ไมโครซอฟท์เพิ่มฟีเจอร์เล็กๆ แต่น่าจะเป็นประโยชน์มากให้ Excel มันคือ Focus Cell แสดงแถบสีเขียวให้เห็นเซลล์ที่เราเลือกชัดเจนขึ้น
เดิมที Excel จะแสดงเฉพาะเส้นขอบสีเขียวเข้มรอบเซลล์ที่เราเลือกเท่านั้น ซึ่งอาจมองหาได้ยาก หากเรามีเซลล์ที่มีข้อมูลจำนวนมากๆ ฟีเจอร์ Focus Cell จะแสดงพื้นหลังสีเขียวทั้งแนวตั้ง (คอลัมน์) และแนวนอน (แถว) ของเซลล์ที่เราเลือกให้เห็นกันชัดๆ ไปเลยว่าเซลล์อยู่ตรงไหน
ฟีเจอร์ Focus Cell สามารถเปิดปิดได้ในแถบ View และเปลี่ยนสีที่ต้องการไฮไลท์ได้ด้วย ฟีเจอร์นี้เริ่มใช้แล้วใน Excel Beta เวอร์ชัน 2410 และจะทยอยตามมาในเวอร์ชันเสถียรต่อไป ข่าวดีคือ Excel เวอร์ชันเว็บและแมคจะได้ใช้ด้วยเช่นกัน
ไมโครซอฟท์ประกาศวางขาย Office 2024 อย่างเป็นทางการ หลังเปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคม ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Microsoft Office Long Term Servicing Channel (LTSC) 2024 หรือ Office LTSC 2024
Office LTSC 2024 เป็นการจับฟีเจอร์ของ Microsoft 365 ที่เป็น subscription มารวมขายเป็นแพ็กเกจซอฟต์แวร์ขายขาดแบบดั้งเดิม สำหรับลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่ต้องการไลเซนส์แบบนี้ (เช่น ใช้กับเครื่องที่ไม่ต่อเน็ตเลย) ลูกค้าส่วนใหญ่ยังเหมาะสำหรับ Microsoft 365 มากกว่า
ไมโครซอฟท์ประกาศแผนปิดการทำงานของ ActiveX ใน Office 2024 เวอร์ชันซื้อขาด ที่จะออกตัวจริงในเดือนตุลาคม 2024 จากนั้นจะตามไปปิดใน Microsoft 365 ช่วงเดือนเมษายน 2025
ActiveX เป็นเทคโนโลยีการฝังวัตถุแบบ interactive ในเอกสาร Office เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี 1996 แต่ภายหลังถูกใช้เป็นช่องทางการโจมตีและแพร่กระจายมัลแวร์ โดยหลอกว่าเป็นเอกสาร Office แล้วหลอกให้เหยื่อคลิกเปิดเอกสาร
ผู้ใช้ Microsoft Word คงทราบกันดีว่าการสั่ง Paste ข้อความจากที่อื่นมาลงเอกสาร มีตัวเลือก 3-4 แบบ โดยค่าดีฟอลต์ของ Word ที่ใช้มายาวนานคือ Keep Source Formatting อิงจากฟอร์แมตข้อความของเอกสาร/เว็บต้นทาง
แนวทาง Keep Source Formatting มีผลทำให้ข้อความที่คัดลอกมา อาจดูผิดแผกไปจากฟอร์แมตเอกสารปัจจุบัน ทำให้ต้องเสียเวลามาแก้กันใหม่ และที่ผ่านมาผู้ใช้ Word (อย่างน้อยกลุ่มหนึ่ง) ก็ส่งเสียงเรียกร้องมายังไมโครซอฟท์ให้แก้ไขเรื่องนี้
ไมโครซอฟท์ออกมาย้ำเตือนว่า Office 2016 และ Office 2019 เวอร์ชันซื้อขาด จะหมดอายุซัพพอร์ตในวันที่ 14 ตุลาคม 2025 (วันเดียวกับ Windows 10) เท่ากับเหลือระยะเวลาให้ย้ายอีกราว 1 ปีครึ่งนับจากนี้
ไมโครซอฟท์แนะนำให้ลูกค้าย้ายไปใช้ Microsoft 365 แทน โดยเสนอแพ็กเกจ E3 ที่มีแอพในชุด Office ครบถ้วนเท่ากัน และได้บริการฝั่งเซิร์ฟเวอร์ของ SharePoint กับ Exchange ผ่านคลาวด์ด้วย
