DARPA องค์กรให้ทุนวิจัยของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศโครงการ Translating All C to Rust (TRACTOR) สร้างระบบแปลงโค้ดจากภาษา C มาเป็น Rust โดยยังได้โค้ดคุณภาพสูงใกล้เคียงกับที่โปรแกรมเมอร์ Rust มาเขียนเอง
Dan Wallach ผู้จัดการโครงการของ DARPA ยอมรับว่าทุกวันนี้ LLM แปลงโค้ดข้ามภาษากันเป็นปกติอยู่แล้ว เราสามารถโยนโค้ดภาษา C ให้ LLM แปลงเป็น Rust กันได้ แต่บางครั้งผลก็ดีมาก บางครั้งก็แย่ โครงการ TRACTOR มุ่งสร้างระบบแปลงอัตโนมัติที่จะแปลงโค้ดได้คุณภาพดีสม่ำเสมอ
โครงการนี้เปิดรับข้อเสนอโครงการรับทุนวิจัยต่อไป แต่คาดว่าผู้เสนอโครงการจะใช้เทคนิคในการแปลงโค้ดด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การวิเคราะห์โค้ดทั้งแบบ static และ dynamic, การพัฒนา LLM ตลอดจนเทคนิคอื่นๆ
DARPA หน่วยงานวิจัยของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ และกองทัพอากาศสหรัฐ (USAF) อัพเดตความคืบหน้าของโครงการ Air Combat Evolution (ACE) ที่ใช้ AI ขับเครื่องบินรบ ว่าประสบความสำเร็จในการใช้ AI ขับเครื่องบินรบเพื่อรบกันซึ่งๆ หน้าบนท้องฟ้า (dogfighting) กับเครื่องบินอีกลำที่ขับโดยมนุษย์
ระบบ AI ของ DARPA ใช้เทคนิค machine learning เรียนรู้การรบแบบ dogfighting ผ่านซิมูเลเตอร์ก่อน เมื่อทดสอบจนพอใจแล้วจึงนำมาใช้ขับเครื่องบินรบจริงๆ โดยเป็นเครื่องรุ่น X-62A VISTA สำหรับซ้อมขับ (ที่มีนักบินฉุกเฉินนั่งไปด้วย และสามารถเข้าแทรกแซงได้ทันที) กำหนดภารกิจให้ต้องมารบบนท้องฟ้าสู้กับ F-16 ที่ขับโดยมนุษย์
DARPA หน่วยงานให้ทุนวิจัยของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เปิดโครงการ V-SPELLS ที่ช่วยให้กลาโหมสหรัฐฯ สามารถอัพเดตซอฟต์แวร์เก่าที่เขียนมานานแล้วด้วยการ decompile จนสามารถนำโค้ดกลับมาใช้งานได้
เทคนิคการ decompile ไบนารีนั้นมีมานานแล้ว แต่ส่วนมากมักได้โค้ดที่คุณภาพแย่จนใช้เพื่อดูการทำงานซอฟต์แวร์เท่านั้น ไม่เหมาะกับการนำไปพัฒนาต่อจริงๆ
ทีมงานจากมหาวิทยาลัยจอร์เจีย หนึ่งในทีมงานที่ร่วมโครงการ V-SPELLS อาศัยการแปลงโค้ดเป็นไฟล์ HAR (highly abstract representation) ที่วิศวกรสามารถอ่านทำความเข้าใจได้ และยังคอมไพล์กลับไปเป็นไบนารีเพื่อใช้งานต่อได้ โดยตัวภาษาเป็น pseudo-code ที่แสดงความเชื่อมโยงโค้ดเป็นกราฟ ตัวนักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดในภาษา C/C++ ได้
กองทัพอากาศสหรัฐ ประสบความสำเร็จในการนำ AI ขับเครื่องบินรบ F-16 รุ่นฝึกซ้อมเป็นจำนวน 12 เที่ยวบิน นับระยะเวลารวมกันเกิน 17 ชั่วโมง เมื่อเดือนธันวาคม 2022
โครงการนี้ชื่อว่า Air Combat Evolution (ACE) เป็นงานวิจัยของ DARPA ร่วมกับโรงเรียนฝึกนักบินทดสอบ (U.S. Air Force Test Pilot School หรือ USAF TPS) และศูนย์ปฏิบัติการเครื่องบินรบอัตโนมัติ (Autonomous Air Combat Operations หรือ AACO) ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2019
