รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตรบริการผสมเงินคริปโต (virtual currency mixer) ที่ชื่อ Blender.io ฐานะที่ช่วยให้คนร้ายกลุ่มต่างๆ หลบเลี่ยงการตามตัว นับเป็นบริการผสมเงินคริปโตรายแรกที่โดนคว่ำบาตร
Blender.io ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2017 และจนตอนนี้ผสมเงินบิตคอยน์ผ่านบริการนี้ไปแล้วรวมมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์ เงินก้อนใหญ่ๆ เช่น เหตุเกาหลีเหนือแฮก Axie Infinity ขโมยสินทรัพย์รวมมูลค่า 20.5 ล้านดอลาร์ก็ผสมเงินผ่าน Blender.io นอกจากนี้ยังมีการฟอกเงินจากกลุ่ม ransomware อีกหลายกลุ่ม
การประกาศคว่ำบาตรครั้งนี้ทำให้ธุรกิจในสหรัฐฯ ต้องหยุดให้บริการกับ Blender.io ทุกรูปแบบ ห้ามให้บริการหรือใช้บริการของ Blender.io อีกต่อไป
บิทคับ ออนไลน์ ประกาศชี้แจง หลัง ก.ล.ต. สั่งเปรียบเทียบปรับ บริษัท บิทคับ ออนไลน์ และคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ 5 ราย เนื่องจากนำ Bitkub Coin หรือเหรียญ KUB เข้าซื้อขายในกระดาน โดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์
โดยบิทคับ ออนไลน์ ชี้แจงว่าบริษัทฯ พิจารณาคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะนำมาซื้อขายในกระดาน ใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Listing Rule เดียวกันทุกเหรียญ และเหรียญ KUB ก็มีคุณสมบัติเพียงพอ เป็นไปตาม Listing Rule ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต.
รัฐนิวยอร์ก กำลังอยู่ระหว่างการเสนอกฎหมายห้ามการขุดเหมืองคริปโตประเภท proof-of-work ด้วยเหตุผลเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม
เนื้อหาในกฎหมายนี้จะห้ามการขยายเหมืองคริปโตเพิ่มเป็นเวลานาน 2 ปี ยกเว้นว่าบริษัทที่ขุดเหมืองแบบ proof-of-work สามารถใช้พลังงานหมุนเวียน 100% เท่านั้น
สถานะของร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านโหวตของสภาล่าง (assembly) แล้ว เหลือการโหวตในวุฒิสภา (senate) หากผ่านโหวตแล้วรอผู้ว่าการรัฐเซ็นลงนาม ก็จะมีผลทางกฎหมายต่อไป
ก.ล.ต. สั่งปรับบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด และกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล อีก 5 ราย รายละ 2,533,500.00 บาท เนื่องจากนำ Bitkub Coin (เหรียญ KUB) เข้าซื้อขายในกระดานโดยไม่เป็นตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล และไม่ได้ไม่ได้คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (conflict of interest - COI)
หลังจากประเทศเอลซัลวาดอร์ประกาศรับรอง Bitcoin ช่วงกลางปี 2021 โดยผลักดันการใช้งานเป็นระบบเงินภายในประเทศผ่านแอพวอลเล็ตชื่อ Chivo ของรัฐบาล
กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัย National Bureau of Economic Research ในสหรัฐอเมริกา จึงไปสำรวจการใช้งาน Chivo จากกลุ่มตัวอย่างเป็นครัวเรือน 1,800 ราย ทั้งในเขตเมืองและชนบทของเอลซัลวาดอร์
ต่อจากข่าว อาสาสมัคร Wikipedia เสนอให้หยุดรับเงินบริจาคเป็นคริปโต มีคนโหวตเห็นด้วย 71% ทางมูลนิธิ Wikimedia Foundation ประกาศหยุดรับเงินบริจาคเป็นคริปโตตามข้อเสนอแล้ว โดยจะปิดบัญชี Bitpay ทำให้ไม่สามารถรับเงินเป็นคริปโตได้อีก
