US Department of Defense
กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ดำเนินการคัดเลือกหาคู่สัญญาเพื่อนำเอาเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้กับยานยนต์ของกองทัพ โดยตัดสินใจเลือก GM Defense ซึ่งเป็นฝ่ายธุรกิจรถยนต์เพื่อการทหารของ GM ให้เป็นผู้รับผิดชอบงานดังกล่าว
GM Defense จะทำงานร่วมกับ Defense Innovation Unit (DIU) หน่วยงานพัฒนางานนวัตกรรมของกระทรวงกลาโหม ทำการวิเคราะห์และทดสอบเทคโนโลยี Ultium ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการออกแบบระบบแบตเตอรี่ของ GM เพื่อใช้งานกับยานยนต์ไฟฟ้าในกองทัพ
เป็นอีกมหากาพย์ของวงการคลาวด์สหรัฐมาตั้งแต่ปี 2019 หลังไมโครซอฟท์ชนะโครงการ JEDI Cloud มูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ทำให้ผู้แพ้ AWS ต้องฟ้องศาลว่ากระบวนการคัดเลือกไม่เป็นธรรม และสุดท้าย กระทรวงกลาโหมต้องยกเลิกโครงการ JEDI ไปเมื่อกลางปีนี้
เมื่อปี 2019 มีข่าวใหญ่ในวงการคลาวด์คือกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้ประกาศว่า Microsoft เป็นผู้ชนะการประมูลโครงการ JEDI Cloud ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาพื้นฐานระบบคลาวด์ที่จะนำไปใช้ทางการทหาร เป็นโครงการยาว 10 ปี มีมูลค่าสูงถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
หลังจากประกาศว่า Microsoft เป็นผู้ชนะการประมูลก็เกิดเรื่องทันที โดย Amazon ผู้ร่วมประมูลได้ฟ้องศาลว่าอดีตประธานาธิบดี Trump ได้กดดันเพนตากอนไม่ให้ Amazon ได้งานนี้ เนื่องจาก Jeff Bezos ซีอีโอ Amazon เป็นเจ้าของสื่อ Washington Post ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับ Trump
จากกรณี ไมโครซอฟท์เบียดชนะ AWS คว้างานใหญ่ JEDI Cloud กลาโหมสหรัฐ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อเดือนตุลาคม 2019 จนทำให้ AWS ต้องยื่นฟ้องศาลว่ากระบวนการพิจารณาไม่เป็นธรรม
กระทรวงกลาโหมสหรัฐตรวจสอบกระบวนการแล้วไม่พบความผิดปกติ และล่าสุดเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจสอบ ยืนยันว่ายังให้ไมโครซอฟท์เป็นผู้ชนะโครงการ JEDI Cloud ดังเดิม (วิธีการคัดเลือกคือ กระทรวงกำหนดราคา 10,000 ล้านดอลลาร์ แล้วให้บริษัทเป็นผู้เสนอว่าจะให้อะไรบ้างในงบประมาณเท่านี้)
ตั้งแต่ที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐประกาศให้ไมโครซอฟท์เป็นผู้ชนะโครงการ JEDI Cloud เมื่อปีที่แล้ว สื่อหลายเจ้ารวมถึง AWS เองต่างออกมาโวยวายว่าดีลนี้ประเด็นการเมืองจากทำเนียบขาวมาเกี่ยวข้อง
ล่าสุดคณะกรรมการตรวจสอบของกระทรวงกลาโหม (Inspector General) ออกรายงานความยาว 317 หน้าเกี่ยวกับกระบวนการคัดสรรผู้ให้บริการคลาวด์ (ไม่ได้สนใจตัวดีลว่าเจ้าไหนดีกว่ากัน แค่ตรวจสอบกระบวนการคัดสรร) และระบุว่าแม้ในรายละเอียดยิบย่อยของกระบวนการจะมีปัญหาหรือความขัดแย้งอยู่บ้าง แต่ในภาพรวมคือไม่พบความผิดปกติ กระบวนการจัดสรรนั้นยุติธรรมและเป็นไปตามกฎหมายแล้ว ขณะทำเนียบขาวหรือแม้แต่ตัวประธานาธิบดีก็ไม่ได้เข้ามามีอิทธิพลใด ๆ ในกระบวนการ
จากที่ไมโครซอฟท์เบียดชนะ AWS คว้าสัญญา JEDI Cloud ของกลาโหมมูลค่า 1 หมื่นล้านเหรียญ ล่าสุด AWS ออกมายื่นเรื่องให้ศาลปกครอง (U.S. Court of Federal Claims) พิจารณา โดยอ้างความไม่เป็นธรรมในกระบวนการพิจารณา
