GCC เริ่มพัฒนาด้วย C++ มาตั้งแต่กลางปี 2010 ระหว่างนี้กระบวนการพัฒนาเกิดขึ้นหลายอย่าง โดยเฉพาะกำหนดมาตรฐานว่าต้องใช้ฟีเจอร์ใดของ C++ บ้าง
ในแง่ของผู้ใช้งานคงไม่ต่างอะไรนัก แต่ฟีเจอร์อย่างการจัดการหน่วยความจำตาม scope ของโค้ด จะช่วยให้ตัว GCC คืนหน่วยความจำเร็วขึ้น ทำให้การใช้หน่วยความจำลดลง
ฟีเจอร์ของ GCC 4.8 ใหม่ที่สำคัญ เช่น
ถึงแม้โนเกียจะหันไปสนใจ Windows Phone เป็นหลักแล้ว แต่เทคโนโลยีอย่าง Qt ก็ยังไม่ตายและยังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดมีข้อมูลว่า Qt รุ่นหน้า 5.0 จะใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ใหม่ๆ ของภาษา C++11 ที่เพิ่งออกเมื่อปีที่แล้ว เช่น lambda expressions for slots, UTF-16 unicode literals, the constexpr keyword, static_assert, virtual function overriding, final attribute, deleted functions/members
เฟชบุ๊กเป็นหนึ่งในบริษัทยุคใหม่ที่เปิดซอร์สโครงการใหญ่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้ที่เด่นๆ คือ HipHop ที่เป็นคอมไพล์เลอร์สำหรับภาษา PHP, และ Thrift โปรโตคอลสำหรับสื่อสารข้ามภาษา เมื่อสองวันก่อนก็มีการเปิดตัวอีกหนึ่งโครงการ คือ Folly ไลบรารีพื้นฐานสำหรับภาษา C++11
ตัวไลบรารีนั้นค่อนข้างกระจัดกระจาย ยังไม่สมบูรณ์เป็นชุดเหมือน Boost อย่างไรก็ดีมีหลายตัวที่น่าสนใจ เช่น Format.h
ที่ยกเอาระบบฟอร์แมตของไพธอนมาใช้บน C++ ตรงๆ หรือ AtomicHashMap.h
ที่สร้างโครงสร้างข้อมูลแบบแมบโดยทุกคำสั่งนั้นเป็นปลอดภัยต่อการใช้งานพร้อมกันหลายเธรด
NetBeans IDE ยอดนิยมอีกตัวจากค่าย Oracle ออกรุ่น 7.2 Beta แล้ว ของใหม่ในรุ่นนี้ที่สำคัญคือการรองรับภาษา C++ รุ่นใหม่คือ C++11 และ PHP 5.4
ส่วนของตัว editor เองก็ปรับปรุงเพิ่มหลายจุด โดยเฉพาะการทำดัชนีเพื่อค้นหาข้อมูลภายในโค้ด ถูกนำไปรันเบื้องหลังและทำงานแบบขนาน นอกจากนี้ยังมีปุ่มลัด Ctrl+Space เพิ่มเติมคำใน search bar
ไมโครซอฟท์ขึ้นเวที GoingNative 2012 ที่เป็นเวทีสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบเนทีฟชั่น C/C++ เป็นหลัก เปิดตัวมาตรฐาน C++ AMP ที่เป็นส่วนขยายจากภาษา C++ ปรกติที่เสนอโดยไมโครซอฟท์เพื่อให้สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ที่อาศัยความสามารถในการประมวลผลขนานได้อย่างเต็มที่
สิ่งที่ C++ AMP ทำหลักๆ คือการกำหนด ข้อจำกัด ที่เข้ากันได้กับข้อจำกัดในการประมวลผลด้วย GPU แล้วเปิดให้ฟังก์ชั่นต่างๆ สามารถประกาศข้อจำกัดนี้ได้ เมื่อประกาศแล้ว คอมไพล์เลอร์จะสามารถเลือกได้ว่าจะนำโค้ดส่วนนี้ไปรันในตัวเร่ง (accelerator) ตัวใด โดยอาจจะเป็น GPU, หรือชุดคำสั่งแบบ SIMD บนซีพียูเอง หรือกระทั่งจ่ายงานไปยังคอร์ต่างๆ ของซีพียูก็ได้
