ต่อจากข่าว NVIDIA ลดราคา GeForce RTX 2060 เหลือ 299 ดอลลาร์ รับมือ Radeon 5600 XT ฝั่ง AMD ก็โต้กลับสงครามราคา ด้วยการอัพเดตเฟิร์มแวร์ (vBIOS) ของ Radeon 5600 XT เพิ่มสัญญาณนาฬิกาขึ้นไปอีก เพื่อให้ประสิทธิภาพโดยรวมสูงขึ้น
เดิมที Radeon 5600 XT มีคล็อคพื้นฐาน 1.375 GHz และคล็อคแบบบูสต์ 1.560 GHZ แต่ในเฟิร์มแวร์ใหม่ เพิ่มคล็อคขึ้นเป็น 1.615/1.750 GHz ซึ่งน่าจะช่วยให้ประสิทธิภาพดีขึ้นราว 10-15%
เมื่อสองสัปดาห์ก่อน AMD เพิ่งเปิดตัวหน่วยประมวลผล (APU) Ryzen Mobile รุ่นที่สามสำหรับโน้ตบุ๊ก (แต่ใช้เลขรุ่น 4000) ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ Ryzen Mobile 4000 ยังใช้จีพียูสถาปัตยกรรม Vega ตัวเก่า แทนที่จะใช้สถาปัตยกรรม RDNA ตัวใหม่ล่าสุด
เรื่องนี้ Robert Hallock ผู้บริหารของ AMD อธิบายผ่านทวิตเตอร์ว่าเป็นเพราะตารางเวลาออกสินค้าไม่ตรงกัน (the schedules just didn't line up) แต่เขาก็ให้ข้อมูลเพิ่มด้วยว่า Vega ของ 3rd Gen เร็วกว่า Vega ของ 2nd Gen ถึง 59%
วันนี้เราเห็น AMD เปิดตัวซีพียู Ryzen 4000 Mobile สำหรับโน้ตบุ๊ก ก็มีพันธมิตรคือ Dell เปิดตัวเกมมิ่งโน้ตบุ๊กที่ใช้ซีพียู-จีพียูจาก AMD ทันที
โน้ตบุ๊กตัวนี้คือ Dell G5 15 SE (Special Edition) เป็นโน้ตบุ๊กเกมมิ่ง G Series ขนาดหน้าจอ 15.6" เลือกใส่จอ 144Hz พร้อมเทคโนโลยี FreeSync ได้
ซีพียูเป็น AMD Ryzen 4000 รหัส H, จีพียูเป็น Radeon RX 5600M ตัวใหม่ที่เพิ่งเปิดตัววันนี้, ใส่สตอเรจได้แบบ 2 ไดรฟ์ (SSD 1TB / HDD 2TB), ระบบเสียง 3D Audio พร้อมชุดซอฟต์แวร์ Alienware Command Center สำหรับปรับแต่งเครื่อง
ราคาเริ่มต้น 799 ดอลลาร์ เริ่มขายเดือนเมษายน 2020
ที่ผ่านมาเราเห็น AMD ออกจีพียูสถาปัตยกรรม Navi มาสองตัวคือ Radeon RX 5700/5700XT ที่เน้นตลาดเกมมิ่งระดับกลาง และ Radeon RX 5500/5500XT ที่ลดหลั่นสมรรถนะลงมา
วันนี้ AMD เปิดตัว Radeon RX 5600/5600XT ที่อยู่ตรงกลางระหว่าง 5700 และ 5500 โดยมีสเปกดังนี้
AMD โชว์ข้อมูลของ Threadripper 3990X รุ่นท็อปสุด มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว วันนี้ได้ฤกษ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน CES 2020
ข้อมูลของ AMD Threadripper 3990X เป็นไปตามที่ประกาศไว้
ตามความคาดหมาย AMD เปิดตัวซีพียูซีรีส์ใหม่ Ryzen 4000 Mobile สำหรับโน้ตบุ๊กแล้ว (รหัสซีรีส์โน้ตบุ๊กของ Ryzen ต่างกับเดสก์ท็อป เพราะใช้ Ryzen 3000 Mobile ไปแล้ว)
การเปลี่ยนแปลงสำคัญของ Ryzen 4000 Mobile คือเปลี่ยนมาใช้แกน Zen 2 เช่นเดียวกับซีพียูฝั่งเดสก์ท็อปซีรีส์ 3000 จึงมีสมรรถนะเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก
Lenovo เปิดตัวเกมมิ่งโน้ตบุ๊กรุ่น Legion Y740s ในงาน CES 2020 เป็นเกมมิ่งโน้ตบุ๊กที่หนาเพียง 0.58 นิ้ว (1.4 เซนติเมตร) หนักแค่ 1.7 กิโลกรัม ในเครื่องไม่มี GPU ต้องต่อกล่องกราฟิกการ์ดภายนอก (eGPU) ผ่านพอร์ต Thunderbolt 3 เท่านั้น โดยซื้อกล่องกราฟิกการ์ดภายนอก Legion BoostStation เพิ่มได้
ตัวเครื่องของ Lenovo Legion Y740s เป็นอะลูมิเนียมสีดำ ราคาเริ่มต้น 1,100 ดอลลาร์ หรือราว 33,000 บาท สเปกมีดังนี้:
Forrest Norrod ผู้บริหารฝั่งเซิร์ฟเวอร์ของ AMD ไปพูดที่งานของธนาคาร Barclays พูดถึงการแข่งขันระหว่าง AMD กับอินเทล ที่รอบปีนี้ AMD ทำผลงานได้ดีมาก
เขาบอกว่าซีพียูฝั่งเซิร์ฟเวอร์ของ AMD แพ้อินเทลมาโดยตลอด โดยเฉพาะงานประมวลผลเธร็ดเดียวหรือเธร็ดน้อยๆ ปัญหานี้ถูกแก้ไขใน EPYC Rome ที่ปรับปรุงเรื่อง instruction per clock (IPC) จนทำให้ประสิทธิภาพต่อเธร็ดของ Rome ดีกว่าแล้ว
เมื่อบวกกับแต้มต่อของ AMD ในเรื่องกระบวนการผลิตที่เริ่มเหนือกว่าอินเทล (7 นาโนเมตร vs 10 นาโนเมตร) ตอนแรก AMD มองว่าทำได้เสมอกับอินเทลก็ดีใจแล้ว แต่ไม่เคยคิดฝันเลยว่าจะสามารถแซงหน้าอินเทลได้ (We didn't dream that we would be ahead)
AMD เปิดตัวจีพียู Radeon RX 5500 XT ซึ่งเป็นรุ่นย่อยใหม่ของ Radeon RX 5500 ที่เปิดตัวเมื่อเดือนตุลาคม
ความแตกต่างระหว่าง RX 5500 กับ RX 5500 XT ต้องบอกว่าแทบไม่มี เพราะสเปกเหมือนกันทุกประการ ตั้งแต่จำนวนคอร์จีพียู 22 คอร์เท่ากัน, สัญญาณนาฬิกาสูงสุดเท่ากันที่ 1845 MHz, สมรรถนะสูงสุดเท่ากันที่ 5.2 TFLOP
จุดต่างคือ RX 5500 XT มีคล็อคแบบที่ AMD เรียกว่า "Game Clock" (คล็อคเฉลี่ยขณะเล่นเกมทั่วไปในท้องตลาด) สูงกว่าเล็กน้อย (1717 MHz vs 1670 MHz) และมีให้เลือก 2 รุ่นย่อยคือแรม 4GB/8GB (RX 5500 ตัวธรรมดามีแต่ 4GB)
ปี 2019 ถือเป็นปีที่ AMD ทำผลงานได้ดีเยี่ยม ทั้งตลาดซีพียูสำหรับคอนซูเมอร์ (Ryzen/Threadripper) และซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ (Epyc)
Ruth Cotter ผู้บริหารของ AMD ไปพูดที่งาน UBS Global Tech Conference โดยเผยว่าตอนนี้ AMD มีส่วนแบ่งตลาดซีพียูเซิร์ฟเวอร์ประมาณ 7% และต้องการดันส่วนแบ่งตลาดให้ถึง 10% ภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2020
ในอดีตยุค Opteron รุ่งเรือง AMD เคยมีส่วนแบ่งตลาดเซิร์ฟเวอร์สูงถึง 26% ช่วงราวปี 2005-2006 แต่หลังจากนั้นก็มีส่วนแบ่งลดลงเรื่อยๆ ก่อนจะเริ่มกลับมาสร้างโมเมนตัมได้อีกครั้งในยุคนี้
จากข่าวก่อนหน้านี้ว่าอินเทลยังไม่สามารถแก้ปัญหาซีพียูขาดตลาดได้ จนทำให้ผู้ผลิตพีซีเริ่มได้รับผลกระทบ เพราะไม่มีซีพียูครบตามที่ต้องการ
Tom Sweet ซีเอฟโอของ Dell ให้สัมภาษณ์กับ Yahoo Finance แล้วว่าทางออกของ Dell คือหันไปใช้ซีพียูจาก AMD แทน เขาบอกว่า Dell มีใช้งานซีพียู AMD อยู่บ้างแล้ว และกำลังทดลองใช้งานซีพียูจาก AMD ให้มากขึ้น
