สองยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซจีน Alibaba และ JD.com รายงานตัวเลขยอดขายสุทธิ จากเทศกาลช้อปปิ้งกลางปีในวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา หรือที่เรียกว่า 6.18 โดยมียอดขายรวมกัน 1.37 แสนล้านดอลลาร์ หรือกว่า 4.2 ล้านล้านบาท
โดย JD.com ระบุว่าปริมาณคำสั่งรวมทั้งมีมีมูลค่า 3.799 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 34% จากปีก่อน ส่วน Alibaba ระบุว่าจำนวนคำสั่งซื้อรวมมีมูลค่า 9.852 หมื่นล้านดอลลาร์ ที่น่าสนใจคือตัวเลขยอดขาย 6.18 ของ Alibaba นั้น สูงกว่าเทศกาล 11.11 ปีที่แล้วมากกว่า 2 เท่าตัวเลยทีเดียว จึงอาจสะท้อนได้ทั้งภาวะเศรษฐกิจในจีนและการฟื้นตัวจากการระบาดของโควิด-19
AliExpress แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเครืออาลีบาบา ทำตลาดนอกจีน เตรียมกวาดอินฟลูเอนเซอร์ร่วมแสนราย มาเข้าโครงการ AliExpress Connect ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสื่อกลางจับคู่แบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์หรือครีเอเตอร์ที่เหมาะสมกับแบรนด์เข้าด้วยกัน โดยเป็นอินฟลูเอนเซอร์จากทั่วโลกและหลากหลายแพลตฟอร์มทั้ง YouTube, Instagram, TikTok ซึ่งเป็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จมาแล้วบน Taobao
Alibaba รายงานผลประกอบการของไตรมาสเดือนมกราคม-มีนาคม 2020 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 22% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 16,144 ล้านดอลลาร์ ส่วนกำไรสุทธิลดลง 88% เป็น 447 ล้านดอลลาร์ โดย Alibaba บอกว่ามาจากบันทึกขาดทุนในบริษัทจดทะเบียนที่ไปลงทุนไว้ ตามราคาตลาดหุ้นล่าสุด
จำนวนฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 960 ล้านคนทั่วโลก และยอดขายสุทธิ (GMV) ในปีการเงิน 2020 สิ้นสุดมีนาคม 2020 ทะลุ 1 ล้านล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรก
Alibaba พูดถึงผลกระทบจาก COVID-19 โดยยังสามารถเติบโตได้ดี Tmall มียอดขายสินค้าภาพรวมเพิ่มขึ้น 10% เติบโตจากสินค้า FMCG (สินค้าอุปโภคบริโภคที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว) ขณะที่เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์รถยนต์ ลดลง โดยเห็นแนวโน้มกลับมาเติบโตตั้งแต่เดือนเมษายน และเพิ่มขึ้นอีกในเดือนพฤษภาคม
Alibaba ประกาศเตรียมลงทุนในเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์เพิ่มอีกว่า 2 แสนล้านหยวนหรือเกือบ 1 ล้านล้านบาท ในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า หลังกระแสการใช้คลาวด์ในจีนเพิ่มขึ้นสูงเพราะโรคระบาด
ที่ Alibaba จะลงทุนคืออุปกรณ์กึ่งตัวนำ (semiconductor), ระบบปฏิบัติการและโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูล โดยในช่วงการทำงานที่บ้านที่ผ่านมาในจีน Alibaba ออกมายอมรับถึงความหนาแน่นของทราฟิคจนส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ใช้งานผู้ใช้งาน โดยเฉพาะบนแอป Dingtalk ที่ใช้ประชุม นัดหมายและวิดีโอคอล
ที่มา - Reuters
