือไม่มีลินุกซ์ตัวไหนยอมใส่ JRE เข้าเป็นส่วนหนึ่งของดิสโทร เพราะกลัวปัญหาด้านไลเซนส์ที่เรื้อรังมายาวนาน
เมื่อวานนี้เองทางซันก็จัดงานแถลงข่าวทางไกลขึ้น เพื่อแถลงว่าซันกำลังจะลดข้อจำกัดในไลเซนส์ของจาวาลง เพื่อให้ลินุกซ์ดิสโทรต่างๆ สามารถพ่วงเอา JRE เข้าไปในดิสโทรได้ทันที
กระทานาย Jim Louderback แห่ง PC Magazine เขียนลงในคอลัมน์เค้าว่า ความคิดที่จะซื้อเครื่อง Intel Mac เพื่อมาใช้ Boot Camp มารัน Winodws นั้นเป็นความคิดที่ห่วย!!!
เค้ายกตัวอย่างทั้งเรื่อง ของการสนับสนุนฮาร์ดแวร์ที่ไม่รู้ว่าเจ้า Boot Camp จะสนับสนุนรึเปล่า, เรื่องของเสถียรภาพที่ไม่รู้ว่าเจ้า Boot Camp จะนิ่งสักแค่ไหนและไม่รู้ว่า Apple จะมีบริการ Support ให้รึเปล่า, เรื่องของความอิสระในการปรับแต่งฮาร์ดแวร์ต่างๆ (อันนี้ส่วนตัวผมชอบประกอบคอมเอง :P) มีกัดด้วยว่า่ Think Different but all look just the same
สงครามแผ่นออปติคอลกำลังเข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เมื่อทั้งสองค่ายต่างกำลังพยายามผลักดันเครื่องเล่น และแผ่นหนังให้ออกมาให้เร็วที่สุด ซึ่งในตอนนี้ทางฝั่ง HD-DVD ก็ออกเครื่องเล่นมาแล้วสองรุ่น พร้อมๆ กับแผ่นหนังสี่เรื่อง และออกมาเรื่อยๆ จนตอนนี้กลายเป็น 16 เรื่องไปแล้ว
หลังจากเปิดศึกด้านการค้นหาเอกสารบนเครื่องกับกูเกิลมาปีกว่า ตอนนี้ Windows Desktop Search ก็เตรียมออกรุ่นที่สามแล้ว โดยในตอนนี้ก็มีตัวเอนจินมาให้โหลดกันไปใช้กับ Outlook 2007 หรือ OneNote 2007 กันก่อน ส่วนคนที่ไม่ได้ใช้สองโปรแกรมนี้ ยังไม่ควรอัพเกรด เพราะในตอนนี้ เวอร์ชั่นสามยังไม่สามารถทำงานเป็นโปรแกรมเดี่ยวๆ ได้
สงคราม Desktop Search ถือเป็นการบุกที่กูเกิลเปิดฉากเต็มตัวกับไมโครซอฟท์ เพราะเป็นการหลุดออกจากอินเทอร์เน็ตเข้าสู่วินโดวส์ งานนี้จึงดูเป็นการบ้านที่หนักสำหรับไมโครซอฟท์พอดู ที่จะต้องมากู้ชื่อว่า ค้นหาบนวินโดวส์เอง ก็ควรมีโปรแกรมของไมโครซอฟท์ที่ทำได้ดี
หลังจากหายไปนาน หนึ่งในเกมอมตะอย่าง Rayman ก็จะกลับมาอีกครั้งใน ด้วยภาคที่ 4 ในชื่อว่า Rayman Raving Rabbids ที่จะออกมาสำหรับเครื่อง Wii เป็นตัวแรก โดยทาง Ubisoft ระบุว่าทีมงานที่สร้างเกมในภาคสี่นี้คือทีมเดียวกับที่ส้รางภาคหลักๆ ในก่อนหน้านี้
พอดีเป็นแฟนเกม Rayman แต่ตอนนี้ยังนึกไม่ออกว่าจะเอาจอยของ Wii มาควบคุมเกม Adventure อย่าง Rayman ยังไงเหมือนกัน
