ในงาน CES 2017 นั้น AMD ได้ประกาศว่าจะสนับสนุนซ็อคเก็ต AM4 ไปจนถึงปี 2020 ซึ่งก็ยังเป็นเช่นนั้นอยู่ แต่มีการประกาศออกมาว่า ถ้าจะใช้ซีพียู Ryzen รุ่นหน้าที่ใช้สถาปัตยกรรม Zen 3 หรือ Ryzen 4000 Series นั้น จะต้องใช้กับเมนบอร์ดชิปเซ็ตซีรี่ย์ 500 ขึ้นไป ได้แก่ X570 และ B550 เท่านั้น ทำให้ทาง AMD ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากอยู่พอสมควรในเรื่องนี้
AMD มีจีพียูกลุ่มเวิร์คสเตชันแบรนด์ Radeon Pro (เป็นคู่แข่งกับ Quadro) สำหรับตลาดมืออาชีพเฉพาะทางในหลายระดับราคา ล่าสุด AMD เปิดตัว Radeon Pro VII มาทำตลาดเพิ่มเติม
Radeon Pro VII เป็นจีพียูเวอร์ชันอัพเกรดของ Radeon VII ที่เปิดตัวเมื่อเดือนมกราคม 2019 โดยยังเป็นจีพียูสถาปัตยกรรม Vega แบบ 7 นาโนเมตร (โค้ดเนม Vega20) ตัวเดียวกัน มีจำนวนหน่วยประมวลผล 3840 ตัว และแรม HBM2 16GB เท่ากัน แต่เพิ่มสมรรถนะการคำนวณทศนิยมแบบ double precision (FP64) จากเดิม 3.5 TFLOPS มาเป็น 6.5 TFLOPs ถือว่าเยอะที่สุดในบรรดา Radeon Pro ทุกตัวตอนนี้ (ซึ่งรวมถึง Radeon Pro ที่ใช้สถาปัตยกรรม RDNA ที่ใหม่กว่าด้วย)
ASUS เปิดตัวแล็บท็อปตระกูล VivoBook ใหม่ที่ใช้ Ryzen 4000 Mobile ทั้ง 2 รุ่นย่อยคือ 14 นิ้ว (D433/D413) และ 15.6 นิ้ว (D533) หน้าจอ IPS ขอบจอบางความละเอียด FHD ซีพียูมีให้เลือก 2 ตัวเลือกคือ Ryzen 5 4500U (6C/6T) และ Ryzen 7 4700U (8C/8T) แรม DDR4 8GB หน่วยความจำ M.2 PCIe ขนาด 512GB พร้อมช่องอัพเกรดอีก 1 ช่อง (ไม่ได้ระบุว่า 2.5 นิ้วหรือ M.2)
ตัวคีย์บอร์ดมีไฟ backlight สีขาว รองรับ Wi-Fi 6 ลำโพง Harman/Kardon น้ำหนักราว ๆ 1.4 กก. มาพร้อม Windows 10 Home และ Office Home and Student 2019 รุ่นย่อยและราคาแบ่งเป็นดังนี้
หลัง Intel เปิดตัวซีพียูเดสก์ท็อป 10th Gen ไป ทำให้ปัจจุบันซีพียูในท้องตลาดมีมากมายหลายรุ่นไปหมด ตัวเลขก็เยอะขึ้นจนอาจทำให้ผู้บริโภคปวดหัวกันได้ วันนี้ผู้เขียนจึงอยากนำเสนอการเปรียบเทียบสเปกเบื้องต้นซีพียูของทั้งสองค่าย ในระดับต่างๆ ที่ใกล้เคียงกัน เพื่อช่วยผู้บริโภคอีกแรงในการเลือกซื้อซีพียูที่มีขายในท้องตลาดปัจจุบัน
เมื่อปลายเดือนที่แล้ว AMD เปิดตัว Ryzen 3 เดสก์ท็อป 3100 และ 3300X ซึ่งเป็นซีพียูแกน Zen 2 ระดับล่างสุด (ราคา 99/129 ดอลลาร์) ล่าสุดมีผลการทดสอบเบนช์มาร์คของ Ryzen 3 3100 และ 3300X ออกมาในสื่อต่างประเทศแล้ว
เว็บไซต์ AnandTech รีวิว Ryzen 3 3100 และ 3300X โดยนำไปเทียบกับ Core i7-7700K (7th Gen) ซีพียูตัวท็อปของอินเทลในปี 2017 (เลือกเทียบกับตัวนี้เพราะเป็น 4 คอร์ 8 เธร็ดเท่ากันกับ Ryzen 3 โดยถือเป็น Core i7 รุ่นสุดท้ายที่เป็นควอดคอร์)
