กรมสรรพากรของอินโดนีเซีย เปิดเผยว่าอินโดนีเซียมีแผนจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากธุรกรรมสินทรัพย์คริปโต และจะคิดภาษีจากกำไรการขาย (Capital Gain) ที่อัตราร้อยละ 0.1 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นต้นไป
ปัจจุบันอินโดนีเซียกำหนดให้สินทรัพย์คริปโต มีสถานะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) จึงสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ แต่ไม่สามารถใช้ในการชำระหนี้ได้ และเนื่องจากเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ จึงทำให้ธุรกรรมซื้อขายต้องถูกคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง
ข้อมูลระบุว่าตลาดการซื้อขายคริปโตในอินโดนีเซียก็เติบโตสูงในปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกันในหลายประเทศ โดยมูลค่าซื้อขายเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัวจากปี 2020
คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและการเงินของรัฐสภายุโรป (Committee on Economic and Monetary Affairs) ลงมติรับร่างกฎหมายต่อต้านการฟอกเงินผ่านคริปโต
ร่างกฎหมายนี้กำหนดให้ ธุรกรรมคริปโตทุกรายการ ต้องมีข้อมูลของผู้ทำธุรกรรมเพื่อให้หน่วยงานกำกับดูแลสามารถตามรอยได้ หากเป็นกรณีซื้อผ่านตัวกลางหรือ exchange ต้องทำ KYC ทั้งหมด รวมถึงกระเป๋าเงินส่วนตัว (unhosted หรือ self-hosted wallet) กฎหมายก็ระบุให้ต้องตามรอยเช่นกัน หากกฎหมายผ่านแล้ว หน่วยงานกำกับดูแลจะมีหน้าที่หาโซลูชันทางเทคนิคเพื่อให้ตามรอยได้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายนี้มีข้อยกเว้นให้การทำธุรกรรมแบบ P2P ระหว่างบุคคลโดยตรงที่ไม่ผ่านตัวกลาง
Ronin Network เครือข่าย sidechain สำหรับการทำ transaction ความเร็วสูงสำหรับ Ethereum ถูกแฮกถอนเงินออกไปทั้ง USDC และ ETH รวมมูลค่ากว่าสองหมื่นล้านบาท
การแฮกครั้งนี้อาศัยการแฮกที่ตัวโหนด validator โดยตรง โดยใน Ronin มีทั้งหมด 9 โหนด และต้องยืนยันธุรกรรมอย่างน้อย 5 โหนด คนร้ายสามารถแฮก 4 โหนดของ Sky Mavis และอีกหนึ่งโหนดของ Axie DAO ที่แม้จะเป็นผู้สร้างโหนดคนละราย แต่กลับเปิดให้ โหนดของ Sky Mavis เซ็นยืนยันธุรกรรมแทนเอาไว้ ทำให้คนร้ายยืนยันธุรกรรมได้สำเร็จ
Ronin Network ได้รับความนิยมสูงในหมู่คน Game-Fi และ NFT เป็นรองเพียง Ethereum หลักเท่านั้น ตัวเครือข่ายอาศัยการยืนยันแบบ Proof-of-Authority
เราเห็นข่าวแนวนี้กันอยู่เรื่อยๆ และยังไม่มีวี่แววว่าจะจบลง กรณีล่าสุดมาจากบริษัท Good Luck Games ผู้สร้างเกมการ์ด Storybook Brawl บนพีซี (เป็นเกม free-to-play โหลดได้จาก Steam) ออกมาประกาศแผนว่าจะนำบล็อคเชน คริปโตและ NFT มาใช้กับเกม