ที่มา - Pocket Lint
คำตอบของคุณภัทระ เกียรติเสวีมาแล้วครับ อ่านได้เลย
(เริ่ม)
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณคุณ mk และ blognone นะครับที่ให้โอกาสมาตอบในครั้งนี้ ขอให้เว็บเจริญรุ่งเรื่องยิ่งๆ ขึ้นไปเด้อ ตอบเรียงเลยละกัน gumara: ที่ญี่ปุ่นใช้ลินุกซ์เยอะมะคับ แล้วดิสโทรอะไรที่ฮิต
อืม ข้อมูลตัวเลขจริงๆ นี่ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันนะครับ แต่เอาจากประสบการณ์ที่เห็นรอบๆ ตัว ก็เห็นว่า มีใช้เยอะกว่าเมืองไทยพอควรล่ะ แต่ถ้าเทียบกับฝั่งยุโรป อย่างเช่น เยอรมัน นี่ เหมือนญี่ปุ่นจะน้อยกว่าเยอะนะครับ ไม่รุ้ทำไม ส่วนใหญ่เห็นแต่ Windows
ทางเวบ CNET ทำการรีวิวเปรียบเทียบระหว่าง Apple MacBook Pro กับ Acer TravelMate 8200 โดยแต่ละมุมมีพิกัดดังนี้ครับ
สำหรับแฟนๆ Java บนเครื่อง Intel Mac คงได้ดีใจกันถ้วนหน้าเมื่อ Mailing List ของ แอปเปิล ได้ประกาศออกว่าได้ปล่อย Java SE 6.0 Release 1 Developer Preview 1 ออกมาให้ลองเล่นกันแล้ว โดยในตอนนี้ทำของ Intel Mac ออกมาก่อนครับ ส่วนผู้ใช้ Mac ตัวเก่าไม่ต้องน้อยใจครับสำหรับ PowerPC จะออกมาเร็วๆนี้เช่นกัน
แม้ว่าจะช้ากว่าทาง PC อยู่นานโขหน่อย แต่มาช้าก็ยังดีกว่าไม่มาครับ ดาวน์โหลดได้ที่ Connect.Apple.com ครับ
ไม่ใช่หมายถึงมาตรฐานดีจะได้ ISO9000 แบบที่เห็นบ่อยๆ ในบ้านเรานะครับ แต่วันนี้คณะกรรมการ ISO/IEC ได้ผ่านร่างมาตรฐานกลายเป็น ISO/IEC 26300 แล้วแม้จะต้องผ่านขั้นตอนอีกสักระยะเพื่อให้มีการประกาศมาตรฐานนี้อย่างเป็นทางการ
การผ่านมาตรฐานเข้าเป็นหนึ่งในมาตรฐาน ISO นี้ น่าเชื่อว่าจะทำให้ภาครัฐเข้ามาสนใจ ODF กันมาขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างน้อยๆ ชื่อว่ามาตรฐาน ISO คงดูดีกว่าฟอร์แมตของไมโครซอฟท์อยู่โข แต่ทางด้านไมโครซอฟท์เองก็กำลังเร่งผลัก OpenXML ของตนเข้าเป็น ISO เหมือนกัน
ไม่ค่อยได้เล่นข่าวในประเทศเท่าไร เผอิญเรื่องนี้น่าสนใจและมีผลกระทบในวงกว้าง เลยเขียนซะหน่อย
ปีนี้หน่วยงานภาครัฐบาลที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และไอทีเปลี่ยนบอสสูงสุดพร้อมกันโดยมิได้นัดหมายครับ ที่เนคเทค อ. ทวีศักดิ์ กออนันตกูลหมดวาระเดือนตุลาคม ฝั่ง SIPA ผอ. มนู ก็หมดวาระเช่นกัน รวมไปถึงบอร์ดส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์หรือ Sip-B (ผมก็เพิ่งรู้ว่ามีเหมือนกันเนี่ย) ผลการคัดเลือกคงทยอยออกมาเรื่อยๆ ในเร็วๆ นี้
