ในบทสัมภาษณ์ Phil Spencer ของ The Verge (ข่าวเก่า 1, ข่าวเก่า 2) เขาเล่าถึงเบื้องหลังการสั่งผลิต Xbox Series ว่าตั้งใจเริ่มผลิตช้ากว่าโซนี่สั่งผลิต PS5 เพราะตั้งใจ "รอ" เทคโนโลยีบางตัวในชิปของ AMD ให้พร้อมเสียก่อน
Spencer ไม่ได้บอกว่าเทคโนโลยีที่ว่าคืออะไร เขาบอกว่าเริ่มผลิตช่วงปลายฤดูร้อน (ราวๆ เดือนสิงหาคม) ทำให้ตามหลังโซนี่อยู่บ้างในแง่จำนวนเครื่องที่ผลิตได้ ตอนนี้สายการผลิตทำงานเต็มกำลังมาหลายเดือน แต่สินค้าก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ
AMD ตีโต้ตลาดจีพียูได้สำเร็จด้วย Radeon RX ซีรีส์ 6000 ที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างดีใกล้เคียงกับ GeForce และมีฟีเจอร์ ray-tracing กับเขาบ้างแล้ว สิ่งที่ยังขาดไปคือฟีเจอร์ลักษณะเดียวกับ Deep Learning Super Sampling (DLSS) ของ NVIDIA ที่ใช้ AI ช่วย upscale ภาพให้ความละเอียดสูงขึ้น โดยไม่ต้องเปลืองพลังจีพียูมาเรนเดอร์เต็มความละเอียด
Scott Herkelman ผู้บริหารของ AMD ไปออกรายการของ HotHardware และตอบคำถามในประเด็นฟีเจอร์ super-sampling ว่าแนวทางของ AMD ต้องการสร้างมาตรฐานเปิดที่ใช้งานได้ทุกค่าย ลดระยะเวลาของนักพัฒนาในการเรียกใช้ API ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งลง
หลังเปิดตัวและวางขายไปเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน เริ่มมีผลทดสอบและรีวิวของ Radeon RX 6800 XT ตัวกลางจากจีพียูทั้ง 3 ตัวที่เปิดตัวมารอบนี้ จากสื่อต่างๆ ออกมาแล้ว
ผลโดยรวมคือ Radeon RX 6800 XT ที่ราคา 649 เหรียญสหรัฐ มีประสิทธิภาพในการเล่นเกมใกล้เคียงกับ Geforce RTX 3080 ที่มีราคา 699 เหรียญสหรัฐจริง และผลจะเด่นชัดเมื่อเป็นเกมที่เล่นบนความละเอียด 1440p แต่จะด้อยกว่าในด้านการเล่นเกมที่เปิด ray tracing
อีกข้อด้อยของฝั่ง Radeon คือไม่มีเทคโนโลยี DLSS ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเล่นเกมความละเอียดสูงที่เปิด ray tracing ไปด้วยแบบที่ RTX 3080 ทำได้
แม้ Cyberpunk 2077 จะใช้ DirectX Raytracing API ของไมโครซอฟท์เพื่อให้รองรับ Ray Tracing ทั้งบน GeForce และ Radeon แต่หลังจากปล่อยสเปค RTX ของการ์ดจอ GeForce มาก็มีคนถามว่าแล้วสเปค Radeon ล่ะ
หัวหน้าทีม Global Community ของ CDPR ตอบคำถามข้างต้นว่าช่วงแรก ๆ Ray Tracing จะยังไม่รองรับบนจีพียู Radeon และระบุว่ากำลังทำงานร่วมกับ AMD เพื่อให้จีพียูรองรับ Ray Tracing ให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ส่วนหนึ่งที่ GeForce รองรับก่อนอาจเป็นเพราะ NVIDIA เป็นพาร์ทเนอร์กับ CDPR