แต่ถ้าหากไม่ต้องการจ่ายเงินแบบ subscription ก็ยังมีตัวเลือกคือ Office 2021 แต่ก็จะหมดอายุเพียง 1 ปีหลังจากนั้นคือ 13 ตุลาคม 2026
ไมโครซอฟท์ประกาศออก Microsoft Office 2024 ซึ่งเป็น Office แบบไลเซนส์ซื้อขาด (perpetual license) ไม่ใช่ subscription แบบ Office 365/Microsoft 365 ที่กลายเป็นผลิตภัณฑ์หลักของไมโครซอฟท์ในปัจจุบัน
Office 2024 ยังคงแนวทางเดียวกับรุ่นพี่ Office 2021 คือเป็นการตัดเอาฟีเจอร์ของ Microsoft 365 รุ่นออนไลน์มาให้ใช้งานกันแบบออฟไลน์ (แต่จะไม่มีฟีเจอร์พวก AI จำพวก Copilot ที่ต้องประมวลผลที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ เพราะ Office 2024 เน้นใช้กับเครื่องที่ไม่ต่อเน็ต) และจะไม่มี Microsoft Publisher ที่ประกาศเลิกทำไปแล้ว
ไมโครซอฟท์ประกาศหยุดซัพพอร์ต Microsoft Publisher โปรแกรมจัดหน้าสิ่งพิมพ์ในชุด Microsoft 365 โดยจะมีผลในเดือนตุลาคม 2026 ตามระยะซัพพอร์ตของ Office 2021 LTSC
ไมโครซอฟท์ให้เหตุผลว่างานที่ทำด้วย Publisher เช่น การออกแบบสิ่งพิมพ์ ซองจดหมาย นามบัตร ฯลฯ สามารถทดแทนด้วยฟีเจอร์ของ Word และ PowerPoint ซึ่งไมโครซอฟท์มีเทมเพลตแจกฟรีจำนวนมากให้บน Microsoft Create และในอนาคตจะพัฒนาฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้องกับ Publisher เพิ่มให้ Word, PowerPoint, Designer ด้วย
ไมโครซอฟท์ออกแอปเพิ่มเติมบนแพลตฟอร์มแว่น Meta Quest จากวันก่อนเป็น Xbox Cloud Gaming โดยวันนี้เป็นโปรแกรมตระกูล Office
โดย Office ที่มีให้ใช้งานตอนนี้คือ 3 โปรแกรมหลัก Word, Excel และ PowerPoint รองรับแผนใช้งานแบบ basic ฉะนั้นจึงใช้งานได้ทุกคนรวมทั้งแผนฟรี ต้องล็อกอินเข้าบัญชีไมโครซอฟท์เพื่อใช้งาน และโปรแกรมทั้งหมดทำงานบนคลาวด์
Android Central ทดสอบการใช้งาน สามารถทำงานร่วมกับคีย์บอร์ดและเมาส์บลูทูธได้ด้วย จึงทำให้การใช้งานไม่ลำบากมากเกินไป ดูวิดีโอได้ท้ายข่าว
ที่มา: Android Central
ไมโครซอฟท์ประกาศอัพเดตตัวเลือกในการตั้งค่า ส่วนของการแปลงประเภทข้อมูลอัตโนมัติ (Automatic Data Conversion) ซึ่งเริ่มทดสอบมาในปีที่แล้ว เพื่อให้ผู้ใช้งานปิดการทำงานที่ Excel ไปแปลงข้อมูลแล้วไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ เช่น ลบ 0 ที่นำหน้าตัวเลข, แสดงตัวเลขยาวเกิน 15 หลักเป็น E เป็นต้น
ตัวเลือกใหม่ที่เพิ่มมาคือเลือกเปิด-ปิด การแก้ไขข้อมูลตัวหนังสือที่ตามด้วยตัวเลขให้เป็นข้อมูลวันที่อัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น MAR1 ก็จะไม่บันทึกเป็น 1 มีนาคม เป็นต้น