จุดเด่นอีกประการของซีพียูฝั่ง AMD คือการใช้ซ็อคเก็ต AM4 มาต่อเนื่องยาวนาน (อยู่มาตั้งแต่สถาปัตยกรรม Excavator ที่ออกในปี 2015) ล่าสุด AMD ออกมาการันตีว่า Ryzen รุ่นหน้าที่จะใช้สถาปัตยกรรม Zen 3 (น่าจะนับเป็น Ryzen ซีรีส์ 4000 บนเดสก์ท็อป) ก็จะยังใช้ AM4 ต่อไป
แต่ถึงแม้ตัวซ็อคเก็ตยังเป็น AM4 เหมือนเดิม แต่ Ryzen แกน Zen 3 จะต้องใช้กับชิปเซ็ตรุ่นใหม่คือ X570 และ B550 เท่านั้น (เท่ากับว่ามีบอร์ดเก่ากว่านั้นก็ต้องเปลี่ยนบอร์ดอยู่ดี ส่วนคนที่มีบอร์ด X570/B550 อยู่แล้วต้องอัพเดต BIOS)
AMD ระบุว่าไม่มีแผนรองรับ Ryzen แกน Zen 3 กับชิปเซ็ตที่เก่ากว่าซีรีส์ 500 ลงไป ด้วยเหตุผลว่าชิปหน่วยความจำแฟลชที่เก็บข้อมูล BIOS มีพื้นที่จำกัด และไม่สามารถหาพื้นที่มาใช้เก็บค่าคอนฟิกเหล่านี้ได้
AMD เปิดตัวซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กสายธุรกิจ AMD Ryzen PRO 4000 Series ตามหลังซีพียู Ryzen 4000 สำหรับโน้ตบุ๊กคอนซูเมอร์ที่เปิดตัวเมื่อต้นปี 2020
ซีพียูทั้งหมดที่เปิดตัวมี 3 รุ่นย่อย (Ryzen 3, 5, 7) เป็นรุ่น TDP 15 วัตต์ทั้งหมด ใช้แกน Zen 2 และการผลิตระดับ 7 นาโนเมตร เหมือนกับรุ่นคอนซูเมอร์ และมีจีพียู Radeon Graphic ในตัว สิ่งที่เพิ่มเข้ามาจากรุ่นคอนซูเมอร์คือฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย (เช่น AMD Memory Guard ป้องกันการเข้าถึงหน่วยความจำ), ฟีเจอร์ด้านการจัดการจากระยะไกล และการันตีว่าจะมีสินค้าขายต่อเนื่อง 24 เดือน
AMD รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2020 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 40% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 1,786 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิ 162 ล้านดอลลาร์
ซีอีโอ Lisa Su กล่าวว่าการเติบโตและกำไรที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากสินค้าตระกูล Ryzen และสินค้ากลุ่ม EPYC ขณะที่มองไปข้างหน้า แม้ระยะสั้นจะไม่ชัดเจนนัก แต่ด้วยฐานะการเงินที่ดี และพอร์ตโฟลิโอสินค้าที่กระจายไปในหลายหมวด ทำให้แผนในระยะยาวของบริษัทไม่มีการเปลี่ยนแปลง
กลุ่มธุรกิจที่เป็นรายได้หลักอย่าง Computing and Graphics (Ryzen, Radeon) รายได้เพิ่มถึง 73% เป็น 1,438 ล้านดอลลาร์ ขณะที่กลุ่ม Enterprise ลดลง 21% เป็น 348 ล้านดอลลาร์ จากยอดขาย Semi-Custom ที่ลดลง แม้จะได้ EPYC มาช่วย
AMD เปิดตัวซีพียูตระกูล Ryzen 4000 ที่ใช้แกน Zen 2 สำหรับโน้ตบุ๊กเกมมิ่งออกมาเพื่อท้าชน Intel โดยเฉพาะหลังจากที่ฝั่งเดสก์ท็อปแซงหน้าไปแล้ว