Sweet ยังประเมินว่าสถานการณ์ซีพียูอินเทลขาดตลาดน่าจะยังมีผลต่อเนื่องไปจนถึงครึ่งหลังของปี 2020 แล้วจึงเริ่มคลี่คลาย
AMD ยืนยันข่าวของซีพียู Threadripper 3990X ที่น่าจะเป็นตัวท็อปสุดของ Threadripper ซีรีส์ 3 โดยยังมีข้อมูลคร่าวๆ แค่ว่า
AMD Threadripper รุ่นที่สาม 3970X และ 3960X วางขายแล้ววันนี้ (ตามเวลาสหรัฐ) และเริ่มมีเว็บไซต์หลายแห่งเผยแพร่ผลรีวิวแล้ว
AnandTech นำ Threadripper ทั้งสองตัวคือ 3970X (32 คอร์, 1999 ดอลลาร์) และ 3960X (24 คอร์, 1399 ดอลลาร์) มารันเบนช์มาร์คเทียบกับ Intel Core i9-10980XE (18 คอร์, 979 ดอลลาร์) ซึ่งถือเป็นซีพียูเดสก์ท็อปที่แรงที่สุดของอินเทลในปัจจุบัน และ Xeon W-3175X (28 คอร์, 2999 ดอลลาร์) ซึ่งมีจำนวนคอร์ใกล้เคียงกับ Threadripper มากที่สุด (จะเห็นว่าอินเทลไม่มีซีพียูที่เป็นคู่แข่งตรงๆ ของ Threadripper จะมีแต่ตัวที่ถูกกว่าไปเลย กับตัวที่แพงกว่าไปเลย)
ไมโครซอฟท์ประเทศไทย ประกาศวางขาย Surface Pro 7 และ Surface Laptop 3 ในประเทศไทย โดยกรณีของ Surface Laptop 3 นำมาขายทั้งรุ่น 13.5 นิ้ว และ 15 นิ้ว โดยรุ่น 15 นิ้วนำมาขายทั้งรุ่นที่เป็น AMD (คอนซูเมอร์) และรุ่นอินเทล (ธุรกิจ)
สินค้าทั้งหมดเปิดให้จองตามร้านค้าปลีกและตัวแทนจำหน่ายต่างๆ แล้ว ของจะเริ่มขายจริงวันที่ 9 ธันวาคมนี้
นอกจาก Ryzen 9 3950X ตัวแรงสุดของซีพียูเดสก์ท็อปคอนซูเมอร์ AMD ยังเปิดตัว Threadripper Gen 3 ซีพียูเดสก์ท็อปเกรดโปร รุ่นใหม่ประจำปี 2019 ที่อัพเกรดมาใช้สถาปัตยกรรม Zen 2 เรียบร้อยแล้ว
Threadripper Gen 3 ที่เปิดตัวรอบนี้ มีค่า TDP 280 วัตต์เท่ากัน แยกเป็น 2 รุ่นคือ
AMD ประกาศวางขาย Ryzen 9 3950X รุ่น 16 คอร์ ที่เปิดตัวมาตั้งแต่เดือน มิ.ย. โดยถือเป็นตัวท็อปสุดของซีพียูเดสก์ท็อปเกรดคอนซูเมอร์ของ AMD ในปีนี้
สเปกคร่าวๆ ของ AMD Ryzen 9 3950X คือ 16 คอร์ 32 เธร็ด, คล็อค 3.7/4.2GHz, แคชรวม 72MB, อัตรา TDP 105W, ราคาขายปลีกตัวละ 749 ดอลลาร์ ของเริ่มส่งมอบ 25 พฤศจิกายน แต่ก็เปิดให้สั่งซื้อล่วงหน้าได้แล้ว
เบนช์มาร์คของ AMD เองระบุว่าประสิทธิภาพของ Ryzen 9 3950X ดีขึ้นจากซีพียูรุ่นก่อนหน้านี้ 22% และเทียบกับคู่แข่งคือ Core i9-9960X ที่เป็นซีพียู 16 คอร์ตัวแรงที่สุดของอินเทลแล้ว คะแนนของ AMD เหนือกว่า
AMD รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ปี 2019 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 9% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 1,801 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิ 120 ล้านดอลลาร์