Business Insider อ้างเอกสารภายในของ Amazon ระบุว่าบริษัทเตรียมทำสัญญาซื้อไลเซนส์ใช้งานบริการคลาวด์ Microsoft 365 กับไมโครซอฟท์ โดยมูลค่าที่ Amazon จ่ายนั้นมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ เป็นระยะเวลามากกว่า 5 ปี
ก่อนหน้านี้ Amazon ใช้ไลเซนส์ Microsoft Office แบบติดตั้งกับเครื่องหรือ On-premise แต่ในแผนโครงการนี้ Amazon ต้องการเปลี่ยนมาใช้ Microsoft 365 บนคลาวด์แทน โดยคาดจะเริ่มทดสอบใช้งานในเดือนพฤศจิกายน และย้ายพนักงานทั้งหมดไป Microsoft 365 ได้ในต้นปี 2024
เรื่องนี้เป็นประเด็นเล็ก ๆ เพราะ Amazon กับไมโครซอฟท์ถือเป็นคู่แข่งสำคัญของการให้บริการคลาวด์ ที่ผ่านมา Amazon มีแนวทางเลี่ยงการใช้ Microsoft 365 มาตลอด เพราะมองว่าเป็นการนำข้อมูลของบริษัทไปเก็บไว้บนคลาวด์ของคู่แข่ง
Adobe และ Microsoft ต่างทยอยหยุดซัพพอร์ตฟอนต์ PostScript Type 1 ในซอฟต์แวร์ของตัวเอง ซึ่งจะส่งผลให้ไฟล์เอกสารยุคเก่าที่ใช้ฟอนต์แบบเก่า ไม่สามารถเปิดได้กับซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ๆ ได้อีกต่อไป
ภาษา PostScript ฟอนต์ Type 1 ถูกสร้างขึ้นในยุค 80s พร้อมการก่อตั้งบริษัท Adobe ในช่วงเวลานั้น และถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในวงการสิ่งพิมพ์ที่ออกแบบโดยคอมพิวเตอร์ (desktop publishing) เพราะเป็นฟอนต์แบบเวกเตอร์ที่คมชัด ขยายแล้วภาพไม่แตก แต่ภายหลังเรามีฟอนต์เวกเตอร์แบบใหม่ๆ ทั้ง TrueType (Apple) และ OpenType (Adobe/Microsoft) ความจำเป็นในการใช้ฟอนต์ Type 1 จึงลดน้อยลงไป
เราเห็นข่าว Microsoft Office เปลี่ยนฟอนต์หลักจากเดิม Calibri มาเป็น Aptos กันไปแล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงไม่ได้มีแค่นั้น เพราะ Office เปลี่ยนชุดธีมสีและสไตล์ของเอกสารใหม่หมดด้วย หลังเปลี่ยนครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2013
ธีมสีใหม่ของ Office เปลี่ยนมาใช้โทนสีที่เข้มขึ้นกว่าเดิม ตัดบางโทนสีออกไป (เช่น เหลือง เทา) และเพิ่มสีม่วงกับเขียวเข้มเข้ามา น้ำหนักของเส้นขอบ (outline weight) ยังหนากว่าเดิม เพื่อให้ความคอนทราสต์ของวัตถุกับพื้นหลังเพิ่มขึ้น
สไตล์ข้อความดีฟอลต์ของ Word และ Outlook ยังเปลี่ยนไปเล็กน้อย เน้นความอ่านง่าย ดูเป็นมืออาชีพ ไล่สายตาในเอกสารยาวๆ ได้ง่ายกว่าเดิม
ไมโครซอฟท์ออกแพตช์ความปลอดภัย Patch Tuesday ของเดือนกรกฎาคม 2023 ซึ่งเดือนนี้มีการแก้ไขช่องโหว่ 123 รายการ มีรายงานช่องโหว่ระดับ Zero-Day ที่มีการเผยแพร่รายละเอียดแล้ว 6 รายการ เป็นช่องโหว่ที่สามารถโจมตีระยะไกลได้ (RCE) 37 รายการ จึงควรอัพเดตโดยเร็วที่สุด
อย่างไรก็ตามตามอัพเดตล่าสุดตอนนี้ ไมโครซอฟท์ยังไม่มีแพตช์แก้ไขช่องโหว่ Zero-Day อยู่ 1 รายการคือ CVE-2023-36884 โดยผู้โจมตีสามารถสร้างไฟล์ Microsoft Office ที่มีการออกแบบมาโดยเฉพาะให้โจมตีระยะไกลได้ ในตอนนี้ไมโครซอฟท์มีเฉพาะคำแนะนำป้องกันปัญหาเบื้องต้นเท่านั้น (ดูจากส่วน Mitigations ในลิงก์ข้างต้น)
ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์ประกาศแผนเปลี่ยนฟอนต์ดีฟอลต์ใน Microsoft Office จาก Calibri ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2007 โดยมีตัวเลือกจำนวนหนึ่ง ล่าสุดไมโครซอฟท์ได้ข้อสรุปแล้ว
โดยหลังจากสอบถามความเห็นจากลูกค้า ไมโครซอฟท์บอกว่า Aptos คือฟอนต์ที่ผู้ใช้งานชอบมากที่สุด (ในตอนให้สอบถามความเห็น ฟอนต์นี้คือ Bierstadt) เป็นฟอนต์ที่ไม่มีเชิง (sans-serif) ปรับใช้ได้ในหลายภาษา
Aptos จะมาเป็นฟอนต์ดีฟอลต์ในบริการทั้งหมดของ Microsoft 365 ไม่ว่าจะเป็น Word, Outlook, PowerPoint และ Excel เริ่มมีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และอัพเดตกับผู้ใช้งานทั่วโลกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ในยุคที่ไมโครซอฟท์พยายามดัน ChatGPT ในบริการต่างๆ แบบสุดตัว (ภายใต้ชื่อแบรนด์ของตัวเองว่า Copilot) ก็มีโปรแกรมเมอร์หัวใสสร้างแอพคลิปหนีบกระดาษ Clippy อันโด่งดัง คืนชีพกลับมาอีกครั้งบนวินโดวส์ แต่คราวนี้ข้างหลังเป็นเอนจินของ ChatGPT ทำให้ตอบคำถามได้ฉลาดกว่ายุคเดิมมาก
แอพสามารถดาวน์โหลดได้จาก Microsoft Store โดยตัวมันเองเป็นโอเพนซอร์สบน GitHub อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้จำเป็นต้องมี API key ของ ChatGPT ของตัวเองเพื่อสิทธิในการพูดคุยกับเซิร์ฟเวอร์ของ ChatGPT ด้วย
ผู้พัฒนาแอพตัวนี้คือ FireCube Studios ซึ่งเป็นนักพัฒนาแอพสายวินโดวส์อยู่แล้ว
Microsoft Word เพิ่มฟีเจอร์ "กดไลค์" ในคอมเมนต์ของเอกสาร
เดิมที Word รองรับการคอมเมนต์เอกสารจากเพื่อนร่วมงาน สามารถตอบคอมเมนต์เพื่อสนทนากันเรื่องสิ่งที่ต้องการแก้ไขได้ รอบนี้เพิ่มปุ่ม Like เข้ามาให้กดแสดงว่าเห็นด้วย แทนการพิมพ์ว่า +1 แบบเดิม
ฟีเจอร์นี้ยังใช้ได้แค่บน Word for Web และ Word for Windows (เลขเวอร์ชัน 2305 ขึ้นไป) โดยเวอร์ชันแมคจะตามมาในเร็วๆ นี้ ส่วนเวอร์ชัน Android/iOS จะยังไม่เห็นการกดปุ่มไลค์แบบใหม่นี้เลย
ที่มา - Microsoft
Financial Times รายงานข่าวว่า ไมโครซอฟท์จะหยุดแถม Teams ไปกับ Office เพื่อแลกกับการที่ EU จะไม่เข้ามาสืบสวนข้อหาผูกขาด หลังจากคำร้องเรียนของคู่แข่ง Slack ตั้งแต่ปี 2020
ตามข่าวบอกว่าผู้ซื้อไลเซนส์ Office จะสามารถเลือกได้ว่าจะเอา Teams ด้วยหรือไม่ แต่ยังไม่มีรายละเอียดเรื่องวิธีการเลือก และคาดว่าจะมีผลเฉพาะพื้นที่ของสหภาพยุโรปเท่านั้น
ในอดีตปี 2009 ไมโครซอฟท์เคยมีข้อตกลงลักษณะคล้ายกันกับ EU คือ Windows ที่ให้เลือกเบราว์เซอร์ได้ ซึ่งภายหลังไมโครซอฟท์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และโดน EU สั่งปรับด้วย
