จากข่าวเก่าที่ซัมซุงได้ เปิดตัว Galaxy Core Advance มือถือที่เน้นฟีเจอร์สำหรับผู้พิการทางสายตา ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ล่าสุดทางบริษัทได้เปิดตัวอุปกรณ์เสริมสำหรับโทรศัพท์รุ่นนี้อีก 3 ชิ้น ซึ่งจะมาเพิ่มความสามารถให้ผู้พิการทางสายตาสามารถใช้ประโยชน์จากมือถือรุ่นนี้ได้ดียิ่งขึ้น
กลุ่ม Fluid Interfaces Group ของ MIT Media Lab นำเสนอต้นแบบ FingerReader สำหรับผู้พิการทางสายตา ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สวมนิ้วมือซึ่งสามารถอ่านออกเสียงคำแต่ละคำที่นิ้วชี้ลงบนเนื้อหาที่ถูกพิมพ์ (printed text) ได้
นักวิจัยผู้พัฒนา FingerReader มองว่า ถึงแม้จะมีซอฟต์แวร์อ่านข้อความและสแกนเนอร์สำหรับอักษรเบรลล์ แต่หลายระบบในเครื่องมือช่วยเหลือผู้พิการทางสายตาเหล่านั้นก็พกพาไปใช้งานยาก และยังต้องใช้หลายขั้นตอนกว่าจะแปลข้อความเป็นเสียงได้ FingerReader จึงได้รับการพัฒนาขึ้น นักวิจัยยังกล่าวว่าระบบนี้ยังช่วยแปลข้อความระหว่างภาษาได้ด้วย
เป็นการเก็บตกครับ จากข่าวเก่าที่ว่า Kindle App เพิ่มฟีเจอร์สำหรับผู้พิการทางสายตา เริ่มจากเวอร์ชัน iOS ก่อน มาบัดนี้อเมซอนอัพเดตให้กับทาง Android แล้วครับ
ในรุ่น 4.3.0 ที่ออกมาเมื่อประมาณกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมามีความสามารถเพิ่มขึ้นเล็กๆ น้อยๆ หลายอย่าง แต่ที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้พิการทางสายตาคือ สนับสนุนฟีเจอร์การอ่านจอ TalkBack และ Explore by Touch ทำให้ผู้พิการทางสายตาสามารถใช้งานคินเดิลได้ดี รวมถึงให้ Android อ่านออกเสียงหนังสือได้
นับเป็นข่าวดีสำหรับผู้พิการทางสายตาที่ใช้งาน Microsoft Office ครับ เมื่อ Microsoft ได้ร่วมมือกับ GW Micro ผู้พัฒนาเทคโนโลยีสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น สร้างส่วนเสริมบน Office 2010 และ Office 2013 เพื่อช่วยผู้ที่อาจต้องการความช่วยเหลือในการอ่าน/รับรู้ถึงสิ่งที่อยู่บนหน้าจอ
GW Micro เองนั้นก็ได้ขายโปรแกรมอ่านหน้าจอ หรือ screen reader ที่ชูความสามารถในการปรับแต่งให้ผู้ใช้งานได้ควบคุมสิ่งที่จะได้ยินและวิธีการที่จะได้ยินด้วยตัวเองในชื่อ Windows-Eyes อยู่แล้ว โดยปกติตัวโปรแกรมมีราคาสูงถึง 895 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ด้วยความร่วมมือข้างต้น GW Micro ได้ปล่อยโปรแกรมดังกล่าวให้กับผู้ที่ใช้งานชุด Office ให้ดาวน์โหลดกันฟรีๆ ในชื่อ Windows-Eyes for Office
ซัมซุงเปิดตัว Galaxy Core Advance ภาคอัพเกรดของ Galaxy Core มีจุดเด่นที่หน้าจอขนาดใหญ่ 4.7", ฝาหลังเคลือบด้วยวัสดุที่เรียกว่า Soft Feel จับง่ายไม่ลื่น
นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ด้าน accessibility อีกหลายอย่างสำหรับผู้พิการทางสายตา เช่น มีปุ่มแยกเฉพาะสำหรับฟีเจอร์ถ่ายภาพและอัดเสียง, Voice Guided Camera กล้องส่งเสียงได้ว่าจับใบหน้าของคนในภาพได้เป็นจำนวนเท่าไร, Optical Scan ช่วยถ่ายภาพตัวอักษรแล้วอ่านออกเป็นเสียง, Light Sensing ใช้ตัววัดแสงของกล้องช่วยบอกทิศทางรอบตัว
สเปกเครื่องได้แก่
หลังจาก Siri [ปลดป้ายเบต้าออกแล้ว](https://www.blognone.com/node/48642) เราก็สามารถสั่งให้ Siri เปิดการตั้งค่าต่างๆ เพิ่มขึ้นได้หลายอย่าง เช่นการตั้งค่าความสว่างหน้าจอ, การตั้งค่าบลูทูธ, การตั้งค่า Wi-Fi และอีกหนึ่งความสามารถที่น่าสนใจโดยเฉพาะสำหรับผู้พิการก็คือ เราสามารถสั่งให้ Siri เปิดการใช้งานฟีเจอร์ [accessibility](https://www.apple.com/accessibility/ios/) ต่างๆ ได้อีกด้วย