และอย่าลืมว่าพอการเมืองสงบ เราก็จะได้รัฐมนตรี ICT คนใหม่ด้วยนะครับ
การเปลี่ยนแปลงยกกระบิครั้งนี้ เชื่อว่าคงกระทบไปถึงนโยบายในด้าน ICT ของประเทศไม่มากก็น้อย รอดูละกัน
หลังจากที่กล้อง Compact ระดับผู้ใช้ทั่วไปต้วมเตี้ยมอยู่ที่ 8-9 ล้าน Pixel มานาน ในที่สุดคาสิโอก็ทำให้ Super Slim Compact อนุกรม Exilim ทำได้สำเร็จที่ 10.1 ล้าน pixel
เจ้า Exilim EX-Z1000 นั้นมีข้อมูลคราวๆดังนี้
รายละเอียดอื่นๆดูได้ที่ DCResource ครับ
หลังออก 1.5.0.2 ไปได้ไม่นาน ด้วยความไวปานโกหก ทาง Mozilla ได้ออกเวอร์ชั่นใหม่มาอีกแล้วครับ
คราวนี้เป็นแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก โดยเฉพาะเรื่อง Buffer Overflow เมื่อรัน Javascript บางตัว และแน่นอนว่าจะมี 1.5.0.4 ออกมาแน่นอน จากแผนนี้
ที่ดาวน์โหลดคงไม่ต้องบอกนะ?
ที่มา - MozillaZine
โครงการ UMPC (Ultra-Mobile PC) หรือโค้ดเนม Origami ของไมโครซอฟท์ทำตลาดค่อนข้างเก่ง ได้รับความสนใจจากสื่อไปเยอะเหมือนกัน มาถึงตอนนี้ของจริงเริ่มวางขายแล้ว
Samsung Q1 เป็น UMPC รุ่นแรกๆ ใช้ Celeron M แบบ Ultra Low Voltage 900 MHz, มีแรม 512 MB ที่ต้องแชร์ให้การ์ดจอ 8 เมก, ฮาร์ดดิสก์ 40 GB, การติดต่อกับภายนอกสามารถทำได้ผ่าน CompactFlash, WiFi หรือ LAN แบตเตอรี่อยู่ได้ 3 ชม. และมาพร้อมกับ Windows XP Tablet Edition ไม่มีคีย์บอร์ดมาให้ ต้องใช้คีย์บอร์ดบนหน้าจอแทน หน้าตาเครื่องดูจากรูปแล้วคล้ายๆ PSP
Opera Mini ฟรีเวบเบราว์เซอร์เจ้าแรกๆ ที่ทำออกมาสำหรับมือถือออกเวอร์ชันใหม่มาแล้วครับ ซึ่งมีความสามารถใหม่เช่น
ซึ่งดูแล้วเจ้า Mini นี้เขียนด้วย J2ME เป็นแน่ มีอีมูเลเตอร์ให้ลองเล่นกันบน PC ด้วยครับ จะดาวน์โหลดก็ที่นี่เลยครับผม
นับจนถึงเดี๋ยวนี้ ลินุกซ์ยังสนับสนุน WiFi ได้ไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ที่พอใช้ได้หน่อยคือพวกที่ใช้ชิปอินเทล Pro Wireless 2x00 ที่มากับ Centrino ที่เหลือก็แล้วแต่วาสนา
ต้นเหตุก็เซม เซมครับ ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ไม่ปล่อยไดรเวอร์ออกมาเป็นโอเพนซอร์สน่ะเอง
สัปดาห์นี้แอปเปิลประสบชัยชนะในสองศึกที่เกี่ยวข้องกับ iTMS