ต่อเนื่องจากข่าวเมื่อเดือนสิงหาคม มาตรฐาน C++0x ผ่านการโหวตเป็นทางการ, เปลี่ยนชื่อเป็นมาตรฐาน C++11
หลังมาตรฐาน C++0x ผ่านร่างสุดท้าย การโหวตรอบจริงก็ไม่มีปัญหาอะไรเมื่อคณะกรรมการโหวตด้วยมติเอกฉันท์ให้รับมาตรฐานนี้เข้าเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:2011 หรือมาตรฐาน C++ ปรับปรุงครั้งที่สาม และได้ชื่อใหม่เป็น C++11 ตามปีที่ออกมาตรฐานสำเร็จ
หลังจากผ่านมาตรฐานแล้ว สิ่งที่เราต้่องรอกันต่อไปคือคอมไพลเลอร์ต่างๆ จะต้องปรับปรุงความสามารถในรองรับกันจนครบถ้วน ซึ่งคอมไพล์เลอร์หลักๆ เช่น gcc หรือ Visual Studio จะรองรับความสามารถบางส่วนไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ก็ยังต้องรออีกสักพักกว่าจะครบถ้วนกันจริงๆ (ดูตารางเทียบการรองรับ)
ในเวลาเดียวที่คุณ John Carmack บิดาแห่งเกม Doom ทวีตว่ากำลังพอร์ต "Rage Mobile" มาลง Android ก็มีคนทวีตถามว่าจะพอร์ตลง Windows Phone 7 ด้วยหรือไม่ เขาทวีตตอบกลับไปว่าจะไม่พอร์ตลง Windows Phone 7 เพราะมันซัพพอร์ตแต่ภาษาการโปรแกรมระดับสูงเช่น XNA เท่านั้น ไม่ซัพพอร์ตภาษาการโปรแกรมระดับล่างอย่าง C++
การที่ Windows Phone 7 ไม่ซัพพอร์ตภาษาการโปรแกรมระดับล่าง ที่จำเป็นจะต้องเข้าถึง API ของระบบปฏิบัติการโดยตรงเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานของแอพฯ ทำให้ผู้ใช้อาจไม่ได้เห็นแอพฯ หรือเกมที่มีกราฟิกเยี่ยมประสิทธิภาพสูงหลายตัวบนแพลตฟอร์มดังกล่าว
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 1985 เป็นวันแรกของการวางขาย The C++ Programming Language หนังสือที่มีส่วนเป็นอย่างมากที่พาให้ภาษา C++ เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมาจนทุกวันนี้ พร้อมกับช่วยเผยแพร่แนวคิดการโปรแกรมแบบออปเจกต์ (Object Oriented Programming - OOP) มาจนทุกวันนี้
นิตยสาร Wired สัมภาษณ์ Bjarne Stroustrup หนึ่งในผู้สร้างภาษา C++ และผู้เขียนหนังสือ The C++ Programming Language มีประเด็นที่น่าสนใจจำนวนมาก
ปัญหาหลักที่เราเจอกันในการพัฒนาโปรแกรมบนเครื่องมัลติคอร์คือการเขียนโปรแกรมที่ยากลำบาก แถมเขียนไม่ดีจะช้ากว่าเขียนแบบปรกติเอาบ่อยๆ หลายๆ ค่ายจึงพยายามเสนอวิธีการเขียนโปรแกรมที่สามารถใช้ความสามารถของซีพียูมัลติคอร์ได้ดี และยังง่ายต่อการเขียนโปรแกรมอยู่มาเป็นเวลานาน เช่น OpenMP หรือ Sieve C++ แต่ก็ยังไม่มีมาตรฐานใดได้รับการยอมรับกว้างขวางมากเท่าใดนัก