เว็บ Abacus มีรายงานพิเศษ ว่าด้วยการเติบโตของการขายสินค้าผ่านไลฟ์ในจีน ซึ่งแม้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่จากสถานการณ์ COVID-19 ที่ทำให้คนต้องเก็บตัวอยู่บ้าน ก็มีการประเมินว่าการขายสินค้าผ่านไลฟ์ จะเติบโตสูง จากปี 2019 มูลค่าตลาดราว 4.33 แสนล้านหยวน เป็น 9.16 แสนล้านหยวนในปีนี้
ผู้เล่นหน้าใหม่ ที่เข้ามาขายของผ่านไลฟ์ช่วงที่ผ่านมา คือบรรดาห้างสรรพสินค้าที่ปิดให้บริการชั่วคราว ผลสำรวจพบว่าลูกค้าที่ชอบการเลือกสินค้าผ่านวิธีการนี้ มากกว่าการเลือกผ่านหน้าเว็บอีคอมเมิร์ซ เนื่องจากมีการโต้ตอบ และทำให้เข้าใจรายละเอียดสินค้าได้ดีกว่า
จากรายงานของ Nikkei Asian Review ที่อ้างอิงจากรายงาน Sina Tech News ของจีนอีกทีระบุว่า อาลีบาบาพัฒนาระบบ AI ของตัวเองสามารถตรวจจับโรค COVID-19 ได้จากการดูแผ่น CT scan ช่วงอกได้แม่นยำ 96% และใช้เวลาเพียง 20 วินาทีในการให้ AI ตัดสินใจ ตัวระบบสามารถบอกความแตกต่างระหว่างปอดที่ติดเชื้อ COVID-19 และปอดบวมเฉยๆ ได้ด้วย
ช่วงเวลาที่โรค COVID-19 ระบาด ประเทศจีนก็แทบจะปิดตาย จำกัดการเดินทาง คนจีนต้องเก็บตัวอยู่แต่ในบ้านเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
เทรนด์หนึ่งที่มาพร้อมกันนี้คือ ประชาชนใช้ไลฟ์สตรีมมิ่งเป็นช่องทางแก้เบื่อ และทำงานอดิเรก ไม่ว่าจะเป็นดูวิดีโอสอนทำกับข้าว ออกกำลังกาย แต่งหน้า ดูมกบังหรือไลฟ์กินข้าวโชว์ ยอดสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่เกี่ยวข้องก็พุ่งขึ้นด้วย
Alibaba รายงานผลประกอบการของไตรมาสเดือนธันวาคม 2019 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 38% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 23,192 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิ 6,678 ล้านดอลลาร์ จำนวนลูกค้าที่ใช้งานอย่างน้อยหนึ่งครั้งในรอบ 12 เดือน เพิ่มขึ้นเป็น 711 ล้านคน ขณะที่ผู้ใช้งานเป็นประจำทุกเดือนผ่านมือถือ (Mobile MAUs) เพิ่มขึ้นมาเป็น 824 ล้านคน
ข้อมูลอื่นที่น่าสนใจ อาทิ 60% ของลูกค้าใหม่มาจากพื้นที่ห่างไกลในจีน, ยอดขายผ่าน Live เพิ่มขึ้นกว่า 100%, รายได้ของบริษัทขนส่ง Cainiao Network เพิ่มขึ้นถึง 67%, จำนวนออเดอร์ของ Lazada เพิ่มขึ้น 97%, รายได้จากคลาวด์เพิ่มขึ้น 62%
Youku หรือ YouTube ของจีน เจ้าของคืออาลีบาบา ทำคอร์สเรียนออนไลน์ฟรีให้เด็กนักเรียนทั้งชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่ต้องอยู่บ้านเพราะไวรัสโคโรน่าระบาด โดยคอร์สเรียนดังกล่าวมีการใช้เครื่องมือของอาลีบาบาคือ DingTalk เครื่องมือสื่อสารในสำนักงานที่คล้ายกับ Slack ในการช่วยสื่อการเรียนการสอน
สื่อของรัฐรายงานว่า มีโรงเรียนในจังหวัด Hubei ซึ่งมีเมืองอู่ฮั่นเป็นเมืองใหญ่เข้าร่วมโปรแกรมการเรียนฟรีแล้วกว่า 50 โรงเรียน
Alibaba Cloud ซึ่งเป็นบริษัทลูกในเครือ Alibaba บุกเข้ามาทำตลาดประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยเซ็นสัญญากับบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET) เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการรายแรกในไทย
INET จะบริหารจัดการด้านการตลาด การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Alibaba Cloud ให้กับตัวแทนผู้ค้าปลีก (reseller) ในอุตสาหกรรมต่างๆ ของประเทศไทย บริการของ Alibaba Cloud ที่พร้อมทำตลาดในไทยได้แก่ ECS Auto Scaling, Web Application Firewall, AsparaDB (MySQL, PostgreSQL, MS SQL, MongdoDB), Container Service