กรณีของ Good Luck Games มีเหตุผลเบื้องหลังตรงที่บริษัทเพิ่งถูกซื้อกิจการโดยบริษัทคริปโต FTX ที่มองเห็นโอกาสผสมผสานเกมการ์ดกับคริปโตเข้าด้วยกัน ในข่าวประกาศขายกิจการให้ FTX จึงมีแผนกว้างๆ เรื่องคริปโตอยู่ด้วย
เมื่อวานนี้ สภาผู้แทนราษฎรของอินเดีย (โลกสภา) ลงมติผ่านกฎหมายงบประมาณประจำปี 2022 โดยมีเนื้อหาครอบคลุมการเก็บภาษีคริปโต ตามแนวทางที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอินเดียเสนอเข้าสภา
กฎหมายภาษีคริปโตของอินเดีย (ครอบคลุมเงินคริปโตและ NFT) จะเก็บภาษีในอัตรา 30% จากกำไรในการขาย (capital gain) โดยไม่สามารถนำการขาดทุนมาหักกับกำไรได้ และเก็บภาษี 1% กับทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นไม่ว่าซื้อหรือขาย (TDS หรือ tax deductible at source) โดยภาษี TDS สามารถนำไปยื่นรวมกับภาษีเงินได้ประจำปี เผื่อบุคคลนั้นสามารถลดหย่อนได้
หลังจากทางก.ล.ต. ออกประกาศห้ามไม่ให้ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไปให้บริการชำระค่าสินค้าและบริการ วันนี้ก็มีการแถลงข่าวกับสื่อมวลชนเพิ่มเติมโดยคุณสุรศักดิ์ ฤทธิ์ทองพิทักษ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับตลาด ก.ล.ต. และคุณพงศ์ธวัช โพธิกิจ ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน ธปท. ระบุว่าหากไม่ได้ใช้ตัวกลางเป็นธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้กำกับดูแลก็ยังคงเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่จะทำได้
ทั้งสององค์กรระบุถึงความกังวลว่าจะมีการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการเป็นวงกว้าง เช่น การที่ผู้ให้บริการต่างๆ นำระบบไปวางเพื่ออำนวยความสะดวกในการรับชำระค่าสินค้าและบริการ
ประเทศเอลซัลวาดอร์ประกาศเลื่อนแผนการออกพันธบัตรบิทคอยน์ตามที่เคยประกาศไว้ เนื่องจากราคาบิทคอยน์ตกลง
เดิมที เอลซัลวาดอร์ประกาศขายพันธบัตรมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ มีกำหนดขาย 15-20 มีนาคม โดยจะนำเงินสดที่ได้ไปซื้อบิทคอยน์ 500 ล้านดอลลาร์ และนำไปจ่ายค่าขุดเหมืองบิทคอยน์อีก 500 ล้านดอลลาร์ ผู้ซื้อพันธบัตรมีกำหนดไถ่ถอน 5 ปี โดยได้ดอกเบี้ยตามที่ประกาศ
แต่เนื่องจากราคาบิทคอยน์ผันผวน บวกกับสถานการณ์สงครามยูเครน-รัสเซีย ทำให้ Alejandro Zelaya รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องประกาศเลื่อนแผนการขายพันธบัตรนี้ไปก่อน โดยอาจกลับมาขายในเดือนกันยายน 2022
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเตรียมออกเกณฑ์การลงทุนของธนาคารพาณิชย์ โดยมีสองประเด็นคือการอนุญาตให้ลงทุนในบริษัทกลุ่มฟินเทคได้ไม่มีเพดาน และกำหนดการลงทุนธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้ไม่เกิน 3% ของเงินกองทุน
บริษัทเทรดคริปโต Crypto.com ประกาศเข้าเป็นสปอนเซอร์ของฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ ช่วงปลายปีนี้ ถือเป็นครั้งแรกของบริษัทคริปโตที่ก้าวขึ้นมาเป็นสปอนเซอร์เทศกาลกีฬาใหญ่ระดับฟุตบอลโลก
ก่อนหน้านี้ไม่นาน Crypto.com เพิ่งเซ็นสัญญาเป็นสปอนเซอร์สนามแข่งบาสเก็ตบอล L.A. Lakers โดยซื้อสิทธิชื่อสนามเป็น Crypto.com Arena รวมถึงเป็นสปอนเซอร์กีฬาชนิดอื่นๆ อย่างรถแข่ง ฮอกกี้น้ำแข็งด้วย
Crypto.com จะเข้ามาเป็นแพลตฟอร์มเทรดคริปโตอย่างเป็นทางการของฟุตบอลโลก 2022 นอกจากการโชว์โลโก้ที่ข้างสนามแล้ว บริษัทยังระบุว่าจะมีกิจกรรมอื่นๆ สำหรับลูกค้าที่เทรดคริปโตบนแพลตฟอร์มด้วย
ก.ล.ต. ออกประกาศ "หลักเกณฑ์กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในการจํากัดการให้บริการในการนําสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชําระค่าสินค้าและบริการ" หลังจากรับฟังความคิดเห็นไปตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา และได้สรุปความคิดเห็นไว้แล้ว
ConsenSys สตาร์ทอัพที่เน้นพัฒนาบริการบนบล็อกเชน Ethereum ประกาศรับเงินทุนซีรี่ส์ D รวม 450 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการสูงกว่า 7 พันล้านดอลลาร์แล้ว โดยผู้ลงทุนหลักในรอบนี้คือ ParaFi Capital ซึ่งเคยลงทุนในซีรี่ส์ C มาแล้ว ส่วนผู้ลงทุนรายอื่นที่คุ้นชื่อ เช่น Temasek, SoftBank Vision Fund 2, Microsoft, Anthos Capital เป็นต้น
บริการของ ConsenSys มีหลายอย่าง แต่ที่สายคริปโตน่าจะคุ้นกันดีคือกระเป๋าเงิน MetaMask ส่วนผลิตภัณฑ์อื่นได้แก่ Infura เครื่องมือสำหรับนักพัฒนา, Quorum แพลตฟอร์มบล็อกเชนโอเพนซอร์ส และ Codefi
Financial Conduct Authority (FCA) หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของสหราชอาณาจักร ออกมาประกาศห้ามติดตั้งตู้ ATM ถอนเงิน-ฝากเงินซื้อคริปโต (Crypto ATM) ก่อนได้รับอนุญาตจาก FCA ตามกฎหมายฟอกเงิน
ก่อนหน้านี้มีบริษัทชื่อ Gidiplus พยายามให้บริการตู้ ATM คริปโตในสหราชอาณาจักรมาก่อน ซึ่ง FCA ยื่นฟ้องศาล และคณะลูกขุนก็ตัดสินเข้าข้างฝ่ายของ FCA มาแล้ว
FCA ยังเผยแพร่รายชื่อบริษัทที่อาจให้บริการตุ้ ATM คริปโต ซึ่งปัจจุบันพบว่าบริษัทจำนวนมากปิดตัวหรือหยุดทำธุรกิจไปแล้ว
ที่มา - FCA
ตามที่กรมสรรพากรเคยชี้แจงแนวทางปรับเปลี่ยนการเก็บภาษีคริปโตก่อนหน้านี้ ล่าสุด ครม. เห็นชอบกฎหมาย 3 ฉบับ โดยเป็นร่าง พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 2 ฉบับ และร่างกฎกระทรวงอีก 1 ฉบับ
ฉบับแรกเพื่อยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับการโอนคริปโตเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลใน Exchange และฉบับที่สองเพื่อการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (Retail CBDC) โดยทั้งสองฉบับมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
Coinbase ประกาศบล็อคบัญชีคริปโตของบุคคลหรือหน่วยงานของรัสเซีย ตามคำสั่งแซงค์ชันทางเศรษฐกิจของรัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลก
Coinbase บอกว่าปกติการเปิดบัญชีต้องยืนยันตัวตน ระบุชื่อและประเทศก่อนทำธุรกรรมอยู่แล้ว หากเป็นบุคคลที่ชื่อตรงกับรายชื่อของรัฐบาล หรืออาศัยอยู่ในประเทศที่ห้ามทำธุรกรรม (เช่น เกาหลีเหนือ ซีเรีย อิหร่าน ไครเมีย) จะไม่สามารถทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์มได้ บริษัทยังมีระบบตรวจสอบการหลบเลี่ยงหรือพรางตัวเพื่อทำธุรกรรมด้วย
Coinbase บล็อคที่อยู่บนบล็อกเชนไปแล้ว 25,000 รายการ ที่มาจากรัสเซียหรือเกี่ยวข้องกับรัสเซีย และได้แชร์ข้อมูลนี้ให้กับรัฐบาลสหรัฐแล้ว
คริปโตเคอเรนซี และสกุลเงินดิจิทัล เริ่มกลายมาเป็นคำศัพท์ที่เราได้ยินกันบ่อยครั้งขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ และเริ่มกลายเป็นอีกช่องทางการลงทุนที่มีหลายคนสนใจ เริ่มศึกษาหาความรู้ และอีกหลายคนที่เริ่มลงเงินและลงทุนไปแล้ว ซึ่งการลงทุนผ่านคริปโตเคอเรนซีก็มีหลายแบบ และมีข้อได้เปรียบและความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป แต่ในวันนี้วิธีการลงทุนที่เราจะพูดถึงคือแบบ ICO กับ DESTINY TOKEN โทเคนเปิดตัวของ Kubix ในฐานะ ICO Portal ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
Mykhailo Fedorov รองนายกรัฐมนตรีของยูเครน ยังเดินหน้าติดต่อกับบริษัทเอกชนทั่วโลกให้ช่วยกันแบนรัสเซีย (ข่าวเขียนจดหมายถึง Tim Cook ให้แอปเปิลหยุดบริการ App Store ในรัสเซีย)
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของ Fedorov คือขอให้ตลาดซื้อขายเงินคริปโตทั่วโลก บล็อคการเคลื่อนไหวของผู้ใช้ในรัสเซียทั้งหมด ไม่ใช่แค่นักการเมืองหรือนักธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตาม เสียงเรียกร้องนี้ไม่ถูกตอบรับ (ตามคาด) โดยโฆษกของ Coinbase (ซึ่งเป็นบริษัทอเมริกัน) ให้สัมภาษณ์ว่าไม่สามารถปฏิบัติตามได้ เพราะกระทบประชาชนรัสเซียทั่วไป แต่บริษัทจะปฏิบัติตามคำสั่งแบนของรัฐบาลสหรัฐ ที่กำหนดให้ห้ามทำธุรกรรมเป็นรายบุคคล
รัฐบาลยูเครน ประกาศผ่านบัญชีทวิตเตอร์ทางการ @Ukraine ว่าได้ขอรับเงินรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือ โดยเปิดรับเป็นบัญชีเงินคริปโตในสกุล Bitcoin, Ethereum และ Tether (USDT)
ในช่วงแรกที่ทวีตนี้ออกมา ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากรวมทั้ง Vitalik Buterin ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum ได้ตั้งข้อสงสัยทันทีว่าบัญชีอาจถูกแฮก เนื่องจากมีกรณีแบบนี้อยู่เป็นประจำ อย่างไรก็ตามบัญชีนี้เป็นบัญชี Verified และรัฐมนตรีดิจิทัลของยูเครนก็ทวีตเลขกระเป๋าที่เหมือนกัน ทั้งนี้เว็บ Coindesk ได้สอบถามไปยังรัฐบาลยูเครนแต่ยังไม่ได้คำตอบ
