PEGI หรือ Pan European Game Information หน่วยงานกำกับดูแลเรตติ้งเกมของยุโรป สั่งปรับ Blizzard เป็นเงิน 5,000 ยูโร (1.9 แสนบาท) ในข้อหาไม่แจ้งต่อ PEGI ตอนที่มาขอรับการจัดเรตว่าเกมมีระบบสุ่มของ (loot box) อยู่ด้วย ซึ่งผิดกฎ Code of Conduct ของ PEGI
อีกเกมที่โดน PEGI สั่งปรับพร้อมกันด้วยข้อหาแบบเดียวกันคือ Hunt: Showdown Bounty Hunter และโดนปรับเท่ากัน
Blizzard ออกมาอัพเดตรายละเอียดของเกม Diablo IV มีประเด็นสำคัญเรื่องโมเดลการทำเงินของเกม ซึ่ง Blizzard ยืนยันว่า Diablo IV เป็นเกมแบบเสียเงินปกติ (a full-price game) เพิ่มด้วยการขายไอเทมตกแต่งที่ไม่มีผลกับเกมเพลย์ (cosmetic) และโมเดลการขาย Season Pass ตามแนวทางเกมสมัยใหม่ ไม่มีการขายไอเทมแบบ pay-to-win และการขายไอเทมสุ่มแบบ loot box
ประกาศของ Blizzard ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก เพราะโมเดลธุรกิจของ Overwatch 2 เพิ่งเปลี่ยนจาก loot box มาเป็นการขาย pass เช่นกัน แม้ว่าเกม Diablo Immortal ที่เป็นเกมมือถือเล่นฟรีจะยังใช้แนวทางการขายไอเทมแบบสุ่ม จนโดนวิจารณ์อย่างหนักก็ตาม
Blizzard ประกาศยุติการขายกล่องสุ่ม Loot Box ของเกม Overwatch ในวันที่ 30 สิงหาคมนี้ ตามแผนธุรกิจของ Overwatch 2 ที่จะเลิกใช้ Loot Box เปลี่ยนมาขายไอเทมผ่านระบบ Battle Pass แทน โดย Overwatch 1 จะสลับเป็น Overwatch 2 ในวันที่ 4 ตุลาคม 2022
ประกาศของ Blizzard เป็นการเลิก "ขาย" Loot Box เท่านั้น แต่ยังมี Loot Box แจกในเกมด้วยวิธีการอื่นๆ อยู่ และหากผู้เล่นมี Loot Box ที่ยังไม่ได้เปิดเก็บเอาไว้ มันจะถูกเปิดอัตโนมัติก่อน Overwatch 2 เริ่มให้บริการ
ย้อนไปเมื่อปี 2020 รัฐบาลอังกฤษได้เรียกประชุมผู้ผลิตเกม เพื่อหารือในประเด็น Loot box ว่าเข้าข่ายการพนันหรือไม่ ซึ่งหากเข้าข่ายจะต้องใช้กฎหมายกำกับดูแลเฉพาะแบบการพนัน และส่งผลต่อเนื่องจากหลายอย่าง รวมทั้งควบคุมการเล่นของเยาวชน
อย่างไรก็ตามกระทรวงดิจิทัล วัฒนธรรม สื่อ และกีฬาของอังกฤษ ได้เผยแพร่ข้อสรุป บอกว่า Loot box ในเกม ไม่ต้องถูกกำกับดูแลแบบการพนันในตอนนี้ แต่ขอให้อุตสาหกรรมเกมพยายามกำกับดูแลกันเอง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบจนต้องออกกฎหมายควบคุม
แนวทางที่หน่วยงานอังกฤษระบุ ว่าผู้ผลิตเกมควรดูแลจัดการ เช่น ควบคุมผู้เล่นเยาวชน เปิดเผยอัตราการสุ่ม หรือเพิ่มความโปร่งใสสำหรับผู้เล่น
