ไมโครซอฟท์เตรียมสนับสนุนการพัฒนาบนสถาปัตยกรรม Arm เต็มรูปแบบ โดยเปิดตัว Project Volterra คอมพิวเตอร์เดสก์ทอปใช้ชิป Snapdragon ไม่ระบุรุ่น
จุดเด่นของ Project Volterra คือมันมีหน่วยประมวลผลปัญญาประดิษฐ์โดยเฉพาะ ซึ่งทาง Qualcomm ก็ประกาศชุดพัฒนา Qualcomm Neural Processing SDK for Windows ออกมาพร้อมกัน
การประกาศครั้งนี้มาพร้อมกับชุดซอฟต์แวร์ที่รันบน Arm แบบเนทีฟ ได้แก่ Visual Studio 2022, VSCode, Visual C++, .NET 6, .NET Framework ตัวเดิม, Windows Terminal, WSL, WSA สำหรับแอนดรอยด์
AWS เริ่มให้บริการเซิร์ฟเวอร์ EC2 ในตระกูล C7g ที่เป็นซีพียู Graviton 3 ที่เปิดให้บริการวงปิดไปเมื่อปลายปี 2021 โดยยังคงชูความคุ้มค่าเมื่อเทียบพลังประมวลผลกับซีพียู x86
ฟีเจอร์ความปลอดภัยของ Graviton 3 ได้แก่ การแยกแคชแต่ละเครื่องเสมือนออกจากกัน, เข้ารหัสหน่วยความจำตลอดเวลา, และยืนยันตำแหน่ง pointer
ราคาเครื่อง C7g พอๆ กับเครื่อง C6a ที่เป็นซีพียู AMD EPYC รุ่นที่ 3 แต่มีเครื่องเล็กสุดคือ c7g.medium ซีพียู 1 vCPU แรม 1GB ราคาประมาณ 26 ดอลลาร์ต่อเดือน (C6a เริ่มที่ 2 vCPU)
ตอนนี้เครื่อง C7g ยังมีให้บริการแค่สองเขตในสหรัฐฯ ตะวันตกและตะวันออก และเตรียมขยายเพิ่มเติมต่อไปภายหลัง
สหราชอาณาจักรประกาศเพิ่มรายชื่อบุคคลและบริษัทที่ถูกคว่ำบาตรเพิ่มอีก 63 รายการจากเหตุการณ์รัสเซียบุกยูเครน โดยมีสองบริษัท คือ Baikal Electronics และ MCST ผู้ผลิตซีพียูในรัสเซียถูกคว่ำบาตรไปด้วย ทำให้ไม่สามารถซื้อไลเซนส์จาก Arm ที่เป็นบริษัทสหราชอาณาจักรได้อีกต่อไป
เรียกว่าตามหลัง AWS อยู่นาน เพราะ AWS มีบริการ EC2 ที่ใช้ชิป Arm มานานแล้วในชื่อ Graviton โดยเป็นการพัฒนาเองภายใน ล่าสุดฝั่ง Microsoft Azure เปิดตัว VM ที่ใช้สถาปัตยกรรม Arm บ้างแล้ว โดยใช้ชิป Ampere Altra
สำหรับ Azure VM ที่มีชิป Arm ให้เลือกใช้จะอยู่ในซีรีส์ D และ E ซึ่งเป็นประเภทใช้งานทั่วไป (General purpose) และประเภทเน้นหน่วยความจำ (Memory optimized) เริ่มต้นที่ 2 คอร์และไปสุดที่ 64 คอร์ หน่วยความจำเริ่มต้น 4GiB (4.29GB) และไปสุดที่ 208GiB (223GB) ทำงานที่ความถี่สูงสุด 3.0GHz พื้นฐานคือ Arm Neoverse N1
NVIDIA เปิดตัว NVIDIA Grace CPU Superchip โมดูลซีพียูที่อาศัยชิป Grace ที่ NVIDIA เปิดตัวไปปีที่แล้ว ใส่อยู่บนโมดูลเดียวกันสองตัว ทำให้ได้ซีพียูรวม 144 คอร์ และแบนด์วิดท์หน่วยความจำรวมถึง 1TB/s
ซีพียูทั้งสองตัวเชื่อมกับด้วย NVLink-C2C ระบบเชื่อมต่อข้ามชิปความเร็วสูง สามารถส่งข้อมูลที่แบนด์วิดท์ 900GB/s หรือสูงกว่า ขณะที่ใช้พลังงานและพื้นที่ชิปน้อยกว่า PCIe Gen 5 มาก โมดูลซีพียูมาพร้อมแรม LPDDR5x ในตัว โดยรวมแล้วกินพลังงานประมาณ 500 วัตต์
Arm ประกาศปลดพนักงานออกราว 12-15% หรือประมาณ 780-975 คนจากพนักงานทั่วโลก 6,500 คน ด้วยเหตุผลว่าต้องการลดค่าใช้จ่ายของบริษัทลง
