กูเกิลและไมโครซอฟท์ สองผู้ให้บริการเสิร์ชเอนจินยักษ์ใหญ่ ได้ลงนามในหลักปฏิบัติ (Code of Practice) ของสหราชอาณาจักรที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย Digital Millennium Copyright Act เพื่อลดการแสดงผลการค้นหาหน้าเว็บที่มีคอนเทนท์ละเมิดลิขสิทธิ์ลง
นอกจากจะลดการแสดงผลเว็บละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว หลักปฏิบัตินี้ยังระบุด้วยว่าการค้นหาไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ เพลง หนังสือดิจิทัลหรือกีฬา จะต้องแสดงผลเป็นหน้าเว็บของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้ให้บริการตามกฎหมายให้มากขึ้นแทน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ช่วงซัมเมอร์นี้เป็นต้นไป
ในฐานะเกมยอดฮิตแห่งปีของ Overwatch ก็ย่อมหนีไม่พ้นโปรแกรมโกงต่างๆ โดยก่อนหน้านี้ Blizzard เคยจัดการกับฝั่งผู้เล่นไปแล้ว ล่าสุดหันมาจัดการกับผู้ผลิตโปรแกรมโกงบ้างแล้ว โดยได้ยื่นฟ้อง Bossland GmbH บริษัทสัญชาติเยอรมันที่เป็นเจ้าของโปรแกรมโกงอย่าง Watchover Tyrant พร้อมเรียกค่าเสียหาย
Blizzard ระบุในคำร้องว่า Bossland นั้นละเมิดลิขสิทธิ, ละเมิดกฎหมาย Digital Millennium Copyright Act, ก่อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมและทำให้บริษัทสูญเสียรายได้ไปหลายล้านเหรียญ
ตอนนี้อุตสาหกรรมเพลงกำลังรวมตัวกัน ทั้งศิลปินอย่าง Taylor Swift และ U2 รวมถึงค่ายเพลงใหญ่ ๆ อย่าง Universal Music, Sony Music และ Warner Music ไปซื้อโฆษณาจากสำนักข่าวสายการเมืองอย่าง Politico หรือ The Hill เพื่อส่งจดหมายเปิดผนึกไปยังคองเกรสในเรื่องต่อต้านการขโมยคอนเทนต์ไปหาเงินของ YouTube
สหรัฐฯ มีกฎหมาย DMCA ที่ระบุว่าการข้ามมาตรการป้องกันการแก้ไขงานลิขสิทธิ์ เช่น DRM หรือระบบล็อกซอฟต์แวร์ เป็นเรื่องผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามกฎหมายอนุญาตให้หอสมุดรัฐสภา (Library of Congress - LoC) ประกาศข้อยกเว้นจากมาตรานี้ได้ทุกๆ สามปี และปีนี้ทาง LoC ยอมรับข้อเสนอใหม่ ให้การดัดแปลงแก้ไขซอฟต์แวร์รถยนต์ได้รับการยกเว้น
ข้อยกเว้นนี้ทำให้นักวิจัยสามารถเข้าดัดแปลง ตรวจสอบความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ในรถยนต์ โดยไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องด้วยกฎหมาย DMCA
ทาง EFF ที่เป็นผู้ยื่นเสนอขอยกเว้นครั้งนี้ ยืนยันว่ากฎหมาย DMCA มีปัญหาในตัวเอง และกระบวนการขอเว้นที่ล่าช้าเช่นนี้เป็นเรื่องไม่จำเป็น แต่การได้รับยกเว้นก็ถือเป็นเรื่องที่ดี