Blizzard เผยรายละเอียดเพิ่มเติมของเกม Overwatch 2 ที่ประกาศเปิดบริการ 4 ตุลาคม 2022 โดยภาคนี้ไม่ขายแล้ว เปลี่ยนมาเป็นเกม free-to-play ตามสมัยนิยม
ประเด็นสำคัญของ Overwatch 2 คือเปลี่ยนโมเดลการหารายได้ จากการขายกล่องสุ่ม Loot Box แบบภาคแรก (ที่โดนวิจารณ์ไม่น้อย) มาเป็นระบบ Battle Pass ที่เป็นมิตรกับผู้เล่นมากกว่า เหมือนกับเกมยอดนิยมอื่นๆ อย่าง Dota 2 หรือ Fortnite แต่ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดเรื่องราคาและแพ็กเกจ
Overwatch 2 ยังจะใช้วิธีอัพเดตเนื้อหาของเกมเป็นซีซันทุก 9 สัปดาห์ เพื่อให้ผู้เล่นไม่เบื่อ เบื้องต้นระบุว่าจะมี 2 ซีซันในปี 2022 หลังเกมเปิดบริการ และวางแผนซีซันของปี 2023 ไว้แล้ว ตรงนี้คงไม่ต่างกับเกมอื่นแบบ Fortnite มากนัก
Diablo Immortal ภาคใหม่ของเกม Diablo แบบ free-to-play จะเปิดให้เล่นทั่วโลกในวันพรุ่งนี้ 2 มิถุนายน (ยกเว้น บ้านเราและเอเชียคือ 22 มิถุนายน) แต่จะไม่เปิดบริการในเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ เพราะ 2 ประเทศนี้มีกฎหมายเรื่อง loot box ที่เข้มงวดนั่นเอง
เกมตระกูล FIFA ของ EA ถูกวิจารณ์มาตลอดเรื่องการขายการ์ดนักเตะ FIFA Ultimate Team (FUT) แบบสุ่มที่ทำเงินให้ EA มหาศาล ช่วงหลังเราจึงเห็น EA ออกมาตรการที่เป็นมิตรกับผู้เล่นมากขึ้น เช่น การบอกยอดเงินสะสมที่จ่ายค่าการ์ดไป, การขายชุดตกแต่งโดยตรงไม่ต้องผ่าน Loot Box
ล่าสุด EA มุ่งไปที่ใจกลางของปัญหา (อย่างไม่น่าเชื่อ!) เพราะเปลี่ยนมาขายซองการ์ดแบบเห็นการ์ดได้ก่อนซื้อ ที่เรียกว่า FUT Preview Packs
EA โดนวิจารณ์อย่างมากเรื่องการขาย loot box โดยเฉพาะในเกม FIFA (EA บอกระบบ Loot Box ของเรามีจริยธรรม) แต่ในอัพเดตล่าสุดประจำเดือนพฤษภาคม 2021 ของเกม FIFA 21 ดูมีพัฒนาการในทางบวกมากขึ้น
อัพเดตนี้ EA หันมาขายชุดตกแต่ง (cosmetics ที่ไม่มีผลต่อเกมเพลย์) เช่น ธีมสนาม ป้ายในสนาม ชุดแข่ง ป้ายเชียร์ของแฟนบอล (tifo) โดยตรง จากเดิมที่ต้องซื้อผ่าน loot box แล้วรอสุ่มเอาเท่านั้น การซื้อชุดตกแต่งจำเป็นต้องจ่ายด้วยเงินในเกม (FIFA Points หรือ FUT Coins) ซึ่งกรณีของ FIFA Points สามารถซื้อด้วยเงินจริงได้
เกิดดราม่ากับระบบสุ่มการ์ดผู้เล่นใน FIFA Ultimate Team (เรียกย่อๆ ว่า FUT) ของเกม FIFA21 เมื่อทวิตเตอร์ @FutArcade ออกมาแฉว่ามีมือดีขายการ์ดหายากทั้งการ์ด Icon ที่มีผู้เล่นในตำนานอย่าง Ronaldo (บราซิล), Pele, Ronaldinho, Zinedine Zidane และ Ruud Gullit รวมถึงการ์ดพิเศษอย่าง Prime Icon Moments พ่วงกับ Team of The Year (TOTY) พร้อมติดแท็ก #EAGATE