ที่มา - @Marcin360
จากที่ NVIDIA บอกว่ากำลังทำฟีเจอร์แบบเดียวกับ Smart Access Memory (SAM) ของ AMD Radeon RX 6000 ฝั่งของ AMD ก็ออกมาให้สัมภาษณ์เองว่า SAM จะใช้ได้กับทั้งซีพียูอินเทล และจีพียู NVIDIA ด้วย
SAM เป็นฟีเจอร์ที่เปิดตัวมาพร้อม Radeon RX 6000 ให้ซีพียูของ AMD สามารถเข้าถึงแรมของจีพียู Radeon โดยตรงผ่าน PCIe 4.0 เพื่อให้ประสิทธิภาพดีขึ้น โดยเฉพาะในการเล่นเกม
Cloudflare รายงานถึงประสิทธิภาพของเซิร์ฟเวอร์รุ่นที่ 10 หรือ Gen X ที่ประกาศตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตอนนี้เซิร์ฟเวอร์เหล่านี้ก็ถูกนำไปใช้งานจริงมาระยะหนึ่งแล้ว โดยสเปคของ Gen X ได้แก่
สืบเนื่องจากข่าว ไม่ต้องเถียงว่าการ์ดจอใครแรงกว่า NVIDIA เปิดตัว Ampere A100 รุ่นแรม 80GB ฝั่ง AMD ก็ไม่ยอมน้อยหน้า เปิดตัวการ์ดจอสำหรับเซิร์ฟเวอร์ Instinct™ MI100 ที่ใช้สถาปัตยกรรม CDNA โดยชูจุดเด่นว่าแรงกว่าการ์ดจอ A100 แต่กินไฟน้อยกว่า 25%
ซึ่ง AMD ได้ให้ข้อมูลว่าการ์ด MI 100 สามารถคำนวนทศนิยม 64 บิต เร็วกว่า A100 ถึง 58% และกินไฟน้อยกว่า 100 วัตต์(25%) และแน่นอน AMD อ้างว่าการ์ดจอตัวเองนั้นแรงที่สุดในโลก (World’s Fastest HPC GPU)
ซึ่งการ์ดจอ MI100 นี้จะวางจำหน่ายภายในสิ้นปีนี้ และจะสามารถทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ของ DELL ,HP, Gigabyte,SuperMicro ได้ทันที
ดูวีดีโอเปิดตัวได้ในข่าว
AMD เปิดตัวการ์ดเร่งความเร็วงานด้านปัญญาประดิษฐ์และวิทยาศาสตร์ AMD Instinct MI100 ที่ใช้ชิปประมวลผลสถาปัตยกรรม CDNA (Compute DNA) พัฒนาแยกสายออกมาจากสถาปัตยกรรม RDNA ที่ใช้เพื่องานกราฟิกและเกมเป็นหลัก
ซีพียูตระกูล Ryzen 5000 Mobile บนแล็บท็อปอาจจจะใกล้เปิดตัวแล้ว หลัง Ryzen 5000 เพิ่งวางขายไปไม่นาน เมื่อ Acer Aspire 5 A515 ที่ใช้ Ryzen 7 5700U หลุดแสดงราคาและข้อมูลเบื้องต้นบนเว็บไซต์ Amazon อิตาลี
Acer Aspire 5 A515 จะมาพร้อมหน้ากับจอ 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล แรม 8 GB และ SSD PCIe 512 GB รองรับ Wi-Fi 6 แบบ 2x2 และมีระบบเสียง Acer TrueHarmony
หลัง AMD วางขายซีพียูตระกูล Ryzen 5000 คอร์ Zen 3 ที่ยังใช้กับเมนบอร์ดชิปเซ็ต X470 และ B450 ได้อยู่ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ก็เริ่มมีผลการทดสอบของ Ryzen 9 5900X ซีพียู 12 คอร์ 24 เธรด ราคา 549 เหรียญ (ราว 16,800 บาท) กับ 5950X ที่มี 16 คอร์ 32 เธรด ราคา 799 เหรียญ (ราว 24,500 บาท) ออกมาแล้ว
AMD เผยผลวิเคราะห์ตลาดจาก Mercury Research ว่าส่วนแบ่งทางตลาดซีพียู x86 ของ AMD เพิ่มเป็น 22.4% เพิ่ม 4.4% จากไตรมาสที่แล้ว (QoQ) และ 6.3% แบบปีต่อปี (YoY) นับเป็นส่วนแบ่งตลาดสูงสุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2007
รายละเอียดส่วนแบ่งตลาดแบบแยกประเภท ไม่รวมอุปกรณ์ IoT ซีพียูเดสก์ท็อป x86 เพิ่มเป็น 20.1% เพิ่มขึ้น 0.9% จากไตรมาสก่อน และ 2.1% จากปีที่แล้ว ซีพียู x86 โน้ตบุ๊ก เพิ่มเป็น 20.2% เพิ่มขึ้น 0.3% จากไตรมาสก่อน และ 5.5% จากปีที่แล้ว ทั้งสองรายการเติบโตติดกัน 12 ไตรมาส และส่วนแบ่งตลาดโน้ตบุ๊กทำลายสถิติสูงสุดเดิมที่เคยทำไว้ตอนไตรมาสที่ 2/ 2020 ที่ 19.9%
AMD เปิดตัว Radeon RX ซีรีส์ 6000 "Big Navi" ที่ใช้สถาปัตยกรรม RDNA 2 ตามกำหนดการ
สินค้าแบ่งออกเป็น 3 รุ่นคือ
AMD รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ปี 2020 รายได้เพิ่มขึ้น 56% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อนเป็น 2,801 ล้านดอลลาร์ หากเทียบกับไตรมาส 2/2020 รายได้ก็เพิ่มขึ้น 45% ส่วนกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 390 ล้านดอลลาร์
ซีอีโอ Lisa Su กล่าวว่าความต้องการสินค้าที่แข็งแกร่งทั้งจากพีซี, เกมมิ่ง และศูนย์ข้อมูล ทำให้ AMD ในไตรมาสที่ผ่านมามีรายได้ทำสถิติสูงสุดใหม่ และเป็นไตรมาสที่รายได้เติบโตมากกว่า 25% ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4 แล้ว และบริษัทจะยังรักษาการเติบโตด้วยผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ที่เตรียมออกมาทั้ง Ryzen, Radeon และสินค้า EPYC
AMD ประกาศควบรวมกับ Xilinx ผู้ผลิต FPGA รายใหญ่ด้วยการแลกหุ้น มูลค่า 35,000 ล้านดอลลาร์ กลายเป็นบริษัทที่มีพนักงานรวม 13,000 คน งบวิจัยปีละ 2,700 ล้านดอลลาร์ โดย Lisa Su จะเป็นซีอีโอของทั้งสองฝั่ง และ Victor Peng ซีอีโอของ Xilinx จะดำรงตำแหน่งประธาน (president) รับผิดชอบกิจการ Xilinx ต่อไป
Xilinx มีสินค้าหลักคือ FPGA ที่ใช้ออกแบบวงจรเฉพาะทางลงไปในชิปได้ ทำให้สามารถสร้างฮาร์ดแวร์เฉพาะทางเพื่อเร่งความเร็วประมวลผล นอกจากนี้บริษัทยังมีสินค้าอื่น เช่น วงจรเร่งความเร็ว และโซลูชั่นการ์ดเน็ตเวิร์ค
ก่อนหน้านี้เพิ่งมีคะแนนเบนช์มาร์คของ Ryzen 5 5600X รุ่นเล็กสุดของซีรีส์ 5000 (ในตอนนี้) ออกมาสร้างความฮือฮา ล่าสุดมีเบนช์มาร์คของ Ryzen 9 5950X รุ่นใหญ่ที่สุด (16 คอร์) ออกมาในฐานข้อมูลของ PassMark แล้ว