จากข่าว ไมโครซอฟท์จะเลิกใช้ชื่อ Office เปลี่ยนเป็น Microsoft 365 ล่าสุดไมโครซอฟท์โชว์คลิปของแอพ Microsoft 365 ตัวใหม่บนวินโดวส์แล้ว
แอพ Microsoft 365 ตัวใหม่มาแทนแอพ Office Hub ของเดิม หน้าที่หลักของมันคือเป็นจุดรวมเอกสารต่างๆ ในระบบ Microsoft 365 ที่เราใช้งาน แต่ก็รองรับการแสดงไฟล์ชนิดอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในชุด Office ด้วย (ในคลิปโชว์ตัวอย่างไฟล์ PDF และ Figma)
ฟีเจอร์อื่นๆ ของแอพ Microsoft 365 คือการแสดงแอพขององค์กรเอง และแอพจากบริษัทอื่นๆ (third party) ที่เข้ามาเชื่อมต่อกับระบบ Microsoft 365, หน้าแสดง Feed บอกสิ่งที่เราควรรู้ประจำวัน เช่น นัดหมายประชุมถัดไป หรือ เนื้อหาที่โพสต์-ส่งทางเมลจากคนที่เราติดตาม
เราเห็นไมโครซอฟท์รีแบรนด์ Office 365 มาเป้น Microsoft 365 ตั้งแต่ปี 2020 แต่ล่าสุดไมโครซอฟท์กำลังไปไกลกว่านั้น ถึงขั้นจะเลิกใช้แบรนด์ "Office" ไปเลย และเปลี่ยนมาเป็น Microsoft 365 แทน
การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลเฉพาะตัวแบรนด์คำว่า Office เท่านั้น ไม่มีผลต่อแอพในชุดอย่าง Word, Excel, PowerPoint ที่ยังเหมือนเดิมทุกอย่าง
สิ่งที่จับต้องได้ที่สุดคือแอพ Office ทั้งบนมือถือ, บนวินโดวส์ และเว็บแอพ Office.com จะถูกรีแบรนด์ใหม่เป็นแอพชื่อ Microsoft 365 แทน พร้อมโลโก้ใหม่เป็นวงหกเหลี่ยมสีม่วง แทนตัว O สีส้มแดงที่เราคุ้นเคยกันมานาน
จากนโยบายของไมโครซอฟท์ที่ต้องการปิด Macro ของ Office เป็นค่าดีฟอลต์ ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย (แม้ปิดๆ เปิดๆ อยู่ช่วงหนึ่ง) ส่งผลให้บรรดาแฮ็กเกอร์ต้องปรับตัว เปลี่ยนวิธีโจมตีจาก Macro ไปเป็นวิธีอื่นด้วยเช่นกัน
บริษัทความปลอดภัย Proofpoint เก็บสถิติการโจมตีของแฮ็กเกอร์ นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2021 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2022 พบว่าปริมาณการโจมตีผ่าน Macro โดยตรง (ทั้งแบบ VBA ที่ใช้กับ Office ได้หมด และ XL4 ที่ใช้เฉพาะกับ Excel) ลดลงถึง 66%
ไมโครซอฟท์ประกาศไว้เมื่อเดือน ก.พ. ว่าจะ ปิด การทำงานของ VBA macro ใน Office เป็นค่าดีฟอลต์ ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย แต่เมื่อต้นเดือน ก.ค. เปลี่ยนใจ เปิด กลับเป็นเหมือนเดิม หลังผู้ใช้งานเรียกร้อง แต่ก็บอกว่าเป็นมาตรการชั่วคราวเท่านั้น
ล่าสุด 20 ก.ค. ไมโครซอฟท์ประกาศกลับมา ปิด การทำงานของ VBA อีกรอบ โดยบอกว่าตัดสินใจจากเสียงของผู้ใช้เช่นกัน (ไม่รู้กลุ่มไหนกันแน่) หลังจากปรับปรุงเอกสารคู่มือให้ชัดเจนขึ้นเรียบร้อยแล้ว