กระบวนการซื้อคือแค่จ่ายเงิน และบอกไอดี PSN และไอดี EA ให้คนขาย ก็จะได้รับการ์ดหายากเหล่านี้ ทำให้น่าสงสัยว่าบุคคลที่มีอำนาจ “เสกการ์ด” เข้าไปในไอดีผู้เล่นได้โดยตรง อาจมีความเกี่ยวข้อง หรือเป็นพนักงานภายในของ EA เอง
เกม Fortnite เคยขายไอเทมชื่อ Loot Llama ซึ่งเป็นการรวมไอเทมแบบสุ่มอยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนเลิกไปในช่วงต้นปี 2019 หลังมีกระแสต่อต้าน loot box ไปทั่วโลก แต่ก็ยังมิวายโดนผู้เล่นยื่นฟ้องแบบกลุ่ม (class action) เรียกค่าเสียหายจากการถูกทำให้เข้าใจผิด
สัปดาห์นี้ Epic เจรจายอมความกับผู้เล่นแล้ว แต่รูปแบบการยอมความต่างไปจากคดีอื่นๆ ที่บริษัทจ่ายค่าชดเชยให้เป็นเงินจริง (ตัวอย่างคดีของกูเกิล) เพราะ Epic เลือกจ่ายเป็นสกุลเงิน V-Bucks ในเกม Fortnite แทน
ผู้เล่นทุกคนที่เคยซื้อไอเทม Loot Llama ทุกคนจะได้เงินเสมือน 1,000 V-Bucks (เทียบเป็นเงินจริงประมาณ 8 ดอลลาร์) แม้คดีฟ้องเฉพาะในสหรัฐ แต่ Epic ก็ประกาศแจก 1,000 V-Bucks ให้ผู้เล่นทั่วโลก
Capcom ออกรายงานประจำปี 2020 โดยในเนื้อหาของรายงานมีช่วงหนึ่งพูดถึงระบบการซื้อขายภายในเกม ซึ่ง Capcom ยืนยันว่าจะไม่เดินสายขาย lootbox หรือกาชาภายในเกม
Capcom บอกว่าสิ่งที่บริษัทเชื่อคือความบันเทิงของเกม จะต้องเกิดจากตัวเกมหรือเกมเพลย์ ไม่ใช่ความตื่นเต้นจากการลุ้นล็อตเตอรี่ และ Capcom ไม่อยากเห็นเกมที่ควรจะทำให้ผู้เล่นมีความสุข กลับกลายเป็นส่งผลตรงข้ามจากการเก็บเงินผู้เล่นเกินควร
นอกจากเกมที่เล่นบนคอนโซลหรือพีซีจะไม่มีกาชา Capcom ยังยืนยันด้วยว่าเกมบนสมาร์ทโฟนก็จะมีองค์ประกอบของกาชาให้น้อยที่สุดด้วย
EA เปิดตัวฟีเจอร์ FIFA Playtime หน้าจอแดชบอร์ดให้ผู้เล่นเกม FIFA 21 รู้ว่าตัวเองเล่นเกมไปนานแค่ไหน และที่สำคัญ ใช้เงินซื้อการ์ดนักเตะไปเยอะแค่ไหน
FIFA Playtime มีความสามารถทั้งหมด 4 ด้านคือ ระยะเวลาที่เล่น (time), จำนวนแมตช์ (match), จำนวนซองการ์ดที่เปิด (pack) และจำนวนแต้ม FIFA points ที่ซื้อไป โดยสามารถตั้งค่าจำกัดจำนวนได้ทุกอย่าง
ฟีเจอร์นี้จะใช้ได้กับ FIFA 21 บนทุกแพลตฟอร์ม รวมถึงเปิดได้จากแอพ FIFA 21 Companion บนมือถือและเว็บด้วย (แต่ผู้ใช้ต้องเปิดเองเป็น optional ไม่เปิดให้เป็นดีฟอลต์)
ศาลเนเธอร์แลนด์ตัดสินคดีว่า EA ทำผิดกฎหมายการพนันของเนเธอร์แลนด์ และมีโทษปรับ 10 ล้านยูโร (ประมาณ 364 ล้านบาท)