ถึงแม้คะแนนรีวิวของซีพียู Ryzen 4000 ดังกล่าวจะออกมาค่อนข้างดีโดยเฉพาะการทำมัลติเธรด ทว่า Frank Azor หัวหน้าฝ่ายสถาปนิกโซลูชันเกมมิ่งของ AMD ก็ออกมาดับฝันแฟน ๆ Ryzen ว่าคงไม่ให้เห็น Ryzen 4000 คู่กับการ์ดจอตัวท็อปของ NVIDIA อย่าง RTX 2070 Max-Q และ RTX 2080 Max-Q แน่นอนอย่างน้อยก็ในอีกซักระยะหนึ่ง (สูงสุดตอนนี้คือ RTX 2060 Max-Q อย่างบน Zephyrus G14) และเมื่อถูกถามว่าทำไม Azor ก็บอกว่าให้ไปถาม OEMs เอาเอง (เพื่อสื่อว่าเป็นการตัดสินใจของ OEMs ไม่เกี่ยวกับ AMD)
AMD เปิดตัวซีพียู Ryzen ซีรีส์ 3000 ที่ใช้แกน Zen 2 มาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2019 โดยเริ่มจากซีพียูระดับบน Ryzen 9, Ryzen 7 และซีพียูระดับกลาง Ryzen 5
เวลาผ่านมาเกือบปี ตอนนี้จึงได้เวลาของซีพียูราคาถูก Ryzen 3 ซีรีส์ 3000 ที่ใช้แกน Zen 2 (ก่อนหน้านี้มี Ryzen 3 ซีรีส์ 3000 แต่ APU ที่ใช้เป็นแกน Zen+)
Ryzen 3 แกน Zen 2 มีด้วยกัน 2 ตัวคือ
XMG แบรนด์เกมมิ่งสัญชาติเยอรมนีโพสต์กระทู้บน Reddit เกี่ยวกับ XMG Apex 15 เกมมิ่งแล็บท็อปตัวใหม่ ซึ่งที่น่าสนใจคือ XMG ยืนยันว่าซีพียู Ryzen 4000 หรือ Ryzen รุ่นที่ 4 ที่ใช้แกน Zen 3 บนเดสก์ท็อป จะยังคงรองรับซ็อกเก็ต AM4 และชิปเซ็ต B450 อยู่เหมือนเดิม
ด้วยความที่ XMG Apex 15 ใช้ Ryzen 3000 บนเมนบอร์ดชิปเซ็ต B450 และสามารถเปลี่ยนซีพียูได้ XMG เลยเสริมด้วยว่าเมนบอร์ดชิปเซ็ต B450 จะรองรับ Ryzen 4000 ได้ด้วยแค่อัพเดต microcode เท่านั้น และหาก B450 รองรับ X470 และ X570 ก็น่าจะรองรับด้วยเช่นเดียวกัน
Asus ROG Zephyrus G14 เป็นโน้ตบุ๊กเกมมิ่งตัวแรกๆ ของท้องตลาดที่ใช้ซีพียู AMD สถาปัตยกรรม Zen 2 (7 นาโนเมตร) ตัวใหม่ คือ Ryzen 9 4900HS และเว็บไซต์ PCWorld ก็ได้นำมาทดสอบ เปรียบเทียบสมรรถนะกับซีพียูโน้ตบุ๊กตัวท็อปๆ ของ Intel ทั้ง Core i7 และ Core i9 และผลทดสอบที่ได้ ก็ดูจะทำให้ Intel ร้อนๆ หนาวๆ ได้แน่นอน
AMD ออกแถลงการบนหน้าเว็บ ว่าในช่วงเดือนธันวาคมปีที่แล้ว บริษัทได้รับการติดต่อจากบุคคลที่อ้างว่ามีข้อมูลไฟล์ทดสอบที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์กราฟฟิกของบริษัทหลายชิ้น และ AMD ได้แจ้งให้ GitHub ลบโค้ดทดสอบที่หลุดออกมาไปแล้ว โดยโค้ดที่ถูกลบไปนั้น เป็นโค้ดทดสอบของชิป Navi 10, Navi 21 และ Arden
GitHub เผยแพร่เอกสารขอลบข้อมูลตามกฎหมาย DMCA มีรายละเอียดว่าหน้าที่ถูกสั่งปิดมีข้อมูลที่ “ถูกขโมยมาจาก AMD”
AMD เปิดตัว CPU สถาปัตยกรรม Zen 2 (7 นาโนเมตร) อีกสองรุ่นคือ Ryzen 9 4900H และ Ryzen 9 4900 HS เพื่อมาท้าชน Intel ในตลาดโน้ตบุ๊คเกมมิ่ง โดยพุ่งเป้าชนกับ CPU ตระกูล Core i9