AMD เปิดตัวซีพียู Ryzen 5000 ที่ใช้แกน Zen 3 ไปแล้ว สินค้าจะเริ่มวางขายจริง 5 พฤศจิกายน ตอนนี้จึงเริ่มมีผลทดสอบเบนช์มาร์คหลุดออกมาบ้างแล้ว
ข้อมูลที่ออกมาคือเบนช์มาร์ค PassMark CPU Mark ที่ซีพียูระดับกลางอย่าง Ryzen 5 5600X ทำคะแนนทดสอบแบบเธร็ดเดียวไว้ที่ 3,495 คะแนน เอาชนะซีพียูของอินเทลได้ทุกตัว แถมทิ้งห่างซีพียูที่แรงที่สุดของอินเทลในตอนนี้คือ Core i9-10900K ที่ทำไว้ 3,175 คะแนน หากเทียบกับซีพียู Ryzen รุ่นก่อนหน้า ตัวที่ดีที่สุดคือ Ryzen 7 3800XT ทำไว้ 2,888 คะแนน
จุดเด่นของซีพียูสาย AMD คือการใช้งานกับซ็อคเก็ต AM4 อย่างยาวนาน และบอร์ดรุ่นเก่าสามารถนำมาใช้กับซีพียูใหม่ได้
การเปิดตัว Ryzen 5000 แกน Zen 3 ก็มีคำถามว่ายังใช้กับบอร์ดเก่าได้หรือไม่ ซึ่งทาง AMD เองก็เคยออกมายืนยันแล้วว่าใช้ได้กับบอร์ดที่เป็นชิปเซ็ต X470 และ B450 ด้วย โดยต้องอัพเดต BIOS ที่จะปล่อยออกมาในช่วงเดือนมกราคม 2021
อย่างไรก็ตาม มีความสับสนในหมู่แบรนด์ผู้ผลิตเมนบอร์ดเช่นกัน โดยมีข่าวว่า ASUS จะไม่ซัพพอร์ตชิปเซ็ต X470 และ B450 แต่ภายหลังบริษัทก็ออกมาแก้ข่าวว่าจะซัพพอร์ตชิปเซ็ตทั้งสองตัวนี้อย่างแน่นอน
แม้จะค่อนข้างเป็นที่แน่ชัดอยู่แล้วว่าการที่ AMD ออกซีพียูแกน Zen 3 เป็นรุ่น Ryzen 5000 แทนที่จะเป็น Ryzen 4000 ก็เพื่อลดความสับสนและ (น่าจะ) ทำให้สอดคล้องกับซีพียูบนโน้ตบุ๊ก
ล่าสุด AMD ยืนยันแล้วว่าต้องการลดความสับสนกับ Ryzen 4000 Mobile ที่ค่อนข้างเป็นที่รู้จักจริง ๆ แต่ก็ไม่ได้ให้ข้อมูลต่อว่ารุ่นต่อไปจะใช้ชื่อ Ryzen 5000 Mobile เพื่อความสอดคล้องกันทั้ง 2 ไลน์เลยหรือไม่
WSJ รายงานข่าววงในว่า AMD กำลังเจรจาซื้อกิจการ Xilinx ผู้พัฒนาชิป FPGA แบบเขียนโปรแกรมได้ ที่ถูกใช้ในอุปกรณ์เครือข่าย
มูลค่าของดีลนี้เบื้องต้นอยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นล้านเหรียญและอาจเจรจากันเสร็จสิ้นอย่างเร็วที่สุดสัปดาห์หน้า แต่ทุกอย่างก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ซึ่งหากดีลนี้ปิดได้จริง AMD จะเข้ามาแข่งกับ Intel โดยเฉพาะชิปสื่อสารที่กำลังมีแนวโน้มเติบโตเร็ว
ที่มา - WSJ
AMD เปิดตัวซีพียูตระกูลเดสก์ทอป Ryzen 5000 ที่เปลี่ยนคอร์ภายในเป็นสถาปัตยกรรม Zen 3 ปรับปรุงอัตราการประมวลคำสั่งต่อสัญญาณนาฬิกา (instruction per clock - IPC) เพิ่มขึ้นกว่า Zen 2 มา 19% และสถาปัตยกรรมแคชที่ Zen 2 เคยแบ่งส่วนทีละ 16MB ใน Zen 3 ปรับปรุงให้เข้าถึงแคชมากขึ้นเป็น 32MB ทำให้ซอฟต์แวร์ที่รันคอร์เดียวทำงานได้ประสิทธิภาพดีขึ้นจากความสามารถในการใช้แคชได้เต็มที่