คดีนี้เริ่มในปี 2018 โดยหน่วยงานกำกับดูแลด้านการพนันของเนเธอร์แลนด์ (Ksa) ตัดสินว่าระบบ loot box ของเกม EA FIFA ทำผิดกฎหมายการพนัน (Betting and Gaming Act) ที่ระบุว่าสินค้าในเกม (กรณีนี้คือการ์ดนักเตะ FIFA Ultimate Team) จำเป็นต้องแสดงมูลค่าเป็นเงินจริงให้ผู้ใช้ทราบก่อนซื้อ แต่ EA ระบุว่าไม่สามารถแสดงมูลค่าของการ์ดได้
EA โดนฟ้องแบบกลุ่มในประเทศแคนาดา โดยผู้ฟ้องระบุว่าระบบ loot box ของ EA ผิดกฎหมายการพนันของแคนาดา
ในสำนวนฟ้องต้นฉบับ ผู้ฟ้อง 2 รายระบุว่าซื้อเกม Madden NFL และ EA NHL แต่ก็เชิญให้ผู้เล่นเกมอื่นๆ ของ EA เข้ามาร่วมฟ้องแบบกลุ่ม (class action) ด้วยกัน
คำฟ้องบอกว่าการขาย loot box ของ EA ถือเป็นการพนันที่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม แคนาดาไม่มีกฎหมายด้าน loot box แยกเฉพาะ ลักษณะเดียวกับในยุโรปบางประเทศ เช่น เบลเยียม เมื่อคดีถึงชั้นศาลอาจต้องไปพิจารณาบนกฎหมายการพนันตามปกติ
เมื่อปีที่แล้ว คณะพิจารณาของกระทรวงดิจิทัล วัฒนธรรม สื่อ และกีฬาของอังกฤษได้เรียกประชุมผู้บริหารจากบริษัทเกมรายใหญ่ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับ Loot box ว่าเป็นการพนันหรือไม่ ซึ่งก็มีรายงานของการประชุมนี้ออกมาว่ายังสรุปไม่ได้ และล่าสุด รัฐบาลอังกฤษก็เตรียมเรียกพูดคุยและถามความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีนี้
ก่อนหน้านี้คณะพิจารณาได้แนะนำว่าเกมที่มีกลไกสุ่มไอเท็ม หรือ loot box ไม่ควรถูกจำหน่ายให้เด็ก และหลังจากนั้น PEGI หรือหน่วยงานจัดเรตติ้งเกมของยุโรป ก็เริ่มแสดงข้อมูลว่าผู้เล่นสามารถ “ซื้อไอเท็มแบบสุ่ม” ได้ บนกล่องเกม และปรับอายุของผู้เล่นที่เหมาะสมใหม่กับเกมที่มี “การพนันแบบเสมือน” ใหม่ ซึ่ง ESRB หน่วยงานจัดเรตติ้งของสหรัฐอเมริกา ก็ทำตามด้วย
ESRB (Entertainment Software Rating Board) ที่เป็นหน่วยงานจัดเรทติ้งให้กับซอฟต์แวร์หรือเกมในอเมริกา เตรียมเพิ่มรายละเอียดใหม่บนฉลากเรทติ้ง ประเภท In-Game Purchases (Includes Random Items) จากเดิมที่เคยบอกเพียงเรทติ้งของเกม และ In-Game Purchases หรือมีการซื้อของด้วยเงินจริงภายในเกมเท่านั้น
ฉลาก In-Game Purchases (Includes Random Items) นี้ จะอยู่บนเกมที่มีระบบการซื้อของแบบสุ่ม ที่ผู้เล่นไม่ทราบล่วงหน้าว่าจะได้รับอะไร เช่น loot boxes, แพ็คไอเท็มลับ, กาชาสุ่มตัวละคร หรือรางวัลแบบสุ่ม โดยใช้เงินจริง หรือสามารถใช้เงินจริงซื้อ “เหรียญ” หรือค่าเงินอื่นในเกม เพื่อนำไปซื้อของสุ่มได้