NASA ประกาศความร่วมมือกับ DARPA หน่วยงานให้ทุนวิจัยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เริ่มพัฒนาเครื่องยนต์จรวดพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสร้างจรวดความเร็วสูง สามารถเดินทางไปยังดาวอังคารได้ภายในเวลาไม่นาน และเปิดทางให้มนุษย์เดินทางไปดาวอังคารได้ในที่สุด
เครื่องยนต์พลังความร้อนนิวเคลียร์ (nuclear thermal) อาศัยความร้อนจากเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ฟิชชั่นมาทำความร้อนให้กับของเหลวให้ขยายตัวและพ่นออกไปจากจรวดด้วยความเร็วสูงเพื่อผลักดันยานไปข้างหน้า แรงขับจากเครื่องยนต์แบบนี้สูงกว่าการเผาไหม้เชื้อเพลิงปกติสูงสุดสามเท่าตัว และ NASA เองเคยพยายามพัฒนาเครื่องยนต์แบบนี้ในโครงการ NASA’s Nuclear Engine for Rocket Vehicle Application and Rover ตั้งแต่ 50 ปีที่แล้วแต่ล้มเลิกไป
DARPA ร่วมกับ Sikorsky บริษัทลูกของ Lockheed Martin พัฒนาระบบการทำงานของเฮลิคอปเตอร์ Black Hawk แบบไม่ต้องใช้นักบิน เพื่อใช้ปฏิบัติภารกิจการส่งกำลังบำรุงและการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บทางอากาศ ช่วยลดความเสี่ยงของนักบิน
Lockheed Martin เรียกเทคโนโลยีการบินแบบไร้นักบินที่พวกเขาพัฒนาขึ้นว่า MATRIX ซึ่งอาศัยการควบคุมโดยคอมพิวเตอร์บนเครื่องเป็นหลัก ไม่จำเป็นต้องอาศัยการควบคุมระยะไกลจากภาคพื้นดินตลอดเวลา ทั้งนี้ระบบคอมพิวเตอร์จะอาศัยข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ป้อนให้ทั้งข้อมูลพิกัดเป้าหมาย, เส้นทางการบินที่ต้องการ, สภาพภูมิประเทศในพื้นที่การบิน
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แถลงผลงานต่อรัฐสภาสหรัฐในโอกาสทำงานครบ 100 วัน ประเด็นที่น่าสนใจคือเขาเสนอตั้งหน่วยงานวิจัยแบบเดียวกับ DARPA (Defense Advanced Research Projects Agency) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ แต่มีภารกิจด้านสุขภาพและการแพทย์แทน
ไบเดน อ้างถึงผลงานของ DARPA ที่ก่อตั้งในปี 1958 ว่าถึงแม้เป็นหน่วยงานด้านการทหาร มีภารกิจด้านความมั่นคง แต่ผลจากงานวิจัยของ DARPA ก็สร้างคุโณปการต่อโลกเทคโนโลยีหลายอย่าง เช่น อินเทอร์เน็ตและ GPS
DARPA หน่วยงานให้เงินทุนวิจัยของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศความคืบหน้าของโครงการ Air Combat Evolution (ACE) ที่ปัญญาประดิษฐ์สามารถควบคุมเครื่องบินรบพร้อมใช้อาวุธหลากหลายประเภทบนเครื่องบินเพื่อรบแบบ dogfight กับนักบินในระบบจำลอง (simulation)
โครงการนี้เริ่มจากปีที่แล้วที่ Johns Hopkins Applied Physics Laboratory (APL) จัดการแข่งขัน AlphaDogfight จำลองการรบแบบ dogfight ด้วยเครื่องบิน F-16 และทีมที่ชนะสามารถเอาชนะนักบินจริงรวด 5 นัด หลังจากนั้นระบบจำลองเริ่มมีความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ มีการจำลองเหตุการณ์ที่มีฝ่ายเดียวกันร่วมบินขับไล่ และเปิดให้ใช้ได้ทั้งปืนและมิสไซส์
การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล กับการวิเคราะห์ข้อมูลดูเป็นแนวคิดที่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง และต้องตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งเท่านั้น หากเลือกปกป้องข้อมูลด้วยการเข้ารหัส (encryption) ก็จะไม่สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ได้จนกว่าจะถอดรหัสออกมาทั้งหมด
ในทางเทคนิคแล้วมีแนวคิดที่เรียกว่า Fully Homomorphic Encryption (FHE) เป็นวิธีการเข้ารหัสแบบใหม่ ที่สามารถนำข้อมูลไปวิเคราห์-ประมวลผลต่อได้ (ทั้งๆ ที่ยังถูกเข้ารหัสอยู่และไม่รู้ว่าข้อมูลข้างในคืออะไร)
DARPA เผยแพร่การพัฒนาโครงการ Ground X-Vehicle Technologies (GXV-T) ซึ่งประกอบด้วยงานวิจัยหลายอย่างโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ อย่างแรกคือเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนที่ผ่านบริเวณที่ภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวยต่อการวิ่งของยานพาหนะทั่วไป และอย่างที่ 2 คือการเพิ่มระบบการรับรู้ให้แก่ผู้ขับขี่
โดรนในสนามรบทุกวันนี้เป็นเหมือนเครื่องบินรบขนาดเล็กที่แม้จะไม่ต้องมีคนขับบนเครื่องแต่ก็ต้องการลานบินเพื่อนำเครื่องขึ้นลงอยู่ดี ฝั่งขึ้นนั้นแก้ปัญหาได้ด้วยการสร้างเครื่องดีดความเร็วสูงให้โดรนบินขึ้นในระยะสั้นๆ ได้ แต่ตอนนี้ DARPA ก็พัฒนาระบบจอดโดรนที่ไม่ต้องการลานบินแล้วเช่นกัน
ระบบจอดโดรนแบบใหม่ใช้สายเกี่ยวโดรนเพื่อเหวี่ยงมันเข้าไปยังตาข่าย ทำให้สามารถจอดได้โดยใช้ระยะบินสั้นๆ เพียงไม่กี่เมตรเท่านั้น
โครงการพัฒนานี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่าง DARPA กับกองทัพเรือสหรัฐฯ ที่จะหาทางสร้างระบบโดรนขึ้นบินและลงจอดบนเรือรบโดยไม่ต้องใช้เรือบรรทุกเครื่องบินโดยเฉพาะ
เห็นแล้วนึกถึง Carrier ของ Protoss
DARPA เผยข้อมูลโครงการ TUNA พัฒนาอุปกรณ์เพื่อการสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสงที่ลอยกลางมหาสมุทร ที่มีเป้าหมายเพื่อใช้งานในภาวะฉุกเฉินยามสงคราม
ชื่อ TUNA นั้นย่อมาจาก "Tactical Undersea Network Architecture" ซึ่งสื่อถึงตัวอุปกรณ์สำหรับระบบสื่อสาร โดยใช้ใยแก้วนำแสงทอดผ่านใต้ผืนน้ำมหาสมุทร โดยที่ปลายทั้งสองด้านของสายใยแก้วจะมีตัวแปลงสัญญาณเป็นคลื่นวิทยุลอยที่ผิวน้ำเพื่อติดต่อสื่อสารกับหน่วยรบซึ่งอาจจะเป็นเครื่องบินหรือเรือที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณโดยรอบนั้น
DARPA Cyber Grand Challenge การแข่งขันแฮกและป้องกันซอฟต์แวร์ (capture the flag - CTF) ที่แปลกกว่างานอื่นๆ คือระหว่างการแข่งขัน ไม่มีมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องเลย แต่อาศัยปัญญาประดิษฐ์ทดสอบ, ป้องกัน, และโจมตี ซอฟต์แวร์กันเองทั้งหมด การแข่งขันรอบสุดท้ายเมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้ผู้ชนะเป็นทีม ForAllSecure จากมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon
การแข่งขันครั้งนี้ระหว่างแข่งแต่ละทีมจะได้รับไฟล์ไบนารีเป็นบริการแบบต่างๆ ที่วางช่องโหว่ไว้อย่างจงใจ ระบบ AI ของแต่ละทีมจะทดสอบไบนารีเพื่อหาช่องโหว่แล้วใช้ช่องโหว่เหล่านั้นโจมตีทีมอื่นๆ ทีมที่ถูกโจมตีอาจจะพบพฤติกรรมผิดปกติแล้วอุดช่องโหว่เหล่านั้น
Facebook ประกาศตั้งทีมฮาร์ดแวร์ใหม่ชื่อ Building 8 โดยดึงเอา Regina Dugan หัวหน้าทีม ATAP ของกูเกิลมาคุมทีม
Regina Dugan เคยเป็นผู้อำนวยการห้องวิจัย DARPA ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (ห้องวิจัยที่สร้างอินเทอร์เน็ต) จนถึงปี 2012 จากนั้นย้ายมาดูแลทีม ATAP (Advanced Technology and Projects) ของกูเกิล (เจ้าของผลงานมือถือแยกส่วน Project Ara และ Project Tango) แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเธอที่ DARPA คือกำหนดระยะเวลาตายตัว แล้วสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคเอกชน เพื่อนำเทคโนโลยีในแล็บเปลี่ยนมาเป็นโครงการที่ใช้ได้จริง
ชื่อทีม Building 8 ไม่ได้หมายถึงอาคารหมายเลข 8 (Facebook ไม่มีอาคารนี้) แต่เลข 8 คือจำนวนตัวอักษรในชื่อ Facebook นั่นเอง
กองทุนวิจัยกลาโหมสหรัฐฯ หรือ DARPA ที่เคยให้ทุนกับงานวิจัยสำคัญๆ อย่าง อินเทอร์เน็ตหรือรถยนต์ไร้คนขับประกาศแข่งงานวิจัยครั้งใหม่เป็นการสร้างระบบจัดสรรคลื่นความถี่ตามการใช้งานจริง และให้คอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้จัดสรร โดยใช้ชื่อรายการแข่งขันว่า Spectrum Collaboration Challenge (SC2)
DARPA ระบุว่าแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่ทุกวันนี้ยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอ คลื่นความถี่บางส่วนถูกจัดสรรให้กับการใช้งานที่ต้องการคลื่นจำนวนมาก ทำให้การใช้งานหนาแน่นจนเกินความจำเป็น DARPA จึงสนับสนุนให้มีการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียนรู้ได้ (machine learning) ขึ้นมาจัดสรรคลื่นความถี่ในช่วงเวลาที่รวดเร็วกว่าทุกวันนี้ (machine timescales)
เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ DARPA (Defense Advance Research Project Agency) หรือองค์กรโครงการวิจัยทางความมั่นคงระดับสูง สังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ออกมาระบุว่าได้จัดตั้งโครงการ Brandeis เพื่อวิจัยเทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ให้ดียิ่งขึ้น
DARPA ระบุว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้การปกป้องข้อมูลส่วนตัวนั้นไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งฝั่งผู้บริโภคที่ไม่มีกลไกที่ดีพอ และฝั่งผู้ให้บริการที่อาจจะไม่ได้ออกมาตรการคุ้มครองที่ดีพอ ซึ่งทาง DARPA ระบุว่า โครงการนี้จะช่วยทำให้ความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ดีขึ้น และทุกคนจะได้ใช้เทคโนโลยีนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา บริษัท หรือหน่วยงานรัฐของสหรัฐอเมริกา
หลังจากที่ Blognone ครบรอบ 10 ปีไปหมาดๆ ข่าวในยุคตั้งต้นของ Blognone ก็เริ่มทยอยครบรอบ 10 ปีตามกันไป ดังเช่นบทความคนแก่เล่าความหลังที่พูดถึงการครบรอบ 35 ปีของอินเทอร์เน็ตไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว
กูเกิลเพิ่งเปิดตัวแว่นตารุ่นต้นแบบของ Project Glass ไปได้ไม่นาน (ดูหน้าตาได้จากข่าวนี้) วันนี้ทาง Innovega เผยข้อมูลของอุปกรณ์ประเภทเดียวกันที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกัน คือใช้การแสดงผลแบบ HUD แต่เล็กยิ่งกว่า เพราะมันคือคอนแทคเลนส์ "iOptik"
iOptik คือคอนแทคเลนส์ที่ใช้เทคโนโลยี augmented reality ช่วยแสดงผลข้อมูลผ่านอินเทอร์เฟซแบบ HUD โดยตัวคอนแทคเลนส์แบ่งเป็นสามชั้นคือส่วนคอนแทคเลนส์ ส่วนฟิลเตอร์ด้านนอก และส่วนแสดงผลตรงกลาง
DARPA หรือหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหารของสหรัฐอเมริกา กำลังเตรียมแผนสร้างระบบคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะการประมวลผลระดับ 1,000 เพตาฟลอป หรือ 1 เอ็กซาฟลอป (exaflop) โดย DARPA ตั้งชื่อแผนการดังกล่าวว่า Omnipresent High Performance Computing (OHPC) และคาดว่าระบบต้นแบบจะแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2018
ระบบเอ็กซาฟลอปถือว่าเป็นความท้าทายใหม่ของวงการวิจัยในศาสตร์คอมพิวเตอร์ ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เลยทีเดียว อาทิเช่น งานวิจัยเพื่อสร้างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ประหยัดพลังงาน และอาจจะต้องมีการออกแบบระบบประมวลผลและหน่วยความจำแบบใหม่, การออกแบบวิธีการพัฒนาโปรแกรมและภาษาคอมพิวเตอร์ที่ง่ายและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับระบบดังกล่าว, และการออกแบบระบบที่มีความปลอดภัย เป็นต้น
จากข่าวเก่า DARPA Challenge เริ่มขึ้นอีกครั้ง ตอนนี้การแข่งขันเสร็จสิ้นไปแล้ว และผู้ที่สามารถสร้างรถหุ่นยนต์จนวิ่งเข้าเส้นชัยได้ตามเวลาที่กำหนด 6 ชั่วโมงมี 3 มหาวิทยาลัย
ทีมแรกที่ผ่านเกณฑ์คือมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งใช้รถ VW Passat ชื่อ "Junior" ทีมที่สองคือมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (ใช้รถ Chevy Tahoe) และทีมสุดท้ายสถาบันเทคโนโลยีเวอร์จิเนีย ใช้รถ Ford Escape แบบไฮบริด ต้องหมายเหตุไว้นิดว่าแต่ละทีมเริ่มไม่พร้อมกันและได้รับเป้าหมายแตกต่างกันไป จึงต้องรอการตัดสินจากกรรมการว่าทีมไหนจะได้รับเงิน 2 ล้านเหรียญสำหรับรางวัลชนะเลิศ
การแข่งขัน DARPA Challenge คงเป็นการแข่งขันที่น่าตื่นตาที่สุดอันหนึ่งในโลกหุ่นยนต์ หลังจากครั้งที่แล้ว มีการแข่งขันสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถเดินทางข้ามทะเลทรายได้เอง การแข่งขันในปีนี้จะน่าสนุกกว่าเดิน ด้วยกติกาใหม่ที่เป็นการสร้างเมืองจำลองเพื่อให้รถทุกคันที่เข้าร่วมได้เดินทางตามเส้นทางที่กำหนด
ความท้าทายของการแข่งขันนี้อยู่ที่กติกาว่ารถทุกคันต้องทำตามกฏหมายจราจรของรัฐแคลิฟอร์เนียร์ และต้องทำตามป้ายบังคับต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนเมื่อถึงทางแยกแล้วต้องขอหรือให้ทางกันอย่างเป็นระเบียบ และที่สำคัญที่สุด คือ อย่าชน!!!