Amazon Relational Database Service (RDS) บริการฐานข้อมูลบนคลาวด์ในเครือ AWS ประกาศรองรับ MySQL เวอร์ชัน 8.0 แล้ว
MySQL 8.0 เพิ่งออกรุ่นจริงเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ถือเป็นการออกเวอร์ชันใหญ่ครั้งแรกในรอบหลายปีของ MySQL (ข้ามจาก 5.x มาเป็น 8.x เลย) และมีฟีเจอร์ใหม่มากมาย เช่น การแปลง JSON เป็นตารางในฐานข้อมูล, รองรับข้อมูลแบบ spatial สำหรับงานสายภูมิศาสตร์ (GIS), ปรับปรุงประสิทธิภาพดีขึ้นจากเดิม 2 เท่า (เทียบกับ MySQL 5.7) เป็นต้น
ปัจจุบัน AWS ถือเป็นผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ที่สุดของโลก และมีผู้ใช้ฐานข้อมูลบน RDS อยู่มาก การที่ RDS รองรับ MySQL 8.0 ย่อมทำให้การใช้งานฐานข้อมูลเวอร์ชันใหม่ๆ กว้างขวางยิ่งขึ้น
ที่งาน Oracle OpenWorld 2018 ปีนี้ Larry Ellison ประธานและ CTO ของออราเคิลขึ้นสาธิตความสามารถของ Oracle Autonomous Database หลังจากเปิดตัวไปแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยระบุฟีเจอร์สำคัญคือทำงานเป็นแบบ serverless เต็มรูปแบบ ไม่คิดค่าเซิร์ฟเวอร์เมื่อไม่ได้ใช้งาน และไม่มีการดาวน์ระบบแม้จะกำลังอัพเดตแพตช์
Amazon Lightsail บริการคลาวด์อย่างง่ายเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2016 วันนี้มีบริการเพิ่มเติมคือระบบฐานข้อมูล
Lightsail Database ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานเดียวกับ Amazon RDS แต่มีให้เลือกเพียง 4 ขนาด และตัวเลือกว่าจะรองรับการทำ fail over ในกรณีศูนย์ข้อมูลโซนหนึ่งดับไปหรือไม่
ตอนนี้รองรับ MySQL 5.6 และ 5.7 โดย AWS ระบุว่าจะรองรับเวอร์ชั่นล่าสุดสองเวอร์ชั่น โดยในเร็วๆ นี้จะรองรับ PostgreSQL ซึ่งก็จะรองรับสองเวอร์ชั่นเช่นเดียวกัน
แม้บริการ Lightsail สำหรับเซิร์ฟเวอร์จะไม่ได้จัดการโดย AWS (ผู้ใช้รับผิดชอบอัพเดตระบบปฎิบัติการเอง) แต่ Lightsail database นี้จะดูแลโดย AWS แทบทั้งหมดแบบเดียวกับ RDS
ในโอกาสเดียวกันกับการเปิดตัว SQL Server 2019 ไมโครซอฟท์ได้ออก Azure Data Studio เครื่องมือจัดการฐานข้อมูลตระกูล SQL Server ที่ได้รับการออกแบบใหม่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การใช้ฐานข้อมูลโดยเฉพาะในส่วนของงานแก้ไขคิวรี่เพื่อดึงข้อมูลมาแสดงผล สามารถติดตั้งใช้งานได้บนหลายแพลตฟอร์มทั้ง วินโดวส์, แมคและลินุกซ์
Azure Data Studio ถูกพัฒนาโดยใช้ Visual Studio Code เป็นฐาน ตัวโปรแกรมจึงมาพร้อมกับความสามารถของ code editor สมัยใหม่หลายอย่างไม่ว่าจะเป็น IntelliSense, code snippets, integrated terminal จนไปถึงการเชื่อมต่อกับระบบจัดการซอร์สโค้ด
Amazon ได้ออกอัพเดตให้ RDS for PostgreSQL หรือบริการฐานข้อมูล PostreSQL บนคลาวด์ AWS รองรับระบบการจัดการสิทธิ์บนฐานข้อมูลด้วย IAM แล้ว เพื่อให้ผู้ใช้จัดการสิทธิ์ได้จากที่เดียว โดยฟีเจอร์เปิดนี้ได้ในขั้นตอนการสร้างฐานข้อมูล รวมถึงฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้วก็สามารถปรับให้ใช้งานได้ด้วยเช่นกัน
เมื่อเปิดฟีเจอร์ IAM บน RDS for PostgreSQL แล้ว ผู้ดูแลระบบสามารถผูกสิทธิ์ในการเข้าถึงฐานข้อมูลของผู้ใช้ในฐานข้อมูลผ่านระบบ IAM ได้ทันที โดยตัวระบบ IAM จะจัดการ credential ทั้งหมดให้ รวมทั้งสะดวกต่อการทำงานร่วมกับแอพพลิเคชั่นที่รันบน EC2 ด้วย
ไมโครซอฟท์มีบริการฐานข้อมูลบนคลาวด์ Azure SQL Database มานานแล้ว (มันเป็น SQL Server เวอร์ชันดัดแปลงเล็กน้อย และรันแบบ managed database คือไมโครซอฟท์ดูแลและจัดการคอนฟิกให้ ผู้ใช้มีหน้าที่ใช้อย่างเดียว)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกบริการรุ่นย่อย Azure SQL Database Hyperscale สำหรับการทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่มาให้ใช้กัน
Azure SQL Database Hyperscale รองรับฐานข้อมูลขนาดสูงสุด 100TB และเน้นเรื่องการขยายฐานข้อมูลอย่างรวดเร็ว ทั้งแบบ scale up และ scale out รวมไปถึงยกระดับการเก็บล็อกจำนวนมากขึ้นด้วย
ไมโครซอฟท์เปิดตัว SQL Server 2019 รุ่นพรีวิวให้ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี โดยฟีเจอร์สำคัญคือการรองรับเทคโนโลยีจัดการ big data เช่น Apache Spark และ Hadoop Distributed File System (HDFS)
ฟีเจอร์สำคัญด้านการจัดการ big data ได้แก่
เราเห็นความร่วมมือระหว่าง VMware และ AWS เพื่อทำไฮบริดคลาวด์กันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยช่วงแรกเป็นการรันซอฟต์แวร์คลาวด์ของ VMware บนเครื่องเช่าของ AWS
หนึ่งปีผ่านมา ในงาน VMworld 2018 ปีล่าสุด ทั้งสองบริษัททำท่ากลับด้านกันคือนำบริการฐานข้อมูล Amazon Relational Database Service (RDS) ที่เดิมมีเฉพาะบนคลาวด์ของ AWS มาสู่เครื่องในองค์กรที่เป็น VMware
ที่ผ่านมา RDS ซัพพอร์ตฐานข้อมูลหลากหลายยี่ห้อ ทั้ง Microsoft SQL Server, Oracle, PostgreSQL, MySQL, MariaDB ส่วนฟีเจอร์ด้านการบริหารจัดการต่างๆ ที่ช่วยลดภาระของแอดมิน ก็ตามจากเวอร์ชันคลาวด์มาสู่เวอร์ชัน on-premise บน VMware เช่นกัน
มีข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการว่า Amazon ประกาศแผนการเลิกใช้ซอฟต์แวร์ของ Oracle สำหรับงานภายในบริษัท มีกำหนดคือไตรมาสแรกของปี 2020
ความพยายามเลิกใช้งานซอฟต์แวร์จาก Oracle เริ่มต้นมาราว 4-5 ปีแล้ว แต่มาถึงตอนนี้ซอฟต์แวร์ส่วนที่รันงานอีคอมเมิร์ซของ Amazon ยังรันอยู่บนฐานข้อมูลของ Oracle อยู่ บริษัทจึงตั้งเป้าจะถอดฐานข้อมูลของ Oracle ให้สำเร็จภายใน 14-20 เดือนข้างหน้า ส่วนซอฟต์แวร์ตัวใหม่ๆ ของบริษัทไม่ได้สร้างขึ้นบน Oracle มาได้สักระยะแล้ว
เหตุผลที่ Amazon เตรียมเลิกใช้ฐานข้อมูล Oracle เป็นเพราะบริษัทมีความต้องการด้านประสิทธิภาพที่สูงมาก ในระดับที่ Oracle ไม่สามารถตอบสนองได้ แต่ก็ไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า Amazon จะย้ายไปใช้อะไรแทน
ไมโครซอฟท์ประกาศเตือนว่าฐานข้อมูล SQL Server 2008 และ 2008 R2 จะหมดระยะ Extended Support ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2019 หรืออีก 1 ปีข้างหน้า
ตามปกติของซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ เมื่อหมดระยะ Extended Support แล้วจะไม่มีแพตช์ความปลอดภัยให้อีก แต่ถ้าองค์กรใหญ่และรวยจริงๆ ก็ยังสามารถซื้อบริการซัพพอร์ตพิเศษ Extended Security Updates ต่อได้อีก 3 ปีในราคาที่แพง (มาก) เพื่อบีบให้องค์กรย้ายไปใช้ซอฟต์แวร์เวอร์ชันใหม่ (ในที่นี้คือ SQL Server 2017) โดยเร็ว
แต่รอบนี้ไมโครซอฟท์มีทางเลือกใหม่ออกมาคือ แถมฟรี Extended Security Updates แบบไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ภายใต้เงื่อนไขว่าลูกค้าต้องย้ายฐานข้อมูลมารันบนคลาวด์ Azure แทน
ช่วงหลังเราเห็นการเก็บข้อมูลประเภทกราฟที่แสดง "ความเชื่อมโยง" ของสิ่งต่างๆ กันมากขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ Facebook Graph API ที่เก็บข้อมูลความสัมพันธ์ในโลกโซเชียล หรือ Microsoft Graph ที่ไมโครซอฟท์เริ่มนำมาใช้กับ Office และ Windows
ความนิยมในฐานข้อมูลประเภทกราฟ ทำให้ AWS เปิดตัวบริการใหม่ชื่อว่า Amazon Neptune มันคือฐานข้อมูลกราฟที่รันอยู่บนคลาวด์ของ AWS เช่นเดียวกับฐานข้อมูลประเภทอื่นๆ อย่าง RDS, DynamoDB, Aurora
Amazon Neptune รองรับข้อมูลกราฟในฟอร์แมตยอดนิยม 2 แบบคือ
Cloud SQL บริการฐานข้อมูลบนคลาวด์ของ Google Cloud Platform ประกาศรองรับ PostgreSQL อย่างเป็นทางการ (GA) หลังเปิดทดสอบมาตั้งแต่ปีที่แล้ว
ก่อนหน้านี้ Cloud SQL รองรับเฉพาะฐานข้อมูลแบบ MySQL เท่านั้น การรองรับ PostgreSQL ด้วยย่อมทำให้รูปแบบการใช้งานหลากหลายมากขึ้น และเจาะตลาดแอพพลิเคชันที่เน้นใช้บน PostgreSQL ด้วย
ข้อดีของการใช้ PostgreSQL บน Cloud SQL คือเรื่องสเกล ที่ขยายได้ถึง 10TB, 40,000 IOPS และแรม 416GB ต่อหนึ่ง instance นอกจากนี้ยังมีเรื่อง high availablity ที่เป็นจุดแข็งของการใช้คลาวด์อยู่แล้ว
Apple ได้ประกาศโอเพ่นซอร์สระบบฐานข้อมูล FoundationDB อย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากที่ซื้อบริษัทมาตั้งแต่ปี 2015
FoundationDB นั้นเป็นฐานข้อมูลแบบกระจายตัวที่ถูกออกแบบมาให้จัดการกับข้อมูลเชิงโครงสร้างปริมาณมากทั่วคลัสเตอร์ของเซิร์ฟเวอร์ ตัวระบบจัดการข้อมูลเป็น ordered key-value store และใช้ระบบ ACID transactions สำหรับการดำเนินงานทุกอย่างเพื่อการันตี integrity ของข้อมูลเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดซอร์สโค้ดของ FoundationDB ซึ่งอยู่บน GitHub ของ Apple ได้ ส่วนวิธีติดตั้งดูได้จากเว็บไซต์ FoundationDB
Amazon ได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้ DynamoDB บริการ NoSQL ของ AWS คือฟีเจอร์แบคอัพต่อเนื่องหรือ Continuous Backups และฟีเจอร์เรียกคืนข้อมูลที่จุดเวลาหรือ Point-In-Time Recovery (PITR) โดยเครื่องมือเหล่านี้รองรับการใช้งานผ่าน AWS Management Console, เรียกผ่าน API และ AWS Command Line Interface
ฟีเจอร์แรก Continuous Backup คือระบบแบคอัพแบบต่อเนื่อง เมื่อเปิดใช้งานแล้วข้อมูลทั้งหมดจะถูกแบคอัพเก็บไว้อัตโนมัติ และข้อมูลแบคอัพนี้รองรับฟีเจอร์ PITR คือสามารถย้อนกลับไปกู้ข้อมูลยังจุดเวลาหนึ่งในอดีตได้ตลอดเวลา โดยย้อนได้ในระดับวินาทีนานสุดถึง 35 วัน
อินเดีย เป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองก็เพียงแต่จีนเท่านั้น ด้วยจำนวนประชากรราว 1.32 พันล้านคน (ข้อมูลจากปี 2016) มากกว่า 2 เท่าของจำนวนประชากรในทุกประเทศเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมกันด้วยซ้ำ นั่นทำให้ฐานข้อมูลเกี่ยวกับประชากรของประเทศนี้คือข้อมูลขนาดมหึมา การรวบรวมและดูแลจึงเป็นเรื่องไม่ง่ายเลย ซึ่งล่าสุดรัฐบาลอินเดียก็พลาดเรื่องนี้จนได้
เพื่อจัดการกับข้อมูลประชากรมหาศาล รัฐบาลอินเดียได้จัดตั้ง Aadhaar ฐานข้อมูลกลางแห่งชาติที่รวบรวมข้อมูลประจำตัวบุคคลซึ่งรวมถึงข้อมูลอัตลักษณ์ทางชีวภาพอย่างลายนิ้วมือ และภาพสแกนม่านตา โดยมีประชากรอินเดียราว 1.1 พันล้านคนลงทะเบียนข้อมูลแสดงตัวตนในฐานข้อมูล Aadhaar นี้
AWS ประกาศอัพเดตบริการด้านฐานข้อมูลอีกชุดในงาน re:Invent เป็นการอัพเดตฟีเจอร์และบริการใหม่คือ Amazon Netune บริการฐานข้อมูลแบบกราฟ โดยบริการที่ได้รับอัพเดต ได้แก่
ไมโครซอฟท์เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ MariaDB Foundation โดยเป็นสมาชิกระดับสูงสุด (Platinum Member) มีศักดิ์ฐานะเท่ากับ Booking.com, Alibaba Cloud, Tencent Cloud
ตัวแทนของไมโครซอฟท์ระบุว่า ต้องการสนับสนุนการใช้งาน MariaDB บน Azure ให้เต็มที่ จึงเข้ามาสนับสนุนโครงการ MariaDB โดยตรงในฐานะสปอนเซอร์อย่างเป็นทางการ
แนวทางของไมโครซอฟท์คือสนับสนุนฐานข้อมูลที่หลากหลายบน Azure จึงรองรับทั้ง SQL Server, MySQL, MariaDB แต่ช่วงหลังลินุกซ์ดิสโทรส่วนใหญ่เริ่มขยับจาก MySQL มาเป็น MariaDB ก็ทำให้ไมโครซอฟท์เริ่มปรับทิศทางมาสนับสนุน MariaDB แทน
ไมโครซอฟท์จะออก Azure Database for MariaDB เวอร์ชันโฮสต์บนคลาวด์ในเร็วๆ นี้
Google Cloud Spanner บริการระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (relational database) ที่มั่นคงและรองรับการขยายตัวได้ดีจาก Google ได้ออกอัพเดตล่าสุด โดยรองรับระบบ multi-region ซิงค์ข้อมูลข้ามทวีปโดยอัตโนมัติ รวมถึงปรับปรุง Service Level Agreement ใหม่
MariaDB Corporation บริษัทผู้พัฒนาฐานข้อมูลโอเพนซอร์ส MariaDB ประกาศรับเงินลงทุนรอบใหม่ Series C จำนวน 27 ล้านดอลลาร์
บริษัทที่เป็นผู้นำของการลงทุนรอบนี้คือ Alibaba แต่ก็มีบริษัทอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ Intel Capital, California Technology Ventures, Tesi, SmartFin Capital, Open Ocean
ก่อนหน้านี้ MariaDB ยังได้เงินลงทุนจาก European Investment Bank (EIB) จำนวน 27 ล้านดอลลาร์เท่ากัน ทำให้ปีนี้ MariaDB ได้เงินไปแล้ว 54 ล้านดอลลาร์
การเข้ามาลงทุนของ Alibaba เป็นผลให้ความสัมพันธ์ระหว่าง MariaDB กับ Alibaba Cloud แนบแน่นยิ่งขึ้น ก่อนหน้านี้ทั้งสองบริษัทเคยร่วมกันพัฒนา AliSQL หรือ MariaDB เวอร์ชันรันบนคลาวด์ Alibaba Cloud มาก่อนแล้ว
แม้ MySQL จะเป็นระบบฐานข้อมูลที่ได้รับความนิยมอย่างสูง แต่บั๊กบางอย่างก็ใช้เวลาแก้ไขนานอย่างไม่น่าเชื่อ ในเวอร์ชั่น 8.0.3 (สถานะเป็น release candidate 1 ของรุ่น 8.0) ทาง MySQL ก็ได้แก้บั๊กหมายเลข 199 ที่เปิดมาตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2003 หรือประมาณ 14 ปีกับอีก 6 เดือนมาแล้ว
บั๊กหมายเลข 199 เป็นปัญหาของระบบ auto_increment เมื่อใช้กับตารางที่เป็น innodb โดยหมายเลขสูงสุดที่เคยถูกใช้งานจะไม่ถูกจำไว้ หากมีการรีสตาร์ตตัวเซิร์ฟเวอร์ใหม่ ทำให้มีปัญหาการใช้หมายเลขซ้ำในกรณีที่มีการลบ record ล่าสุดออกไปแล้วรีสตาร์ต
ฐานข้อมูล PostgreSQL ออกเวอร์ชัน 10 ซึ่งถือเป็นการขยับเลขเวอร์ชันใหญ่ครั้งแรก นับตั้งแต่ออก PostgreSQL 9.0 ในปี 2010
หมายเหตุ: ที่ผ่านมา PostgreSQL 9.x ถือเป็นรุ่นใหญ่ (major) ทุกรุ่น แต่นับจากนี้ไปจะเปลี่ยนมาใช้เลขเวอร์ชันแบบ x.y โดย x คือรุ่นใหญ่ y คือรุ่นย่อย เหมือนอย่างซอฟต์แวร์ปกติ
ของใหม่ใน PostgreSQL 10.0 มีหลายอย่าง ดังนี้
ของใหม่อีกอย่างในงาน Oracle OpenWorld 2017 คู่มากับฐานข้อมูล Oracle Database 18c (เลขเวอร์ชันก้าวกระโดดอย่างลึกลับ) คือเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล Oracle Exadata รุ่นใหม่ X7
Exadata คือเซิร์ฟเวอร์กลุ่มที่เรียกว่า Engineered System ปรับแต่งมาอย่างดีโดยวิศวกรของ Oracle ว่ารีดประสิทธิภาพของฐานข้อมูล Oracle Database ได้ดีที่สุด
Larry Ellison ซีทีโอของ Oracle เปิดเผยรายละเอียดของฐานข้อมูลใหม่เวอร์ชัน 18c โดยจะใช้ machine learning เรียนรู้จากข้อมูลบันทึกที่เก็บไว้ และสามารถทำงานด้านการป้องกันข้อมูลผู้ใช้ รวมถึงการจัดการฐานข้อมูลได้อัตโนมัติ มีจุดประสงค์หลักเพื่อลดงานของผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล เพื่อให้ไปทำงานในด้านอื่นแทนอย่างเช่นการวางแผนและความปลอดภัย
การใช้ machine learning ในฐานข้อมูลนั้น เพื่อเป็นการช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของฐานข้อมูลในงานที่ใช้บ่อย ๆ ผ่านการ caching, indexing และเทคนิคอื่น ๆ และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ใครที่ขโมย credential ไปเข้าถึงข้อมูลธุรกิจได้ และยังสามารถลดหรือเพิ่มการคำนวณหรือปริมาณข้อมูลที่ใช้ได้อัตโนมัติ
ไมโครซอฟท์ประกาศ SQL Server 2017 เข้าสถานะ GA (general availability) ในวันที่ 2 ตุลาคม โดยมีให้ใช้งานบน 3 แพลตฟอร์มคือ Windows, Linux, Docker
เนื่องจาก SQL Server 2017 เป็นฐานข้อมูลของไมโครซอฟท์ตัวแรกที่รันได้บนลินุกซ์ ไมโครซอฟท์จึงจับมือกับ Red Hat เปิดให้ใช้งานบน Red Hat Enterprise Linux (RHEL) พร้อมให้ส่วนลด 30% ด้วย และถ้าหากลูกค้ามีไลเซนส์ SQL Server อยู่แล้ว และซื้อไลเซนส์ RHEL เพิ่มก็จะได้ส่วนลดจาก Red Hat อีก 30%
ส่วนการใช้งานบน Docker ที่เปิดทดสอบมาเกือบปี ก็เข้าสถานะ GA เช่นกัน โดยสามารถใช้งานบน Docker Enterprise Edition อย่างเป็นทางการ
กูเกิลประกาศว่าฐานข้อมูล Cloud Spanner ภายใต้บริการ Google Cloud Platform เข้าสถานะตัวจริง (GA หรือ General Availability) แล้ว หลังจากทดสอบรุ่นเบต้ามาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์
Cloud Spanner คือระบบฐานข้อมูลที่กระจายตัวอยู่ทั้งโลก ไม่ใช่แค่ทำสำเนาไว้ในศูนย์ข้อมูลเพียงไม่กี่แห่งในภูมิภาคเดียวกันเท่านั้น เทคโนโลยีนี้พัฒนาจากงานวิจัยของกูเกิลในปี 2012 ที่พยายามแก้ปัญหาเรื่อง latency หรือเวลาหน่วงของข้อมูลที่อยู่ห่างกันคนละซีกโลก