กระแสต่อต้าน Loot Box ในวงการเกมมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากฝั่งของผู้เล่น และฝั่งหน่วยงานภาครัฐที่เริ่มหันมาสนใจกำกับดูแลเรื่องนี้
ล่าสุดค่ายเกมยักษ์ใหญ่อย่าง Activision ก็ออกมาประกาศแล้วว่า Call of Duty: Modern Warfare ภาคใหม่ของปี 2019 จะไม่มีระบบ Loot Box อย่างสิ้นเชิง โดยบริษัทจะเปลี่ยนมาทำเงินด้วยระบบ Battle Pass ที่ตรงไปตรงมากว่าแทน
ระบบ Battle Pass ของ Call of Duty จะเหมือนกับของเกมอื่นๆ (เช่น Dota 2 หรือ Fortnite) ที่ผู้เล่นรู้ได้ล่วงหน้าว่าจ่ายเงินแล้วจะได้อะไรบ้าง โดยระบบ Battle Pass จะเริ่มเปิดบริการหลังเกมวางขายวันที่ 25 ตุลาคมนี้ไปอีกสักพักหนึ่ง แต่ก็ไม่เกินสิ้นปีนี้
Loot Box เป็นปัญหาและที่ถกเถียงในอุตสาหกรรมเกมมานานในแง่ของการพนัน ล่าสุดองค์กร Entertainment Software Association (ESA) นำโดยผู้ผลิตคอนโซล Sony, Microsoft และ Nintendo รวมถึงค่ายเกมอีก 10 ค่าย พร้อมใจกันประกาศว่า จะประกาศอัตราสุ่มไอเท็มจาก Loot Box ในเกมใหม่ที่จะออกในอนาคตแล้ว
ค่ายเกมที่จะทำเกมใหม่ขึ้นแพลตฟอร์ม PlayStation, Xbox และ Nintendo Switch จะอยู่ในเงื่อนไขผูกมัดกับประกาศนี้ ขณะที่แพลตฟอร์มพีซีไม่จำเป็นต้องบอก อย่างไรก็ตาม ESA กำลังพูดคุยเพื่อหากรอบเวลาที่จะเริ่มบังคับใช้ข้อตกลงนี้อยู่ เบื้องต้นคาดว่าไม่น่าจะเกินปี 2020
หน่วยงานกำกับดูแลจากหลายประเทศทั่วโลก กำลังมาสนใจประเด็น loot box ว่าเข้าข่ายการพนันหรือไม่ มีความโปร่งใสมากแค่ไหน
ประเทศล่าสุดที่ขยับเรื่องนี้คือรัฐสภาอังกฤษ ที่คณะกรรมาธิการด้านดิจิทัล วัฒนธรรม สื่อ และกีฬา (Digital, Culture, Media, and Sport Committee) เรียกตัวแทนจากบริษัทเกม EA และ Epic Games เข้ามาให้ข้อมูลเรื่อง loot box โดยตั้งคำถามว่าฟีเจอร์ loot box มีจริยธรรม (ethical) มากเพียงใด
Google Play Store ประกาศนโยบายใหม่เพื่อคุ้มครองผู้ใช้งานที่เป็นเด็กๆ และนักพัฒนาแอพ Android ทุกรายจะต้องกรอกข้อมูลเพิ่มเติม ระบุว่าแอพหรือเกมของตัวเองเจาะกลุ่มเป้าหมาย (target audience) ที่เป็นเด็กต่ำกว่า 18 ปีหรือไม่
หากแอพไม่ได้เน้นกลุ่มเด็กอยู่แล้ว ก็เป็นเพียงการกรอกฟอร์มสั้นๆ เท่านั้น แต่ถ้าเป็นแอพสำหรับเด็ก ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข Family policies ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องเนื้อหาภายในแอพต้องปลอดภัยสำหรับเด็ก, โฆษณาต้องเหมาะสม และมาจากเครือข่ายโฆษณาที่กูเกิลรับรองเท่านั้น