ข้อเสนอของเหล่าอาสาสมัครให้เหตุผลหลัก 3 ข้อที่ควรเลิกรับคริปโตคือ การรับบริจาคเงินคริปโตเป็นการส่งสัญญาณว่ามูลนิธิสนับสนุนการใช้เงินคริปโต, เงินคริปโตส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งขัดแย้งกับเป้าหมายของมูลนิธิ, ตัวองค์กรเสียชื่อเสียงจากการรับเงินคริปโต
เมื่อต้นปีนี้ Mozilla Foundation ก็หยุดรับบริจาคเป็นเงินคริปโต ด้วยเหตุผลเรื่องสิ่งแวดล้อม
Warren Buffett และคู่หู Charlie Munger ตอบคำถามเรื่อง Bitcoin ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีของบริษัท Berkshire Hathaway เมื่อคืนนี้ตามเวลาประเทศไทย
Buffett บอกว่าถ้าหากมีคนเสนอขาย Bitcoin ทั้งโลกในมูลค่า 25 ดอลลาร์ เขาก็ยังไม่ซื้ออยู่ดี และตั้งคำถามกลับว่าเขาจะซื้อไปทำไม เขาบอกว่า Bitcoin ไม่มีค่าอะไรเลยเพราะมันไม่สามารถนำไปสร้างอะไรได้ต่ออีก (it doesn't produce anything) คนซื้อกันไว้เพื่อขายต่อในราคาที่แพงขึ้นเท่านั้น ดังนั้นเอาเงินไปซื้อที่ดินหรือที่อยู่อาศัยยังดีกว่า
ส่วน Charlie Munger บอกว่าตลอดชีวิตของเขาพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่โง่ (stupid) เลวร้าย (evil) และทำให้เขาดูแย่ในสายตาคนอื่นๆ ซึ่ง Bitcoin มีครบทั้ง 3 ประการ
สภาของประเทศสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (Central African Republic หรือ CAR) โหวตรับ Bitcoin ให้ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ถือเป็นประเทศที่สองถัดจากเอลซัลวาดอร์
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ออกแถลงการณ์ว่าการยอมรับ Bitcoin เป็นเงินตามกฎหมาย จะช่วยให้ประเทศอยู่ในกลุ่มประเทศที่กล้าและมีวิสัยทัศน์มากที่สุดในโลก (the world's boldest and most visionary)
อย่างไรก็ตาม สาธารณรัฐแอฟริกากลางถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก และสถิติเมื่อปี 2019 มีประชากรเพียง 4% เท่านั้นที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ต
Fidelity บริษัทหลักทรัพย์รายใหญ่ของสหรัฐฯ เปิดตัวกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 401(k) ในชื่อ Fidelity Workplace Digital Assets Account เปิดทางให้พนักงานของบริษัทที่เลือกใช้แผนนี้สามารถลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเช่นบิตคอยน์ได้
ตอนนี้กองทุนอยู่ระหว่างการจัดตั้ง แต่ก็มีบริษัท MicroStrategy ประกาศเป็นลูกค้าแล้วรายแรก ทำให้เมื่อเปิดตัวพนักงานของ MicroStrategy จะสามารถเลือกโยกเงินลงทุนไปสู่สินทรัพย์ดิจิทัลได้ ขณะที่ Newfront บริษัทให้คำปรึกษาการลงทุนระบุว่าบริษัทต่างๆ เริ่มสนใจเพิ่มทางเลือกให้พนักงานสามารถลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ
Bored Ape Yacht Club หรือ BAYC แจ้งเตือนว่าบัญชี Instagram ถูกแฮก และนำไปโพสแจก airdrop ฟรีเพื่อหลอกเหยื่อเข้าเว็บปลอม โดยรวมคาดว่ามี NFT ถูกขโมยจากการแฮกครั้งนี้ 13 ชิ้น รวมมูลค่า 3 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 100 ล้านบาท
รายการ NFT ที่ถูกขโมยไป ได้แก่ Bored Apes 4 ตัว, Mutant Apes 6 ตัว, Bored Ape Kennel Club อีก 3 ตัว และอาจจะมี NFT ชุดอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง
ทาง Yuga Labs ระบุว่ากำลังติดต่อผู้ใช้ที่ถูกแฮกครั้งนี้