ถึงแม้ Arm ไม่ได้พูดชัดเจน แต่การปลดพนักงานรอบนี้เกิดขึ้นหลังดีล NVIDIA ล่มเพียงเดือนเดียว โดย SoftBank เจ้าของปัจจุบันของ Arm ระบุว่าจะนำบริษัทไปขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์แทน จึงเป็นไปได้สูงว่าปลดพนักงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย ให้ตัวเลขผลประกอบการดูดีขึ้นพร้อมเข้าขายหุ้น
Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ให้ข้อมูลในงานแถลงผลประกอบการไตรมาส 4/2021 ถึงประเด็นดีลซื้อ Arm ที่ล่มไป ว่าไม่ส่งผลกระทบต่อแผนการพัฒนาซีพียูของบริษัท เพราะ NVIDIA มีไลเซนส์การใช้งานสถาปัตยกรรม Arm นาน 20 ปีอยู่แล้ว
อัพเดต 17.10 น NVIDIA ประกาศข่าวอย่างเป็นทางการแล้ว
Financial Times รายงานว่าดีล NVIDIA ซื้อ Arm ล่มแล้ว (อย่างไม่เป็นทางการ) โดย SoftBank ในฐานะเจ้าของปัจจุบันของ Arm ยกเลิกแผนการขายบริษัทให้ NVIDIA และจะนำ Arm ขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ภายในปี 2022 แทน ส่วน NVIDIA ก็ตัดสินใจถอยแล้วในการประชุมบอร์ดเมื่อวานนี้
ตามข่าวบอกว่า SoftBank จะได้รับเงินชดเชยจาก NVIDIA มูลค่า 1.2 พันล้านดอลลาร์ตามสัญญา และจะเปลี่ยนตัวซีอีโอของ Arm จาก Simon Segars มาเป็น Rene Haas ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญาของ Arm ในปัจจุบัน
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตน ระบุว่า Nvidia เริ่มแจ้งพันธมิตรว่าดีลควบรวม Arm มูลค่า 40 พันล้านดอลลาร์น่าจะล้มเหลว และแหล่งข่าวอีกรายระบุว่า SoftBank จะพยายามนำ Arm เข้าตลาดหุ้นแทนการขายทั้งบริษัท
การที่ Nvidia เข้าซื้อ Arm สร้างความกังวลใจให้หลายฝ่าย เนื่องจาก Arm นั้นเป็นเจ้าของเทคโนโลยีต้นน้ำที่คู่แข่ง Nvidia เองก็ใช้งานอยู่จำนวนมาก ที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐแสดงท่าทีว่าจะสอบสวนการควบรวมครั้งนี้อย่างหนัก แม้ว่า Nvidia จะยืนยันว่าไม่ได้ต้องการยึดเทคโนโลยี Arm ไว้ใช้คนเดียว แต่จะขายให้บริษัทอื่นๆ ต่อไป
Arm เปิดตัวบอร์ดพัฒนา Arm Morello ซีพียูรุ่นพิเศษที่เพิ่มชุดคำสั่ง CHERI สำหรับการป้องกันช่องโหว่หน่วยความจำที่ระดับฮาร์ดแวร์ แม้ซอฟต์แวร์จะมีช่องโหว่แต่แฮกเกอร์ก็เข้าอ่านข้อมูลได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ทำให้ความเสียหายต่ำกว่าทุกวันนี้มาก
ช่องโหว่หน่วยความจำเป็นช่องโหว่ใหญ่ของวงการคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ที่ใช้หน่วยความจำผิดพลาดรูปแบบต่างๆ เช่น stack-overflow, heap-overflow, use-after-free เปิดทางให้แฮกเกอร์เข้ายึดเครื่องได้ในที่สุด แม้ที่ผ่านมาจะความพยายามป้องกันช่องโหว่เหล่านี้หลากหลายรูปแบบทั้งจากระบบปฎิบัติการเอง, ที่ระดับภาษาโปรแกรมมิ่งเช่นภาษา Rust, หรือที่ระดับฮาร์ดแวร์ของซีพียูบางส่วน
คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (Federal Trade Commission หรือ FTC) ลงมติ 4-0 ขวางดีล NVIDIA ซื้อกิจการ Arm มูลค่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามความคาดหมาย ด้วยเหตุผลว่าการซื้อกิจการจะทำให้เกิดการกีดกันคู่แข่ง ปิดกั้นการแข่งขันและนวัตกรรม
FTC ให้เหตุผลว่าโมเดลธุรกิจของ Arm คือการขายไลเซนส์และเทคโนโลยีให้ผู้ผลิตชิปรายต่างๆ ซึ่งเป็นคู่แข่งของ NVIDIA ด้วย และบริษัทเหล่านี้ก็แชร์ความลับทางการค้ากลับไปให้ Arm เช่นกัน ดังนั้น Arm ต้องรักษาความเป็นกลาง หาก NVIDIA กลายเป็นเจ้าของ Arm ย่อมทำให้สภาวะนี้เสียไป และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมจำนวนมาก เช่น ระบบรถยนต์ไร้คนขับ, การ์ดเครือข่ายรุ่นใหม่ที่เป็น DPU SmartNIC และซีพียู Arm สำหรับเซิร์ฟเวอร์
AWS เปิดตัวซีพียู Graviton3 ซีพียูที่ AWS ออกแบบเพื่อใช้งานในคลาวด์ของตัวเอง ระบุว่าประสิทธิภาพสูงขึ้น 25% แต่เฉพาะการประมวลผลเลขทศนิยมและการเข้ารหัสจะมีประสิทธิภาพดีขึ้นมาก สูงสุดถึงเท่าตัว นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์เพิ่มเติม เช่น
Alibaba เปิดตัว Yitian 710 ซีพียู ARM ออกแบบเองสำหรับใช้งานในเซิร์ฟเวอร์ โดยจะนำไปใช้เซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ Panjiu ของ Alibaba Cloud
ชิป Yitian 710 พัฒนาโดย T-Head หน่วยพัฒนาชิปของ Alibaba เอง สเปกเท่าที่เปิดเผยคือสถาปัตยกรรม Armv9 มี 128 คอร์ คล็อคสูงสุด 3.2GHz, ผลิตที่ 5nm มีจำนวนทรานซิสเตอร์ 6 หมื่นล้านตัว, รองรับแรม DDR5 8 channel และ PCIe 5.0 จำนวน 96 เลย
สมรรถนะคือได้คะแนน SPECint2017 ที่ 440 คะแนน โดย Alibaba บอกว่าได้คะแนนสูงกว่าเซิร์ฟเวอร์ ARM ในปัจจุบัน (ไม่ระบุว่ารุ่นไหน) 20% ในแง่ประสิทธิภาพ และ 50% ในแง่การประหยัดพลังงาน
Devinder Kumar ซีเอฟโอของ AMD ไปพูดที่งานสัมมนาของธนาคาร Deutsche Bank เอ่ยปากว่า AMD พร้อมผลิตชิป Arm ถ้าจำเป็น
ปัจจุบัน AMD มีไลเซนส์ Arm อยู่แล้วแต่ไม่ได้ผลิตสินค้าออกขาย (ยกเว้นไมโครคอนโทรลเลอร์เล็กๆ) และ Kumar ระบุว่ามีสายสัมพันธืที่ดีกับบริษัท Arm เช่นกัน เขาบอกว่า AMD เก่งเรื่องชิปประมวลผล (compute) ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม x86 หรือ Arm ก็ตาม สามารถทำได้ทั้งหมด แนวคิดของบริษัทคือยังเชื่อมั่นใน x86 แต่ก็พร้อมไปไกลกว่า x86 เช่นกัน
ตัวแทนของไมโครซอฟท์ยืนยันกับ The Register ว่า Windows 11 ไม่รองรับการทำงานบนชิป Apple M1 ทั้งแบบเนทีฟ และผ่านระบบ virtualization อย่าง Parallels แต่ก็ไม่ได้อธิบายเหตุผล (ไมโครซอฟท์ใช้คำว่า supported scenario ซึ่งอาจหมายถึงใช้ได้ แต่ไม่ซัพพอร์ตอย่างเป็นทางการ)
ฝั่งของ Parallels ยืนยันว่าสามารถทำได้ โดยปัจจุบันวิธีการคือต้องผ่าน Windows Insider ก่อน (รายละเอียด) แต่ยังไม่มีข้อมูลว่า หากไมโครซอฟท์ไม่ออกอิมเมจ Windows 11 รุ่น GA ที่เป็นสถาปัตยกรรม Arm64 ให้ใช้งานแล้ว Parallels จะทำอย่างไร
หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันทางธุรกิจและการค้าของสหราชอาณาจักร (Competition and Markets Authority หรือ CMA) ออกรายงานสอบสวนเรื่องการควบกิจการระหว่าง NVIDIA กับ Arm มีเนื้อหาตรงตามข่าวก่อนหน้านี้ ว่า CMA "เป็นกังวล" (concerned) ต่อการซื้อกิจการครั้งนี้
เหตุผลของ CMA คือ NVIDIA มีโอกาสจำกัดการเข้าถึงทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ของ Arm ไม่ให้คู่แข่งใช้งาน ซึ่งจะเป็นการกีดกันการแข่งขันในหลายตลาด เช่น ศูนย์ข้อมูล เกม รถยนต์อัตโนมัติ และ IoT ส่งผลให้คุณภาพของสินค้าต่ำลงหรือราคาแพงขึ้นตามมา
CMA ระบุว่าถึงแม้ NVIDIA ให้คำมั่นว่าจะไม่กีดกันคู่แข่ง แต่ CMA บอกว่ามาตรการที่เสนอมายังไม่เพียงพอ
NVIDIA เริ่มดำเนินการซื้อ Arm บริษัทชิปสัญชาติอังกฤษเจ้าของสถาปัตยกรรม ARM ต่อจาก Softbank มูลค่า 40 พันล้านดอลลาร์ตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2020 และดีลจะเสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายนปีนี้
แต่เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา Oliver Dowden รัฐมนตรีว่าการดิจิทัล วัฒนธรรม สื่อ และกีฬา ยื่นเรื่องต่อหน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันทางธุรกิจและการค้า (Competition and Markets Authority) ว่าการซื้อบริษัทครั้งนี้เข้าข่ายมีปัญหาด้านการผูกขาดหรือข้อกังวลด้านความมั่นคงอื่นหรือไม่
Cloudflare รายงานถึงการทดสอบเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ซีพียู Ampere ที่เป็นสถาปัตยกรรม Arm และพบว่าประสิทธิภาพต่อพลังงานดีกว่าเซิร์ฟเวอร์ในตระกูล x86 อย่างชัดเจน
ทางบริษัทเพิ่งทดสอบในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยพบว่าเซิร์ฟเวอร์ใช้ประมวลผลการเรียกเว็บ (internet request) ต่อพลังงานได้มากกว่าเซิร์ฟเวอร์ Gen X ของ Cloudflare เองถึง 57% และแม้แต่ซีพียู Milan ที่ Cloudflare กำลังนำมาใช้งานก็ยังทำได้ดีกว่าเซิร์ฟเวอร์ Gen X เพียง 39% หากซอฟต์แวร์ออปติไมซ์สำหรับสถาปัตยกรรม Arm มากขึ้นก็น่าจะทำประสิทธิภาพได้ดีกว่านี้เสียอีก
ทาง Cloudflare ระบว่าผู้ผลิตซีพียู x86 อย่าง AMD และ Intel ควรหันมาคำนึงถึงประสิทธิภาพต่อพลังงานให้มากขึ้น
NVIDIA โชว์เดโมการใช้จีพียู GeForce RTX 3060 คู่กับซีพียู Arm (เป็น MediaTek Kompanio 1200) แล้วสามารถใช้ฟีเจอร์ RTX On อย่าง ray tracing และ DLSS ได้ด้วย
เกมที่นำมาโชว์คือ Wolfenstein: Youngblood และ The Bistro (เป็นเกมต้นแบบในโครงการ Open Research Content Archive ของ NVIDIA เอง ใช้เอนจิน Amazon Lumberyard) เดโมทั้งหมดรันบนลินุกซ์ (จากภาพหน้าจอเป็น Arch Linux) โดย NVIDIA พัฒนา SDK ให้รองรับฟีเจอร์หลายอย่างของการ์ดตระกูล RTX แล้ว
ในแง่ศักยภาพของเกมคงไม่ต่างจาก RTX On เวอร์ชัน x86 ในปัจจุบัน แต่เดโมนี้เป็นการเปิดทางสู่พีซีสถาปัตยกรรม Arm เพื่อการเล่นเกมในอนาคตอันใกล้นี้