Ryzen 9 4900H มี 8 แกน 16 เธร็ด คล็อคพื้นฐาน 3.3GHz เร่งสูงสุดได้ 4.4GHz กับแคช 12MB อัตรา TDP อยู่ที่ 45W และคล็อคกราฟฟิกที่ 1750MHz เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับ Ryzen รหัส 4900H อีกสองรุ่น จะเป็นดังนี้
สถิติน่าสนใจที่ AMD เปิดเผยในงานประชุมนักวิเคราะห์การเงินเมื่อวานนี้
นอกจากจีพียู Navi 2X และซีพียู Ryzen รุ่นที่ 4 AMD ยังมีสินค้าฝั่งเซิร์ฟเวอร์คือ ซีพียูตระกูล Eypc และจีพียู Radeon Instinct ที่ประกาศแผนการออกรุ่นใหม่ดังนี้
นอกจากข้อมูลของจีพียู Navi 2X AMD ยังเผยแผนการฝั่งซีพียูด้วยเช่นกัน
ปี 2020 เป็นปีสำคัญของวงการจีพียู ที่เราจะได้เห็นสินค้าใหม่ทั้ง NVIDIA Ampere, AMD Big Navi และ Intel Xe
เมื่อคืนนี้ AMD จัดงานพบปะนักวิเคราะห์สายการเงิน และเปิดเผยข้อมูลของจีพียูรุ่นใหม่ สถาปัตยกรรม RDNA 2 เพิ่มอีกนิดหน่อยดังนี้
Cloudflare ประกาศเริ่มติดตั้งเซิร์ฟเวอร์รุ่นที่สิบ หรือ Gen X โดยจุดสำคัญคือมันจะเป็นเซิร์ฟเวอร์รุ่นแรกที่ไม่ใช้ชิ้นส่วนอินเทลเลย ไม่ว่าจะเป็นซีพียู, แรม, สตอเรจ, หรือเน็ตเวิร์ค โดยเฉพาะตัวซีพียูนั้นเลือก AMD EPYC 7642
ก่อนการตัดสินใจครั้งนี้ ทาง Cloudflare ทดสอบซีพียูหลายรุ่นโดยเน้นประสิทธิภาพของจำนวน request ที่รับได้เทียบกับอัตราการกินพลังงาน จึงเลือก AMD EPYC 7642 ที่มี 48 คอร์ 96 เธรดเท่าๆ กับ Intel Xeon Platinum 6162 ที่ใช้ในเซิร์ฟเวอร์รุ่นที่ 9 แบบสองซ็อกเก็ตและมีคอร์รวมเท่ากัน แต่ AMD มีความได้เปรียบที่แคช L3 ขนาดใหญ่มาก (256MB) ทำให้อัตรา cache miss ต่ำลง และอัตราสัญญาณนาฬิกาพื้นฐานก็สูงกว่า ทำให้การรับโหลดสูงๆ ต่อเนื่องยาวนานได้ประสิทธิภาพมากกว่า
AMD สร้างเสียงฮือฮาด้วย Threadripper 3990X มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว จากทั้งคอร์ที่มี 64 คอร์ 128 เธร็ด แคชรวมอีก 288MB ล่าสุด Linus Tech Tips ช่อง YouTube สายเทคชื่อดังจับเรือธงตัวล่าสุดของ AMD มาทดสอบด้วยการใช้รันเกม Crysis แบบเดี่ยว ๆ โดยไม่พึ่งการ์ดจอ
บัญชีทวิตเตอร์ @_rogame ซึ่งเคยมีประวัติปล่อยข้อมูลหลุดสายแอปเปิลมาก่อน โพสต์ข้อมูลจากไฟล์ของระบบปฏิบัติการ macOS Catalina 10.15.4 Beta 1 ที่มีการอ้างถึงซีพียูจาก AMD ด้วย
ในโค้ดของ Catalina อ้างถึงโค้ดเนมของซีพียู AMD หลายตัว เช่น Raven Ridge (Ryzen 2000), Picasso (Ryzen 3000), Renoir (Ryzen 4000) รวมถึงซีพียูใหม่โค้ดเนม "Van Gogh" ที่ยังไม่เปิดตัวด้วย
ฝั่งของจีพียูอาจไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะคอมพิวเตอร์ของแอปเปิลใช้จีพียู AMD อยู่แล้ว แต่ในโค้ดเนมที่หลุดออกมาก็มีอ้างถึงชื่อ Navi 12 และ Navi 21 ที่ยังไม่เปิดตัวด้วยเช่นกัน (คาดว่า Navi 21 คือจีพียูตัวที่จะใช้ในการ์ด Radeon RX 5900)