ถึงเวลานี้ บัญชีรับบริจาคทั้งหมดข้างต้น ได้เงินบริจาครวมกันแล้วมากกว่า 5 ล้านดอลลาร์
Gabe Newell ผู้ก่อตั้ง Valve ให้สัมภาษณ์กับ Eurogamer ถึงประเด็น Steam แบนเกมที่มีการซื้อขาย NFT โดยเขาบอกว่าการซื้อขาย NFT เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม (super sketchy) และมีเรื่องที่ผิดกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ศาลฎีกาของประเทศจีน มีคำตัดสินว่ากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินคริปโต เช่น การขุดเหมือง การซื้อขาย เก็งกำไร เข้าข่ายความผิด "ระดมทุนผิดกฎหมาย" (illegal fund raising) และมีความผิดทางอาญา ทั้งโทษปรับและจำคุก
ประเทศจีนมีความผิดเรื่องการระดมทุนผิดกฎหมายอยู่แล้ว ในมาตรา 176 ของประมวลกฎหมายอาญา มีโทษจำคุก 3-10 ปี และโทษปรับ 50,000-500,000 หยวน (ประมาณ 2.6 แสน-2.6 ล้านบาท) คำตัดสินนี้ของศาลคือบอกว่าการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับสินทรัพย์เสมือนเข้าข่ายความผิดข้อนี้ ทำให้หน่วยงานของรัฐบาลจีนสามารถจับและลงโทษได้ตามกฎหมาย
Luna Foundation Guard (LFG) องค์กรไม่แสวงหากำไรซึ่งตั้งอยู่ในสิงคโปร์ เพื่อสนับสนุนการเติบโตของระบบนิเวศ Terra ประกาศรับเงินทุน 1 พันล้านดอลลาร์ ด้วยการขาย LUNA แบบ OTC ให้กับกลุ่มทุนนำโดย Jump Crypto และ Three Arrows Capital โดยเหรียญชุดนี้จะถูก lock ไว้แบบทยอยขายได้เป็นเวลา 4 ปี
เงินทุน 1 พันล้านดอลลาร์นี้ LFG จะนำไปแปลงเป็นบิตคอยน์ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำรองให้กับ UST ซึ่งเป็นเหรียญ stablecoin ของ Terra ซึ่ง LFG อธิบายว่าที่เลือกบิตคอยน์เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กับระบบนิเวศของ Terra น้อย จึงช่วยลดความผันผวนของราคา UST ได้
ที่มา: The Block
Circle Internet Financial บริษัทด้านการเงิน ซึ่งเป็นผู้ออกเหรียญ stablecoin USDC ประกาศแผนนำบริษัทเข้าตลาดหุ้น โดยใช้วิธีควบรวมกิจการกับบริษัท SPAC
ผลจากการควบรวมกิจการนี้ จะทำให้ Circle มีมูลค่ากิจการที่ราว 9 พันล้านดอลลาร์ บริษัท SPAC ที่จะควบรวมชื่อ Concord Acquisition Corp ซึ่งก่อนหน้านี้ทั้งสองบริษัทได้ตกลงจะรวมกิจการกันที่มูลค่า 4.5 พันล้านดอลลาร์ แต่เนื่องจากไม่สามารถควบรวมได้ตามกรอบเวลา ทั้งสองจึงปรับแผนขยายเวลาใหม่ รวมทั้งปรับมูลค่ากิจการเพิ่มเป็นสองเท่าด้วย
USDC เป็นหนึ่งใน stablecoin หรือเงินคริปโตที่มูลค่าไม่ผันผวน เนื่องจากผูกกับเงินสกุลดอลลาร์ ที่ได้รับความนิยมสูง อัตราหมุนเวียนหรือ circulation ล่าสุดอยู่ที่ราว 5.25 หมื่นล้านดอลลาร์
Binance Smart Chain ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานบล็อกเชน ประกาศรวมสองบริการเชนได้แก่ Binance Chain และ Binance Smart Chain มาอยู่ภายใต้ชื่อรวมกันคือ BNB Chain การเปลี่ยนแปลงนี้เพื่อรองรับการขยายตัวของโครงการใหม่ ๆ และเพิ่มจำนวน validator จาก 21 เป็น 41 อีกด้วย
ทั้งนี้ Binance Chain ที่เป็นเชน governance จะเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น BNB Beacon Chain ส่วน Binance Smart Chain จะมีชื่อเรียกใหม่คือ BNB Smart Chain ใช้ตัวย่อ BSC เหมือนเดิม
ปัจจุบันเหรียญ BNB ซึ่งเป็นโทเค็นของเครือข่าย BSC มีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 4 ของสกุลเงินคริปโต มูลค่าปัจจุบันอยู่ราว 7 หมื่นล้านดอลลาร์
ที่มา: Coin Telegraph
NFT กลายเป็นคำที่ทุกคนได้ยินบ่อยครั้งในช่วงหลังๆ และหลายคนอาจจะสนใจ NFT ในแง่มุมต่างๆ ทั้งศิลปินที่สนใจผลิตงานเพื่อขายเป็น NFT หรือจะเป็นการลงทุน ในงาน Bangkok Design Week 2022 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ทาง SC Asset ก็แถลง แผนที่จะเข้าไปในตลาด NFT และ Metaverse เพื่อสร้างบริการรูปแบบใหม่ๆ พร้อมกับจัดงานสัมมนา NFT 101 presented by SC Asset ที่เชิญผู้เชี่ยวชาญมาบรรยายถึงสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ NFT และโอกาสต่างๆ
คุณเอ็ดดี้-ภรากร ไทยวรศิลป์ ผู้ก่อตั้งกลุ่ม NFT and Crypto Art Thailand อธิบายถึงแนวคิดของ NFT หรือ non-fungible token ว่าเป็น token ที่แต่ละอันทดแทนกันไม่ได้ ต่างจากเงินคริปโตทั่วๆ ไป เช่น Ethereum ที่ token ใดๆ ก็เหมือนกันขอให้เป็นสกุลเดียวกันเท่านั้น
BlockFi บริการกระดานซื้อขายเงินคริปโต เจรจายอมความกับก.ล.ต. สหรัฐฯ ในฐานที่เปิดบริการให้กู้ยืมเงินคริปโตโดยไม่ได้รับอนุญาต แบ่งค่าปรับ 50 ล้านให้กับก.ล.ต.ของรัฐบาลกลาง และอีก 50 ล้านให้กับรัฐบาลอีก 32 รัฐที่ BlockFi ทำผิดกฎหมาย
BlockFi ให้บริการกู้ยืมเงินผ่านบริษัทลูกชื่อว่า BlockFi Lending LLC เป็นตัวกลางรับฝากและให้กู้ในชื่อบริการ BlockFi Interest Account (BIA) โดย BlockFi กินส่วนต่างดอกเบี้ยสองฝั่ง บริการนี้เริ่มให้บริการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2019
หลังจากนี้ BlockFi จะหยุดให้บริการ BIA ในสหรัฐฯ ไปก่อน และเตรียมจะจดทะเบียนให้บริการตามกฎหมายต่อไป
ที่มา - SEC
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความเห็นข้อบังคับควบคุมการโฆษณาของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีจุดสำคัญที่สุดคือ ห้ามโฆษณาเงินคริปโตในพื้นที่สาธารณะ ทำได้เฉพาะการโฆษณาการให้บริการยังทำได้ต่อไป (น่าจะหมายถึงห้ามโฆษณาโทเค็นใดๆ เป็นการเฉพาะ แต่โฆษณาบริการทั่วๆ ไป เช่นบริการกระดานซื้อขายได้)
นอกจากการควบคุมผู้รับใบอนุญาตแล้ว แนวทางนี้ยังควบคุมอินฟลูเอนเซอร์ที่รับโฆษณาในบริการออนไลน์ต่างๆ ว่าต้องทำตามหลังเกณฑ์นี้และเปิดเผยผู้จ่ายค่าโฆษณา