ที่มา - The Register
TrueMoney ร่วมมือกับ Merkle Capital ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลของประเทศไทยที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. เปิดบริการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล กำหนดเงินลงทุนเริ่มต้น 3,000 บาท ทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านแอปพลิเคชัน E-Wallet ของ TrueMoney ทั้งหมด
สำหรับการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลบน TrueMoney ทาง Merkle Capital จะใช้หลักการเดียวกับการบริหารกองทุน และแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ
บมจ. กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ Gulf แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า วันที่ 13 เมษายน 2565 Gulf Innova บริษัทในเครือ ได้ลงนามในสัญญาผู้ถือหุ้น กับ Binance Capital Management Co., Ltd. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้ง บริษัทร่วมทุนในการดำเนินธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย
ทั้งให้ Gulf International Investment Limited อีกบริษัทในเครือ ลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล BNB เพื่อเป็นการต่อยอดในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล แต่ไม่ได้เปิดเผยมูลค่าการลงทุน เพราะรายการนี้ไม่ถึงเกณฑ์ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์
Beanstalk โปรโตคอลเหรียญ stablecoin แบบผูกค่ากับเงินดอลลาร์ถูกโจมตีแบบ flash loan เพื่อสั่งสูบเงินออกจากระบบได้สำเร็จ คนร้ายได้ Ethereum ออกไปทั้งหมด 24,830 ETH หรือมูลค่าประมาณ 2,700 ล้านบาท
ช่องโหว่การโจมตีครั้งนี้อาศัยการทำ flash loan โทเค็นเพื่อโหวตให้ Beanstalk รันโค้ดอัพเกรดระบบของคนร้าย โดยปกติแล้ว Beanstalk ป้องกันการโจมตีโดยต้องรอระยะเวลาหนึ่งก่อนจะยอมรับข้อเสนอรันโค้ดใหม่ แต่ตัวโปรโตคอลกลับเปิดให้โหวตข้อเสนอที่เปิดไว้ล่วงหน้าได้ ทำให้คนร้ายโหวตและรันโค้ดได้ทันที คนร้ายวาง contract สำหรับดูดเงินออกไว้ล่วงหน้า และเมื่อถึงเวลาลงมือก็เรียกฟังก์ชั่น emergencyCommit
ดึง Ethereum ออกไป
Axie Infinity เกมแนว gamefi ยอดนิยมที่นำแนวคิด NFT และเหรียญคริปโตมาใช้ทำเงินในเกม (ที่เพิ่งถูกแฮ็กเชน Ronin ไป) กำลังเริ่มประสบปัญหาผู้เล่นระดับ "ลูกข่าย" น้อยลง
เกมเพลย์ของ Axie Infinity คล้ายกับเกม Pokemon ผู้เล่นต้องเลี้ยงมอนสเตอร์ (Axie) ที่เป็น NFT บนเครือข่าย Ethereum โดยใช้เหรียญอีกชนิดที่เรียกว่า Smooth Love Potion (SLP) บนเชน Ronin เป็นสกุลเงินในเกม โดยทั้ง Axie และ SLP สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้นอกเกม นักเก็งกำไรผู้เล่นสามารถซื้อ NFT และ SLP เก็บไว้ได้
Bloomberg รายงานว่าตลาด fan tokens นี่นำแนวคิดของเหรียญคริปโตมาผูกกับทีมกีฬา แล้วจูงใจให้คนซื้อเหรียญโดยชูเรื่องสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของแฟน กลับไปได้ไม่สวยอย่างที่โฆษณากันไว้ ราคาของเหรียญยังตกลงเรื่อยๆ
บริษัทที่บุกตลาด fan tokens อย่างหนักคือ Socios ที่เข้าไปจับมือกับทีมกีฬาดังๆ ทั่วโลก เช่น Manchester City, FC Barcelona, Juventus, PSG, Arsenal และถึงขั้นเป็นสปอนเซอร์บนเสื้อแข่งของทีม Inter Milan
Opera ประกาศว่า Crypto Browser เบราว์เซอร์เวอร์ชันเฉพาะ ที่ออกแบบมาให้เหมาะกับผู้ลงทุนในคริปโต เปิดให้ดาวน์โหลดแล้วบน iOS สำหรับผู้ใช้ iPhone และ iPad จากที่ก่อนหน้านี้มีบน Windows, Mac และ Android
Crypto Browser มาพร้อมกับระบบวอลเลตที่ติดมากับเบราว์เวอร์ รองรับบล็อกเชน Ethereum, Polygon และ Celo ซึ่งจะมีเพิ่มเติมในอนาคต
นอกจากนี้เบราว์เซอร์ยังมีเซกชัน Crypto Corner รวมข้อมูลข่าวสารทุกอย่างเกี่ยวกับการลงทุนในคริปโต ผู้ใช้งานยังสามารถเข้าถึงเนื้อหา web3 NFT และแอป decentralized ที่รองรับได้ด้วย ซึ่ง Opera บอกว่าออกแบบมาให้ง่ายเหมือนการใช้งาน Web2
กลุ่มอาสาสมัคร Wikipedia ระดับ editor จำนวนประมาณเกือบ 400 ร่วมกันโหวตข้อเสนอให้มูลนิธิ Wikimedia Foundation ที่ดูแล Wikipedia หยุดรับเงินบริจาคเป็นคริปโต
ข้อเสนอนี้มีเหตุผลหลัก 3 ข้อคือ การรับบริจาคเงินคริปโตเป็นการส่งสัญญาณว่ามูลนิธิสนับสนุนการใช้เงินคริปโต, เงินคริปโตส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งขัดแย้งกับเป้าหมายของมูลนิธิ, ตัวองค์กรเสียชื่อเสียงจากการรับเงินคริปโต โดยยกกรณีของ Mozilla ที่ตัดสินใจหยุดรับเงินคริปโต
Coinbase ประกาศหยุดให้บริการชำระค่าคริปโตผ่านระบบชำระเงิน UPI ซึ่งเป็นช่องทางชำระเงินออนไลน์ยอดนิยมในประเทศอินเดีย หลังจากเปิดให้บริการเพียงไม่กี่วันเท่านั้น
ตอนนี้ผู้ใช้ในอินเดียที่จะซื้อโทเคนผ่าน Coinbase จะได้รับข้อความแจ้งว่าช่องทางชำระเงิน UPI ไม่สามารถใช้งานได้ และให้ไปใช้ช่องทางชำระเงินอื่นแทน แต่ Coinbase ในอินเดียรองรับการชำระค่าคริปโตผ่าน UPI เท่านั้น เท่ากับว่าผู้ใช้งาน Coinbase ในอินเดียยังไม่สามารถชำระเงินค่าคริปโตได้
Sky Mavis บริษัทผู้พัฒนา Axie Infinity เกมแนว GameFi ชื่อดัง ประกาศระดมทุนเพิ่มอีก 150 ล้านดอลลาร์ เพื่อนำเงินไปจ่ายชดเชยผู้เล่นที่ถูกแฮ็กเหรียญ จากกรณีเครือข่าย Ronin โดนแฮ็ก และโดนขโมยเหรียญไปเป็นมูลค่า 625 ล้านดอลลาร์
Sky Mavis เป็นบริษัทเกมจากเวียดนามที่โด่งดังจากเกม Axie Infinity ซึ่งถือเป็นเกมตระกูล GameFi (เล่นเพื่อเหรียญในเกมที่นำไปขายต่อได้) ที่ได้รับความนิยมสูง แต่เหตุการณ์ Ronin โดนแฮ็ก ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากโหนดของ Sky Mavis ก็สั่นคลอนความเชื่อมั่นของผู้เล่น
ผู้ใช้กระเป๋าเงินคริปโตแบบฮาร์ดแวร์ยี่ห้อ Trezor ได้รับรายงานว่าถูกอีเมลฟิชชิ่งจากคนร้ายแจ้งว่ามีเหตุข้อมูลรั่วไหล และขอให้ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์เวอร์ชั่นล่าสุดลงในเครื่อง
คนร้ายส่งอีเมลจากโดเมน trezor.us ขณะที่เว็บจริงของ Trezor คือ trezor.io แต่อีเมลเป็นอีเมลของลูกค้าจริง โดยพบว่ารายชื่ออีเมลหลุดไปจากบริการ MailChimp ที่ให้บริการส่งจดหมายข่าวสาร
ทาง Trezor ขอให้ผู้ใช้อย่าเปิดอีเมลที่มาจาก trezor.us
ที่มา - Coin Telegraph
Bitcoin มีจำนวนเหรียญในระบบแตะหลัก 19 ล้าน BTC เรียบร้อยแล้ว คิดเป็น 90% เมื่อเทียบจากเป้าหมายดั้งเดิมของ Bitcoin ที่ออกแบบโดย Satoshi Nakamoto จะมีปริมาณ Bitcoin จำกัดที่ 21 ล้าน BTC เท่านั้น
ปัจจุบันมีเหรียญ BTC ถูกสร้างขึ้น (mined/minted) จำนวน 900 BTC ต่อวัน (สร้าง 1 บล็อคทุก 10 นาที คือ 144 บล็อคต่อวัน หนึ่งบล็อคมี 6.25 BTC - รายละเอียด) แต่ระบบถูกออกแบบให้มีอัตราการผลิตลดลงทีละครึ่ง (halving) โดย halving ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 2020 และครั้งหน้าเกิดปี 2024 ด้วยอัตรานี้จึงประเมินได้ว่า BTC เหรียญสุดท้ายจะถูกสร้างขึ้นในปี 2140 หรืออีกราว 120 ปีถัดจากนี้
กรมสรรพากรของอินโดนีเซีย เปิดเผยว่าอินโดนีเซียมีแผนจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากธุรกรรมสินทรัพย์คริปโต และจะคิดภาษีจากกำไรการขาย (Capital Gain) ที่อัตราร้อยละ 0.1 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นต้นไป
ปัจจุบันอินโดนีเซียกำหนดให้สินทรัพย์คริปโต มีสถานะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) จึงสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ แต่ไม่สามารถใช้ในการชำระหนี้ได้ และเนื่องจากเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ จึงทำให้ธุรกรรมซื้อขายต้องถูกคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง
ข้อมูลระบุว่าตลาดการซื้อขายคริปโตในอินโดนีเซียก็เติบโตสูงในปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกันในหลายประเทศ โดยมูลค่าซื้อขายเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัวจากปี 2020
คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและการเงินของรัฐสภายุโรป (Committee on Economic and Monetary Affairs) ลงมติรับร่างกฎหมายต่อต้านการฟอกเงินผ่านคริปโต
ร่างกฎหมายนี้กำหนดให้ ธุรกรรมคริปโตทุกรายการ ต้องมีข้อมูลของผู้ทำธุรกรรมเพื่อให้หน่วยงานกำกับดูแลสามารถตามรอยได้ หากเป็นกรณีซื้อผ่านตัวกลางหรือ exchange ต้องทำ KYC ทั้งหมด รวมถึงกระเป๋าเงินส่วนตัว (unhosted หรือ self-hosted wallet) กฎหมายก็ระบุให้ต้องตามรอยเช่นกัน หากกฎหมายผ่านแล้ว หน่วยงานกำกับดูแลจะมีหน้าที่หาโซลูชันทางเทคนิคเพื่อให้ตามรอยได้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายนี้มีข้อยกเว้นให้การทำธุรกรรมแบบ P2P ระหว่างบุคคลโดยตรงที่ไม่ผ่านตัวกลาง
Ronin Network เครือข่าย sidechain สำหรับการทำ transaction ความเร็วสูงสำหรับ Ethereum ถูกแฮกถอนเงินออกไปทั้ง USDC และ ETH รวมมูลค่ากว่าสองหมื่นล้านบาท
การแฮกครั้งนี้อาศัยการแฮกที่ตัวโหนด validator โดยตรง โดยใน Ronin มีทั้งหมด 9 โหนด และต้องยืนยันธุรกรรมอย่างน้อย 5 โหนด คนร้ายสามารถแฮก 4 โหนดของ Sky Mavis และอีกหนึ่งโหนดของ Axie DAO ที่แม้จะเป็นผู้สร้างโหนดคนละราย แต่กลับเปิดให้ โหนดของ Sky Mavis เซ็นยืนยันธุรกรรมแทนเอาไว้ ทำให้คนร้ายยืนยันธุรกรรมได้สำเร็จ
Ronin Network ได้รับความนิยมสูงในหมู่คน Game-Fi และ NFT เป็นรองเพียง Ethereum หลักเท่านั้น ตัวเครือข่ายอาศัยการยืนยันแบบ Proof-of-Authority
เราเห็นข่าวแนวนี้กันอยู่เรื่อยๆ และยังไม่มีวี่แววว่าจะจบลง กรณีล่าสุดมาจากบริษัท Good Luck Games ผู้สร้างเกมการ์ด Storybook Brawl บนพีซี (เป็นเกม free-to-play โหลดได้จาก Steam) ออกมาประกาศแผนว่าจะนำบล็อคเชน คริปโตและ NFT มาใช้กับเกม
กรณีของ Good Luck Games มีเหตุผลเบื้องหลังตรงที่บริษัทเพิ่งถูกซื้อกิจการโดยบริษัทคริปโต FTX ที่มองเห็นโอกาสผสมผสานเกมการ์ดกับคริปโตเข้าด้วยกัน ในข่าวประกาศขายกิจการให้ FTX จึงมีแผนกว้างๆ เรื่องคริปโตอยู่ด้วย