สภาสูงของสหรัฐอเมริกา ได้ผ่านร่างกฎหมายใหม่ที่ต้องการเพิ่มการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค โดยกฎหมายใหม่นี้จะทำให้การปลดล็อคมือถือเพื่อที่จะย้ายค่ายกลับมาถูกกฎหมายอีกครั้ง ซึ่งนายบารัค โอบาม่าเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนร่างกฎหมายนี้มาโดยตลอด
ก่อนหน้านี้ การปลกล็อคมือถือในสหรัฐกลายเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายเมื่อต้นปี 2013 เนื่องจากส่วนหนึ่งของกฎหมาย Digital Millennium Copyright Act ได้มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องการปลดล็อคมือถืออยู่ด้วย แต่เพิ่งมีผลบังคับใช้จริงในเดือนมกราคม 2013 หลังจากมีการ “ยกเว้น” กฎนี้ไว้ระยะหนึ่ง
แม้ว่าแอนดรอยด์จะเป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดกว้าง แต่การจะทำให้แอนดรอยด์เป็นรูปเป็นร่างได้นั้นก็จำเป็นต้องประกอบร่างเข้ากับส่วนต่างๆ มากมาย ซึ่งหลายครั้งเจ้าองค์ประกอบอื่นที่ว่านี้ไม่ได้เปิดกว้างได้เท่ากับตัวแอนดรอยด์ จึงมีปัญหาการละเมิดสิทธิ์กันบ่อยครั้ง และล่าสุดเป็นทาง Qualcomm ที่สั่งปิด repository บน GitHub ไปมากกว่า 100 แห่งหลังจากพบว่ามีการละเมิด DMCA (Digital Millennium Copyright Act) เกิดขึ้น
อีมูเลเตอร์ Game Boy Advance ที่ชื่อ GBA4iOS ที่ Riley Testut ได้พัฒนาและวางไว้บน GitHub เพื่อให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไปใช้ได้โดยไม่ต้องเจลเบรค (วิธีใช้ลองดูจากข่าวเก่า) ก่อนหน้านี้แอปเปิลก็ได้ปิดช่องโหว่โดยการยกเลิกใบรับรองไปแล้ว (แต่ก็ซิกแซกจนลงได้อยู่ดี)
ตอนนี้ Nintendo ยื่นเอกสารถึง Testut ผู้พัฒนาแอพนี้ในข้อหาละเมิด DMCA (Digital Millennium Copyright Act) ทำให้ Testut ต้องถอดแอพออกจาก GitHub ทันที แต่เขาก็บอกผ่านทวิตเตอร์ @rileytestut ว่าถ้าใครที่ลงแอพ GBA4iOS ไปก่อนหน้าก็ยังเล่นได้ปกติ
บริษัท LeakID ตัวแทนไมโครซอฟท์เพื่อหาเว็บละเมิดลิขสิทธิ์ทั่วอินเทอร์เน็ตมาแจ้งผู้ให้บริการในสหรัฐฯ เพื่อให้ลบผลค้นหาของเว็บละเมิดลิขสิทธิ์ ส่งคำร้องไปยังกูเกิลเพื่อให้ถอด URL จำนวนมากบนเว็บไมโครซอฟท์เองออกจากผลค้นหา
กระบวนการถอดผลค้นหาตามคำร้องนี้เป็นกระบวนการตามกฎหมาย DMCA ที่เปิดให้ผู้เสียหายโดยตรงเข้าแจ้งคำร้องกับผู้ให้บริการ แต่ปัญหาในช่วงหลังเกิดจากการแจ้งที่ไม่สมเหตุสมผลจำนวนมาก เช่น มีการแจ้งการละเมิดลิขสิทธิ์ของโปรแกรม VLC ที่เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
กูเกิลพบความผิดพลาดในคำร้องนี้และยังไม่ได้ถอดหน้าเหล่านั้นออกจากผลค้นหาแต่อย่างใด
ศาลสหรัฐตัดสินคดีของบริษัท MP3tunes ที่ถูกค่ายเพลง EMI ฟ้องว่าส่งเสริมการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง ผลคือ MP3tunes ผิดบางข้อหา แต่คำตัดสินของศาลกลับรับรองบริการฝากไฟล์เพลงไว้บนเน็ต (music locker) ว่าไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐ
งานนี้เป็นข่าวใหญ่มากที่จะกระทบทั้งวงการไปในวงกว้างเมื่อรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาได้แถลงว่า
หลาย ๆ คนอาจจะทราบถึงเรื่องที่แอปเปิลได้ชนะคดีระหว่างแอปเปิลกับ Psystar เกี่ยวกับเรื่องละเมิด DMCA ของ Mac OS X มาแล้ว ล่าสุด Psystar ได้ทำการอัพเดทเว็บของตัวเองว่าทางบริษัทได้เลิกทำการขาย Rebel EFI ที่มีความสามารถในการทำให้คอมพิวเตอร์ PC สามารถบูท Mac OS X ได้ แม้ว่าทางบริษัทเองยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างแน่นอนจากศาลว่าสามารถทำได้หรือไม่
ในขณะเดียวกัน Psystar ได้ขอรับบริจาคเงิน และยังทำการขายเสื้อที่ด้านหน้าเขียนไว้ว่า "I sued Psystar" ส่วนด้านหลังนั้นเขียนว่า ".. and all I got was a lousy injunction." หรือแปลเป็นไทยได้ว่า "ฉันฟ้อง Psystar … และทั้งหมดที่ฉัันได้ก็แค่คำสั่งห้าม [Psystar ขาย] แหยง ๆ อันนึง"
บริษัท Psystar เป็นบริษัทที่ผลิตเครื่องแมคโคลนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากแอปเปิล ก่อนหน้านี้แอปเปิลเคยฟ้อง Psystar ในข้อหาละเมิด EULA ของ Mac OS X ซึ่ง Psystar แก้เกมด้วยการฟ้องกลับ แต่แอปเปิลก็ยื่นฟ้อง Psystar อีกคดีด้วยข้อหาผิดกฎหมาย DMCA (กฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐ) เพราะละเมิดลิขสิทธิ์ของ Mac OS X
เพึ่งมีข่าวไปว่า The Pirate Bay ย้ายจากสวีเดนไปยูเครน แต่อยู่ดีๆ กูเกิลก็ลบ URL ของ The Pirate Bay (Thepiratebay.org) จาก Google Search Index ไปเมื่อวานนี้ตามเวลาสหรัฐฯ แต่ตอนนี้กลับมาเป็นปกติแล้วในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน โดยกูเกิลก็ได้ออกมาบอกว่าเกิดจากการความผิดพลาดภายในของกูเกิลเอง
สองบริษัทผู้ "เสียผลประโยชน์" จากการล็อกโทรศัพท์ของแอปเปิล นั่นคือ Skype และ Mozilla ผู้ดูแลโครงการ Firefox ได้ออกมาประกาศตัวสนับสนุน EFF ที่ต่อสู้กับทางแอปเปิลเพื่อสิทธิในการปลดล็อกการลงซอฟต์แวร์หรือที่เรียกกันว่า jailbreak แล้ว
ทั้งสองบริษัทนี้ไม่สามารถส่งซอฟต์แวร์ของตนเองไปติดตั้งในไอโฟนด้วยวิธีปรกติได้ เนื่องจากแอปเปิลนั้นไม่รับซอฟต์แวร์ VoIP ทุกชนิดเมื่อโทรศัพท์เชื่อมต่อกับเครือข่าย cellular และไม่รองรับซอฟต์แวร์ที่ใช้รันสคริปต์อื่นๆ ได้ ซึ่งรวมไปถึงเบราว์เซอร์ด้วย
ทาง EFF ระบุว่าการปลดล็อกโทรศัพท์ไอโฟนนั้นเป็นสิทธิอันชอบธรรมของผู้ใช้เนื่องจากเป็นการกระทำเพื่อให้ทำงานร่วมกับระบบอื่นๆ (interoperability) ได้ดีขึ้น