ไมโครซอฟท์ประกาศเตือนวันสิ้นสุดการซัพพอร์ต Microsoft 365 Apps (ซึ่งก็คือแอพตระกูล Office ทั้งหลาย) รวมถึง Office 2013 และ Office 2016 บนระบบปฏิบัติการ Windows 7 และ Windows 8.1 ในวันที่ 10 มกราคม 2023 วันเดียวกับระยะสิ้นสุดการซัพพอร์ตของ Windows 8.1
ไมโครซอฟท์หยุดซัพพอร์ต Windows 7 ไปแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2020 แต่ลูกค้าบางกลุ่มอาจยังจ่ายเงินซื้อ Extended Security Updates (ESU) เพิ่มอีก 3 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 10 มกราคม 2023 เช่นกัน (เท่ากับว่า Windows 7 ESU จะหมดอายุพร้อม Windows 8.1) ส่วน Office เวอร์ชันที่ใหม่กว่านั้นคือ 2019 ไม่รองรับ Windows 7/8.1 ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว
เมื่อต้นปีไมโครซอฟท์ประกาศปิดการทำงานของ VBA macro เป็นดีฟอลต์ มีผลกับผลิตภัณฑ์ตระกูล Office ได้แก่ Access, Excel, PowerPoint, Visio, Word แต่ล่าสุดไมโครซอฟท์แจ้งข้อความผ่านผู้ดูแลระบบ Microsoft 365 (MC393185 และ MC322553) ว่าเปลี่ยนการตัดสินใจดังกล่าวแล้ว
ไมโครซอฟท์บอกว่า จากความเห็นต่าง ๆ ที่ได้รับ เราได้ตัดสินใจกลับมาใช้การตั้งค่าแบบเดิม นั่นคือ VBA ใน Office ไม่ถูกปิดเป็นดีฟอลต์ โดยหากมีการเปลี่ยนแปลงใดจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
ตามแผนเดิมนั้น ไมโครซอฟท์จะเปลี่ยนการเริ่มต้นของ VBA macro ใน Office 365 v2203 ซึ่งเริ่มทยอยอัพเดตกับผู้ใช้งานทั่วไปในเดือนมิถุนายน
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตประจำเดือนมิถุนายน 2022 มีรายการสำคัญคือการแก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัย CVE-2022-30190 ที่เรียกว่า Follina อาศัยช่องโหว่ใน MSDT ฝังมาในเอกสาร Word ที่มีรายงานเมื่อเดือนที่แล้ว มีการโจมตีแล้ว แต่ยังไม่มีแพตช์
อัพเดตที่แก้ไขช่องโหว่นี้ครอบคลุมทั้ง Windows 10 (KB5014699) และ Windows 11 (KB5014697) โดยไมโครซอฟท์แนะนำให้ลูกค้าอัพเดตทันทีเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
ที่มา: The Verge
ไมโครซอฟท์แจ้งเตือนช่องโหว่ CVE-2022-30190 ช่องโหว่รันโค้ดผ่าน URL ที่เป็นโปรโตคอลสำหรับ Microsoft Support Diagnostic Tool (MSDT) โดยฝัง URL ในเอกสารในรูปแบบ ms-msdt:/
เมื่อผู้ใช้เปิดเอกสารก็จะกลายเป็นการรันโค้ดทันที แม้จะเป็นการเปิดเอกสารแบบพรีวิว, เปิดแบบ read-only, หรือเปิดใน Word ที่ปิดฟีเจอร์มาโครก็ตามที
ตอนนี้มีมัลแวร์จำนวนหนึ่งเริ่มอาศัยช่องโหว่นี้แล้ว และยังไม่มีแพตช์เป็นทางการ โดยไมโครซอฟท์แนะนำให้ลบการรองรับ URL สำหรับ MSDT ออก แต่กระบวนการยุ่งยากเล็กน้อยเพราะต้องลบ registry ด้วยตัวเองเท่านั้น ไม่มีหน้าจอสำหรับกระบวนการนี้