ไมโครซอฟท์ออกเครื่องมือตัวใหม่ ARM64EC (“Emulation Compatible”) มาเพื่อแก้ปัญหาการนำแอพ x86/x64 ไปรันบน Windows 11 on ARM
เดิมทีการรันแอพ x64 บน ARM ทำได้ 2 วิธีคือ คอมไพล์ใหม่เป็น ARM ทั้งหมด (ประสิทธิภาพดี แต่เสียแรงทำ) หรือรันบนอีมูเลเตอร์ (ประสิทธิภาพไม่ดี แต่รันได้เลย)
ปัญหาคือแอพที่ใหญ่และซับซ้อนมากๆ อาจมีไลบรารีหรือปลั๊กอินจากบริษัทอื่นๆ ที่ยังไม่รองรับ ARM ทำให้การคอมไพล์ใหม่ทั้งหมดเป็นไปไม่ได้เลย ไมโครซอฟท์จึงออก ARM64EC เพื่อแก้ปัญหาแบบไฮบริด ให้ไบนารี x86 และ ARM ผสมผสานกันได้
นอกจากซีพียูใหม่ชุด Armv9 จำนวน 3 รุ่น ทางบริษัท Arm ก็เปิดตัวจีพียูใหม่ตระกูล Mali มาพร้อมกัน 4 รุ่นรวด ปรับระบบชื่อเลขรุ่นเป็น 3 หลักแบบเดียวกัน
บริษัท Arm เปิดตัวซีพียูใหม่ที่ใช้สถาปัตยกรรมใหม่ Arm v9 ออกมาพร้อมกัน 3 รุ่นรวดคือ Cortex-X2, Cortex-A710, Cortex-A510
Qualcomm เปิด Snapdragon Developer Kit for Windows พีซีชิป Arm สำหรับนักพัฒนาที่ต้องการพอร์ตแอปไปยังวินโดวส์บน Arm ในอนาคต รูปแบบเดียวกับ Developer Transition Kit (DTK) ของแอปเปิลที่เปิดให้นักพัฒนาเข้าถึงเครื่องก่อนเปิดตัวเครื่องแมคชิป M1 ออกมา
ทาง Qualcomm ระบุว่าตัวเครื่องมาพร้อมกับชุดพัฒนาและซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องหลายตัว ได้แก่ Visual Studio Code, LLVM, Chromium framework, .NET 5.0 framework, WIX installers, WSL/WSL2, MinGW/GCC, Cygwin, Electron, Qt, GTK, OpenVPN, FFMPEG library, Boost, GStreamer. GIMP, Handbrake
Arm เปิดตัวพิมพ์เขียวซีพียูตัวแรกที่ใช้สถาปัตยกรรม Arm v9 เวอร์ชันใหม่ล่าสุด มันคือซีพียูเซิร์ฟเวอร์ Arm Neoverse N2 ที่เปิดตัวครั้งแรกในเดือนกันยายน 2020 (แต่ตอนนั้นไม่ได้บอกว่าเป็น Arm v9)
Arm Neoverse N2 พัฒนาต่อยอดมาจาก Neoverse N1 ที่ออกในปี 2019 (เป็น Arm v8.4) โดยผนวกเอาฟีเจอร์ของสถาปัตยกรรมยุคหลังจากนั้นคือ Arm v8.5, v8.6, v9
Oliver Dowden รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัล วัฒนธรรม สื่อ และกีฬา (Department for Digital, Culture, Media and Sport ตัวย่อ DCMS) ของสหราชอาณาจักร ออกมาคัดค้านดีลซื้อกิจการของ NVIDIA และ Arm
ตามกฎหมายของสหราชอาณาจักร Dowden มีอำนาจ (บางส่วน) แทรกแซงการควบกิจการที่มีผลกระทบต่อประเทศ ในกรณีนี้ Dowden ยกประเด็นว่า Arm เป็นบริษัทสัญชาติอังกฤษที่ทำธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ มีผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานและความมั่นคง
ในขั้นถัดไป หน่วยงานกำกับดูแลด้านการแข่งขันของสหราชอาณาจักรคือ Competition and Markets Authority (CMA) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระ จะเข้ามาสอบสวนกรณี NVIDIA ซื้อ Arm อย่างเป็นทางการ และส่งรายงานกลับมาให้ Dowden ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2021