รายได้จากกลุ่ม Computing and Graphics ที่เป็นรายได้หลักของบริษัท เพิ่มขึ้น 36% เป็น 1,276 ล้านดอลลาร์ จากยอดขายสินค้าตระกูล Ryzen ที่เพิ่มขึ้น ส่วนกลุ่มธุรกิจ Enterprise รายได้ลดลง 27% เป็น 525 ล้านดอลลาร์ โดยมียอดขาย EPYC จะเพิ่มขึ้น แต่กลุ่ม Semi-Custom รายได้ลดลงตามปัจจัยฤดูกาล
ซีอีโอ Lisa Su กล่าวว่าได้ไตรมาสนี้ AMD มีรายได้ในไตรมาสสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2005 และมีอัตรากำไรสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2012 ทั้งจากซีพียู Ryzen 7 นาโนเมตร, Radeon และ EPYC ทั้งหมดเป็นผลจากพอร์ตสินค้าบริษัทที่แข็งแกร่ง และการตอบรับจากลูกค้า
เราเพิ่งเห็นซีพียู Ryzen ซีรีส์ 3000 ที่ใช้สถาปัตยกรรม Zen 2 วางขายในช่วงกลางปีนี้ แต่ก่อนหน้านี้ AMD ก็เคยประกาศว่าเริ่มพัฒนา Zen 3 และ Zen 4 แล้ว
ล่าสุดในงานสัมมนา Horizon Executive Summit ของ AMD ที่ประเทศอิตาลี ผู้บริหารของ AMD ก็ให้ข้อมูลว่าสถานะของ Zen 3 คือพัฒนาเสร็จแล้ว (design complete) และเข้าสู่กระบวนการทดสอบก่อนเริ่มผลิตจริง ส่วนสถาปัตยกรรมใหม่ที่กำลังออกแบบอยู่ ก็เริ่มงานของ Zen 5 แล้วเช่นกัน
ตามแผนของ AMD จะเปิดตัวสถาปัตยกรรม Zen ใหม่ทุกปี (หากไม่มีอะไรเลื่อน) โดย Zen 3 มีกำหนดออกปีหน้า 2020, Zen 4 ออกปี 2021 และ Zen 5 คือปี 2022
ถ้ายังจำกันได้ ข่าวช็อควงการซีพียูในปี 2018 คือ อินเทลเปิดตัวซีพียู Core 8th Gen รุ่นที่ใช้จีพียู AMD Vega หรือที่รู้จักกันในชื่อ Kaby Lake-G ด้วยเหตุผลว่าจีพียูของอินเทล (ในตอนนั้น) ยังมีสมรรถนะไม่สูงพอในการแข่งขันกับจีพียูค่ายอื่นๆ สำหรับโน้ตบุ๊กเกมมิ่ง (แม้ไม่ได้พูดชื่อออกมาแต่ทุกคนก็รู้ว่าหมายถึง GeForce)
AMD ปี 2019 ยังเดินหน้าทยอยปล่อยหมัดอย่างต่อเนื่องทุกเดือน ล่าสุดเปิดตัวจีพียูใหม่ Radeon RX 5500 ซึ่งถือเป็นจีพียูรุ่นที่สองในตระกูล "Navi" หลังออก Radeon RX 5700 มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน
ความสามารถของ Radeon RX 5500 ก็ตามชื่อรุ่นคือ ลดหลั่นลงมาจาก Radeon 5700 ในราคาที่ถูกลง (แต่ยังอยู่บนสถาปัตยกรรมตัวใหม่ RDNA และใช้กระบวนการผลิต 7 นาโนเมตรเหมือนกัน) การเปลี่ยนแปลงหลักคือลดจำนวนคอร์ compute unit (CU) ลงเหลือ 22 CU (Radeon RX 5700 มี 36 CU)
ที่งาน Intel Singapore Open House ที่ผ่านมา Hiral Gheewala ผู้จัดการฝ่ายการตลาดจากอินเทลบรรยายถึงการวัดประสิทธิภาพซีพียู ที่ช่วงหลังเริ่มมีรายงานหลายชิ้นระบุแสดงให้เห็นว่าซีพียูเอเอ็มดีรุ่นใหม่ๆ สามารถเอาชนะซีพียูอินเทลในระดับเดียวกันได้ในหลายกรณี โดยย้ำว่าการวัดประสิทธิภาพซีพียูนั้นต้องสะท้อนการใช้งานจริง