Alibaba Cloud ธุรกิจฝั่งองค์กรของ Alibaba ปล่อยไลบรารี Alink ที่เป็นไลบรารีคอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ (machine learning) ชุดใหญ่ สำหรับการสร้างบริการในกลุ่มคอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ เช่น ระบบแนะนำสินค้า, การทำนายข้อมูลในอนาคต
ไลบรารีประกอบด้วยกลุ่มอัลกอริทึม เช่น จัดหมวดหมู่ข้อมูล (classification), ทำนายข้อมูล (regression), จับกลุ่มข้อมูล (clustering), หาชุดข้อมูลผิดปกติ, การคำนวณค่าสถิติ โดยรวมนับว่าใกล้เคียงกับโครงการ scikit-learn แต่ Alink ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับ Apache Flink เป็นหลัก แม้จะมีโมดูล PyAlink ให้ทำงานกับไพธอนด้วยก็ตาม
Alibaba ได้นำหุ้นของบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขาย ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเพิ่มเติมอีกแห่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเริ่มทำการซื้อขายในวันนี้เป็นวันแรก หลังจากประกาศเสนอขายไปก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ Alibaba ได้นำบริษัทเข้าซื้อขายที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อปี 2014 ซึ่งในตอนแรก Alibaba ต้องการนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นฮ่องกง แต่เนื่องจากกฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการออกหุ้นหลายคลาสตอนนั้น จึงไปที่นิวยอร์กแทน อย่างไรก็ตามตอนนี้ตลาดหุ้นฮ่องกงได้ปรับกฎเกณฑ์ ทำให้ Alibaba ตัดสินใจนำบริษัทมาซื้อขายที่ฮ่องกงเพิ่มอีกแห่งด้วยนั่นเอง
ยังคงมีสถิติจากเทศกาลลดราคาวันคนโสดจีน 11 เดือน 11 ปีนี้ให้ได้อ่านกัน โดยคราวนี้ Alibaba เผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง Alibaba Cloud ในการรองรับคำสั่งซื้อและการประมวลผลจำนวนมหาศาล มีประเด็นน่าสนใจดังนี้
ที่มา: Alizila
Alibaba ประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะนำบริษัทจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกงเพิ่มเติม ตามที่มีข่าวออกมาก่อนหน้านี้ โดยใช้วิธีออกหุ้นใหม่จำนวน 500 ล้านหุ้น และหุ้นชุดนี้จะซื้อขายด้วยตัวย่อ 9988
ส่วนหุ้น ADS ที่ซื้อขายปัจจุบันในตลาดหุ้นนิวยอร์ก จะยังคงทำการซื้อขายต่อไป โดย 8 หุ้น ADS มีมูลค่าเท่ากับ 1 หุ้นที่ออกใหม่
จากเทศกาลลดราคาวันคนโสดจีน 11 เดือน 11 ที่ผ่านมา Alibaba ประกาศสถิติยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 26% จากปีก่อน แต่ดูเหมือน Jack Ma อดีตซีอีโอและผู้ก่อตั้งบริษัทจะอยากเห็นตัวเลขสูงกว่านี้
โดย Jack ma กล่าวในการประชุม World Zhejiang Entrepreneurs ครั้งที่ 5 ว่ายอดขายในเทศกาลลดราคาวันคนโสดปีล่าสุดนั้น น้อยกว่าที่ตัวเขาเองคาดไว้ อย่างไรก็ตาม เขาก็ยินดีเนื่องจากตัวเลขนี้ออกมาสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินกันไว้ที่ราว 20%