Wall Street Journal ระบุว่าที่ผ่านมา AWS เป็นตัวเต็งมาตลอด ก่อนจะเจอปัญหา conflict of interest ซึ่งกระทรวงกลาโหมสอบสวนและเคลียร์ข้อกล่าวหานี้แล้ว ก่อนที่ในท้ายที่สุดกลายเป็นไมโครซอฟท์จะได้สัญญาไป ทำให้ AWS โวยวายว่ากระบวนการพิจารณามีความบกพร่อง ผิดพลาดและมีอคติ
ในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมสหรัฐ (Department of Defense) มีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไอทีขนาดใหญ่ชื่อ JEDI Cloud มูลค่ารวมสูงถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ มีอายุสัญญานาน 10 ปี โครงการจะเริ่มในปีงบประมาณ 2020 และไปจบที่ปี 2029
โครงการใหญ่มูลค่ามหาศาลระดับนี้ ย่อมเป็นที่หมายปองของบริษัทไอทีทั้งหลาย และในทางกลับกันก็ถูกวิจารณ์โดยพนักงานบางส่วนของบริษัทเหล่านี้ ที่ออกมาประท้วงไม่ให้บริษัทไปทำโครงการด้านการทหารใดๆ (เช่น กรณีกูเกิล หรือ กรณีไมโครซอฟท์)
ก่อนหน้านี้เราเห็นข่าว พนักงาน Google ประท้วงให้ถอนตัวจากการช่วยกลาโหมใช้ซอฟต์แวร์วิเคราะห์ภาพโดรน หรือชื่อโครงการว่า Project Maven วันนี้เริ่มมีข้อมูลของโครงการนี้ออกมาแล้ว
หน่วยงานของกระทรวงกลาโหมสหรัฐที่ดูแลโครงการนี้ เป็นหน่วยงานตั้งใหม่เมื่อเดือนมิถุนายน ชื่อว่า Joint Artificial Intelligence Center หรือ JAIC (อ่านว่า "เจค") อยู่ภายใต้สังกัด CIO ของกระทรวงกลาโหม และได้ Brendan McCord อดีตนายทหารเรือและผู้ก่อตั้งบริษัทด้าน AI มาเป็นผู้อำนวยการศูนย์
ประธานาธิบดี Donald trump แห่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศถึงเจตจำนงที่จะให้กระทรวงกลาโหมจัดตั้งกองทัพอวกาศเพิ่มขึ้นมาเป็นกองกำลังเหล่าที่ 6 แห่งสหรัฐอเมริกา
การประกาศแนวคิดในครั้งนี้มีขึ้นในระหว่างที่ Trump ได้เข้าร่วมประชุมกับสภาอวกาศแห่งชาติเมื่อวานนี้ ซึ่งเรื่องนี้สร้างความประหลาดใจให้กับผู้ร่วมประชุมไม่น้อย เนื่องจากวาระหลักของการหารือนั้นแท้จริงแล้วเน้นหัวข้อการกำหนดนโยบายด้านการจราจรในอวกาศ
Gizmodo รายงานว่า Google ได้เป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (Department of Defense) ในโปรเจ็ค Marven หรือ Algorithmic Warfare Cross-Functional Team (AWCFT) ที่ให้ทางกลาโหมนำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้วิเคราะห์วัตถุและยานพาหนะจากภาพฟุตเทจของโดรน
Google คอนเฟิร์มข่าวข้างต้นพร้อมระบุว่าเปิดให้กลาโหมเชื่อมต่อกับ API ของ TensorFlow และยืนยันว่าให้ทหารเอาไปใช้ในข้อมูลที่ไม่เป็นความลับและไม่เกี่ยวข้องกับสงครามและการสู้รบ โดยทางกลาโหมต้องการใช้ปัญญาประดิษฐ์มาวิเคราะห์ฟุตเทจแทนที่มนุษย์ ที่ทั้งช้าและแม่นยำน้อยกว่า
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า เขากำลังยกระดับกองบัญชาการไซเบอร์ (U.S. Cyber Command) ที่จากเดิมอยู่ภายใต้กองบัญชาการด้านยุทธศาสตร์ (U.S. Strategic Command) ให้เป็นกองบังคับบัญชาพลรบรวม (Unified Combatant Command) อย่างเต็มรูปแบบ และให้แยกออกจากสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) ก่อนหน้านี้ Cyber Command ก่อตั้งอยู่ภายในสำนักงานใหญ่ของ NSA มาแล้ว 8 ปี
กระทรวงกลาโหมสหรัฐ (Department of Defense) ในฐานะหน่วยงานที่ตกเป็นเป้าโจมตีไซเบอร์สูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประกาศแผนการอัพเกรดพีซีเกือบทั้งหมดเป็น Windows 10 ภายในปีนี้
กระทรวงกลาโหมเคยประกาศแผนนี้มาก่อนแล้ว แต่ล่าสุด John Zangardi รักษาการซีไอโอของกระทรวง ก็ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า แผนการอัพเกรดเป็น Windows 10 ถือเป็นแผนสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องทำให้เสร็จภายในปีนี้ โดยพีซีสัดส่วน 90% ของกระทรวงจะถูกอัพเกรดเป็น Windows 10 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ Windows ที่ปลอดภัยที่สุดในปัจจุบัน
กรณี WannaCrypt โจมตีระบบ NHS ของสหราชอาณาจักร คงถือเป็นตัวอย่างที่ดีของระบบไอทีขนาดใหญ่-มีผลกระทบสูง แต่ขาดระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีพอ
ที่มา - ExecutiveGov, MSpoweruser
จากข่าวที่มีรายงานว่าหน่วยอาวุธนิวเคลียร์ของ Pentagon ยังใช้คอมพิวเตอร์รุ่นเก่าอย่าง IBM Series/1 กับแผ่น floppy disk 8" ในการควบคุมสั่งการ ซึ่งก็ทำให้หลายคนอดประหลาดใจไม่ได้ว่าทำไมระบบสำคัญเช่นนี้ถึงยังคงใช้อุปกรณ์รุ่นเก่าคร่ำคร่าแบบนั้น แต่อีกทางหนึ่งผู้อ่านบางคนก็ให้ความเห็นว่าเรื่องนี้ก็มีข้อดีอยู่ในตัวในแง่ที่ยากต่อการแฮค และหนึ่งในแฮคเกอร์ผู้โด่งดังอย่าง Space Rogue ก็คิดคล้ายๆ กัน
กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ประกาศตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านนวัตกรรม (Defense Innovation Advisory Board) เพื่อดึงความรู้จากภาคเอกชน โดยเฉพาะฝั่ง Silicon Valley มาปรับปรุงการทำงานของกระทรวงกลาโหม
ภารกิจของคณะกรรมการชุดนี้คือ "ให้คำปรึกษา" กับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง เน้นไปในเรื่องที่ฝั่ง Silicon Valley เชี่ยวชาญ เช่น การสร้างต้นแบบรวดเร็ว (rapid prototyping), กระบวนการพัฒนาแบบปรับปรุงตลอดเวลา (iterative product development), การวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูง, การใช้เทคโนโลยีโมบายล์และคลาวด์ เป็นต้น แต่คณะกรรมการจะไม่ไปเกี่ยวข้องกับภารกิจด้านการทหารแต่อย่างใด
ไมโครซอฟท์ออกมาประกาศว่า กระทรวงกลาโหมสหรัฐ (Department of Defense หรือ DoD) เตรียมอัพเกรดระบบคอมพิวเตอร์ภายในจำนวน 4 ล้านเครื่องมาเป็น Windows 10 กระบวนการอัพเกรดจะเสร็จสิ้นภายในอีก 1 ปีข้างหน้า
ในโอกาสเดียวกัน ไมโครซอฟท์ยังประกาศว่า Surface Book, Surface Pro 4, Surface Pro 3, Surface 3 ผ่านการรับรองของกระทรวงกลาโหม ในฐานะอุปกรณ์ที่อนุญาตให้ใช้งานกับเครือข่ายภายในกระทรวงได้
งานนี้ถือว่าไมโครซอฟท์ได้หน้าไปพอสมควร เพราะกระทรวงกลาโหมถือเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ ที่มีเงื่อนไขด้านความปลอดภัยสูงมากแห่งหนึ่งของโลก การที่ผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ผ่านการรับรองจากหน่วยงานระดับนี้ ย่อมช่วยให้ไมโครซอฟท์โน้มน้าวองค์กรอื่นๆ หันมาใช้ Surface/Windows 10 ได้ง่ายขึ้น
Apple พร้อมด้วย Boeing และ Harvard เตรียมร่วมมือกับบริษัทเอกชนและสถาบันวิจัยอื่นๆ เข้าร่วมกลุ่ม FlexTech Alliance ซึ่งเป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่สำหรับใช้ในการทหารให้แก่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา
เป้าประสงค์สำคัญของงานวิจัยค้นคว้าของกลุ่ม FlexTech Alliance คือการอาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ มาสร้างชิปหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความยืดหยุ่นจนสามารถนำไปปรับแต่งผลิตเป็นอุปกรณ์สวมใส่สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้ หรืออาจนำดัดแปลงสภาพรูปร่างให้เหมาะต่อการนำไปติดตั้งใช้กับเครื่องบินหรือยุทโธปกรณ์อื่นได้ด้วย ซึ่งอาจเป็นการฝังวงจรพร้อมเซ็นเซอร์ลงในเนื้อวัสดุประกอบเครื่องบินหรืออุปกรณ์เหล่านั้นโดยตรง
มีผู้ใช้ Twitter อ้างตัวว่าเป็นหน่วยแฮคข้อมูลของ ISIS เผยแพร่เอกสารที่มีข้อมูลอีเมลภายในองค์กรของสหรัฐอเมริกา รวมทั้งรหัสผ่าน และข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานสำคัญเหล่านั้น โดยข้อมูลที่หลุดมานี้ถูกนำไปโพสต์เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์แห่งหนึ่งที่ถูกจดทะเบียนในสวิตเซอร์แลนด์
สำหรับหน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ในข่ายถูกล้วงข้อมูลครั้งนี้ มีทั้งหน่วยงานหลายระดับของกองทัพสหรัฐอเมริกา, FBI, สถานทูตของสหรัฐอเมริกา, NASA, FTC, หอสมุดรัฐสภา, หน่วยงานราชการของเมืองต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ทั้งยังมีสถานทูตของสหราชอาณาจักร และคนของ Wells Fargo บริษัทให้บริการทางการเงินและการธนาคารระดับนานาชาติ
กูเกิลประกาศร่วมมือกับบริษัท PricewaterhouseCooper (PwC) ประมูลโครงการปรับปรุงระบบจัดการข้อมูลสุขภาพของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มูลค่าโครงการ 2 พันล้านดอลลาร์
โครงการของกระทรวงกลาโหมนี้ มีชื่อว่า Department of Defense Healthcare Management Systems Modernization (DHMSM) โดยส่วนที่ PwC และกูเกิลร่วมกับประมูลคือ Electronic Health Record (EHR) ที่เก็บข้อมูลของผู้ได้รับผลประโยชน์ด้านสุขภาพจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ทั้งทหารปลดประจำการ, ทหารที่ประจำการอยู่, และผู้ได้รับผลประโยชน์อื่นเช่นครอบครัว รวม 9.7 ล้านคน
ระบบนี้จะรวบฐานข้อมูลสุขภาพเข้ามาอยู่ในฐานข้อมูลเดียว ทาง PwC ระบุว่าการที่มีกูเกิลในทีมจะช่วยให้โซลูชั่นสามารถทำงานได้คุ้มค่าเงินลงทุน
เมื่อวานนี้เพิ่งมีข่าวออกมาว่ากระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ สั่งซื้อ BlackBerry มาใช้งานในระบบเป็นจำนวน 80,000 เครื่อง แม้ไม่มาก แต่ก็สร้างความมั่นใจให้กับผู้ถือหุ้นมาก พอข่าวออกมาหุ้นของ BlackBerry ก็ถีบตัวขึ้นทันที
หลังข่าวออกไปครึกโครมได้เพียงเดี๋ยวเดียว ต้นทางอย่างกระทรวงกลาโหมก็ออกมาแก้ข่าวทันควันว่าแท้จริงแล้วไม่ได้มีการสั่งซื้ออุปกรณ์สื่อสารมาใช้เพิ่มเติมแต่อย่างใด ตัวเลขที่ออกมานั้นคืออุปกรณ์เดิมในระบบอยู่แล้ว โดยนอกจาก BlackBerry 80,000 เครื่อง อีก 1,800 เครื่องที่ถูกกล่าวถึงต่างก็เป็นอุปกรณ์รุ่นเก่าอย่าง iPad 3/4, iPhone 4S/5, Galaxy Tab 10.1, Galaxy S3 และ Motorola RAZR
ยุทธศาสตร์ใหม่ของ BlackBerry ที่หันไปเน้นตลาดองค์กรและภาครัฐบาลเริ่มเห็นผล
กระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (หรือที่เราเรียกกันชื่อเล่นว่า เพนตากอน) เพิ่งสั่งซื้อสมาร์ทโฟน BlackBerry ล็อตใหญ่ 80,000 เครื่องไปใช้งานในระบบเครือข่ายภายในระบบใหม่ ถึงแม้ว่าตัวเลขอาจดูไม่เยอะเมื่อเทียบกับยอดขายสมาร์ทโฟนรวมเป็นหลักร้อยล้านเครื่องต่อไตรมาส แต่มันเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าหน่วยงานภาครัฐบาลยังมั่นใจในความปลอดภัยของ BlackBerry
ต่อจากข่าว กระทรวงกลาโหมสหรัฐ อนุญาตให้ใช้ BB10 กับ Galaxy S4 กับเครือข่ายภายในแล้ว ล่าสุดทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐก็ออกแถลงการณ์ว่ารองรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ iOS6 ของแอปเปิลกับเครือข่ายภายในกระทรวงแล้วเช่นกัน
ก่อนหน้านี้กระทรวงกลาโหมสหรัฐใช้ BlackBerry เป็นหลัก โดยปัจจุบันมีอุปกรณ์พกพารวม 600,000 เครื่อง ในจำนวนนี้เป็น BlackBerry 470,000 เครื่อง, iOS 41,000 เครื่อง และ Android 8,700 เครื่อง โดย iOS/Android ใช้งานทดสอบมากกว่าจะใช้ต่อเชื่อมกับเครือข่ายหลักของกระทรวง
กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ประกาศอนุญาตให้อุปกรณ์พกพา 2 แพลตฟอร์มคือ BlackBerry 10 (รวม PlayBook) และ Samsung Knox (เริ่มใช้ใน Galaxy S4) สามารถใช้งานกับเครือข่ายภายในกระทรวงฯ แล้ว
กระทรวงฯ ต้องการเพิ่มความหลากหลายของอุปกรณ์พกพาที่มีระบบปฏิบัติการ-ผู้ผลิตที่แตกต่างกัน แต่ก็ยังต้องการความปลอดภัยในระดับสูงสำหรับข้อมูลความลับของกระทรวงฯ
คาดว่ากระทรวงฯ จะประกาศรองรับแพลตฟอร์ม iOS 6 ของแอปเปิลตามมาอีกรายหนึ่งภายในเดือนนี้
ที่มา - Reuters
แฮกเกอร์กลุ่ม Ghostshell ทำการเผยแพร่ฐานข้อมูลของนาซา เพนตากอน เอฟบีไอ รวมไปถึงองค์การอวกาศแห่งยุโรป (ESA) จำนวนกว่า 1.6 ล้านรายการ โดยอ้างว่าเป็นผลจากการปฏิบัติการภายใต้โครงการที่ชื่อว่า ProjectWhiteFox แฮกเกอร์กลุ่มนี้ยังอ้างอีกด้วยว่าปฏิบัติการใช้เวลากว่าหนึ่งปีโดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มแฮกเกอร์ทั่วโลกด้วย
แนะนำดิสโทรตัวใหม่ที่น่าสนใจทั้งแนวคิดและชื่อผู้สร้าง
Anti-Tamper/Software Protection Initiative Technology Office (AT/SPI) ห้องวิจัยด้านความปลอดภัยของกองทัพอากาศสหรัฐ ใต้การดูแลของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้พัฒนาดิสโทรลินุกซ์ชื่อ Lightweight Portable Security (LPS) สำหรับเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ที่ "ไม่รู้ว่าปลอดภัยหรือไม่" ให้มีสถานะเป็น "ปลอดภัยต่อการส่งข้อมูลสำคัญ"
การแชร์ข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตกับความมั่นคงอาจไปด้วยกันลำบาก หน่วยงานด้านความมั่นคงในปัจจุบันต้องเลือกระหว่างการยอมให้ทหารโพสต์ข้อมูลหรือวิดีโอบน social network แล้วเสี่ยงกับข้อมูลสำคัญรั่วไหล หรือไม่ก็สั่งห้ามใช้งาน social network ไปเลย
แต่ทางออกของกระทรวงกลาโหมสหรัฐกลับเป็นทางเลือกที่สาม นั่นคือสร้างเว็บไซต์ social network ลักษณะเดียวกับพวก YouTube แต่ทำงานอยู่หลังไฟร์วอลล์ของกระทรวงกลาโหมเอง ซึ่งช่วยแก้ปัญหาเรื่องความมั่นคงไปได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ยังใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตได้