Ubuntu 18.10 โค้ดเนม Cosmic Cuttlefish ออกรุ่นจริงแล้ว ของใหม่มีดังนี้
Ubuntu 18.04 LTS โค้ดเนม "Bionic Beaver" ออกแล้ว เวอร์ชันนี้ถือเป็น LTS ตัวแรกที่เปลี่ยนกลับมาใช้ GNOME หลังการเปลี่ยนแปลงใน Ubuntu 17.10 เมื่อปีที่แล้ว
ของใหม่ใน Ubuntu 18.04 LTS
Mark Shuttleworth ซีอีโอของบริษัท Canonical ผู้พัฒนา Ubuntu ให้สัมภาษณ์กับ eWeek ว่ามีแผนจะนำบริษัทขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ และเป็นเหตุผลหนึ่งที่เขาตัดสินใจยกเลิกระบบเดสก์ท็อป Unity
Shuttleworth บอกว่าการเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ จำเป็นต้องคำนึงว่าผลิตภัณฑ์ใดทำเงินบ้าง ซึ่ง Ubuntu ทำเงินในตลาดเซิร์ฟเวอร์และคลาวด์ มีรายได้เลี้ยงตัวเองอย่างยั่งยืน แต่ฝั่งเดสก์ท็อปโดยเฉพาะ Unity กลับไม่ทำเงิน ทางทีมบริหารจึงตัดสินใจหยุดกระบวนการพัฒนา
ปัญหาของบริษัท Canonical ผู้พัฒนา Ubuntu ดูจะรุนแรงกว่าที่เห็นในตอนแรก หลังจากประกาศยกเลิกการพัฒนา Unity และข่าวการปลดพนักงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย ล่าสุดถึงกับต้องเปลี่ยนตัวซีอีโอเลยทีเดียว
Mark Shuttleworth ผู้ก่อตั้ง Ubuntu และบริษัท Canonical นั่งเป็นซีอีโอของบริษัทมาตั้งแต่ต้น แต่ในปี 2009 เขาประกาศลงจากตำแหน่งซีอีโอ เพื่อมารับงานดูแลผลิตภัณฑ์โดยตรง แล้วดัน Jane Silber ผู้บริหารอีกคนขึ้นมาเป็นซีอีโอแทน
หลังจาก Ubuntu เลิกใช้ Unity เว็บไซต์ The Register ก็รายงานข่าวว่าบริษัท Canonical ผู้พัฒนา Ubuntu เริ่มปลดพนักงานและเปิดโครงการที่ไม่ทำเงิน
ทีมที่ได้รับผลกระทบเข้าเต็มๆ ย่อมเป็นทีม Unity ที่ว่ากันว่าถูกปลดไปครึ่งทีม แต่ฝ่ายอื่นของ Canonical ก็โดนปลดด้วยเช่นกัน แหล่งข่าวของเว็บไซต์ The Register ระบุว่า Mark Shuttleworth ผู้ก่อตั้ง Canonical กำหนดสถานการณ์ด้านการเงินของบริษัทไว้ 3 ระดับ (best/neutral/worst) ถ้าบริษัทสามารถระดมทุนเพิ่มได้ตามเป้า ก็จะปลดพนักงานลง 30% แต่ถ้าสถานการณ์ย่ำแย่ ตัวเลขอาจสูงถึง 60%
Mark Shuttleworth ผู้ก่อตั้ง Canonical ประกาศหยุดการพัฒนา Unity ซึ่งเป็นเดสก์ท็อปของ Ubuntu ไว้ที่ Unity8 และ Ubuntu desktop จะเริ่มกลับไปใช้งาน GNOME อีกครั้งใน Ubuntu 18.04 LTS
Shuttleworth ให้ความเห็นว่า เขามอง Ubuntu Phone พลาด ในตอนแรกเขามองว่าถ้าผลิตภัณฑ์ที่รวมกันเป็นหนึ่ง (convergence) คืออนาคต การออกซอฟต์แวร์ฟรีจะช่วยทั้งฝั่งชุมชน และด้านอุตสาหกรรม แต่จริง ๆ แล้วพบว่าการออกซอฟต์แวร์ฟรี แทนที่จะเป็นนวัตกรรม กลับเป็นการเพิ่ม fragmentation ให้ตลาด และอุตสาหกรรมไม่สนความเป็นไปได้ แต่จะเลือกสิ่งที่ผู้ใช้รู้จักดี หรือพัฒนาแพลตฟอร์มขึ้นมาเอง ซึ่งเขายอมรับการตัดสินจากตลาดและชุมชนแล้วว่าอะไรควรจะเติบโต อะไรควรจะไป
ช่องโหว่ Dirty COW เพิ่งมีรายงานเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เป็นการรายงานหลังพบการโจมตีทำให้จำเป็นต้องเร่งแก้ไข การแก้ไขเคอร์เนลทำให้เซิร์ฟเวอร์ส่วนมากต้องรีบูตจนเสีย uptime ตอนนี้ทาง Canonical ก็ออกมาระบุว่าผู้ใช้ Ubuntu ที่เปิดบริการ Livepatch ได้รับแพตช์โดยไม่ต้องบูตเครื่องหลังแพตช์ออกเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
Canonical Livepatch Service เป็นบริการเฉพาะของ Canonical ที่ต้องสมัครบริการก่อนจึงใช้งานได้ โดยผู้ใช้ทั่วไปสามารถใช้งานได้ 3 เครื่องฟรี (ซื้อเพิ่มเครื่องละ 150 ดอลลาร์ต่อปี) เมื่อสมัครแล้วจะได้ token มาเซ็ตอัพในเครื่อง
Ubuntu โชว์ดีไซน์ของแอพ Terminal ตัวใหม่ (ไม่ใช่ GNOME Terminal แต่เป็น Terminal ของ Ubuntu เองที่รันบนโทรศัพท์ได้ด้วย)
ฟีเจอร์ของแอพ Terminal ตัวนี้มีทั้งระบบแท็บ, การแบ่งหน้าจอ (split screen ทำได้ทั้งแนวตั้งและนอน), การปรับชุดสีและความโปร่งใส, ย้อนกลับได้ไม่จำกัดครั้ง
จุดที่น่าสนใจคือเมื่อใช้บนสมาร์ทโฟน UI จะถูกปรับให้เหมาะสมกับจอสัมผัส แท็บถูกซ่อนแต่สลับแท็บได้ง่าย และมีปุ่มคำสั่งลัดที่ใช้บ่อยๆ (เช่น ls cd rm) อยู่ขอบล่างของหน้าจอ เพื่อลดระยะเวลาในการพิมพ์ ทางทีมงานกำลังหาวิธีกดปุ่ม modifier (พวก Ctrl, Alt) ร่วมกับคีย์บอร์ดบนหน้าจอ ให้ใช้งานง่ายที่สุด
Mozilla ประกาศข้อตกลงกับ Canonical ว่า Firefox จะยังเป็นเบราว์เซอร์หลักของ Ubuntu ต่อไป (ไม่เปิดเผยระยะเวลาและรายละเอียดว่ามีเรื่องเงินด้วยหรือไม่)
นอกจากนี้ Mozilla ยังประกาศสนับสนุน snap ระบบแพ็กเกจแบบใหม่ของ Ubuntu ว่า Firefox จะออกแพ็กเกจแบบ snap ให้ภายในปีนี้ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการอัพเดต Firefox ของระบบปฏิบัติการ Ubuntu เวอร์ชันเก่าๆ ได้ง่ายขึ้น
Ubuntu 16.04 LTS ออกแล้ว (ถือเป็นระบบปฏิบัติการแบบ LTS หรือ long-term service รุ่นที่หก) ของใหม่ในรุ่นนี้ได้แก่
ที่มา - Ubuntu
เรื่องที่น่าจะสำคัญที่สุดสำหรับนักพัฒนาเมื่อวานนี้ในงานประชุมประจำปีนักพัฒนาของ Microsoft คือการที่บริษัทตัดสินใจใส่ bash มาพร้อมกับ Windows 10 Annivarsary Update (ชื่อเต็มๆ อย่างเป็นทางการคือ Bash on Ubuntu on Windows) คำถามก็คือ ติดตั้งง่ายหรือไม่ และ Microsoft กับ Canonical ทำให้เป็นจริงได้อย่างไร?
ที่งานประชุมนักพัฒนา BUILD 2016 ของ Microsoft ทางบริษัทได้ออกมาประกาศว่า Windows 10 อัพเดตใหม่ (เรียกว่า Anniversary Update) จะมาพร้อมกับ Bash ของ Linux อย่างเป็นทางการ
Microsoft ระบุว่าเป็นความร่วมมือกับ Canonical (ตามข่าวลือก่อนหน้าทุกประการ) โดยสร้าง Linux Subsystem เอาไว้ เพื่อให้นักพัฒนาและผู้ดูแลระบบระดับสูง สามารถใช้คำสั่งของ Linux ได้หลายตัว (ในการสาธิตคือ emacs)
ย้ำอีกครั้งว่าจะมาพร้อมกับ Anniversary Update ใหม่ครับ
ที่มา - งาน Build 2016
เว็บไซต์ ZDNet เผยว่า Microsoft และ Canonical ร่วมกันผนวก Ubuntu เป็นส่วนหนึ่งของ Windows 10 (ไม่ใช่ virtual machine) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของนักพัฒนาแอพ โดยจะมีการกล่าวถึงความร่วมมือนี้ที่งาน BUILD 2016 คืนนี้
คาดว่า Ubuntu จะรันบน Linux subsystem ที่ถูกเพิ่มเข้ามาใน Windows 10 รุ่นทดสอบ 14251 โค้ดเนม Redstone แบบลับๆ โดยหากเป็นเช่นนี้จะหมายถึงว่าความร่วมมือนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการที่สองบริษัทร่วมกันทำ LXD container hypervisor ตั้งแต่ฤดูร้อนปีที่ผ่านมา และการรัน Ubuntu บน Windows 10 จะเฉพาะ Bash และเครื่องมือที่รันแบบ CLI อื่นๆ ไม่รวม Unity ด้วย
ต้องตามกันว่าที่ BUILD 2016 คืนนี้ Microsoft จะกล่าวถึงความร่วมมือทำให้รัน Ubuntu บน Windows 10 หรือไม่
ที่มา: ZDNet
Jane Silber ซีอีโอของ Canonical เผยกับเว็บไซต์ The Register ว่า ได้พูดคุยกับ OEM ผลิตอุปกรณ์รัน Android เป็นประจำ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้ผลิตเหล่านั้นที่จะสนับสนุนแพลตฟอร์มทางเลือกอื่นๆ และหลายรายในกลุ่มข้างต้นจะส่งมอบ (ship) อุปกรณ์รัน Ubuntu หลากรุ่น ในปีนี้
เมื่อปี 2012 Dash ระบบค้นหาแอพของ Ubuntu 12.10 เพิ่มฟีเจอร์ค้นหาข้อมูลแล้วแสดงสินค้าจาก Amazon ซึ่งเป็นช่องทางการหารายได้ของต้นสังกัด Canonical ฟีเจอร์นี้ถูกคัดค้านอย่างหนักในประเด็นความเป็นส่วนตัว จน Canonical ต้องยอมถอย เพิ่มตัวเลือกให้ปิดได้ในภายหลัง (Richard Stallman วิจารณ์ว่านี่คือสปายแวร์)
เวลาผ่านมาเกือบ 4 ปี ใน Ubuntu รุ่นหน้า 16.04 LTS ฟีเจอร์นี้จะปิดมาเป็นดีฟอลต์ การค้นหาข้อมูลใดๆ จะอยู่แค่ในเครื่องของเราเท่านั้น ไม่ถูกส่งข้อมูลกลับไปยัง Canonical อีกต่อไป
Cristian Parrino หัวหน้าทีม Ubuntu Phone ประกาศลาออกจากบริษัท Canonical แล้ว เขาโพสต์ความเห็นลง Medium ว่าการเป็นหัวหน้าทีม Ubuntu Phone เป็นประสบการณ์ที่ดี และเขาภูมิใจกับผลงานครั้งนี้มาก แต่ในขณะเดียวกันเขาก็รู้สึกว่าต้องไปหาสิ่งใหม่ๆ ทำ ซึ่งผลงานใหม่ของเขาจะเป็น "Fitbit for planet" ที่ยังไม่บอกรายละเอียดว่าเป็นอะไร
Parrino เข้ามาทำงานกับ Canonical ในปี 2013 ส่วนตำแหน่งของเขาจะมีพนักงานคนอื่นของ Canonical มาทำหน้าที่แทน ส่วนโครงการ Ubuntu Phone ก็คงต้องลุ้นกันต่อไปว่าจะไปได้ไกลแค่ไหนครับ
Canonical เปิดตัวระบบเครือข่ายแบบใหม่ในชื่อ Fan สำหรับใช้งานกับคอนเทนเนอร์โดยเฉพาะ มันทำให้เครื่องคอนเทนเนอร์สามารถใช้หมายเลขไอพีในวงขนาดใหญ่ เช่น 10.0.0.0/8 ขณะที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์จริงอยู่ในเน็ตเวิร์คที่เล็กกว่า เช่น 172.16.0.0/16
Mark Shuttleworth ผู้ก่อตั้งบริษัท Canonical ผู้พัฒนา Ubuntu ให้สัมภาษณ์ว่าเขากำลังพิจารณาว่า Canonical ควรขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่
ที่ผ่านมา Canonical ใช้เงินลงทุนส่วนตัวของ Shuttleworth เอง และหารายได้จากการพัฒนา-ซัพพอร์ต Ubuntu ในโลกธุรกิจ บริษัทไม่เคยเปิดเผยผลประกอบการต่อสาธารณะ ตัว Shuttleworth บอกว่าแม้ตัวบริษัททั้งหมดยังไม่ทำกำไร แต่แผนก OpenStack ทำกำไรแล้ว และอนาคตของ Ubuntu ในวงการ OpenStack นั้นสดใสมาก เพราะตอนนี้ Ubuntu ครองตลาด 55% สำหรับระบบปฏิบัติการที่ใช้ทำกลุ่มเมฆ OpenStack
Shuttleworth บอกว่าไอเดียการนำ Canonical เข้าตลาดหลักทรัพย์ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และเขาต้องหารือกับพนักงานของบริษัทอย่างละเอียดก่อน ซึ่งก็ต้องกินเวลาอีกหลายเดือน
Ubuntu 15.04 Vivid Vervet ออกแล้ว ของใหม่ได้แก่
ช่วงหลังมานี้ ค่าย Ubuntu พยายามบุกตลาด Internet of Things อย่างจริงจังด้วย Ubuntu Core โดยล่าสุดต้นสังกัด Canonical ประกาศจับมือกับพันธมิตรจากหลายอุตสาหกรรม
งานเปิดตัว Raspberry Pi 2 มีการประกาศเพิ่มเติมถึงพาร์ตเนอร์ของ Raspberry Pi เข้าร่วมหลายราย สองรายสำคัญที่ประกาศมาคือ Canonical และไมโครซอฟท์
Canonical จะซัพพอร์ต Snappy Ubuntu Core บน Raspberry Pi อย่างเป็นทางการ จากเดิมที่ Snappy ก็ซัพพอร์ต ARMv7 อยู่แล้ว การที่ Raspberry Pi อัพเกรดซีพียูทำให้ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่น่าจะใช้งานได้ทันที
ส่วนไมโครซอฟท์ประกาศซัพพอร์ต Raspberry Pi 2 โดยจะพอร์ต Windows 10 ลงมาให้ และ Raspberry Pi 2 จะอยู่ในโครงการ Windows Developer Program for IoT จากเดิมที่รองรับบอร์ด Galileo ของอินเทลเป็นหลัก
บริษัท Canonical เปิดตัว Ubuntu Core อิมเมจขนาดเล็กพร้อมระบบจัดการแพ็คเกจแบบใหม่ Snappy ตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยตั้งเป้าจับตลาดเซิร์ฟเวอร์บนกลุ่มเมฆเป็นหลัก
ล่าสุด Canonical ประกาศขยายตลาดของ Ubuntu Core ไปยังอุปกรณ์ Internet of Things, หุ่นยนต์, โดรน และอุปกรณ์ฝังตัวประเภทอื่นๆ ด้วย โดยจุดเด่นของ Ubuntu Core คือระบบเปิด, รองรับสถาปัตยกรรม ARM, ระบบปฏิบัติการมีขนาดเล็ก และอัพเดตง่าย
เบื้องต้น Ubuntu Core เปิดตัวพันธมิตรร่วมพัฒนาหลายราย เช่น BeagleBoard, Odroid, PCDuino และมูลนิธิ Open Source Robotics Foundation
ที่มา - Ubuntu
บริษัท Canonical เคยสัญญาว่าจะออกโทรศัพท์ Ubuntu Phone ภายในปี 2014 สุดท้ายก็ไม่สามารถทำตามแผนได้ ประกาศเลื่อนเป็น "ต้นปี 2015" แทนแล้ว
เหตุผลของการเลื่อนมาจากหลายปัจจัยประกอบกัน เพราะ Ubuntu Phone เป็นแพลตฟอร์มใหม่ทั้งหมด ต้องทดสอบแก้บั๊กกันนานพอสมควร สถานะของระบบปฏิบัติการตอนนี้ยังไม่เสถียรพอจะออกรุ่น RTM (release-to-manufacturing) ให้ผู้ผลิตได้
Cristian Parrino ผู้บริหารของ Canonical ยืนยันว่าพาร์ทเนอร์ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง Meizu และ Bq ยังจะร่วมผลิตมือถือชุดเปิดตัว (แม้จะมีข่าวว่า Bq เริ่มลดความสนใจ Ubuntu Phone ลงจากเดิม) โดย Meizu จะเน้นทำตลาดจีน และ Bq เน้นตลาดยุโรป
บริษัท Canonical เปิดตัวฮาร์ดแวร์ใหม่ชื่อ The Orange Box (ไม่มีความเกี่ยวโยงใดๆ กับ Half-life) มันคือคลัสเตอร์ 10 ตัวในฮาร์ดแวร์กล่องเดียว สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ภายในติดตั้ง Ubuntu 14.04 LTS และระบบบริการจัดการคลาวด์ MAAS, Juju ของ Canonical เอง
ภายในกล่อง Orange Box ประกอบด้วยไมโครเซิร์ฟเวอร์ 10 ตัวที่ใช้ซีพียู Intel Core i5-3427U ควอดคอร์, แรม 16GB, SSD 128GB, Gigabit Ethernet นอกจากนี้เครื่องเซิร์ฟเวอร์หนึ่งตัวในกล่องจะฝัง Centrino Advanced-N 6235 Wi-Fi Adapter (เสา Wi-Fi ถอดได้) และฮาร์ดดิสก์ขนาด 2TB จาก Western Digital มาให้ด้วย
Ubuntu for Android เป็นโครงการของบริษัท Canonical ที่ต้องการทำมือถือ Android ที่ต่อจอนอกแล้วรันเดสก์ท็อป Ubuntu ได้พร้อมกันในตัว โครงการนี้เปิดตัวในปี 2012 และเรียกเสียงฮือฮาได้พอสมควร แต่จากนั้นก็เงียบหายไปนาน
อย่างไรก็ตาม มีคนไปเจอข้อมูลในระบบบั๊กของ Canonical ว่าโครงการนี้ "หยุดพัฒนาแล้ว" (Ubuntu for Android is no longer in development) ซึ่งเมื่อมันกลายเป็นข่าว ข้อความนี้ก็ถูกลบออกไปจากระบบ