สัปดาห์ที่ผ่านมา AMD แถลงผลประกอบการไตรมาส 4/2019 ซึ่งออกมาดีเยี่ยม รายได้ต่อไตรมาสสูงเป็นประวัติการณ์ สะท้อนความสำเร็จของ AMD ตลอดปี 2019 ที่มีผลงานเข้าเป้าหลายเรื่อง โดยเฉพาะสินค้าฝั่งซีพียู Ryzen ที่สร้างแรงกดดันให้อินเทลอย่างมาก
ผมลองเข้าไปอ่านเอกสารนำเสนอของ AMD และพบชาร์ทหลายอันที่น่าสนใจ สะท้อนให้เห็นว่า AMD กลับมาแล้วอย่างเต็มตัว
AMD มีผลงานที่ดีเยี่ยมในปี 2019 โดยเฉพาะฝั่งซีพียู Ryzen และ Epyc สิ่งที่ยังขาดอยู่คงเป็นจีพียู Radeon รุ่นสูงที่จะออกมาต่อกรกับฝั่ง GeForce ได้
ปีที่แล้ว AMD ออกจีพียูตระกูล Navi ที่ใช้สถาปัตยกรรมใหม่ RDNA มาแล้ว แต่ยังจำกัดเฉพาะจีพียูระดับกลางๆ เท่านั้น สิ่งที่หลายคนรอกันอยู่คือ Navi รุ่นบนหรือที่เรียกกันเล่นๆ ว่า "Big Navi" (และน่าจะเป็นตัวเดียวกับที่ใช้ใน PS5/Xbox Series X ด้วย)
Lisa Su ซีอีโอของ AMD ให้ข้อมูลเรื่องนี้เพิ่ม (อีกนิด) ในงานแถลงผลประกอบการ โดยเธอบอกว่าจะเปิดตัวจีพียูสถาปัตยกรรมใหม่ RDNA 2 ในปี 2020 นี้
มาถึงตอนนี้เรายังคงไม่รู้สเปกที่ชัดเจนของคอนโซลยุคหน้า Xbox Series X และ PS5 ที่จะวางขายช่วงปลายปีนี้ รู้เพียงว่ามันใช้ชิปออกแบบพิเศษ (semi-custom) จาก AMD ที่มาจากสถาปัตยกรรมซีพียู Ryzen และจีพียู RDNA
Lisa Su ซีอีโอของ AMD ให้ข้อมูลเพิ่มเติม (อีกนิด) ในงานแถลงผลประกอบการไตรมาส 4/2019 ว่า AMD จะเริ่มผลิตชิปออกแบบพิเศษในไตรมาสที่ 2 ของปี 2020 และเริ่มผลิตเป็นจำนวนมากในครึ่งหลังของปี
กรอบเวลานี้ช่วยยืนยันว่าเราน่าจะได้เห็นการวางขายคอนโซลรุ่นใหม่ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 เป็นอย่างเร็ว ซึ่งตามปกติแล้ว เกมคอนโซลมักวางขายในเดือนพฤศจิกายน เพื่อให้สอดคล้องกับเทศกาลซื้อของช่วงปลายปี (ทั้ง Xbox One และ PS4 วางขายในเดือนพฤศจิกายน 2013)
AMD รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2019 รายได้รวม 2,127 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นถึง 50% จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน โดยเป็นสถิติใหม่ของบริษัทต่อไปอีกไตรมาส และมีกำไรสุทธิ 170 ล้านดอลลาร์ ที่น่าสนใจคืออัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นเป็น 45% จากปีก่อนอยู่ที่ 38% ซึ่ง AMD บอกว่ามาจากการเพิ่มสินค้าซีพียู 7 นาโนเมตร
กลุ่มธุรกิจ Computing and Graphics (Ryzen, Radeon) เป็นรายได้และปัจจัยสำคัญให้ตัวเลขมีการเติบโตสูง โดยเพิ่มขึ้นถึง 69% เป็น 1,662 ล้านดอลลาร์ ส่วนกลุ่ม Enterprise ภาพรวมเติบโต 7% จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของ EPYC ขณะที่สินค้า Semi-Custom มีรายได้ลดลง