Alibaba สรุปสถิติเทศกาลลดราคาวันคนโสดจีน 11 เดือน 11 ของปีนี้ 2019 ต่อจากที่ประกาศสถิติ 10 ชั่วโมงแรกไปก่อนหน้า โดยครบ 24 ชั่วโมง มียอดขายสุทธิ (Gross Merchandise Volume) 268,444,058,381 หยวน หรือคิดเป็น 38,379.3 ล้านดอลลาร์ หรือ 1.1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 26% เมื่อเทียบกับยอดขายสุทธิในเทศกาลเดียวกันของปี 2018
Alibaba ประกาศสถิติล่าสุดของยอดขายเทศกาลลดราคาวันคนโสดจีน 11 เดือน 11 ประจำปีนี้ โดยใช้เวลา 10 ชั่วโมง นับตั้งแต่เที่ยงคืน ทำยอดขายได้ทะลุ 1.682 แสนล้านหยวน ซึ่งเป็นตัวเลขยอดขายสุทธิในปี 2017 ซึ่งตัวเลขสถิตินี้ยังคงเดินหน้าต่อไปตลอดทั้งวัน
สถิติอื่นที่น่าสนใจก่อนหน้า อาทิ ใช้เวลาเพียง 1 นาที ก็มียอดขายถึง 1 พันล้านดอลลาร์ และใน 1 ชั่วโมงแรก ทำยอดขายสูงถึง 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ Alibaba คาดว่าจะมีลูกค้าสั่งสินค้าในวันที่ 11.11 นี้ ราว 500 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 100 ล้านคน
Alibaba ประกาศลงทุนเพิ่มเติมอีก 3,300 ล้านดอลลาร์ ในบริษัทขนส่งสินค้า Cainiao Smart Logistics Network ทำให้ Alibaba เป็นผู้ถือหุ้น 63% เพิ่มจากที่ก่อนหน้านี้ถือหุ้น 51% โดยเป็นการซื้อหุ้นเพิ่มทุนรวมกับการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม
Daniel Zhang ซีอีโอ Alibaba ระบุว่าการขนส่งสินค้าเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ Alibaba และเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์ New Retail ที่เชื่อมต่อการช้อปปิ้งทั้งในโลกออนไลน์กับออฟไลน์เข้าด้วยกัน ซึ่งหากจำกันได้ Alibaba มีวิสัยทัศน์ระยะยาวคือการสามารถจัดส่งสินค้าภายในจีนได้ทุกที่ภายใน 24 ชั่วโมง และทั่วโลกภายใน 72 ชั่วโมง
Alibaba รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสเดือนกันยายน 2019 รายได้รวม 16,651 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 40% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน กำไรสุทธิ 10,149 ล้านดอลลาร์ แต่หากตัดรายการกำไรจากหุ้น Ant Financial ออกไป จะอยู่ที่ 4,582 ล้านดอลลาร์
จำนวนผู้ใช้งานในจีนที่ใช้งานอย่างน้อยในรอบ 12 เดือน เพิ่มขึ้น 19 ล้านคนเป็น 693 ล้านคน ส่วนผู้ใช้งานเป็นประจำทุกเดือนผ่านมือถือ (Mobile MAUs) เพิ่มขึ้นมาเป็น 785 ล้านคน
ปีนี้นับเป็นช่วงเวลาที่โลกกำลังเข้าสู่สงครามสตรีมมิ่งรอบใหม่ หลังจาก Netflix สามารถสร้างฐานผู้ใช้ได้นับร้อยล้านราย ผู้เล่นรายใหญ่ทั้ง Disney+, Apple TV+, HBO Max, Peacock ต่างเตรียมจะเปิดบริการในเร็วๆ นี้ และยังมีบริการสตรีมมิ่งรายเดิมที่พยายามตีตื้น Netflix ขึ้นมาอย่าง Hulu, Amazon Prime Video, YouTube Original ซึ่งแต่ละเจ้าก็พยายามลงทุนทำซีรีส์ด้วยทุนสูงเพื่อดึงดูดผู้ใช้งาน ผู้บริโภคโดยเฉพาะฝั่งสหรัฐฯ จะมีทางเลือกจำนวนมาก และกำลังจะเข้าสู่สภาวะเลือกไม่ถูกเพราะมีให้เลือกดูเต็มไปหมด (แต่เวลาชีวิตมีเท่าเดิม)
เราเพิ่งเห็นข่าว Huawei เปิดตัวหน่วยประมวลผล AI แบรนด์ Ascend และคลัสเตอร์แบรนด์ Atlas วันนี้ฝั่ง Alibaba ก็เปิดตัวหน่วยประมวลผล AI ของตัวเองด้วยเหมือนกัน