ในแง่สถาปัตยกรรมแล้ว Hiral ระบุว่าสถาปัตยกรรมของอินเทลสามารถดึงข้อมูลจากซีพียูไปยังแรมได้ในเวลาสั้นกว่า โดยอินเทลใช้เวลาเพียง 62ns ขณะที่เอเอ็มดีใช้เวลา 75ns ยิ่งเป็นการส่งข้อมูลระหว่างคอร์ อินเทลใช้เวลาเพียง 44ns ขณะที่เอเอ็มดีใช้เวลา 78ns เงื่อนไขเช่นนี้ทำให้เอเอ็มดีได้เปรียบในการทดสอบที่มีข้อมูลขนาดเล็กแต่ประมวลผลสูง เช่น Cinebench
ไม่กี่วันก่อนเอเอ็มดีเปิดตัว Ryzen Pro 3000 สำหรับผู้ใช้ระดับองค์กร ซึ่งโดยทั่วไปจะเพิ่มฟีเจอร์การจัดการระยะไกล แต่ในรุ่นนี้เอเอ็มดีเพิ่มฟีเจอร์ AMD Memory Guard ที่เป็นฟีเจอร์เข้ารหัสหน่วยความจำเข้ามาด้วย
ฟีเจอร์ AMD Memory Guard เคยเป็นฟีเจอร์เฉพาะสำหรับซีพียูตระกูลเซิร์ฟเวอร์ EPYC โดยใช้ชื่อ AMD Secure Memory Encryption โดยฟีเจอร์นี้จะป้องกันเครื่องจากการโจมตี cold boot attack ที่คนโจมตีเข้าถึงตัวเครื่องได้ และบูตเครื่องใหม่จากระบบปฎิบัติการของตัวเองเพื่อดูดข้อมูลในแรมออกไป ที่ผ่านมาการป้องกันการโจมตีเช่นนี้ต้องอาศัยการปิดเครื่องอย่างถูกต้องเพื่อให้ระบบปฎิบัติการล้างข้อมูลในแรมออกไปก่อนดับเครื่อง
งานแถลงข่าว Surface ของไมโครซอฟท์เมื่อคืนนี้มีประเด็นน่าสนใจหลายอย่าง เช่น โน้ตบุ๊ก Surface Laptop 3 ที่ออกรุ่นหน้าจอ 15" เพิ่มเข้ามา โดยรุ่น 15" ใช้ซีพียู Ryzen รุ่นพิเศษจาก AMD
ชื่ออย่างเป็นทางการของชิป APU ตัวนี้คือ AMD Ryzen Microsoft Surface Edition ที่แบ่งออกเป็น 2 รุ่นย่อยคือ Ryzen 7 3780U และ Ryzen 5 3580U (แยกแยะได้ง่ายคือตัวเลขท้าย 80)
เราเห็น Ryzen ซีรีส์ 3000 วางขายในตลาดคอนซูเมอร์มาได้สักระยะ ตอนนี้ได้เวลาของ Ryzen Pro ซีรีส์ 3000 สำหรับลูกค้าฝั่งธุรกิจกันบ้าง ซึ่งก็แน่นอนว่าใช้สถาปัตยกรรม Zen 2 ตัวเดียวกับ Ryzen 3000 ฝั่งคอนซูเมอร์ทุกประการ แต่เพิ่มฟีเจอร์สำหรับลูกค้าฝั่งธุรกิจ เช่น การรักษาความปลอดภัยและการจัดการจากระยะไกล เข้ามา
AMD เปิดตัว Ryzen Pro 3000 ที่เป็นซีพียูสำหรับเดสก์ท็อปมาทั้งหมด 7 รุ่น แบ่งเป็น Ryzen Pro กลุ่มที่ไม่มีจีพียูมาด้วย 3 รุ่น ทุกตัวเป็น TDP 65 วัตต์
เดือนที่แล้ว AMD เปิดตัวซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ EPYC Gen 2 โดยซีพียูตัวที่แรงที่สุดคือ EPYC 7742 มาพร้อม 64 คอร์ 128 เธร็ด, คล็อค 2.25GHz อัดไปได้ถึง 3.4GHz อัตราการใช้พลังงาน TDP 225 วัตต์
ล่าสุด AMD เปิดตัว EPYC ที่แรงกว่านั้นอีกชั้นคือ EPYC 7H12 ที่ยังเป็น 64 คอร์ 128 เธร็ดเท่าเดิม แต่เพิ่มคล็อคฐานให้สูงขึ้นเป็น 2.6 (คล็อคสูงสุดลดลงเหลือ 3.3GHz) และเพิ่ม TDP เป็น 280 วัตต์
AMD ระบุว่า EPYC 7H12 ออกแบบมาสำหรับงานประมวลผลสมรรถนะสูง (HPC) เท่านั้น และต้องใช้ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวถึงจะเอาอยู่ ผลคือ EPYC 7H12 สามารถให้ประสิทธิภาพดีขึ้นกว่า EPYC 7742 อีก 11% (วัดจากเบนช์มาร์ค LINPACK)