ในการเปิดตัวครั้งนี้ AMD เปิดตัวพร้อมกัน 4 รุ่น วางขายวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ ได้แก่
VMware ออกอัพเดต vSphere รุ่น 7.0U1 ที่ขยายขนาด VM ที่รองรับสูงสุดไปถึงซีพียู 768 คอร์ แรม 24TB และจำนวนเครื่องในคลัสเตอร์สูงสุดเป็น 96 เครื่อง แต่ฟีเจอร์หนึ่งที่เพิ่มมาคือการรองรับชุดคำสั่ง SEV-ES ของซีพียู AMD EPYC ทำให้สามารถเข้ารหัสแรมใน VM ได้
ชุดคำสั่ง SEV-ES ใส่มาใน AMD EPYC 2 และก่อนหน้านี้มีการใช้งานในศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น Cloudflare และ Confidential VM ของ Google Cloud การที่ VMware รองรับชุดคำสั่งนี้ทำให้องค์กรที่ยังสร้างศูนย์ข้อมูลของตัวเองสามารถเข้ารหัสแรมได้ด้วย
AMD เปิดตัวซีพียู Ryzen Mobile และ Athlon Mobile แยกเฉพาะสำหรับโน้ตบุ๊กกลุ่ม Chromebook โดยใช้รหัส C ห้อยท้ายให้เห็นความแตกต่างจากรุ่นปกติ
ซีพียูที่เปิดตัวมีทั้งหมด 5 รุ่นย่อย เลขเวอร์ชันยังเป็นรหัส 3000 แปลว่ายังใช้แกน Zen 1 ชุดเดียวกับ Ryzen 3000 ที่เปิดตัวในปี 2019 (ยังไม่ใช่ Zen 2 ของปี 2020 ที่รหัส 4000) ทุกตัวมีค่า TDP 15 วัตต์เท่ากันทั้งหมด
ตอนนี้เรายังไม่รู้อะไรมากนักเกี่ยวกับ AMD Radeon RX 6000 Series นอกจากการใช้สถาปัตยกรรม RDNA 2, รองรับ ray tracing และภาพตัวการ์ดที่ AMD นำมาโชว์ ก่อนงานแถลงข่าว 28 ตุลาคม
แต่จากแพตช์ล่าสุดในไดรเวอร์จีพียูโอเพนซอร์ส ก็พบข้อมูลชัดเจนว่า Radeon RX 6000 (โค้ดเนมในไฟล์คือ Sienna Cichlid) มีตัวถอดรหัสไฟล์วิดีโอแบบ AV1 เช่นเดียวกับคู่แข่ง GeForce RTX ซีรีส์ 30 ที่เปิดตัวไปแล้ว
AMD โชว์ภาพแรกของจีพียู Radeon RX 6000 สถาปัตยกรรม RDNA 2 ที่จะเปิดตัววันที่ 28 ตุลาคมนี้
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลใดๆ ยกเว้นระบบระบายอากาศแบบใหม่ที่ใช้พัดลม 3 ตัว และมีตัว R โลโก้ของ Radeon อยู่ตรงกลางของพัดลมเท่านั้น
AMD ยังนำโมเดลของ Radeon RX 6000 ตัวนี้ไปโชว์ในเกม Fortnite ด้วย
ที่มา - @Radeon
Lenovo ร่วมกับ AMD เปิดตัวโน้ตบุ๊กเกมมิ่ง Lenovo Legion 5 รุ่นใหม่ มาพร้อมซีพียู Ryzen 4000 รหัส H ในงานแถลงข่าวออนไลน์ Lenovo Legion 2020 Episode 2 ช่วงเช้าวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา
Lenovo Legion 5 หน้าจอ IPS LCD ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด Full HD รีเฟรชเรต 144Hz แสดงผลสีมาตรฐาน sRGB 100% ความสว่างสูงสุด 300nits รองรับ HDR แบบ Dolby Vision สเปกภายในมีสองรุ่น ดังนี้