ชิปของ Alibaba ตัวนี้ชื่อว่า Hanguang 800 (ตั้งชื่อตามดาบในตำนานจีน) เคลมว่าเป็นชิป AI ที่ทรงพลังที่สุดในโลก และระบุว่ามีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม (ไม่ระบุว่าคืออะไร) 12 เท่า โดยเปรียบเทียบว่างานแยกแยะรูปภาพบน Taobao ที่ใช้ GPU ทั่วไปรันเป็นเวลา 1 ชั่วโมง สามารถใช้ Hanguang 800 ทำเสร็จภายใน 5 นาที
Jeff Zhang ซีทีโอของ Alibaba ระบุว่าเป็นครั้งแรกที่บริษัทพัฒนาฮาร์ดแวร์เอง โดยนำอัลกอริทึมไปใส่ไว้ในชิปตั้งแต่กระบวนการดีไซน์
Alibaba เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ของลำโพงสั่งงานด้วยเสียง Tmall Genie โดยสามารถส่งคำสั่งซื้อกาแฟสตาร์บักส์ได้แล้ว ไม่ต้องกดสั่งผ่านแอปหรือโทรศัพท์แต่อย่างใด
เรื่องที่น่าสนใจของบริการนี้ คือเป็นการแสดงให้เห็นพลังการเชื่อมต่อของระบบนิเวศของ Alibaba เข้าด้วยกัน โดยกาแฟจะถูกจัดส่งให้ลูกค้าภายใน 30 นาที ด้วย Ele.me บริการเดลิเวอรี่ของ Alibaba ที่เป็นพาร์ทเนอร์กับสตาร์บักส์อยู่แล้ว นอกจากนี้คำสั่งกาแฟยังสามารถรับดาวสะสมของสตาร์บักส์ได้ด้วย
Alibaba บอกว่าในอนาคตยังแผนให้คำแนะนำเมนูนน่าสนใจ ผ่าน AI ของ Alibaba ที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง Tmall Genie
Jack Ma ผู้ก่อตั้ง Alibaba เกษียณอายุและวางมืออย่างเป็นทางการในวันนี้ (10 กันยายน 2019) ซึ่งถือเป็นวันครบรอบ 20 ปีของ Alibaba ตามที่เคยประกาศไว้ล่วงหน้า
ในโอกาสที่ Jack Ma วางมือ ทางทีมประชาสัมพันธ์ของ Alibaba จึงพาเขากลับไปยังอพาร์ทเมนต์ Hupan Garden ที่ซึ่งเขากับเพื่อนๆ 17 คนร่วมกันก่อตั้ง Alibaba เมื่อ 20 ปีก่อน และถือว่าเป็น "พื้นทีศักดิ์สิทธิ์" (sacred space) ของบริษัทด้วย
Alibaba ยังใช้บริการของ Hupan Garden เป็นออฟฟิศอยู่ โดยทีมผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในยุคหลังอย่าง Taobao, DingTalk, Alimama จะย้ายเข้ามายังออฟฟิศแห่งนี้ในช่วงใกล้เปิดตัว เพื่อให้ "ซึมซับ" จิตวิญญาณของยุคก่อตั้ง
Alibaba ประกาศอย่างเป็นทางการ ว่าบริษัทจะเข้าซื้อกิจการ Kaola เว็บอีคอมเมิร์ซของจีนที่เน้นการจำหน่ายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันเป็นบริษัทลูกของ NetEase บริษัทเกมเบอร์สองของจีน ด้วยมูลค่าราว 2 พันล้านดอลลาร์ หรือ 6 หมื่นล้านบาท ตรงกับข่าวลือที่ออกมาก่อนหน้านี้
Daniel Zhang ซีอีโอ Alibaba กล่าวว่าธุรกิจของ Kaola จะเข้ามาเสริมทัพกับระบบนิเวศของ Alibaba เพื่อเพิ่มเติมสินค้านำเข้าจากต่างประเทศให้กับลูกค้าชาวจีน ซึ่งมองว่าตลาดนี้ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก ทั้งนี้ Kaola จะยังคงดำเนินงานแยกแบรนด์อยู่ต่อไปด้วยเช่นกัน
มีรายงานว่า Alibaba ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซของจีน ได้บรรลุข้อตกลงเพื่อซื้อกิจการทั้งหมดของ Kaola อีคอมเมิร์ซจีนที่จำหน่ายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ NetEase บริษัทเกมเบอร์สองของจีน โดยมูลค่าที่ตกลงกันสูงถึง 2 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 6 หมื่นล้านบาท
ปัจจุบัน Kaola มีส่วนแบ่งการตลาดของอีคอมเมิร์ซสินค้านำเข้าจากต่างประเทศในจีนสูงสุดที่ 27.7% ขณะที่ Alibaba อยู่ในอันดับสองที่ 25% ดีลซื้อกิจการนี้ของ Alibaba จึงสมเหตุสมผลทีเดียว