นโยบายนี้มีผลทันทีต่อแอพใหม่ที่จะส่งขึ้น Play Store ส่วนแอพที่มีอยู่เดิม กูเกิลให้เวลากรอกข้อมูลถึงวันที่ 1 กันยายน 2019
Josh Howley วุฒิสมาชิกจากพรรครีพับลิกันจากรัฐมิสซูรี (นักการเมืองที่ค่อนข้างขึ้นชื่อเรื่องการเอาเรื่องบริษัทไอที) เตรียมเสนอร่างกฎหมายที่เอาผิดผู้พัฒนาเกม ที่เปิดให้เด็กอายุตำ่กว่า 18 เข้าถึง loot box หรือฟีเจอร์ pay-to-win ในเกม
Howley ให้เหตุผลว่าหากนักพัฒนาทำเกมสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ก็ไม่ควรจะหาเงินจากการเสพติดเกมของเด็ก หรือหากเด็กที่ตำ่กว่า 18 เข้าถึงเกมสำหรับผู้ใหญ่ พวกเขาก็ไม่ควรเข้าถึงระบบซื้อของภายในเกม นักพัฒนาที่ตั้งใจจะเอาเปรียบเด็กควรถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
แม้ว่าจะแสดงความมั่นใจยืนยันจะใช้ระบบ loot box ต่อไปแม้จะโดนหลายชาติจับตามอง แต่ในที่สุด EA ก็ต้องยอมถอย ถอดระบบ FIFA Points ค่าเงินในเกม FIFA 2018 ที่ใช้ในการสุ่มนักเตะในโหมด Ultimate Team สำหรับการเล่นเกมในประเทศเบลเยียม เพื่อสอดคล้องกับนโยบายของประเทศที่จะกำจัด loot box ในฐานะการพนัน ซึ่ง EA กล่าวว่า การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของเบลเยียม
หลังจากที่ Blizzard เตรียมออกมาตรการเรื่อง Loot Box ในเบลเยียม อุตสาหกรรมเกมอาจต้องพบกับความยากลำบากอีกครั้ง เมื่อ Gambling Regulators European Forum ได้ออกแถลงการณ์ร่วมมือของ 15 ประเทศในยุโรปและคณะกรรมการด้านการพนันของรัฐวอชิงตันแสดงความกังวลต่อการที่ Loot Box นั้นมีความคล้ายคลึงกับการพนัน
หลังจากที่เบลเยียมการประกาศให้ Loot Box เป็นสิ่งผิดกฏหมายไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ล่าสุด Blizzard เตรียมถอด Loot Box ออกจากสองเกมดังอย่าง Overwatch และ Heroes of the Storm ที่ให้บริการในประเทศเบลเยียมแล้ว
ผู้เล่นที่อยู่ในประเทศเบลเยียมจะไม่สามารถซื้อ Loot Box ในเกม Overwatch และ Loot Chest ในเกม Heroes of the Storm ด้วยเงินจริงและ gem แต่ยังสามารถได้รับไอเท็มดังกล่าวได้ผ่านการเล่นเกมตามปกติเช่นเดิม
แม้ว่าจะมีหลายประเทศประกาศให้ระบบการขายไอเท็มแบบสุ่มหรือ Loot Box นั้นผิดกฎหมายในฐานะเป็นการพนัน แต่ Electronic Arts ผู้ผลิตเกมชื่อดัง ซึ่งมีเกมที่เข้าข่ายในกรณีดังกล่าวอย่าง FIFA 18 Ultimate Team ยังคงยืนยันที่จะเดินหน้าใช้ระบบนี้ต่อไป