ตัวอย่างเช่นเราสั่ง Siri ว่า "turn on VoiceOver" หลังจากนั้น Siri ก็จะเปิดการใช้งานฟีเจอร์ [VoiceOver](https://www.apple.com/accessibility/osx/voiceover/) ขึ้นมาให้เราทันที ซึ่งสะดวกสำหรับผู้พิการทางสายตากว่าการเปิดด้วยวิธีอื่นเป็นอย่างมาก (กรณีที่เราไม่เคยตั้งหรือปิดการตั้งค่า triple click home ไว้)
ไม่ได้มีแค่ใช้เล่นๆ สนองกิเลสตัณหากันเท่านั้น เมื่อ Dapper Vision ได้เปิดเผยว่ากำลังช่วยพัฒนาระบบช่วยเหลือผู้บกพร่องทางการมองเห็นที่ทำงานบน Google Glass ในชื่อโครงการว่า Open Glass และได้ทดสอบกับผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นไปแล้วสองรายด้วย
โครงการดังกล่าวเบื้องต้นถูกแบ่งออกเป็นสองโปรแกรม โปรแกรมแรกเป็นโปรแกรมถาม-ตอบ โดยการให้ผู้ใช้สั่งให้ Google Glass ถ่ายรูป แล้วทวีตพร้อมคำถามออกไป และเมื่อมีคนตอบกลับมาตัวโปรแกรมจะอ่านคำตอบให้ฟังอีกครั้ง
Amazon ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ให้ Kindle App เพื่อให้ผู้มีปัญหาด้านสายตาสามารถเข้าถึงอีบุ๊กได้ง่ายขึ้น โดยจะเริ่มจาก Kindle App for iOS ก่อนแล้วค่อยตามด้วยแพลตฟอร์มอื่นๆ ต่อไป
ฟีเจอร์กลุ่มนี้ได้แก่ การอ่านออกเสียงหนังสือด้วย VoiceOver ของ iOS รองรับการอ่านทีละอักษร-คำ-บรรทัด-อ่านต่อเนื่อง, ปุ่มควบคุมและเมนูนำทางที่จัดวางตำแหน่งสม่ำเสมอกันในทุกๆ หน้า, การค้นหาคำในพจนานุกรมหรือวิกิพีเดีย, รองรับฟีเจอร์ด้านการเข้าถึงของ iOS เช่น Zoom หรือ Assistive Touch เป็นต้น
ผู้ใช้ Kindle App for iOS ก็สามารถอัพเดตได้จาก App Store กันตามปกติครับ
ที่มา - Amazon
กระทรวงอุตสาหกรรม ออกประกาศฉบับที่ 4496 (พ.ศ. 2555) เรื่องข้อกำหนดการทำให้เนื้อหาเว็บสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ หรือ มอก.2565-2555 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 โดยอ้างอิงกับข้อกำหนด WCAG 2.0 ของ W3C มีจุดประสงค์ให้เนื้อหาของเว็บไซต์สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้โดยทุกคน ซึ่งรวมถึงผู้พิการและผู้สูงอายุให้สามารถรับสื่อข้อมูล ข่าวสาร การใช้บริการ ของเว็บไซต์ได้เท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป ผู้จัดทําเว็บสามารถเอามาตรฐานนี้มาใช้อ้างอิงเพื่อนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาจัดทำเว็บไซต์ให้ผ่านข้อกำหนด และสามารถนำไปใช้เป็นข้อกำหนดคุณสมบัติในการจัดซื้อจัดจ้างได้
วานนี้ (07/05/2012) จากข้อมูลบนหน้า Press Release ของ Research in Motion หรือ RIM บริษัทแม่ของสมาร์ทโฟนยี่ห้อ BlackBerry ได้มีประกาศว่า ตอนนี้ RIM ได้ให้ผู้ใช้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น สามารถโหลดโปรแกรม BlackBerry Screen Reader มาใช้งานได้ฟรีกันแล้ว
โดยก่อนหน้านี้ ผู้ใช้ที่พิการทางสายตา หากต้องการใช้โทรศัพท์ BlackBerry ได้สะดวกขึ้น ก็จำเป็นต้องจ่ายเงินจำนวนมาก (ประมาณ $449) เพื่อที่จะซื้อโปรแกรมอ่านหน้าจอ หรือ Screen Reader จากนักพัฒนาอิสระมาใช้งาน
โดยความสามารถของ BlackBerry Screen Reader ได้แก่
ความหวังในการใช้งานโทรศัพท์มือถือ Android สำหรับคนตาบอด (โดยเฉพาะในประเทศไทย) เริ่มเห็นแววอีกครั้ง เมื่อ NECTEC ประกาศเปิดให้บุคคลทั่วไปได้ทดสอบ Vaja Android
ในปัจจุบันนี้ระบบปฏิบัติการบนมือถือเกือบทุกค่ายล้วนมีโปรแกรมอ่านหน้าจอ (screen reader) ซึ่งมักจะถูกใส่ไว้ในส่วนช่วยเหลือผู้พิการ (Accessibility) ตัวอย่างเช่น VoiceOver บน iOS แต่มีเพียง screen Reader บน Symbian (3RD party software) และ VoiceOver ของ iOS เท่านั้นที่มีเสียงอ่าน TTS ในภาษาไทย ดังนั้นตัวเลือกของคนตาบอดในประเทศไทยในการซื้อสมาร์ทโฟนจึงมีอยู่ค่อนข้างจำกัด
นักวิจัยจาก Georgia Tech ได้พัฒนาระบบ BrailleTouch ซึ่งเป็นการป้อนตัวอักษรบนมือถือจอสัมผัส ที่ใช้ตำแหน่งรูปร่างของอักษรเบรลล์ (ตัวอักษรแทนภาษาหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ด้วยการจุดหรือไม่จุดบนตารางขนาด 2x3) มาแทนการพิมพ์ตัวอักษรแต่ละตัว
ถึงแม้ว่าแอพนี้จะมีเป้าหมายหลักสำหรับผู้พิการทางสายตา แต่ว่ามันก็น่าจับตามองในเรื่องของความเร็วเป็นอย่างมาก ผู้ที่ผ่านการฝึกฝนการป้อนอักษรด้วยระบบนี้ สามารถทำความเร็วได้ถึง 32 คำต่อนาทีที่ความแม่นยำ 92% เลยทีเดียว (นักวิจัยเคลมว่า เร็วกว่าการป้อนคำบนมือถือจอสัมผัสด้วยวิธีทั่วไปถึงหกเท่า)
Stevie Wonder นักดนตรีชาวสหรัฐอเมริกาและเป็นผู้พิการทางสายตา ได้พูดกับผู้ชมบนเวทีในงาน Echoplex ที่ Los Angeles เพื่อขอให้ทุกๆ คนได้ช่วยเหลือคนพิการ และได้กล่าวชื่นชม Steve Jobs ที่ทำให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงและใช้งาน iPhone และ iPad ได้อย่างเต็มที่
นี่คือส่วนหนึ่งของข้อความที่เขากล่าวบนเวที
"I want you all to give a hand to someone that you know whose health is very bad at this time. His company took the challenge in making his technology accessible to everyone. In the spirit of caring and moving the world forward, Steve Jobs."
เราได้เห็นอุปกรณ์เสริมในการเล่นเกมจากไมโครซอฟท์ที่ชื่อ Kinect ได้ถูกพัฒนาไปเป็นโครงการเพื่อความบันเทิงต่างๆ กันไปเยอะแล้ว เช่น
แฮกเกอร์ผู้มีจิตสาธารณะชื่อ Luis de Matos พัฒนาโครงการชื่อ wi-Go ซึ่งนำเอา Kinect ที่ทำงานร่วมกับแล็ปท็อป มาติดตั้งกับรถเข็นสินค้า (อย่างที่ใช้ในห้างสรรพสินค้า) เพื่อช่วยให้รถเข็นสินค้าสามารถเคลื่อนที่ตามผู้พิการ / ผู้ป่วย / คนสูงอายุที่ใช้วีลแชร์ได้
เรื่องมีอยู่ว่า นาย Gareth Garratt ได้ไปโพสในเวบบอร์ดของ overclockers.co.uk ว่าตนเองไม่สามารถเล่นเกม Dead Space 2 ได้ เนื่องจากตัวเกมไม่สามารถตั้งค่าปุ่มเดินหน้าให้อยู่ที่ปุ่มเมาส์ขวาได้ ทำให้ต้องเสียค่าเกมไปฟรี ๆ 25 ปอนด์ ทำให้สมาชิกหลายคนในบอร์ดสงสัยว่า เขามีความจำเป็นอะไรที่จะต้องตั้งค่าปุ่มเดินหน้าไว้ที่เมาส์ จนกระทั่งเขาบอกว่าตัวเขาเองเป็นอัมพาต และเวลาเล่นเกมนั้นเขาจะต้องใช้หัวในการเคลื่อนและกดเมาส์ครับ
หากจะบอกว่า "คนตาบอดก็สามารถมองเห็นสีได้" คนทั่วไปอาจบอกว่าเป็นไปไม่ได้ ในเมื่อตาบอดแล้วจะเห็นสีได้อย่างไร แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้คำกล่าวนี้เป็นไปได้แล้ว!
หลายคนอาจพอทราบกันอยู่แล้วว่า บน iPhone นั้น มีฟังชั่น VoiceOver ซึ่งอยู่ในส่วนของ Accessibility บน iPhone ให้คนตาบอดสามารถใช้งานตัวโทรศัพท์และแอพพลิเคชันเสริมที่นำมาลงเพิ่มได้
ประเด็นเรื่องการเข้าถึง (accessibility) ของคนที่ขาดโอกาส เป็นเรื่องที่ควรส่งเสริมเป็นอย่างยิ่ง แต่กลับไม่อยู่ในความสนใจของคนทั่วไปมากนัก