ศึกแรกคือบรรดาค่ายเพลงใหญ่ Big Four อันได้แก่ Universal, Warner Music, EMI และ Sony BMG ที่เคยออกมาฮึ่มฮั่มว่าจะคิดราคาเพลงแบบไม่ตายตัว (เพลงดังก็ขายแพง) ได้ยอมรับเงื่อนไขในการเจรจากับแอปเปิลแล้ว ทำให้เพลงที่ขายใน iTMS จะยังคงราคาเดิม เพลงละ 99 เซ็นต์ต่อไป อย่างไรก็ตามข่าววงในบอกมาว่าสัญญาอาจเป็นแค่ระยะสั้น ทำให้ปัญหานี้อาจกลับมาอีกในอนาคตอันใกล้
ที่มา - CNN
นักวิเคราะห์จาก Gartner ให้ความเห็นว่า Vista อาจต้องเลื่อนยาวไปจนถึงเดือนเมษายนปี 2007
ถึงแม้ไมโครซอฟท์จะประกาศเลื่อนจากปลายปีนี้ไปเป็นเดือนมกราคม 2007 รอบนึงแล้วก็ตาม แต่ Gartner ยังเห็นว่าตัวโปรแกรมซับซ้อนเกินกว่าจะออกทันเส้นตายรอบใหม่นี้อยู่ดี Gartner ยังบอกอีกว่าการเลื่อนอีกรอบจะไม่เกิดผลกระทบมากเท่าครั้งนี้ เนื่องจากว่าฤดูกาลซื้อของของฝรั่ง มีช่วงเวลาที่ตายตัวคือราวๆ คริสต์มาสนั่นเอง
ไมโครซอฟท์ออกมาแถลงข่าวว่าไม่เห็นด้วยกับ Gartner และ Vista จะเสร็จทันแน่นอน
MSN adCenter เป็นแพลตฟอร์มของไมโครซอฟท์ในการสร้างและจำแนกแจกจ่ายโฆษณา ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวมาเพื่อเป็นคู่แข่งกับ Google Adsense โดยคาดว่าน่าจะพร้อมลงสนามในเดือนมิถุนายน
Liveside blog ซึ่งเป็น blog เกี่ยวกับบริการ Live! ของไมโครซอฟท์ได้เขียนรายละเอียดของระบบนี้ โดยดูระบบจะทำงานคล้ายคลึงกับ AdWords ของ google อย่างมาก โดยโฆษณาจะปรากฏเมื่อผู้ใช้ค้นหาคำที่ระบุใน MSN Search page นอกจากนี้ Adcenter ยังมีระบบช่วยวิเคราะห์สำหรับผู้ลงโฆษณา ว่าจะลงโฆษณาอย่างไร เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด (ซึ่งก็ดูเหมือนระบบของ google อีก)
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์หลายแห่งทั่วโลกได้พร้อมใจกันทำกิจกรรมที่ชื่อว่า CSS Reboot! ขึ้น โดยกิจกรรมนี้มีกติกาหลักๆ อยู่ว่าให้เปลี่ยนดีไซน์ของเว็บไซต์ที่ตนมีอยู่ โดยหลังจาก submit ผลงานเข้ามาจะเปิดให้ผู้ชมทั่วไปให้คะแนนกันว่าใครจะ "reboot" ได้เจ๋งกว่า
งานนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2000 ในชื่อว่า May 1st Reboot! โดยตอนนั้นไม่จำกัดว่าจะต้องเป็น html+css เท่านั้น แต่ผู้จัดงาน คุณ James Widegren ได้เห็นว่ามีเว็บไซต์ที่ทำด้วย flash จำนวนมากส่งเข้าประกวด ซึ่งออกจะไม่อิงกับหลัก web standard สักเท่าไหร่ จึงได้คิดจัดงานใหม่ขึ้นมาเป็น CSS Reboot! ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา